ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


ภาษาและวรรณกรรม

            ศิลาจารึก
            ศิลาจารึกที่พบในเขตจังหวัดลำพูน สามารถแบ่งออกได้เป็นสองระยะคือ
                -  ศิลาจารึกเมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๗
                -  ศิลาจารึกเมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมา
            ศิลาจารึก เมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๗ มีอยู่แปดหลัก จารึกด้วยอักษรมอญโบราณ เป็นภาษามอญโบราณก็มี จารึกเป็นภาษาบาลีแล้ว แปลเป็นภาษามอญก็มี หรือจารึกทั้งภาษามอญ และภาษาบาลีรวมกันไปก็มี
            กลุ่มศิลาจารึกทั้งสองกลุ่มดังกล่าว แสดงให้เห็นลักษณะของกลุ่มชนที่ใช้อักษรภาษามอญกลุ่มหนึ่ง และกลุ่มชนที่ใช้อักษรไทย ภาษาไทยอีกกลุ่มหนึ่ง
            หลักฐานด้านศิลาจารึกระหว่างสองกลุ่ม มีช่องว่างของเวลาที่ยาวมากตกประมาณ ๓๐๐ ปี หากนับตั้งแต่สมัยพระเจ้าสววาธิสิทธิ มาถึงสมัยพระเจ้ากือนา
            ศิลาจารึกกลุ่มอักษรมอญโบราณ ภาษามอญโบราณ และภาษาบาลี พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ ศิลาจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ (ลพ.๑) ลักษณะศิลาจารึกทำด้วยหินทรายสีแดงรูปใบสีมา ขุดพบที่วัดดอนแก้ว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองลำพูน ห่างออกไปประมาณ ๒๕๐ เมตร
            เรื่องจารึก กล่าวถึงกษัตริย์ผู้ครองหริภุญชัย พระนามว่า พระเจ้าสววาธิสิทธิ พระองค์ทรงสถาปนาวัดเชตวัน ทรงสร้างกุฏิ เสนาสนะ ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลอยุ่พำนัก ทรงให้จารคัมภีร์พระไตรปิฎกขึ้นหลายผูก ทรงอุทิศส่วนพระราชกุศลที่ได้ทรงบำเพ็ญนี้แก่  สรรพสัตว์จงพ้นทุกข์ และให้ประสบสุขด้วยอำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัยนั้น
            ความที่จารึกต่อมา กล่าวถึงการสร้างเจดีย์สามองค์ของพระองค์พระชายา และโอรส ซึ่งที่ตั้งของเจดีย์ทั้งสามเรียงกันจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก และในจารึกยังกล่าวถึงการทรงผนวชของพระองค์ และโอรสทั้สอง แสดงให้เห็นขัตติยราชประเพณีการผนวชของกษัตริย์ในคติพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
            ศิลาจารึกพระเจ้าสววาสิทธิ (ล.พ.๒) ทำด้วยหินทรายสีเหลือง เป็นรูปใบสีมา พบฝังอยู่ในดินที่เชิงพระธาตุเจดีย์กู่กุดด้านตะวันออก เป็นจารึกเรื่องการซ่อมสร้างปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ที่วัดจามเทวี ซึ่งได้หักพังลงมาเนื่องจากแผ่นดินไหว
            ศิลาจารึกวัดมหาวัน (ล.พ.๓) ทำด้วยหินทรายสีเหลืองรูปใบสีมา เดิมอยู่ที่วัดมหาวัน กล่าวถึงผลงานของกษัตริย์ผู้บำเพ็ญพระราชกุศลในพระพุทธศาสนา การสร้างพระเจดีย์ พระพุทธรูป กุฎีคูหา การทำฉัตรกั้นพระพุทธรูป การถวายข้าพระ เลกวัดไว้สำหรับบำรุงรักษา และรับใช้พระภิกษุสงฆ์ในพระอาราม การอุทิศถวายวัตถุสิ่งของต่าง ๆ สำหรับพระสงฆ์และวัด
            ศิลาจารึกวัดดอนแก้ว (ล.พ.๔)  ทำด้วยหินทรายรูปใบสีมาขนาดเล็ก พบอยู่ทางทิศตะวันออกของพระธาตุหริภุญชัย กล่าวถึงการก่อสร้างพระเจดีย์ และการผูกพัทธสีมา
            ศิลาจารึกอาณาจักรปุนไชย (ล.พ.๕)  ทำด้วยหินทรายสีแดงรูปใบสีมาขนาดเล็ก พบที่เชิงฐานด้านทิศตะวันออกขององค์พระเจดีย์กู่กุด กล่าวถึงกษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่า ตชุ ครองหริภุญชัยนคร และกล่าวถึงการสร้างสถานที่สรงน้ำของพระภิกษุสงฆ์ที่ริมฝั่งแม่น้ำหรือคลอง และบ่งถึงสถานที่อยู่ของพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา
            ศิลาจารึกวัดบ้านหลวย (ล.พ.๖) ทำด้วยหินทรายรูปใบสีมาขนาดเล็ก ได้มาจากวัดบ้านหลวยในเขตอำเภอเมือง ฯ กล่าวถึงการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา การอุทิศข้าพระไว้สำหรับบำรุงวัดและสระน้ำ วัดที่กล่าวถึงคือวัดเชตวัน (วัดดอนแก้ว) และกล่าวถึงผู้ที่สร้างเจดีย์และคูหา การถวายวัตถุสรรพสิ่งของต่าง ๆ
            ศิลาจารึกวัดแสนข้าวห่อ ตะจุมหาเถร (ล.พ.๗) ทำด้วยหินทรายรูปใบสีมาขนาดเล็ก ได้มาจากวัดแสนข้าวห่อในเขตอำเภอเมือง ฯ กล่าวถึงผู้จารึกคือ ตชุมหาเถรแห่งหริภุญชัยนคร ได้สร้างถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา การบรรจุอัฐิบรรพบุรุษไว้ในคูหาแห่งมหาวัลลิ์นี้  มีการชักชวนให้ชนทั้งหลายได้บำรุงรักษาต้นมหาโพธิ์ สร้างฉัตร สร้างคัมภีร์พระปริต พร้อมกับเก็บคัมภีร์และได้สร้างยอดพระไตรปิฎกไว้ในมหาวัลลี์ตลอดจนการสร้างกำแพง
