ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

โบราณสถาน

            ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์พบโบราณสถานมากกว่า ๖๐ แห่ง มีการก่อสร้างในห้วงระยะเวลาที่ต่างกัน ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ตลอดมา จนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โบราณสถานเหล่านี้ พบกระจายกันอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอต่าง ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุดหักพัง บาแห่งเหลืออยู่แต่เพียงฐานเท่านั้น โบราณสถานที่สำคัญพอประมวลได้ดังนี้
    ปราสาทพนมรุ้ง
            ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว อยู่ในเขตตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
            คำว่าพนมรุ้ง ซึ่งเป็นชื่อเรียกภูเขาและตัวปราสาทมานานแล้ว คำว่าพนมรุ้ง เป็นภาษาเขมร แปลว่า ภูเขาอันกว้างใหญ่ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับภูเขาลูกอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง เช่น ภูเขาอังคาร ภูเขาหลุบ ภูเขาคอก ภูเขาไปรมัด พนมรุ้งจะมีขนาดใหญ่ที่สุด
            จากที่ตั้งอันเหมาะสม และความสวยงามของปราสาท รวมทั้งการประดับประดา แต่ด้วยลวดลายแกะสลักที่วิจิตรบรรจง ทำให้ปราสาทพนมรุ้งงดงามโดดเด่นยิ่งนัก
            ปราสาทพนมรุ้ง สร้างโดยกำหนดให้หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยถือว่าเป็นทิศแห่งความเจริญรุ่งเรือง แสงอาทิตย์ยามเช้าสาดมาส่องศิวะลิงค์ ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์ของพระศิวะ เกิดเป็นรัศมีเหลืองอร่าม ถือว่าเป็นการเพิ่มพลังให้แก่พระศิวะ
            ปราสาทพนมรุ้งเป็นเทวาสถานที่สร้างขึ้นให้เป็นที่ประทับของพระศิวะ เทพสูงสุดในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย กับใช้ประโยชน์ในฐานศาสนสถาน ประกอบพิธีกรรมตามแบบอย่างของศาสนาฮินดู จากการศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรม และศิลปกรรม ประกอบกับหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึก ที่พบในบริเวณปราสาทพบว่า สิ่งสร้างบนเขาพนมรุ้ง มิได้สร้างในสมัยเดียวกันทั้งหมด ปราสาทหลังแรกสร้างเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ การสร้างปราสาทให้สมบูรณ์น่าจะอยู่ในสมัยนเรนทราทิตย์ แห่งราชวงศ์มหิธรปุระ ผู้เป็นเชื้อสายของราชสกุล มหิธรปุระ ซึ่งได้ครอบครองดินแดนที่มีเทวสถานไศวนิกาย บนเขาพนมรุ้งมาแต่เดิม
            หลังจากได้ส้รางปราสาทหลังใหญ่แล้ว สิ่งก่อสร้างสุดท้ายคือ บรรณาลัยศิลาแลง และพลับพลา ได้สร้างเพิ่มเติมและซ่อมแซมขึ้นใหม่ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ตามรูปแบบศิลปกรรมที่นิยมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์กัมพูชา ผู้สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์มหิธรปุระ และเลื่อมใสในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ในช่วงเวลาดังกล่าว
