ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


มรดกทางพระพุทธศาสนา
วัดเขียนบางแก้ว

           วัดเขียนบางแก้ว ตั้งอยู่ในเขตตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน  เป็นวัดโบราณ มีตำนานพื้นเมืองกล่าวว่า เจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาวเป็นผู้สร้าง มีพระมหาธาตุเจดีย์ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระพุทธรูปและกุฏิสงฆ์ เสร็จแล้วให้จารึกเรื่องราวการก่อสร้างลงบนแผ่นทองคำเรียกว่า เพลาวัด  สร้างเสร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๔๙๒ ต่อมาในปี พ.ศ.๑๔๙๓ เจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาว ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากเกาะลังกา มาบรรจุไว้ในพระมหาธาตุเจดีย์
           เพลานางเลือดขาว หรือบางท่านเรียกว่า เพลาเมืองสทิงพระ กล่าวว่า เจ้าพระยากรุงทอง เจ้าเมืองสทิงพาราณสี ได้สร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นไว้ที่วัดสทิง วัดเขียนและวัดสทิงพระ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๕๔๒  เข้าใจว่าวัดเขียนบางแก้ว น่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์
           จากรูปแบบสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุ เข้าใจว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา และได้รับอิทธิพลจากพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ภายในบริเวณวัดพบโบราณวัตถุสำคัญได้แก่ ศิวลึงค์และฐานโยนิ แสดงว่าบริเวณนี้ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย มาตั้งแต่สมัยต้นประวัติศาสตร์ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔
           วัดเขียนบางแก้ว เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา เป็นที่ตั้งของคณะป่าแก้วในสมัยอยุธยาตอนต้น ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลาง เมืองพัทลุงเกิดการสู้รบกับพวกโจรสลัดมลายูอยู่เสมอ บางครั้งพวกโจรสลัดได้เข้ามาเผาผลาญบ้านเรือนราษฎร และวัดวาอารามเสียหายเป็นจำนวนมาก วัดเขียนบางแก้วจึงทรุดโทรมเป็นวัดร้างชั่วคราว เมื่อชาวพัทลุงรวมตัวกันได้จึงได้บูรณะวัดขึ้นหลายครั้ง ดังปรากฏในหนังสือกัลปนาวัดหัวเมืองพัทลุงในสมัยอยุธยา ได้กล่าวถึงการบูรณะครั้งใหญ่ ๒ ครั้งคือ
           ครั้งที่หนึ่ง  ประมาณสมัยอยุธยาตอนกลาง ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๐๙ - ๒๑๑๑ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ผู้นำในการบูรณะคือ เจ้าอิน บุตรปะขาวสนกับนางเป้า ชาวบ้านสทัง ตำบลหานโพธิ
           ครั้งที่สอง  ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา เมื่อปี พ.ศ.๒๒๔๒ ผู้นำในการบูรณะคือพระครูอินทเมาลี ฯ คณะป่าแก้ว หัวเมืองพัทลุง  เมื่อบูรณะแล้วได้ขอให้สมเด็จพระวันรัตน์ ขอพระบรมราชานุญาต ให้ญาติโยมที่ร่วมทำการบูรณะเว้นการเสียส่วยสาอากรให้ทางราชการ ซึ่งได้รับโปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้ตามที่ต้องการ
           เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ วัดเขียนบางแก้วกลายเป็นวัดร้างไป จนได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
           วัดเขียนบางแก้ว ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดบางแก้ว หรือ วัดพระธาตุลางแก้ว ชื่อนี้มีที่มาอยู่สองนัยคืออาจจะมาจากชื่อ คลองบางแก้วที่ไหลผ่านวัดทางด้านทิศใต้ หรือจากคำว่าคณะป่าแก้ว เพราะพบในหนังสือเพลาวัดเขียนบางฉบับเรียกชื่อวัดนึ้ว่า วัดคณะป่าแก้ว หรือ วัดคณะบางแก้ว ในสมัยอยุธยาวัดนี้เป็นวัดของคณะป่าแก้ว หัวเมืองพัทลุง ขึ้นกับวัดใหญ่ชัยมงคล ในกรุงศรีอยุธยา

