ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางวัฒนธรรม

แหล่งโบราณคดี

         พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์  ตั้งอยู่ในถ้ำพระยานคร บนไหล่เขาลูกหนึ่งในทิวเขาสามร้อยยอด ในเขตอุทยาน ฯ เขาสามร้อยยอด ตำบลสามร้อยยอด กิ่งอำเภอสามร้อยยอด การที่ได้ชื่อว่าถ้ำพระยานคร เนื่องจากพระยานคร เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชท่านหนึ่งเป็นผู้ค้นพบ

            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างศาลาจตุรมุข กว้าง ๒.๕๕ เมตร ยาว ๘ เมตร ไว้ ณ ถ้ำพระยานคร พระราชทานนามว่าพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ และโปรดเกล้า ฯ ให้จารึกพระปรมาธิไธย ย่อ จ.ป.ร.  ไว้ที่บริเวณผนังด้านเหนือของพลับพลา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๓
            ในปี พ.ศ.๒๔๖๙  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสถ้ำพระยานคร และได้โปรดเกล้า ฯ ให้จารึกพระปรมาธิไธยย่อ ป.ป.ร. ไว้บริเวณผนังถ้ำด้านตะวันตกของพลับพลา
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสถ้ำพระยานคร เป็นการส่วนพระองค์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑
            กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕

           บ้านหว้ากอ  อยู่ในเขตตำบลคลองวาฬ  อำเภอเมือง ฯ ในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเลเล็ก ๆ มีสภาพเป็นป่ารกทึบชุกชุมด้วยไข้ป่า
           พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนวณว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันอังคาร เดือนสิบ ขึ้นค่ำ ปีมะโรง จ.ศ.๑๒๓๐ ตรงกับวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๑๑ ที่บ้านหว้ากอ เมืองประจวบ ฯ  จะเห็นดวงจันทร์จับดวงอาทิตย์ จากทิศตะวันออกเฉียงเหนือแล้วออกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นเวลานาน ๖ นาที ๔๕ วินาที ต่อมาได้เกิดปรากฎการณ์ดังที่ทรงคำนวณไว้ทุกประการ
            ต่อมาสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงทราบว่าที่บ้านหว้ากอยังมีฐานก่ออิฐถือปูน จากเหตุการณ์สำคัญครั้งนั้นเหลืออยู่จึงโปรดให้รักษาไว้เป็นหลักฐานสืบต่อไป ปัจจุบันฐานก่ออิฐถือปูนดักงล่าวได้ถูกทำลาย จนเหลือเพียงแนวอิฐที่วางเป็นแนวระนาบ สันนิษฐานว่าสร้างไว้สำหรับเป็นที่ตั้งกล้องโทรทรรศน์ และตั้งเครื่องวัดที่สำคัญ เช่น เครื่องวัดความเข้มของสนามแม่เหล็กโลก  เครื่องวัดความชื้นของบรรยากาศและอุณหภูมิของอากาศ เครื่องตั้งเวลา ฯลฯ ซากฐานอิฐดังกล่าวที่พบมีอยู่ห้าแห่งด้วยกันคือ

                - แห่งที่ ๑  อยู่หน้าบริเวณสำนักงานของอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ฯ ณ หว้ากอ เป็นเสาหินสี่เหลี่ยมกว้างประมาณ ๑ ฟุต ตั้งอยู่บนฐานอิฐถือปูน เป็นฐานสำหรับตั้งเครื่องมือวิทยาศาสตร์
                - แห่งที่ ๒  อยู่ใกล้บริเวณรั้วของสำนักงานอุทยานวิทยาสาสตร์ ฯ มีความกว้าง ยาวประมาณ ๒ x ๒ ฟุต
                - แห่งที่ ๓  อยู่ใกล้บริเวณลำห้วยของคลองหว้าโทน จุดนี้ได้มีการเคลื่อนย้ายแล้วครั้งหนึ่ง เนื่องจากผู้พบในช่วงแรกเข้าใจว่าเป็นวัดร้าง
                - แห่งที่ ๔  อยู่ใกล้กับแห่งที่ ๓ ห่างไปทางเหนือเล็กน้อย
                - แห่งที่ ๕  อยู่ทางด้านเหนือของสำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ ฯ ประมาณ ๙๐๐ เมตร จุดนี้มีแท่นอิฐถือปูนจำนวนมาก
            โบราณสถานรวม ๕ แห่งนี้ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓

           ถ้ำคีรีวงศ์  ตั้งอยู่บนเขาหินปูน อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ ๑ กิโลเมตร อยู่ที่บ้านถ้ำคีรีวงศ์ ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน
            ภายในถ้ำแบ่งออกเป็นสองคูหา คูหาแรกค่อนข้างยาวในแนวเหนือ - ใต้ ยาวประมาณ ๒๔ เมตร กว้างประมาณ ๗ เมตร บริเวณติดกับผนังถ้ำทางด้านทิศตะวันตก มีพระพุทธรูปปูนปั้น ปางไสยาสน์ยาวประมาณ ๓.๕ เมตร ประดิษฐานอยู่ ผนังถ้ำโดยรอบมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย และปางสมาธิประดิษฐานอยู่ ๑๙ องค์ และมีพระพุทธบาทจำลองทำจากดินเผา และไม้อีกอย่างละหนึ่งองค์ บริเวณผนังถ้ำทางด้านทิศตะวันตก เหนือองค์พระพุทธไสยาสน์ สูงจากพื้นประมาณ ๒ เมตรเศษ ตามความโค้งของผนังถ้ำ มีพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ปรากฎอยู่
            คูหาที่สอง  อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ ด้านข้างทั้งสองด้านของพระประธานมีเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็ก เดิมภายในถ้ำมีพระพุทธรูปสำริดอยู่เป็นจำนวนมากประดิษฐานอยู่ ลักษณะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ปางห้ามสมุทร สมัยอยุธยา บนเพดานถ้ำในคูหาที่สอง มีร่องรอยการสกัดผนังถ้ำเป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง และบริเวณเหนือพระเศียรพระประธานมีร่องรอยของการสกัดหินเป็นหลุมกลม ๆ  หลายหลุม

           ป้อมยันทัพพม่า  อยู่ที่บ้านจวนบน ตำบลกุยบุรี อยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดกุยบุรี  มีลักษณะก่อด้วยอิฐและหินก้อนใหญ่ ขนาดกว้าง ๑๖ เมตร สูงประมาณ ๕ เมตร สันนิษฐานว่าเป็นป้อมที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เพื่อใช้เป็นที่ตั้งสกัดทัพของพม่า ที่เดินทางมาทางเมืองกุยบุรี ซึ่งอยู่ใกล้กับด่านสิงขรและเป็นช่องทางข้ามเทือกเขาต่อแดนไทยกับพม่า เมืองกุยบุรีจึงเป็นเมืองที่อยู่ในเส้นทางเดินทัพในการสงครามระหว่างไทยกับพม่า มาแต่สมัยอยุธยา
            ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงนำทัพหัวเมืองปักษ์ใต้รวม หกเมืองได้แก่ เมืองไชยา เมืองชุมพร เมืองคลองวาฬ เมืองกุยบุรี เมืองปราณบุรี และเมืองเพชรบุรี โดยได้ชุมนุมทัพที่ตำบลบางสะพาน เพื่อเดินทัพผ่านด่านสิงขรไปปราบปรามเมืองตะนาวศรีที่เป็นกบฎ
            ในปี พ.ศ.๒๓๐๒ พม่าใช้เส้นทางด่านสิงขรจะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา โดยตีเมืองทวายแล้วจะยกเข้ามาตีเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี เมื่อฝ่ายไทยทราบข่าวจึงยกทัพออกไปตั้งรับที่ตำบลแก่งตุ่มแตก และตั้งค่ายอีกแห่งหนึ่งที่ตำบลหว้าขาว แต่ต้านทานพม่าไม่ได้ ทัพพม่าได้ยกเข้ามาทางเมืองกุยบุรี เมืองปราณบุรี เมืองชะอำ เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี และเมืองสุพรรณบุรี แต่เข้าตีกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จ
            ในปี พ.ศ.๒๓๐๗ พม่ายกทัพมาตีเมืองทวาย เมืองมะริด และเมืองตะนาวศรี เจ้าเมืองทวายหนีเข้ามาที่เมืองชุมพร พม่าได้ตามมาตีเมืองชุมพร แล้วยกมาตีเมืองปะทิว เมืองกุยบุรี และเมืองปราณบุรี แตกทั้งสามเมือง

