ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


เอกลักษณ์ของท้องถิ่น

            เจดีย์ทรงมอญ  เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะเป็นรูปแบบเฉพาะตัว แตกต่างไปจากเจดีย์ทรงลังกา หรือทรงเจดีย์แบบย่อไม้สิบสอง ที่เห็นโดยทั่วไปในประเทศไทย ในเขตจังหวัดปทุมธานีจะพบเจดีย์มอญอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นเมืองที่มีกลุ่มชนชาวมอญอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่นานกว่า ๓๐๐ ปี ชาวมอญเข้ามาก่อนชนชาติอื่น ๆ และมีประเพณีทางศาสนาที่ยึดถือสืบต่อกันมาอย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะการสร้างเจดีย์
เจดีย์มอญที่พบในจังหวัดปทุมธานีมีอยู่สามแบบใหญ่ ๆ ซึ่งได้มาจากต้นแบบสามเมืองแห่งอาณาจักรใหญ่ของมอญ เดิมก่อนการอพยพเข้ามาในปทุมธานีอันได้แก่

                แบบเจดีย์ชเวดากอง  ที่เมืองย่างกุ้ง รูปทรงเจดีย์คล้ายจอมแห องค์ระฆังสมส่วน พบที่วัดสำแล วัดสวนมะม่วง วัดสองพี่น้อง วัดเมตารางค์ วัดท้ายเกาะใหญ่ อำเภอสามโคก

                แบบเจดีย์  ชเวมอดอหรือพระธาตุมุเตา  ที่เมืองหงสาวดี องค์ระฆังอวบอ้วนกลม คล้ายดอกบัวตูม พบที่วัดศาลาแดง อำเภอสามโคก วัดศาลเจ้า อำเภอเมือง ฯ

                แบบเจดีย์ อานันทเจดีย์  ที่เมืองพุกาม องค์ระฆังเล็กเรียวมีซุ้มสี่ด้าน พบที่วัดเจดีย์ทอง อำเภอสามโคก วัดบางหลวง อำเภอเมือง ฯ
                นอกจากนี้ยังมีเจดีย์มอญที่วัดลุ่ม วัดบางตะไมย์ วัดบางกุฎีขาว อำเภอเมือง ฯ
            บ้านมอญ  บ้านเรือนชาวมอญในไทยมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ในที่ซึ่งทางราชการจัดไว้ให้ บ้านเหล่านี้มีลักษณะแตกต่างออกไปจากบ้านคนไทยเล็กน้อยในการก่อสร้าง และมักปลูกอยู่ริมน้ำในลักษณะขวางแม่น้ำหรือลำคลอง สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงกล่าวถึงการปลูกเรือนของชาวมอญแถบสามโคก ซึ่งได้ทรงพบเมื่อครั้งตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปบางปะอินโดยทางเรือไว้ว่า
                "มอญชอบปลูกเรือนขวางแม่น้ำ เอาด้านขื่อลงทางแม่น้ำจึงกล่าวกันว่า มอญขวาง แล้วคนจึงเอามาประดิษฐพูดเป็นคำหยาบ มาคิดดูเห็นว่า พวกมอญปลูกเรือนเช่นนั้นน่าจะประสงค์เอาด้านขื่อรับแดด เพราะแม่น้ำตรงนั้นยาวตามเหนือลงมาใต้ จึงเห็นขวางแม่น้ำ ปลูกเช่นนี้หันหน้าเรือนไปทางทิศเหนือ มีพะไลหลังคาบังลมหนาว ด้านใต้ฝาเรือนก็ไม่ถูกแดดเผา และรับลมทางใต้ ก็ดูเหมาะทั้งสี่ทิศ " ชาวมอญได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามโคกหลายครั้ง ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวมอญเหล่านี้ได้บูรณะวัดต่าง ๆ ซึ่งรกร้างมาตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยา ประกอยอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผา และเครื่องจักรสาน บรรทุกเรือขึ้นล่องไปขายตามแม่น้ำลำคลอง เครื่องปั้นดินเผาของชาวมอญที่มีชื่อเสียงมีหลายรูปแบบ ตามประเพณีและวัฒนธรรมของชาวมอญ พอประมวลได้ดังนี้

