ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางวัฒนธรรม

โบราณสถาน
            โบราณสถานส่วนใหญ่ในจังหวัดชลบุรีดเป็นวัดในพระพุทธศาสนาได้แก่ วัดเขาบางทราย วัดใหญ่ อินทารามวรวิหาร วัดสวนตาล วัดบางพระวรวิหาร วัดโบสถ์ วัดอ่างศิลา วัดบางเป้ง เป็นต้น

           สระสี่เหลี่ยม  อยู่ในเขตตำบลสวระสี่เหลี่ยม อำเภอพนัสนิคม มีลักษณะเป็นสระรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ ๑๐ เมตร ขอบสระเป็นศิลาแลง เป็นสระน้ำที่มีมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่า เป็นอารยธรรม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๙ ในสมัยทวารวดี ถึงสมัยลพบุรี
           ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงเชื่อว่าเป็นที่สถิตของเจ้าพ่อหลายเจ้าพ่อเช่น เจ้าพ่อหลงคง เจ้าพ่อหลวง และฮึมอีก เมื่อถึงฤดูยทรงเจ้า บรรดาคนทรงจะมาร่วมชุมนุมทำพิธีทรงเจ้าที่บริเวณสระสี่เหลี่ยมนี้เป็นประจำ ชาวบ้านเรียกว่า สระพระรถ  ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว
           ตึกมหาราชและตำหนักราชินี  ตั้งอยู่ริมทะเลด้านตะวันตกของตำบลอ่างศิลา สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้เป็นที่พักฟื้นของผู้ป่วย  ต่อมาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี ได้โปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ แล้วพระราชทานนามตึกหลังใหญ่ว่า ตึกมหาราชและตึกหลังเล็กว่าตึกราชินี
แหล่งโบราณสถานคดี
           แหล่งโบราณคดีที่สำคัญของจังหวัดชลบุรีได้แก่ ถ้ำเขาชะอางห้ายอด โคกพนมดี โคกระกา โคกกระเหรี่ยง เมืองพระรถ เมืองพรกแร่ เมืองศรีพโล รายละเอียดได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
           แหล่งโบราณคดีใต้น้ำ  จากการสำรวจแหล่งโบราณคดีใต้น้ำที่เกาะครามและเกาะรางเกวียน ได้พบโบราณวัตถุจำพวกเครื่องสังคโลกสุโขทัย เครื่องถ้วยจีนและเวียดนามเป็นจำนวนมาก เครื่องถ้วยไทยที่พบมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๒ มีจาน ชาม ถ้วย กระปุก ส่วนเครื่องถ้วยจีนก็มีอายุอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน มีทั้งเครื่องถ้วยสามสีสมัยราชวงศ์ถัง เครื่องถ้วยจากหลงฉวน มณฑลเจ้อเจียง ได้แก่ ชาม กระปุก เคลือบสีเขียวไข่กา เครื่องถ้วยอันนัม นอกจากนี้ยังพบเหรียญจีน ปืนใหญ่ ก้อนแร่ งาช้าง หินบด เต้าปูนสำริด
           เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ ได้มีการสำรวจพื้นที่อ่าวไทยทางตะวันตกของเกาะสีชัง ตามคำบอกเล่าของชาวประมง พบแหล่งเรือจมสองบริเวณด้วยกันให้ชื่อว่า แหล่งเรือสีชัง ๑ และแหล่งเรือสีชัง ๒  จมอยู่ห่างกันประมาณ ๒ กิโลเมตร
               - แหล่งเรือสีชัง ๑  อยู่ห่างจากเกาะสีชังไปวทางทิศตะวันตกประมาณ ๓ กิโลเมตร พบเปลือกเรือและไม้โครงสร้างเรือโผล่อยู่เหนือพื้นทราย พบโบราณวัตถุที่น่าสนใจได้แก่เครื่องถ้วยลายครามจีนคุณภาพดี เตาเชิงกรานแบบอยุธยา หม้อหุงต้ม อ่างขนาดต่าง ๆ กาน้ำแบบมอระกู่ ชิ้นส่วนเคื่องเงินพื้นสีดำลอยลายมังกร จุกไม้ปิดฝาไห ฯลฯ
