ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


มรดกทางพระพุทธศาสนา

            มรดกทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดราชบุรีมีอยู่มาก และหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่สมัยทวาราวดี อันเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน

วัดโขลงสุวรรณคีรี
            วัดโขลงสุวรรณคีรี ตั้งอยู่กลางเมืองโบราณคูบัว มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตามแนวเหนือ - ใต้ กว้างประมาณ ๒๒ เมตร ยาวประมาณ ๔๔ เมตร สูงประมาณ ๖ เมตร เครื่องบนชำรุดหักพังสูญหายไปหมดแล้ว แต่รูปทรง และลักษณะของตัวสถาปัตยกรรม ที่มีบันไดขึ้นทางด้านหน้า ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกนั้น เปรียบเทียบได้กับสถูปหมายเลข ๕  ที่เมืองนาลันทาในอินเดีย ที่มีเครื่องบนเป็นเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่ที่กึ่งกลาง โดยมีเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นบริวารที่มุมทั้งสี่
            วัดโขลงสุวรรณคีรี มีลักษณะเป็นศิลปะทวาราวดี มีอายุอยู่ประมาณช่วงกลางวิวัฒนาการ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้พบโบราณวัตถุเนื่องในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท

วัดมหาธาตุ
            วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่เกือบใจกลางเมืองราชบุรี ในเขตตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง ฯ จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยวัฒนธรรมทวาราวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ วัฒนธรรมขอมได้แพร่เข้ามาสู่ดินแดนราชบุรี จึงได้มีการก่อสร้าง และดัดแปลงศาสนสถานแห่งนี้ขึ้นเป็น พระปรางค์ และสร้างกำแพงศิลาล้อมรอบ ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนต้น ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑ ได้มีการก่อสร้าง พระปรางค์ แบบอยุธยาขึ้นซ้อนทับ และสร้างพระปรางค์บริวารขึ้นอีก ๓ องค์ บนฐานเดียวกัน
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายเมืองราชบุรี จากฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำแม่กลอง วัดมหาธาตุจึงกลายเป็นวัดร้าง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. ๒๓๘๓ พระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ พระบุญมาได้ธุดงค์มาเห็นวัดนี้มีสถานที่ร่มรื่น เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จึงได้ร่วมกับชาวบ้านช่วยกันซ่อมแซมเสนาสนะต่าง ๆ จนในที่สุดวัดมหาธาตุ ก็กลับมาเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาเช่นเดิม และต่อมาเนื่องมาถึงปัจจุบัน
            พระปรางค์ประธาน   เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และได้รับการซ่อมแซมเพิ่มเติม ในสมัยอยุธยาตอนต้น ตรงส่วนที่เป็นซุ้มด้านตะวันออก และภาพจิตรกรรมภายใน ประกอบด้วยพระปรางค์ประธาน และพระปรางค์บริวาร ๓ องค์บนฐานเดียวกัน มีการตกแต่งองค์พระปรางค์ทั้งหมดด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างงดงาม ด้านตะวันออกของพระปรางค์มีบันไดทางขึ้น และมีมุขยื่น ภายในคูหาเชื่อมต่อกับพระปรางค์ ผนังภายในองค์พระปรางค์ทุกด้านมีภาพจิตรกรรมรูปอดีตพระพุทธเจ้า


            พระวิหารหลวง  อยู่ด้านหน้าพระปรางค์ ภายนอกระเบียงคด เป็นซากอาคารในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ด้านหน้ามุขยื่น บนพระวิหารเคยมีเจดีย์ขนาดเล็กตั้งอยู่แต่หักพังหมดแล้ว บนฐานพระวิหารมีอาคารไม้โล่งสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ ภายในอาคารพระวิหารมีพระพุทธรูปปูนปั้นแกนหินทรายขนาดใหญ่ ปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่สององค์ ประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ชนกัน เป็นพุทธศิลปแบบอยุธยาตอนต้น ด้านข้างทั้งสอง และด้านหน้าพระวิหาร ที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีวิหารขนาดเล็กภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายแดงปางมารวิชัย ประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ชนกัน คล้ายกับที่ในพระวิหารหลวง


