|
www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา >
เมืองเก่าของไทย
เมืองเก่าของไทย
มรดกทางธรรมชาติ
พื้นที่ป่า
ในปี พ.ศ.๒๕๔๑ จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ป่าอยู่ประมาณ ๖๐๘,๐๐๐ ไร่
ประมาณร้อยละ ๓๔ ของพื้นที่จังหวัด ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้กระยาเลย เต็งรัง และไม้แดง
มีอยู่ทั่วไป
อุทยานแห่งชาติ
มีอยู่แห่งเดียวคือ อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว
อยู่ในเขตอำเภอชานุมาน มีพื้นที่ประมาณ ๔๒,๐๐๐ ไร่ มีภูสระดอกบัว
อยู่บริเวณรอยต่อกับอุทยาน
ฯ ในพื้นที่บ้านคำเดือย บ้านสงยาง บ้านเหล่าแก้วแมง ตำบลคำเขื่อนแก้ว บ้านหินสิ่ว
ตำบลชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
เป็นเทือกเขายาวเหยียด หนาทึบ ด้วยป่าไม้เบญจพรรณ แต่เดิมเป็นป่าที่อุดมไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่
และแดดส่องไปถึงพื้นดิน มีสัตว์ป่า เช่น ช้าง เสือ หมี กวาง เลียงผา กระทิง
และหมูป่า อยู่ชุกชุม ปัจจุบันป่าถูกทำลายจนเหลืออยู่ไม่ถึงร้อยละ ๕๐ และสัตว์ป่าได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว
ป่าสงวนแห่งชาติ
มีอยู่ ๑๔ แห่ง รวมพื้นที่ประมาณ ๔๑๒,๐๐๐ ไร่ ดังนี้
ป่าดงหัวกองและป่าดงปอ
อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๕๘,๐๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๓๕,๐๐๐ ไร่
ป่าดงหัวกองและป่าดงปังอี่
อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ อำเภอเสนางคนิคม และอำเภอปทุมราชวงศา มีพื้นที่ประมาณ
๑๙๕,๒๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ ๑๖๑,๐๐๐ ไร่
ป่าดงคำเดือย แปลงที่ ๑
อยู่ในเขตอำเภอปทุมวงศา มีพื้นที่ประมาณ ๒๑๗,๐๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๑๖๔,๐๐๐ ไร่
ป่ารังงาม
อยู่ในเขตอำเภอปทุมวงศา มีพื้นที่ประมาณ ๑,๓๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๔๐๐ ไร่
ป่าหนองหลุบและป่าดงปู่ตา
อยู่ในเขตอำเภอหัวตะพาน มีพื้นที่ประมาณ ๑๓,๐๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๙๐๐ ไร่
ป่าดงใหญ่
อยู่ในเขตอำเภอหัวตะพาน มีพื้นที่ประมาณ ๓๓,๐๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๒๙,๐๐๐ ไร่
ป่าดงหนองบัว แปลงที่ ๑
อยู่ในเขตอำเภอหัวตะพาน มีพื้นที่ประมาณ ๕,๕๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๖,๓๐๐ ไร่
ป่าฝนแสนห่า
อยู่ในเขตอำเภอพนา มีพื้นที่ประมาณ ๙,๕๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๔,๗๐๐ ไร่
ป่าหนองลุมพุก
อยู่ในเขตอำเภอพนา มีพื้นที่ประมาณ ๕,๕๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๑๐๐ ไร่
ป่าโคกโสกใหญ่
อยู่ในเขตอำเภอพนา มีพื้นที่ประมาณ ๙,๐๐๐ ไร่
ป่าดงนางชีและป่าขี้แลน
อยู่ในเขตอำเภอพนา มีพื้นที่ประมาณ ๒,๒๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๓๐๐ ไร่
ป่าโคกสองสลึง
อยู่ในเขตอำเภอพนา และอำเภอปทุมราชวงศา มีพื้นที่ประมาณ ๒๓,๐๐๐ ไร่
ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ ๙,๖๐๐ ไร่
ป่าดงป่ายาง และป่าดงปู่ตา
อยู่ในเขตอำเภอลืออำนาจ มีพื้นที่ประมาณ ๓,๔๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๑๕๐ ไร่
ป่าดงปังอี่
