ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


มรดกทางพระพุทธศาสนา

            จังหวัดพิษณุโลก เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยมีพระพุทธชินราช และพระบรมธาตุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นแหล่งรวมชีวิตจิตใจของชาวเมืองพิษณุโลกตลอดมา ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา  กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์เกือบทุกพระองค์ ได้เสด็จมานมัสการ และถวายเครื่องสักการะ พระพุทธชินราช และมีงานสมโภชตามโบราณราชประเพณี มาจนถึงสมัยปัจจุบัน นับได้ว่าเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองหลัก ในการประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่สำคัญ และมีความมั่นคงมากที่สุดเมืองหนึ่งของประเทศไทย
            จังหวัดพิษณุโลก มีวัดในพระพุทธศาสนาอยู่ ๔๙๒ วัด เป็นพระอารามหลวงอยู่ ๑ วัด เป็นวัดฝ่ายธรรมยุติ ๙ วัด เป็นวัดที่มีวิสุงคามสีมา ๑๘๖ วัด มีสำนักสงฆ์ ๓๐๖ แห่ง ที่พักสงฆ์ ๑๘๔ แห่ง วัดร้าง ๙๑ วัด
    วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
            วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านตะวันออก เป็นวัดที่มีประวัติยาวนาน มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และประติมากรรมที่งดงามยิ่ง ถือได้ว่าเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองพิษณุโลก
            วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย เพราะได้พบหลักฐานศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ - มีความว่า พ่อขุนศรีนาวนำถมทรงสร้าง พระทันตธาตุสุคนธเจดีย์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร มีโบราณสถานที่สำคัญคือ



            พระปรางค์  องค์พระปรางค์ตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางของวัด เป็นพระปรางค์ประธาน และเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของวัด การก่อสร้างพระปรางค์ของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ได้ทำตามคตินิยมของหัวเมืองราชธานี ของอาณาจักรสุโขทัยในสมัยนั้น คือประสงค์ให้พระปรางค์เป็นหลักเป็นประธานของวัด และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ รูปแบบของพระปรางค์เมื่อเริ่มสร้างสันนิษฐานว่า เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม โดยสร้างครอบพระสถูปเจดีย์ที่สร้างในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถม เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไป ครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลก ได้โปรดให้บูรณะพระปรางค์โดดดัดแปลงพระเจดีย์ เสด็จแห่งกรุงศรีอยุธยาได้ให้เป็นรูปแบบพระปรางค์แบบขอมตามพระราชนิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยา
            พระวิหารพระอัฏฐารศ  เป็นที่ประดิษฐานพระอัฏฐารศ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางห้ามญาติ ศิลปะสมัยสุโขทัย สูงประมาณ ๑๐ เมตร


            พระวิหารพระพุทธชินราช  เป็นวิหารทรงโรง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งในโลก พระวิหารสร้างตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ได้รับการบูรณะให้มีสภาพดีมาตลอดจนถึงสมัยปัจจุบัน พระวิหารหลังนี้จึงเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงสุโขทัยที่มีความสง่างามสมส่วน และสมบูรณ์ดีที่สุดแห่งหนึ่งของไทย มีบานประตูประดับมุก ๒ บานคู่ กว้าง ๑ เมตร สูง ๔.๕๐ เมตร เป็นบานประตูประดับมุกโบราณที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่ง


