ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

สถาปัตยกรรมดีเด่น

           โฮเต็ลหัวหิน  ระหว่างก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ ช่วงบ้านชะอำถึงหัวหิน พบว่าที่ชายทะเลบริเวณบ้านแหลมหิน มีสภาพธรรมชาติหาดทรายชายทะเลที่สวยงาม เงียบสงบและอากาศดี เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งที่พักตากอากาศ ได้มีการสร้างตำหนักและที่พักตากอากาศขึ้นเป็นจำนวนมาก ในการนี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวร์วรฤทธิ์ (ต้นตระกูลกฤษดากร) เป็นเจ้านายองค์แรกที่ทรงสร้างตำหนักหลังใหญ่ประทานชื่อว่า แสนสำราญสุขเวศน์  ภายหลังได้ทรงสร้างตำหนักอีกหลังหนึ่ง จึงเรียกตำหนักแยกเป็นสองแห่งว่า แสนสำราญ และสุขเวศน์ พร้อมทั้งทรงขนานนามชายหาดแห่งนี้ว่า หัวหิน
            ในช่วงเวลาเดียวกัน กรมรถไฟหลวงได้จัดให้มีบ้านพักให้เช่าขึ้นในที่ดินของกรมรถไฟหลวง
            ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๔  การก่อสร้างทางรถไฟสายใต้แล้วเสร็จ สามารถเดินทางเชื่อมต่อกับแหลมมลายู พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหัว มีพระราชประสงค์ที่จะให้ประเทศไทย มีสถานที่พักตากอากาศในระดับสากล ได้มีพระราชดำริให้จัดสร้างโฮเต็ลหัวหินขึ้น กำหนดให้เป็นโรงแรม สำหรับพักตากอากาศอย่างหรูหรา ตามแบบโรงแรมยุโรป
            โฮเต็ลหัวหิน ตั้งอยู่ริมทะเลติดกับตำหนักสุขเวศน์ มีลักษณะเป็นอาคารสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ มีห้องพักจำนวน ๑๔ ห้อง ตัวอาคารเป็นรูปตัวแอล (L)  ด้านหนึ่งหันหน้าไปสู่ทะเล อีกด้านหนึ่งหันหน้าไปทางทิศใต้  ชั้นล่างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นปูหินอ่อนอิตาลี พื้นห้องพักและประตูหน้าต่างเป็นไม้สัก  ชั้นบนเป็นงานไม้ทั้งหมด หลังคาทรงสูงมุงด้วยกระเบื้องว่าว มีรางน้ำรอบอาคาร  ทางเดินและระเบียงกว้างมีกันสาดยื่นคลุมออกมา อาคารหลังนี้เน้นทางเข้าตัวอาคาร ตรงห้องโถงกลาง ซึ่งเป็นโถงรูปโค้งเปิดโล่งไปสู่ทะเล สามารถมองเห็นทะเลเมื่อเข้าสู่ตัวอาคาร หลังคาโครงเหล็กมุงด้วยกระจกยื่นออกมาจากตัวอาคารเป็นที่จอดรถ
มีทางเข้าโฮเต็ลสามทาง พร้อมกันนี้ได้สร้างสนามกอล์ฟหัวหินด้วย
            พ.ศ.๒๔๗๑ โฮเต็ลหัวหินได้ต่อเติมอาคารเป็นห้องอาหารไปทางด้านเหนือ ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงแรมรถไฟหัวหิน
รูปปั้นและอนุสาวรย์
           พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ  ประดิษฐานอยู่ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ที่บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ ซึ่งในอดีตเป็นสถานที่ซึ่งพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงตั้งค่ายหลวงเพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๑
            ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ จังหวัดประจวบ ฯ ได้แจ้งกรมศิลปากรถึงการพบเสาศิลาที่โรงเรียนหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ  กรมศิลปากรสำรวจพบว่าเป็นที่ตั้งค่ายหลวง ประกอบด้วยโบราณสถานห้ากลุ่ม สมควรอนุรักษ์เป็นหลักฐานทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ  ทางจังหวัดประจวบ ฯ และกรมศิลปากรก็ได้เริ่มดำเนินงานไปตามลำดับ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นต้นมา
            ในปี พ.ศ.๒๕๓๗ ได้มีการอัญเชิญพระบรมรูปไปประดิษฐานบนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ในบริเวณอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ฯ องค์พระบรมรูปหล่อด้วยสำริด ขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง ทรงเครื่องแบบทหารเรือประทับนั่งบนพระเก้าอี้ ผินพระพักตร์ไปทางด้านอ่าวมะนาว แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ทำด้วยหินแกรนิต ตั้งอยู่บนเนินสูง ๑๒ เมตร บริเวณโดยรอบตกแต่งด้วยพรรณไม้งดงาม
            ในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ  จังหวัดประจวบ ฯ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ นักเรียน นักศึกษา พ่อค้า ประชาชน พร้อมใจกันจัดพิธีบวงสรวงสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ในฐานะที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

