ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางศาสนา

พระแท่นศิลาอาสน์

            ตั้งอยู่บนเนินเขา ในเขตตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดพระพุทธบาทยุคล ที่มีอาณาเขตติดต่อกัน  เป็นที่เชื่อมาแต่โบราณกาลว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับนั่ง ณ แท่นศิลาแลง ซึ่งเรียกกันต่อมาว่า พระแท่นศิลาอาสน์ ตัวพระแท่นเป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๘ ฟุต ยาว ๑๐ ฟุต สูง ๓ ฟุต มีมณฑปครอบอยู่ภายในพระวิหาร

            วัดพระแท่นศิลาอาสน์เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง และสร้างแต่เมื่อใด  แต่จากการสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์และทางโบราณคดี ก็น่าจะสร้างขึ้นไปสมัยอยุธยา
            ประเพณีทำบุญไหว้พระแท่นศิลาอาสน์ ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีมาแต่เมื่อใด  แต่ได้มีมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว  มีผู้คนมาสักการบูชาตามเทศกาล และนอกเทศกาล  ด้วยมีความเชื่อว่าการได้มานมัสการพระแท่นศิลาอาสน์แล้ว จะได้รับอานิสงค์สูงสุด ด้วยเหตุนี้บรรดาผู้คนในเขตทางตอนเหนือ ที่อยู่ใกล้เคียงกับจังหวัดอุตรดิตถ์ จะพยายามดั้นด้นขวนขวายมานมัสการ พระแท่นศิลาอาสน์ให้ได้ครั้งหนึ่งในชีวิต
            ในวันเพ็ญเดือนสาม  ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา งานเทศกาล จะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๘ ค่ำ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ พระภิกษุสงฆ์จะเข้าไปในพระวิหาร แล้วสวดพระพุทธมนต์ พระธรรมจักรกัปปวัตนสูตร  ตอนเช้าพระภิกษุสงฆ์ก็จะออกบิณฑบาตตามหมู่บ้าน  และบรรดาชาวบ้านก็จะนำอาหารมาถวายที่วัดอีกเป็นจำนวนมาก  เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันเสร็จ  ชาวบ้านก็จะแบ่งปันอาหารรับประทานกันทั่วหน้า  รวมทั้งผู้ที่เดินทางมานมัสการ พระแท่น ฯ ด้วย  เป็นการทำบุญกลางแจ้งที่ยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี
           ในบริเวณใกล้เคียงกันก็จะเป็นองค์อนุสรณ์ ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมา ณ ที่บริเวณนี้ได้ วัดพระยืน พุทธบาทยุคล วัดพระนอน และพระบรมธาตุทุ่งยั้ง  ทำให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชาพระพุทธเจดีย์ดังกล่าวทั้งหมดได้ในโอกาสเดียวกัน
หลวงพ่อเพชร

            เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิเพชร  หล่อด้วยสำริด เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนสิงห์หนึ่งมีพุทธลักษณะงดงามมาก  ประดิษฐานอยู่ที่วัดวังเตาหม้อ (วัดท่าถนน) ตลาดบางโพ อำเภอเมือง ฯ ชาวอุตรดิตถ์นับถือว่า เป็นพระพุทธสำคัญประจำเมือง มีงานนมัสการประจำปีในวันกลางเดือนสี่ของทุกปี มีประวัติอยู่ว่า
            หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ ได้นำพระพุทธรูปองค์นี้ซึ่งขุดพบมามอบให้ ประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อ ซึ่งมีเจ้าอาวาสชื่อหลวงพ่อเพชร เนื่องจากวัดหมอนไม้ไม่มีพระอุโบสถ และอยู่ในที่เปลี่ยว  ส่วนวัดวังหม้ออยู่ในที่ชุมชนน่าจะเป็นการเหมาะสมกว่า
            ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้หัวเมืองฝ่ายเหนือจัดหาพระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่ ไปประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร  พระพุทธรูปสำริดหลวงพ่อเพชรจึงถูกอัญเชิญไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ทำให้หลวงพ่อเพชรเจ้าอาวาสเสียใจ ได้ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่าง ๆ จนเวลาล่วงเลยไปเป็นเวลา ๑๐ ปี จึงได้มรณะภาพในป่าบนเขาบ้านนาตารอด ตำบลบ้านด่าน อำเภอเมือง ฯ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร กลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อเช่นเดิม ตามคำขอของชาวเมืองอุตรดิตถ์
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

