ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางพระพุทธศาสนา

ศาสนสถาน

           วัดเขาบางทราย  เป็นพระอารามหลวงเดิมเรียกว่า วัดเขาพระบาทบางทราย ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศเหนือประมาณ ๒ กิโลเมตร กล่าวกันว่าพระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้สร้างขึ้น ในระหว่างปี พ.ศ.๒๒๔๙ - ๒๒๗๕
           วัดเขาบางทรายเป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่ที่สุด วัดนี้เคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วกลายเป็นวัดร้างจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระยาบรมมหาประยูรงวศ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลัง ที่สมุหกลาโหม ยกทัพไปปราบอั้งยี่ที่วัดคงคาลัย ตำบลบางทราย อำเภอเมือง ฯ หลังจากปราบอั้งยี่ลงได้แล้ว เจ้าพระยาพระคลังได้มีบัญชาสั่งให้ปลัดทัพสถาปนาวัดเขาบางทรายขึ้นมาใหม่ ในปี พ.ศ.๒๓๙๐ ต่อมาวัดนี้ได้รับการบูรณะอีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาวิชิตชลเขต ผู้กำกับราชการเมืองชลบุรีกับพระราชาคณะหลายรูป
           ศาสนสถานที่ได้รับการบูรณะปฎิสังขรณ์ ได้แก่ มณฑปพระพุทธบาท เจดีย์ วิหาร ตึกพำนักเจริญภาวนาและบ่อน้ำ เป็นต้น
           ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชอยู่ พระองค์ได้เสด็จธุดงค์ไปนมัสการพระพุทธบาท และเสด็จเยี่ยมเจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗
           ทางราชการเคยใช่วัดเขาบางทรายเป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
               - พระมณฑป  สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง สร้างในสมัยใดไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด ได้รับการปฎิสังขรณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้เาเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
               - หอระฆัง  เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมสองชั้น ก่ออิฐถือปูน ชั้นล่างเป็นระเบียงล้อมรอบ มีบันไดขึ้นไปชั้นสอง ระเบียงชั้นล่างและชั้นบนกรุด้วยกระเบื้องปรุทั้งหมด ตามคตินิยมของสถาปัตยกรรมไทยแบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
               - ศาลาราย (ศาลาเก้าห้อง)  เป็นศาลาโถงทรงค่อนข้างเตี้ย ระหว่างช่องเสาทำเป็นซุ้มโค้ง ได้รับการปฎิสังขรณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่รูปทรงยังคงเป็นแบบเดิมตามลักษณะของสถาปัตยกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างอิทธิพลของสถาปัตยกรรมไทย จีน และตะวันตก

           วัดใหญ่อินทารามวรวิหาร  เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของจังหวัดชลบุรี อยู่ในเขตตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง ฯ ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘
           จากหนังสือพระราชพงศาวดารเรียกวัดนี้ว่า วัดหลวง อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๐๐ เส้น (๔ กิโลเมตร) คาดว่าที่ตั้งเมืองชลบุรีในสมัยกรุงธนบุรี น่าจะอยู่ค่อนไปทางทิศเหนือ ใกล้เมืองบางทราย

               - พระอุโบสถและพระวิหาร  ลักษณะเด่นของพระอุโบสถอยู่ที่ส่วนฐานที่อ่อนโค้งที่เรียกกันว่า โค้งสำเภา เป็นรูปแบบที่นิยมสร้างกันมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย หลังคามุงกระเบื้องแบบกาบกล้วย หรือกาบู ชายคาประดับด้วยเชิงชายรูปสามเหลี่ยม องค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตัวพระอุโบสถคือ ฐานเสมาที่ล้อมอยู่รอบพระอุโบสถและพระปรางค์องค์เล็ก ด้านหลังของพระวิหาร ส่วนเรือนธาตุทำเป็นซุ้มเล็กแคบสูงขึ้นไปตลอดเรือนธาตุ เป็นสถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยาตอนปลายเช่นเดียวกัน