               - แหล่งเรือสีชัง ๒  ตัวเรือและบริเวณรอบ ๆ และหลักฐานที่โผล่เหนือพื้นทรายถูกอวนลากของชาวสประมงกวาดติดไปหมด วัตถุที่พบเป็นเครื่องสังคโลกลายปลา ลายพันธุ์พฤกษาจากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย และเครื่องเคลือบเซราค่อนของแหล่งเตาหลงฉวน และพบเหรียญจีนสมัยราชวงศ์หมิง มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑
               - แหล่งเรือสีชัง ๓  พบเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ จมอยู่ใต้ทะเลในระดับความลึกประมาณ ๒๔ เมตร  โบราณวัตถุที่พบในเรือส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาประเภทไหสี หูเคลือบสีน้ำตาล ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากแหล่งเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี รวมทั้งไหปากกว้างขนาดย่อม และขวดปากแบนขนาดเล็ก ไหดังกล่าวเป็นภาชนะบรรจุสินค้าประเภทไข่ ยางสน (ผงชัน) เครื่องถ้วยที่ผลิตจากแหล่งเตาในมณฑลทางใต้ของจีนและในเวียดนามมีพบอยู่บ้าง
           นอกจากนี้กรมศิลปากรได้ร่วมกับกองทัพเรือขุดค้นศึกษาแหล่งเรือจมที่พัทยา พบซากเรือและระวางสินค้าถึงเจ็ดระวาง สินค้าสำคัญในเรือมีก้อนตะกั่วทรงปิรามิด หรือตะกั่วนม รวมทั้งภาชนะดินเผาหลายประเภท
แหล่งประวัติศาตร์ และย่านประวัติศาตร์
           แหล่งประวัติศาสตร์ คือ สถานที่เกิดเหตุการณ์ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องราว หรือเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ส่วนย่านประวัติสาตร์คือ ย่านชุมชนที่อยู่อาศัย หรือย่านค้าขายที่เคยมีกิจกรรมที่น่าสนใจมาแต่อดีต
           สะพานหัวค่าย หรือสะพานกลป้อมค่าย  ในปัจจุบันเป็นสถานที่พระยาวชิรปราการ (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) นำไพร่พลมาตั้งค่ายที่พักแรมอยู่บริเวณนี้ เมื่อครั้งกลับมาจากระยองเพื่อจัดการเรื่องนายทองอยู่ นกเล็ก ก่อนไปจันทบุรีเพื่อรวบรวมกำลังพลกลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากพม่า
           ท่าเกวียน  อยู่ในเขตตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง ฯ อยู่ระหว่างวัดใหญ่อินทาราม และวัดต้นสน เคยเป็นสถานที่ที่บรรดาชาวไร่ชาวสวน นำผลผลิตของตนบรรทุกเกวียนมาขาย บรรดาเกวียนและโคกระบือที่บรรทุกผลผลิตจะมาพักรวมกันอยู่ในบริเวณนี้ จึงเรียกว่า ท่าเกวียน
           หน้าเก๋ง หรือศาลเจ้าเก๋ง  อยู่ริมถนนวชิรปราการฝั่งตะวันออก ระหว่างศาลเจ้าพ่อสาครกับเชิงสะพานหัวค่าย ในสมัยที่ยังไม่เลิกโรงบ่อนเบี้ย มีโรงบ่อนเบี้ยตั้งอยู่ตรงข้ามศาลเจ้าเก๋ง ลงไปทางทะเลประมาณ ๑๐๐ เมตร นายอากรบ่อนเบี้ยจะจัดให้มีการละเล่น เช่น งิ้ว ลิเก ให้ประชาชนชมทุกวัน เพื่อเรียกคนให้มาเที่ยวและเล่นการพนัน มีพ่อค้าแม่ค้านำของมาขาย ในที่สุดก็กลายเป็นตลาด ต่อมาเมื่อยกเลิกอากรบ่อนเบี้ยแล้ว โรงบ่อนจึงกลายเป็นโรงยาฝิ่น และมีการสร้างโรงภาพยนต์ในบริเวณใกล้เคียง ทำให้บริเวณนี้เป็นแหล่งบันเทิงของชาวเมืองชลบุรีในอดีต
