ท่องเที่ยว
||
เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
||
ดูดวงตำราไทย
||
อ่านบทละคร
||
เกมส์คลายเครียด
||
วิทยุออนไลน์
||
ดูทีวี
||
ท็อปเชียงใหม่
||
รถตู้เชียงใหม่
Truehits.net
dooasia : ดูเอเซีย
รวมเว็บ
บอร์ด
เรื่องน่ารู้ของสยาม
สิ่งน่าสนใจ
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
เที่ยวหลากสไตล์
มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
เส้นทางความสุข
ขับรถเที่ยวตลอน
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
อุทยานแห่งชาติในไทย
วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
ไก่ชนไทย
พระเครื่องเมืองไทย
เที่ยวภาคเหนือ
กำแพงเพชร
:
เชียงราย
:
เชียงใหม่
:
ตาก
:
นครสวรรค์
:
น่าน
:
พะเยา
:
พิจิตร
:
พิษณุโลก
:
เพชรบูรณ์
:
แพร่
:
แม่ฮ่องสอน
:
ลำปาง
:
ลำพูน
:
สุโขทัย
:
อุตรดิตถ์
:
อุทัยธานี
เที่ยวภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
:
ขอนแก่น
:
ชัยภูมิ
:
นครพนม
:
นครราชสีมา(โคราช)
:
บุรีรัมย์
:
มหาสารคาม
:
มุกดาหาร
:
ยโสธร
:
ร้อยเอ็ด
:
เลย
:
ศรีสะเกษ
:
สกลนคร
:
สุรินทร์
:
หนองคาย
:
หนองบัวลำภู
:
อำนาจเจริญ
:
อุดรธานี
:
อุบลราชธานี
:
บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
เที่ยวภาคกลาง
กรุงเทพฯ
:
กาญจนบุรี
:
ฉะเชิงเทรา
:
ชัยนาท
:
นครนายก
:
นครปฐม
:
นนทบุรี
:
ปทุมธานี
:
ประจวบคีรีขันธ์
:
ปราจีนบุรี
:
พระนครศรีอยุธยา
:
เพชรบุรี
:
ราชบุรี
:
ลพบุรี
:
สมุทรปราการ
:
สมุทรสาคร
:
สมุทรสงคราม
:
สระแก้ว
:
สระบุรี
:
สิงห์บุรี
:
สุพรรณบุรี
:
อ่างทอง
เที่ยวภาคตะวันออก
จันทบุรี
:
ชลบุรี
:
ตราด
:
ระยอง
เที่ยวภาคใต้
กระบี่
:
ชุมพร
:
ตรัง
:
นครศรีธรรมราช
:
นราธิวาส
:
ปัตตานี
:
พัทลุง
:
พังงา
:
ภูเก็ต
:
ยะลา
:
ระนอง
:
สงขลา
:
สตูล
:
สุราษฎร์ธานี
www.dooasia.com
>
เมืองไทยของเรา
>
เมืองเก่าของไทย
เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี
|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
|
พัฒนาทางประวัติศาสตร์
|
มรดกทางธรรมชาติ
|
มรดกทางวัฒนธรรม
|
มรดกทางพระพุทธศาสนา
|
มรดกทางพระพุทธศาสนา
วัดปรางค์หลวง
อยู่ที่บ้านบางใหญ่ ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๐ แต่บางหลักฐานกล่าวว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๔ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้อพยพผู้คนหนีโรคระบาดมาประทับอยู่ที่บริเวณนี้ ก่อนที่จะทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดขึ้น เดิมชื่อว่า วัดหลวง
พระปรางค์
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับวัด เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ก่ออิฐสอดิน ยอดเจ็ดชั้นย่อมุมไม้ยี่สิบ ประดับลายปูนปั้น เรือนธาตุมีซุ้มจรนำทั้ง ๔ ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้นลงรักปิดทอง สภาพองค์ปรางค์ชำรุดมาก กลางเรือนธาตุมีกรุอยู่ภายในแต่ไม่มีช่องทางขึ้นสู่ยอดปรางค์ ผนังเรือนธาตุเป็นผนังทึบไม่มีประตู
หลวงพ่ออู่ทอง
เป็นพระประธานในพระอุโบสถหลังเก่าที่ถูกทุบทำลายไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปกรรมแบบอู่ทอง พุทธลักษณะงดงาม เป็นที่เคารพสัการะของคนในชุมชนมาก มีการจัดงานนมัสการ และปิดทองประจำปี ในเดือนมิถุนายน
ใบเสมา
ทำจากหินชนวนชาวบ้านเรียกหินกาบ มีขนาดใหญ่ไม่มีลวดลาย ปักลงบนดินรายรอบพระอุโบสถหลังเก่า เป็นใบเสมาสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง ๑ ใบเท่านั้น
พระวิหารน้อย
ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของพระปรางค์ สร้างขึ้นพร้อมกับพระปรางค์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองหลังอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก เหลือแต่เพียงผนัง
วัดกระโจมทอง
อยู่ริมคลองวัดกระโจม ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๙๑๐ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ร่วมสมัยกับวัดปรางค์หลวง มีตำนานกล่าวว่า เดิมเคยเป็นที่ตั้งกระโจมที่ประทับของพระเจ้าอู่ทอง
พระวิหารหลวงพ่ออู่ทอง คล้ายพระอุโบสถขนาดเล็ก จุพระสงฆ์ได้ประมาณ ๒๑ รูป ผนังหนาประมาณ ๘๐ เซนติเมตร อยู่ในสภาพชำรุดเหลือแต่ผนังด้านข้างกับด้านหลัง ภายในพระวิหารมีพระพุทธรูปสมัยอู่ทองตอนต้นอยู่สามองค์ องค์กลางมีขนาดใหญ่เรียกว่าหลวงพ่ออู่ทอง ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับหลวงพ่ออู่ทองที่วัดปรางค์หลวง
วัดปราสาท
ตั้งอยู่ริมคลองอ้อมที่บ้านบางกร่าง ตำบลบางกร่าง อำเภอเมือง ฯ สันนิษฐานว่าสร้างในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมบริเวณวัดปราสาทเป็นสถานที่ใช้ในการระดมพลเพื่อเตรียมไปทำสงครามที่กรุงศรีอยุธยา
พระอุโบสถมีขนาดเล็กมีสภาพสมบูรณ์ กว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๒๖ เมตร เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นแบบมหาอุดคือผนังด้านข้างไม่มีหน้าต่าง มีประตูอยู่ด้านหน้า 3 ประตู ประตูกลางใหญ่กว่าประตูข้าง ซุ้มประตูทรงปราสาทประดับปูนปั้น ด้านหลังไม่มีประตู มีเพียงช่องแสงขนาดเล็กบนผนังด้านหลังพระประธาน ๑ ช่อง เพื่อให้แสงเน้นที่องค์พระประธาน เมื่อมองจากด้านหน้า จะเห็นแสงสว่างกระจายรอบองค์พระประธานเป็นรัศมีเจิดจ้า หลังคาด้านหน้าเชิดขึ้นเล็กน้อย ส่วนฐานเป็นเส้นโค้งแบบเดียวกับหลังคา หน้าบันมีลายจำหลักไม้แบบนูนสูงลอยตัว เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ช่อฟ้าใบระกาและคันทวยลวดลายไม้จำหลักงดงาม มีเรื่องเล่าสืบมาว่า พระอุโบสถนี้สร้างขึ้นหลังจากสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จมาตั้งพลับพลา เพื่อขุดคลองลัดจากวัดท้ายเมืองถึงปากคลองบางกรวยหน้าวัดเขมา ฯ
ฝาผนังด้านในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมสกุลช่างนนทบุรี เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาวตามแบบภาพเขียนไทยโบราณทั่วไป ผนังส่วนบนสุด เป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าประทับในเรือนแก้วเรียงกันตามแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อลงมาเป็นภาพทศชาติ นับว่าเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดในย่านนี้
วัดเพลง
เป็นวัดร้างอยู่ริมคลองวัดสักใหญ่ในพื้นที่ ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย สันนิษฐานว่าสร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และอาจจะกลายเป็นวัดร้างมาตั้งแต่คราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ มีผู้รู้เล่าสืบกันมาว่าวัดนี้เดิมชื่อวัดทองเพลง สำหรับโบราณสถานที่สำคัญมีดังนี้
พระอุโบสถ
มีขนาดใหญ่และสูงมาก ยาวขนาด ๗ ห้อง ตรงมุมย่อไม้สิบสอง เสาซุ้มประตูประดับลายปูนปั้นงดงาม คานไม้ตรงซุ้มประตู และเหนือคานประตูขึ้นไปเป็นไม้ มีลวดลายลงรักปิดทองกนกเปลวเพลิง ฝาผนังด้านในหลังพระประธานมีร่องรอยจิตรกรรม เป็นลายดอกไม้ร่วงบนพื้นแดง สภาพพระอุโบสถชำรุดมาก เหลือเพียงฝาผนังที้งสี่ด้าน ไม่มีหลังคา ไม่มีบานประตูหน้าต่าง
หลวงพ่อโต
เป็นพระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยหินทรายหุ้มลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๓ ใน ๔ ของความกว้างของพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง
ใบเสมา