            ศิลาจารึกธรรมิกราชา (ล.พ.๓๖) ทำด้วยหินทราย ชำรุดหักออกเป็นสองแผ่นได้มาจากภายในบริเวณคณะอัฏฐารส วัดพระธาตุหริภุญชัย กล่าวถึงพระเจ้าธรรมิกราช หรือพระราชาผู้ทรงธรรม
      จารึกกลุ่มอักษรไทยล้านนา ภาษาไทย ภาษาบาลี พุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒
            ศิลาจารึกวัดพระยืน (ล.พ.๓๘)  ทำด้วยหินชนวนรูปใบสีมา อยู่ที่วัดพระยืน ในเขตตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง ฯ ศิลาจารึกหลักนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่สุด ที่บ่งถึงความเป็นมาของอักษรไทย และภาษาไทยล้านนา เป็นหลักฐานชิ้นเดียวที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน จารึกหลักนี้ จารึก เมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๓ จารึกด้วยอักษรไทยเป็นภาษาไทย  มีรูปอักษรที่กำหนดว่าเป็นรูปแบบอักษรไทยสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑  แต่จารึกนี้ได้จารึกที่จังหวัดลำพูนสมัยล้านนา เรื่องที่จารึกเป็นเรื่องพระสุมนเถระสร้างเสริมพระอัฏฐารสยืนมี ปี จ.ศ.๗๒๓ (พ.ศ.๑๙๑๓) กล่าวถึงพระสุมนเถระเดินทางขึ้นมาสู่ล้านนา พระเจ้ากือนา ทรงให้ราชบุรุษไปอาราธนาจากสุโขทัย ขึ้นมาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังล้านนา เมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๒ ทรงจัดพิธีต้อนรับพระสุมนเถระอย่างมโหฬาร และนิมนต์ไปสถิต อยู่ที่วัดพระยืนในหริภุญชัย นอกจากนี้ยังกล่าวถึงวัดพระยืนเป็นวัดโบราณ มีถาวรวัตถุปรากฏอยู่ก่อนหน้านี้ จึงดำริว่าจะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่
            ศิลาจารึกวัดหลานช้าง (ล.พ.๘)  ทำด้วยหินทรายรูปใบสีมา พบที่วัดต้นผึ้ง ในเขตอำเภอเมือง ฯ กล่าวถึงพระมังคละประหยา (มงคลปัญญา) กับพระมหาสามีเจ้า (จตุร) ญาณ พระมหาสามีญาณสาคร และวัดหลานช้าง
            ศิลาจารึกหงศวดีศรีสัตยาธิษฐาน (ล.พ.๑๓) ทำด้วยหินทรายเป็นหลักสี่เหลี่ยม พบบริเวณวัดแสนข้าวห่อ (วัดร้าง) ในเขตอำเภอเมือง ฯ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ กล่าวถึงการเสวยราชย์ของกษัตริย์องค์หนึ่ง และการตั้งสัตยาธิษฐาน
            ศิลาจารึกพระสัตย์ปฏิญาณ (ล.พ.๑๔) ทำด้วยหินทรายเป็นหลักสี่เหลี่ยม พบที่วัดพระธาตุหริภุญชัย อายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ กล่าวถึงการตั้งสัตยาธิษฐาน  เพื่อมิให้ภัยอันตรายใด ๆ เกิดขึ้นแก่น้ำ และราชสมบัติ
            ศิลาจารึกหริปุญชบุรี (ล.พ.๑๕) ทำด้วยหินทรายรูปใบสีมา พบในเขตอำเภอเมือง ฯ สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๐๔๓ กล่าวถึงการสร้างหอพระไตรปิฎก พระธรรมมณเฑียร และจารคำภีร์ ๔๒๐ คัมภีร์ เก็บรักษาไว้พร้อมกับสร้างพระพุทธรุปทองคำประจำอยู่ที่พระธรรมมณเฑียร
            ศิลาจารึกพันญากิตติ (ล.พ.๑๖)    ทำด้วยหินทรายรูปใบสีมา พบในเขตอำเภอเมือง ฯ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๑ กล่าวถึงการสร้างวัดพันตอง ที่เมืองเชียงแสน
            ศิลาจารึกวัดเวฬุวันอาราม (ล.พ.๑๘)  ทำด้วยหินทรายรูปใบสีมา พบที่วัดสัมมะค่า ในเขตอำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๐ กล่าวถึงพันดีสร้างเวฬุวัน และถวายกุศลแก่มหาเทวี ณ ข่วงพระมหาธาตุเจดีย์ ต่อหน้าพระสงฆ์ทั้งหลาย มีมหาสมีญาณโพธิเป็นต้น
            ศิลาจารึกวัดบุนบาน (ล.พ.๒๐)  ทำด้วยหินทรายรูปใบสีมา พบที่วัดกู่เส้า ในเขตอำเภอเมือง ฯ กล่าวถึงพระมหาเถรเจ้า วัดท่าแพ พร้อมด้วยมหาเถรผาสาด (ปราสาท) และเจ้าพันนาหลังไว้ข้าพระวัดบุนบาน
            ศิลาจารึกวัดหนองหนาม (ล.พ.๒๓)  ทำด้วยหินแปรสีดำรูปใบเสมา พบที่วัดหนองหนาม ในเขตอำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๒ กล่าวถึงมหาราชเทวีให้ทองสักโกอันเกลือกด้วยคำจำนวนร้อยบาทเฟื่องคำใส่ยอดพระเจดีย์ ณ วัดข่วงชุมแก้ว
            ศิลาจารึกสมบัติขันธเสมาวัดกู่แก้ว (ล.พ.๒๕)  ทำด้วยหินทรายรูปใบสีมา พบที่อำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๒ กล่าวถึงพระมหาเถรหลวงเจ้าป่า พระมหาสมีเจ้าป่าแดง และมหาสวนคำเป็นประธานแก่สงฆ์สมมติขันธสีมา มหาสีมาในวัดป่ากู่แก้ว