อยู่ในเขตอำเภอเสนางคนิคม มีพื้นที่ประมาณ ๒,๒๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๒,๒๐๐ ไร่
ป่าถาวรตามมติรัฐมนตรี
มีอยู่ ๕ แห่ง มีพื้นที่ประมาณ ๒๔๕,๐๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๑๕๔,๐๐๐ ไร่ ดังนี้
ป่าดงหัวกอง แปลงที่ ๑
อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๓๗,๕๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๑๒,๐๐๐ ไร่
ป่าดงสิบ
อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๔,๘๐๐ ไร่ ปัจจุบันหมดสภาพ
ป่าดงหัวกอง หมายเลข ๔๗
อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๒๒,๐๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๙,๖๐๐ ไร่
ป่าดงปังอี่ฝั่งซ้ายห้วยทบ
อยู่ในเขตอำเภอปทุมราชวงศา และอำเภอชานุมาน มีพื้นที่ประมาณ ๑๕๖,๐๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๑๓๑,๐๐๐ ไร่
ป่าดงขวาง
อยู่ในเขตอำเภอปทุมวงศา มีพื้นที่อยู่ประมาณ ๑,๘๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
๗๐๐ ไร่
แหล่งน้ำสำคัญ
จังหวัดอำนาจเจริญ มีแหล่งต้นน้ำอยู่ในเขตอำเภอชานุมาน ในอุทยาน ฯ ภูสระดอกบัว
เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยทบ ห้วยแก้วแมง และห้วยคุ้มแคน เป็นลำน้ำที่สำคัญของอำเภอชานุมาน
และมีแหล่งน้ำสำคัญ ดังนี้
แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
ประกอบด้วยบ่อบาดาลส่วนตัว และบ่อน้ำสาธารณะ จำนวน ๑,๗๓๐ บ่อ ฝายน้ำล้น ๒๔
แห่ง สระ หนอง คลอง บึง ๑๗๔ แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง และขนาดเล็ก ๒๙ แห่ง
ระบบน้ำประปา
มีประปาหมู่บ้านอยู่ ๔๓๐ หมู่บ้าน ประมาณร้อยละ ๗๔ ยังไม่มีน้ำประปา
๑๕๓ หมู่บ้าน ประมาณร้อยละ ๒๖
สำหรับประปาในเขตเมือง มีที่ทำการประปา ๓ แห่ง ปริมาณน้ำที่ผลิตรวมประมาณ
๑,๐๗๓,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร
แหล่งน้ำชลประทาน
ประกอบด้วยแหล่งน้ำขนาดกลาง หมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน และโครงการขนาดเล็ก
รวม ๖๐ โครงการ เก็บกักน้ำได้ประมาณ ๔๓ ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ได้รับประโยชน์จากโครงการประมาณ
๔๒,๐๐๐ ไร่
เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ
บ่อน้ำบุ้น
คำว่า บุ้น เป็นภาษาพื้นเมืองอีสาน หมายถึง การไหลทะลักออกมา น้ำบุ้น
จึงหมายถึง น้ำไหลทะลักขึ้นมาจากพื้นดินตลอดเวลา คล้ายน้ำพุแต่ไม่สูงนัก
บ่อน้ำบุ้น เป็นแหล่งกำเนิดลำน้ำ หรือแอ่งน้ำ มีลักษณะคล้ายบ่อทราย
กว้างประมาณ ๑ เมตร มองดูคล้ายกระทะหงายเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ปากหลุมเป็นดินเหนียว
หรือดินโคลนปิดปากหลุม มีน้ำไหลพุ่งขึ้นมาตลอดเวลา เห็นได้ชัดในฤดูแล้ง ส่วนในฤดูฝนมักจะเกิดน้ำท่วม
ชาวบ้านเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า ดูน
การไหลพุ่งขึ้นมาของน้ำใต้ดิน จะทำให้โคลนที่อยู่ปากบ่อ ชาวบ้านเรียกว่า แปวดูน
มีการไหลเวียนขึ้นลงก่อให้เกิดแรงดูด หากมีสิ่งใดพลัดตกลงไปจะถูกโคลนดูด จมหายไปได้
ในจังหวัดอำนาจเจริญมีบ่อน้ำบุ้นอยู่ สามแห่งคือ
- ที่วัดบึงน้ำพุ ตำบลไก่คำ อำเภอเมือง ฯ
- ที่บ้านนาดูน ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ
- ที่บ้านน้ำซับ ตำบลเบด อำเภอลืออำนาจ
พูโพนทอง