            วิธีการก่อสร้าง วัสดุก่อสร้างที่มีทั้ง อิฐ หิน และไม้ หินมีทั้งหินทราย และศิลาแลงในการก่อสร้าง จะใช้วิธีก่อเรียงหินซ้อนกันขึ้นไปให้มีรูปร่างตามฝังที่วางไว้ อาศัยนำหนักของแท่งหินที่กดทับกันเป็นเครื่องยึด ยกเว้นในส่วนที่เป็นตัวเสริมความมั่นคงเป็นพิเศษ ได้ใช้แท่งเหล็กเป็นรูปตัว l Z  และรูปใบพายแฝด (พายสอทาง) เป็นตัววางเหล็กลงบนแท่งหินสองก้อน ที่สกัดด้านบนเป็นร่อง เมื่อวางต่อกันแล้ว จะต่อกันเป็นรูปร่างเช่นเดียวกับเหล็กที่ใช้ยึด เมื่อวางเหล็กยึด แท่งหินทั้งสองไว้ด้วยกันแล้ว จะใช้ตะกั่วหลอมละลายเททับให้ติดแน่นอีกชั้นหนึ่ง
            การป้องกันการเคลื่อนตัวของแท่งหินที่ก่อเป็นผนังเหนือประตู หรือหน้าต่าง จะใช้วิธีการต่างกันออกไปคือ เจาะแท่งหินที่ก่อในแนวนอน ไปตามความยาวของกรอบประตู หรือกรอบหน้าต่างด้านบน แล้วใช้ไม้สอดเป็นแกนอยู่ข้างในให้มีความยาวเลยขอบประตูทั้งสองออกไป ถ้าผนังเหนือประตูมีน้ำหนัก ก็จะใช้วิธีก่อแท่งหินเหลี่ยมเข้าหากัน จากขอบประตูทั้งสองข้างมาบรรจบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม เหนือขอบบนประตูตรงช่องสามเหลี่ยมที่เป็นที่ว่าง จะเจาะแท่งหินที่ก่อเหลื่อมเข้ามาเป็นชั้น ๆ ให้ลึกพอสำหรับสอดคานไม้รับน้ำหนัก สดหลั่นกันขึ้นไปหายอดสามเหลี่นม  ช่วงหน้าต่างซึ่งติดตั้งลูกกรงทำด้วยหินทรายกลึงเป็นรูปเสากลมที่เรียกว่า เสาลูกมะหวดตลอดแนวนั้นก็มีส่วนในการรับน้ำหนักด้วย
            ในการก่อหินจะต้องยกหินที่มีน้ำหนักมากขึ้นไปวางซ้อนกัน จะต้องมีอุปกรณ์เครื่องผ่อนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อยกไปชั้นบน ๆ ที่มีความสูงมาก แท่งหินส่วนใหญ่จะมีรอยเจาะเป็นรูที่ปลายทั้งสองข้าง ใช้เพื่อการยก หรือเคลื่อนย้ายอาจจะใช้เป็นไม้ทำเป็นลิ่มทั้งสองข้าง แล้วจึงยกขึ้น หรืออาจใช้เหล็กที่มีลักษณะเป็นคีมจับ โดยใช้ส่วนปลายจับยึดตรงที่เจาะไว้นั้น ซึงมักจะเจาะในแนวต่ำกว่าแกนกลางของหิน เพื่อสะดวกในการขยับ และพลิกเพื่อกรอขัดผิวผิวด้านข้างและด่านข้าง
            ขั้นตอนการก่อสร้างมีตัวอย่างให้เห็นที่ระเบียงด้านทิศใต้ เริ่มตั้งแต่การก่อหินขึ้นไปเรียงเป็นผนัง แท่งหินยื่นออกมาใช้เป็นระเบียง และมีรูเจาะสำหรับการขนย้าย หรือยกอย่างชัดเจน ขั้นต่อไปเป็นการตัดแต่งหน้าจนได้ระดับเสมอกัน รอยเจาะเป็นรูจะหายไปเป็นส่วนใหญ่ เพราะถูกตัดออกไป ณ ระเบียงด้านทิศตะวันออกจะเห็นขั้นตอนต่อไปคือ แต่งผิวหน้าให้เรียบ และเริ่มแกะสลักลวดลาย มักพบว่าการแกะสลักค้างอยู่ในหลายแห่งเสมอ
            องค์ประกอบของศาสนสถาน  ปราสาทพนมรุ้งประกอบด้วย สิ่งก่อสร้างที่สำคัญต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ดังนี้