            ศิลาจารึกหมื่นด้ามพร้า หมื่นสามฝั่งแกน (ล.พ.๓๒)   ทำด้วยหินทราย พบที่วัดจามเทวี กล่าวถึงพระเป็นเจ้ามีศรัทธา และกล่าวถึงหมื่นด้ามพร้า หมื่นฝั่งแกนพันออกซ้าย
            ศิลาจารึกวัดสุวรรณอาราม (ล.พ.๓๔)  ทำด้วยหินทรายรูปใบสีมา พบที่วัดสุวรรณอาราม ในเขตอำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๒ - ๒๐๕๕ กล่าวถึงพระมหาเทวีเจ้าตนย่า ให้หมื่นหมอสุเมธา นำพระพุทธรูปองค์หนึ่งฐาปนาไว้ ณ วัดสุวรรณอาราม
            ศิลาจารึกรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (ล.พ.๓๕)  ทำด้วยหินทรายรูปใบสีมา จำหลักลวดลายกล่าวถึงรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (พิลก)
            ศิลาจารึกวัดพระธาตุหริภุญชัย (ล.พ.๓๗)  ทำด้วยหินทรายรูปใบสีมา พบที่วัดพระธาตุหริภุญชั
การละเล่นพื้นบ้าน

             การแข่งขันกลองหลวง  ในดินแดนล้านนา มีกลองประเภทหนึ่งที่เรียกว่ากลองแอวใหญ่ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลองหลวง การนำกลองหลวงเข้าร่วมบรรเลงในขบวนแห่นิยมในเกวียนบรรทุก บรรเลงร่วมไปกับตะโล้ดโป๊ด ซึ่งเป็นกลองสองหน้า ทำหน้าที่ตีขัดสอดแทรกไปกับกลองหลวงฉว่า (ฉาบใหญ่) และฆ้องโหม่ง ซึ่งมีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ จำนวน ๒ - ๙ ใบ
            งานที่นิยมนำกลองหลวงเข้าขบวนแห่คือ งานสงกรานต์ งานปอยหลวง งานสรงน้ำพระธาตุที่วัดพระธาตุหริภุญชัย ฯ งานประเพณีของจังหวัด เป็นต้น
            รูปทรงและโครงสร้างของกลองหลวงในปัจจุบัน มีสองลักษณะใหญ่ ๆ คือ กลองหลวงที่เป็นรูปทรงแบบเก่า มีขนาดหน้ากลองไม่ใหญ่นัก กับกลองหลวงที่มีรูปทรงที่ได้รับการพัฒนาเพื่อการแข่งขัน ซึ่งมีขนาดหน้ากลองกว้าง ๒๘ นิ้ว ยาว ๖ ศอก ๑๐ นิ้ว และมีระบบการตกแต่งโครงสร้างภายในของไหกลอง (หุ่นกลอง) ไปจนถึงก้นกลองที่ส่งผลถึงระบบเสียง
            ประเพณีการแข่งขันกลองหลวงที่มีชื่อเสียง และจัดติดต่อกันทุกปีคือวันแปงเป็ด (วันเพ็ญเดือนหกของภาคกลาง) ซึ่งเป็นงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัยสมโภชพระธาตุ และวิสาขบูชาจัดที่วัดพระธาตุหริภุญชัย ฯ เป็นงานยิ่งใหญ่มากประจำปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานน้ำสรงพระธาตุด้วย และหลังจากนี้อีกแปดวัน ตรงกับวันแรมแปดค่ำ เดือนหก จะมีการแข่งขันกลองหลวงที่วัดพระบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง นอกจากนี้จะมีการแข่งขันกันตามวัดหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในจังหวัดลำพูน และเชียงใหม่
            การแข่งขันกลองหลวงมีมานานแล้ว มีเป้าหมายเพื่อความสนุกสนาน อวดกำลังในการตีอวดเสียงที่ดังกว่า การแข่งขันกลวงจำแนกได้เป็นสองลักษณะคือ แข่งขันเพื่อนันทนาการ และแข่งขันเพื่อชิงชัย
ขนบธรรมเนียมประเพณี
             ประเพณีปีใหม่เมือง  งานสงกรานต์ทางล้านนาไทย กำหนดเอาวันแรกคือ วันมหาสงกรานต์ ซึ่งมักจะตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันสังขานต์ล่อง เป็นการย้ายราศีของดวงอาทิตย์ ถือว่าเป็นวันทำความสะอาดบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนเครื่องนุ่งห่มและร่างกาย
            เช้าตรู่ของวันนี้ จะได้ยินเสียงปืนเสียงพลุ ถือกันว่าไล่ตัวสังขานต์ คนโบราณสร้างอุปทานตัวสังขานต์ไว้ให้มีรูปร่างลักษณะเป็นคนแก่ ผมเผ้าเสื้อผ้ารุงรัง มีอยู่สองตัวคือตัวผู้ กับตัวเมีย เรียกชื่อกันว่า ปู่สังขานต์ และย่าสังขานต์ พะรุงพะรังมาทั้งคู่ คนแก่มักจะบอกเด็ก ๆ ว่า ให้ตื่นแต่เช้าคอยดูตัวสังขานต์ ทุกบ้านช่องจะเผาหยากเยื่อ ควันไฟจะตลบอบอวลไปทั่ว ตอนสายก็จะนำเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ไม่ว่าจะเป็นมุ้งหรือผ้าห่ม ลงไปสู่ท่าน้ำเพื่อซักทำความสะอาดกัน เมื่อซักผ้าแล้วก็กลับมาบ้านเพื่อดำหัว(สระผม) อาบน้ำให้ผ่องใส การดำหัววันนี้ถือเป็นประเพณีสิริมงคลเพื่อชำระเสนียดจัญไร การดำหัวนี้ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือน้ำส้มป่อย ซึ่งถือกันเป็นของแก่เสนียด อาถรรพ์ เขาจะใช้น้ำส้มป่อยนี้ลูบศีรษะและเช็ดหรือหยิบจัญไรที่มีอยู่ตามส่วนร่างกายทิ้งไป ซึ่งคนโบราณบัญญัติไว้ตามวันที่เป็นสังขานต์ล่องวันนั้น เช่น ถ้าสังขานต์หรือสงกรานต์มาวันต่าง ๆ ดังนี้
            วันอาทิตย์ ศรีอยู่ที่ลิ้น กาลกิณีอยู่ที่อก จัญไรอยู่ที่สะดือ
            กาลกิณี และจัญไรเป็นสิ่งไม่ดี อยู่ที่ไหนให้ใช้น้ำส้มป่อยเช็ดทิ้งเสีย ส่วนศรีนั้น เป็นสิ่งที่ดี ศรีอยู่ที่ใดให้หมั่นลูบคลำศรีไว้ จะเป็นมงคลแก่ตัว