            กำแพงแก้ว  ก่อด้วยศิลาแลงรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบองค์พระปรางค์ไว้ทั้งสี่ด้าน เหนือกำแพงมีใบเสมาทำด้วยหินทรายสีชมพู จำหลักพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว ลักษณะพุทธศิลปะขอมแบบบายน (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘) ได้ขุดพบฐานปรางค์ศิลาแลงย่อมุมขนาดย่อม และพบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมส่วนยอดของพระปรางค์ สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นคราวเดียวกับกำแพงแก้ว
            ราวบันไดรูปครุฑยุดนาค  พบจำนวน ๒ ชิ้น จำหลักจากหินทรายสีแดง ตั้งอยู่ที่ทางเข้าภายในระเบียงคดด้านทิศตะวันออก อยู่ในสภาพชำรุดลบเลือน เป็นศิลปะขอมแบบบายน ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘


            พระอุโบสถ  จากหลักฐานทางสถาปัตยกรรมสันนิษฐานว่า สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาลด ๒ ชั้น ๓ ตับ เป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้าและหลังทำพาไลยื่นมารองรับโครงหลังคาด้วยเสาปูน ๓ ต้น ด้านข้างมีชายคาปีกนกโดยรอบ ฐานอาคารมีศิลปะแบบอยุธยาตอนปลาย คือแอ่นโค้งคล้ายเรือสำเภา หรือที่เรียกว่าแอ่นท้องช้าง ซุ้มประตูหน้าต่างปั้นปูนประดับกระจกเป็นซุ้มหน้านาง ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งบนดอกบัว ด้านนอกโดยรอบมีกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูนล้อมรอบ


            พระมณฑป  ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระปรางค์ประธานภายนอกกำแพงแก้ว ก่ออิฐถือปูน ในผังสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบบนฐานเขียงรองรับฐานสิงห์ ผนังรอบด้านมีซุ้มหน้าต่างทรงมณฑปด้านละ ๑ ซุ้ม เว้นด้านตะวันออกเป็นซุ้มประตูทางเข้ามีบันไดขึ้นลง หลังคาพระมณฑปหักพังหมด ภายในพระมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ทำด้วยหินทรายสีแดง ฝาผนังด้านในมีภาพจิตรกรรมเรื่องพระพุทธประวัติตอนเสด็จโปรด พระพุทธมารดาบนดาวดึงส์ และตอนผจญกองทัพพญามาร พระมณฑปหลังนี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


            พระเจดีย์  เป็นเจดีย์เรียงรายเป็นแถวอยู่ด้านหน้าพระมณฑป จำนวน ๕ องค์ เป็นพระเจดีย์ทรงระฆังกลมจำนวน ๔ องค์ และพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองอีก ๑ องค์ เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์
            วัดมหาธาตุได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๘ และได้รับการวางแนวเขตโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๖
เจดีย์หักเจติยาราม

            อยู่ในเขตตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง ยอดเจดีย์องค์นี้หักทลายลงตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ องค์พระเจดีย์ก่อด้วยอิฐสอด้วยดินผสมยางไม้ ฐานเป็นรูปแปดเหลี่ยมรองรับองค์ระฆังทรงกลมรูปสูงเพรียวคล้ายกับกลุ่มเจดีย์แบบเมืองสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท และในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี รวมทั้งเจดีย์ที่เรียกว่าแบบอโยธยา ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ซึ่งสร้างขึ้นก่อนการตั้งกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๑๘๙๓
            จากการขุดแต่งและบูรณะ ได้พบร่องรอยของวิหารที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก และพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายสีแดงจำนวนมาก เป็นพุทธศิลปะแบบที่นิยมสร้างในสมัยก่อนการตั้งกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน
เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองวัดเพลง (ร้าง)

            วัดเพลงอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ที่บ้านท่าแจ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง ฯ เดิมเรียกวัดเพรง หมายถึงวัดเก่าแก่ นอกจากนั้นยังมีผู้สันนิษฐานว่า ชื่อวัดโพธิเขียว อีกชื่อหนึ่ง
            จากการขุดค้นพบว่าเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ชำรุดยอดหักเหลือเพียงชั้นบัลลังก์ องค์เจดีย์แตกร้าวมีรอยถูกขุดเจาะหลายแห่ง โบราณวัตถุที่พบได้แก่ แผ่นหินทรายแดงจำหลักพระพุทธรูปปางสมาธิ ในซุ้มเรือนแก้วทั้งสองด้าน ลักษณะคล้ายพระพุทธรูปบนกำแพงวัดมหาธาตุ แผ่นหินทรายแดงดังกล่าวตั้งอยู่บนก่อนแลงสี่เหลี่ยมขนาด ๓๘ เซนติเมตร ยาว ๔๕ เซนติเมตร หนา ๒ เซนติเมตร มีรอยยาปูนผนึกไว้ เมื่อเซาะเปิดก้อนแลงออก พบว่ากลางก้อนแลงทำเป็นหลุมบรรจุผอบทองคำ ภายในผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขนาดเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๓ องค์ และยังพบโบราณวัตถุอื่น ๆ อีก เช่น ชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายแดง เศษภาชนะดินเผา ฯลฯ
            ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์วัดเพลง (ร้าง)  เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘
วิหารแกลบวัดเขาเหลือ

            วัดเขาเหลืออยู่ในเขตตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง ฯ เป็นอาคารขนาดสามห้อง ก่ออิฐถือปูน หลังคาทรงจั่วลาดลงเล็กน้อย ด้านหน้าและด้านหลังมีมุข ส่วนกลางของหลังคาทั้งหมดฉาบปูนเรียบ เครื่องลำยองเป็นปูนปั้นเรียบยอดจั่ว และหางหงส์ปั้นปูนรูปดอกบัวตูม หน้าบันก่ออิฐถือปูนเรียบ ผนังด้านหน้ามีประตูตรงกลางด้านหลังทึบ ด้านข้างมีซุ้มหน้าต่างด้านละ ๓ ซุ้ม แต่มีหน้าต่างจริงเพียงช่องเดียว ฐานอาคารเป็นฐานบัวลูกฟัก แอ่นโค้งคล้ายท้องเรือสำเภา อันเป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ฝาผนังด้านในมีภาพจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติตอนเทพชุมนุมและภาพยักษ์ ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ขนาดใหญ่ย่อมุมไม้สิบสอง ก่ออิฐถือปูน ฐานเจดีย์เป็นฐานบัวลูกฟักซ้อนกัน องค์ระฆังย่อมุม มีบัลลังก์รองรับปล้องไฉนและส่วนยอด วิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และกำหนดขอบเขตโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙
ปรางค์วัดอรัญญิกาวาส

            วัดอรัญญิกาวาส อยู่ในเขตตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง ฯ ปรางค์ประธานประกอบด้วยปรางค์บริวารขนาดเล็กกว่าอยู่สี่ด้าน มีลวดลายปูนปั้นประดับสวยงาม ปรางค์ทั้งหมดล้อมรอบด้วยระเบียงคดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทราย พุทธศิลปะแบบอยุธยาประดิษฐานอยู่โดยรอบ นอกระเบียงคดด้านหลังมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ สลักจากหินทรายสีแดง แต่เดิมคงสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
            นอกจากพระปรางค์แล้ว ในบริเวณวัดยังมีเจดีย์ทรงระฆังกลมอีกสององค์อยู่ทางหน้าของวัด เป็นเจดีย์ศิลปะแบบลังกา ซึ่งเป็นที่นิยมสร้างในศิลปะสุโขทัย และอยุธยาตอนต้น

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์