                ตุ่มสามโคก  มีแหล่งผลิตอยู่ที่วัดสิงห์ อำเภอสามโคก ปัจจุบันโคกที่หนึ่งมีสภาพเป็นโคกเนินดินขนาดใหญ่ มีเศษเครื่องปั้นดินเผากระจายอยู่ทั่วบริเวณ มีพื้นที่ประมาณ ๑๕๐ ตารางวา โคกที่สอง ตั้งอยู่ห่างจากโคกที่หนึ่งประมาณ ๓๐ เมตร มีลักษณะโครงสร้างผนังเตาก่อด้วยอิฐเรียงซ้อนกัน มีพื้นที่ประมาณ ๑๐๐ ตารางวา เนินดินโคกที่สามไม่มีร่องรอยสภาพเดิมเหลืออยู่

                ตุ่มสามโคกภาษามอญเรียกว่า อีเลิ้ง เป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำดื่ม มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ปากโอ่งแคบ ขอบปากม้วนออกติดกับไห กลางป่อง ไหล่ผาย ก้นตัดเป็นรูปทรงกลมเตี้ย เนื้อภาชนะค่อนข้างหนา เป็นเนื้อดินสีแดง ไม่เคลือบเงา มีน้ำหนักมาก มีหลายขนาด ผลิตเป็นสินค้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา พ่อค้าชาวมอญนำตุ่มสามโคกที่ผลิตได้บรรทุกเรือไปขายยังเมืองบางกอก ตามดูคลองต่าง ๆ จนส่งผลให้กลายเป็นชื่อหมู่บ้าน ตลาด คู คลอง ตามสินค้าที่นำไปขาย เช่นคลองโอ่งอ่าง และตลาดนางเลิ้ง ซึ่งชาวมอญเมืองสามโคก ได้นำตุ่มสามโคกหรืออีเลิ้งไปวางขาย
                ตุ่มสามโคกขนาดใหญ่ จุน้ำได้ประมาณ ๑๖ ปีบ ขนาดกลางจุน้ำได้ประมาณ ๕ ปีบ และขนาเดเล็กจุน้ำได้ประมาณ ๑ ปีบ