            เมื่อดำหัวหรือสระผมเสร็จแล้ว จะทัดดอกไม้หรือใบไม้ (ถ้าไม่มีดอก) ที่เป็นนามปี ส่วนมากจะถือเอาดอกที่นางสงกรานต์ทัดเป็นพญาดอก ถ้าดำหัวแล้วได้ทัดดอกไม้อันเป็นพญาดอกประจำปีแล้ว เชื่อว่าจะนำสิริมงคลความเจริญมาสู่ในปีนั้น
            วันเนาว์  วันที่ ๑๔ เมษายน จะเป็นวันใหม่หรือวันขึ้นปีใหม่ก็ได้ เพราะดวงอาทิตย์ย้ายเข้าราศีเมษตั้งแต่วันวานแล้ว แต่บางคนก็เรียกว่าวันเน่า ไม่นิยมประกอบการมงคลใด ๆ ถือว่าเป็นวันเสีย วันนี้ตั้งแต่เช้าตรู่ บรรดาแม่ค้าทุกสารทิศต่างนำสินค้าเข้ามาสู่ตลาด ประชาชนส่วนมากต่างถือตะกร้าออกมาจ่ายของที่ต้องการจะนำไปประกอบอาหารทำบุญ เมื่อจ่ายกับข้าวเสร็จแล้วที่นำมาประกอบอาหารที่บ้านวันนี้ถือว่าเป็นวันสุกดิบ ห้ามการบริภาษกัน ตอนบ่ายผู้คนจะพากันไปขนทรายจากท่าน้ำไปก่อเป็นพระเจดีย์ทรายที่ในวัด
            วันพญาวัน  วันที่ ๑๕ เมษายน เป็นวันสำคัญมาก วันนี้ผู้คนจะไม่จ่ายตลาดเลย เพราะจะพากันไปทำบุญตักบาตร และทานขันข้าว (สำรับ) ตั้งแต่เช้าตรู่ ญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่เคารพอยู่ที่ไหนก็ไปทานขันข้าวที่นั่นโดยแบ่งกันไป บางคนไปทานที่วัด ที่วัดมีการทำบุญตักบาตร ทำเสร็จแล้วก็กลับบ้าน เมื่อรับประทานอาหารเช้าแล้ว ก็จะไปวัดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อทานเจดีย์ และฟังเทศน์ มีช่อตุงสำหรับปักบนเจดีย์ทราย พร้อมกรงนก และหม้อปลาที่จะไปปล่อยเคราะห์ เมื่อพร้อมที่วัดแล้วก็ทำพิธีทางศาสนา โดยนิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์โยงด้ายสายสิญจ์ รอบเจดีย์ทรายมาถึงหัตถ์พระพุทธรูป และมือของพระสงฆ์ หลังจากฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์แล้ว ก็ฟังเทศน์เรียกว่า ธรรมอานิสงค์ปีใหม่ โดยโบราณาจารย์ จารไว้ในใบลาน กล่าวถึงความเป็นมาของสงกรานต์คือ เรื่อง ธรรมบาลกุมาร พร้อมทั้งคำทำนายเหตุการณ์ในปีนั้น และสรุปลงท้ายด้วยการรักษาศีล และเจริญภาวนา เมื่อฟังเทศน์จบแล้วก็จะเอาน้ำขมิ้นส้มป่อยหรือน้ำมนต์ประพรมที่นกและปลาแล้วเอาไปปล่อยเรียกว่า ปล่อยเคราะห์ จากนั้นก็แบ่งด้ายสายสิญจ์กัน เพื่อนำไปผูกข้อมือลูกหลาน
            วันนี้เป็นวันที่สนุกสนานกันมาก มีการรดน้ำดำหัว โดยเริ่มดำหัวคณะสงฆ์ก่อนเรียกว่า ดำหัวสงฆ์ จากนั้นก็ไปดำหัวบิดา มารดา ครูบา อาจารย์  สิ่งของที่นำไปดำหัวที่ขาดไม่ได้คือ น้ำขมิ้น ส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม  นอกจากนั้น ยังมีหมากสุ่ม พลูสุ่ม คือหมากพลูที่อยู่ในกรวยใบตอง โดยแยกคนละห่อ และยาสูบอีกห่อด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีเสื้อผ้า อาหารแห้ง ยารักษาโรค ฯลฯ
            วันนี้โบราณถือว่าเป็นวนปีใหม่จริง ๆ  มีการละเล่นต่าง ๆ หลายชนิด เช่น การเล่นหมากคอน การเล่นม้าชกดอก การเล่นเชือกข้ามค่าว การเล่นเข้าผีนางด้ง ฯลฯ
            วันปากปี  วันที่ ๑๖ เมษายน เป็นวันต้นของปี จึงเรียกว่า วันปากปี ในวันนี้ตอนเช้าผู้คนจะพากันไปบูชาข้าวลดเคราะห์ที่วัด โดยนำเสื้อของคนในครอบครัวไปด้วย เพื่อเอารองไว้ใต้สะตวง อันเป็นภาชนะสำหรับใส่เครื่องบูชา ทางวัดมีคำกล่าวบูชาโดยเฉพาะ ถือว่าถ้าได้ทำพิธีนี้จะอยู่ดัมีสุขตลอดปี บางบ้านก็นิมนต์พระมาเทศน์คัมภีร์ที่เป็นมลคล หรือทำพิธีสืบชาดาที่บ้าน การรดน้ำยังคงมีอยู่ประปราย การรดน้ำแต่เดิมทำกันอย่างสุภาพมีวัฒนธรรม มีการให้พรไปในตัว เช่น ขณะที่หลังน้ำรดที่ไหล่ หรือที่หลังก็ตามก็จะกล่าวคำให้พรว่า พลันได้พลันมี สารภีซ้อนกาบ พลันได้หาบ พลันได้คอน พลันได้นอนหมอนคู่ พลันได้อยู่กัน เอาสวรรค์เป็นบ้านเกิดหนอ ฯลฯ  แล้วแต่จะแต่โวหารให้พรกัน
            ประเพณีทานข้าวใหม่  โบราณกล่าวสอนไว้ว่า เมื่อปลูกผลไม้ยืนต้นใด ๆ เมื่อไม้เหล่านั้นออกลูกครั้งแรก ให้แจกแก่พี่น้องเพื่อนฝูง และนำไปถวายพระ ในปีต่อไปผลไม้นั้นจะผลิตออกลูกมาก
            ร่องรอยแห่งวัฒนธรรมนี้ ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบันคือ การทานข้าวใหม่ หลังจากการเก็บข้าวใหม่ในนา นำมาใส่ยุ้งฉางแล้วก็นำข้าวใหม่นั้นไปตำนึ่งหุงสุกดีแล้ว พร้อมด้วยอาหารไปถวายทานแก่พระสงฆ์
            ประเพณีการทานข้าวใหม่ส่วนมากจะตรงกับวันเพ็ญเดือนสี่ (เหนือ) ซึ่งเป็นกลางฤดูหนาวในเช้ามืดของวันนั้น จะพบคนทานไปทานขันข้าว และนำข้าวสารบ้างข้าวเปลือกบ้างไปวัด แล้วเาไปกองรวมกันไว้ในแต่ละประเภท ที่เป็นข้าวสุกก็จะเอาไปใส่บาตร ปีใดชาวนาได้ข้าวดีมีผลมาก ทางวัดจะไดข้าวเปลือกเป็นร้อย ๆ ถังขึ้นไป ซึ่งทางวัดก็จะขายแล้วนำเงินที่ได้มาบูรณะซ่อมแซมเสนาสนะต่าง ๆ