           อนุสาวรีย์วีรกรรม ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔  ตั้งอยู่ในบริเวณกองบิน ๕๓ (เดิมเป็นกองบินน้อยที่ ๕) ซึ่งเป็นแหลมคั่นอยู่ระหว่างอ่าวประจวบ ฯ และอ่าวมะนาว  เป็นรูปหล่อทหารอากาศในชุดนักบินขนาดเท่าคนจริง ยืนอยู่บนใบพัดเครื่องบินในลักษณะก้าวเท้าไปข้างหน้า หันหน้าออกสู่ทะเล มือขวาถือธง ฐานที่ตั้งเป็นรูปทรงกระบอก ด้านข้างของแท่นจารึกรายชื่อผู้เสียชีวิต
            อนุสาวรีย์แห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของผู้ที่เสียชีวิตป้องกันแผ่นดินไทย จากการบุกเข้ายึดดินแดนไทยของกองทัพญี่ปุ่น ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔
            ในวันที่ ๘ ธันวาคม ของทุกปี จังหวัดประจวบ ฯ กองบิน ๕๓ และหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งเอกชน ได้ร่วมกันจัดพิธีวางพวงมาลา เพื่อระลึกถึงผู้ที่เสียสละชีวิตเพื่ออธิปไตยของชาติ

            อนุสรณ์สถานโผน  กิ่งเพชร  ตั้งอยู่บริเวณชายหาดหัวหิน บนโขดหินริมทะเล เป็นรูปหล่อโลหะของโผน  กิ่งเพชร ในชุดนักมวย ยืนหันหน้าเข้าสู่ชายหาดด้านทิศใต้ แขนขวาชูเหนือศีรษะ มือซ้ายถือเข็มขัดแชมเปี้ยนมวย
            โผน  กิ่งเพชร หรือ มานะ  สีดอกบวบ เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘  เป็นแชมเปียนมวยสากลคนแรกของไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๓  ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕  เป็นชาวหัวหิน นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ในการนี้เทศบาลตำบลหัวหิน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมกันจัดหาทุนสร้างอนุสรณ์สถานโผน  กิ่งเพชร ขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณงามความดี
สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง

           วังไกลกังวล หัวหิน  เป็นพระราชวังริมทะเล อยู่ห่างจากหาดหัวหินไปทางทิศเหนือประมาณ ๓ กิโลเมตร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นในพื้นที่ประมาณ ๓๐๐ ไร่เศษ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๙  ต่อมาได้มีการสร้างพระตำหนักขึ้นอีกหลายครั้ง ได้แก่ พระตำหนักเปี่ยมสุข ปลุกเกษม เอิบเปรม เอมปรีย์
            พระราชนิเวศน์แห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ มีพระราชหัตถเลขา เรียกว่า วังไกลกังวล หรือ สวนไกลกังวล ไม่ปรากฏหลักฐานให้ยกเป็นพระราชวัง
           พระบรมสารีริกธาตุและต้นพระศรีมหาโพธิ  ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ได้ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิบนเขาช่องกระจก
            นับแต่นั้นมา ชาวประจวบ ฯ ก็มีสิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมืองอีกแห่งหนึ่ง ในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น ทางจังหวัดได้จัดสถานที่ เพื่อเป็นที่ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถ ณ บริเวณหาดทุ่งมะเม่า ตำบลคันกระได ด้วยเหตุนี้หาดทุ่งมะเม่าจึงได้ชื่อว่า หาดเสด็จ ตั้งแต่นั้นมา

