ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

                ครกไม้ หรือครกซ้อมมือ หรือครกตำข้าว  ใช้สำหรับตำข้าวเปลือก ตำงา ตำถั่ว ตำแป้ง ตำข้าวเม่า ส่วนใหญ่ใช้ตำข้าวเปลือก
                ครกให้จะใช้ท่อนไม้ใหญ่ทั้งลำต้น มักเป็นไม้เนื้อแข็ง โดยตัดท่อนไม้ยาวประมาณ ๑ เมตร ตัดหัวท้ายให้ผิวราบเรียบเสมอกัน เจาะส่วนตรงกลางด้านบนของท่อนไม้ให้เว้าลึกลงไปเหมือนครกหิน ให้ปากครกกว้าง ก้นครกลึกสอบเข้าเป็นหลุมลึกประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
                สากมีการทำได้สองวิธีด้วยกันคือ สากมือชนิดไม้ท่อนเดียวกลม ๆ ยาวประมาณ ๒ เมตร เหลาให้คอดกิ่วตรงกลาง เพื่อเป็นมือจับเวลาตำ ปลายสากสองข้างมน อีกชนิดหนึ่งเป็นไม้สองท่อน ท่อนหนึ่งสำหรับตำ อีกท่อนหนึ่งเป็นมือจับเรียกว่า สากโยน หรือสากมือ
                การตำ ถ้าตำหลายคนต้องตำสลับกัน เมื่อตำสิ่งของละเอียด จะมีคนคอยใช้มือกลับไปกลับมา ให้ตำได้ทั่วถึงกัน

                ครุโพง  เป็นภาชนะสำหรับโพงน้ำ และใช้มือหิ้วน้ำได้มากกว่าการหาบโดยใช้ไม้คาน ครุโพง มีหลายรูปแบบ เช่น สานเป็นครุเล็ก ๆ เรียกว่า น้ำทุ่ง คล้ายตะกร้าหิ้ว และสานเป็นรูปแบบใช้โพงน้ำอย่างเดียว
                ครุโพงแบบตะกร้าหิ้ว สานขนาดครุก้นเป็นมุมสี่เหลี่ยม ตรงกลางป่องปากงุ้มเข้า ช่วงก้นครุจนเกือบถึงขอบปากสานเป็นลายสอง ที่ขอบปากสานสลับเยื้องกันไปมา ชาวบ้านเรียกว่า ไพรยักคิ้ว  ใช้หวายถักเก็บขอบ เหลาซี่ไม้ไผ่โค้งทำเป็นที่จับคล้ายหูตะกร้า ครุโพงแบบนี้จะใช้หิ้วน้ำจากแม่น้ำลำคลอง หรือสระน้ำที่ไม่ลึกนัก ครุโพงต้องยาชันป้องกันน้ำรั่วออก
                ครุโพงแบบใช้โพงน้ำบ่อเล็ก ๆ สานด้วยหวายหรือตอก และยาชันโพงน้ำได้ ๑๕ - ๒๐ ลิตร เมื่อโพงลงไปในบ่อน้ำแล้ว ครุโพงจะล้นตักน้ำได้สะดวก ครุโพงทรงแบนจะมัดติดสายคันโพงไว้ตายตัว