           บ้านอ่างศิลา เป็นหมู่บ้านชายทะเลอยู่ระหว่างเขาสามมุขกับบางปลาสร้อย เป็นชุมชนที่มีความสำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะชายทะเลของอ่างศิลาได้เป็่นที่จอดพักเรือสินค้าในฤดูมรสุม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังสร้างสะพานหินยื่นลงไปในทะเล เพื่ออำนวยความสะดวกในการจอดพักเรือสินค้า
           บ้านหัวถนน  อยู่ในเขตตำบลหัวถนน อำเภอพนัสนิคม มีเรืองเล่าสืบกันมาวา ที่บ้านหัวถนนมีถนนสายหนึ่งเชื่อมระหว่างตำบลหมอนนาง กับตำบลสระสี่เหลี่ยม ถนนสายนี้ พระรถ เคยนำไก่ไปตีพนันน และไปพักให้น้ำไก่ที่สระสี่เหลี่ยม ต่อมาลาวอาสาปากน้ำได้อพยพมาตั้งบ้านเรือน ทำมาหากินด้วยการทำนาทำให้ถนนดังกล่าวถูกทำลายไป เหลือเพียงแนวถนนเป็นเนินสูง เพราะส่วนที่อยู่ในบริเวณวัดหัวถนน และบริเวณหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า หัวถนน
           ท่าบุญมี  หมู่บ้านท่าบุญมี เป็นหมู่บ้านเก่ามีขนาดใหญ่ ชาวบ้านในหมู่บ้านนี้ได้อาศัยน้ำจากคลองหลวงในการดำรงชีพ ส่วนการคมนาคมทางบก ซึ่งใช้เกวียนเป็นพาหนะ ก็ต้องเดินทางผ่านคลองหลวง จุดรวมของกองคาราวานเกวียนลากไม้คือ ท่าน้ำที่อยู่ติดกับบ้านของแม่เฒ่าบุญมี ซึ่งเป็๋นคนใจบุญ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้เดินทางทั้งเรื่องที่พัก น้ำดื่มและข้าวปลาอาหาร ผู้คนจึงมักเรียกติดปากว่า ท่าแม่เฒ่าบุญมี ต่อมาได้กลายเป็นท่าบุญมี
           บ้านท่าตะกูด  อยู่ในเขตอำเภอพานทอง เป็นย่านชุมชนที่สำคัญแห่งหนึ่งในอดีต เพราะเป็นท่าเรือที่สำคัญของเมืองพนัสนิคม เป็นศูนย์รวมของการค้าขาย และการขนส่งผลไม้และพืชผลการเกษตรต่าง ๆ ลงเรือไปขายที่กรุงเทพ ฯ และมืองอื่น ๆ โดยใช้เส้นทางจากท่าตะกูดไปตามลำน้ำพานทอง ไปออกแม่น้ำบางปะกง ออกอ่าวไทยไปยังกรุงเทพ ฯ
           บ้านท่ากระดาน (อยู่ในเขตตำบลโคกเพลาะ อำเภอพนัสนิคม)  บริเวณนี้เดิมเป็นท่าเกวียนสำหรับเข็นซุงลงคลองของชาวบ้าน ในหลาย ๆ หมู่บ้าน การขนซุงต้องเข็นลงคลอง เพื่อนำซุงไปเลื่อยเป็นไม้กระดาน จึงเรียกคลองนี้ว่า คลองกระดาน ต่อมากลายเป็นชื่อหมู่บ้านท่ากระดาน
           บ้านท่าข้าม  อยู่ในเขตตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม เดิมไม่มีถนนหนทางเป็นป่าอ้อ ป่าแขม และมีร่องน้ำลึกเรียกว่า ลำซวด มีที่ตื้นอยู่เฉพาะบริเวณบ้านท่าข้ามเท่านั้น ผู้ที่เดินทางจะต้องเดินข้ามลำซวด บริเวณตรงนี้เท่านั้นเพราะน้ำตื้นพอข้ามได้ ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า ท่าข้าม
แหล่งอุตสาหกรรม
           แหล่งผลิตเกลือ  อยู่ในเขตตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง ในอดีตจังหวัดชลบุรีมีแหล่งทำนาเกลืออยู่สองแห่งคือ ที่ตำบลเสม็ด และตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง ฯ
           แหล่งผลิตน้ำปลา  อยู่ในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี และเขตเทศบาลตำบลแสมสูง มีโรงงานขนาดใหญ่ผลิตน้ำปลาและน้ำซอส ออกจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