            เขาถ้ำม้าร้อง  ตั้งอยู่ที่บ้านม้าร้อง ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน เขาถ้ำม้าร้อง เป็นที่พักคนเดินทางระหว่างภาคกลางกับภาคใต้ในสมัยโบราณ
            ภายในเขาถ้ำม้าร้อง มีถ้ำสำคัญคือถ้ำบ่อน้ำทิพย์ ชาวบ้านเชื่อว่าน้ำในบ่อเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีน้ำขังอยู่ตลอดปีใช้ในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัยก่อน ได้มีการอัญเชิญมาจากถ้ำนี้ ร่วมในพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ ๕ รอบ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐
            ถ้ำแกลบ  อยู่ที่บ้านดอนจวง ตำบลปากแพรก อำเภอบางสะพานน้อย เป็นถ้ำหินปูนเป็นสถานที่หลบซ่อนหนีภัยระหว่างสงครามไทยกับพม่า ตั้งครั้วสมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
            บ้านหนองตลาด  อยู่ในเขตตำบลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี เดิมเป็นเนินดินมีพื้นที่ประมาณ ๓ ไร่เศษ เป็นเนินดินที่อยู่กลางทุ่งนาและป่าละเมาะ สูงจากพื้นที่โดยรอยประมาณ ๒ เมตร ทางทิศใต้ห่างออกไปประมาณ ๒ กิโลเมตร มีคลองกุยที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำกุยบุรี ทางด้านทิศตะวันออกของเนิน มีหนองน้ำขนาดใหญ่ชื่อ หนองตลาด เมื่อประมาณ ๕๐ ปีมาแล้ว พบเศษภาชนะดินเผาเป็นจำนวนมาก เมื่อมีการตัดคลองผ่านเนินดินทางด้านทิศตะวันออก ภาชนะที่พบส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผา เนื้อไม่แกร่ง มีทั้งแบบผิวเรียบ และแบบที่มีการตกแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบและลายขูดขีด นอกจากนี้ยังพบหินขัดและเปลือกหอยนางรมจำนวนหนึ่ง
            บริเวณห่างจากแหล่งโบราณคดีไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๖๐๐ เมตร ที่บ้านหนองเตาปูน มีเนินดินทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕๐ เมตร ชาวบ้านเรียกว่า เนินมะค่า บนเนินดินพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อไม่แกร่งจำนวนหนึ่ง ทั้งสองแห่ง
            ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาที่พบจากแหล่งโบราณคดีดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน น่าจะเป็นแหล่งชุมชนในสมัยอยุธยา

            บ้านปรือน้อย  ตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาบ้านปรือน้อย ตำบลปากน้ำปราณบุรี อำเภอปราณบุรี  จากการปรับพื้นที่ได้พบโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น เศษภาชนะดินเผา  ส่วนใหญ่เป็นเครื่องลายครามของจีน อยู่ในสภาพสมบูรณ์เรียงซ้อนกันเป็นแถว เหมือนตั้งใจนำมาฝังไว้ นอกจากนั้นยังพบเศษเงินพดด้วง เครื่องใช้โลหะจำพวกตะเกียง กระโถน เครื่องประดับสัตว์ประเภท ตาบโค ตาบม้า กระดึง ฯลฯ  สันนิษฐานว่าแหล่งโบราณคดีแห่งนี้น่าจะเป็นแหล่งโบราณสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดเขาน้อย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนในแถบนี้ การที่ชุมชนแห่งนี้ร้างไปอาจมีสาเหตุจากสงคราม เนื่องจากเมืองปราณบุรีอยู่ในเส้นทางเดินทัพ