           พระมหาธาตุเจดีย์บางแก้ว  เป็นเจดีย์ก่ออิฐ ฐานแปดเหลี่ยม วัดโดยรอบยาว ๑๖.๕๐ เมตร สูง ๒๒ เมตร รอบบริเวณฐานมีซุ้มพระพุทธรูปโค้งบนสามซุ้ม ภายในซุ้มมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ เหนือซุ้มพระมีเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม อิทธิพลศิลปะจีน ทางด้านทิศตะวันออกมีบันไดสู่ฐานทักษิณ เหนือบันไดทำเป็นซุ้มยอดอย่างจีน มุมบันไดทั้งสองข้างมีซุ้มโค้งแหลม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นนูนสูงปางสมาธิ  ฐานทักษิณและฐานรองรับองค์ระฆังเป็นรูปแปดเหลี่ยม เหนือฐานทักษิณมีเจดีย์ทิศตั้งอยู่ที่มุมทั้งสี่มุม องค์ระฆังเป็นแบบโอคว่ำ ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทั้งสี่มุมของบัลลังก์มีรูปกาปูนปั้นมุมละตัว หมายถึงสมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ทั้งสี่ (ปั้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔)  ถัดขึ้นไปเป็นเสาหาน ระหว่างเสามีพระพุทธรูปสาวกปูนปั้นนูนสูงประจำแปดทิศคือ
           พระสารีบุตรประจำทิศใต้  พระโมคคัลลานะ ประจำทิศเหนือ  พระอานนท์ ประจำทิศตะวันตก  พระโกณฑัญญะ ประจำทิศตะวันออก  พระควัมปติ ประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  พระอุบาลี ประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้  พระมหากัสสปะ ประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้  พระราหุล ประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
           ต่อจากเสาหานเป็นปล้องไฉน ๒๙ ปล้อง ถัดขึ้นไปเป็นบัวคว่ำบัวหงาย แล้วต่อด้วยปลียอดหุ้มด้วยทองคำหนัก ๙๗ บาท (สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕)  ส่วนยอดสุดเป็นพานขนาดเล็กหนึ่งใบ ภายในมีดอกบัวทองคำจำนวนห้าดอกสี่ใบ
           ลักษณะทางศิลปกรรม ได้รับอิทธิพลจากพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช และน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น
           วิหารคด  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ตั้งล้อมรอบพระมหาธาตุเจดีย์อยู่สามด้าน ยกเว้นด้านทิศตะวันออกซึ่งติดกับอุโบสถ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ฝีมือช่างพื้นบ้าน จำนวน ๓๔ องค์ ชาวบ้านเรียกว่า พระเวียน
           อุโบสถ  ตั้งอยู่ด้านหน้าพระมหาธาตุเจดีย์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ขนานกับคลองบางแก้ว มีการบูรณะใหม่เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าสองทาง ด้านหลังหนึ่งทาง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ด้านหลังพระประธาน ก่อผนังเป็นห้องประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางไสยาสน์
           ใบเสมา  ทำด้วยหินทรายแดง ตั้งอยู่รอบอุโบสถ มีจำนวน ๘ ใบ เป็นใบเสมาเกลี้ยงไม่มีลวดลาย ยกเว้นใบที่อยู่หน้าอุโบสถ มีลวดลายปูนปั้นที่อกเสมา เป็นรูปทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เข้าใจว่าเป็นการซ่อมภายหลัง เสมาเหล่านี้เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น
           ศาลาการเปรียญ  ตั้งอยู่ด้านหน้าซากหอระฆัง สร้างขึ้นบนซากเก่า เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔ - ๒๔๔๕ มีขนาดสามห้อง เสาไม้ดำมีเฉลียงรอบ หลังคาทรงไทยมุงด้วยกระเบื้องดินเผา ภายในมีธรรมาสน์จำหลักไม้สวยงาม
           ซากหอระฆัง  ตั้งอยู่ด้านหน้ธรรมศาลา ปัจจุบันหักพังเหลือแต่ฐาน
           พระพุทธรูปสำริด  ปางอุ้มบาตร ศิลปะอยุธยาชาวบ้านเรียกว่า แม่ทวด  มีตำนานกล่าวว่าหมายถึง แม่ศรีมาลา

           พระพุทธรูปสองพี่น้อง  ประดิษฐานอยุ่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระแก้วคุลา เดิมเป็นพระพุทธรูปหินทรายแตกหัก เหลือแต่พระเศียรจำนวนสององค์ ต่อมาได้มีการบูรณะขึ้นใหม่เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓
           พระแก้วคุลาศรีมหาโพธิ ชาวบ้านเรียกว่าพระคุลา ประดิษฐานอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวิหารถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ประมาณ ๕๐ เมตร เป็นพระพุทธรูปหินทรายแดงปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น เดิมชำรุดหักพังเป็นชิ้นเหลืออยู่เพียงพระเศียรที่สมบูรณ์ ต่อมาได้มีการบูรณะขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕
           กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ และประกาศเขตโบราณสถานเป็นพื้นที่ประมาณ ๒๓ ไร่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙
วัดเขาเจียก