ทำจากหินทรายแดง ตั้งอยู่ตามมุมพระอุโบสถ เหลืออยู่เพียงแท่นฐานบัวตั้งอยู่บนฐานขาสิงห์โหย่งสี่ฐาน ส่วนใบเสมานั้น วัดสักใหญ่ได้มาขุดออกจากฐานที่ตั้ง แล้วนำไปไว้ที่วัดสักใหญ่ ใบเสมาบางใบยังมีสภาพสมบูรณ์ เห็นลวดลายชัดเจน
วัดค้างคาว
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตรงข้ามวัดเขมาภิรตาราม ในพื้นที่ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง ฯ เนื่องจากบริเวณนี้มีค้างคาวอยู่มาก ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดค้างคาว จากโบราณสถานในวัด สันนิษฐานว่าสร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โบราณสถานที่สำคัญมีดังนี้
พระอุโบสถ
มีขนาดใหญ่ก่ออิฐถือปูน มีมุขหน้าหลัง หน้าบันเป็นลวดลายไม้จำหลักรูปเทวดาประทับในปราสาท ล้อมรอบด้วยลายกนกออกช่อเทพนม มีความประณีตงดงามมาก เครื่องลำยอง ช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ ค้นทวยรับเชิงชาย ล้วนมีความประณีตงดงาม บานประตูหน้าต่างเป็นลวดลายไม้จำหลัก มีซุ้มจรนำประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปกรรมสมัย อยุธยาตอนกลาง เรียกว่า หลวงพ่อเก้า กำแพงแก้วเป็นแบบกำแพงบัวหลังเจียด ช่องประตู หัวเสาเม็ดทรงมัณฑ์ พระพุทธรูปในพระอุโบสถเป็นศิลปกรรม สมัยอยุธยามีจำนวน ๒๘ องค์ เท่ากับอดีตพระพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่ในลักษณะที่หันพระพักตร์ไปทั้งสี่ทิศ ซึ่งพบเสมอในวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา
หลวงพ่อเก้า
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นทรงเครื่องปางห้ามญาติ ขนาดสูงเท่าคนธรรมดา ศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง ประดิษฐานในซุ้มจรนำด้านหน้าพระอุโบสถ การที่เรียกว่าหลวงพ่อเก้าเนื่องจากนิ้วพระหัตถ์ซ้ายมีเพียงสี่นิ้ว
ใบเสมา
ทำด้วยหินทรายแดงล้อมพระอุโบสถ ตั้งอยู่บนฐานขาสิงห์โหย่งเป็นคู่มีจำนวน ๑๖ ใบ มีลวดลายจำหลักแบบต่าง ๆ ไม่ซ้ำกัน เช่น ลวดลายพันธุ์พฤกษา ลวดลายเครือวัลย์ ใบเสมาดังกล่าวนี้มีอายุเก่าแก่กว่าใบเสมาเดียวกันที่จำหลักลายกนกในสมัยอยุธยาตอนต้น หรือก่อนสมัยอยุธยา
เจดีย์
ตั้งอยู่รายรอบพระอุโบสถมีอยู่สองแบบด้วยกันคือ เจดีย์ทรงระฆังฐานแปดเหลี่ยมทรงสูง สมัยอยุธยา และเจดีย์ย่อไม้สิบสอง แบบรัตนโกสินทร์
วัดกลางบางซื่อ
ตั้งอยู่ริมคลองบางซื่อ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง ฯ สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นพร้อมกับการตั้งเมืองนนทบุรี เมื่อปีพ.ศ. ๒๐๒๙ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์
หลวงพ่อพระกาฬ
เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ สูง ๒.๗๐ เมตร ทำจากหินทรายแดง มีประวัติว่าลอยน้ำมาติดอยู่หน้าวัด ชาวบ้านได้ช่วยกันอัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานไว้หน้าพระอุโบสถ หันพระพักตร์ไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา ทางวัดได้จัดงานนมัสการเป็นประจำทุกปีในเดือนมีนาคม
วัดแก้วฟ้า
ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองบางกอกน้อย ในพื้นที่ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๐๙๕ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์
สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๑๔ มีขนาดห้าห้อง เป็นอาคารเครื่องก่อแบบผนังรับน้ำหนัก ฐานแอ่นโค้ง ด้านหน้ามีพาไล ฝาผนังหุ้มกลอง ก่ออิฐจรดอกไก่ มีประตูด้านหน้าสองประตู ด้านหลังทึบ มีช่องเล็ก ๆ หลังพระประธานหนึ่งช่อง ได้รับการบูรณะในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปัจจุบันอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก
หลวงพ่อโต