           พระพุทธชินราช  เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริด ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว สูง ๗ ศอก ฐานชุกชีปั๊มเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เดิมไม่ได้ลงรักปิดทอง ได้มีการปิดทองครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ คราวเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธชินราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๔๖
            พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปองค์ประธานของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทย เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นรูปเปลวเพลิง มีลักษณะพิเศษเรียกว่าทีฆงคุลี คือที่ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่นิ้วยาวเสมอกัน ซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักสร้างในสมัยอยุธยา แกะสลักเป็นรูปมกร (ลำตัวคล้ายมังกรแต่มีงวงคล้ายช้าง) อยู่ตรงปลายซุ้ม และมีลำตัวเหรา (คล้ายจรเข้) อยู่ตรงกลางซุ้ม มีเทพอสุราปกป้องพระองค์อยู่สองตน คือ ท้าวเวสสุวัณ และอารวกยักษ์
            ในตำนานการสร้างพระพุทธชินราชกล่าวว่า พระพุทธชินราชสร้างในสมัยพระศรีธรรมไตรปิฎก (พระยาลิไท) ได้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โดยใช้ช่างจากเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองหริภุญชัย ในการเททองปรากฏว่าหล่อได้สำเร็จเพียงสององค์ ส่วนพระพุทธชินราชทองแล่นไม่ตลอด ต้องทำพิมพ์หล่อใหม่ถึงสามครั้ง ครั้งสุดท้ายพระอินทร์ได้แปลงกายเป็นชีปะขาวมาช่วยเททองหล่อ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้นสองค่ำ เดือนหก ปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช ๓๑๙ จึงหล่อได้สำเร็จบริบูรณ์
            พระพุทธรูปทั้งสามองค์ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในครั้งนั้น
            กลองมโหระทึก  ตั้งอยู่ในพระวิหารพระพุทธชินราชบริเวณหน้าองค์พระ มีกลองมโหระทึกทำด้วยสำริดอยู่ ๒ ใบ กลองมโหระทึกดังกล่าวเป็นกลองโบราณ ของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคสำริด
           ธรรมมาสน์สวด  ตั้งอยู่ในพระวิหารพระพุทธชินราชทางเบื้องขวาขององค์พระ เป็นธรรมมาสน์ขนาดใหญ่สำหรับให้พระภิกษุสงฆ์นั่งสวดมนต์ได้สี่รูป เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีสภาพสมบูรณ์ ลวดลายต่างๆ ลงรักปิดทอง และล่องกระจกอย่างงดงาม
            ธรรมมาสน์เทศน์  ตั้งอยู่ในพระวิหารพระพุทธชินราชทางเบื้องซ้ายขององค์พระ เป็นธรรมมาสน์ขนาดใหญ่ สำหรับให้พระภิกษุนั่งแสดงพระธรรมเทศนา เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนกลาง มีสภาพสมบูรณ์ฝีมือประณีตอ่อนช้อยงดงาม


            กลองอินทรเภรี  ตั้งอยู่บนหอกลอง ซึ่งอยู่ด้านหน้าพระวิหารพระพุทธชินราช เป็นกลองโบราณ ๒ใบ ใช้ตีบอกเวลาทุกชั่วโมงโดยตีตามจำนวนครั้ง
            เศียรพระยานาคเจ็ดเศียร  ตั้งอยู่ที่พระวิหารรายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธชินราช หล่อด้วยสำริด ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นมีความประณีตงดงาม พบที่พระปรางค์วัดจุฬามณี
            ปราสาทดินเผาจตุรมุข  ตั้งอยู่ที่พระวิหารราย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธชินราช เป็นปราสาทดินเผามีหลังคาจตุรมุขยอดปราสาทตามแบบ สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย มีความงดงามมาก
            ระฆังสำริด  ตั้งอยู่หน้าพระวิหารพระสังกัจจายน์ เป็นระฆังสำริดโบราณ หล่อในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๕ มีความงดงามมาก
    วัดราชบูรณะ


