ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

ประวัติอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดชุมพร
               - อำเภอเมือง ฯ  เดิมเรียกว่า อำเภอท่าตะเภา ย้อนหลังลงไปเรียกว่า เมืองชุมพร ก่อนหน้านั้นอีกเรียกว่า บ้านประเดิม ปรากฎชื่อเมืองชุมพรเป็นหัวเมืองปักษ์ใต้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๙๗ เป็นต้นมา
           เมืองชุมพรไม่มีโบราณวัตถุที่เป็นพยานหลักฐานว่าเป็นเมืองโบราณ จากหลักฐานบางอย่างปรากฏว่า มีหมู่บ้านหนึ่งอยู่ใกล้วัดประเดิมทางฝั่งแม่น้ำชุมพรเรียกว่า บ้านวัดประเดิม หรือบ้านประเดิม อยู่ในเขตตำบลตากแดด อำเภอเมือง โดยมีคลองสองคลองไหลมาบรรจบกันคือ คลองชุมพรและคลองท่าตะเภา ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า คลองร่วม
           บริเวณวัดประเดิมถัดมาทางทิศเหนือมีอิฐแผ่นใหญ่จมอยู่ในที่บางแห่ง และมีหลักเมืองแห่งหนึ่งใกล้ ๆ วัดประเดิมปักอยู่ในดินใกล้ต้นข่อย ชางบ้านเรียกว่า พระข่อย ถือเป็นเทพารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป
               - อำเภอปะทิว  เดิมเป็นเมืองขนาดเล็กตั้งแต่สมัยอยุธยา เมืองประทิวเป็นทางผ่านไปทำมาหากินของชนพื้นเมืองจากตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นที่สูงไปทางตะวันออกสู่ทะเล เรียกว่าปากทิว หรือปะทิว มีแหล่งชุมชนอยู่บริเวณดอนตาเถร ดอนยายชี ดอนตะเคียน บ้านหัวนอน และบ้านเกาะ หรือเกาะชะอม
                   พ.ศ.๒๓๑๓ - ๒๓๓๙ มีหัวเมืองชื่อครุฑ  ปกครองเมืองปะทิว ตั้งที่ทำการและบ้านเรือนอยู่บริเวณทางตอนใต้ของดอนตาเถร ในเขตตำบลบางสน
                   พ.ศ.๒๓๔๐ - ๒๓๗๕ หัวเมืองยิ่ง ปกครองเมืองปะทิว ต่อจากหัวเมืองครุฑ ตั้งที่ทำการและบ้านเรือนอยู่ที่บ้านเกาะ ปัจจุบันเรียกว่า เกาะชะอม ในเขตตำบลทะเลทรัพย์
                   พ.ศ.๒๓๘๔ - ๒๔๓๘ พระปะทิวขุนทอง ปกครองเมืองปะทิว ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณบ้านฉาง บ้านนาโหนด ท่าเสม็ด ตำบลดอนยาง
                   พ.ศ.๒๔๓๙ ยุบเมืองปะทิว เป็นอำเภอปะทิว หลวงพรหมสุภา (ทรัพย์ จินดาพรหม) เป็นนายอำเภอคนแรก มีศาลาว่าการอยู่ที่บ้านท่าเสม็ด ตำบลดอนยาง
               - อำเภอท่าแซะ  เป็นเมืองหน้าด่านของเมืองชุมพร จึงเป็นสมรภูมิรับศึกพม่าที่ยกเข้ามาตีเมืองชุมพรทุกครั้ง ตามพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษร มีความว่า ท่าแซะเป็นเมืองขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองจัตวาขึ้นกับเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี ผู้ครองเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นที่พระเทพไชยบุรินทร
           เมืองท่าแซะตั้งขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฎ ในปี พ.ศ.๒๔๓๙ ได้ลดฐานะเป็นอำเภอขึ้นต่อมณฑลชุมพร พระเทพไชยบุรินทร (คล้าย ฐิตะฐาน) ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งกรมการอำเภอ (นายอำเภอ) คนแรก