            ปอยข้าวสังข์  คืองานทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย แต่งานปอยข้าวสังข์จะแตกต่างจากงานศพคือ จะมีงานรื่นเริงสนุกสนาน ในวันแต่ดา จะมีการละเล่นต่าง ๆ เช่น ซอพื้นเมือง ดนตรีสะล้อซอซึง
            คติความเชื่อนี้มีอยู่ว่า เพื่อให้วิญญาณของผู้ตายไปเกิดในสุคติภพ ต้องการให้เกิดเป็นทิพบสมบัติแก่ผู้ตายในภพหน้า ข้าวของที่ใช้ในการทานจึงเป็นข้าวของที่ใช้ในชีวิตของผู้ตาย ถ้าผู้ตายชอบสิ่งใหนก็จะหาของสิ่งนั้นมาถวายทาน
            เมื่อใกล้วันทำบุญ เจ้าภาพจะเชิญชวนเพื่อนบ้าน และผู้ที่รู้จักมักคุ้นว่าจะมีการทำบุญ ผู้ที่ได้ทราบก็จะมาช่วยกันสร้างบ้านเล็ก ๆ อย่างประณีตสวยงาม เมื่อเสร็จงานแต่ละวันก็จะเลี้ยงผู้ที่มาช่วยงาน
            เมื่อถึงวันงานวันแรกจะเป็นวันดา จะมีผู้คนมาร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก เจ้าภาพจะเลี้ยงดูแขกที่มาอย่างเต็มที่อิมหนำสำราญ  ตอนเย็นจะมีการเลี้ยงเหมือกับงานรื่นเริงมีสะล้อซอซึง ร่วมบรรเลงทำให้บรรยากาศของงานเป็นไปอย่างสนุกสนานจนดึกดื่น บางครึ้งก็เกือบสว่าง
            ประมาณตีห้าของวันใหม่ เจ้าภาพจะเตรียมข้าวของเพื่อจะไปถวายทานข้าวที่วัด
            ประเพณีปอยหลวง  คำว่าปอยเป็นภาษาพม่าแปลว่า งานที่มีคนชุมนุมกัน ถ้ามีมาชุมนุมกันน้อยก็เรียกว่า ปอยน้อย ถ้ามีคนมาชุมนุมมากเรียกว่า ปอยหลวง
            ล้านนาไทย มีประเพณีสืบต่อกันมาแต่โบราณว่า เมื่อสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ หรือสิ่งที่จะต้องจัดปอยหลวง เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้แก่ อุโบสถ วิหาร ศาลา กำแพง หอธรรม (หอไตร)  สมัยต่อมาได้เพิ่มสิ่งที่เป็นสาธารณธประโยชน์เข้ามาด้วย เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ถนนหนทาง ฯลฯ
            เมื่อทางวัดได้ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเสร็จแล้ว ก็จะประชุมศรัธาผู้อุปการของวัด เพื่อลงมติกันว่า จะปอยหลวงหรือจะทานสังฆ์ ถ้าลงมติว่าทานสังฆ์ งานก็จะลดขนาดลง คือไม่มีการล่นไม่มีการแห่ครัวทาน ไม่จำเป็นต้องแผ่มาบุญให้แก่ญาติพี่น้อง เพียงแต่นิมนต์พระสงฆ์ภายในตำบลมารับไทยธรรม (ทานสังฆ์)  เจริญพระพุทธมนต์ให้เป็นมงคลแก่สิ่งปลูกสร้างตามธรรเนียม แล้วทานสงฆ์แก่พระสงฆ์เป็นอันเสร็จพิธี ศรัทธาของวัดก็ไม่จำเป็นต้องทำครัวทานใหญ่ ๆ เพียงแต่เตรียมทำสงฆ์สักลูกหนึ่งนำไปวัดเท่านั้น เงินรายได้จากการทานสังฆ์ จะไม่ต้องนำไปเป็นค่าใช้จ่ายเป็นการละเล่น เหมืองานปอยหลวง ทางวัดก็จะได้เงินเป็นกอบเป็นกำ ทางบ้านก็ไม่สิ้นเปลืองมาก
            ส่วนงานปอยหลวง นับเป็นงานใหญ่ มีประเพณีสืบต่อกันมาแต่โบราณ เข้าใจว่ายึดเอาแบบอย่างของนางวิสาขามหาอุบาสิกา ที่สร้างวัดบุพพาราม ถวายพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จได้จัดให้มีการฉลองเป็นที่ครึกครื่น
            เมื่อตกลงกันว่าจะปอยหลวงแล้ว ทางวัดก็จะต้องจัดแจงเตรียมงานหลายอย่าง เช่น ทำความสะอาดวัด ซ่อมแซมวัด ตั้งกรรมการดำเนินงานทุกแผนก ส่วนศรัทธาของวัดก็ตระเตรียมทำบ้านช่องให้สะอาด บอกข่าวแก่ญาติพี่น้องที่อยู่ไกลให้ทราบ เพื่อมาร่วมทำบุญด้วยกัน งานปอยหลวงจึงเป็นการนัดชุมนุมเครื่อญาติในรูปแบบหนึ่ง จากนั้นก็เตรียมทำครัวทาน คือทำสิ่งของที่จะนำไปถวายทาน
            ครัวทนของแต่ละบ้าน จะสร้างในตามเจตนาของตน อาจทำเป็นปราสาท เป็นเรือน เป็นรูปสัตว์ หรือทำเป็นยอดฉัตร มีค้างมีฐานตั้งประดับประดาให้วิจิตรพิสดาร นิยมทำเป็นครัวทานหลังโต ๆ ตั้งไว้กลางห้องโถง ไม่นิยมเอาไว้ใต้ถุนบ้าน เพราะถือว่าเป็นของสูง ใช้เวลากว่าครึ่งเดือนในการทำครัวทาน
            การแห่พระมหาอุปคุตต์  เมื่อจะมีงานปอยหลวง จะมีการแห่พระมหาคุตต์ตามคติความเชื่อที่มีมาแต่สมัยพระเจ้าอโศก ตอนที่พระเจ้าอโศกฉลองพระบรมธาตุแปดหมื่อสีพันหลัง ปรากฏว่ามีพญามารมารบกวน จึงได้นิมนต์พระมหาอุปคุตต์มาช่วย โดยท่านได้มัดพญามารไว้ไม่ให้ออกไปรบกวน
            การตานตุง  ก่อนถึงงานปอยหลวงสองสามวัน จะเป็นวันนัดถวายทานตุง โดยศรัทธาของวัดเป็นผู้สร้างตุงถวาย วันทานตุงถวาย วันทานตุงท่าตอนเช้า ทำบุญตักบาตรแล้วก็เวนทานตุง เมื่อเสร็จแล้วก็จะตุงของตนมาฝังค้างสูงสามถึงสี่วา ฝังเป็นแถว จากหน้าวัดออกไปยังสองฟากถนนที่จะเข้ามาสู่วัด แสดงให้รู้ว่า วัดแถวนี้จะมีงานหรืองานปอยหลวง