            วัดราชบูรณะ สันนิษฐานว่า สร้างก่อนสมัยสุโขทัย และต่อมาคงจะได้รับการบูรณะจากพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ที่ได้เสด็จมาครองเมืองพิษณุโลก วัดนี้จึงมีชื่อว่าวัดราชบูรณะ ชาวเมืองพิษณุโลกเชื่อกันว่าวัดราชบูรณะกับวัดนางพญาเดิมเป็นวัดเดียวกัน
            พระอุโบสถ  เป็นอาคารทรงโรง ก่ออิฐถือปูน ซึ่งเป็นศิลปะแบบเก่า เป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย มีการบูรณะในสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปูนปั้นศิลปะสมัยสุโขทัย มีภาพจิตรกรรมฝาผนังศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สันนิษฐานว่า เขียนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ กามกรีฑา และภาพชาวต่างประเทศ
            พระวิหาร  ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นอาคารทรงโรงก่ออิฐถือปูน เป็นศิลปะแบบเก่าที่ใช้กับรวยระกาและป้านลม เป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย เช่นเดียวกับพระอุโบสถ มีการบูรณะในสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปูนปั้นศิลปะสมัยสุโขทัย และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นภาพพุทธประวัติตอนผจญมาร
            พระเจดีย์  ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหารเดิมเป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย มีการบูรณะในสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ องค์พระเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ การก่อพระเจดีย์ใช้อิฐเรียงซ้อนขึ้นไปเป็นชั้น ๆ จนถึงชั้นระเบียงรอบมีพระเจดีย์ทรงกลมศิลปะแบบลังกา ตั้งอยู่บนลานประทักษิณ มีพระเจดีย์ขนาดเล็กรูปทรงคล้ายพระเจดีย์ประธาน ตั้งอยู่ตรงมุมเหลี่ยมของพระเจดีย์โดยรอบพระเจดีย์ประธาน
    วัดนางพญา


            วัดนางพญาตั้งอยู่ติดกันกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือสมัยอยุธยาตอนต้น ชาวพิษณุโลกเชื่อกันว่า ผู้สร้างวัดนางพญาคือ พระวิสุทธิกษัตริย์ เมื่อครั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชา ทรงดำรงตำแหน่งมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกอยู่นานถึง ๒๑ ปีในระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๙๑ - ๒๑๑๒
            พระวิหาร  เป็นอาคารทรงโรงก่ออิฐถือปูนมี ๖ ห้อง สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะสุโขทัย ฝาผนังด้านหลังเขียนภาพไตรภูมิ ฝาผนังด้านหน้าเขียนภาพพุทธประวัติ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้มีการดัดแปลงพระวิหารให้เป็นพระอุโบสถ โดยการก่อสร้างขึ้นใหม่หมดทั้งหลัง


            พระพิมพ์นางพญา  พระพิมพ์นางพญานี้ สันนิษฐานว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชา ผู้ครองเมืองพิษณุโลกในขณะนั้น ได้ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่พระวิสุทธิกษัตริย์องค์พระมเหสี เนื่องในโอกาสที่พระองค์สร้างวัดนางพญา และวัดราชบูรณะ และได้นำพระนางพญาบรรจุไว้บนหอระฆังของเจดีย์ ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัด ต่อมาเมื่อเจดีย์หักพังลงมา พระนางพญาจึงตกลงมาปะปนกับซากเจดีย์ และกระจายทั่วไปในบริเวณวัด
            ได้มีการพบกรุพระนางพญาครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๔ และได้นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และให้บรรดาข้าราชบริพาร ครั้งหลังเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ในสมัยสงครามมหาเอเซียบูรพา เมื่อมีการขุดหลุมหลบภัยจึงไปพบพระนางพญาเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณวัด
            พระพิมพ์นางพญา เป็นพระพิมพ์ปางมารวิชัย องค์พระอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีเหลี่ยมรอยตัดด้วยเส้นตอกตัดเรียบร้อย สวยงามปราณีต เป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาเนื้อแกร่ง และเนื้อหยาบ เนื้อมีส่วนผสมของดินว่านต่าง ๆ แร่ธาตุ กรวดและทราย เนื้อที่มีสีเขียวและสีดำจะมีความแกร่งมากกว่าสีอื่น เนื่องจากถูกเผาด้วยอุณหภูมิสูง สีโดยทั่วไปจะเป็นสีแดงคล้ำน้ำตาลแก่ เขียวตะไคร่แกมดำสีเม็ดพิกุลแห้ง สีกระเบื้อง หรือสีหม้อไหม้ สีสวาทหรือสีเทา และสีแดงคล้ำมีควาบกรุ ที่เรียกว่าเนื้อมันปู และสีขาวอมชมพู
            รูปแบบของพิมพ์มีอยู่ ๖ พิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์ใหญ่เข่าตรง พิมพ์ใหญ่เข่าโค้ง พิมพ์ใหญ่อกนูน พิมพ์เล็กอกนูน พิมพ์สังฆาฏิ และพิมพ์เทวดา เชื่อกันว่าพระพิพม์นางพญามีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ด้านเมตตามหานิยมให้ลาภยศ แคล้วคลาดจากอันตราย และภัยพิบัติทั้งปวง อยู่ยงคงกระพันไม่ว่าอาวุธใด ๆ ไม่อาจทำอันตรายได้
    วัดเจดีย์ยอดทอง


