ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


    แหล่งน้ำ

            พื้นที่จังหวัดยะลาส่วนที่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำประกอบด้วย พื้นทื่ลุ่มน้ำแม่น้ำปัตตานี ตั้งแต่บริเวณอำเภอเบตง และอำเภอธารโต ประมาณ ๑,๖๘๐ ตารางกิโลเมตร  บริเวณอำเภอเมือง ฯ ประมาณ ๓,๘๑๐ ตารางกิโลเมตร บริเวณอำเภอยะหา ๒,๑๗๘ ตารางกิโลเมตร  พื้นที่บางส่วนของอำเภอยะหาเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำคลองเทพา ๔๔๔ ตารางกิโลเมตร และพื้นที่อำเภอรามันเป็นพื้นที่ลุ่มแม่น้ำสายบุรี ๕๔๒ ตารางกิโลเมตร
            แม่น้ำปัตตานี  เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านจังหวัดยะลา มีต้นน้ำอยู่บนเทือกเขาสันกาลาคีรี ในเขตอำเภอเบตง บริเวณพรมแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย แล้วไหลไปทางทิศเหนือผ่านอำเภอเบตง อำเภอบันนังสตา กิ่งอำเภอกรงปินัง อำเภอเมือง ฯ  อำเภอยะรัง อำเภอหนองจิก แล้วไหลลงสู่ทะเลที่บ้านปากน้ำ อำเภอเมือง ฯ  มีความยาวรวมทั้งสิ้นประมาณ ๑๙๐ กิโลเมตร
            แม่น้ำสายบุรี  มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ในทางตอนใต้สุดของตัวจังหวัดนราธิวาส ในเขตอำเภอแว้ง ไหลไปทางทิศเหนือ ผ่านจังหวัดยะลาในเขตอำเภอรามัน แล้วไหลลงสู่ทะเลที่อำเภอสายบุรี รวมความยาวประมาณ ๑๗๐ กิโลเมตร
            นอกจากนี้ยังมีคลองและลำห้วยอื่น ๆ อีก เช่น คลองเล็ก  คลองปะแต คลองอัยเยอร์เวง ลำน้ำเหล่านี้ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดบริเวณเทือกเขาในเขตอำเภอบันนังสตา อำเภอธารโตและอำเภอเบตง ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน แล้วไหลสู่แม่น้ำปัตตานีแทบทั้งสิ้น

            เขื่อนบางลาง  เป็นเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำปัตตานี ตั้งอยู่บริเวณบ้านบางลาง ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา เพื่อเก็บกักน้ำในฤดูฝน ป้องกันน้ำท่วม และใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ๗๒,๐๐๐ กิโลวัตต์  น้ำที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วจะส่งไปใช้ในระบบการชลประทานที่บริเวณโครงการอื่นต่อไป
            เขื่อนทดน้ำบ้านคูระ  ตั้งอยู่ในเขตตำบลยุโรป อำเภอะเมือง ฯ จังหวัดยะลา  เป็นเขื่อนคอนกรีตสร้างปิดกั้นแม่น้ำปัตตานี
พร้อมด้วยระบบการระบายน้ำ ระบบการส่งน้ำ กับระบบบรรเทาอุทกภัย  สามารถส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกได้ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ไร่
            นอกจากนั้นคือการพัฒนาโดยโครงการชลประทานขนาดเล็ก เป็นการพัฒนาแหล่งน้ำเฉพาะที่ เฉพาะวัตถุประสงค์ จำแนกเป็นฝายกั้นน้ำ อ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ ท่อส่งน้ำ ดังเช่นฝายคลองลำใหม่ ฝายทดน้ำบ้านตาเนาะปูเต๊ะ ฝายคลองท่าธง เป็นต้น
ประชากรและการปกครอง

            เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ มีประชากรอยู่ประมาณ ๔๒๐,๐๐๐ คน นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๓๖  นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ ๖๓ และนับถือศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ ๑   มีเชื้อชาติไทย เชื้อชาติมลายู เชื้อชาติจีนและมีชาวซาไกอยู่เล็กน้อย
            ทำเนียบเจ้าเมือง  เท่าที่มีหลักฐานมีดังต่อไปนี้
                ๑. พระยายะลา (ต่วนยะลอ)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.       ถึง พ.ศ.๒๓๖๐
                ๒. พระยายะลา (ต่วนบางกอก)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๖๐ ถึง พ.ศ.
                ๓. หลวงสวัสดิ์ภักดี (ยิ้มซ้าย)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.       ถึง พ.ศ. ๒๓๙๐
                ๔. พระยาณรงค์ฤทธิ์ศรีประเทศวิเศษวังสา (เมือง)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.        ถึง พ.ศ.
                ๕. พระยาณรงค์ฤทธิ์ศรีประเทศวิเศษวังสา (ต่วนอับดุลเลาะ) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.        ถึง พ.ศ.
                ๖. พระยาณรงค์ฤทธิ์ศรีประเทศวิเศษวังสา (ต่วนลาและ)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.        ถึง พ.ศ.
                ๗. พระยาณรงค์ฤทธิ์ศรีประเทศวิเศษวังสา (ต่วนสุไลมาน)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๐ - ๒๔๕๑
                ๘. พระอาณาจักรบริบาล (อ้น  ณ ถลาง)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๑ - ๒๔๕๒
                ๙. พระพิพิธภักดี (เพิ่ม  เตชะคุปต์)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๓ - ๒๔๕๖
                ๑๐. พระรัฐกิจวิจารณ์ (สวาสดิ์  ณ นคร)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๖ - ๒๔๕๘
                ๑๑. พระภักดีศรีสงคราม  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๘ - ๒๔๕๙
                ๑๒. พระพิพิธภักดี (เพิ่ม  เตชะคุปต์)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๙ - ๒๔๖๕
                ๑๓. พระสมานไมตรีราษฎร์ (ล้วน  พิศาลบุตร)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๕ - ๒๔๖๗
                ๑๔. พระสมานไมตรีราษฎร์ (ชัน  สุขุม)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๗ - ๒๔๗๔
                ๑๕. พระภูมิพิชัย (ม.ร.ว.บุง  ลดาวัลย์)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๔ - ๒๔๗๖
                ๑๖. ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี  ประชารักษ์)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๖ - ๒๔๗๘
                ๑๗. หลวงอรรถกัลยาณวินิจ (เอื้อน  ยุกตะนันท์)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๘ - ๒๔๘๐
                ๑๘. พระภูมิพิชัย (ม.ร.ว.บุง  ลดาวัลย์)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๐ - ๒๔๘๒
                ๑๙. ขุนภักดีดำรงฤทธิ์ (ภักดี  ดำรงฤทธิ์)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๒ - ๒๔๘๕
                ๒๐. พ.ต.ประยูร  รัตนกิจ  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๕ - ๒๔๘๖
                ๒๑. ร.ท.ถวิล  ระวังภัย  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๖ - ๒๔๘๗
                ๒๒. นายอรรถสิทธิ์  สิทธิสุนทร  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๗ - ๒๔๘๗
                ๒๓. นายยุทธ  จรัญยานนท  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๗ - ๒๔๘๙