            บันไดต้นทาง  เริ่มจากบันไดทางขึ้นจากกระพักทางด้านล่างทางทิศตะวันออก ที่ก่อด้วยศิลาแลง เป็นชั้น ๆ สามชุด สุดบันไดขึ้นมาเป็นชาลารูปกากบาท ยกพื้นตรงกลางสูงกว่าปีกสองข้างเล็กน้อย ปูด้วยศิลาแลง ซึ่งน่าจะเป็นฐานพลับพลารูปกากบาท ซึ่งเป็นซุ้มประตูทางเข้า (โคปุระชั้นนอก) ด่านแรกของปราสาท เช่นเดียวกับที่ปราสาทเขาพระวิหาร ซุ้มประตูนี้มีรูปทรงคล้ายกับซุ้มประตูระเบียงคด ด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทางเข้าด่านสุดท้าย (โคปุระชั้นใน)
            พลับพลา  เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ ๒.๕ x ๒๐.๕ เมตร ก่อด้วยศิลาแลง มีหินทรายประกอบบางส่วน ตั้งอยู่เยื้องจากชาลารูปกากบาทไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๑๓ เมตร อาคารนี้หันหน้าไปทางทิศใต้ รับทางเดินที่ทอดมาจากชาลารูปกากบาท ไปยังบันไดขึ้นปราสาท ด้านทางทิศตะวันออก และตะวันตก ทำเป็นมุขยื่นออกมามีชาลาขึ้นลงอยู่หน้ามุข บนฐานพลับพลามีเสาหินทรายสี่ต้น แต่ไม่มีหลังคา มีระเบียงทางเดินล้อมอาคารด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศตะวันตก รวมสามด้าน ไม่มีหลังคาเช่นเดียวกัน มีทางขึ้นทางด้านทิศใต้ที่ปลายสุดทั้งสองข้าง ด้านข้างทางด้านทิศตะวันออก และด้านทิศเหนือ ส่วนด้านทิศตะวันตก ทำทางขึ้นหลอกเอาไว้ ไม่ได้เจาะช่องประตู นอกระเบียงออกไปมีกำแพงชั้นนอกก่อด้วยศิลาแลงล้อมรอบอยู่อีกชั้น มีประตูทางเข้ากำแพงด้านหน้าเชื่อมต่อชาลากากบาทดังกล่าวข้างต้น
            อาคารที่เห็นในปัจจุบัน น่าจะสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ โดยสันนิษฐานจากการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก ลวดลายกลีบบัวบนหัวเสา และลายดอกไม้สี่กลีบบนยอดเสาเป็นศิลปะแบบบาปวน ยกเว้นเศียรนาคที่กรอบหน้าบันเป็นศิลปะแบบเกลียง มีอายุอยู่ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖ คงเป็นการนำเอาของเก่ามาประดับอาคารหลังใหม่ ซึ่งจะพบทั่วไปในที่นี้ และที่อื่น ๆ
            เดิมพลับพลาแห่งนี้ชาวบ้านเรียกว่า โรงช้างเผือก ด้วยเข้าใจว่าปราสาทบนยอดเขาคือ พระราชวัง
            ทางดำเนิน  เป็นทางเดินเท้าที่ต่อมาจาบันไดชาลารูปกากบาทซึ่งอาจจะเป็นซุ้มประตูชั้นนอก ทอดไปยังบันไดขึ้นปราสาท พื้นปูด้วยศิลาแลง ขอบเป็นหินทรายยาว ๑๖๐ กว้างประมาณ ๖ เมตร ขอบถนนทั้งสองข้างมีเสาหินทราย มียอดคล้ายดอกบัวตูม สูง ๑.๖๐ เมตร จำนวน ๖๘ ต้น ตั้งเรียงกันตรงกันทั้งสองแถว ลักษณะเช่นนี้