            วันแรกของงานปอยหลวง ตอนเช้าจะมีการทำบุญตักบาตรตามประเพณี ตลอดทั้งวันจึงเป็นวันครัวทาน นำครัวทานเข้าสู่วัด  ทางวัดจัดเจ้าหน้าที่คอยตอนรับที่หน้าวัด นิยมทำร้านสูงเสมอกำแพงมุงหลังคา เพื่อให้ฆ้องกลองอยู่คอยแห่งรับครัวทานที่ปรำหน้าวัด หรือในวัดจะจัดช่างฟ้อนของวัด คอยฟ้อนต้อนรับครัวทาน เมื่อครัวทานหัววัดแห่ไปถึง คนถือสัปทนก็จะนำสัปทนไปกั้นให้พระที่นำครัวทานมา คอยรินน้ำจากคนโทถวายพระ ผู้ที่ถือพานดอกไม้ก็จะนำพานดอกไม้มาประเคน เป็นการนิมนต์ให้เข้าไปในวัด พิณพาทย์ฆ้องกลองบนร้านที่ประตูวัด ก็จะแห่ต้อนรับ ช่างฟ้อนของวัดก็ฟ้อนรับ บางวัดมีการฟ้อนนำขบวนมา หรือแสดงการละเล่นต่าง ๆ มาตามขบวน เมื่อเข้าไปถึงในวัดแล้ว ก็นำศรัทธาเข้าไปพักในที่ทำบุญ ไห้วพระรับศีลรับพรแล้วทยอยออกมา คณะวัดใหม่ก็เข้าไปแทนที่ตามลำดับ
            ทุกวันตอนเช้า จะมีการทำบุญตักบาตรเป็นประจำ เพื่อจะนำข้าวที่ศรัทธามาใส่บาตรไว้เลี้ยงแขกในตอนกลางวัน พอตอนสายครัวทานหัววัดก็แห่แหนเข้ามา
            ตอนบ่ายมีการแห่ครัวทานของศรัทธาเข้าวัด จะมีครัวทานเต็มถนนหนทาง เสียงฆ้องกลองดังสนั่นหวั่นไหว เป็นที่สนุกสนานอย่างยิ่ง กว่าจะเสร็จก็ถึงเวลาค่ำ
            ตอนกลางคืนผู้คนจะมาฟังเทศน์ ฟังเบิกในวัด และชมการละเล่นต่าง ๆ
            การเวนทาน  รุ้งเช้าของวันหนึ่ง เป็นเวนทานถวายสิ่งปลูกสร้างแก่พระภิกษุสงฆ์ การเวนทานนี้เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของล้านนาไทย ทุกวัดจะมีอาจารย์ทำหน้าที่เวนทานประจำไว้ มีหน้าที่เวนทานสิ่งต่าง ๆ ที่จะถวายแก่พระภิกษุสงฆ์
            การเวนทานปอยหลวง นับเป็นงานใหญ่ การกล่าวเวนทานเป็นร่ายพรรณาคำสอนก่อนเป็นเบื้องแรก กล่าวประวัติวัดนั้นพอสังเขป แล้วกล่าวถึงสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่เริ่มต้นมาจนถึงมีการฉลอง เมื่อกล่าวคำเวนทนจบแล้ว ก็ถวายสิ่งของแก่พระภิกษุสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนแล้วกรวดน้ำเป็นอันเสร็จพิธี
            พระเพณีปอยลูกแก้ว  ทางล้านนาไทยเรียกลูกที่จะบรรพชา อุปสมบทว่า ลูกแก้ว คือ ลูกดีเป็นพิเศษเป็นแก้วเป็นคุณแก่บิดามารดา ล้านนาไทยนิยมบรรพชาสามเณรมาก เด็กผู้ชายอายุประมาณสิบปี บิดามารดาผู้หวังความเจริญแก่ลูกจะนำลูกมาฝากเป็น ขะยม หรือศิษย์วัด เพราะวัดเป็นศูนย์กลางของศีลปศาสตร์ทั้งปวง เมื่อเล่าเรียนอักษรสมัยจบแล้ว ก็เริ่มเรียนคำที่จะกล่าวขอบรรพชา เรียนสิกขาวินัย และเริ่มท่องบทสวดมนต์ต่าง ๆ หัดอ่านคัมภีร์ที่จางไว้เป็นอักษรล้านนาไทย จนอายุประมาณสิบสองปี จึงจะจัดการมีปอยลูกแก้ว บรรพชาให้
            การดาปอย คือ การเตรียมงาน  มีการตระเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ แล้วให้ลูกสาว หลานสาว หรือสาว ๆ  เพือนบ้านไปแผ่นาบุญ คือ การไปบอกให้ญาติมิตรมาช่วยทำบุญด้วยกัน โดยจะเอาผ้าเหลืองหรือผ้านิสัทนะ (รองนั่ง) ห่ออัฐบริขารบางชิ้น แล้วใช้ปลูกประคำพันที่จุดผ้านิสัทนะ ที่รวบรวมมากันเป็นกระจุกไว้  เอาห่อผ้านี้วางบนพานอุ้มเดินไปแผ่นาบุญในบ้านที่เจ้าภาพกำหนดให้ เมื่อไปถึงบ้านใดก็จะบอกเรื่องราวและกำหนดวันให้ทราบ เจ้าของบ้านก็จะยกพานนั้นขึ้นจบที่หน้าผาก แล้วกล่าวคำว่า สาธุ อนุโมทนามิ
            วันดาคือวันสุกดิบ  ในวันนี้ญาติพี่น้องจะมาช่วยกันห้างดา ตระเตรียมสิ่งของต่าง ๆ และทำกับข้าว ผู้คนจะมารอมครัวคือ มาร่วมอนุโมทนาด้วยสิ่งของ หรือเงิน  ตามสามบ้านหรือที่บริเวณกว้างจะปลูกร้านเพื่อใช้ช่างซออยู่บนนั้น เพื่อให้แสดงการซอเก็บนก ซึ่งเป็นการซอที่สนุกสนาน คนนิยมกันมาก คล้ายกับลำตัดของภาคกลาง
            การแห่ลูกแก้ว  จะกำหนดให้ไปเอาลูกแก้วจากวัดใดวัดหนึ่ง ที่อยู่ห่างไกลจากวัดที่จะบวชประมาณสองถึงสามกิโลเมตร ลูกแก้วแต่งตัวแล้วจึงขึ้นพาหนะ เช่น ช้าง ม้า หรือภา หรือจะขี่คอคนก็ได้ ลูกแก้วจะแต่งตัวด้วยเครื่องลิเกหรือละคร สมมุติให้เป็นเจ้าฟ้า ประดับเครื่องทรงด้วยถนิมพิมพาภรณ์อย่างงดงาม เลียนแบบเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อเสด็จออกบรรพชา พาหนะส่วนใหญ่ใช้ม้ากั้นสัปทนกันแดดให้ แล้วแห่ด้วยฆ้องกลอง หรือเครื่องสายรบพื้นเมืองมายังวัดที่จะบรรพชา