            วัดเจดีย์ทอง ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด จากการพิจารณาพระเจดีย์ประธานของวัด ซึ่งเป็นทรงบัวตูมซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมศิลปะสมัยสุโขทัยตอนปลาย สันนิษฐานว่า สร้างในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) คราวเสด็จมาครองเมืองพิษณุโลก ๗ ปี ระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๐๕ - ๑๙๑๒ และได้มีการบูรณะกันต่อมาตลอดสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์
            พระเจดีย์ประธาน  มีรูปทรงดอกบัวตูม เป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยที่ยังคงเหลืออยู่ใน จังหวัดพิษณุโลกเพียงองค์เดียวเท่านั้น
            พระวิหาร  ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของพระเจดีย์ประธานปัจจุบัน มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก คงเหลือฐานขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๒ เมตร สูง ๐.๕๐ เมตร เท่านั้น
    วัดอรัญญิก


            วัดอรัญญิกตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน อยู่นอกกำแพงเมืองประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นวัดโบราณไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด เมื่อพิจารณาจากโบราณสถานของวัดคือ พระเจดีย์ทรงลังกา ซึ่งเป็นพระเจดีย์ประธานเป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย สันนิษฐานว่าสร้างในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๐๕ - ๑๙๑๒ วัดอรัญญิกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายให้พระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี
            พระเจดีย์ประธาน  ตั้งอยู่บนฐานก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่รูปทรงกลม หรือทรงลังกา เป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม เหลือเพียงคอระฆังครึ่งซีก
            พระเจดีย์ราย  ตั้งอยู่รอบ ๆ พระเจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ขนาดเล็กมีอยู่ ๑๐ องค์ ตั้งอยู่ทางด้านข้างพระเจดีย์ประธาน ๔ องค์ (พระเจดีย์ประจำทิศเฉียง) และอยู่หลังพระเจดีย์ประธาน ๒ องค์ พระเจดีย์รายที่มีขนาดใหญ่มี ๒ องค์ คือพระเจดีย์ที่ตั้งอยู่ทางด้านหน้า และด้านหลังของพระเจดีย์ประธาน
            พระอุโบสถ  ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระเจดีย์ประธาน มีขนาดฐานกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สูง ๒ เมตร พบใบเสมาหินชนวนจมอยู่ใต้พื้นดินทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้หนึ่งใบ พื้นพระอุโบสถปูด้วยหินทรายขนาดกว้าง ๘ นิ้ว ยาว ๑๕ นิ้ว หนา ๒ นิ้ว ทางด้านทิศตะวันตกมีเสาศิลาแลงสองแถว แถวละสองต้น รวมสี่ต้น มีฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นสามฐาน
            พระพิมพ์วัดอรัญญิก  ได้มีผู้พบพระพิมพ์อยู่ใต้ซากกองอิฐของพระเจดีย์ประธาน พระเจดีย์ราย พระอุโบสถ และพระวิหาร มีจำนวนมากหลายแบบหลายพิมพ์ มีทั้งที่เป็นเนื้อดินเผา และเนื้อชินเงิน
    วัดโพธิญาณ
            วัดโพธิญาณตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน อยู่ทางเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อวัดโพธาราม ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด จากการพิจารณาโบราณสถานของวัดคือ พระเจดีย์และพระวิหาร พบว่าเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๑ ได้มีการบูรณะวัดนี้ขึ้นมาใหม่ มีการสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง และกุฏิสงฆ์ และได้เปลี่ยนชื่อวัดมาเป็นวัดโพธิญาณ
            พระเจดีย์ประธาน  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่วัด เป็นพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบ ยอดเจดีย์และองค์เจดีย์ชำรุดหังพังไปหมดแล้ว
            พระวิหาร  ตั้งอยู่หน้าพระเจดีย์ประธาน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน มีเสาศิลาแลงตั้งอยู่สองแถวรวมแปดด้าน มีฐานชุกชีสำหรับตั้งพระประธานอยู่สองฐาน ด้านซ้ายก่ออิฐเป็นอาสนสงฆ์ ด้านหลังมีระเบียง มีบันไดขึ้นลงสองข้าง มีพระพุทธรูปหินทรายขนาดหน้าตัก ๑ เมตร อยู่หนึ่งองค์และพระพุทธรูปปูนปั้น ขนาดหน้าตัก ๑ เมตร อยู่สามองค์
    วัดตาปะขาวหาย


            วัดตาปะขาวหายตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน อยู่ห่างจากวัดโพธิญาณขึ้นไปทางเหนือประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษ อยู่ในเขตตำบลหัวรอ อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่า สร้างสมัยสุโขทัยตอนปลาย หรือสมัยอยุธยาตอนต้น วัดเดิมตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน และถูกกระแสน้ำไหลกัดเซาะตลิ่ง จนวัดจมลงในแม่น้ำสองครั้งมาแล้ว วัดตาปะขาวหายปัจจุบันเป็นการย้ายที่ตั้งวัดเป็นครั้งที่สาม วัดตาปะขาวหาย เดิมชื่อวัดเตาไห ตามชื่อของเตาที่ทำเครื่องปั้นดินเผาประเภทไห มาแต่โบราณ ภายหลังเตาเผาถูกฝังกลบอยู่ใต้ดินจึงไม่มีผู้ทราบ ในพงศาวดารเหนือมีเรื่องเกี่ยวกับวัดตาปะขาวหายว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกได้โปรดให้ช่างปั้นหุ่น และเททองพระพุทธรูปสำคัญสามองค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา แต่พระพุทธชินราชเททองไม่ติดบริบูรณ์ มีการปั้นหุ่นขึ้นใหม่ และเททองหล่อถึงสามครั้งก็หล่อไม่สำเร็จ พระอินทร์ได้ทรงทราบเรื่อง จึงได้แปลงกายเป็นตะปะขาว หรือชีปะขาว มาช่วยปั้นหุ่น และเททองหล่อพระพุทธชินราชจนสำเร็จ แล้วตาปะขาวก็ออกเดินทางขึ้นไปทางวัดเตาไห แล้วเหาะขึ้นท้องฟ้า ซึ่งแหวกออกเป็นช่องหายลับไป สถานที่นั้นได้มีการสร้างศาลาไว้เป็นอนุสรณ์ชื่อว่า ศาลาช่องฟ้า ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน จากเรื่องนี้จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดเตาไหมาเป็นวัดตาปะขาวหาย
    วัดวิหารทอง


            วัดวิหารทองตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านทางด้านเหนือของศาลากลางจังหวัด อยู่ในเขตพระราชฐานทางด้านทิศใต้ของพระราชวังจันทน์ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด ตามหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าเป็นสถาปัตยกรรม ในสมัยสุโขทัยตอนปลายหรืออยุธยาตอนต้น
            พระเจดีย์  เป็นพระเจดีย์ประธาน องค์เจดีย์ชำรุดหักพังลงมาเหลือฐาน รูปแบบขององค์เจดีย์เดิมสันนิษฐานว่า จะเป็นเจดีย์แบบลังกา เหมือนเจดีย์ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา การขุดแต่งองค์เจดีย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ และบูรณะให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘
            พระวิหาร  มีอยู่สองหลัง ซึ่งอาจจะเป็นพระอุโบสถหลังหนึ่ง ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของพระเจดีย์ ทั้งทางขวาและทางซ้าย หลังที่อยู่ทางด้านขวาหักพัง และถูกรื้อถอนออกไปเพื่อก่อสร้างสำนักงานที่ดิน จังหวัดพิษณุโลก และสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ส่วนอีกหลังหนึ่งที่อยู่ทางซ้ายยังไม่ได้ขุดแต่ง
    วัดศรีสุคต
            วัดศรีสุคตตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับวิหารทองใกล้กับพระราชวังจันทน์ และสระสองห้องเป็นวัดโบราณไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด สันนิษฐานว่า จะสร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยตอนปลาย หรือสมัยอยุธยาตอนต้น มีโบราณสถานย่อยอยู่ ๑๓ แห่ง
            วัดศรีสุคตถูกทิ้งร้างมานาน ทางราชการได้ใช้บริเวณวัดเป็นที่ตั้งสถานสงเคราะห์คนชรา สำนักงานบรรเทาสาธารณภัยภาคเหนือ และบ้านพักข้าราชการ
    วัดจุฬามณี


            วัดจุฬามณีตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าทอง อำเภอเมือง ฯ บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ ๕ กิโลเมตร ไม่มีประวัติการสร้างที่ชัดเจน สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสุโขทัยตอนปลาย หรือสมัยอยุธยาตอนต้น ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้เสด็จออกผนวชที่วัดนี้เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๐๘ นานถึง ๘ เดือน ๑๕ วัน
            พระปรางค์  ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางของพื้นที่ภายในกำแพงแก้ว เป็นพระปรางค์ประธาน มีลักษณะทางสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมที่มีความงดงามดีเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของพิษณุโลก มีรูปแบบ และแผนผัง ไม่เหมือนพระปรางค์ทั่วไปในประเทศไทย ลวดลายปูนปั้นประดับองค์พระปรางค์ที่มีความสวยงาม และมีคุณค่ามากที่สุด
            พระอุโบสถ  เป็นพระอุโบสถโบราณ ชำรุดทรุดโทรมเหลืออยู่แต่ฐานพระประธานและใบเสมาเท่านั้น สันนิษฐานว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๐๗ พระประธานในพระอุโบสถคือ หลวงพ่อขาว ซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดราชอุทยานใหญ่ ตั้งอยู่หน้าค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รอบพระอุโบสถมีใบเสมาหินขนาดใหญ่ปักอยู่เป็นคู่ ๆ บนพื้นดินโดยไม่มีฐานรองรับ ใบเสมาคู่นี้สร้างขึ้นตามคติการสร้างพระอุโบสถของพระอารามหลวง ตามแบบสถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยา
            พระวิหาร  เป็นพระวิหารโบราณ สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยเดียวกันกับพระอุโบสถ เพื่อประดิษฐานหลวงพ่อเพชรพระพุทธรูปหินทราย ปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน
            มณฑปพระพุทธบาท  สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๒๔ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองที่ใช้ผ้าทาบรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี แล้วนำมาสลักบนแผ่นหิน เพื่อให้เป็นที่สักการะบูชาของประชาชน และให้ทำศิลาจารึก กล่าวถึงเรื่องสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงสร้างวัดจุฬามณี และเสด็จออกทรงผนวช ศิลาจารึกดังกล่าวอยู่ที่ผนังด้านหลังของพระมณฑป
    วัดสกัดน้ำมัน
            วัดสกัดน้ำมันตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด
            พระอุโบสถ  เดิมเป็นพระอุโบสถฝาไม้ เครื่องประดุ ต่อมาได้ทำเป็นอิฐ ปัจจุบันชำรุดหักพังเหลือแต่ฐานกับซากฝาผนัง
            พระวิหาร  มีฝาเป็นอิฐเครื่องประดุ มีลายหน้าบัน ตามช่องไม้สลักเป็นดอกไม้สีกลีบ ปัจจุบันได้รับการบูรณะให้เป็นพระอุโบสถแทนพระอุโบสถหลังเดิม
            หอสวดมนต์  เป็นสถาปัตยกรรมทรงไทย ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่จั่วแกะสลักไม้เป็นลวดลายงดงามมาก
    วัดไผ่ขอน้ำ