            สะพานนาคราช  เป็นจุดเชื่อมทางดำเนินกับบันไดทางขึ้นปราสาท และทางสู่บารายหรือสระน้ำ ก่อด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาท กว้างประมาณ ๘ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ยกพื้นสูงจากถนน ๑.๕๐ เมตร ด้านหน้า และด้านข้างลดชั้น มีบันไดทำเป็นอัฒจันทร์รูปปีกกาทางขึ้น ส่วนด้านหลังเป็นชานกว้างเชื่อมต่อกับบันไดขึ้นปราสาท เสาและขอบสะพานสลักเป็นลวดลายสวยงาม ราวสะพานทำเป็นตัวพญานาคห้าเศียร หันหน้าออกแผ่พังพารทั้งสี่ทิศ เครื่องประดับพญานาคเป็นแผ่นสลักลายในแนวนอน อันเป็นลักษณะศิลปกรรมแบบนครวัด ซึ่งมีอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗
            ด้านข้างทางทิศเหนือสะพานนาคราช มีอัฒจันทร์สลักเป็นรูปปีกกาเป็นทางลงสู่ฉนวนทางเดินไปสระน้ำ ลักษณะนี้ถนนนี้อัดดินแน่น แต่งขอบทั้งสองข้างด้วยศิลาแลง ตรงกลางสะพานมีลายดอกบัวบานแปดกลีบสลักอยู่ ล้อมรอบด้วยยันต์ขีดเป็นเส้นคู่ ขนานไปกับราวสะพาน หัวยันต์ขมวดเป็นรูปกลีบบัว
            สะพานนาคราชมีอยู่สองช่วงคือ ที่หน้าซุ้มประตูทางเข้าปราสาท และภาพในระเบียงคดตรงหน้าปรางค์ประธาน มีความหมายเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์
            บันไดขึ้นปราสาท  ต่อจากสะพานนาคราชเป็นทางเดินขึ้นไปยังลานยอดเขา ทำด้วยหินทรายกว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๕๒ เมตร สูง ๑๐ เมตร มีอยู่ ๕ ชั้น ระหว่างบันไดแต่ละชั้น มีชานพักสองข้าง ทำเป็นรูปฐานสี่เหลี่ยม ตั้งเป็นกระพักทั้งห้าชั้น บันไดและซานพักแต่ละชั้น ลดหลั่นกันขึ้นไปตามลำดับความสูง ตรงกลางชานพักเจาะเป็นช่วงสี่เหลี่ยม ยังไม่ทราบวัตถุประสงค์ว่าใช้ทำอะไร บนชานทั้งสองข้างมีฐานหินทรายรูปกรวย เจาะรูตรงกลางติดตั้งอยู่ทุกชั้น ยังไม่ทราบวัตถุประสงค์แน่ชัด
            ทางสู่ปราสาท  เมื่อถึงบันไดชั้นที่ ๕ จะมีชานชาลาโล่งกว้างอยู่หน้าระเบียงคด บันไดและชาลา มีระดับเดียวกัน ตั้งอยู่บนฐานเดิม ซึ่งได้ถมและปรับระดับไว้ ก่อขอบคันดินทลายด้วยศิลาแลง จากบันไดชั้นที่ ๕ ด้านหน้าก่อเป็นชั้นบันได ทั้งสองข้างของบันไดทางขึ้นชั้น ๔ ใช้เป็นทางเข้าสู่ปราสาทได้อีกทั้งสองทาง ถัดจากชานบันไดชั้น ๔ เข้าไปเป็นยกพื้นชั้นเดียวรูปกากบาท
            ระหว่างการบูรณะได้พบกระเบื้องดินเผากระจายอยู่บนผิวดิน บริเวณใกล้เคียงสันนิษฐานว่า เป็นพลับพลาโถงเครื่องไม้มุงกระเบื้องปีกสองข้างของฐานรูปกากบาท มีมุขยื่นด้านหน้าและมีบันไดรับต่อจากบันไดศิลาแลง ซึ่งเป็นทางขึ้นด้านข้าง
            ถัดจากฐานกากบาท เป็นทางเดินตรงไปยังซุ้มประตูกลางของระเบียงคด ซึ่งเป็นกำแพงชั้นในสุดของปราสาท จากปีกสองข้างของฐานกากบาท มีทางเดินตรงไปยังประตูด้านข้างของระเบียงคดทั้งสองข้าง ถนนทางเดินตรงกลาง ซึ่งเป็นทางเข้าหลักมีขนาดใหญ่กว่าถนนทางเข้าของที่ขนาบอยู่สองข้าง ทางเดินเหล่านี้เชื่อมต่อกันจัดผังตัดกันเป็นรูปกากบาทเป็นช่วง ๆ ทำให้เกิดเป็นช่องสี่เหลี่ยมสี่ช่อง จากตรงกลางของทางเดินด้านข้างมีบันไดขึ้นสู่ระเบียงชั้นนอกทั้งสองข้าง