            การเรียกขวัญ  หรือการทำขวัญนาค  จะทำขันผูกมือหรือขันบายศรี โดยมีพานกับขันตั้งซ้อนกัน เย็บด้วยใบตอง ประดับด้วยดอกไม้สดหลายชนิด เหมือนบายศรีปากชาม แต่ใหญ่กว่าและละเอียดกว่า ในภาชนะบายศรีจะใส่ข้าวสุกปั้นหนึ่ง ไข่ไก่ต้มฟองหนึ่ง กล้วย อ้อย ของหวานและน้ำจอกหนึ่ง ของเหล่านี้ลูกแก้วกินเมื่อเรียกขวัญจบแล้ว ผู้ที่ทำพิธีเรียกขวัญเรียกว่า อาจารย์เรียกขวัญ หรือหมอขวัญ  จากนั้นก็เป็น ปู่ ย่า ตา ยาย น้า อา ของลูกแก้วมาผูกข้อมือ เป็นเสร็จพิธี
            การเป็นพระนาค  เมื่อจะบวชก็เปลี่ยนเครื่องนุ่งห่มเดิมมานุ่งผ้าขาว พวกญาติพี่น้องที่จะร่วมอนุโมทนาก็จะมาทานที่พระนาค พระนาคต้องให้พระแก่เขา เหมือนเป็นพระแล้ว ถ้าไม่บรรพชาในวันนั้น ก็ยังไม่เปลี่ยนเครื่องทรง ก็จะมีการแห่ลูกแก้วไปตามบ้านญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เคารพนักถือ เพื่อขอให้ท่านเหล่านั้นผู้ข้อมือให้ ถือเป็นการขอขมาและเป็นสิริมงคลแก่ลูกแก้ว
            การบรรพชา  สมัยก่อนนิยมบรรพชาในเวลาก่อนรุ่งอรุณ โดยถือตามแบบเจ้าชายสิทธัตถะ ที่เสด็จออกบรรพชาในเวลานั้น การหาวันบวชไม่นิยมบวชพระบวชเณร ในวันขึ้นหรือแรม ๑๔ ค่ำ ถือว่าเป็นวันม้วยสมณ์
            ประเพณียี่เป็งและลอยกระทง  ระหว่าง ปี พ.ศ. ๑๔๔๐ - ๑๔๖๐ พระเจ้ากมลราชเสวยในนครหริภุญชัย เกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ผู้คนพากันหนีออกจากเมืองไปอาศัยพุกาม เมืองสุธรรมนคร และเมืองหงสาวดี ได้รับการต้อนรับจากชาวเมืองหงสาวดีเป็นอย่างดี เมื่อโรคระบาดสงบลง ก็พากันกลับมาสู่เมืองหริภุญชัยอย่างเดิม ครั้งนั้นเวลานานถึงหกปี ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ที่กลับมาอยู่ที่นครหริภุญชัยแล้ว เมื่อระลึกถึงหมู่ญาติที่หงสาวดี ครั้งถึงอภิลักขิดสมัยตามปีตามเดือนแล้ว ก็ลอยขาทนัยโภชนัยหาร ตามน้ำลงไปข้างใต้ อุทิศให้แก่หมู่ญาติทั้งหลายเหล่านั้น เรื่องราวดังกล่าวนี้มีมาแต่หนังสือจามเทวีวงค์
            การลอยกระทงในสมัยก่อนนั้น จะสร้างกระทงเป็นเรือน เป็นเรือ เป็นสำเภา คล้ายกับครัวทานที่แห่ในงานปอยหลวงปัจจุบัน ในเรือนหรือสำเภา เหล่านั้น จะบรรจุสิ่งของเครื่องใช้ เสื้อผ้า ข้าวปลา อาหาร และเงินทอง แล้วแห่มาทำที่แม่น้ำ จุดประทีปโคมไฟหรือเทียนให้สว่าง แล้วปล่อยลงน้ำให้กระแสน้ำไหลล่องลงไปทางทิศใต้
ตามที่คิดว่าเมืองหงสาวดี
            กำหนดวันลอยกระทง สมัยโบราณไม่ได้กล่าวไว้ชัด แต่เข้าใจว่าเป็นวันเพ็ญเดือนยี่เหนือ เพราะวันนั้นเป็นวันอภิลักขิตสมัยของชาวล้านนา เป็นวันพระสุดท้ายแห่งการฟังเทศน์ตามประเพณี และวันนี้ได้กำหนดไว้ให้เป็น ฟังเทศน์มหาชาติด้วย ซึ่งถือเป็นประเพณีสืบต่อมา ตามวัดวาอารามบ้านช่องทั่วไป จะจุดประทีปโคมไฟ โคมค้างโคมแขวน ประดับตกแต่งประตูวัด ประตูบ้านเป็นประตูป่าด้วยฝีมือวิจิตงดงาม กลางวันก็จุดโคมลอยและพลุ ประกอบน้ำในแม่น้ำในเดือนนี้ ยังมีพอลอยกระทงได้
            การฟังเทศน์มหาชาติ  การฟังเทศน์มหาชาติ นิยมฟังกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยจะฟังให้จบในวันหนึ่งคืนหนึ่ง และแต่งเครื่องบูชาครบตามที่สั่งไว้ คือ ดอกบัวเผื่อน ดอกปีบ ธูป เทียน ข้าวตอกให้ครบพัน เพื่อบูชาพันคาถา พร้อมกับภาพวาดเป็นกัณฑ์ ของเหล่านี้เตรียมวางไว้หน้าพระประธานในวิหาร ส่วนรูปค้าง เหมือนฉัตร รูปภาพวาดมีดแขวนไว้ตามผนัง ดอกบัวเผื่อน จะลอยบนกระถางน้ำก็ได้ ดอกปีบทำเป็นแผง ๆ ใช้ดอกไม้แห้งทำ
            วันฟังเทศน์  กำหนดเอาวันเพ็ญเดือนยี่เหนือ (ยี่เหนือ)  ก่อนถึงวันฟังเทศน์ ทุกวัดจะเตรียสถานที่ทำซุ้มประตูวัดที่เรียกว่า ทำประตูป่า สมสุติเป็นประตูเข้าสู่ป่าหิมพานต์ ต่อจากประตูวัดเข้าไป จะทำราชวัตรและปลูกกล้วยอ้อยประดับช่อตุง (ธงทิว) และฉัตร บริเวณวัดจะมีฝังค้างโคมแขวน หน้าวิหารจะมีโคมกระดาษรูปร่างแปลก ๆ แขวนเป็นระยะ ถ้ามีโคมมากก็แขวงถึงในวิหาร ในวิหารประดับธงราว และเครื่องบูชามหาธาตุ
            ในวันเดือนยี่เหนือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น. ศรัทธาชาวบ้านจะมาฟังเทศน์คือ เรื่องเวสสันดรชาดก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นภาษาบาลี มีอยู่ทั้งหมด พันคาถา และเทศน์คัมภีร์มาลัยต้น มาลัยปลาย กับอานิสงค์เวสสันดร
            ในวันเพ็ญเดือนยี่เหนือ (ยี่เพ็ญ)  เวลาเช้าจะเริ่มฟังกัณฑ์ทศพรและกัณฑ์ต่อ ๆ มาตามลำดับ มีเวลาพักตักบาตร ตอนเช้าและฉันเพล จากนั้นก็กัณฑ์ติดต่อกันไป เมื่อเทศฯ์กัณฑ์ใด เจ้าภาพของกัณฑ์ก็จะจุดธูปเทียนบูชาคาถาของกัณฑ์นั้น เมื่อเทศน์กัณฑ์หนึ่ง จะมีการประโคมฆ้องกลองบูชา ทรงบนวิหารก็จะจุดประทัดบอกสัญญาณให้ว่า ธรรมจบกัณฑ์แล้ว ผู้ที่อยู่ในที่ใดก็ตาม เมื่อได้ยินเสียงกลองก็จะปรานมมือไห้วมาทางวัดแล้วกล่าวคำว่า สาธุ
