ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์
         ปัญหาเขตแดนไทย - พม่า บริเวณแม่น้ำกระบุรี

             แม่น้ำกระบุรี ซึ่งพม่าเรียก แม่น้ำปากจั่น เป็นแม่น้ำกั้นเขตแดนไทย - พม่า มีต้นน้ำอยู่ที่ปลายทิวเขาตะนาวศรี ตอนต้นน้ำทางฝั่งไทยมีลำคลองหลายสายไหลมาบรรจบ ทางฝั่งพม่าก็มีคลองหลายสายไหลมาบรรจบเช่นกัน ตอนต้นน้ำค่อนข้างแคบไหลผ่านที่ราบระหว่างหุบเขา รวมระยะประมาณ ๓๕ กิโลเมตร เมื่อบรรจบกับคลองงานทางฝั่งพม่าแล้ว ทำให้มีขนาดกว้างประมาณ ๔๐ - ๖๐ เมตร ตลิ่งค่อนข้างสูง และเมื่อบรรจบกับน้ำนอร์ ทางฝั่งพม่า ทำให้ลำน้ำกว้างขึ้นเป็นประมาณ ๗๕ - ๑๐๐ เมตร  เมื่อผ่านอำเภอกระบุรีไปแล้วแม่น้ำจะกว้างขึ้นทุกที จนถึงปากคลองบางหมีที่ไหลมาบรรจบ แม่น้ำจะกว้างถึง ๑,๐๐๐ เมตร และกว้างขึ้นอีกจนกระทั่งไหลออกสู่ทะเล ตรงปลายแหลมวิคตอเรีย พ็อยท์ หรือเมืองเกาะสอง  จะมีความกว้างถึง ๕ กิโลเมตร รวมความยาวทั้งสิ้น ๑๓๙ กิโลเมตร
             การใช้แม่น้ำกระบุรีเป็นเส้นเขตแดน  ในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๖  อังกฤษเริ่มเข้ายึดหัวเมืองชายฝั่งทะเลของพม่า ได้แก่เมืองตะนาวศรี มะริด ทวาย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของภาคตะนาวศรี เย้ และมะละแหม่ง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐมอญ
             เมื่อปี พศ.๒๔๐๘  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เซอร์จอห์น ลอเรนซ์  ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอินเดีย  ได้ติดต่อกับรัฐบาลสยาม การที่มีการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับพม่าของอังกฤษเป็นการถาวร รัฐบาลสยามจึงจัดตั้ง คณะข้าหลวงปักปันเขตแดนร่วมกันขึ้น ฝ่ายสยามแต่งตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหกลาโหม ผู้บังคับหัวเมืองฝ่ายใต้เฉียงตะวันตก (ตั้งแต่เขตกาญจนบุรีถึงจังหวัดระนอง)  และเจ้าพระยาภูธราภัย สมุหนายก ผู้บังคับหัวเมืองฝ่ายเหนือเฉียงตะวันตก  (จังหวัดตากและจังหวัดแม่ฮ่องสอน) เป็นข้าหลวงมีอำนาจเต็ม ส่วนอังกฤษได้ตั้ง Lieutenant Arthur Herbert Bagge  เป็นข้าหลวงผู้มีอำนาจเต็ม
             ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๐๘ - ๒๔๑๐  ข้าหลวงปักปันทั้งสองฝ่าย ได้ทำการสำรวจร่วมชี้แนวเขตแดนของตน โดยฝ่ายอังกฤษเป็นผู้ทำแผนที่การปักปันช่วงนี้ ทำตั้งแต่ สบเมย (ปากแม่น้ำเมยไหลไปบรรจบแม่น้ำสาละวิน) มาตามลำแม่น้ำเมยต่อห้วยวะเลห์ ตัดขึ้นสันเขาของทิวเขาตะนาวศรีไปจนถึงคลองกะใน ต่อด้วยแม่น้ำกระบุรี เส้นเขตแดนไปตามแม่น้ำกระบุรีจนถึงปากน้ำออกสู่ทะเล ที่ปลายแหลมวิคตอเรีย พ็อยท์ ความกว้างของพื้นที่สำรวจนั้น ทางด้านสยามคลุมไปถึงแม่น้ำปิง แม่น้ำเจ้าพระยา ชายฝั่งทะเลทางตะวันตกของอ่าวสยามจนถึงจังหวัดชุมพร ส่วนทางด้านพม่าครอบคลุมถึงแม่น้ำสาละวิน จนออกสู่ทะเลที่เมืองมะละแหม่ง และชายฝั่งทะเลทางด้านฝั่งตะวันออกของอ่าวมะตะบัน จนถึงสุดเขตพื้นที่ของพม่า
             แผนที่ที่จัดทำโดยฝ่ายอังกฤษ มาตราส่วน ๑ นิ้วต่อ ๘ ไมล์ หรือ ๑/๕๐๖,๘๘๐ พิมพ์ ๔ สี ทำแล้วเสร็จประมาณปลายปี ค.ศ.๑๘๖๗