               - อำเภอสวี  เป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่งตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันออกของไทย อยู่ริมคลองสวี ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาลำดับที่ ๔๘ มีหน้าที่ส่งส่วยพลอยแก่กรงุศรีอยุธยา
                   ระหว่าง พ.ศ.๒๓๑๙ - ๒๓๒๗ เจ้าขัณฑสีมา ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชแต่ตั้งพระสวีแก้ว ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสวี มีทายาทสืบต่อมาปกครองสวี หลายชั่วอายุคน
                   พ.ศ.๒๔๓๙ ถูกยุบเป็นอำเภอ โดยมีหลวงเสวีวรราช (แดง ธนะไชย) เป็นนายอำเภอคนแรก
                   คำว่า สวี ได้ชื่อมาจากคลองสวี ซึ่งมีต้นน้ำมาจากเขาทะเล ตำบลเขาทะเล มีต้นน้ำมีหินก้อนใหญ่รูปร่างคล้ายผู้หญิง จึงเชื่อกันว่าเดิมได้ตั้งชื่อคลองนี้ว่า ฉวี ซึ่งหมายถึงความสวยวาม ต่อมาเพี้ยนเป็น สวี
               - อำเภอทุ่งตะโก  เมืองตะโกได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอทุ่งตะโก ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ขึ้นกับอำเภอสวี (เนื่องจากมีต้นตะโกขึ้นอยู่มาก จึงเรียกชื่อบ้านว่า บ้านตะโก เมื่อชุมชนหนาแน่นขึ้นก็กลายเป็นเมืองตะโก) เมืองตะโกปรากฎในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๙๑ เป็นเมืองจัตวา ขึ้นต่อเมืองชุมพร
                   พ.ศ.๒๔๔๐ ยุบเมืองตะโกไปขึ้นกับเมืองสวี หัวหน้าเมืองตะโกครั้งนั้นเป็นที่ขุนรามรักษา
                   พ.ศ.๒๕๑๙ ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ และตั้งเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕
               - อำเภอหลังสวน  เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่ง ปรากฎชื่อในประวัติศาสตร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตามจารึกวัดพระเชตุพน
                   พ.ศ.๒๔๒๑ พระจรูญโภคากร (คอซิมเต๊ก) บุตรพระยารัตนเศรษฐี เป็นผู้ว่าราชการเมืองหลังสวน
                   พ.ศ.๒๔๓๗ โปรดเกล้า ฯ ให้เมืองหลังสวนเป็นเมืองจัตวา ขึ้นต่อกรุงเทพ ฯ เหมืองอย่างเมืองระนอง
                   พ.ศ.๒๔๓๙ เมืองหลังสวน เป็นจังหวัดหนึ่งของมณฑลชุมพร
                   พ.ศ.๒๔๖๐ เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอขันเงิน และเปลี่ยนกลับเป็นอำเภอหลังสวย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑
                   คำว่าหลังสวน สันนิษฐานว่า เป็นเมืองที่มีผลไม้มาก
               - อำเภอละแม  เดิมเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอขันเงิน เป็นชุมชนขนาดเล็ก ด้านริมทะเล คำว่า ละแม สันนิษฐานว่า เกิดจากสภาพภูมิศาสตร์ ท้องถิ่นริมอ่าวไทย ตั้งแต่จังหวัดตราด ถึงปักษ์ใต้ตอนล่าง มีคำเขมรโบราณตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก มีภูเขาลูกหนึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของสถานีรถไฟละแม มีรูปร่างเหมือนหนูหมอบอยู่ ภาษาเขมรมีคำว่า แลมห์ แปลว่า หนูผี เป็นคำเขมรโบราณ และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน จึงเป็นไปได้ว่าก่อนคนไทยจะเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ ที่นี้ คนท้องถิ่นบริเวณนี้เป็นขอม พูดภาษาขอมหรือเขมร เรียกชื่อบ้านตามรูปเขาที่เห็นว่า แลมห์ ต่อมาเพี้ยนเป็นละแม