                อิฐมอญ  เป็นอิฐดินเผา มีแหล่งผลิตอยู่ที่สามโคก เนื้ออิฐมีสีแดงเข้ม ตัวอิฐเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนื้อแกร่งทนทาน
                อิฐมอญปัจจุบันมีขนาดเล็กต่างกว่าในอดีตมาก แต่คุณภาพของอิฐยังดีเหมือนเดิม ราคาไม่แพง ช่างก่อสร้างจึงนิยมใช้อิฐมอญกันมาก
                การทำอิฐมอญเริ่มจากการนำเรือเช่นเรือมาดหรือเรือชะล่าไปบรรทุกดินเลนที่ขุดขึ้นมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ภาษาคนทำอิฐเรียกว่า ดำดิน จากนั้นก็โกยดินเลนออกจากเรือไปใสในบ่อ ผสมดินเรียกว่า หลุมดิน แล้วเอาแกลบใส่ผสม ใช้เท้าย่ำให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันเรียกว่า ย่ำดิน เมื่อได้ที่แล้วจึงโกยดินดังกล่าวไปเก็บไว้ในบ่อพักดิน เพื่อผึ่งดินให้หมาด ใช้เวลาประมาณ ๑๒ ชั่วโมง แล้วโกยดินขึ้นรถเข็นนำไปยังลาน แล้วเทดินไว้บนลานกลางแจ้ง ใช้พิมพ์ที่ทำด้วยไม้เป็นกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้กดลงบนดิน พิมพ์เป็นแผ่น เรียงกันเป็นแถวบนลาน แล้วผึ่งแดดไว้ประมาณสามวันจนแห้ง จากนั้นจึงใช้มีดถากตกแต่งให้เรียบร้อยทั้งสี่ด้าน มีดที่ใช้แต่งเรียกว่า มีดถากอิฐ เมื่อตกแต่งแล้วจะผึ่งแดดไว้จนกว่าอิฐจะแห้ง แล้วขนอิฐไปเรียงซ้อนไว้เป็นชั้น ๆ ในโรงอิฐจนเป็นกองใหญ่ ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สูง ๒ เมตร จะได้อิฐประมาณสองหมื่นแผ่นเรียกว่า หนึ่งเตา แล้วเอาโคลนผสมแกลบทาให้ทั่วเตา อย่าให้มีรูหรือร่องรอย เพื่อที่เวลาเผาจะเก็บความร้อนได้มาก จากนั้นเอาฟืนสอดตามช่องระหว่างแถวอิฐที่ติดกับพื้นดิน เอาไฟจุดเผา ไฟจุลุกลามขึ้นไปจนถึงชั้นบนสุด ใช้เวลาเผาประมาณ ๕ - ๘ วัน ก็ไหม้หมด พอถึงวันที่สิบอิฐจะเย็นลง ช่างจะรื้ออิฐด้านนอกที่ไม่สุกออก เหลือแต่อิฐสุกสีแดงไว้ขายต่อไป
                อิฐมอญมีวิวัฒนาการตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน มีลำดับดังนี้
                    อิฐมอญสามโคกรุ่นที่ ๑  ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณปี พ.ศ.๒๒๐๓ มีขนาดใหญ่มาก กว้างประมาณ ๒๐ เซ็นติเมตร ยาวประมาณ ๔๐ เซ็นติเมตร หนาประมาณ ๑๓ เซนติเมตร ใช้ทำฐานรากโบสถ์ วิหาร กำแพง แทนเสาเข็ม และใช้ทำถนน อิฐชนิดนี้บางแผ่นมีแปดรู เรียกว่าอิฐ ๘ รู มีความหมายถึงมรรคแปด
                    อิฐมอญสามโคกรุ่นที่ ๒ มีอายุอยู่ประมาณปี พ.ศ.๒๓๑๐ มีขนาดกว้าง ๑๔ เซนติเมตร ยาว ๒๖ เซนติเมตร หนา ๕ เซนติเมตร
                    อิฐมอญสามโคกรุ่นที่ ๓  มีอายุอยู่ประมาณปี พ.ศ.๒๓๒๕ มีขนาดกว้าง ๑๓ เซนติเมตร ยาว ๒๔ เซนติเมตร หนา ๔.๕ เซนติเมตร
                    อิฐมอญสามโคกรุ่นที่ ๔ มีอายุอยู่ประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๕ มีขนาดกว้าง ๑๐ เซนติเมตร ยาว ๒๒ เซนติเมตร หนา ๔ เซนติเมตร
                    อิฐมอญสามโคกรุ่นที่ ๕ มีอายุอยู่ประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๘ มีขนาดกว้าง ๙.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๙ เซนติเมตร หนา ๔ เซนติเมตร
                    อิฐมอญสามโคกรุ่นที่ ๖  เป็นอิฐยุคปัจจุบัน มีขนาดกว้าง ๗ เซนติเมตร ยาว ๑๖ เซนติเมตร หนา ๓ เซนติเมตร
                    อิฐมอญสามโคกปัจจุบัน แผ่นเล็กลงแต่สะดวกในการก่อสร้าง มีการใช้อิฐมอญกันมาก จึงขายดี อาชีพทำอิฐยังนิยมทำอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอสามโคก  ทำรายได้ดี

                หม้อข้าวแช่  ชาวมอญเรียกมายเชิงกราน ลักษณะทรงกลม ก้นแบน คอสั้น ปากผาย ผิวด้านข้างตกแต่งด้วยลายเส้น ผิวภาชนะค่อนข้างบาง เนื้อดินสีแดง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๖ เซนติเมตร สูง ๑๔ เซนติเมตร ปากกว้าง ๑๓ เซนติเมตร ใช้ใส่ข้าวแช่ เพื่อนำไปถวายพระ หรือมอบให้ญาติผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์ โดยใช้ใบตองปิดปากหม้อพร้อมสำรับกับข้าวทั้งคาวหวานหรือใส่น้ำตาลโตนดสำหรับใช้ดื่มและเป็นหม้อแกงในครัวเรือน

                เตาวง  เป็นเตาดินเผาไม่เคลือบ มีรูปทรงเป็นวงกลม ตอนหน้าตัดเป็นช่องสำหรับใส่ฟืน มีนมเตาสามเต้า อยู่ด้านในยื่นออกมาสำหรับรองรับภาชนะที่วางบนเตา ด้านข้างเจาะเป็นรูระบายอากาศสามรู เป็นเตาไฟใช้หุงต้มในครัวเรือน ตั้งแต่สมัยโบราณ เตาวงนี้ต้องตั้งบนเตาแม่ไฟอีกทีหนึ่ง เพื่อป้องกันไฟไหม้พื้นที่ว่าง