ฯลฯ
การศึกษา
            จังหวัดยะลามีการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา ตามนโยบายของรัฐและสนองความต้องการของท้องถิ่น โดยมีสถานศึกษาในระบบโรงเรียน จำนวน ๒๗๑ แห่ง และสถานศึกษานอกระบบโรงเรียน จำนวน ๑๔๐ แห่ง
    สถานศึกษาในระบบโรงเรียน
            สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
                - สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  ๒๑๓ โรง  ๓ สาขา
                - กรมสามัญศึกษา (กองการมัธยมศึกษา)  ๑๓ โรง
                - สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  ๑๘ โรง (สามัญศึกษา ๑๕  อาชีวศึกษา ๓)
                - วิทยาลัยพลศึกษา  ๑ แห่ง
                - สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏยะลา  ๑ แห่ง
                - กรมอาชีวศึกษา  ๕ แห่ง
            สังกัดส่วนราชการอื่น
                - สำนักงานการศึกษาท้องถิ่น  ๑๒ แห่ง (กระทรวงมหาดไทย)
                - กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน  ๕ แห่ง (กระทรวงมหาดไทย)
                - กองบัญชาการตำรวจภูธร  ๑ แห่ง (กระทรวงมหาดไทย)
                - วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  ๑ แห่ง (กระทรวงสาธารณสุข)
                - วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร  ๑ แห่ง (กระทรวงสาธารณสุข)
    สถานศึกษานอกระบบโรงเรียน
            สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
                - โรงเรียนเอกชนประเภทสอนศาสนาอย่างเดียว  ๓๗ แห่ง (สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน)
                - โรงเรียนเอกชนประเภทสายสามัญ  ๒๔ แห่ง (สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน)
                - โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ  ๑ แห่ง (กรมการศาสนา)
                - ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด  ๑ แห่ง (กรมการศาสนา)
                - ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในมัสยิด  ๑ แห่ง (กรมการศาสนา)
                - ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด  ๑ แห่ง (กรมการศึกษานอกโรงเรียน)
                - ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ  ๘ แห่ง (กรมการศึกษานอกโรงเรียน)
            สังกัดส่วนราชการอื่น
                - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ๔๘ ศูนย์ (กรมพัฒนาชุมชน)
    สภาพการจัดการศึกษา  ในระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อยู่ในเกณฑ์ดี
                - ระดับก่อนประถมศึกษา  มีการขยายการศึกษาและบริการการศึกษาออกไปทั้งในเมือง และชนบทและให้วัด มัสยิด ได้มีส่วนร่วมในการให้การศึกษา โดยจัดตั้งองค์กรและกิจกรรม เพื่อส่งเสริมโอกาสให้เด็กได้เข้าเรียนอย่างทั่วถึง
                - ระดับประถมศึกษา  สามารถจัดการศึกษาโดยให้บริการการศึกษาได้สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานระดับประเทศ
                - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  สามารถจัดการศึกษาให้เด็กได้เข้าเรียนในระบบได้สูงกว่าเกณฑ์ในระดับประเทศ เปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ ปี โดยสนับสนุนการศึกษาให้สำหรับเด็กยากจน
                - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  สามารถจัดการศึกษาให้นักเรียนเข้าสู่ระบบโรงเรียนได้สูงกว่าเกณฑ์ระดับประเทศ
                - โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม  ซึ่งมีอยู่ ๖๑ แห่ง เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ของกระทรวงศึกษาธิการ ๒๔ แห่ง โดยจัดการสอนวิชาศาสนาอย่างเข้ม ควบคู่วิชาสามัญไปด้วย มีคุณภาพมาตรฐานตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่เปิดสอนวิชาศาสนาอิสลามและวิชาสามัญ พ.ศ.๒๕๓๖ ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๑๕ (๑) โดยจัดเป็นโรงเรียนที่จดทะเบียนตามมาตรา ๑๕ (๑) เพียง ๑๓ แห่ง ส่วนอีก ๑๑ แห่ง ไม่ได้จดทะเบียน ทั้งนี้ไม่รวมอีก ๓๙ แห่ง ที่สอนเฉพาะศาสนา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโรงเรียนเอกชนตามกฎหมาย จึงจัดให้เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ตามมตรา ๑๕ (๒)
            โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทั้งประเภทตามมตรา ๑๕ (๑) และตามมาตรา ๑๕ (๒) รวม ๒๔ แห่ง สามารถรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลายสายสามัญได้ถึงร้อยละ ๖๐ และร้อยละ ๔๐ ตามลำดับ
                - ระดับอุดมศึกษา  มีอยู่ ๔ แห่ง คือสถาบันราชภัฏยะลา ๑ แห่ง วิทยาลัยพละศึกษา ๑ แห่ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ๑ แห่ง และวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร ๑ แห่ง

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์