               - อำเภอพะโต๊ะ  เป็นชุมชนขนาดเล็ก ผู้คนตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่บนฝั่งต้นแม่น้ำหลังสวน เดิมเป็นที่กันดารแวดล้อมด้วยป่าใหญ่ ตามประวัติกล่าวว่า ชนชาวอิสลามเป็นผู้มาตั้งรกรากอยู่ก่อน เพราะมีคำเรียกชื่อบางคำมีสำเนียง และเรียกเป็นภาษาอิสลาม แต่ต่อมาได้เพี้ยนเป็นคำไทย เช่นคำว่า พะโต๊ะ สันนิษฐานว่า มาจากคำว่า ดะโต๊ะ แปลว่า ผู้รู้ศาสนาอิสลาม
           เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๕ ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับอำเภอขึ้นกับจังหวัดหลังสวนเป็นอำเภอ จึงได้โอนไปขึ้นกับจังหวัดหลังสวน ต่อมาเมื่อยุบจังหวัดหลังสวน เป็นอำเภอจึงได้โอนไปขึ้นอยู่กับจังหวัดชุมพร เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๕
เหตุการณ์สำคัญของท้องถิ่น

           เมืองชุมพรหลังการสร้างทางรถไฟสายใต้  เมืองปะทิวเดิมตั้งอยู่บ้านนาโหนด ริมคลองปะทิว ที่เรียกว่า ท่าเสม็ด
           การย้ายถิ่นของประชากรจากภาคกลาง และจังหวัดเพชรบุรี (ส่วนใหญ่เป็น ลาวโซ่ง) มาอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดชุมพร ปัจจุบันอาศัยเป็นกลุ่มเรียกว่า ไทยทรงดำ
           การย้ายถิ่นฐานของชาวไทยอิสลามในภาคใต้มาอยู่ที่จังหวัดชุมพรมีกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะอำเภอพะโต๊ะ มีชาวไทยอิสลามอยู่มาก
           การย้ายถิ่นมาประกอบอาชีพทำเหมือง ตำบลนาชา อำเภอหลังสวน มีทั้งชาวไทยพุทธ จีน และไทยอิสลาม
           หลังจากสร้างทางรถไฟสายใต้เสร็จ การเดินทางไปยังเมืองหลวงและหัวเมืองต่าง ๆ ทำได้สะดวกขึ้นทำให้เมืองชุมพรมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ เช่นเดียวกับหัวเมืองอื่น ๆ
           การตั้งถิ่นฐานของชุมชนสมัยโบราณ จะตั้งอยู่ริมแม่น้ำ มีที่ราบเพียงพอแก่การทำนาเลี้ยงประชาชนในชุมชน และสามารถติดต่อค้าขายกับเมืองต่าง ๆ ได้สะดวก ชุมชนเมืองชุมพรสมัยกอ่นจึงตั้งอยู่ตามที่ราบริมแม่น้ำ ลำคลอง เช่น แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำชุมพร แม่น้ำหลังสวน คลองสวี เป็นต้น
           เมื่อทางรถไฟสายใต้เสร็จแล้ว ย่านชุมชนได้เคลื่อนย้ายมาอยู่ใกล้สถานีรถไฟ เช่นชุมชนมาบอำมฤต ในตำบลดอนยาว อำเภอปะทิว ตัวเมืองปะทิว ดั้งเดิมตั้งอยู่ที่บ้านท่ากรวด ริมคลองบางสน ภายหลังได้ย้ายมาตั้ง ณ ที่อยู่ปัจจุบันใกล้กับสถานีรถไฟย่านธุรกิจของเมืองชุมพรเดิมอยู่ที่บ้านท่ายาง ริมแม่น้ำท่าตะเภา ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ในที่ปัจจุบันใกล้กับสถานีรถไฟชุมพร ตัวเมืองสวี และหลังสวนก็เช่นเดียวกัน
           วิถีชีวิตของชาวชุมพรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การค้าขายขยายตัว เกิดย่านธุรกิจบริเวณพื้นที่ใกล้สถานีรถไฟ การทำมาหากินของประชาชนเปลี่ยนไป จากเดิมทำการเกษตรเพื่อยังชีพเปลี่ยนไปทำเกษตรเพื่อค้าขายมากขึ้น