                หม้อน้ำ  ชาวมอญเรียก เน้อง อามายดาจ เป็นภาชนะรูปทรงกลม ปากผาย ก้นมน ตรงไหล่มีลวดลายประทับ จากแม่พิมพ์กดเป็นลอยรอบคือ เป็นลายเกลียวสองแถวสลับลายก้านปลา คั่นด้วยลายสาแหรกสองแถว ในแต่ละช่องประกอบด้วยลายกรายเชิง ผิวภาชนะค่อนข้างบาง เนื้อดินสีแดง ไม่เคลือบเงา ฝาปิด มีลายประทับเช่นเดียวกับตัวหม้อ ตุ่มจับยอดฝาหม้อปั้นเป็นรูปหงส์หรือฉัตร มีฐานเป็นเสลี่ยม ดินเผารองก้นหม้อ สำหรับใช้ตั้งหม้อน้ำ ปากหม้อกว้าง ๒๑ - ๒๖ เซนติเมตร สูง ๑๙ - ๒๘ เซนติเมตร ใช้ใส่น้ำดื่มตามบ้านเรือน และตามข้างทางเดินในหมู่บ้าน
           ขนบธรรมเนียมประเพณี  ในส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น มีดังนี้

                เบิงสงกรานต์  เป็นประเพณีกินข้าวแช่ในเทศกาลวันสงกรานต์ของชาวไทยรามัญ ในเขตอำเภอสามโคก โดยก่อนถึงวันสงกรานต์ประมาณหนึ่งสัปดาห์ ชาวปทุมธานีที่ไปประกอบอาชีพทำมาหากินในถิ่นอื่น อาจจะพากันทยอยกลับบ้านของตน เพื่อเตรียมทำความสะอาดบ้านเรือนและบริเวณสถานที่อยู่อาศัย เตรียมจัดซื้อข้าวของที่จะใช้ทำบุญเป็นที่เอิกเกริกกว่างานอื่น ทุกคนจะร่วมมือช่วยกันอย่างเต็มที่ จะเป็นเหมือนกันหมดทุกครัวเรือน มีการกวนข้าวเหนียวแดง กาละแม ทำข้าวต้มและขนมอื่น ทำกับข้าวที่จะใช้กินกับข้าวแช่
                เมื่อเตรียมการเสร็จแล้ว พอรุ่งเช้าของวันที่ ๑๓ เมษายน ก็จะเริ่มทำข้าวแช่กินกัน ส่วนข้าวแช่ที่จะนำไปทำบุญและนำไปให้ญาติผู้ใหญ่จะกันไว้ต่างหาก แล้วนำไปถวายวัดใกล้เคียงและนำไปให้บ้านญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ตั้งแต่เช้าจนเพลในห้วงเวลา ๑๓ - ๑๕ เมษายน

                ตกบ่าย จะพา กันไปรวมกันที่วัด มีการก่อพระทราย ปล่อยนก ปล่อยปลา และสรงน้ำเจ้าอาวาส และพระสงฆ์รูปอื่น ๆ ตามลำดับอาวุโสจนหมดวัด เมื่อเสร็จการสรงน้ำพระสงฆ์แล้ว พระสงฆ์จะมานั่งลำดับ ชาวบ้านจะมานั่งประนมมือรับพรจากพระ ต่อจากนั้นก็จะเป็นเวลาของความสนุกสนาน มีการสาดน้ำดำหัวกัน
                หลังจากนั้นจะกลับมาบ้านเพื่อรดน้ำญาติผู้ใหญ่แล้วเอาน้ำอบประพรม เปลี่ยนเสื้อผ้าให้ใหม่ ญาติผู้ใหญ่จะกล่าวให้ศีลให้พรแก่ลูกหลาน