           ศาลหลักเมือง  เป็นศาลหลักเมืองที่มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยยอดปรางค์จตุรมุขศิลปะลพบุรี ก่อปูนทาสีคล้ายศิลาแลงเป็นองค์ประธาน หน้าบันทั้งสี่ทิศเป็นรูปราหูอมจันทร์  ภายในประดิษฐานเสาหลักเมืองมีขนาดสูง ๒.๗๔ เมตร กว้าง ๓๗ เซนติเมตร แกะสลัดลวดลายศิลปะศรีวิชัย  ส่วนยอดเป็นรูปพรหมสี่พักตร์ ตั้งอยู่บนเสาแปดเหลี่ยม
            เสาหลักเมืองนี้ทำจากไม้ตะเคียนจากป่ากุยบุรีบริเวณบ้านย่านซื่อ ตำบลหาดขาม เมื่อได้นำมาประดิษฐานแล้วได้ทำเสาขนาดเล็กสี่หลักตั้งล้อมเสาแม่ไว้  นอกจากนี้บริเวณรอบปรางค์จตุรมุข ยังมีศาลบริวารประจำอยู่ทั้งสี่ทิศ ภายในประดิษฐานรูปหล่อพระโพธิสัตว์ทุกหลัง
            พิธีเปิดศาลหลักเมือง กระทำในปี พ.ศ.๒๕๓๗

        พระแสงราชศัสตราประจำเมืองประจวบ ฯ  ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบหัวเมืองปักษ์ใต้ระหว่างวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๘ ถึงวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๘ รวม ๖๓ วัน
            ในการเสด็จ ฯ หัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้ครั้งนี้ นอกจากทรงตรวจราชการและทรงเยี่ยมราษฎรแล้ว ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่าง ๆ อีกหลายประการ เช่นพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์แก่บรรดาข้าราชการ พระราชทานพระราชหัตถเลขาขนานนามสกุลแก่ข้าราชการ พระราชทานธงประจำกองลูกเสือ ตลอดจนเสด็จ ฯ ทรงร่วมในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเสือป่า และที่สำคัญที่สุดคือ การพระราชทานพระแสงราชศัสตรา สำหรับมณฑล เมือง และจังหวัดต่าง ๆ
            ในการเสด็จตรวจราชการและเยี่ยมเยือนราษฎรเมืองประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระแสงราชศัสตรา ด้ามทองฝักทองแก่เมืองประจวบ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๕  โดยอำมาย์เอก พระยาศิริธรรมบริรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองประจวบ รับพระราชทาน
            ตามจดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลราชบุรี มีความตอนหนึ่งว่า
            "ตัวเราปรารถนาที่จะแสดงให้พลเมืองนี้รู้สึกว่า ใจเรายังมีไมตรีและยังสอดส่องทุกข์ศุขของราษฎรอยู่เสมอ จึงขอให้เครื่องหมายแทนตัวเราไว้คือ พระแสงราชสาตรา ซึ่งเป็นของใช้สอยสำหรับตัวเราแก่เมืองนี้ เพื่อเป็นของแทนตัว ของมอบพระแสงนี้ให้แก่ผู้ว่าราชการเมืองแลข้าราชการ ให้ช่วยกันรักษาไว้เป็นของแทนพระราชอำนาจใช้โดยทางชอบธรรม เพื่อบำรุงความศุขสำราญของอาณาประชาชนพลเมืองผู้เป็นที่รักใคร่ของเรา อีกประการ ๑ ขอให้ผู้เปนหัวหน้าพลเมืองช่วนกันกำหนดจดจำไว้ พระแสงนี้เราไม่ได้มอบให้ข้าราชการเท่านั้น เรามอบให้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนประชาชนด้วย ช่วยกันรักษาพระแสงนี้อย่าให้มีอันตรายได้ แลดูพระแสงนี้แล้วขอให้นึกถึงตัวเราว่ารักตัวเจ้าอยู่เสมอ แล้วตัวเจ้าต้องคิดตอบแทนด้วยความจงรักภักดี ตั้งใจที่จะปฎิบัติให้สมควรแก่น่าที่พลเมือง"
            ลักษณะพระแสงราชศัสตราประจำเมืองประจวบ เป็นฝีมือช่างทองหลวง ตีจากเหล็กกล้าอย่างดี ยาว ๑๐๒ เซนติเมตร ด้ามพระแสงดุนลายทอง ยาว ๓๑ เซนติเมตร กว้าง ๒.๕ เซนติเมตร  ใบพระแสงยาว ๕๕.๒ เซนติเมตร มีข้อความจารึกเหมือนกันทั้งสองด้านว่า เมืองประจวบคีรีขันธ์ บริเวณปลอกพระแสงด้านซ้าย จารึกว่า ๓๐/๔  ฝักพระแสงยาว ๗๑ เซนติเมตร ดุนลายงดงามเป็นภาพทะเล เรือ ปืนใหญ่ สัตว์น้ำ และสัตว์หิมพานต์ต่าง ๆ

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์