อยู่ในตำบลโพนทอง อำเภอเสนางคนิคม เป็นภูเขาหินทราย อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ
๓๕๐ ฟุต มีสิ่งที่น่าสนใจคือ
ส่างวัด
คือ โพรงหินมีลักษณะเหมือนบ่อน้ำ ส่าง ภาษาอีสานแปลว่าบ่อน้ำดื่ม
แอวขัน
แอว เป็นภาษาอีสานคือเอว เป็นหน้าผาขนาดใหญ่ เป็นจุดชมวิวที่สวยงามแห่งหนึ่ง
ขัน คือ ภาชนะตักน้ำคล้ายพาน
คอกช้าง
คือ เพิงหินขนาดใหญ่ เป็นลานกว้างมีก้อนหินขนาดใหญ่ล้อมรอบ เมื่อสมัยก่อน
ช้างที่ขึ้นไปหากินหญ้า หรือใบไม้บนโพนทอง จะอาศัยเพิงหินแห่งนี้เป็นที่พัก
หรือที่หลบฝน ชาวบ้านจึงเรียกว่า คอกช้าง
กรมแผนที่
คือ จุดชมวิวสูงสุดของภูโพนทอง การที่ได้ชื่อนี้เพราะมีหมุดโลหะของกรมแผนที่ตอกติดอยู่กับแผ่นหิน
ณ ที่นั้น
นอกจากนี้ ภูโพนทองยังประกอบด้วยชะง่อนผา และสวนหินสูงต่ำมากมาย เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบเดินป่าชมทัศนียภาพ
หรือตั้งค่ายพักแรมได้เป็นอย่างดี
ภูวัด
ลักษณะทั่วไปคล้ายภูโพนทอง เป็นภูเขาหินทรายที่มีต้นไม้น้อยใหญ่ปกคลุม อยู่ห่างจากภูโพนทองไปทางทิศเหนือ
ประมาณ ๑ กิโลเมตร เหมาะที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยิ่ง เพราะสามารถเดินทางขึ้นไปสู่ยอดเขาได้สะดวก
และป่าไม้ยังมีความอุดมสมบูรณ์ มีสถานที่น่าสนใจบนภูวัดคือ
ลานดินบนยอดเขา
เป็นลานดินกว้าง มีต้นไม้น้อยใหญ่ และพงหญ้าปกคลุม มองดูแล้วทำให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของป่า
นอกจากนี้ยังมีลานหินเป็นบริเวณกว้าง มีหญ้าเป็นหย่อม ๆ สลับกับก้อนหินน้อยใหญ่
จากบริเวณลานหินนี้จะมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม
ชะง่อนหินบนยอดเขา
ที่ยอดเขาจะมีชะง่อนหินขนาดใหญ่จัดเรียงรายมีรูปร่างแตกต่างกันไป เมื่ออยู่
ณ จุดนี้จะมองเห็นทิวทัศน์ที่มีความสวยงาม นอกจากนี้ที่ภูวัดยังมีจุดชมทิวทัศน์อื่น
ๆ ซึ่งมีความสวยงามแตกต่างกันออกไป จากสภาพทั่วไปของภูวัดถือว่า เป็นสถานที่ทางธรรมชาติที่สวยงาม
มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ มีภูเขาน้อยใหญ่เรียงราย มีสัตว์ที่หลงเหลืออยู่บ้าง
มีดอกไม้ป่าตามฤดูกาล
ภูเกษตร
เป็นภูเขาหินทรายที่สูงที่สุดในบรรดาภูเขาทุกลูก ที่อยู่ในเขตอำเภอเสนางคนิคม
สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ ๓๖๐ ฟุต อยู่ทางทิศเหนือของบ้านหนองไฮ ห่างออกไปประมาณ
๕ กิโลเมตร มีสถานที่น่าสนใจอยู่หลายแห่ง คือ
ดานกระต่าย
มีลักษณะเป็นหน้าผาสูง ณ จุดนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพของหมู่บ้านหนองไฮและหมู่บ้านนาอุดมได้
อ่างกกฮัง
มีลักษณะเป็นแหล่งน้ำ จะมีน้ำมากในฤดูฝน มีแผ่นหินที่มีน้ำไหลผ่าน เป็นลักษณะของแอ่ง
ถ้ำเกีย
(ค้างคาว) เป็นถ้ำขนาดเล็กที่มีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
ถ้ำกกไฮ
เป็นถ้ำขนาดเล็ก มีต้นไทรย้อยให้ความร่มรื่น
หินหัวนาค
เป็นก้อนหินที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายหัวพญานาค
ผาพริก
มีลักษณะเป็นหน้าผาสูง เหมาะในการไปชมทัศนียภาพ
ภูสระดอกบัว
อยู่บริเวณรอยต่อกับอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ในเขตอำเภอชานุมานต่อกับเขตอำเภอเลิงนกทา
จังหวัดยโสธร และเขตอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นเทือกเขายาวเหยียดหนาทึบไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณ
ภูสระดอกบัว มีตำนานเล่าว่า แต่เดิมเป็นที่อยู่ของผีบังบด มีต้นยาสูบขนาดใหญ่เท่าขาคน
ต้นสมุนไพรวิเศษหลายชนิดขึ้นอยู่เต็ม ท้าวชมภูผู้ใหญ่บ้านคำเดือย ได้พาชาวบ้านไปหาของป่า
เกิดหิวน้ำมากระหว่างเดินป่าหาน้ำดื่มไม่ได้เลย จึงได้ตั้งสัตย์อธิษฐานต่อเจ้าป่าเจ้าเขา
ขอให้พบน้ำดื่ม หลังจากนั้นก็ได้พบแอ่งหินหลายแอ่ง มีน้ำใสขังอยู่เต็ม มีอยู่หลายขนาด
ตั้งแต่ความกว้างไม่ถึงวาไปจนถึงมากกว่าวา มีหลายแอ่งน้ำลึกท่วมหัวคน มีดอกบัวแดงขึ้นชูดอกรับแสงอาทิตย์สวยงามมาก
ท้าวชมภูจึงชวนลูกบ้านให้ดื่มน้ำ ปรากฏว่า เมื่อดื่มน้ำแล้วทุกคนมีกำลังเพิ่มขึ้นมาอย่างน่าประหลาดใจ
บรรดาชาวบ้านจึงขนานนามว่า ภูสระดอกบัว
วนอุทยานดอกเจ้าปู่
อยู่ในเขตอำเภอพนา ห่างจากตัวจังหวัดออกไปประมาณ ๔๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ
๒๖๐ ไร่ อยู่ห่างจากบ้านพนาไปทางทิศใต้ประมาณ ๑ กิโลเมตร สภาพทั่วไปเป็นป่าไม้เบญจพรรณ
เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากประมาณ
๕๐๐ ตัว
วนอุทยานดอนเจ้าปู่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด และยังเป็นสถานที่ที่ชาวอำนาจเจริญให้ความเคารพบูชา
มีศาลปู่ตาซึ่งเป็นที่สิงสถิตของเจ้าปู่ (พรานที พรานทอง) โดยมีรูปปั้นสูง
๖ ฟุต ตั้งอยู่ และมีพุทธสถานที่มีพระพุทธรูปปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา
และปางปรินิพพาน อยู่ในบริเวณอุทยานอีกด้วย
เขาคีรีวงกตภูมะโรง
ภูมะโรงเป็นภูเขาดินขนาดใหญ่มีพื้นที่ประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่ อยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างบ้านเมืองเก่า
บ้านคำแก้ว บ้านคำเดือย บ้านเหล่าแก้วแมง บ้านสงยาง ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน
เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม มีผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ปกคลุม มีสัตว์ป่านานาชนิดให้ได้ชม
มีถ้ำดานหิน โขดหินและหน้าผาที่สูงชันสลับซับซ้อนสวยงามมาก โขดหินที่เรียงกันอยู่
บางแห่งจะเป็นชะง่อนออกมา บางก้อนสูงขึ้นไปถึง ๑๕ เมตร และช่องระหว่างตรงกลาง
เป็นร่องดินลึกลงไปเป็นหน้าผา ต้องทำสะพานข้ามจึงจะเดินไปยังโขดหินอีกก้อนหนึ่งได้
เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สวยงามแปลกตา
แก่งหินขัน
อยู่ที่บ้านหินขัน ตำบลโคกสาร อำเภอชานุมาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดออกไปประมาณ
๘๐ กิโลเมตร ลักษณะของแห่งหินขันคือ เป็นแก่งหินตั้งอยู่กลางแม่น้ำโขง ติดชายแดน
- ลาว มีลักษณะเป็นร่องหิน ที่เกิดจากการกัดเซาะของกระแสน้ำ เป็นเวลานนานหลายพันปี
จนทำให้ก้อนหินมีลักษณะเหมือนพาน หรือขัน
ปัจจุบันแก่งหินขัน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างประเทศนิยมไปเที่ยวชมกันมาก
และยังเป็นแหล่งซื้อขายปลาในแม่น้ำโขงอีกด้วย
แก่งต่างหล่าง
อยู่ที่บ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ
๘ กิโลเมตร ลักษณะของแก่งเป็นโขดหิน หินขรุขระอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นหินศิลาแลงคล้ายชาม
หรืออ่าง เป็นแอ่งเป็นคุ้ง ในฤดูฝนน้ำจะท่วมแอ่ง ส่วนในฤดูแล้งแอ่งจะมีความสวยงามมาก
เหมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ
คำว่า ต่างหล่าง เป็นภาษาถิ่น บอกถึงลักษณะของภาชนะที่มีลักษณะกว้างและตื้น
|
|