                ประเพณีแข่งลูกหนู  เป็นการละเล่นในการประชุมเพลิงศพพระสงฆ์ชาวมอญ ซึ่งแต่เดิมจะทำพิธีบนปราสาทที่จัดทำเป็นยอดเดียวหรือห้ายอด และจุดไฟประชุมเพลิงศพด้วยลูกหนู ต่อมาภายหลังได้กลายเป็นประเพณีการแข่ง
ขันให้ลูกหนูวิ่งไปชนปราสาทและหีบศพบจำลอง งานนนี้จะจัดในเดือนสี่และเดือนห้า โดยจะจัดในช่วงเวลาบ่ายในทุ่งนาโล่งแจ้ง
                การจัดทำลูกหนู จะได้รับการสนับสนุนจากวัดต่าง ๆ  คณะลูกหนูที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปทุมธานี มีหลายคณะเช่น วัดกร่าง วัดป่างิ้ว วัดบางเตย วัดดอกไม้ วัดปทุมทอง วัดถั่วทอง วัดชัยสิทธาวาส วัดโบสถ์ วัดน้ำวน วัดบางพลี วัดบางหลวง วัดบ่อเงิน วัดบ่อทอง วัดจันทน์กระพ้อ
                ลูกหนูทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้จริงก็ได้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๒ เซนติเมตร เจาะข้างในให้กลวง บางครั้งก็ใช้กระบอกเหล็ก ข้างในกระบอกอัดดินปืนเข้าไปให้แน่น แล้วอุดหัวท้ายวด้วยดินเหนียว โดยเจาะรูตรงกลางให้ใหญ่ประมาณเท่านิ้วก้อย สำหรับใช้ติดสายชนวน เพื่อจุดไฟให้ลามเข้าไปไหม้ดินปืนในกระบอก ซึ่งจะเกิดระเบิดเป็นเปลวเพลิงพุ่งออกมาจากรูท้ายกระบอก คล้ายดอกไม้ไฟหรือไฟเพนียงหรือผีพุ่งใต้ ด้วยความแรงของดินระเบิด จะขับดันตัวกระบอกลูกหนูให้วิ่งไปข้างหน้าโดยเร็วตามลวดสลิงที่ขึงไว้ เพราะตัวลูกหนูจะผูกดิตกับลวดสลิง ระหว่างที่ลูกหนูวิ่งจะมีเสียงดังแช็ค ๆ  เป็นที่น่าตื่นเต้น เมื่อลูกหนูวิ่งไปสุดลวดสลิงมันจะพุ่งเข้าชนปราสาท ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปประมาณ ๔๐ เมตร ถ้าลูกหนูของใครถูกที่สำคัญของปราสาทตามที่กำหนด ก็จะได้รางวัล
                ปกติการแข่งขันลูกหนูจะทำเฉพาะในงานศพของพระสงฆ์ โดยทางวัดจะเก็บศพไว้ก่อน รอจนถึงหน้าแล้งประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม เมื่อชาวบ้านว่างจากการทำนาแล้วก็จะมาช่วยจัดงานประชุมเพลิงศพพระสงฆ์
                ก่อนจะถึงกำหนดวันงาน วัดที่เป็นเจ้าภาพจะประกาศให้วัดอื่น ๆ ทราบ และเชิญชวนให้จัดลูกหนูเข้าแข่งขันด้วย ลูกหนูจะต้องตกแต่งให้สวยงาม เพื่ประกวดกัน มีการประดับตกแต่งด้วยกระดาษสีต่าง ๆ ครั้นถึงวันกำหนดแต่ละวัดจะจัดขบวนแห่ลูกหนู คล้ายขบวนพาเหรดของนักกีฬา การแต่งกายของคนในขบวนต้องเหมือนกัน ขบวนแห่ลูกหนูจะนำด้วยกลองยาวหรือแตรวง มีป้ายบอกชื่อคณะนำหน้าขบวน มีนางรำแต่งตัวสีฉูดฉาด เต้นรำตามจังหวะเพลงมาจนถึงบริเวณงาน
                ก่อนที่จะทำการแข่ง จะต้องนำลูกหนูแห่รอบเมรุเวียนซ้ายสามรอบ แล้วแห่ไปสนามแข่งขันเพื่อติดตั้งลูกหนูเข้ากับลวดสลิง เพื่อเตรียมการแข่งขันต่อไป
                ทางวัดเจ้าภาพจะต้องจัดตั้งเมรุศพหลอก มีปราสาทยอดแหลมครอบเมรุศพไว้กลางทุ่งนาให้สูงเด่น แล้วปักเสาขึงลวด พุ่งตรงไปยังปราสาทที่เมรุศพตั้งอยู่ สายลวดสลิงมีจำนวนเท่ากับจำนวนคณะที่ส่งลูกหนูเข้าแข่งขัน แล้วผูกลูกหนูติดกับสายลวดสลิง จากนั้นให้จุดชนวนเรียงกันไปตามลำวดับ จนกว่าจะหมดลูกหนูที่เตรียมมา
                วิธีจุดลูกหนู จะใช้คบเพลิงไปจุดสายชนวนท้ายตัวลูกหนู เมื่อลูกหนูวิ่งไปจนสุดลวดสลิงก็บจะพุ่งเข้าชนปราสาททันที ลูกหนูของคณะใดชนถูกที่สำคัญก็จะได้คะแนนมาก