                คันสุน หรือคันกระสุน  เป็นเครื่องมือยิงสัตว์ มีคันใช้สายโก่งยิงด้วยลูกดินปั้นกลม
                คันสุน คันธนูและคันหน้าไม้ มีลักษณะการทำคล้าย ๆ กัน คือ มีคันสาย และลูกยิง คันจะทำด้วยซอไม้ไผ่ที่แก่จัด โดยตัดลำไม้ไผ่ยาวประมาณ ๑ เมตร เหลาให้เรียวด้านปลายไม้ทั้งสองข้าง ควั่นหัวท้ายที่ปลายไม้ไว้เพื่อเป็นบ่ารับสาย ตรงช่วงกึ่งกลางคันสุนใช้ไม้เหลามัดด้วยหวายประกบแน่นเรียกว่า กบ เพื่อให้คันไม่หักง่าย ๆ เวลาดึงสายและเพื่อให้จับได้ถนัด ส่วนสายใช้ส่วนผิวไม้ไผ่เหลาเป็นเส้น ตรงกลางสายผ่าเป็นสองเส้น ทำรังวางลูกกระสุนถักเป็นหวายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็ก ๆ มีร่องลึกสำหรับวางลูกกระสุนเรียกว่า รังกระสุน ซึ่งมีอยู่สองลักษณะคือ รังกระจาดกับรังหอยโข่ง ทาบลายสายทั้งสองข้างคล้ายกัน รอยควั่นหัวท้ายของปลายคัน เมื่อคล้องหูกับปลายคันแล้วสายจะดึงคันให้โก่งงอ
                เวลายิงต้องปั้นลูกกระสุนกลม ๆ จากดินเหนียวผึ่งแดดให้แห้ง ลูกกระสุนต้องมีขนาดพอเหมาะกับรังกระสุน ตอนยิงกะใส่ลูกกระสุนไว้ในรังกระสุน มือข้างหนึ่งจับคันตรงกลางไว้ มืออีกข้างหนึ่งจับลูกกระสุนและรังกระสุน ดึงสายให้ยืดออกจนคันโก่งมาก ๆ การปล่อยลูกกระสุนต้องบิดคันให้เฉียงเล็กน้อย
                คันกระสุนโดยทั่วไปมักใช้ยิงนกทุกชนิดและยิงสัตว์เล็ก ๆ เช่นกระรอก กระแต กระต่าย และปลาเป็นต้น

                เครื่องสีข้าว  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับสีข้าวเปลือกให้ร่อนออกจากเมล็ดซึ่งเรียกว่าข้าวกล้อง แล้วนำไปใส่ครกตำทำให้ข้าวขาวเป็นข้าวสาร วิธีใส่ครกตำเรียกว่า ซ้อมข้าว การสีข้าวมีวิธีการคล้ายโม่แป้ง
                เครื่องสีข้าวสานด้วยผิวไม้ไผ่เป็นรูปทรงกระบอกมีขอบสูงทำเป็นถาดรองข้าวกล้อง ส่วนประกอบสำคัญมีห้าส่วนคือท่อนฟันบน ท่อนฟันล่าง แกนหมุน ไม้คาน และคันโยก ท่อนฟันบนสานด้วยผิวตอกไม่ไผ่เป็นรูปทรงกลม สูงประมาณ  ๕๐ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ใช้ไม้เนื้อแข็งขนาดไม้แปร ขวางเป็นคานไม้ ให้ปลายไม้ทะลุผิวไม้ไผ่ที่สานท่อนฟันบนออกมาช้างละ ๒๕ เซนติเมตร  ไม้คานที่โผล่จะเจาะรูให้ทะลุ เพื่อให้สลักคันโยก ซึ่งมีเดือยสอดไว้สำหรับโยกให้หมุนไปโดยรอบ ใช้ดินเหนียวอัดให้แน่น
                ตรงแบบกลางท่อนฟันบนทำเป็นรูกลวงไว้ เมื่อเทข้าวเปลือกลงไปในท่อนฟัน บนเวลาท่อนฟันบนหมุนข้าวเปลือก จะไหลลงไประหว่างท่อนฟันบนกับท่อนฟันล่าง ซึ่งทำขบกันอยู่ ฟันบนและฟันล่างที่ใช้เสียดสีเปลือกข้าวให้แตกออกจากเมล็ด จะทำด้วยแผ่นไม้บาง ๆ สลับกับดินเหนียวคลุกแกลบอัดจนแน่นหลาย ๆ ซี่จนรอบท่อนฟันบนและท่อนฟันล่าง
                ท่อนฟันล่างสานด้วยผิวตอกไม้ไผ่ ทำเป็นถาดขอบสูงรองรับข้าวกล้องที่สีแล้ว เจาะรูให้ไหลลงมาที่กระบุงหรือถังรองรับตรงกลางท่อนฟันล่างอัดดินเหนียวเช่นกัน ทำฐานรองรับท่อนฟันล่าง ทำไม้แกนหมุนไว้ตรงศูนย์กลางขอบท่อนฟันล่าง อัดดินให้แน่นแกนหมุนจะเป็นเดือยสอดรูทะลุถึงไม้คานที่ขวางไว้
                ไม้คานทำด้วยไม้เนื้อแข็งขนาดไม้แปร ยาวประมาณ ๒ เมตร ขวางท่อนฟันบน เจาะรูปลายไม้เพื่อสอดสลักคันโยก คันโยกใช้ละไม้ไผ่โต ๆ ทำเป็นคันโยกมีมือจับเจาะรู ปลายคันโยกทำสลักเดือย สอดกับรูไม้คาน
            การสีข้าว  จะใส่ข้าวเปลือกลงไปในส่วนลึกเว้าของท่อนฟันบน ใช้มือโยกหมุนตามนาฬิกาจนได้ข้าวกล้อง