             สำหรับในภูมิประเทศจริง บนสันเขาตะนาวศรีได้ ทำที่หมายเขตแดนไว้รวม ๔๘ จุด โดยกำหนดตำแหน่งเป็นชื่อยอดเขาต่าง ๆ และโบราณสถานบางจุดก็มีก้อนหินกองไว้ บางจุดก็ใช้บากต้นไม้
             เมื่อการสำรวจทำแผนที่และทำบัญชีรายละเอียดเกี่ยวกับที่หมายเขตแดนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้มีการประชุมจัดทำอนุสัญญา (Convention)  ขึ้นที่กรุงเทพ ฯ ในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๑๑
             ต่อมาอังกฤษได้ส่งแผนที่ซึ่งจัดทำใหม่จากเดิม ๓ ระวาง เปลี่ยนเป็น ๒ ระวางต่อกัน พิมพ์พื้นที่ประเทศพม่าด้วยสีชมพู และพิมพ์พื้นที่ประเทศไทยด้วยสีเขียว ส่วนรายละเอียดบนแผนที่ยังคงเดิม เมื่อฝ่ายสยามตรวจสอบเห็นว่าถูกต้องจึงได้ให้สัตยาบันกัน ณ กรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๑๑ นับเป็นการปักปันเขตแดนระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรกของไทย
             สำหรับเส้นเขตแดนตรงแม่น้ำกระบุรี ในอนุสัญญาระบุว่า "..ตั้งแต่เขาถ้ำแดง ตามเขาแดนใหญ่มาจนถึงปลายน้ำกระใน เป็นเขตแดนจนถึงปากน้ำปากจั่น ลำแม่น้ำเป็นกลางเขตแดนฝ่ายละฟาก เกาะในแม่น้ำปากจั่นริมฝั่งข้างอังกฤษเป็นของอังกฤษ ข้างไทยเป็นของไทย เกาะขวางหน้ามลิวัลเป็นของไทย แม่น้ำปากจั่นฝั่งตะวันตกเป็นของอังกฤษ ตลอดจนถึงปลายแหลมวิคตอรี ฝั่งตะวันออกตลอดไปเป็นของไทยทั้งสิ้น"
             การทำแผนที่ในครั้งนั้นมีความคลาดเคลื่อนมาก เนื่องจากแผนที่ดังกล่าวในแม่น้ำกระบุรีไม่ได้แสดงเส้นเขตแดนไว้ แต่ตรงปากน้ำออกสู่ทะเลกลับมีเส้นแสดงเขตแดนทั้ง ๆ ที่ในสัญญาระบุว่า ตกลงปักปันเขตแดนกันถึงแลายแหลมวิคตอเรียเท่านั้น และแผนที่ในชุดแรก ๓ ระวาง ที่ส่งมาให้ตรวจสอบในขณะที่ทำอนุสัญญา ในแผนที่ชุดนี้ได้มีบันทึกของฝ่ายอังกฤษว่า การตรวจสอบร่วมกันนั้น ทำกันตั้งแต่แม่น้ำตองยิน (แม่น้ำเมย) ถึงวิคตอเรีย พ็อยท์เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงเกาะตอนใต้ของวิคตอเรีย พ็อยท์
             ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เกาะแหลม เกาะคัน เกาะขี้นก ซึ่งไทยเขียนแผนที่แสดงตำแหน่งเกาะทั้งสามอยู่ในเขตไทย แต่ถ้าใช้เส้นเขตแดนตามแผนที่แนบท้ายอนุสัญญา ซึ่งต่อมาจากสัญญาที่ตกลงกันไว้ จะกันเอาเกาะทั้งสามไปอยู่ในเขตพม่า เรื่องนี้ฝ่ายพม่าขอให้เจรจากำหนดเขตแดนบริเวณเกาะทั้งสาม โดยคณะกรรมการพิจารณาปัญหาเขตแดนไทย-พม่า แต่ฝ่ายไทยขอให้เจรจากันในคณะกรรมการเขตแดนทางทะเล ขณะนี้ยังไม่มีการเจรจากันอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับอธิปไตยของเกาะดังกล่าว
       โครงการขุดคลองคอคอดกระในอดีต

             ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.๒๔๐๑  อังกฤษได้ส่งฑูตมาเจรจาขอขุดคอคอดกระ เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินเรือค้าขายระหว่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงอนุมัติแต่ในช่วงนั้นรัฐบาลอังกฤษเกิดมีปัญหาทางด้านการเงินไม่สามารถดำเนินการได้