               - จิตรกรรมฝาผนัง  มีปรากฎอยู่สองแห่งคือ ภายในวิหารเล็กด้านเหนือพระอุโบสถ และภายในพระอุโบสถ
           จิตรกรรมฝาผนังในวิหารเล็กอยู่ในสภาพทรุดโทรม ภาพเลือนลางมาก ส่วนจิตรกรรมในพระอุโบสถที่บริเวณส่วนผนังหุ้มกลองด้านหน้า ด้านหลัง และผนังด้านข้างทั้งสองข้างเขียนภาพพุทธประวัติ (ทศชาติชาดกและตอนผจญมาร) การใช้สีและเส้นแบ่งออกเป็นหลายลักษณะเช่น ภาพทศชาติใช้สีน้ำตาลอ่อน สีขาวนวล เป็นส่วนใหญ่ ส่วนอื่น ๆ ใช้สีตามแบบประเพณีนิยม คือน้ำตาลปนเทา น้ำตาลปนแดง น้ำเงินปนเทา และเขียวเข้ม
           เทคนิคที่ใช้แสดงว่าได้รับอิทธิพลตะวันตก อายุของภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่ประมาณสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่บางส่วนก็เขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทรตอนต้น และยุคปรับปรุงประเทศ
           วัดสวนตาล  เชื่อกันว่าเดิมชื่อ วัดสมณโกฎิ เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้าง ชำรุดทรุดโทรมมาก ทางราชการได้ใช้พื้นที่วัดสร้างอาคารของส่วนราชาการ (ศาลแขวง)
           วัดอ่างศิลา  อยู่ในเขตตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยพิจารณาได้จากส่วนฐานของอุโบสถหลังเก่า ซึ่งต่อมามีการสร้างวิหารหลังใหม่ทับไปบนฐานอุโบสถเดิม ทางด้านหน้าของวิหารยังคงเหลือเจดีย์สมัยอยุธยาเรียงรายอยู่สามองค์ รูปแบบของเจดีย์เป็นแบบที่นิยม สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ นอกจากนั้นส่วนฐานของเจดีย์องค์หนึ่งยังมีลายปูนปั้นรูปครุฑ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย รวมทั้งฐานใบเสมาแม้มีการซ่อมแซมใหม่ แต่ยังพอสังเกตุเห็นโครงสร้างของรูปทางเดิมได้

               - จิตรกรรมฝาผนัง ภายในอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังโดยได้แบ่งพื้นที่ที่ใช้เขียนภาพแบ่งออกเป็นสี่ส่วนคือ ตอนล่างบริเวณพื้นที่ระหว่างช่องหน้าต่างของผนังทั้งสองด้าน ซึ่งเรียกว่า ห้องภาพและพื้นที่ผนังด้านสะกัดด้านหน้าของอุโบสถ ช่วงกลางระหว่างประตูทั้งสองข้าง อีกส่วนหนึ่งคือช่วงบนของผนังตั้งแต่เหนือกรอบหน้าต่างประตูขึ้นไปจนจรดเพดาน ต่อเนื่องกันไปโดยรอบผนังทั้งสี่ด้าน
           เรื่องราวที่เขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติจากปฐมสมโพธิกถาทั้งหมด การใช้สีและเส้นมีลักษณะค่อนข้างสว่างสดใส ใช้หลักวิชาทัศนียวิทยาในการเขียนภาพ ใช้สีสดใสและมีความแรงในด้านความรู้สึกในการเน้น อายุของจิตรกรรมอยู่ประมาณรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

