ท่องเที่ยว
||
เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
||
ดูดวงตำราไทย
||
อ่านบทละคร
||
เกมส์คลายเครียด
||
วิทยุออนไลน์
||
ดูทีวี
||
ท็อปเชียงใหม่
||
รถตู้เชียงใหม่
Truehits.net
dooasia : ดูเอเซีย
รวมเว็บ
บอร์ด
เรื่องน่ารู้ของสยาม
สิ่งน่าสนใจ
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
เที่ยวหลากสไตล์
มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
เส้นทางความสุข
ขับรถเที่ยวตลอน
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
อุทยานแห่งชาติในไทย
วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
ไก่ชนไทย
พระเครื่องเมืองไทย
เที่ยวภาคเหนือ
กำแพงเพชร
:
เชียงราย
:
เชียงใหม่
:
ตาก
:
นครสวรรค์
:
น่าน
:
พะเยา
:
พิจิตร
:
พิษณุโลก
:
เพชรบูรณ์
:
แพร่
:
แม่ฮ่องสอน
:
ลำปาง
:
ลำพูน
:
สุโขทัย
:
อุตรดิตถ์
:
อุทัยธานี
เที่ยวภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
:
ขอนแก่น
:
ชัยภูมิ
:
นครพนม
:
นครราชสีมา(โคราช)
:
บุรีรัมย์
:
มหาสารคาม
:
มุกดาหาร
:
ยโสธร
:
ร้อยเอ็ด
:
เลย
:
ศรีสะเกษ
:
สกลนคร
:
สุรินทร์
:
หนองคาย
:
หนองบัวลำภู
:
อำนาจเจริญ
:
อุดรธานี
:
อุบลราชธานี
:
บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
เที่ยวภาคกลาง
กรุงเทพฯ
:
กาญจนบุรี
:
ฉะเชิงเทรา
:
ชัยนาท
:
นครนายก
:
นครปฐม
:
นนทบุรี
:
ปทุมธานี
:
ประจวบคีรีขันธ์
:
ปราจีนบุรี
:
พระนครศรีอยุธยา
:
เพชรบุรี
:
ราชบุรี
:
ลพบุรี
:
สมุทรปราการ
:
สมุทรสาคร
:
สมุทรสงคราม
:
สระแก้ว
:
สระบุรี
:
สิงห์บุรี
:
สุพรรณบุรี
:
อ่างทอง
เที่ยวภาคตะวันออก
จันทบุรี
:
ชลบุรี
:
ตราด
:
ระยอง
เที่ยวภาคใต้
กระบี่
:
ชุมพร
:
ตรัง
:
นครศรีธรรมราช
:
นราธิวาส
:
ปัตตานี
:
พัทลุง
:
พังงา
:
ภูเก็ต
:
ยะลา
:
ระนอง
:
สงขลา
:
สตูล
:
สุราษฎร์ธานี
www.dooasia.com
>
เมืองไทยของเรา
>
เมืองเก่าของไทย
เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี
|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
|
พัฒนาทางประวัติศาสตร์
|
มรดกทางธรรมชาติ
|
มรดกทางวัฒนธรรม
|
มรดกทางพระพุทธศาสนา
|
ภาษาและวรรณกรรม
จารึก
พระพิมพ์ดินดิบที่ถ้ำคูหาสวรรค์ เขาคูหาสวรรค์ ถ้ำมาลัย และถ้ำเขาอกทะลุ พระพิมพ์ดินดิบดังกล่าว รวมทั้งสถูปส่วนใหญ่มีจารึกคาถา "
เย ธมฺมา
" ด้วยตัวอักษรเทวนาครีเป็นภาษาสันสกฤต พระพิมพ์และสถูปดินเผาทรงกลม ที่สร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ.๑๓๐๐ - ๑๔๐๐ ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในพุทธศานาฝ่ายมหายาน นิกายวัชรยาน คาถาจารึก "เย ธมมา" นับเป็นจารึกยุคแรกที่พบในเขตจังหวัดพัทลุง
-
สมัยอยุธยา
(พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๓) ไม่ปรากฎว่าได้พบจารึกในศิลาหรือดินเผา แต่พบจารึกหรือบันทึกเหตุการณ์ทำนองตำนาน และกัลปนาวัดในสมุดข่อยและกระดาษสา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับวัดวาอารามในหัวเมืองพัทลุง และบริเวณใกล้เคียง นิยมจารด้วยอักษรขอม อักษรไทย อักษรขอมปนไทย บางฉบับจารด้วยอักษรคฤนถ์ของอินเดียฝ่ายเหนือ แสดงให้เห็นว่าเมืองพัทลุง ในสมัยอยุธยามีความเจริญทางด้านศาสนา และอักษรศาสตร์ ตัวอย่างเช่น
พระกัลปนา วัดหัวเมืองพัทลุง
รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ พ.ศ.๒๑๕๓ พระกัลปนา วัดหัวเมืองพัทลุง พ.ศ.๒๒๔๒ รัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา พระกัลปนา วัดหัวเมืองพัทลุง พ.ศ.๒๒๗๒ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เพลานางเลือดขาว พ.ศ. ๒๒๗๓ เป็นต้น
-
สมัยรัตนโกสินทร์
พบจารึกในจังหวัดพัทลุง พุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ๒๕ จำนวนวมาก ทั้งที่จารึกไว้ในศิลา ไม้ ปูน และจารไว้ในสมุดข่อย ในรูปของวรรณกรรมท้องถิ่น ประเภทลายลักษณ์ เช่น
จารึกบนภาพพระบฎ วัดหัวเตย
อำเภอปากพะยูน
จารึกวิหารคดวัดวัง
อำเภอเมือง ฯ จารึกอุโบสถวัดสุนทราวาส อำเภอควนขนุน
จารึกถ้ำคูหาสวรรค์
วัดคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง ฯ เป็นต้น
ตำนาน
จังหวัดพัทลุงมีตำนานท้องถิ่น ทั้งโดยการบอกเล่าที่จดจำต่อ ๆ กันมา และรวบรวมเรียบเรียงขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร อธิบายสถานที่เช่น นิทานเรื่องเขาปู่ เขาย่า เขาอกทะลุ เขาหัวแตก นายแรง นางสิบสอง โคกขุนทา เรือนขุนทา ฯลฯ ประวัติความเป็นมาของเมือง ปูชนียสถาน บุคคลสำคัญเช่น ตำนานนางเลือดขาว ตำนานโนรา ตำนานสิทธิเรือรี เป็นต้น
-
ตำนานโนรา
แบ่งออกตามความเชื่อหรือการแพร่กระจายเป็นสองทางด้วยกันคือ กลุ่มที่เชื่อว่าการตั้งครรภ์ นางนวลทองสำลีมีสาเหตุมาจากการเสวยเกษรดอกบัว และกลุ่มที่เชื่อว่าการตั้งครรภ์ของแม่ศรีมาลาหรือนางนวลทองสำลี เกิดจากการลักลอบได้เสียกับพระม่วงหรือตาม่วงทอง ซึ่งเป็นมหาดเล็กคนสำคัญ จากนั้นจึงไปเสวยเกษรดอกบัว ที่เทพสิงหรแบ่งภาคจุติลงมา เพื่อถือกำเนิดในเมืองมนุษย์เป็นขุนศรีศรัทธา
-
ตำนานนางเลือดขาว
เป็นตำนานที่แพร่หลายในจังหวัดพัทลุงและจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้ มีที่มาจากสองทางด้วยกันคือ
ตำนานตามที่ปรากฎในพงศาวดารเมืองพัทลุง ซึ่งหลวงศรีวรวัตร (พิณ จันทโรจวงศ์) เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๐ - ๒๔๖๑ สรุปความได้ว่า เมืองพัทลุงได้ตั้งมาก่อนปี พ.ศ.