           วัดเขาเจียก ตั้งอยู่ในเขตตำบลเขาเจียก อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดโบราณตามทำเนียบวัดในจังหวัดพัทลุง ระบุว่า สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๑๘๑ แต่หลักฐานทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฎ มีอายุไม่เกินสมัยรัตนโกสินทรตอนต้น
           อุโบสถ  เป็นอาคารทรงไทยไม่ฝาผนัง ฐานก่อด้วยคอนกรีต เสาไม้ หลังคามุงกระเบื้องดินเผา สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๓ ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ๓ องค์

           ถ้ำพระเขาเจียก  ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอุโบสถ บริเวณหน้าถ้ำเรียก วัดใน ส่วนบริเวณอุโบสถเรียก วัดนอก  ถ้ำลึก ๓๒ เมตร ภายในมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย และปางสมาธิ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร จำนวน ๓ องค์
           ถ้ำนุ้ย  ตั้งอยู่ใกล้ถ้ำเขาพระเจียก เป็นเพิงหินเขาขนาดเล็ก ภายในมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางไสยาสน์ ศิลปสมัยรัตนโกสินทร
           กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
วัดควนกรวด

           วัดควนกรวดตั้งอยู่ที่บ้านควนกรวด ตำบลปางหมู่ อำเภอเมือง ฯ ตามทำเนียบวัดจังหวัดพัทลุง ระบุว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๓  ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา
           เจดีย์  ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนย่อไม้สิบสอง ขนาดฐานกว้าง ๖.๕ เมตร สูงประมาณ ๒๐ เมตร ตามประวัติกล่าวว่า เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นแทนเจดีย์องค์เดิม
           อุโบสถ  ตั้งอยู่บนเนินสูง ฐานเนินก่อด้วยอิฐ แต่ชำรุดหักพังเป็นส่วนใหญ่ แต่เดิมเป็นอุโบสถไม้ทรงโถง ต่อมาสร้างใหม่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายในอุโบสถเคยมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยอยู่ ๕ องค์ รูปพระภิกษุณีปูนปั้น ๒ องค์ ปัจจุบันเหลือแต่พระประธานเพียงองค์เดียว รอบอุโบสถมีใบเสมาหินทรายแดงจำนวน ๘ ใบ ลักษณะเป็นศิลปะสมัยอยุธยา มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง ๒ ใบ
           กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ และประกาศเขตโบราณสถาน มีพื้นที่ประมาณ ๑ งาน ๓๗ ตารางวา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓
วัดควนปรง
           วัดควนปรง อยู่ในเขตตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดโบราณ ตามหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรกล่าวว่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๑๔๒ ตรงกับสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา
           อุโบสถ  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน เดิมเป็นอุโบสถไม้ทรงโถง ไม่มีฝาผนังแบบศิลปะพื้นบ้านทั่วไป ภายในอุโบสถมีพระประธานปูนปั้นปางมารวิชัยฝีมือช่างพื้นเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ สองข้างพระประธานมีพระพุทธรูปศิลาขาว (หินอ่อน)  ศิลปะพม่าอยู่สามองค์ เดิมอยู่ที่หอไตร
           เจดีย์  ก่อด้วยอิฐถือปูน ปัจจุบันชำรุดหักพังเหลือแต่ฐานรูปแปดเหลี่ยม องค์ระฆังเดิมเข้าใจว่าเป็นทรงลังกา พังลงเพราะฟ้าผ่าเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ ปรากฎว่าได้พบพระพุทธรูปบูชาพระพิมพ์เนื้อชิน พระเงิน พระทอง พระสำริด เงินดอกจันทร์ และเงินนะโม จำนวนมาก
           หอไตร  เป็นอาคารไม้ทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา อิทธิพลศิลปะจีน
           กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ และประกาศเขตโบราณสถาน เป็นพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓
วัดควนแร่

           วัดควนแร่  อยู่ในเขตตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง ฯ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือติดกับกำแพง เมืองพัทลุงโบราณสถานในสมัยอยุธยา ไม่มีประวัติการสร้างที่แน่ชัด สันนิษฐานจากรูปแบบทางศิลปกรรมของโบราณสถาน น่าจะสร้างในสมัยอยุธยา