           แหล่งผลิตกะปิ  อยู่ในเขตตำบลมะขามหย่ง ตำบลบ้านสวน
           แหล่งผลิตน้ำตาล  มีทั้งน้ำตาลทรายแดง และน้ำตาลทรายขาว แหล่งผลิตอยู่ในเขตตำบลหนองซาก ตำบลบ้านบึง ตำบลหนองอีรุณ ตำบลหนองไผ่แก้ว
           แหล่งผลิตมันสำปะหลัง  อยู่ในเขตตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านบึง ตำบลบ้านสวน ตำบลหนองรี ตำบลเหมือง ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมือง ฯ การผลิตมีหลายรูปแบบ ทั้งมันเส้น มันอัดเม็ด และแป้งมันสำปะหลัง
           แหล่งผลิตไม้แปรรูป  ในอดีตชลบุรีมีโรงงานผลิตไม้แปรรูปอยู่ที่ตำบลสศรีราชา อำเภอศรีราชา คือ บริษัทป่าไม้ศรีราชา ปัจจุบันคือ บริษัทศรีมหาราชา จำกัด
           แหล่งผลิตหินแกะสลัก  อยู่ในเขตตำบลอ่างศิลา และแหลมแท่น ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง ฯ มีอยู่ประมาณ ๕๐ ครัวเรือน ผลิตภัณฑ์หินแกะสลักได้แก่ ครกโม่ ในเสมา ลูกนิมิตร ป้ายสุสาน และรูปสัตว์ต่าง ๆ
สถาปัตยกรรมดีเด่น
           สถาปัตยกรรมดีเด่น  หมายถึง สิ่งก่อสร้างที่ทรงคุณค่าในทางศิลปสถาปัตยกรรมที่สืบทอดกันมา และศิลปสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ในจังหวัดชลบุรีส่วนใหญ่เป็นสิ่งก่อสร้างในพระพุทธศานาได้แก่ พระอุโบสถวัดใหญ่อินทารามวรวิหาร หอพระพุทธศิหิงค์ ฯ หอพระไตรปิฎก วัดใต้ต้นลาน พระเจดีย์อุโบสถวัดอัษฎางค์ พระอุโบสถวัดญาณสังวรราม ฯ พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรพิพัฒน์ พระพุทธมณฑป ภปร. สก. เป็นต้น ซึ่งจะได้นำเสนอในมรดกทางพระพุทธศาสนา

           ศาลาเทศบาทชลบุรี  อยู่ในเขตตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง ฯ เดิมเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ชั้นเดียวยกพื้นสูง เป็นอาคารขนาดใหญ่ หลังคาทรงปั้นหยา ด้านหน้าอาคารมีมุขยื่น ส่วนบนของมุขก่ออิฐเป็นแผงยกขึ้นไปสูงเท่าความสูงของหลังคา ตอนบนทำเป็นซุ้มโค้ง แบบตะวันตก ที่เรียกว่ามงกุฎ มีเสาหลอกลดหลั่นกันไป หัวเสาประดิษฐ์เป็นรูปหม้อน้ำแบบตะวันตก ส่วนกลางใต้ซุ้มโค้งมีรูปสัญญลักษณ์ของจังหวัดชลบุรี

           อาคารสามัญศึกษาจังหวัด  เดิมเป็นที่ตั้งศาลจังหวัด สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจออมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารชั้นเดียวก่ออิฐถือปูน ยกพื้นสูง หลังคาทรงปั้นหยา ส่วนหน้าของอาคารยกสูงมีลักษณะเป็นมงกุฎ ตรงกลางมีสัญญลักษณ์ตราแผ่นดิน มีเสาหลอกขนาดเล็ก ลดหลั่นกันทั้งสองข้าง เป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมตะวันตก

           ตึกพระพันวสา  ตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีทั้งส่วนที่เป็นสองชั้นและชั้นเดียว หลังคาเป็นแบบผสมผสานคือ หลังคาทรงปั้นหยา และแบบหน้าจั่วตัดมุม หลังคายกสูง ชั้นบนและชั้นล่างมีส่วนที่เป็นมุขยื่นและระเบียงลายลูกมะหวด มีการตกแต่งด้วยช่องระบายอากาศใต้ชายคา มีค้ำยันระหว่างช่วงเสารับกับชายคา

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์