๑๔๘๐ เมืองตั้งอยู่ที่สทิงพระ เจ้าเมืองชื่อพระยากรงทอง ครั้งนั้นตาสายชิมกับยายเพชร สองสามีภรรยา ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลปละท่า ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลาคือ บริเวณบ้านพระเกิด อำเภอปากพะยูน เป็นหมอสดำ หมอเฒ่า นายกองช้าง มีหน้าที่เลี้ยงช้างส่งพระยากรงทองทุกปี ต่อมาสองตายายได้พบกุมารจากป่าไม้ไผ่เสรียง มีพรรณเลือดเขียว ขาว เหลือง ดำ แดง และได้พบกุมารีจากไม้ไผ่มีพรรณเลือดขาว จึงได้ชื่อว่านางเลือดขาว ต่อมาทั้งสองคนได้แต่งงานกัน และรับมรดกเป็นนายกองช้าง ต่อมาจนมีกำลังขึ้นและมีผู้คนนับถือมาก ได้เรีบยกตำบลบ้านนั้นว่า
พระเกิด
ต่อมาทั้งสองคนได้พาสมัครพวกพวก เดินทางไปทางทิศอีสาน บ้านพระเกิดไปถึง
บางแก้ว
เห็นเป็นชัยภูมิดีก็ตั้งพักอยู่แต่นั้นมาก็เรียกกุมารนั้นว่า
พระยา
มีอำนาจทรัพย์สมบัติและบริวารมากขึ้น ทั้งสองคนเป็นผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก จึงได้สร้างพระพุทธรูป และอุโบสถขึ้นไว้ที่วัดสทิง อำเภอเขาชัยสน สร้างถาวรวัตถุไว้ที่วัดเขียนบางแก้ว คือวิหารและพระพุทธรูป พร้อมทั้งทำจารึกไว้ในแผ่นทองคำด้วย
ตั้งแต่ พ.ศ.๑๕๐๐ พระยากุมารกับนางเลือดขาว ก็พำนักอยู่ที่บางแก้ว ซึ่งต่อมาเรียกที่นั้นว่า
ที่วัด
มีเขตถึงบ้านดอนจิงจาย ต่อมาทั้งสองคนได้ไปเมืองนครศรีธรรมราช และสร้างพระพุทธรูปไว้หลายตำบล นับแต่นั้นมาเกียรติคุณนางเลือดขาวก็รำลือไปถึงกรุงสุโขทัย พระเจ้ากรุงสุโขทัย โปรดให้พระยาพิษณุโลกกับนางทองจันทร์ พร้อมนางสนมออกมารับนางเลือดขาวที่เมืองนครศรีธรรมราช เพื่อเชิญไปเป็นมเหสี ส่วนพระยากุมารก็กลับไปอยู่ที่บ้านพระเกิดตามเดิม
พระเจ้ากรุงสุโขทัย เมื่อทรงทราบว่านางมีสามี และมีครรภ์ติดมา จึงไม่ยกขึ้นเป็นมเหสี ครั้นนางคลอดบุตรเป็นกุมาร ก็ทรงขอบุตรไว้ชุบเลี้ยง ต่อมานางเลือดขาวทูลลากลับบ้านเดิม จึงโปรดให้จัดส่งถึงบ้านพระเกิด อยู่กินกับพระยากุมารตามเดิมจนถึงแก่กรรมทั้งสองคน ภายหลังบุตรนาง
เลือดขาวได้กลับมาเป็นคหบดี อยู่ที่บ้านพระเกิด เมืองพัทลุง ชาวเมืองเรียกว่า เจ้าฟ้าคอลาย
สำหรับตำนานนางเลือดขาวที่เป็นคำบอกเล่าของชาวบ้าน ตอนต้นกล่าวถึงสงครามในอินเดียสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทำให้ชาวอินเดียอพยพหนีภัย มาขึ้นฝั่งทางด้านตะวันตกของแหลมมลายู บริเวณเมืองท่าปะเหลียน จังหวัดตรัง แล้วข้ามแหลมมายังอำเภอตะโหนด และอำเภอปากพะยูน ขณะนั้นตาสามโมกับยายเพชรสองผัวเมีย ชาวบ้านพระเกิด เป็นนายกองช้าง ไม่มีบุตร จึงเดินทางไปขอบุตรีชาวอินเดียที่ถ้ำไม้ไผ่ตง บ้านตะโหมด นำมาเลี้ยงไว้ชื่อว่านางเลือดขาว เพราะเป็นคนผิวขาวกว่าชาวพื้นเมือง ต่อมาได้เดินทางไปขอบุตรชายชาวอินเดียที่ถ้ำไม้ไผ่เสรี่ยง ให้ชื่อว่ากุมารหรือเจ้าหน่อ เมื่อทั้งสองเจริญวัย ตายายจึงให้แต่งงานกัน แล้วอพยพไปตั้งบ้านที่บางแก้ว เมื่อตายายถึงแก่กรรม ทั้งสองก็ได้นำอัฐิไปไว้ที่ถ้ำคูหาสวรรค์ หลังจากนั้นทั้งสองได้สละทรัพย์ สร้างโบสถ์ วิหาร ในวัดเขียนบางแก้วและวัดสทิง