เป็นพระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำด้วยหินทรายทรายพอกปูนลงรักปิดทอง สร้างในสมัยอยุธยา
ใบเสมา
ทำจากหินทรายแดงลวดลายจำหลัก ตั้งอยู่บนฐานขาสิงห์ มีซุ้มทรงกูบช้างทวิมุข
เจดีย์
มีสองแบบคือ เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองตั้งอยู่ที่มุมกำแพงแก้วทั้งสี่มุม เจดย์ย่อมุมไม้ยี่สิบฐานสิงห์ยอดบัว ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ นอกกำแพงแก้ว
วัดบางขนุน
ตั้งอยู่ริมคลองวัดบางขนุนที่บ้านบางขนุน ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า บริเวณที่สร้างวัด เคยเจริญรุ่งเรืองมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีเจ้านายหนีภัยสงครามมาพัก และได้บูรณะวัดขนุน
พระอุโบสถ
มีลักษณะทรงโถง ฐานอ่อนโค้งทรงเรือสำเภา มีขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๒ เมตร ส่วนมุขด้านหน้าด้านหลัง และซุ้มประตูหน้าต่าง สันนิษฐานว่าสร้างเพิ่มขึ้นเมื่อคราวบูรณะพระอุโบสถ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสองสมัยคือ จิตรกรรมที่หลังบานประตู เป็นจิตรกรรมสมัยอยุธยา จิตรกรรมฝาผนังด้านใน เป็นภาพพุทธประวัติ เป็นจิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
หอไตรกลางน้ำ
มีลักษณะเป็นเรือนไทย สมัยอยุธยาตอนปลาย เชื่อกันว่าเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนนทบุรี อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ที่บานหน้าต่างด้านในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังจาง ๆ สมัยอยุธยาตอนปลาย ภายในหอไตรมีตู้พระธรรมลายรดน้ำ ๖ ใบ ลวดลายพรรณพฤกษางดงามมาก
ใบเสมา
ทำด้วยหินทรายแดง จำหลักลายประจำยาม ศิลปกรรมสมัยอยุธยา
วัดชลอ
ตั้งอยู่ริมคลองบางกรวย และคลองบางกอกน้อย ในพื้นที่ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จากตำนานและโบราณสถานในวัดสันนิษฐานว่า วัดนี้สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น
พระอุโบสถหลังเก่า มีลักษณะทรงไทย รูปเรือสำเภาโบราณ ตัวพระอุโบสถตั้งอยู่ในเรือ หน้าบันเป็นรูปพระพุทธเจ้าและพระสาวก พระประธานเป็นพระพุทธรูปหินทราย หน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๙ นิ้ว ศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น
วัดอัมพวัน
ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ที่บ้านบางม่วง ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ เดิมชื่อวัดบางม่วง สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
หอไตรกลางน้ำ
สร้างด้วยไม้สักทรงไทย สมัยรัตนโกสินทร์ต้อนต้น มีสองชั้น ชั้นล่างโล่ง ชั้นบนเป็นตัวหอขนาดสองห้อง ยกพื้นสูงกว่าเฉลียงรอบเล็กน้อย บานประตูลงรักปิดทอง ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ประจำยามก้านแย่ง อกเลา เป็นไม้จำหลักลายดอกพุดตาน หลังคามุงกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้า (หักไปแล้ว) หลังคาสองชั้น
มณฑปพระพุทธบาท
เป็นมณฑปก่ออิฐถือปูนสูงสองชั้น บันไดทางขึ้นอยู่ทางทิศใต้ ฝาผนังด้านนอกชั้นล่างมีช่องซุ้มยอดแหลมด้านละสามช่อง ยกเว้นด้านทิศตะวันออก ชั้นบนมีห้องมณฑปอยู่ตรงกลาง มีเฉลียงรอบ เสาเฉลียงเป็นเสาเหลี่ยม ที่หัวเสามีบัวแวง ตัวมณฑปมีประตูทางด้านทิศและทิศใต้ด้านละบาน อีกสองด้านเป็นผนังทึบ เครื่องบนเป็นหลังคาทรงมณฑปซ้อนสี่ชั้น ยอดเป็นบัวกลุ่มรูปสี่เหลี่ยมสี่ชั้นบัวกลมสามชั้น ปลียอดลูกแก้วและฉัตร หลังคามุงกระเบื้องเกร็ดเต่าดินเผาไม่เคลือบแบบเดียวกับหอไตร หางหงส์เป็นเศียรนาคสามตัว พื้นมณฑปและเฉลียงปูหินอ่อนแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาวของโบราณ
พระพุทธบาทจำลอง เป็นโลหะประดิษฐานบนฐานปูน หันปลายพระบาทไปทางทิศตะวันตก
พระปรางค์
มีอยู่องค์หนึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของมณฑป บริเวณริมคลองบางกอกน้อย เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยา ฐานพระปรางค์เป็นฐานประทักษิณแปดเหลี่ยมสามชั้น มีพนักฐานชั้นบนและชั้นกลาง ถัดพนักขึ้นไปเป็นช่องทางขึ้นสี่ด้าน องค์พระปรางค์ตั้งแต่ฐานถึงยอด ประดับด้วยลายปูนปั้น เครื่องถ้วยลายครามลายเบญจรงค์และจานสีต่าง ๆ ลักษณะพระปรางค์มีฐานหน้ากระดานขาสิงห์สามชั้น ย่อมุมไม้ยี่สิบ ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้ว อกไก่ เรือนธาตุ บัลลังก์กลีบขนุนห้าชั้น และมีนพศุลเป็นโลหะ
วัดโพธิบางโอ
ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ที่บ้านบางกรวย ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย ตามตำนานกล่าวว่า สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ (พ.ศ. ๒๒๔๖ - ๒๒๕๑) ได้มีการบูรณะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมอบให้กรมหลวงเสนีบริรักษ์เป็นผู้บูรณะ จึงได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า วัดโพธิเสนี
พระอุโบสถ
มีรูปทรงได้สัดส่วนงดงาม มีมุขหน้า มุขหลัง ชายคาพาไล รอบพระอุโบสถตามแบบวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นแบบอย่างมาจากวัดหลวง สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ลวดลายหน้าบันจำหลักไม้รูปนารายณ์ทรงครุฑ ลายกนกขมวดเกี่ยวพันกัน เบื้องหลังมีเทพพนม และยักษ์พนมผุดกลางตัวลายดูงดงามแปลกตา บานประตูทั้งหน้าและหลังมีด้านละสองบาน ปูนปั้นซุ้มประตูเป็นรูปฤาษีพนม บางซุ้มทำเป็นรูปเทวดารำอยู่กลางซุ้ม สันนิษฐานว่าเป็นการบูรณะในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ผนังด้านหลังพระอุโบสถมีพระพุทธรูปปางเลไลยก์ปูนปั้น สันนิษฐานว่า เป็นของเดิมมีมาพร้อมกับพระอุโบสถ
บานประตูด้านนอกเขียนลายทองรูปกนกใบเทศ ลวดลายละเอียดมาก บานหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรูปสัตว์ต่าง ๆ บานประตูและหน้าต่างด้านในเป็นภาพเขียนท่าจับในรามเกียรติ์ ฝาผนังด้านในมีภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสกุลนนทบุรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เขียนเป็นภาพปริศนาธรรม ผนังด้านซ้ายพระประธานเขียนภาพปลงกัมมัฏฐานหลายแบบหลายวิธี ผนังด้านหน้าพระประธานเขียนภาพพุทธประวัติ มีภาพปริศนาธรรมแทรก ผนังเหนือหน้าต่างมีภาพเขียนกระจกเล็ก ๆ ใส่กรอบติดไว้จำนวนหลายภาพ เป็นเรื่องเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีจีน บางภาพเป็นแบบฝรั่ง มีความประณีตงดงามมาก
พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูป หินทรายแดงพอกปูน ปางมารวิชัย สมัยอู่ทอง หน้าพระอุโบสถ มีรูปสลักหินจากเมืองจีน เป็นรูปยักษ์รักษาวัดอยู่คู่หนึ่ง ซุ้มใบเสมารอบพระอุโบสถ มีลักษณะทรงกลม ตัวซุ้มเป็นช่องหน้าต่างสามช่อง ทรงยอดโค้งคล้ายซุ้มจระนำ หันหลังชนกัน ๓ ทิศ ข้างบนมียอดปูนปั้นเล็ก ๆ สวยงาม เป็นฝีมือช่างในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นศิลปสมัยอยุธยาตอนปลาย ใบเสมาทำด้วยหิน
หอระฆังตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถ เป็นงานก่อสร้างที่ได้สัดส่วนพอดี มีความสง่างาม นับเป็นหอระฆังที่งามที่สุดของจังหวัดนนทบุรี
|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
บน
|
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย
www.dooasia.com
เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com
ใช้
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
.