           สงครามในประเทศไทย  ในสงครามมหาเอเซียบูรพา กองทัพญี่ปุ่นได้ส่งกำลังเข้าจู่โจมประเทศไทย เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ได้ใช้กำลังทางเรือ ยกพลขึ้นบกพร้อมกัน เจ็ดจุดคือ จังหวัดประจวบ ฯ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดสมุทรปราการ (บางปู) ส่วนทางบกได้รุกเข้ามาทางเมืองพระตะบอง และพิบูลสงคราม รัฐบาลได้ออกประกาศ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ยอมรับเงื่อนไขของประเทศญี่ปุ่น และได้ทำสมุดปกเขียวให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทย ฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ประเทศอังกฤษได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด มาโจมตีจุดยุทธศาสตร์หลายแห่งในทุกภาคของประเทศไทย ในวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ จังหวัดภาคใต้ถูกทิ้งระเบิดเกือบทุกจังหวัด รวมทั้งจังหวัดชุมพร
               - การรบที่ท่านางสังข์  การยกพลขึ้นบกในภาคใต้ของกองทัพที่ ๑๕ ของญี่ปุ่น โดยได้ออกจากแหล่งรวมพลในอ่าวไทยด้วยเรือลำเลียง ๘ ลำ ยกพลขึ้นบกที่จังหวัดประจวบ ฯ ชุมพร สุราษฎร์ ฯ และนครศรีธรรมราช กองทัพที่ ๒๕ มีเรือลำเลียงพล ๑๗ ลำ ยกพลขึ้นบกที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี และโกตาบารูในมลายู
           ที่จังหวัดชุมพรกองกำลังญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกช้ากว่ากำหนด ทำให้ฝ่ายไทยมีเวลาเข้าสกัดกั้นข้าศึกได้ทันท่วงทีที่นอกตัวเมือง เวลา ๐๒.๐๐ น. เรือลำเลียงพลขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นเข้าจอดที่แนวเกาะเสม็ดในอ่าวปากน้ำ เรือระบายพลไม่ได้แล่นเข้าทางปากน้ำ แต่แล่นตรงเข้าท้องอ่าวที่บ้านคอสน และบ้านแหลมดิน บริเวณดังกล่าวนี้อ่าวมีเลนลึก ออกนอกฝั่งไปไกลมาก ประกับช่วงเวลานั้นน้ำทะเลลงต่ำสุด ทหารญี่ปุ่นลงจากเรือระบายพลก็จมเลนเกือบถึงเอวเคลื่อนที่ไม่ได้ ต้องให้ทหารจำนวนหนึ่งปลดสัมภาระประจำกายออก แล้วลากเชือกลุยเลนขึ้นมาผูกเชือกไว้กับต้นไม้ริมหาด แล้วจึงให้ทหารทยอยกันสาวเชือกนำตัวขึ้นฝั่ง กว่าจะรวมพลบนฝั่งได้ก็รุ่งสว่าง กำลังทหารญี่ปุ่นเคลื่อนเข้ายึดทางวัดท่ายางใต้สายหนึ่ง อีกสายหนึ่งพุ่งตรงเข้ามาที่สะพานท่านางสังข์
           กำลังของทางชุมพรคือ ร.พัน ๓๘ กำลังฝึกภาคอยู่ที่สนามบินทับไก่ ตำรวจภูธรกำลังฝึกตำรวจใหม่อยู่ที่กองกำกับการในตัวเมืองชุมพร ยุวชนทหาร ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนศรียาภัย ยังกระจายกันอยู่ตามบ้าน ดังนั้นกำลังตำรวจจึงพร้อมรบกว่าหน่วยอื่น ทางจังหวัดได้สั่งให้เคลื่อนกำลังออกไปยึดคลองท่านางสังข์ ด้านตะวันตกไว้ คือ ฝั่งที่อยู่ตรงหน้าอนุสาวรีย์ ครั้งนั้นสะพานข้ามคลองท่านางสังข์เป็นสะพานเหล็ก อยู่ทางด้านทิศเหนือของสะพานปัจจุบัน
           ยุวชนทหารหน่วยที่ ๕๒ โรงเรียนศรียาภัย มีกำลังพลร้อยคนเศษแต่มีอาวุธปืนเล็กยาวอยู่เพียง ๓๐ กระบอก และปืนกลเบาอีก ๑ กระบอก เมื่อรวมกำลังกันที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง ฯ ได้แล้ว ร้อยเอกถวิล นิยมเสน ผู้บังคับหน่วยได้แบ่งหมู่ปืนกลเบาไปสกัดข้าศึกทางทิศเหนือด้านสถานีนาชะอำ แล้วนำหมู่ปืนเล็กมายึดริมถนนข้างอนุสาวรีย์