             แนวทางที่ฝ่ายอังกฤษได้ทำการสำรวจในครั้งนั้นคือ จากทะเลอาศัยแม่น้ำกระบุรี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี จากนั้นก็อาศัยแนวคลองสวะไปทางตะวันออก ตัดสันเขาหินลุซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดชุมพรกับระนอง ตรงสันอานม้าซึ่งสูงประมาณ ๒๒๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ต่อไปก็อาศัยแนวคลองชุมพร เมื่อพ้นหัวเขาช่องแรดก็ตัดเป็นแนวตรงผ่านบ้านแสงแดด อำเภอเมืองชุมพร ตัดออกสู่ทะเลทางด้านอ่าวไทยที่อ่าวชุมพร รวมความยาวเฉพาะแนวคลองกระประมาณ ๕๐ กิโลเมตร
             เมื่อไม่สามารถขุดคลองได้อังกฤษก็ขอเปลี่ยนเป็นการสร้างทางรถไฟตามแนวที่จะขุดคลอง โดยตั้งบริษัทสยามเรลเวย์ ขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินการ โดยขอสิทธิในพื้นที่ ตามแนวทางรถไฟสองฟาก รวมความกว้าง ๘ กิโลเมตร โดยอ้างว่าจะสำรวจขุดแร่เพื่อชดเชยการก่อสร้าง ฝ่ายไทยยอมตกลงแต่ได้วางเงื่อนไขหลายประการ ซึ่งฝ่ายอังกฤษยอมรับไม่ได้ โครงการนี้จึงเลิกไปโดยปริยาย
             ในปี พ.ศ.๒๔๐๖ อังกฤษได้ส่งทหารช่างผู้เชี่ยวชาญการขุดคลองสองนาย ยศร้อยเอก  มาทำการสำรวจอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ผลการสำรวจระบุว่า ไม่สามารถขุดคลองได้ เพราะต้องขุดผ่านสันเขาที่สูงชัน
             ในปี พ.ศ.๒๔๑๑  มีบริษัทเอกชนของฝรั่งเศสเสนอขอขุดคอคอดกระ แต่ไม่มีหลักฐานการรับรองของรัฐบาลฝรั่งเศส และทางรัฐบาลสยาม เกรงจะมีกรณีพิพาทกับอังกฤษ เพราะในปี พ.ศ.๒๔๑๑  รัฐบาลสยามได้ลงนามในอนุสัญญาให้แม่น้ำกระบุรี เป็นเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับพม่าของอังกฤษ
             ในปี พ.ศ.๒๔๑๕  นาวาเอก เอ จี จอฟตัส แห่งราชนาวีอังกฤษ ในฐานะตัวแทนรัฐบาลอังกฤษได้ขออนุญาตสำรวจพื้นที่ตั้งแต่ปากน้ำชุมพร ถึงอำเภอกระบุรี ได้รายงานผลการสำรวจพร้อมแผนที่ที่ได้ตีพิมพ์ที่สิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๕ เสนอความคิดเห็นว่า การขุดคลองตัดข้ามคอคอดกระ ไม่เป็นสิ่งที่จะทำไม่ได้เสียเลย
             ในปี พ.ศ.๒๔๕๒  เฟอร์ดินารด์ เดอ เลสเซพส์  ผู้ขุดคลองสุเอซ และเป็นผู้หนึ่งในคณะวางแผนขุดคลองปานามา ในฐานะผู้แทนเข้ามาสำรวจเพื่อวางแผนในการขุดคลองคอคอดกระ และขออนุญาตขุดคลองคอคอดกระ แต่ฝ่ายสยามเกรงว่าจะมีผลกระทบกับรัฐบาลอังกฤษจึงไม่อนุญาต การขุดคลองคอคอดกระจึงระงับไป
             พ.ศ.๒๔๗๗  หนังสือพิมพ์สิงคโปร์ฉบับหนึ่ง ลงข่าวพาดหัวหน้าแรกว่า ญี่ปุ่นได้รับอนุญาตให้ขุดคอคอดกระได้แล้ว แต่รัฐบาลสยามได้แถลงข่าวปฏิเสธว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง
             พ.ศ.๒๔๘๘  หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสฉบับหนึ่ง ลงข่าวใหญ่ระบุว่ารัฐบาลไทยยิยยอมให้มีการขุดคลองคอคอดกระ ผู้ช่วยฑูตทหารฝรั่งเศส เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อขอทราบข้อเท็จจริง แต่รัฐบาลไทยปฎิเสธข่าว แต่ข่าวนี้ได้สร้างความกังวลให้กับรัฐบาลอังกฤษมาก ดังนั้นในแถลงการณ์เรื่องการยกเลิกสถานะสงครามระหว่างไทยกับบริเตนใหญ่ ลงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๙  พร้อมกับทำ ข้อตกลงสมบูรณ์แบบ รวม ๒๓ ข้อ ในข้อ ๗ ระบุว่า "รัฐบาลไทยยอมรับว่าจะไม่ตัดคลองข้ามอาณาเขตไทยเชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับอ่าวไทย โดยรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรมิได้เห็นพ้องด้วยก่อน"
