ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางธรรมชาติ

            จังหวัดลำปาง ได้กำหนดพื่นที่ป่าสงวนแห่งชาติไว้รวม ๓๓ ป่า มีพื้นที่ประมาณ ๕,๕๑๔,๐๐๐ ไร่ ประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่จังหวัด มีอุทยานแห่งชาติ ๕ แห่ง และวนอุทยาน ๖ แห่ง
            กรมป่าไม้ได้จัดตั้งหน่วยพัฒนาต้นน้ำในเขตจังหวัดลำปางขึ้น ๔ หน่วย ได้แก่
            หน่วยปรับปรุงต้นแม่น้ำวัง หน่วยที่ ๑ (แม่เจ้าฟ้า)  อำเภอแจ้ห่ม และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑๓๖,๐๐๐ ไร่
            หน่วยปรับปรุงต้นน้ำ หน่วยที่ ๓ (แม่ห้อม)  อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และอำเภอวังเหนือ มีพื้นที่ประมาณ ๑๐๒,๐๐๐ ไร่
            หน่วยพัฒนาต้นน้ำ หน่วยที่ ๓๔ (ขุนงาว)  อำเภองาว มีพื้นที่ประมาณ ๑๓๖,๐๐๐ ไร่
            โครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูงหน่วยที่ ๗ (แม่เมาะ)  อำเภองาว พื้นที่ประมาณ ๙๐,๐๐๐ ไร่
อุทยานแห่งชาติ
            ในเขตจังหวัดลำปางมีอุทยานแห่งชาติ ๕ แห่งด้วยกัน รวมพื้นที่ประมาณ ๕๑๕,๐๐๐ ไร่ ดังนี้
            อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย  มีพื้นที่ประมาณ ๑๖๘,๐๐๐ ไร่ เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติแล้วประกาศทับซ้อนเป็นอุทยานแห่งชาติ เต็มพื้นที่ของป่าสงวนแห่งชาติจำนวน ๔ ป่า ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติแม่จางใต้ฝั่งซ้าย ป่าสงวน ฯ แม่ทาน ป่าสงวน ฯ แม่เสิม - แม่ปา และป่าสงวน ฯ แม่จางฝั่งซ้าย มีพื้นที่บางส่วนของอุทยาน ฯ อยู่ในเขตจังหวัดแพร่
            อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน  มีพื้นที่ประมาณ ๓๓๑,๐๐๐ ไร่ ประกาศทับซ้อนป่าสงวนแห่งชาติ ๒ แห่งคือ ป่าสงวน ฯ แม่ตุ๋ยฝั่งขวา และป่าสงวน ฯ แม่สุกแม่สอย
            อุทยานแห่งชาติแม่ยม  มีพื้นที่ประมาณ ๘,๐๐๐ ไร่ ประกาศทับซ้อนเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่งาวฝั่งซ้าย และมีบางส่วนอยู่ในเขตจังหวัดแพร่
            อุทยานแห่งชาติดอยหลวง  มีพื้นที่ประมาณ ๑๘๗,๐๐๐ ไร่ ประกาศทับซ้อนเขตป่าสงวนแห่งชาติขุนวังแปลงที่ ๑,๒,๓ ป่าแม่โป่ง และป่าแม่งาวฝั่งซ้าย มีบางส่วนอยู่ในเขตจังหวัดพะเยา และเชียงราย
            อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล  มีพื้นที่ประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ ไร่ เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ มีบางส่วนอยู่ในเขตจังหวัดลำพูน
            สำหรับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีอยู่แห่งเดียว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขตดอยผาเมือง มีพื้นที่ประมาณ ๘๗,๐๐๐ ไร่ ประกาศทับซ้อนป่าสงวน ฯ ป่าแม่ยาว และมีบางส่วนอยู่ในเขตจังหวัดลำพูน
ภูเขาไฟลำปาง

            เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ ได้มีการสำรวจร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณลุ่มแม่น้ำจางโดยสถาบันสแกนดิเนเวียน ได้พบว่าบริเวณดอยเกิด ซึ่งเป็นเขตติดต่อระหว่างจังหวัดลำปางกับจังหวัดแพร่ พบว่ามีร่องรอยลาวาจากภูเขาไฟ ต่อมาได้สำรวจพบปล่องภูเขาไฟสองปล่อง
            บริเวณภูเขาไฟลำปาง ปัจจุบันเรียกว่า ดอยจำปาแดด มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล ๖๓๐ เมตร เป็นภูเขาไฟที่ดับมาแล้ว ประมาณ ๖๔๐,๐๐๐ - ๗๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายมือทางเข้าแม่เมาะ
            ภูเขาไฟลำปาง นับว่าเป็นแหล่งธรรมชาติที่น่าสนใจ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง
            นอกจากนี้ ยังมีร่องรอยของภูเขาไฟอีกลูกหนึ่งในเขตอำเภอเถิน แต่ยังไม่มีรายละเอียดจากการสำรวจ
เหมืองแม่เมาะ

            เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน อธิบดีกรมรถไฟหลวง มีพระประสงค์จะสงวนป่าไม้ไว้ จึงโปรดให้มีการสำรวจหาเชื้อเพลิงอย่างอื่นมาใช้แทนฟืนสำหรับหัวรถจักรไอน้ำของรถไฟ ได้จ้างผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศส มาดำเนินการสำรวจในระยะแรก และในปี พ.ศ.๒๔๖๔ - ๒๔๖๖ ได้ว่าจ้างชาวอเมริกันมาดำเนินการสำรวจต่อไป
            ในปี พ.ศ.๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้สงวนแหล่งถ่านหิน ที่มีอยู่ในประเทศไว้ เพื่อให้ทางราชการเท่านั้น เป็นผู้ดำเนินการ และห้ามให้ประทานบัตรการทำเหมืองแก่เอกชนอื่นใดอีกต่อไป
            การสำรวจถ่านหินลิกไนต์ แบบเป็นครั้งเป็นคราวไม่ต่อเนื่อง ได้ดำเนินไปจนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๕ จึงได้ยุติชะงักลงเป็นเวลานาน จนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๓ กรมโลหะกิจหรือกรมทรัพยากรธรณีในปัจจุบัน ได้รื้อฟื้นโครงการสำรวจถ่านหินลิกไนต์ขึ้นมาดำเนินการอีก ในการนี้องค์การบริหารความมั่นคงร่วมกับ (M.S.A.) หรือต่อมาเป็นยูซอม (USOM) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการและการเงิน การสำรวจแหล่งถ่านหินลิกไนต์ที่แม่เมาะได้เริ่มขึ้นอีกในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙๓ - ๒๔๙๖ ได้พบแหล่งถ่านหินลิกไนต์มีแนวชั้นติดต่อกัน ยาวไปตามลำห้วยในแอ่งแม่เมาะ ประมาณว่ามีถ่านหินลิกไนต์ในเบื้องต้นที่แม่เมาะจำนวน ๑๔ ล้านตัน และคาดว่าจะพบเพิ่มถึง ๑๒๐ ล้านตัน
            ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ ได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การพลังงานไฟฟ้าลิกไนต์ ได้เปิดการทำเหมืองแม่เมาะ โดยเปิดหน้าดินก่อนแล้วจึงขุดถ่านลิกไนต์ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ เริ่มผลิตถ่านลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะ ออกจำหน่ายให้แก่โรงบ่มใบยาสูบในภาคเหนือ โรงงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่นครราชสีมา โรงปูนซีเมนต์ของบริษัทชลประทานซีเมนต์จำกัดที่ตาคลี นครสวรรค์ โรงไฟฟ้าวัดเลียบ และโรงไฟฟ้าสามเสนของการไฟฟ้านครหลวง (กทม.) การดำเนินการเจาะสำรวจหาปริมาณถ่านลิกไนต์พบว่า ที่แม่เมาะมีถ่านลิกไนต์ อยู่ประมาณ ๑๒๐ ล้านตัน และสามารถขุดขึ้นมาใช้งานได้คุ้มค่า ๔๓.๖ ล้านตัน
            ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ ผลิตถ่านลิกไนต์ได้ ๑๒๐,๐๐๐ ตัน (เทียบกับไม้ฟืน ๓๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร เท่ากับต้นไม้ที่ใช้ทำฟืน ๓ - ๖ แสนตัน ซึ่งจะต้องตัดไม้จากป่าปีละประมาณ ๓๐,๐๐๐ ไร่ หรือเท่ากับน้ำมันเตา ๓๕ ล้านลิตร)
            พ.ศ.๒๕๐๓ รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งการลิกไนต์ โดยได้โอนกิจการ และทรัพย์สินขององค์การพลังงานไฟฟ้า มาเป็นของการลิกไนต์ การลิกไนต์ได้ดำเนินการเหมืองแม่เมาะเรื่อยมา และขยายงานออกไปตามลำดับ
            การดำเนินงานตามโครงการเหมืองแม่เมาะได้เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ๒๕๑๖

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์