                เคียว  เป็นเครื่องมือสำหรับเกี่ยวข้าว เกี่ยวถั่ว และเกี่ยวหญ้าต่าง ๆ แต่ใช้เกี่ยวข้าวเป็นหลัก
                    เคียวกระสา  รูปเคียวโค้งเป็นวงกว้างเหมือนคอนกกระสา เหมาะสำหรับใช้เกี่ยวข้าวซึ่งปลูกโดยวิธีปักดำ เพราะต้นข้าวจะเป็นกอใหญ่
                    เคียวกระยาง  รูปเคียวโค้งเป็นวงแคบกว่าเคียวกระสา เหมือนคอนกกระยาง ใช้เกี่ยวข้าวนาดำและนาหว่าน ซึ่งกอข้าวไม่ใหญ่นัก จะทำด้ามจับยาวและนิยมใช้กันมากที่สุด
                    เคียวงู  ปลายเคียวเหมือนหัวงู วงเคียวแคบกว่าเคียวกระยาง มีคอคอดตรงคอ เหมาะสำหรับเกี่ยวข้าวฟ่างและรวงข้าวที่พันกันยุ่งไม่เป็นระเบียบ จำเป็นต้องเกี่ยวข้าวทีละรวงเป็นบางครั้ง ด้ามจะงอเพื่อให้จับได้ถนัดแรงดึงมาก ปกติมักใช้เกี่ยวข้าวฟ่างเพราะค่อนข้างเหนียว
                    เคียวขอ  บางทีเรียกว่ากรูด จะใช้กิ่งไม้เนื้อแข็งถากและเหลาให้เรียบ ให้ส่วนที่เป็นขอมีความโค้งเป็นวงกว้างมาก เสี้ยมปลายให้แหลม ส่วนที่เป็นขอให้สำหรับกวาดต้นข้าวให้มารวมกัน เมื่อจับรวงข้าวได้แล้วจะพลิกเคียวซึ่งอยู่ตรงข้ามกับขอมาเกี่ยวรวงข้าว แล้วใช้ขอด้านล่างกองรวม

                ชนัก  เป็นเครื่องแทงจระเข้ ทำด้วยเหล็กปลายแหลมเป็นรูปลูกศร มีด้ามเป็นไม้ไผ่ยาวใช้เชือกมัด เวลาพุ่งไปปักเป้าหมายแล้วก็จะผ่อนเชือกไปเรื่อย จนจระเข้ดิ้นหมดแรงจึงดึงเข้ามาใกล้ฝั่ง แล้วแทงให้ตาย
                ชนักเป็นอาวุธที่ใช้แทงจระเข้โดยเฉพาะ พัฒนามาจากการทำหอกไม้เปลี่ยนเป็นหอกเหล็กใช้เหล็กขนาดสี่หุน เผาไฟตีปลายให้แบนทำเป็นลูกศรแหลมคม ตัวชนักหรือหอกเหล็ก ยาวประมาณครึ่งเมตร ส่วนโคนเหล็กทำรอยคอดไว้มัดเชือกพวนเส้นยาว ๆ สวมโคนเหล็กกับไม้เนื้อแข้งหรือลำไม้ไผ่ซึ่งเจาะรูไว้ทำเป็นด้ามจับ ยาวประมาณ ๓ เมตร
                การล่าจระเข้ต้องใช้เรือลำใหญ่เป็นพาหนะ ใช้คนพายหัวท้าย คนแทงอยู่ตรงกลาง เมื่อพบจระเข้จะต้องพายเรือคู่ขนานกันไปกับจระเข้จะแทงได้สะดวก มักใช้ชนักแทงที่ปาก ลำตัว ด้ามชนักจะหลุดออก ผ่อนเชือกพวนมัดกับเหล็กไปเรื่อย ๆ แล้วรีบพายเรือเข้าฝั่ง มิฉะนั้นจระเข้อาจจะหมุนเรือคว่ำ เมื่อดึงจระเข้ขึ้นฝั่งได้แล้ว จะมีอันตรายน้อยกว่าอยู่ในน้ำมาก