เมื่อเดินทางถึงที่ใดก็สร้างวัดที่นั่น เช่น เดินทางไปลังกากับคณะทูตเมืองนครศรีธรรมราช ก็ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่วัดเขียนบางแก้ว สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ วัดพระงาม วัดถ้ำพระพุทธที่เมืองตรัง สร้างวัดแม่อยู่หัวที่อำเภอเชียรใหญ่ นครศรีธรรมราช สร้างวัดเจ้าแม่ (ชะแม) วัดเจดีย์งาม วัดท่าคุระ ปัจจุบันคือ วัดเจ้าแม่ อยู่ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นต้น
เมื่อข่าวความงามของนางเลือดขาวทราบไปถึงกษัตริย์กรุงสุโขทัยจึงโปรดให้พระยาพิษณุโลกมารับนางเลือดขาว เพื่อชุบเลี้ยงเป็นมเหสี แต่นางมีครรภ์แล้ว จึงไม่ได้ยกเป็นมเหสี เมื่อนางคลอดบุตรแล้ว ทรงขอบุตรไว้ แล้วให้พระยาพิษณุโลก นำนางเลือดขาวกลับไปส่งถึงเมืองพัทลุง ตั้งแต่นั้นมาคนทั่วไปก็เรียกนางว่า เจ้าแม่อยู่หัวเลือดขาว หรือนางพระยาเลือดขาว หรือพระนางเลือดขาว นางได้อยู่กินกับพระกุมารจนอายุได้ ๗๐ ปี ทั้งสองก็ถึงแก่กรรม เจ้าฟ้าคอลายผู้เป็นบุตร ได้นำศพไปประกอบพิธี ฌาปนกิจที่บ้านพระเกิด เส้นทางที่นำศพไปจากบ้านบางแก้วถึงบ้านพระเกิด เรียกว่า
ถนนนางเลือดขาว
วรรณกรรมพื้นบ้าน
วรรณกรรมพื้นบ้านได้บันทึกแนวความคิด สภาพความเป็นอยู่ จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยมตลอดจนความต้องการของสังคมไว้เป็นหลักฐาน ในขณะเดียวกัน สังคมเป็นบ่อเกิดของวรรณกรรม เงื่อนไขและปัจจัยต่าง ๆ ของสังคมจึงส่งผลถึงรูปและเนื้อหาของวรรณกรรม
วรรณกรรมมุขปาฐะ
ในชั้นแรกได้แก่ คำพูดของชาวบ้าน รวมทั้งภาษาถิ่น และการตั้งชื่อของชาวบ้าน สุภาษิตและคำกล่าวที่เป็นภาษิต คำพูดที่คล้องจองกัน ปริศนาคำทาย เรื่องเล่า เพลงชาวบ้าน เพลงกล่อมเด็ก นิทานและขำขัน
-
เพลงชาวบ้าน
ที่นิยมกันคือ
เพลงบอก
เดิมนิยมเล่นกันในวันตรุษสงกรานต์ บอกให้ทราบว่าถึงวันขึ้นปีใหม่แล้ว เป็นการบอกเล่าเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ เช่น เชิญชวนไปทอดกฐิน ทอดผ้าป่า หรือกล่าวชมเจ้าภาพหรือต้อนรับแขกในงานต่าง ๆ ปัจจุบันจะพบเพลงบอกตามหมู่บ้านและวัดในชนบท
-
เพลงประกอบการเล่นของเด็ก
เช่น การละเล่นเชื้อช้าง การเล่นจุ้บจี้ เป็นต้น
-
เพลงกล่อมเด็ก
เช่น เพลงไปคอน เพลงฝนตก เป็นต้น
-
ภาษิต สำนวน คำพังเพย
เช่น อย่าฝากกล้วยไว้กับเด็ก อย่าฝากเหล็กไว้กับช่าง, ตื่นสายสร้างสวนพร้าว ตื่นเช้าสร้างสวนยาง ฯลฯ
-
ปริศนาคำทาย
เช่น ไอ้ไหรเอ่ย กินทางปาก ขี้ออกทางข้างพุง (ครกสีข้าว)
-
นิทานชาวบ้าน
วรรณกรรมลายลักษณ์
ใช้อักษรไทยหรืออักษรขอม จารลงในใบลาน หรือบันทึกลงในสมุดข่อย หรือสมุดไทยซึ่งชาวภาคใต้เรียกว่า
ปุด
หรือ
หนังสือบุด
นอกจากนี้ยังม
ี
หนังสือเพลา
ซึ่งก็คือสมุดข่อยหรือสมุดโผจีนเย็บสมุดแบบฝรั่ง และจารเรื่องราวของวัด ตำนาน สถานที่ พระกัลปนาวัด หรือสมุดพระตำราหรือ