           เจดีย์  ตั้งอยู่ด้านหน้าอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละประมาณ ๑๐ เมตร รองรับฐานเขียงกลม ส่วนที่เป็นองค์ระฆังหักพังไปหมดเข้าใจว่าเป็นเจดีย์ทรงกลม ความสูงของเจดีย์ประมาณ ๕ เมตร จากรูปแบบของศิลปกรรมน่าจะสร้างในสมัยอยุธยา
           พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  หล่อด้วยสำริด สูงประมาณ ๓๔ เซนติเมตร ขุดพบทางด้านทิศตะวันตกของกำแพงเมืองโบราณ
           พระพุทธรูปปางห้ามญาติ  หล่อด้วยสำริดขุดพบในเจดีย์วัดควนแร่ เป็นศิลปะสมัยอยุธยา
           นอกจากนี้ภายในอุโบสถยังมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยอีกสามองค์ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง พระเศียรสวมเทริดยอดแหลม ด้านหน้าพระประธาน มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยสมัยรัตนโกสินทร์จำนวน ๓ องค์ นำมาจากวัดควนแร่ตก (ร้าง)
           กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และประกาศแนวแขตโบราณสถาน มีพื้นที่ประมาณ ๒ งาน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘
วัดโดนคลาน
           วัดโดนคลาน อยู่ในเขตตำบลบ้านพร้าว อำเภอควนขนุน เป็นวัดเก่าแก่ไม่ปรากฎหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด พิจารณาจากโบราณวัตถุที่พบภายในวัด สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมามีความว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๘ พม่าส่งกองทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ วันหนึ่งกองเสบียงของแกงหวุ่นแมงยี ผ่านมาถึงวัดโดนคลาน ซึ่งขณะนั้นมีสมภารชื่อบัวราม ทหารพม่าได้ขอมะพร้าวกินหนึ่งลูก แต่ตัดเอาทั้งทะลาย ปรากฎว่ากินได้เพียงลูกเดียว นอกนั้นเป็นมะพร้าวที่ไม่มีน้ำและเนื้ออยู่เลย ชาวบ้านจึงนับถือว่า ท่านสมภารบัวราม มีวาจาสิทธิ์และมีวิชาอาคมแก่กล้า และมีผู้เล่าว่า ท่านสมภารบัวรามได้ใช้ไม้เท้าขีดเส้นกั้น มิให้พม่าลงมาถึงเมืองพัทลุง เส้นขีดดังกล่าวได้กลายเป็นคลองปัจจุบันเรียกว่า คลองบันแต เมื่อท่านมรณภาพ ชาวบ้านได้เก็บอัฐิไว้ทางทิศเหนือของอุโบสถ เรียกกันว่า เขื่อนสมภารบัวราม
           อุโบสถ  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สร้างใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นฝีมือช่างพื้นเมือง สร้างได้สัดส่วนงดงาม ภายในอุโบสถมีพระประธานปางมารวิชัย ทำด้วยหินทรายแดงถูกปูนฉาบทับไว้ทั้งองค์ สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย
           พระพุทธรูปปางมารวิชัย  ทำด้วยหินทรายแดง  ฉาบปูนปิดไว้  เช่นเดียวกับพระประธานในอุโบสถ ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาการเปรียญ
           พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร  ทำด้วยไม้ มี ๒ องค์
           แผ่นหินชนวนรูปทรงกลม  เป็นของเก่าแก่คู่มากับวัด มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งเมตร หนาประมาณ ๘ เซนติเมตร ตรงกลางมีร่องเจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า ยาวด้านละ ๒๓ เซนติเมตร
           กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
วัดทุ่งขุนหลวง
           วัดทุ่งขุนหลวง  อยู่ในเขตตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน เป็นวัดโบราณไม่ปรากฎหลักฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยใด ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ได้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้นที่หาดทรายแก้ว บรรดาหัวเมืองขึ้นต่างก็นำเอาทรัพย์สมบัติ และผู้คนไปช่วยกันสร้างพระบรมธาตุด้วย ทางฝ่ายหัวเมืองปัตตานี ก็ได้รวบรวมเงินทอง โดยมีขุนหลวงผู้หนึ่งซึ่งพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ส่งไปเป็นผู้ควบคุมทรัพย์สมบัติ ในระหว่างทางได้หยุดพักแรม ณ สถานที่แห่งหนึ่ง พอตกกลางคืนมีพวกโจรเข้ามาปล้น แต่ขุนหลวงได้ใช้อุบายขนทรัพย์สินทิ้งลงในคลอง เมื่อโจรไปแล้วจึงได้ขนทรัพย์สมบัติขึ้นมา แล้วให้สร้างวัดขึ้นบริเวณนั้นเรียกว่า วัดทุ่งขุนหลวง
