ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |
มรดกทางพระพุทธศาสนา
พระธาตุเชิงชุม

            ประดิษฐาน อยู่ที่วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง ฯ พระธาตุเชิงชุม เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีความเกี่ยวข้องกับประวัติเมืองสกลนครมาโดยตลอด
           องค์พระธาตุเชิงชุมเป็นเจดีย์รูปปลียอดเหลี่ยมแบบลาว ภายในพระธาตุองค์จริงทำด้วยศิลาแลงก่อขึ้นเป็นรูปเจดีย์ เจดีย์ที่เห็นปัจจุบัน มีลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนสี่เหลี่ยม สูงประมาณ ๒๙ เมตร มีซุ้มประตูเปิดปิดอยู่ทั้งสี่ด้าน  แต่มีประตูที่ใช้ได้เพียงประตูเดียว คือประตูด้านทิศตะวันออก  การสร้างเจดีย์หุ้มพระธาตุองค์เดิม ไม่ปรากฎว่าสร้างเมื่อใด  ภายในวิหารวัดพระธาตุเชิงชุม ที่อยู่ติดกับองค์พระธาตุ ได้ประดิษฐานพระพุทธรูป หลวงพ่อพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนคร ในวันขึ้น ๘ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ของทุกปี  จะมีงานสมโภชน์พระธาตุเชิงชุมเป็นประจำ
            รายละเอียดของพระธาตุเชิงชุมรวมทั้งตำนานดูได้จาก พระธาตุเชิงชุม ในเรื่องพระธาตุเจดีย์ ในกล่มศาสนาของหอมรดกไทย
พระธาตุนารายณ์เจงเวง

            ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง ฯ พระธาตุนารายณ์เจงเวง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเขมร ศิลปะแบบบาปวน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ ลักษณะเป็นปราสาทเขมรสร้างด้วยอิฐวางเรียงเป็นรูปเหลี่ยม ซ้อนกันขึ้นไปตั้งแต่ฐาน จะเป็นบันไดเป็นชั้น ๆ การแกะสลักสวดลายลงในเนื้อดินมีลักษณะเฉพาะตัว  องค์พระธาตุมีฐาน ๒ ชั้น เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานชั้นแรกเรียกว่าฐานเขียง ฐานชั้นที่ ๒ ตั้งอยู่บนฐานเขียงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงาย เรียกว่าฐานปัทม์ มีลักษณะเรียบง่าย ไม่ย่อมุมและไม่ประดับลวดลาย เรือนธาตุมี ๑ ชั้น ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ย่อมุมไม้ทั้งสี่มุม มีมุขยื่นทางด้านทิศตะวันออกด้านเดียว มีประตูสี่ด้าน แต่เป็นประตูจริงเพียงด้านเดียว คือด้านทิศตะวันออก  ปฏิมากรรมที่สลักบนแผ่นศิลา ส่วนใหญ่เป็นภาพสลักนูนต่ำ มีปฏิมากรรมลอยตัวอยู่บ้าง ภาพสลักบนทับหลังองค์พระธาตุด้านตะวันออกเป็นรูปพระนารายณ์ทรงช้าง สลับลายก้านขดล้อมรอบ  ด้านทิศเหนือเป็นรูปพระนารายณ์ทรงคชสีห์ และมีลวดลายก้านขดล้อมรอบ  ด้านทิศใต้เป็นรูปพระนารายณ์ทรงประลองยุทธ มีช้างเป็นพาหนะ  ด้านทิศตะวันตกเป็นรูปสลักลายพฤกษาคือก้านขด สำหรับหน้าบันมี ๒ ด้านคือ ด้านทิศตะวันออกและด้านทิศเหนือ  ด้านทิศตะวันออกเป็นรูปพระนารายณ์ย่างตรีวิกรม ด้านทิศเหนือ เป็นรูปพระนารายณ์กำลังต่อสู้กับราชสีห์  เรือนยอดองค์พระธาตุประกอบด้วยเชิงบาตร (คล้ายรูปพุ่ม) องค์พระธาตุได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑
            พระธาตุนารายณ์เจงเวง เป็นศาสนสถานที่ปรากฎคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ เมื่อครั้งขอมเข้ามามีอิทธิพลในเขตอิสานตอนบน ขอมได้หมดอิทธิพลในดินแดนส่วนนี้ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ตำนานพระธาตุนารายณ์เจงเวงดูรายละเอียดได้จาก พระธาตุนารายณ์เจงเวง ในเรื่องพระธาตุเจดีย์ ในกลุ่มศาสนา ของหอมรดกไทย
พระธาตุภูเพ็ก

            ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเขมร ศิลปะแบบบาปวน สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖
            ฐานองค์พระธาตุมี ๑ ชั้นเป็นฐานสี่เหลี่ยม ทำเป็นบัวคว่ำบัวหงาย เรียกว่าฐานปัทม์ มีการย่อมุมทั้งสี่มุมไม่มีลวดลายประดับ เรือนธาตุมี ๑ ชั้น มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ย่อมุมไม้ทั้ง ๔ มุม มีมุขยื่นทางด้านทิศตะวันออกด้านเดียว และทำเป็นประตูหลอกไว้ทั้ง ๓ ด้าน คือด้านทิศตะวันตก ทิศเหนือและทิศใต้ ที่ผนังเรือนธาตุทั้งสี่ด้านไม่ปรากฎว่ามีภาพจำหลักและลวดลายใด ๆ
            พระธาตุภูเพ็กยังสร้างไม่เสร็จโดยเฉพาะเรือนยอดของพระธาตุ ซึ่งตามตำนานพระธาตุเชิงชุม ได้กล่าวถึงการสร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวงกับพระธาตุภูเพ็ก ซึ่งมีการแข่งขันกันให้เสร็จภายในหนึ่งวันกับหนึ่งคืน ระหว่างฝ่ายชายซึ่งมีพระยาภิงคาระเป็นประธาน ฝ่ายหญิงมีพระนางนารายณ์เจงเวงเป็นประธาน ฝ่ายชายเสียรู้ฝ่ายหญิงในข้อกติกา จึงหยุดสร้างเสียกลางคัน ฝ่ายหญิงได้สร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวงเสร็จจึงเป็นฝ่ายชนะ  พระธาตุภูเพ็กจึงยังคงสภาพสร้างไม่เสร็จ มาจนถึงทุกวันนี้
พระธาตุดุม

            ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุดุม บ้านธาตุดุม ตำบลงิ้วด่อน อำเภอเมือง ฯ เป็นสถาปัตยกรรมแบบเขมร ศิลปะแบบบาปวน สร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ ปัจจุบันองค์พระธาตุเหลืออยู่เฉพาะองค์กลาง ส่วนองค์ทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ คงเหลือเฉพาะฐานเท่านั้น สันนิษฐานว่า อาจจะยังสร้างไม่เสร็จในครั้งนั้นก็ได้
            ฐานองค์พระธาตุก่อด้วยศิลาแลง ส่วนเรือนธาตุและยอดก่อด้วยอิฐ โดยใช้วิธีเรียงอิฐตามหน้ายาว และหน้าตัดอยู่ในแนวเดียวกัน  การเรียงอิฐด้วยวิธีนี้จะไม่สอด้วยปูน  ส่วนประกอบขององค์พระธาตุมีลวดลาย และภาพจำหลักประดับอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของ องค์พระธาตุ มีทับหลัง และกรอบประตูหลอก ซึ่งส่วนใหญ่ทำจากหินทราย องค์พระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ตัวเรือนธาตุย่อมุมทั้งสี่มุม ผนังของเรือนธาตุทั้งด้านทิศเหนือทิศใต้ และทิศตะวันตกทำเป็นซุ้ม มีประตูหลอก เหนือประตูดังกล่าวมีทับหลัง เป็นลวดลายรูปสัตว์เช่น ช้าง และลายพรรณพฤกษา เป็นลวดลายก้านขด ส่วนด้านทิศตะวันออกทำเป็นซุ้ม สันนิษฐานว่า เป็นที่ประดิษฐาน สิ่งที่เคารพบูชา ส่วนยอดมีลักษณะสอบเรียวป้านขึ้นไปเรียกว่าเครื่องบน  ประกอบด้วยเชิงบาตรคลายพุ่ม แต่ปัจจุบันได้พังทลายลงมาหมด
            จากตำนานพื้นบ้านกล่าวไว้ว่า  เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับรอยพระพุทธบาท ที่พระธาตุเชิงชุมเมื่อพระพุทธองค์เสด็จกลับทางอากาศ  ได้ทรงสลัดกระดุมไว้เป็นที่ระลึกแก่ชาวเมือง ชาวเมืองจึงได้ก่อสร้างพระธาตุขึ้น ณ บริเวณที่กระดุมตก เพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธองค์ พระธาตุที่สร้างจึงมีชื่อว่าพระธาตุดุม ตามตำนานยังกล่าวว่า พระธาตุเชิงชุมและพระธาตุดุม สร้างขึ้นในระยะเวลาเดียวกัน
พระธาตุศรีมงคล
            ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุศรีมงคล บ้านธาตุ ตำบลวาริชภูมิ เดิมบริเวณที่ตั้งองค์พระธาตุเป็นป่าดง ต่อมาได้มีชาวบ้านกลุมหนึ่งจากอำเภอวาริชภูมิ มาหักร้างถางพงเพื่อทำไร่ ได้พบพระธาตุตั้งอยู่กลางป่า จึงได้แจ้งให้พระครูหลักคำ ประธานสงฆ์เมืองวารีทราบ และมาดูองค์พระธาตุ พระครูหลักคำแจ้งว่า บริเวณดังกล่าวเป็นสถานที่ที่เป็นมงคล จึงได้พร้อมใจกันตั้งชื่อพระธาตุองค์นี้ว่า พระธาตุศรีมงคล และได้ตั้งวัดในชื่อเดียวกันกับพระธาตุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔
            พระธาตุศรีมงคลสร้างคู่กับพระธาตุดงเชียวเครือ ซึ่งสร้างอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยพระไชยเชษฐา แห่งอาณาจักรล้านช้าง แต่ไม่ทราบว่า สร้างเมื่อปี พ.ศ. ใด ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้มีการบูรณะปฏิสังขรพระธาตุศรีมงคลเป็นครั้งแรก โดยการก่ออิฐฉาบปูนขาว เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้มีการบูรณะพระธาตุศรีมงคลเป็นครั้งที่สอง โดยองค์พระธาตุเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก องค์พระธาตุมีฐานสองชั้น ฐานชั้นแรกเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเรียกว่าฐานเขียง ฐานชั้นที่สองเป็นฐานบัวคว่ำ รองรับองค์เรือนธาตุ ซึ่งมีอยู่สองชั้น เรือนทาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อซ้อนกัน เรือนธาตุชั้นสองเล็กกว่าเรือนธาตุชั้นแรก ผนังเรือนธาตุทั้งสี่ด้าน ทำเป็นรูปซุ้มจตุรทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนทั้ง ๔ ทิศ ผนังข้างซุ้มทั้ง ๔ ด้าน มีงานปฏิมากรรมดินเผา ประดับเรื่องพระพุทธประวัติตอนเสด็จออกทรงผนวช ปฐมเทศนา และเสด็จดับขันธปรินิพพาน เรือนธาตุชั้นสองไม่มีงานปฏิมากรรม คงมีแต่ซุ้มจตุรทิศ เป็นลักษณะซุ้มหน้านาง ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งทั้ง ๔ ด้าน ยอดพระธาตุเป็นยอดชั้นเดียว ทำเป็นรูปทรงดอกบัวเหลี่ยมเรียว ผนังภายนอกเรียบ ไม่มีลวดลายประดับ มีฉัตร ๗ ชั้นอยู่บนยอด


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์