ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

            สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่บ้าน  มีอยู่ ๔ ประการด้วยกันคือ
                - พระแสงราชศัตราประจำเมืองระนอง  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จ ฯ เลียบมณฑลปักษ์ใต้ ได้พระราชทานพระแสงราชศัตราประจำเมืองระะนอง แก่พระระนองบุรีศรีสมุทเขตร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๐  เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งพระราชอำนาจ ที่ได้ทรงมอบให้ไว้ และมีพระราชดำรัสตักเตือนให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และข้าราชการช่วยกันรับราชการฉลองพระเดชพระคุณ รักษาพระแสงไว้มิให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศได้แม้เล็กน้อย ให้ตั้งตนอยู่ในความสุจริต ซื่อตรง จงรักภักดี อยู่ในราชกำหนดกฎหมาย และประพฤติตนให้เป็นพลเมืองดีทั่วกัน

                -  ศาลหลักเมืองจังหวัดระนอง  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกเมืองระนองเป็นหัวเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๒๑  กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๐๕  แต่ไม่ปรากฎว่าเคยมีหลักเมืองมาก่อน ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๕๓๐  เทศบาลเมืองระนอง จึงได้ริเริ่มโครงการสร้างศาลหลักเมืองขึ้น ณ บริเวณที่เคยเป็นบ้านพักเก่าของพระยารัตนเศรษฐี เจ้าเมืองระนอง ริมคลองหาดส้มแป้น
            ตัวศาลหลักเมืองมีลักษณะเป็นศาลาจตุรมุข ทรงไทย มียอดศาลาตามลักษณะภูมิสถาปัตย์ พระธาตุไชยา จำนวนห้ายอด มีความสูงถึงยอด ๑๓.๖๐ เมตร ตัวศาลมีขนาดกว้างยาวด้านละ ๖ เมตร
            สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ ได้เสด็จแทนพระองค์ มาประกอบพิธียกเสาหลักเมืองและทรงเปิดศาลหลักเมือง เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๓  ในการเสด็จครั้งนี้ได้ทรงประกอบพระราชพิธีพระราชทานพระพุทธนวราชบพิธ ประจำจังหวัด และพระพุทธนวราชบพิธจำลองประจำอำเภอต่าง ๆ ด้วย

                -  ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองกระบุรี  ตั้งอยู่ในเขตตำบลปากจั่น ทางด้านซ้ายเป็นแม่น้ำคลองจั่น ด้านขวาเป็นแม่น้ำคลองหลีก ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนี้เดิมเรียกว่า พระเสื้อเมือง  บริเวณนี้เดิมเป็นคูเมืองสองชั้นเป็นแนวดิน เป็นเส้นทางเดินเท้าไปจังหวัดชุมพร ไม่มีชุมชนตั้งอยู่คาดว่าเป็นเมืองร้าง เพราะผู้คนหนีโจรผู้ร้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตลาดปากจั่น

                -  หอพระประจำจังหวัดระนอง  ตั้งอยู่ในเขตตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ เนื่องในวาระเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี บริเวณที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของศาลากลางจังหวัด เป็นที่ประดิษฐานรูปเก้า พระเกจิอาจารย์
ศิลปหัตถกรรมและงานช่างท้องถิ่น
            ในเขตจังหวัดระนองมีงานด้านศิลปกรรม และงานช่างท้องถิ่นอยู่น้อย ลักษณะของศิลปะที่มีอยู่เป็นศิลปะแบบผสมผสาน คล้ายคลึงกับจังหวัดต่าง ๆ แถบฝั่งทะเลตะวันตกทั่ว ๆ ไป มีทั้งศิลปะแบบไทย จีน และพม่า

            จิตรกรรม  ส่วนใหญ่เป็นงานที่สร้างขึ้นใหม่เป็นภาพเขียนบนฝาผนังอาคารศาสนสถาน ที่เรียกว่า จิตรกรรมฝาผนัง เป็นภาพเกี่ยวกับคติธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ภาพพุทธประวัติ
            รูปแบบงานเขียนโดยทั่วไปจะเขียนด้วยสีน้ำบนฝาผนังโดยตรง ผลงานดังกล่าวปรากฎอยู่ในอุโบสถ วัดธรรมาวุธาราม อำเภอกะเปอร์ วิหารพระพุทธไสยาสน์วัดวารีบรรพต อำเภอเมือง ฯ และในอุโบสถวัดมัชฌิมเขต อำเภอกระบุรี