             พ.ศ.๒๕๐๓  รัฐบาลอังกฤษยอมยกเลิกสัญญาสมบูรณ์แบบ (Forma Agreement)  ดังนั้นในปีเดียวกันนี้ บริษัทแหลมทองพัฒนา ฯ ได้เสนอเรื่องต่อรัฐบาลขออนุมัติการศึกษากิจการคลองกระและท่าเรือ  คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔   แต่ในปี พ.ศ.๒๕๐๗ สภาความมั่นคง ฯ พิจารณาว่าการขุดคลองกระนั้น จะกระทบต่อความมั่นคงของชาติ รัฐบาลจึงสั่งระงับโครงการนี้
             พ.ศ.๒๕๑๔  ประเทศมาเลเซียและอินโดนิเซีย อ้างสิทธิในช่องแคบมะละกาเป็นทะเลอาณาเขตของตน โดยไม่นำพาต่อการโต้แย้งของบรรดาประเทศที่มีผลประโยชน์จากการเดินเรือผ่านช่องแคบนี้ เพราะต่อไปการเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกา จะต้องถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ดังนั้นประเทศต่าง ๆ จึงแสดงความคิดเห็นสนับสนุนให้มีการขุคลองคอคอดกระเชื่อมระหว่างอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน เพราะจะทุ่นเวลาเดินเรือลงได้ ๕ - ๗ วัน
             รัฐบาลไทยเห็นด้วย แต่แนวทางขุดคลองคงไม่ใช่แนวเดิมที่อังกฤษเคยสำรวจไว้ เพราะจะมีผลกระทบต่อประเทศพม่า ได้มีผู้เสนอแนะแนวความคิดขึ้นอีกหลายแนว เช่นแนวตัดจากอ่าวพังงาไปออกจังหวัดสุราษฎธานี แนวจากจังหวัดสตูลไปออกจังหวัดสงขลา เป็นต้น
             แม้คลองคอคอดกระจะยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ แต่ชาวประมงไทยก็ได้ใช้วิธีการขนย้ายเรือ จากอ่าวไทยไปทะเลอันดามันโดยบรรทุกบนรถสาลี่ แล้วลากข้ามจากปากน้ำชุมพร มาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๔๐๐๑ ต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๗ และหมายเลข ๔ นำเรือลงแม่น้ำกระบุรีที่อำเภอกระบุรี อยู่เป็นประจำวัน
       ระนองสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

             ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๔ - ๒๔๘๘  เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ อ่าวพนังตัก จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔  จังหวัดทหารบกชุมพร ได้นำทหารและยุวชนทหารออกไปต่อต้านญี่ปุ่น เกิดการสู้รบที่บริเวณ ท่ายาง
             ต่อมารัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นเจรจาตกลงกันได้ ทหารญี่ปุ่นก็เดินทัพจากชุมพรไปยังจังหวัดระนอง โดยทางรถยนต์และทางเท้า สมัยนั้นถนนจากชุมพรถึงกระบุรี เป็นถนนลงหิน รถยนต์แล่นไปได้ แต่ถนนจากกระบุรีถึงเขาฝาชียังไม่เรียบร้อย ฤดูแล้งรถพอแล่นไปได้จากชุมพรถึงเขาฝาชี ได้มีการสร้างทางรถไฟจากชุมพร ไปถึงเขาฝาชีจนสำเร็จ สามารถลำเลียงทหารและยุทธปัจจัยโดยทางรถไฟนำลงเรือที่ เขาฝาชี ซึ่งเป็นฐานทัพเรือของญี่ปุ่นในสงครามมหาเอเซียบูรพา โดยญี่ปุ่นได้นำเชลยชาวอินเดียมาเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นแรงงานในการสร้างทางรถไฟ
             จุดที่ตั้งของกองทัพทหารญี่ปุ่น  มีอยู่ด้วยกันหลายจุด คือ
                 - ตำบลเขาน้ำจืด  บริเวณที่ตั้งโรงเรียนกระบุรีวิทยา ในปัจจุบัน