           วัดบางบางเป้ง อยู่ในเขตตำบลแสนสุข อำเภอเมือง ฯ สร้างใน่รัชสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
               - อุโบสถ  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ผนังสูงไม่มีเสา หลังคามุงกระเบื้องลักษณะหลังคาซ้อนกันสองชั้น หน้าบันลายปูนปั้น ประดับด้วยเครื่องถ้วยจีน และชุดลายครามจากต่างประเทศ
           ฐานรับใบเสมาก่ออิฐถือปูนประดับด้วยบัวคว่ำบัวหงาย และลวดบัวเช่นเดียวกับตังอุโบสถ เป็นฐานที่เชื่อมต่อเนื่องมาจากผนังอุโบสถ
           ลานประทักษิณ เป็นลานคอนกรีตขัดผิวเรียบล้อมรอบตัวอุโบสถ และมีหลังคา พะไลคลุมรอบทุกด้าน ด้านหน้าและด้านหลังประทักษิณจะยาวออกมามากกว่าด้านข้าง
           กำแพงแก้ว เป็นแนวกำแพงยกสูงจากพื้นประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ล้อมรอบด้านนอกของลานประทักษิณ
           ปัจจุบันสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๔ กรมศิลปากร ได้บูรณะปฎิสังขรณ์ขึ้นใหม่ และขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐
           มณฑปพระพุทธบาทวัดบางพระวรวิหาร  ตั้งอยู่บนเนินเขา ห่างจากวัดบางพระวรวิหาร ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา ไม่ไกลนัก ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างเมื่อใด ได้รับการบูรณะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔
           วัดโบสถ์  เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในจังหวัดชลบุรี อยู่ในเขตตำบลวัดโบสถ์ อำเภอพนัสนิคม ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย
           อุโบสถหลังเดิมหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ต่างจากวัดอื่น ๆ ที่อุโบสถหันหน้าไปทิศตะวันออก ปัจจุบันตัวอุโบสถชำรุดทรุดโทรมมาก
           นอกจากอุโบสถแล้วยังมีใบเสมาและลูกนิมิตรอยู่ที่ด้านหน้า และด้านหลังอุโบสถหลังเก่า
           ได้มีการสร้างอุโบสถหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ พร้อมกับอัญเชิญหลวงพ่อโตจากอุโบสถหลังเก่ามาประดิษฐาน เป็นพระประธานในอุโบสถ
               - จิตรกรรมฝาผนัง  มีอยู่ที่บริเวณศาลาการเปรียญ ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลาโถง ยกพื้นใต้ถุนสูง มีภาพจิตรกรรมอยู่ ณ ส่วนที่เป็นคอสองของตัวอาคาร ซึ่งทำเป็นแนวแผงไม้ต่อลงมาจากใต้แนวเพดานต่อเนื่องกันไป เป็นภาพพุทธประวัติตอนผจญมาร ส่วนคอสองแนวด้านข้างทั้งสองด้านและด้านสกัด ส่วนหลังศาลาเป็นเรื่องทศชาติ การใช้สีและเส้นโดยทั่วไปเป็นสีฟ้าอ่อนปนเทา กำหนดอายุอยู่ประมาณรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

           หอพระพุทธสิหิงค์ ฯ  อยู่ในเขตตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง ฯ เป็นสถาปัตยกรรมไทยที่สวยงามสมบูรณ์ด้วยสัดส่วน อาคารเป็นแบบตัวมุขตั้งอยู่บนฐานไพที ยกระดับซ้อนกันสองชั้นมีพนักลูกกรงล้อมรอบ ชั้นบนสุดเป็นหอประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ฯ พระพุทธรูปคุ่บ้านคู่เมืองชลบุรี ด้านหน้าหอพระเป็นระเบียงโล่ง มีบันไดทางขึ้นสู่ฐานไพทีทีละชั้น ส่วนในคูหาประดิษฐานองค์พระ
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดหอพระพุทธสิหิงค์ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙
           วัดใต้ต้นลาน  ตั้งอยู่ที่บ้านคลองหลวง ตำบลบ้านไร่หลักทอง อำเภอพนัสนิคม

               - หอพระไตรปิฎก  เป็นหอพระไตรปิฎกที่ใช้เสาไม้ ๑๒ ต้น สร้างอยู่ในสระน้ำ หลังคามุงกระเบื้องมีช่อฟ้างดงาม มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์งดงาม นับเป็นสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาในด้านสถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาในการเก็บรักษาพระไตรปิฎกให้พ้นจากการทำลายของมดปลวก และแมลงทั้งหลาย

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์