           ตามประวัติในทำเนียบวัดของอำเภอปากพะยูน ระบุว่าสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๑ ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้าง จนล่วงมาถึงปี พ.ศ.๒๔๖๗ - ๒๔๖๘ ได้มีพระสงฆ์จากวัดเสื้อเมือง จังหวัดสงขลาร่วมมือกับชาวบ้านบูรณะวัดขึ้นมาใหม่
           สิ่งสำคัญในวัดคือ พระประธานในศาลาการเปรียญ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปูนปั้นแบบนนูนสูงติดกับผนัง เป็นฝีมือช่างท้องถิ่นสมัยอยุธยา ของเดิมมีเฉพาะพระพักตร์เท่านั้น ชาวบ้านเรียกว่า ยายทองตาหลวง หรือตาหลวงยายทอง ปัจจุบันได้ซ่อมแซมขึ้นมาใหม่
           กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
วัดบางม่วง
           วัดบางม่วง ตั้งอยู่ที่บ้านประดู่เรียง ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน  เป็นวัดร้างไม่ทราบประวัติการก่อสร้างแน่ชัด พื้นที่บริเวณวัดเป็นพื้นที่ราบ มีคลองปากประหรือคลองท่าแนะไหลผ่านทางทิศเหนือ บริเวณวัดมีซากเนินโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยม เดิมเป็นที่ตั้งอุโบสถ ยังคงมีซากหลงเหลืออยู่บ้าง ในอดีตเคยมีพระพุทธรูปห้าองค์ ใบเสมาหนึ่งใบ ปัจจุบันได้ย้ายไปเก็บรักษาไว้ที่วัดประดู่เรียง ตำบลมะกอกเหนือ
           กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
วัดป่าขอม
           วัดป่าขอม  อยู่ในเขตตำบลลำปำ อำเภอเมือง ฯ เดิมเรียกว่า วัดป่าขัน ตามตำนานพื้นเมืองกล่าวว่า สร้างโดยนางเลือดขาว ในหนังสือกัลปนาวัดจังหวัดพัทลุง ในสมัยอยุธยากล่าว่า พระมหาอินทร์ได้สร้างวิหารขึ้นที่วัดป่าขัน (ป่าขอม) และเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาขอพระราชทานญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาเป็นข้าวัด โดยไม่ต้องเสียส่วยให้แก่หลวงอีกต่อไป ต่อมาวัดร้างไปจนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๔๙๗ จึงได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ ในชื่อวัดป่าขอม
           อุโบสถ  เป็นอุโบสถก่ออิฐถือปูน ได้สร้างอุโบสถหลังใหม่บนฐานอุโบสถเดิม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓ ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปหินทรายแดงปางมารวิชัยอยู่ ๓ องค์ พระประธานมีขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า ท่านนั่ง หรือพระพุทธ หรือพระพุทธนิมิตร ศิลปะสมัยอู่ทอง มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หน้าพระประธาน มีพระสาวกประทับนั่งชันเข่าประนมมืออยู่ ๒ องค์
           ใบเสมา  จำหลักจากหินทรายแดงจำนวนสองใบ ส่วนยอดมีลวดลายรูปดอกจันทน์ สมัยอยุธยาตอนต้น เดิมมีอยู่แปดใบ ต่อมาเมื่อวัดนี้ร้างไป ได้มีผู้นำไปไว้ที่วัดเขาแดงสามใบ อีกสามใบเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดภูผาภิมุข
           เจดีย์  ตั้งอยู่ด้านหลังอุโบสถ ก่ออิฐถือปูน ปัจจุบันหักพังเหลือแต่ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เล่ากันว่าเดิมเป็นเจดีย์รูปแบบ เดียวกันกับพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช  เมื่อสมัยเจดีย์พัง ได้พบถ้วยชาม พระพุทธรูปและเงินนะโม เป็นจำนวนมาก
          อนุสาวรีย์หลวงพ่อจอมสิทธิชัย  ปั้นด้วยปูน เล่ากันว่าหลวงพ่อจอมสิทธิชัยเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าขอมและเป็นเพื่อนกับสมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ สมเด็จเจ้าพังไกรและสมเด็จเจ้าพะโคะ ปัจจุบันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านมาก
           บัวเก็บอัฐิจอมพุทธราชศักดา  ก่อด้วยอิฐถือปูน ตั้งอยู่ทางด้านหลังอนุสาวรีย์หลวงพ่อจอมสิทธิชัย จอมพุทธราชศักดาเป็นกวี และปราชญ์ชาวเมืองพัทลุง มีชีวิตอยู่ระหว่างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แต่งหนังสือไว้หลายเล่ม เช่น เรื่องสุวรรณหงส์ ตำราไสยศาสตร์และตำราดูลักษณะ เป็นต้น
           กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และประกาศแนวเขตโบราณสถาน มีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ๒ งาน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์