           ร.พัน๓๘ ได้ส่งหมู่ปืนกลเบา ๓ หมู่ มาถึงสะพานเมื่อเวลาหกนาฬิกาเศษ ได้จัดกำลังเป็นพิเศษให้แต่ละหมู่ปืนกลเบามี ปืนกลเบา ๓ กระบอก รถยนต์สงครามพาทหาร ๓ หมู่ แล่นฝ่าทหารญี่ปุ่นที่เชิงสะพานไปจนถึงวัดท่ายางใต้
           ทางด้านสะพานท่านางสังข์เริ่มยิงกันแล้วประปราย ร้อยเอกถวิล นิยมเสน พายุวชนทหารวิ่งข้ามสะพานไปยึดเชิงสะพานด้านทิศตะวันออก ปรับแนวประจัญหน้ากับทหารญี่ปุ่น ที่ซ่อนตัวอยู่ในป่าปรง จากนั้นได้มีการยิงต่อสู้กันอย่างหนัก
           ตำรวจสมทบยุวชนทหารไปจากฝั่งทิศตะวันตก ตำรวจบางหมู่ข้ามไปเสริมแนวยุวชนทหารทางด้านวัดท่ายางใต้

           กำลังทหารทั้งสามหมู่เข้าโจมตีกองทหารญี่ปุ่นเป็นสามารถ การรบเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณหกนาฬิกาเศษ ร้อยเอกถวิล ถูกยิงเสียชีวิตในสนามรบ เหลือแต่สิบเอก สำราญ ควรพันธุ์ เป็นผู้อำนวยการรบต่อไปจนถูกยิงกระดูกแขนขวาแตก
           การรบในตรั้งนั้น ฝ่ายไทยสามารถยันข้าศึกให้หยุดอยู่กับที่จนถึงเวลาใกล้เที่ยง จึงมีคำสั่งให้หยุดรบจากกรุงเทพ ฯ ปล่อยให้กำลังทหารญี่ปุ่นผ่านไปพม่า

           ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๖ ร้อยโทสำราญ ควรพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้บังคับหน่วยยุวชนทหารในการรบ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔ ได้ชักชวนยุวชนทารโรงเรียนศรียาภัย ให้สร้างอนุสาวรีย์ขึ้น เป็นรูปยุวชนทหารยืนบนแท่นในท่าถือปืนเฉียงอาวุธ ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๒๗ ทางจังหวัดชุมพรเห็นว่า รูปอนุสาวรีย์เดิมมีขนาดเล็กไม่สง่างาม จึงขอให้ศิษย์เก่าโรงเรียนศรียาภัย ปรับปรุงรูปปั้นและแท่นฐาน ให้หล่อรูปปั้นใหญ่ขนาดเท่าคนจริง เป็นยุวชนทหารในท่าแทงปืน พลโท ทวีวิทย์ นิยมเสน บุตรชายร้อยเอก ถวิล นิยมเสน ได้บริจาคเงินสร้างแท่นยืน และขยายฐานใหม่ดังที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
           อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงวีรชนผู้กล้าหาญ ทั้งทหาร ตำรวจ และยุวชนทหาร ผู้เข้ารบเพื่อปกป้องบ้านเมือง และผืนแผ่นดินไทยไว้ให้ลูกหลาน
               - ผลกระทบจากสงครามมหาเอเชียบูรพา  เมื่อยุติการรบแล้ว กองทหารญี่ปุ่นได้เคลื่อนที่เป็นขบวนยาวเหยียดเข้าตัวเมืองชุมพร เข้าพักที่โรงเรียนสตรีสอาดเผดิมวิทยา (ปัจจุบันคือโรงเรียนอนุบาลชุมพร)  ที่โรงเรียนช่างไม้ (ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยเทคนิค) และโรงเรียนชุมพรศรียาภัย (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนศรียาภัย)  ที่โรงเรียนศรียาภัย ญี่ปุ่นนำศพทหารของตนฝังไว้ ๑๑ ศพ ต่อมาอีกสองสามวันได้นำมาเผาทั้งหมด
             กองกำลังที่ขึ้นมาในวันแรกได้ให้ทหารไทย ร.พัน.๓๘ จำนวนหนึ่ง เดินนำไปตามถนนจนถึงท่าเรือ อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง แล้วลงเรือข้ามไปยึดเกาะสอง เพื่อเดินทัพไปตีกำลังทหารอังกฤษในพม่าต่อไป