           อยู่ในเขตตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล เป็นปูชนียสถานเก่าแก่ เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุองค์พระธาตุเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลม  ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมสามชั้น  ฐานล่างมีเจดีย์องค์เล็กเป็นบริวารอยู่สี่มุม ฐานชั้นที่สามมีซุ้มคูหาสี่ด้าน  จิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารเป็นภาพพุทธประวัติตอนผจญมารที่ผนังด้านบน  ส่วนตอนล่างเป็นภาพเรื่องสังข์ทอง ภาพส่วนใหญ่ลบเลือนไปมาก  จิตรกรรมฝาผนังดังกล่าวนี้เลื่องลือกันว่างดงามมากมาแต่เดิม  วัดบรมธาตุทุ่งยั้งเดิมชื่อวัดมหาธาตุ  พระธาตุเจดีย์แต่เดิมมียอดสูงและสวยงามมาก  แต่ได้หักพังลงเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ต่อมาหลวงพ่อแก้วร่วมกับชาวบ้านได้ปฎิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่  ทางด้านเหนือของวัดมีสระรูปสี่เหลี่ยมอยู่สองสระ เล่าสืบกันมาว่าในสระทั้งสองนั้นมีถ้ำอยู่สระละถ้ำโดยที่สระทางด้านตะวันตกมีถ้ำกว้างขวางและลึกมาก
มีความยาวจนไปทะลุถึงเมืองระแหง ถ้ำดังกล่าวนี้เจ้าผู้ครองนครในสมัยนั้น สร้างขึ้นมาเพื่อผลทางยุทธศาสตร์  ปัจจุบันทั้งสระและถ้ำดังกล่าวตื้นเขินจนดูไม่ออกว่าเป็นสระและเป็นถ้ำ  พระวิหารสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา
วัดพระยืนพุทธบาทยุคล

           อยู่ในเขตตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล เป็นวัดเก่าแก่คู่กับวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งอยู่บนเนินเขาลูกเดียวกันแต่คนละยอด  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ มีตำนานกล่าวว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มาประทับยืนบนยอดเขานี้ เพื่อทอดพระเนตรไปยังทิศต่าง ๆ เป็นปริมณฑล และได้ทรงอธิษฐานประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จึงปรากฎรอยพระพุทธบาททั้งคู่บนศิลาแลง ต่อมาในสมัยสุโขทัย เจ้าธรรมราชกุมาร ผู้ครองนครศรีสัชนาลัยได้โปรดให้สร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้  ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ได้มีการบูรณะพระมณฑป และทำหลังคาเป็นจุลมงกุฏ และในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้มีการปฏิสังขรณ์ และเปลี่ยนหลังคาเป็นจตุรมุข ดังที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน

           พระพุทธรูปในพระอุโบสถมีชื่อว่า หลวงพ่อพุทธรังษี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อว่า สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าลิไทแห่งกรุงสุโขทัย หล่อด้วยสำริดแล้วโปรดเกล้า ฯ ให้นำมาประดิษฐานที่มณฑปของวัดนี้  ต่อมาเมื่อเกิดศึกกับพม่าจึงได้นำปูนมาพอกไว้  ภายหลังปูนกระเทาะออกมาจึงพบว่าเป็นพระพุทธรูปสำริด จึงได้สร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่แลัวอัญเชิญพระพุทธรังสีไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ

            มณฑปพระยืน เป็นมณฑปจตุรมุขศิลปสมัยเชียงแสนรุ่นแรก ยอดเป็นปลายแหลมขึ้นไปมีวิมานทั้งสี่ทิศ  บนยอดวิมานทำเป็นปล้องไฉน มีฉัตรแบบพุกาม ประดับใบระกาและหางหงส์  หลังคามุงกระเบื้องดินเผาหางตัดแบบเชียงแสน  ภายในมณฑปมีรอยพระพุทธบาทคู่ประทับอยู่บนฐานดอกบัวทรงกลม  ด้านหลังมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่
วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ

            ตั้งอยู่ในเขต ตำบลผาจก อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดเก่าแก่ปูชนียสถานที่สำคัญยังเหลืออยู่คือ เจดีย์พระธาตุพระฝาง ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย  ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ
            วิหารใหญ่แต่เดิมมีพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนประดิษฐานอยู่ แต่ปัจจุบันได้ถูกขโมยไปแล้ว  ด้านหลังวิหารเป็นองค์พระธาตุ มีกำแพงล้อมรอบ บริเวณหลังสุดมีพระอุโบสถเก่าอยู่อีกหลังหนึ่ง  สภาพโดยทั่วไปชำรุดทรุดโทรมมาก  เดิมมีบานประตูแกะสลักสวยงาม แต่ก็ได้ถูกขโมยไปแล้วเช่นกัน  ด้านหน้าโบสถ์มีต้นมะม่วงใหญ่อายุหลายร้อยปีอยู่ต้นหนึ่ง  บริเวณรอบนอกวัดด้านหลังเป็นป่าละเมาะ  ส่วนด้านหน้ามีบ้านคนอยู่บ้างแต่ไม่หนาแน่น
            จากหลักฐาน แสดงความสำคัญทางประวัติศาสตร์  รวมทั้งการบูรณะพระบรมธาตุสวางคบุรี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พอประมวลได้ดังนี้
            เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๐  โปรดเกล้า ฯให้พระยามหาอำมาตยาธิบดีเป็นแม่กองสักเลข หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นไป ตั้งอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก และโปรดให้พระยาอุตรดิตถาภิบาล  ผู้สำเร็จราชการเมืองอุตรดิตถ์เป็นแม่กองรับจ่ายเลข  ข้าพระโยมสงฆ์ตามหัวเมืองฝ่ายเหนือ  ทำการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดพระธาตุในเมืองสวางคบุรีที่เรียกกันว่า เมืองฝาง  พระเจดีย์นั้นชำรุดมาก ต้องรื้อลงมาถึงชั้นทักษิณที่สาม  เมื่อรื้ออิฐเก่าที่หักพังออกก็พบแผ่นเหล็กเป็นรูปฝาชีหุ้มผนึกไว้แน่น  เมื่อตัดแผ่นเหล็กออกจึงพบผอบทองเหลือง  บนฝาผอบมีพระพุทธรูปองค์เล็กบุทองคำฐานเงินอยู่องค์หนึ่ง  ในผอบมีพระบรมธาตุขนาดน้อยสีดอกพิกุลแห้ง ๑,๐๐๐ เศษ แหวน ๒ วง พลอยต่างสี ๑๓ เม็ด  เมื่อพระยาอุตรดิตถาภิบาลมีใบบอกมา  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดเรือม่านทองให้ข้าหลวงขึ้นไปรับ เชิญพระบรมธาตุมาขึ้นที่กรุงเก่า เชิญขึ้นไว้ที่พระตำหนักวังป้อมเพชร  แล้วจัดเรือพระที่นั่งสยามอรสุมพลมีปี่พาทย์ แตรสังข์ รับเชิญลงมากรุงเทพ ฯ เชิญขึ้นไว้ ณ พระตำหนักน้ำ ทำการสมโภชแล้วเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ทรงมีพระราชดำริว่าควรที่จะส่งพระบรมธาตุคืน ให้ไปบรรจุไว้ตามที่ดังเก่าบ้าง  แบ่งไว้สักการะบูชา ณ กรุงเทพ ฯ บ้าง  จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ช่างหลวงทำกล่องทองคำเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุชั้นใน  แล้วใส่กล่องเงินเป็นชั้นที่สอง  ใส่ในพระเจดีย์กาไหล่เงินเป็นชั้นที่สาม  แล้วใส่ในพระเจดีย์ทองเหลืองเป็นชั้นที่สี่  แล้วใส่ครอบศิลาตรึงไว้แน่นหนา  ให้เจ้าพนักงานเชิญพระบรมธาตุใส่พระเสลี่ยงน้อยกั้นพระกรด ไปตั้งบนบุษบกที่พระตำหนักน้ำ  พร้อมเครื่องสักการะบูชา  มีเรือกรมการและราษฎรเมืองนนทบุรี แห่เป็นกระบวนขึ้นไปส่งถึงเมืองปทุม  แล้วผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการตั้งแต่เมืองปทุมธานีขึ้นไป  จัดแจงทำสักการะบูชา  แล้วจัดเรือแห่มีปี่พาทย์ฆ้องกลองเล่นสมโภชตามมีรับส่งต่อ ๆ จนถึงเมืองสวางคบุรี
วัดดอนสัก
            ตั้งอยู่ในเขตตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๒๗๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๒๑ การที่ได้ชื่อว่าวัดดอนสักก็เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินเตี้ย ๆ และบนเนินนี้มีต้นสักอยู่ด้วย วัดดอนสักถูกไฟไหม้จนเหลือแต่พระวิหารหลังเดียว เป็นพระวิหารเก่าแก่ สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะคล้ายเรือสำเภา หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีจุดเด่นอยู่ที่บานประตู  ด้านหน้ามี ๑ ประตู แกะสลักเป็นลายกนกมีรูปสัตว์ในป่าหิมพานต์ แทรกอยู่ในที่ต่าง ๆ ตัวกนกอ่อนช้อย ช่องไฟได้สัดส่วน  ทวยเชิงชายทั้งสองด้านสลักเป็นรูปพญานาคลดหลั่นกันลงมา  ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบเชียงแสนปนสุโขทัย  เสาเป็นเสาแปดเหลี่ยม  หัวเสาเป็นบัวโถกลีบซ้อน หน้าบันแกะสลักด้วยไม้ปรู เป็นภาพลวดลายต่าง ๆ กัน เช่น ลายกนกมีรูปหงส์กนกก้านขดไขว้  ลายเทพนม ลายภาพยักษ์ ประดับด้วยกระจกสีขาวแบบอยุธยา  หลังคาชั้นเดียวมุงด้วยกระเบื้องดินเผาแผ่นเล็ก ๆ ลดหลั่นกันลงมา
            กรมศิลปากรได้บูรณะพระวิหารหลังนี้จนเป็นที่เรียบร้อย ทั้งภายนอกและภายในตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐
เจดีย์คีรีวิหาร
            ตั้งอยู่ในเขตตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล อยู่บนเนินเขาลูกเล็กๆ มีพระธาตุเจดีย์เก่าแก่อยู่องค์หนึ่งแบบทรงลังกา มีซุ้มคูหาที่ฐานทั้งสี่ทิศ มีเจดีย์องค์เล็กตั้งอยู่สี่มุม  ภายในบริเวณวัดมีศาลาการเปรียญขนาดใหญ่  ศาลาการเปรียญหลังเก่า และพระอุโบสถหลังเก่าอยู่ทางด้านซ้าย
วัดกลางธรรมสาคร

            ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง ฯ มีพระอุโบสถเก่าแก่อยู่ ๑ หลัง สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่สามด้าน ลายปูนปั้นที่ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์และตัวเหรา รวมทั้งที่ซุ้มหน้าต่างประตูมีความวิจิตรงดงามอย่างยิ่ง  หน้าบันเป็นไม้จำหลักรูปครุฑจับนาค  มีตราพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐานอยู่ท่ามกลางลายเครือเถาก้านขด มีเทพนมอยู่เป็นระยะ มีรูปสัตว์สอดแทรกอยู่ตามลายเครือเถาที่เกี่ยวพันกันไปอย่างต่อเนื่อง
            วัดกลางธรรมสาคร เดิมชื่อวัดโพธาราม สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณปี พ.ศ. ๒๒๘๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๐๐ เคยเป็นท่าจอดเรือ เพื่อเดินเท้าไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์  ต่อมาลำน้ำเปลี่ยนทางเดินจึงเลิกใช้กัน และทางน้ำเดิมกลายเป็นบุ่งน้ำหน้าวัด  ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดบุ่งวัดกลาง ปัจจุบันพระวิหารได้พังทลายไปหมดแล้วเพราะขาดการบูรณะ  พระอุโบสถหลังที่เหลืออยู่ก็อยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก  กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ และได้เคยบูรณะไปบางส่วน
วัดใหญ่ท่าเสา

            อยู่ในเขตตำบลท่าเสา อำเภอเมือง ฯ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๕  ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๒๓ โบราณสถานที่สำคัญในวัดท่าเสาคือ มีโบสถ์เก่าแก่ มีลักษณะเด่นที่รูปทรงและองค์ประกอบ  บานประตูไม้แกะสลักสองบาน  ลายไม้ฉลุที่หน้าบันของพระอุโบสถทั้งด้านหน้า และด้านหลัง รวมทั้งเชิงชาย ช่อฟ้า ใบระกา ศาลาการเปรียญเก่าหลังใหญ่ และหอไตร  ก็เป็นสถาปัตยกรรมทีเก่าแก่สวยงาม  ด้านหลังพระอุโบสถเคยมีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่  แต่ปัจจุบันได้ถูกกลบถมไปหมดแล้ว
วัดท่าถนน
            อยู่ในเขตตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง ฯ  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน วัดท่าถนนเดิมชื่อวัดวังเตาหม้อ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๐๒ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙  เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของชาวอุตรดิตถ์  เป็นพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ ๑ หน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว สูง ๔๑ นิ้ว หล่อด้วยสำริด ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านขวาของพระอุโบสถ

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์