                ประเพณีตักบาตรพระร้อย  มีมาช้านานนับร้อยปีมาแล้ว ทำในเทศกาลบออกพรรษา ตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ำ เดือนสิบเอ็ด เป็นต้นไป การตักบาตรพระร้อยนี้ ทางวัดที่อยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งจะตกลงกันกำหนดแข่งขันเป็นเเจ้าภาพ เพื่อไม่ให้ตรงกัน การกำหนดว่าวัดใดจะทำบุตรตักบาตรพระร้อย ในวันใดนั้น ได้ตกลงกันดังนี้คือ ในวันแรมหนึ่งค่ำถึงแรมสิบห้าค่ำ เดือนสิบเอ็ด จะทำที่วัดต่าง ๆ ตามลำดับวัดละวันคือ วัดมะขาม วัดหงส์ปทุมาวาส วัดสำแล วัดบางหลวง วัดโบสถ์ กับวัดไผ่ล้อม วัดไก่เตี้ย วัดบางนากับวัดบ่อทอง วัดดาวเรืองกับวัดชินวราราม วัดบางโพธิเหนือ วัดบ้านพร้าวใน วัดบ้านพร้าวนอก กับวัดชัยสิทธิาวาส วัดเสด็จตักบาตรเทโว สำหรับวันแรมสิบสามค่ำและวันแรมสิบสี่ค่ำ ไม่มีการทำบุญ วัดสุดท้ายในวันแรมสิบห้าค่ำคือ วัดโพธิ์เลื่อน
                เมื่อวัดใดถึงกำหนดตักบาตรพระร้อย วัดนั้นจะเป็นเจ้าภาพเตรียมการต่าง ๆ มีการนำเชือกลงไปขึงริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งใกล้ ๆ กับบันไดบ้านของชาวบ้าน โดยใช้ที่ตั้งวัดเป็นศูนย์กลางไปทางทิศเหนือและทิศใต้ของวัด ผ่านหน้าบ้านของชาวบ้านที่อยู่ริมฝั่งเป็นระยะทาง ๒ - ๓ กิโลเมตร ผู้ที่จะทำบุญตักบาตรไม่ต้องเดินหรือต้องพายเรือ เพียงแต่นั่งรอที่หัวบันไดหน้าบ้านของตน หรือนั่งบนเรือนหน้าบ้านที่อยู่ติดกับเชือกที่ขึงไว้ รอพระมารับบาตร
                เมื่อถึงเวลากำหนด พระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ ที่นิมนต์ไว้จะนั่งเรือ โดยมีศิษย์วัดหรือชาวบ้านมาช่วยพายเรือให้พระสงฆ์นั่งรับบาตร พระสงฆ์ที่รับนิมนต์มารับบาตรจะมารวมกันที่วัดที่เป็นเจ้าภาพ พอเช้าตรู่ของวันตักบาตร มีการจับฉลากหมายเลข ถ้าพระสงฆ์รูปใดจับได้หมาบเลข ๑ ก็ให้ออกหน้า ศิษย์ที่พายเรือก็จะสาวเชือกที่ขึงไว้เพื่อรับบิณฑบาตร เรื่อยไปทุกบ้าน พระสงฆ์รูปต่อ ๆ ไปก็จะออกรับบิณฑบาตรต่อ ๆ กันไปตามลำดับจนครบ ๑๐๐ รูป หรือตามจำนวนพระสงฆ์ทั้งหมดที่นิมนต์มา กว่าจะรับบาตรเสร็จก็จะตกเวลาประมาณสิบนาฬิกา เมื่อพระสงฆ์รูปใดรับบิณฑบาตรแล็วก็จะพากันกลับวัดของตน

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์