เพลาพระตำรา
ซึ่งพระมหากษัตริย์พระราชทานสำหรับวัดนั้น ๆ คนทั่วไปจะนำหนังสือเพลา หรือกัลปนาวัดมาอ่านโดยพละการไม่ได้ ผู้ที่อ่านได้คือ ผู้ที่ถือเพลาหรือผู้รักษาเพลาเท่านั้น การอ่านเพลา ผู้อ่านต้องนุ่งขาวห่มขาว เป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ในศีลธรรม ก่อนอ่านจะต้องจำลองรูปช้างเผือกขึ้นมา แล้วให้ผู้ถือเพลานั่งอ่านเพลาบนหลังช้าง การเก็บรักษา
หนังสือเพลา นิยมเก็บรักษาไว้ในกระบอกไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถป้องกันมดปลวกได้ดี ดูแลรักษาง่าย และสามารถสะพายติดตัวได้สะดวก
วรรณกรรมประเภทศาสนา
เป็นวรรณกรรมที่แต่งขึ้นหรือแปลมาจากพระอภิธรรมหรือพระสูตร นิทานในนิบาตชาดก และนิยายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา นิทานที่แต่งขึ้นโดยอาศัยเค้าเรื่องนิทานชาดก หรือชาดกนอกนิบาต
-
วรรณกรรมประเภทนิทาน
แม้จะได้เค้าเรื่องมาจากศาสนา และแฝงคติธรรมทางศาสนา แต่เป็นวรรณกรรมที่ไม่นำมาใช้เพื่อศาสนาโดยตรง เช่น สังข์ศิลปชัย เสือโค พระรถเมรี หอยสังข์ จันทโครพ ฯลฯ
-
วรรณกรรมประเภทตำรา
มุ่งให้ความรู้เป็นคู่มือนำไปใช้ประกอบกิจกรรม หรือพิธีกรรมบางอย่าง เช่น ตำราดูฤกษ์ยาม บททำขวัญเวทมนตร์คาถา ยันต์ต่าง ๆ ตำราดูพระเคราะห์ ตำราวางฤกษ์ยาม ทำขวัญข้าว บททำขวัญนาค ตำราทำเคราะห์ (อุบาท์ว) ทำขวัญ ตำราทายโชคชะตา ตำราทอดเบี้ยเสี่ยงทาย ตำกราพิชัยสงคราม มาตรานับเลขโบราณ ตำรายา ฯลฯ
-
วรรณกรรมประเภทกฎหมาย
กฎหมายท้องถิ่นภาคใต้ และท้องถิ่นเมืองพัทลุงส่วนหนึ่งมีลักษณะคล้ายาคลึงกับกฎหมายตราสามดวง เช่น พระราชกำหนดเก่าลุยน้ำลุยเพลิง เบ็ดเสร็จ ทาส ลักพา ตระลาการ พระราชกำหนดใหม่ ประกาศเรื่องลักษณะพยาน กฎหมายลักษณะโจร ทรัพย์สิน ตระลาการ ประกาศพระราชปรารภ กฎหมายรับฟ้อง ทาส พระอัยการลักษณะตระลาการ ลักษณะวิวาท พยาน หลักไชเบ็ดเสร็จ ประกาศพระราชปรารภ พระธรรมศาสตร์ อินทภาษ พระอัยการเบ็ดเสร็จ กฎหมายทาส ทรัพย์สิน ผัวเมีย โจร ฯลฯ
-
วรรณกรรมประเภทความเชื่อ
เน้นเกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรม ไสยศาสตร์ การป้องกันเสนียดจัญไร การป้องกันสัตว์ การทำคุณไสย เช่น เวทมนตร์คาถา คาถาพระพัลวา และคาถามหาไชย
-
วรรณกรรมประเภทภาษิตคำสอน
เช่น ธรรมะคำกลอน กลอนสอนคฤหัสถ์ กลอนพุทธบรรหาร สวัสดิรักษา พาลีสอนน้องคำกลอน สุภาษิตสอนหญิง สุภาษิตพระร่วง
-
วรรณกรรมประเภทอื่น ๆ
ได้แก่ กลอนกลบท และจินดามณีชำระใหม่
|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
บน
|
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย
www.dooasia.com
เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com
ใช้
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
.