                 - เขาฝาชี  บริเวณสุดปลายทางรถไฟ
                 - ปากน้ำระนอง  มีเรือรบมาจอดประจำการอยู่
                 - โรงเรียนวัดอุปนันทาราม  ใช้อาคารเรียน และะบริเวณโรงเรียนทั้งหมดเป็นสถานพยาบาลทหารที่เจ็บป่วย
             ระหว่างสงคราม เครื่องบินรบของอังกฤษได้มาทิ้งระเบิดที่เขาฝาชี ปากน้ำระนอง และทิ้งทุ่นระเบิดในแม่น้ำกระบุรี จากปากน้ำระนองถึงปากน้ำละอุ่น
             ครั้งหนึ่งทหารญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีกองทหารไทยที่ปากน้ำระนอง เข้ายึดสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง ฯ ทำให้ทหารและตำรวจเสียชีวิตหลายคน ยึดที่ทำการไปรษณีย์ ทำร้ายพนักงานไปรษณีย์
             ผลจากสงคราม  ทำให้ประชาชนขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิต ปกติระนองต้องซื้อข้าวสารจากประเทศพม่า เมื่อเกิดสงครามไม่อาจซื้อจากพม่าได้ ทางราชการต้องจัดหาข้าวสารมาปันส่วนให้ประชาชน โดยขนผ่านมาจากจังหวัดชุมพรและกระบุรี ครั้งนั้นแร่ดีบุก ๑ กิโลกรัม แลกข้าวสารได้เพียง ๑ กิโลกรัม และผู้รับซื้อแร่ก็ไม่อาจนำออกขายได้ ต้องเก็บเอาไว้รอสงครามเลิก
             สมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องอาศัยตะเกียงน้ำมันมะพร้าวให้แสงสว่าง ขาดแคลนไม้ขีดไฟ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค โรงพยาบาลต้องใช้ยาสมุนไพรให้ผู้ป่วยกิน
             ประมาณต้นปี พ.ศ.๒๔๘๗  ทหารญี่ปุ่นได้สร้างทางรถไฟจากชุมพรลัดเลาะมาตามหุบเขา ตามเส้นทางรถยนต์ปัจจุบัน โดยใช้แรงงานจากเชลยศึกแขกดำ ใช้หัวรถจักรไอน้ำขนาดเล็กบรรทุก บรรทุกเสบียงอาหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยสร้างสถานีรถไฟแห่งสุดท้ายที่บริเวณที่ตั้งโรงเลื่อยของนายยงยุทธ นพเกตุ  ในปัจจุบันและได้สร้างสะพานไม้ ท่าเทียบเรือลงไปในคลองละอุ่น ใกล้กับสถานีรถไฟ เพื่อลำเลียงทหารมายังเมืองระนองทางเรือยนต์
             ตอนปลายสงคราม ทหารญี่ปุ่นได้นำกำลังเข้ามาในเมืองระนอง เมื่อมาถึงได้จับตำรวจและข้าราชการไปขังไว้เป็นจำนวนไม่น้อย แต่เนื่องจากฝ่ายไทยไม่ได้ต่อสู้ จึงไม่มีความเสียหายมาก
             ในปลายปี พ.ศ.๒๔๘๘  กองทัพญี่ปุ่นได้เคลื่อนย้ายออกจากระนองหมด คงเหลือแต่ร่องรอยที่ทำไว้คือ ที่ตั้งฐานทัพและทางรถไฟ ต่อมาไม่นานทางรถไฟก็ชำรุดผุพังไป เนื่องจากไม่มีการอนุรักษ์ไว้เหลือแต่สันแนวทางรถไฟ เป็นร่องรอยปรากฎอยู่
  เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕
             เมื่อได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ แล้วทางรัฐบาลได้จำลองรัฐธรรมนูญแล้วส่งไปให้ทุกจังหวัด สำหรับจังหวัดระนอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกคือ ขุนขจรเขานิเวศนื ได้นำรัฐะรรมนูญมาจากกรุงเทพ ฯ โดยทางรถไฟถึงชุมพร จากชุมพรทางรถยนต์ถึงที่ว่าการอำเภอกระบุรี มีการสมโภช ๑ คืน แล้วนำลงเรือที่ท่าเรือ หัวถนนสุดสาคร นำมาตั้งที่บริเวณชานพักบันไดทางขึ้นชั้นสองของศาลากลางจังหวัดจนถึงปัจจุบัน

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

   
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์