                ท่อปลา  เป็นเครื่องมือสำหรับดักปลาทุกชนิด ทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นรูปทรงกระบอก คล้ายเชลเลงของภาคใต้ แตกต่างกันตรงที่ปากท่อกว้างผายออกเหมือนปากแตร
                การใช้ท่อดักปลา  จะใช้ดักปลาในบริเวณที่น้ำไหลแรง ๆ เช่นดักปลาที่ทำนบ ฝายกั้นคลอง ที่ระบายน้ำเข้านา เป็นต้น ชาวบ้านจะทำท่อไม้ภายในกลวงระบายน้ำ ได้ทำที่ปิดเปิดน้ำ เวลาดักท่อให้ปลายท่อสวมท่อไว้ก้นท่อ มีหลักไม้กั้นที่ส่วนปลาย อาจใช้เชือกมัดไว้กับหลัก การกู้ท่ออาจกู้ปลาวันละครั้ง ชาวบ้านส่วนใหญ่จะดักปลาตอนเย็น แล้วไปกู้ตอนเช้าตรู่
                ท่อดักปลา  สามารถดักสัตว์น้ำได้ทุกประเภท ท่อแต่ละท่อจะมีขนาดสูงท่วมหัว

                สว่านโยน  เป็นสว่านเจาะเหล็ก สมัยก่อนการเจาะเหล็กมีความยากลำบากมาก ต้องใช้เหล็กเผาไฟให้ร้อนแดง แล้วใช้เหล็กสกัดเจาะโดยการใช้ค้อนทุบ พอเหล็กเย็นลงก็จะเผาให้ร้อนแดงใหม่ ใช้เหล็กสกัดไปเรื่อย ๆ จนทะลุ ซึ่งต้องใช่เวลานานมาก จึงมีการใช้สว่านโยนเจาะเหล็กขึ้น
            สว่านโยน มีหลักการทำให้คันไม้ที่เสียบเหล็กเจาะหมุน ทำให้ปลายเหล็กแหลมคมหมุนตาม ประกอบกับแรงกดและแรงเหวี่ยงของลูกตุ้มถ่วง จึงทำให้เหล็กทะลุได้เร็วขึ้น
นาฎศิลป์และดนตรี
                หอน้ำเต้า  ชาวลีซอ นำน้ำเต้าที่แห้งแล้วมาทำซอน้ำเต้า เพื่อใช้เล่นในงานพิธีต่าง ๆ
                ปรบไม้ไผ่  เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะของชาวกะเหรี่ยง โดย่นำไม้ไผ่หนึ่งลำ ยาวประมาณ ๑ เมตร มาผ่าซีกด้านหนึ่ง แต่ไม่ให้ขาดจากกันให้อีกด้านหนึ่งติดกันอยู่ และเหลาทั้งสองซีกเป็นที่จับ เมื่อจะใช้ประกอบจังหวะ จะใช้มือดึงแยกไม้ไผ่ออกจากกันแล้วปล่อยให้กระทบกัน จะเกิดเสียงดัง ใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ในการแสดงนาฎศิลป์ทุกประเภท
                ซึง  ชาวพบพระ ทำซึงโดยทำเป็นกล่องแบบกีตาร์ แต่เล็กกว่ามาก และนำลวด จากสายห้ามล้อรถจักรยานจำนวนสามเส้น ทำตัวปรับที่ขาซึงสามตัว บริเวณกล่องไม้ตรงกลางซึงจะเจาะรูเล็ก ๆ  เพื่อให้เกิดเสียงทุ้ม วิธีเล่นจะจับปลายประคองและดีดด้วยนิ้ว ไม่ต้องอาศัยโน๊ตดนตรี ใช้ความจำใส่เสียงเอง ซึงใช้เล่นประกอบด้วย ซออู้ และซอด้วง
                แคนชาวม้ง  ทำจากไม้ไผ่ ลักษณะคล้ายแคนของชาวอีสาน แต่ด้านปากที่เป่าจะยาวมาก ตามความสูงของผู้เล่น
                กลองหนังวัว  เป็นเครื่องดนตรีของชาวม้ง ทำจากท่อนไม้ใหญ่เจาะลำต้นออก นำหนังวัวแห้ง มาขึงเป็นหน้ากลอง เป็นกลองหน้าเดียว ใช้ในพิธีศพ
                แตรเขาวัว และเขาควาย ทำจากเขาวัว เขาควาย เจาะรูตรงปากด้านที่เล็กและทำเป็นลิ้น ใช้ในโอกาสที่ส่งรหัสต่าง ๆ ให้ทราบตามจังหวะ และความหมายที่ได้นัดแนะกันในกลุ่ม เปรียบเสมือนการพูดคุยกันในระยะไกล โดยจะมีการเป่าโต้ตอบกันเป็นจังหวะ และเข้าใจความหมายเฉพาะของพวกตนเอง
                เครื่องตีกะโหลก  ทำด้วยไม้ไผ่ลำใหญ่ ๆ หรือจากต้นไม้ โดยนำมาขุดแต่งให้ได้ขนาดพอดี ทำหูหิ้วมัดแขวนไว้ เพื่อเคาะเป็นเสียงเรียกสัตว์ ให้กลับที่อยู่เพื่อมากินอาหาร ซึ่งชาวม้ง ชาวกะเหรี่ยง มักจะปล่อยสัตว์เลี้ยงให้ออกหากินอาหารกินเองในหมู่บ้าน และในป่า เมื่อถึงเวลาเย็นจะตีกะโหลกให้สัตว์เลี้ยงได้ยิน ด้วยความเคยชินก็จำได้จึงวิ่งกลับมาที่อยู่ เพื่อกินอาหารและเข้าคอก
บุคคลสำคัญในท้องถิ่น

            สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๒๗๗ ที่กรุงศรีอยุธยา พระราชบิดาเป็นขุนพิพัฒน์ นายอากรบ่อนเบี้ย เจ้าพระยาจักรีได้ขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ให้ชื่อว่า สิน เมื่ออายุได้เก้าขวบ ได้เรียนหนังสือในสำนักพระอาจารย์ทองดีมหาเถระ ณ วัดโกษาวาศน์ (วัดคลัง)  ครั้นเรียนหนังสือขอมไทยได้จบบริบูรณ์แล้ว ก็เรียนพระไตรปิฎก จนอายุได้สิบสามขวบ เจ้าพระยาจักรีจึงนำเข้าถวายตัวเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ระหว่างนั้นได้ไปศึกษาในสำนักอาจารย์จีน ญวน แขก ได้เรียนวิชาการทุกภาษา สามารถพูดได้ทั้งสามภาษา เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี ได้อุปสมบทในสำนักพระอาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาศน์ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและสืบพระบวรพุทธศาสนา ได้อุปสมบทสามพรรษา ก็ลาสิกขากลับมารับราชการดังเดิม
            ท่านได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นมหาดเล็กรายงานข้อราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทย และกรมวังศาลหลวง ต่อมาได้รับโปรดเกล้า ฯ เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองตาก เมื่อพระยาตากถึงแก่กรรม จึงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาตากแทนคนเก่า ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ พระยาวชิรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชร ถึงแก่กรรม จึงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรแทน
            ในปี พ.ศ.๒๓๐๘ พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา และทำศึกอยู่นานเกือบสองปี พระยาตากสินเข้ามาช่วยรักษากรุงศรีอยุธยา ต่อสู้พม่ามีความชอบหลายครั้ง ครั้งหนึ่งถูกพิจารณาโทษเรื่องปืนใหญ่จนเกือบถูกประหารชีวิต แต่มีความดีความชอบจึงถูกภาคทัณฑ์ไว้ พระยาตากสินเห็นว่าไม่มีทางที่จะรักษาเมืองไว้ได้ จึงพาพรรคพวกตีฝ่าพม่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยา ไปรวมกำลังที่จันทบุรีแล้ว ยกมาสู้พม่าใหม่
            เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว พระยาตากสินได้ยกกำลังทางเรือจากจันทบุรีมาทางอ่าวไทย เข้าตีค่ายโพธิสามต้นที่เมืองธนบุรี ขับไล่พม่าออกไปจากราชอาณาจักรไทย แล้วตั้งราชธานีใหม่ที่ธนบุรี หลังจากนั้นได้ปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ที่ตั้งตนเป็นใหญ่รวมรวมราชอาณาจักรไทย เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้
            สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครองราชย์ได้ ๑๕ ปี สวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๕

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์