           กองกำลังญี่ปุ่นในวันต่อ ๆ มามีรถยนต์และอาวุธหนักเป็นจำนวนมาก พักกำลังพลอยู่ที่ชุมพร เพียง ๑ วัน แล้วเคลื่อนกำลังไปพม่า
           ในระยะแรก กองทหารญี่ปุ่นได้สร้างค่ายพักขึ้นในตัวเมืองชุมพรสองค่าย ค่ายหนึ่งอยู่ในบริเวณวิทยาลัยเทคนิคปัจจุบัน อีกค่ายหนึ่งตั้งอยู่ริมหนองม่วงค้อน ใกล้สถานีรถไฟชุมพร
           ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๖  ญี่ปุ่นได้เริ่มสร้างทางรถไฟสายชุมพร - เขาฝาชี ในจังหวัดระนอง โดยแยกจากทางรถไฟสายใต้ ห่างจากตัวสถานีชุมพรไปทางด้านทิศใต้ ประมาณ ๑ กิโลเมตร จึงเกิดมีกองทหารรถไฟญี่ปุ่นมาตั้งค่ายใหญ่ที่เนินเขาสามแก้วอีกค่ายหนึ่ง  การสร้างทางรถไฟสายข้ามคอคอดกระนี้ ญี่ปุ่นใช้กรรมกรจีน แขกกลิงค์ ที่เกณฑ์จ้างมาจากมลายู และสิงคโปร์ เมืองชุมพรในห้วงเวลาดังกล่าวจึงมีผู้คนมากมาย ค่าครองชีพสูง เครื่องอุปโภคบริโภคขาดแคลนมาก รวมทั้งยารักษาโรคด้วย  ผู้เจ็บป่วยต้องใช้ยาสมุนไพร เสื้อผ้าไม่มีจำหน่าย คนที่ยากจนต้องใช้กระสอบป่านมาทำเครื่องนุ่งห่ม  น้ำมันเชื้อเพลิงไม่มี ต้องใช้น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันยาง ผู้ที่รับเหมาส่งไม้ ไม้หมอนรถไฟหิน และอาหารให้ญี่ปุ่น ร่ำรวยมีเงินใช้ฟุ่มเฟือย เรียกกันว่า เศรษฐีสงคราม แต่เกิดสภาพเงินเฟ้อ สินค้าราคาแพงและหายาก
           ในปลายปี พ.ศ.๒๔๘๖  ญี่ปุ่นเริ่มเพลี่ยงพล้ำในการทำสงคราม เกิดมีขบวนการเสรีไทยขึ้นทั้งใน และนอกประเทศไทย ได้ส่งคนและอาวุธเข้ามาฝึก และตั้งหน่วยรบเตรียมเข้าขับไล่ทหารญี่ปุ่น หน่วยเสรีไทยชุมพรมีที่ทำการลับ ๆ อยู่ที่ห้องแถวริมแม่น้ำใกล้เชิงสะพานวัดสุบรรณนิมิต ป้อมบินของฝ่ายสัมพันธมิตรคือ เครื่องบินปี ๒๔ และปี ๒๙ เริ่มเข้ามาทิ้งระเบิดทางรถไฟเพื่อขัดขวางการส่งยุทธสัมภาระเข้าไปพม่า ญี่ปุ่นส่งเชลยศึกที่เป็นทหารฝรั่งเศส มาอยู่ที่ค่ายญี่ปุ่นประมาณ ๑ กองร้อย แล้วให้เชลยศึกเหล่านี้ซ่อมทางรถไฟ และสะพานรถไฟที่เสียหายทั้งวัน เสรีไทยในชุมพรส่งข่าวให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทราบว่าเชลยศึกเลิกงานกลับเข้าค่ายเวลา ๑๗ นาฬิกาของทุกวัน ป้อมบินจึงเข้ามาทิ้งระเบิดหลังเวลานั้นทุกวัน เพราะญี่ปุ่นไม่มีเครื่องบิน หรือปืนต่อสู้อากาศยาน เข้าต่อสู้ขัดขวางลูกระเบิด จากป้อมบินพลาดเป้าไปตกบริเวณ ที่ปัจจุบันเป็นโรงแรมภราดรอิน ริมถนนศาลาแดง ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปประมาณ ๑๐ คน
           เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพายุติลง ได้มีกองทหารอังกฤษเข้ามายึดครองชุมพร เข้าควบคุมและปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น ส่งยารักษาโรค และเสื้อผ้ามาช่วยเหลือชาวบ้าน ผลของสงคราม เมืองชุมพรเสียหายเฉพาะที่ที่เป็นจุดยุทธศาสตร์  การรถไฟต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะซ่อมแซมให้กลับสู่สภาพปกติ