            สะพานนาคราชช่วงที่สอง  สุดถนนกลางซึ่งเป็นทางเข้าหลัก มีสะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะถึงซุ้มประตูกลางระเบียงคดชั้นใน สะพานนาคราชช่วงนี้ยกระดับสูง ๑,๒๐ เมตร ผังและรูปแบบเหมือนกับช่วงที่หนึ่ง แต่มีขนาดย่อมกว่าคือ กว้าง ๕.๒๐ เมตร ยาว๑๒.๔๐ เมตร ที่ศูนย์กลางของพื้นศิลาแลงของสะพานสลักด้วยดอกบัวบานแปดกลีบ อยู่ในวงกลมล้อมรอบด้วยเส้นคู่ขนานตัดไปตามผนังรูปกากบาท มีทางขึ้นเป็นอัฒจันทร์รูปปีกกาสามด้าน ด้านหลังเชื่อมต่อกับซุ้มประตูกลางของระเบียงชั้นในของปราสาท
            ลานปราสาทและระเบียงชั้นนอก  นอกระเบียงคดซึ่งเป็นกำแพงชั้นในสุดของปราสาท ยังมีระเบียงชั้นนอกกว้างประมาณ ๓ เมตร ปัจจุบันแลเห็นเป็นทางเดินโล่งยกพื้นเตี้ย ๆ ปูพื้นด้วยศิลาแลงมาบรรจบกับทางเดินเข้าสู่ปราสาท ทางด้านข้างของทั้งสองข้าง จากการสำรวจพบว่า ส่วนนี้น่าจะเป็นระเบียงโถงใช้เสารองรับ หลังคามุงกระเบื้องโดยไม่ก่อผนัง
            บริเวณลานภายในวงกลมล้อมรอบด้วยระเบียงชั้นนอกด้านทิศใต้ ทางซีกตะวันออกหรือค่อมมาทางด้านหน้า มีร่องรอยว่าเคยมีสิ่งก่อสร้างอื่นอยู่ด้วย
            ซุ้มประตูและระเบียงชั้นใน  ก่อนถึงบริเวณที่ตั้งปราสาท มีระเบียงคดล้อมเป็นกำแพงชั้นใน ระเบียงนี้ก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันเป็นวงรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รอบลานปราสาทคล้ายทางเดินที่มีผนังกั้น และมีหลังคาคลุม แต่ไม่สามารถเดินทะลุโดยตลอด เพราะมีผนังกั้นเป็นช่วง ๆ
            ระเบียงทั้งสี่ด้านมีซุ้มประตู (โคปุระ)  ทางเข้าสู่ลานปราสาทอยู่ตรงกลาง และยังมีประตูข้างอีกด้านละสองประตู ยกเว้นด้านทิศใต้ ที่มีให้เห็นเพียงประตูเดียว
            ซุ้มประตูกลางของระเบียงคดด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก  มีมุขทั้งด้านในและด้านนอก ด้านข้างชักปีกออกไปต่อกับหลังของระเบียง มีลักษณะเป็นรูปกากบาท หลังคามุงเป็นรูปโค้งลดชั้นติดกันเป็นรูปกากบาท ประดับสันหลังคาด้วยบราลี
            ซุ้มประตูระเบียงเหล่านี้ มีการสลักลวดลายที่หน้าบันทับหลังเสาประตู กรอบประตูและเสาติดผนังที่ส่วนบนของผนังระเบียง ที่หน้าบันและทับหลังนิยมสลักเป็นภาพเล่าเรื่อง ส่วนอื่น ๆ นิยมสลักเป็นลายพรรณพฤกษา
            สะพานนาคราชช่วงสุดท้าย  เป็นช่วงที่เชื่อมต่อระหว่างซุ้มประตู (โคปุระ) กับปรางค์ประธาน มีลักษณะเหมือนสะพานนาคราชช่วงก่อน ๆ แต่มีขนาดเล็กลง กว้าง ๓.๔๐ เมตร ยาวประมาณ ๑๐ เมตร พื้นกลางสะพานไม่จำหลักลายกลีบบัวเหมือนก่อน