            บ้านหนองกา  อยู่ในเขตตำบลปราณบุรี อำเภอปราณบุรี มีลักษณะเป็นเนินดินขนาดเล็ก กว้างประมาณ ๓ เมตร สูงประมาณ ๑ เมตร พบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากอยู่ลึกลงไปประมาณ ๕๐ เซนติเมตร โบราณวัตถุที่พบส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ประเภทเครื่องเคลือบ เครื่องลายคราม และเครื่องเคลือบสี นอกจากนี้ยังพบภาชนะที่ทำจากโลหะผสม เช่น ขันน้ำ เป็นต้น
            จากโบราณวัตถุที่พบโดยเฉพาะภาชนะจากดินเผา สันนิษฐานว่าแหล่งโบราณคดีนี้เป็นแหล่งชุมชนในสมัยอยุธยา และน่าจะเกี่ยวข้องกับการทำสงครามระหว่างไทยกับพม่า เพราะตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในเส้นทางเดินทัพของทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้พื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับบ้านหนองก่า ยังมีชื่อสถานที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สงครามอยู่หลายแห่งเช่น ช่องขุนด่าน หนองล้างเลือด บ้านหน้าป้อม เป็นต้น โดยเฉพาะช่องเขาล้างเลือดนั้น เป็นช่องเขาที่ใช้เป็นเส้นทางผ่านของเกวียนมาแต่โบราณ
            เมืองปราณหรือเมืองปราณบุรี   เป็นเมืองเก่า ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ปรากฎชื่อคู่กับเมืองกุยซึ่งเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา
            ในปี พ.ศ.๒๔๔๔  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้รวมเมืองปราณไปขึ้นกับแขวงเมืองเพชรบุรี ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๙ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้รวมอำเภอเมือง ฯ อำเภอปราณบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ ตั้งขึ้นเป็นเมืองใหม่พระราชทานนามว่า เมืองปราณบุรี มีฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นอยู่กับมณฑลราชบุรี มีที่ว่าการเมืองอยู่ที่เกาะหลัก อำเภอประจวบคีรีขันธ์ เมืองปราณเดิมที่บริเวณปากน้ำปราณบุรี ให้มาขึ้นกับเมืองปราณบุรีใหม่
            ในปี พ.ศ.๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรี ที่เกาะหลักเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์
            ในปี พ.ศ.๒๔๕๙  เมื่อทางราชการสร้างทางรถไฟสายใต้ แต่ไม่ได้เข้าไปถึงตำบลปากน้ำปราณบุรี จึงได้ย้ายที่ทำการอำเภอไปอยู่บริเวณจุดที่ทางรถไฟผ่าน ซึ่งอยู่ในเขตตำบลบ้านเมืองเก่า
            พ.ศ.๒๕๒๑  ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอมาอยู่ที่ตำบลเขาน้อย ริมถนนเพชรเกษมที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
         บ้านป่าร่อน  จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ พบว่าบ้านป่าร่อน ตำบลบางสะพาน อำเภอบางสะพาน มีสภาพภูมิประเทศเป็นเนินดินสูงต่ำสลับกัน พบโบราณวัตถุจำนวนมากกระจายอยู่บนเนินดิน มีพื้นที่ประมาณ ๒๐ ไร่ ส่วนใหญ่เป็นเศษภาชนะดินเผาทั้งแบบเนื้อแกร่ง และเนื้อไม่แกร่ง และเครื่องเคลือบลายคราม มีทั้ง หม้อ โอ่ง ไห และถ้วยชามขนาดเล็ก นอกจากนั้นยังพบเศษหินกะเทาะจำนวนมาก ซึ่งคงนำมาใช้ในกระบวนการทำเหมืองแร่ สันนิษฐานว่า เป็นแหล่งชุมชนซึ่งอาจมีกิจกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ทองคำ
         บ้านหลักเมือง  อยู่ในเขตตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน พบหลักหินแท่งสี่เหลี่ยม กว้าง ๓๘ เซนติเมตร สูง ๗๒ เซนติเมตร หนา ๒๗ เซนติเมตร ชาวบ้านเล่าว่าหลักหินนี้ในสมัยโบราณใช้เป็นหลักผูกช้าง และเชื่อว่าบริเวณนี้เป็นเมืองเก่า ซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่ท่ามะนาว บนฝั่งขวาของแม่น้ำรำพึง ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ท่ากาหลอ บริเวณริมฝั่งขวาของลำน้ำบางสะพานใหญ่ ปัจจุบันคือ บ้านหลักเมือง โบราณวัตถุที่พบได้แก่ ระฆังหิน ซึ่งตั้งอยู่ในศาลคู่กับหลักหิน พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อไม่เแกร่ง จำนวนเล็กน้อย
            ห่างออกไปจากหลักหินไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๒๐๐ เมตร พบเศษอิฐและถ้วยชามจำนวนหนึ่ง จากโบราณวัตถุที่พบสันนิษฐานว่า บริเวณบ้านหลักเมือง เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชุมชนในสมัยอยุธยา

         ด่านสิงขร  ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาตะนาวศรีตอนใต้ ในเขตตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง ฯ ด่านสิงขรมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ช่องสันพราน หรือช่องสันพร้าว  มีลักษณะเป็นช่องทางลัดมาแต่สมัยโบราณ และเป็นช่องทางเดินทัพของไทยและพม่าหลายครั้ง
            ปัจจุบันมีจุดตรวจด่านสิงขร เมื่อผ่านจุดตรวจเข้าไปประมาณ ๖ กิโลเมตร จะถึงหินกอง ซึ่งเป็นจุดปักปันดินแดนระหว่างไทยกับพม่า โดยใช้กองหินเป็นเครื่องหมาย เล่าสืบต่อมาว่าสมัยโบราณผู้เดินทางผ่านเส้นทางนี้ มีธรรมเนียมนำก้อนหินมาวางไว้คนละก้อน แทนเครื่องบูชาเทวดาอารักษ์ เพื่อคุ้มครองให้การเดินทางปลอดภัย ต่อมาได้มีผู้สร้างศาลขึ้นที่บริเวณนี้เรียกว่า ศาลเจ้าพ่อหินกอง เป็นศาลไม้เก่า เดิมมีสองหลัง หันหลังชนกัน คือหันไปทางพม่ากับไทย ต่อมาได้มีผู้สร้างศาลในเขตไทยอีกหนึ่งหลัง
            กล่าวกันว่าเดิมที่ตั้งด่านสิงขรอยู่ลึกเข้าไปในพรมเดนพม่าอีกมาก ยังปรากฎชื่อของหมู่บ้านด่านสิงขร ซึ่งตั้งอยู่ในเขตประเทศพม่า เหตุที่กำหนดให้บริเวณด่านสิงขร เข้ามาอยู่ในเขตประเทศไทย จนกลายเป็นจุดเขตแดนในปัจจุบัน เนื่องมาจากการทำสนธิสัญญากำหนดเขตแดนระหว่างไทยกับมณฑลตะนาวศรี ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๑๐

         เมืองกุย หรือเมืองกุยบุรี  เป็นเมืองเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น จากกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นหลักฐานที่รวบรวมพระราชกำหนดเก่ามาแต่โบราณ ระบุชื่อเมืองกุยอยู่ในกลุ่มหัวเมืองจัตวา
            เมืองกุยเป็นเมืองหน้าด่านเป็นเส้นทางเดินทัพของพม่า ที่เข้ามาทางด่านสิงขร จึงมีคำกล่าวขานกันมาว่า ชาวเมืองกุย เป็นนักรบที่เก่งกล้า และชำนาญการรบแบบกองโจร นอกจากนี้เมืองกุยยังมีความสำคัญในการแจ้งข่าวการเดินทัพของพม่า ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ  เพื่อให้เตรียมตัวรับศึกสงคราม
            เมืองกุยมีความอุดมสมบูรณ์ มีชุมชนหนาแน่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีการย้ายเมืองบางนางรม มาตั้งอยู่ที่เมืองกุย ต่อมาเมื่อเมืองบางนางรมได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า เมืองประจวบคีรีขันธ์ แต่ยังคงตั้งที่ว่าการเมืองอยู่ที่เมืองกุยบุรี จนถึงปี พ.ศ.๒๔๔๑ จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมือง ฯ ไปอยู่ที่เกาะหลักจนถึงปัจจุบัน เวลานั้นเมืองกุยมีฐานะเป็นตำบลกุยบุรี ขึ้นกับอำเภอเมือง ฯ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๐๓  จึงได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอกุยบุรี และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอกุยบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์