           การเกิดพายุใต้ฝุ่นเกย์  นับเป็นเหตุการณ์ร้ายแรงอันเกิดจากภัยธรรมชาติ ที่ทำความเสียหายต่อจังหวัดชุมพร และจังหวัดใกล้เคียงอย่างมาก อำเภอในจังหวัดชุมพร ที่ประสบภัยนี้ได้แก่ อำเภอปะทิว ท่าแซว และอำเภอเมือง ฯ ลำดับเหตุการณ์โดยสังเขปได้ดังนี้

           พายุใต้ฝุ่นเกย์ (GAY) ได้เริ่มก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ กำลังแรงที่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างตั้งแต่ ๑ ต.ค.๓๒ แล้วทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่น (ความเร็วสูงสุดใกล้ศูนย์กลางต่ำกว่า ๖๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
               ๑ พ.ย.๓๒  พายุได้เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนืออย่างช้า ๆ
               ๒ พ.ย.๓๒  พายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนเกย์ (ความเร็วสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง ๖๑ - ๑๑๗ กิโลเมตรต่อชั่วโมง) รวมกับกระแส ลมฝ่ายตะวันตกพาดผ่านด้านตะวันตก และภาคเหนือ กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก ส่งผลให้พายุโซนร้อนเกย์มีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุใต้ฝุ่น (ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ ๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
               ๓ พ.ย.๓๒  พายุเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ ๙ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทางกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ระหว่าง จงหวัดประจวบ ฯ และจังหวัดชุมพร และได้ออกคำสั่งเตือนเป็นระยะ
               ๔ พ.ย.๓๒  พายุใต้ฝุ่นเกย์ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ฝั่งบริเวณอำเภอเมือง ฯ  อำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว ทำให้มีพายุลมแรง และฝนตกหนัก ในรัศมี ๕๐ กิโลเมตร จากศูนย์กลาง ตอนเช้าวันนี้มีฝนตกหนักและเริ่มหนักมากขึ้น เวลาประมาณ ๐๘.๓๐ น. ฝนและลมแรงขึ้นตามลำดับ ต้นไม้หักโค่น บ้านเรือนเริ่มพังทลาย ประชาชนหนีเอาชีวิตรอด ได้รับบาดเจ็บและถึงตาย  เรือประมงนับร้อยลำอับปาง ลูกเรือเสียชีวิต ความเสียหายเกิดขึ้นมหาศาล โดยเฉพาะในเขตอำเภอปะทิว และอำเภอท่าแซะ ซึ่งเป็นศูนย์กลางพายุใต้ฝุ่นเกย์
               ๕ พ.ย.๓๒ เนื่องจากมีฝนตกหนักตลอดทั้งวัน ทำให้น้ำป่าไหลหลากเกิดอุทกภัยขึ้นหลายตำบล ของอำเภอเมือง ฯ และอำเภอท่าแซะ โดยเฉพาะเขตเทศบาลเมือง ฯ มีน้ำท่วมสูงประมาณ ๑ เมตร เป็นเวลาประมาณ ๑ สัปดาห์

           มีผู้เสียชีวิตประมาณ ๘๐๐ คน เรือประมงอับปาง ๕๒๐ ลำ ประชาชนเดือดร้อนนับแสนคน การคมนาคมสื่อสารถูกตัดขาด ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัย อดอยาก ขาดแคลนอาหาร และสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
           ภาครัฐและเอกชนเข้าช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ทั้งด้านอาหารการกิน การรักษาพยาบาล ที่อยู่อาศัยโดยภาครัฐได้ช่วยเหลือผู้ที่บ้านพังทั้งหลังเป็นเงินหลังละ ๒,๕๐๐๐ บาท

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์