            ปรางค์ประธาน  เป็นสถาปัตยกรรมที่สำคัญที่สุด ตั้งอยู่ตรงกลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุม มีขนาดกว้าง ๘.๒๐ เมตร ยาว ๒๗ เมตร มีมุขสองชั้นทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก ส่วนด้านหน้าคือทิศตะวันออก ทำเป็นรูปมุขโถง หรือมณฑปขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๐ เมตร โดยมีฉนวนขนาดกว้าง ๓.๐๐ เมตร ยาว ๘ เมตร เชื่อมและมีมุขขนาดเล็กอยู่ทางด้านหน้ามณฑปอีกแห่งหนึ่ง ตัวปรางค์ประธานตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ สองชั้น ย่อมุมรับกับอาคาร ลักษณะของแผนผังดังกล่าว มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗ เหมือนกันกับแผนผังของปราสาทหินพิมาย องค์ปรางค์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วนคือ ส่วนฐาน เรือนธาตุ ส่วนหลังคาและเรือนยอด
               -  ส่วนฐาน  ประกอบด้วย ฐานเขียงและฐานปัทม์ หรือฐานบัวเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นสลักลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายกลีบบัว ลายประจำยาม
               -  เรือนธาตุ  คือส่วนที่ถัดขึ้นไปจากฐาน เป็นบริเวณที่เข้าไปภายในได้ ห้องภายในที่สำคัญคือ ห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุดของศาสนสถานคือ ศิวะลิงค์ ซึ่งปัจจุบันเหลือแต่เพียงร่องรับน้ำสรง ท่อลอดพื้นห้อง และลานปราสาท ออกไปนอกระเบียงคดด้านทิศเหนือ เรียกว่า โสมสูตร
               -  ส่วนหลังคา และเรือนยอด  ทำเป็นชั้น ๆ ที่เรียกว่า ชั้นเชิงบาตร ลดหลั่นกันขึ้นไป ๕ ชั้น ส่วนยอดบนสุดสลักเป็นกลีบบัว รองรับนพศูล ที่ชั้นเชิงบาตรแต่ละชั้น ประกอบด้วย ซุ้มและกลีบขนุนปรางค์สลักเป็นรูปเศียรนาค ฤาษี เทพสตรี และเทพประจำทิศต่างๆ กลีบขนุนที่ประดับตามมุมของแต่ละชั้นจะสลักให้สอบเอนไปทางด้านหลัง ทำให้ยอดปรางค์มีรูปทรงเป็นพุ่ม
            ส่วนประกอบอื่น ๆ ขององค์ปรางค์ได้แก่มุขปรางค์ด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก มณฑป และมุขหน้า มุขหลังคาเป็นโค้งลดชั้นเช่นเดียวกับซุ้มประตู ระเบียงคดหรือโคปุระ ด้านในของหลังคา รวมทั้งของยอดปรางค์ น่าจะเคยมีเพดานไม้จำหลักลาย และอาจทาสีให้สวยงาม
            องค์ปรางค์และส่วนประกอบทั้งหมด มีประตูรับกันเป็นชั้น ๆ อยู่ในแนวตรงกันทุกทิศ มณฑปและฉนวนมีประตูข้างทางทิศเหนือ และทิศใต้ข้างประตู
            หน้าประตูด้านนอกทุกทิศ มีหลุมสำหรับติดตั้งประติมากรรมอยู่สองข้าง ที่พื้นหน้าประตูมุขโถงมีอัฒจันทร์สลักเป็นรูปดอกบัวบานสามดอก ประตูที่เชื่อมระหว่างมณฑปกับฉนวน ไม่มีบันไดขึ้น จากห้องภายในมณฑปที่อัฒจันทร์ประตูทางเข้าออกของมณฑป มีอัฒจันทร์รองรับอยู่ทุกประตู
            ในห้องมุขปรางค์ทิศต่าง ๆ อีกสามด้าน มีร่องรอยว่าเคยมีแท่นฐานประติมากรรมตั้งอยู่
            ส่วนต่าง ๆ ของปรางค์ประธาน ล้วนสลักลวดลายประดับ มีทั้งลวดลายพันธุ์พฤกษา ภาพเทพต่าง ๆ และภาพเล่าเรื่องตามคัมภีร์ทางศาสนา เช่น เรื่องมหาภารตยุทธ เรื่องของพระศิวะ เรื่องของพระวิษณุ เรื่องรามายณะ
            จากลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของปรางค์ประธาน พอจะกำหนดอายุได้ว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗
            ปรางค์น้อย  ตั้งอยู่ใกล้ปรางค์ประธานทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นปรางค์สี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมขนาดกว้างด้านละ ๖ เมตร สูงปัจจุบันประมาณ ๕.๕๐ เมตร ไม่มีส่วนยอดเหลืออยู่ หรืออาจไม่มีมาแต่เดิม ก่อด้วยหินทราย กรุผนังด้านในด้วยศิลาแลง มีประตูเข้าได้ทางเดียวคือ ทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นด้านหน้า ส่วนด้านอื่น ๆ ก่อเป็นผนังทึบ แต่ทำเป็นประตูหลอก ภายในห้องมีแท่นฐานหินทราย สำหรับประดิษฐานรูปเคารพ ภาพสลักประดับส่วนต่าง ๆ ขององค์ปรางค์ต่างกันกับปรางค์ประธาน ซึ่งหน้าบันจะสลักภาพบุคล แต่ที่ปรางค์น้อยจะสลักลวดลายพันธุ์พฤกษา เป็นส่วนใหญ่  มีภาพบุคคลขนาดเล็กอยู่กลางค่อนมาทางด้านล่าง เศียรนาคกรอบหน้าบันทำเป็นเศียรนาคเกลี้ยงไม่มีรัศมี ลักษณะลวดลายจำหลักบนทับหลังเป็นศิลปะเขมร แบบบาปวนเป็นส่วนใหญ่ มีศิลปะก่อนหน้านั้นคือ แบบเกรียงหรือคลังปนอยู่บ้าง ทำให้สามารถกำหนดอายุได้ว่า น่าจะสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖
            วิหารหรือบรรณาลัย  มีอยู่สองหลัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราค์ประธานสองข้างสะพานนาคราช ช่วงสุดท้ายที่เชื่อมต่อระหว่างระเบียงชั้นในด้านหน้ากับปรางค์ประธาน เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสร้างด้วยศิลาแลง มีประตูเข้าออกด้านเดียว ภายในไม่มีรูปเคารพ หลังคาทำเป็นรูปประทุนเรือ โดยวางหินซ้อนเหลื่อมกันขึ้นไปบรรจบกันแบบเดียวกันกับหลังคาระเบียงชั้นใน อาคารหลังที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีขนาด ๑๑.๖๐ x ๗.๑๐ เมตร สูง ๕ เมตร ส่วนหลังที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีขนาด ๑๔.๕๐ x ๘.๕๐ เมตร สูง ๓ เมตร จากการที่ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุก่อสร้าง โดยใช้หินทรายเป็นส่วนประกอบตามแบบของการก่อสร้างสมัยบายน ทำให้สันนิษฐานว่า อาคารดังกล่าวนี้สร้างร่วมสมัยกับสมัยบายน ประมาณปี พ.ศ.๑๗๒๐ - ๑๗๗๓
            ปรางค์อิฐ  มีอยู่สององค์ ตั้งอยู่ใกล้ปรางค์ประธานทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ องค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อีกองค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศใต้ แต่ละองค์มีขนาด ๕ x ๕ เมตร มีเสาประดับกรอบประตูทำด้วยหินทราย สันนิษฐานว่า มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่เกาแก่ที่สุดที่ยังเหลืออยู่

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์