            วัดไผ่ขอน้ำตั้งอยู่ที่บ้านไผ่ขอน้ำ ตำบลไผ่ขอน้ำ อำเภอพรหมพิราม เดิมชื่อวัดกฎีราย ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด มีโบราณสถานที่สำคัญของวัดคือ หอสวดมนต์ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องมหาเวสสันดรชาดกครบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ มีความงดงามมากที่สุดเท่าที่พบในจังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่า เขียนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังมีภาพพระบถ สันนิษฐานว่า เขียนขึ้นพร้อมกันกับจิตรกรรมฝาผนัง โดยจิตรกรคนเดียวกัน เขียนลงบนผืนผ้าขาวเป็นเรื่องพระมหาเวสสันดร มีอยู่ ๑๓ ภาพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๕ ปัจจุบันชำรุดเสียหายมาก
    วัดกลางศรีพุทธาราม หรือวัดกลาง
            วัดกลาง ฯ เป็นวัดโบราณตั้งอยู่กลางเมืองนครไทย ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญอยู่สององค์ คือ พระพุทธรูปหินทรายปางนาคปรกศิลปะสมัยลพบุรี มีอายุอยู่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙ อีกองค์หนึ่งคือหลวงพ่อหินเป็นพระพุทธรูปหินทรายสมัยลพบุรีเช่นกัน พระพุทธรูปองค์นี้มีผู้นำมาจากวัดพระยืน ซึ่งเป็นวัดร้างอยู่ใกล้กับวัดกลาง ฯ
    วัดหน้าพระธาตุหรือวัดเหนือ
            วัดหน้าพระธาตุ หรือที่เรียกว่า วัดเหนือ เพราะตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองนครไทย มีพระพุทธรูปแกะสลักเป็นภาพนูนสูงบนแผ่นหินทรายรูปใบเสมา จำนวนสององค์ เป็นศิลปะสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๐ สันนิษฐานว่า เคลื่อนย้ายมาจากแหล่งกำเนิดเดิมทางภาคอีสาน แผ่นหนึ่งด้านหลังมีภาพแกะสลักเป็นรูปสถูปศิลปะสมัยทวาราวดี ส่วนด้านหน้าสลักเป็นภาพพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยผสมศิลปะล้านนา สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นภายหลังแผ่นศิลาอีกแผ่นหนึ่งสลักเป็นพระพุทธรูปยืน ฝีมือพื้นบ้าน
    วัดเสนาสน์
            วัดเสนาสน์ตั้งอยู่ที่บ้านสวนปาน ตำบลท่าปาน อำเภอวัดโบสถ์ไม่มีประวัติว่าสร้างเมื่อใด
            พระวิหาร  เหลือแต่ซากฐานพระวิหาร ตัวพระวิหารถูกรื้อแล้วนำอิฐไปสร้างศาลา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑
            พระเจดีย์  มีสภาพเป็นเนินดินขนาดใหญ่มาก แต่อิฐที่ใช้ก่อสร้างพระเจดีย์ก้อนไม่ใหญ่นัก พระเจดีย์ได้ถูกรื้อเพื่อนำอิฐไปสร้างศาลาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑
            พระวิหาร  มีพระวิหารเก่าอีกหลังหนึ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควน้อย หน้าวัดเสนาสน์ มีเสาศิลาภายในพระวิหารอยู่สองแถว หลังคาและฝาผนังชำรุดทรุดโทรมมาก
            พระเจดีย์  ตั้งอยู่ทางด้านหลังของพระวิหาร เป็นพระเจดีย์แบบพม่า
            พระอุโบสถ  พระอุโบสถหลังเดิมชำรุดทรุดโทรม และแคบมาก จึงได้มีการรื้อการและสร้างหลังใหม่ทับหลังเดิม คงเหลือแต่ใบเสมาหินจากพระอุโบสถหลังเก่า
    วัดเสนา
            วัดเสนาเป็นวัดโบราณตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ที่บ้านย่านขาด ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด
            พระเจดีย์  มีซากพระเจดีย์โบราณองค์หนึ่ง มีผู้ขุดพบพระพุทธรูปองค์เล็กอยู่เป็นจำนวนมาก
            พระอุโบสถเก่า  ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปประธานองค์ใหญ่ก่อด้วยอิฐถือปูน ต่อมาพระอุโบสถ และพระประธานได้ชำรุดลง จึงได้มีการรื้อถอนพระอุโบสถ และพระพุทธรูปออกไป เพื่อใช้บริเวณเป็นที่สร้างโรงเรียน

| ย้อนกลับ | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์