            ประติมากรรม  งานประติมากรรมส่วนใหญ่สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา หรือนำไปใช้ตกแต่งงานสถาปัตยกรรม เช่น พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ลวดลายประดับโบสถ์  วิหาร ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ฯลฯ
              งานประติมากรรมที่ปรากฎให้เห็นโดยทั่วไป พอประมวลได้ดังนี้
                  -  ประติมากรรมพระพุทธประวัติ วัดจันทาราม  อยู่ในเขตตำบลน้ำจืด อำเภอกระบุรี เป็นประติมากรรมปูนปั้นลอยตัว เนื้อเรื่องเป็นพุทธประวัติตอนต่าง ๆ ตกแต่งด้วยลวดลายใช้สีสันคล้ายของจริง พื้นฝาผนังเขียนภาพทิวทัศน์ประกอบเนื้อเรื่อง อยู่ในวิหารราย ลดหลั่นตามแนวเชิงเขา ๓ ชั้น ๆ ละ ๑๑ ห้อง รวม ๓๓ ห้อง สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒
                  -  พระพุทธไสยยาสน์วัดวารีบรรพต  เป็นประติมากรรมปูนปั้นลอยตัวขนาดใหญ่ ยาว ๓๐ เมตร ประดิษฐานอยู่ที่วัดวารีบรรพต (วัดบางนอน)  ตำบลบางนอน อำเภอเมือง ฯ พุทธลักษณะเป็นศิลปะสมัยสุโขทัย สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗  โดยฝีมือช่างชาวนครศรีธรรมราช ประดิษฐานอยู่ในวิหารบนเชิงเขาสูง
                  -  พระประจำวัน ณ ที่พักสงฆ์ ช่องเขาเทพประสิทธิ์  เป็นรูปปูนปั้นลอยตัว ตามปางประจำวัน สูงประมาณ ๕ เมตร ฐานกว้าง ๒.๕๐ เมตร  อยู่ในเขตตำบลทรายแดง อำเภอเมือง ฯ
                  -  พระะพุทธรูปไม้ วัดสุวรรณคีรี  ประดิษฐานอยู่ที่วัดสุวรรณคีรี ตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี เป็นประติมากรรมแกะสลักพระพุทธรูปด้วยไม้เนื้อแข็ง ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๓๕ เซนติเมตร สูง ๗๓ เซนติเมตร มีลักษณะประณีตสวยงาม สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๐  พร้อมกับที่สร้างวัดปากจั่น (สุวรรณครี)
                  -  พระสังกัดจาย  วัดตโปทาราม และวัดหาดส้มแป้น  เป็นประติมากรรมปูนปั้นลอยตัวขนาดใหญ่ มีลักษณะโดดเด่นสวยงาม ประดิษฐานอยู่สองแห่งคือ วัดตโปทาราม และวัดหาดส้มแป้น  อำเภอเมือง ฯ โดยเฉพาะที่วัดหาดส้มแป้นฐานพระพุทธรูปออกแบบอย่างสวยงามเป็นลายดอกบัวและพญานาค สร้างโดยฝีมือช่างมอญ จากประเทศพม่า
            งานสถาปัตยกรรม  งานสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่น ๆ เช่น เจดีย์ วิหาร กุฎิสงฆ์ ศาลเจ้าจีน และมัสยิด ได้แก่

                  -  เจดีย์ทรงพม่าวัดสุวรรณคีรี  วิหารวัดอุปนันทาราม ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมือง ฯ  สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๐  รูปทรงศิลปแบบพม่า ส่วนยอดแกะสลักด้วยโลหะเป็นชิ้น ๆ อย่างสวยงามมองดูเด่นเป็นสง่า มีความสูงประมาณ ๘ เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๗ เมตร ภายในเจดีย์บรรจุเครื่องประดับมีค่า
                  -  เจดีย์เก่าวัดสุวรรณคีรี  ประดิษฐานอยู่ในวัดสุวรรณคีรี ตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะลังกา ฐานกว้างด้านละ ๓.๕๐ เมตร สูง ๕ เมตร เป็นสถาปัตยกรรมที่ชาวบ้านสร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธา แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น
                  -  เจดีย์รากลอย วัดปทุมทาราม  อยู่ในเขตตำบลกะเปอร์ อำเภอกะเปอร์ สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นศิลปะแบบลังกา ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างด้านละประมาณ ๖ เมตร สูงประมาณจากพื้นถึงฐานด้านบน ๒.๕๐ เมตร องค์เจดีย์ตั้งลอยอยู่บนฐาน ความสูงขององค์เจดีย์ ๗.๕๐ เมตร เป็นเจดีย์รูปทรงระฆัง มีปล้องไฉนหรือบัวกลุ่ม ปลียอดและเม็ดน้ำค้าง สร้างโดยช่างชาวอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
                  -  เจดีย์รูปทรงหกเหลี่ยม  วัดหาดส้มแป้น  สร้างครอบเจดีย์เก่าที่มีอายุกว่าร้อยปี ลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมแต่ละเหลี่ยมกว้างประมาณ ๓ เมตร สูงจากฐานถึงยอดประมาณ ๑๗ เมตร ฝีมือช่างท้องถิ่น องค์เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่นำมาจากเชียงรุ้ง และมุกดาหาร

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

   
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์