            ในการเทศน์ตามกัณฑ์ดังกล่าว ก่อนเทศน์พระผู้เทศน์จะใส่กาบเค้าคือ แหล่กาพย์ตอนต้นจะเป็นเรื่องอะไรก็ได้ที่เข้ากับเหตุการรณ์ เช่น กาบสิทธารถ กาบพิมพา พิลาป กาบศัลหา เป็นต้น เมื่อเทศน์จบกัณฑ์ได้แล้ว จะมีการใส่กาบปลายอีกครั้งหนึ่ง เป็นการสรุปใจความในกัณฑ์นั้น ถ้าเป็นกัณฑ์สุดท้ายคือ นครกัณฑ์ มักจะใส่กาบลำดับกัณฑ์ คือ สรุปเรื่องราวทั้งหมด ตั้งแต่กัณฑ์แรกคือ กัณฑ์ทศพรถึงกัณฑ์สุดท้ายคือ นครกัณฑ์
            ประเพณีแต่งงาน  ล้านนาไทยให้อิสระในการแสวงหาคู้แก่หนุ่มสาว ตั้งแต่สมัยโบราณมา บิดามารดาของฝ่ายสาว จะเปิดโอกาสให้ฝ่ายชาย มาคุยกันได้กับฝ่ายหญิงที่บ้าน ส่วนมากจะเป็นเวลากลางคืน โดยฝ่ายหญิงมีงานเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น สานแห ปั่นฝ้าย หรือเสียบหมาก เป็นต้น ฝ่ายชายก็ให้นั่งคุยเป็นเพื่อน การคุยเกี้ยวกัน คุยกันด้วยภาษากวี
            เมื่อหนุ่มสาวคุ้นเคย รักชอบกันพอสมควร คือ ประมาณสามปีแล้ว ทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะไปทาบทามอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า จาเทิง หรือ เทิงกัน  เพื่อให้ทราบว่ารักกันแน่น เมื่อตกลงกันมั่นเหมาะแล้ว ต่อมาก็จะหามื้อ จันทร์วันดี คือ หาวันและฤกษ์แต่งงาน ซึ่งนิยมแต่งงานในเดือนคู่ ไม่นิยมแต่งงานในฤดูกลางพรรษา เมื่อกำหนดวันได้แล้ว ทางฝ่ายหญิงก็จะเตรียมที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม ส่วนฝ่ายชายมีหน้าที่เลี้ยงดูแขกเหรื่อที่จะมาในงาน ส่วนมากมักเป็นงานวิวาห์มงคล บ้านเจ้าสาวมักต้องเตรียมเป็นพิเศษ เพราะเป็นสถานที่ทำพิธี แม้เมื่อแต่งงานแล้ว ฝ่ายหญิงต้องไปอยู่กับฝ่ายชายก็ตาม
            สิ่งที่เจ้าสาวต้องเตรียมคือ  ตกแต่งห้องนอน เตรียมสถานที่แต่งงาน ส่วนมากใช้เติ๋นคือ ห้องโถงของเรือนที่อยู่ ทำขันผูกมือ (บายศรี) ขึ้นท้าวทั้งสี่ (มีอาจารย์จัดให้) หาอาจารย์เรียกขวัญ (หมอขวัญ) เตรียมอาหารเลี้ยงแขก บอกผีปู่ย่าให้ทราบถึงการเพิ่มสมาชิกในครอบครัว
            เมื่อได้เวลาไปขอเจ้าบ่าว จะจัดเลือกคนที่ช่างเจรจา นำคณะไปขอเจ้าบ่าวที่บ้านเจ้าบ่าว จะมีพานดอกไม้ ธูปเทียน ไปพูดเชิญเป็นถ้อยคำที่เป็นมงคล เมื่อได้เวลาขบวนเจ้าบ่าวก็แห่ออกจากบ้าน สมบัติของเจ้าบ่าวมีสหีบใส่ของหรือใส่เงิน ดาบอันเป็นอาวุธคู่มือ เมื่อขบวรเจ้าบ่าวมาถึงประตู ทางบ้านเจ้าสาวก็ใช้เข็มขัดเงินขึงกันประตูบ้านไว้ สมบัติว่าเป็นประตูเงิน มีคนช่างเจรจาฝ่ายเจ้าสาวคอยกันไว้ และเปิดเจรจา
            จากนั้นเป็นการมัดมือ คือการผูกข้อมือ ส่วนมากอาจารย์ผู้ทำพิธีเรียกขวัญ จะเป็นผู้ผูกก่อน จากนั้นจึงถึงผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาว จนกว่าจะหมดคนที่เคารพนับถือ คำมัดมือคู่บ่าวสาวอาจรย์มักกล่าวมาความว่า
            จักมัดมือเบื้องซ้าย บ่ หื้อขวัญเจ้าย้ายพรากไปไหน หื้ออยู่จำเริญใจใฝ่อ้าง ช่วยสร้างซึ่งคาวา หื้อรู้จักอดโทสาความโกรธ หื้อหันประโยขน์แห่งสุข อย่าเล่นสนุกเกนกว่า หื้อตั้งหน้าถนอมใจ ยามผัวเป็นไฟโกรธล้ำ หื้อเมียเป็นน้ำชุ่มไหลริน หื้อรู้จักทังเก็บทังกินและทังจ่าย อย่ามักง่ายปล่อยตามใจ จักเยียะอันใดก็หื้อปรึกษากันก่อน แปลงใจผ่อนอภัยกัน บ้านก็จักเป็นสวรรค์เที่ยงแท้ มีสุขบ่เศร้า ยาวทีฆา
            จักมัดมือขวานั่นเล่า เพื่อหื้อขวัญเจ้ามั่นกับกาย ศีลธรรมทังหลายเป็นเครื่องจั้ง คุณพระแก้วทั้งอยู่พายบน หื้อใจเจ้าเป็นกุศลใสสะอาด หันแก่พระพุทธศาสน์แห่งโคดม หื้อเอาธรรมะอบรมสอนสั่ง จะลุก จะนั่ง ระวังกาย คนเราทังหลายใจโลกหล้า จักเป็นสุขอยู่ช้าเพราะศีลธรรม ถ้าใจชั่วใจดำบาปต้องก็จักใจจมอยู่ห้องแห่งโสกา หื้อมีสัจวาจาเป็นเครืองบ่ม ทมะ หื้ออดทนขุมทุกประการ ขันติรู้จักทนทานต่อทุกสิ่ง สงบเรียบนิ่งทนทาน จาคะ รู้จักการบริจาคเป็นกุศลมากแผ่มายบุญ สิ่งนี้จักสนับสนุนสองเจ้า หื้อยืนเย้าบ่อเพือนคลอน แลนา
            เมื่อมัดมือเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทำพิธีจูงเจ้าบ่าวเจ้าสาวเข้าห้อง มักจะคัดเลือกคนที่มีประวัติ หรือมีชื่อเป็นมงคลจูงเจ้าไป แม้การปูที่นอนของคู่บ่าวสาวก็เช่นกัน จะคัดเลือกเชิญคู่สมรสซึ่งอยู่ด้วยกันดีตลอด ไม่ทะเลาะวิวาทกัน ฐานะตระกูลเป็นสุข

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์