ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

โบราณวัตถุ

           โบราณวัตถุเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถาน ซากมนุษย์หรือซากสัตว์ ซึ่งโดยอายุหรือลักษณะแห่งการประดิษฐ์ หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี
           โบราณวัตถุที่พบในเขตจังหวัดชุมพร แยกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้
           กลุ่มอาวุธ  เช่น หอก ดาบ ของอดีตเจ้าเมืองชุมพร

           กลุ่มเครื่องมือเครื่องใช้  มีทั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์  สมัยต้นประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์
               - สมัยก่อนประวัติศาสตร์  เช่น ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด ภาชนะดินเผา ซึ่งพบตามถ้ำต่าง ๆ ในเขตจังหวัดชุมพร
               - สมัยต้นประวัติศาสตร์  เช่น กลองมโหระทึก พบที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว อำเภอเมือง ฯ
               - สมัยประวัติศาสคร์  เช่น เครื่องถ้วยสมัยสุโขทัย เครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยเวียดนาม ภาชนะใส่อาหาร จากยุโรป เรือโบราณ เป็นต้น

           กลุ่มพระพุทธรูปและศาสนวัตถุ  เช่น ใบเสมาหินทราย  เศียรพระพุทธรูปหินทราย และรอยพระพุทธบาทจำลองสมัยอยุธยา
           กลุ่มเครื่องประดับเช่น ลูกปัดหินและแก้ว กำไลแก้ว กำไลสำริด พบที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว อำเภอเมือง ฯ
           กลุ่มเอกสารโบราณ  เช่น สมุดไทย เล่าเรื่องนิทานพื้นบ้าน ตำรายา ตำราการขุดเรือ และตำราโหราศาสตร์ เป็นต้น
ศิลปหัตถกรรมและงานช่างท้องถิ่น
           ประกอบด้วยผลงานด้านประติมากรรม จิตรกรรม สถาปัตยกรรม และงานช่าง
           ประติมากรรม  ได้แก่ งานปั้นและงานแกะสลัก แบ่งตามประเภทและเรียงลำดับตามความเก่าแก่ได้ดังนี้

               - ภาชนะดินเผาประเภทหม้อสามขา  พบในพุทธสถานถ้ำน้ำลอดน้อย ตำบลทุ่งระยะ อำเภอสวี เป็นภาชนะที่มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาตร์ยุคหินใหม่ นิยมใช้เป็นภาชนะหุงต้ม มีอายุอยู่ประมาณ ๒,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปี
           ที่หน้าพระประธานในถ้ำมีการเก็บรวบรวมชิ้นส่วนโบราณวัตถุ ได้แก่ เศษภาชนะดินเผาผิวเรียบและลายเชือกทาบ ภาชนะดินเผา ประเภทหม้อสามขา ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ วัตถุโบราณเหล่านี้เก็บมาจากถ้ำหลายแห่งในหมู่เขาถ้ำลอดนี้

               - ภาชนะดินเผาประเภทหม้อสามขาและขวานหินขัด  พบในถ้ำบริเวณเพิงผา ภูเขาฉานเรน ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก ภูเขาลูกนี้เป็นภูเขาหินปูน ในกลุ่มเทือกเขาอันสลับซับซ้อน ระหว่างเขตอำเภอสวี กับอำเภอทุ่งตะโก จากการสำรวจพบเศษภาชนะกระจายอยู่ในถ้ำและบริเวณเพิงผา เป็นภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ มีเม็ดทรายปนมาก เผาในอุณหภูมิต่ำ ขึ้นรูปด้วยมือ และเครื่องมือหินประเภทขวานหินขัด
           โบราณวัตถุที่พบมีอายุอยู่ประมาณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ ประมาณ ๒,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปี มาแล้ว

               - ภาชนะดินเผา  พบในถ้ำเขาตีนเป็ด  ตำบลเขาไชยราช  อำเภอปะทิว  เป็นโบราณวัตถุจำพวกเศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ ขึ้นรูปด้วยมือ ส่วนปากเนื้อหยาบ ไส้ในดำ มีเม็ดกรวดทรายปน ผิวเรียบ ส่วนลำตัว เนื้อหยาบ ไส้ในดำ มีเม็ดทรายปน เรียบเผาในอุณหภูมิต่ำ ผิวนอกสีน้ำตาลอ่อน ส่วนก้น เนื้อหยาบ ไส้ในดำ มีเม็ดทรายปน เผาในอุณหภูมิต่ำ ผิวสีเทา น้ำตาลอ่อน และสีเหลืองอ่อน
           แหล่งโบราณคดีนี้อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาตีนเป็ด คงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่

               - กลองมโหระทึก  เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ ได้ขุดพบลูกปัดหินบนเขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง ฯ นอกจากนั้นยังขุดได้กลองมโหระทึกสามใบ มีขนาดใหญ่และขนาดเล็กตามลำดับ กลองดังกล่าววางหงายอยู่ บรรจุหินอัญมณีเครื่องประดับประมาณครึ่งใบ ชาวบ้านที่ขุดพบเรียกว่าหม้อ กลองเหล่านี้ทำด้วยสำริด สลักลวดลายบนหน้ากลองและขอบข้างกลองงดงาม
           กลองมโหระทึกใบใหญ่และใบเล็กมีอายุประมาณ ๑,๗๐๐ - ๒,๐๐๐ ปี
               - พระข่อย  อยู่ใกล้เขตวัดประเดิม  เป็นพระพุทธรูปหินทราย ซึ่งฝังอยู่ในดิน เหลือเพียงส่วนพระเศียรที่โผล่พ้นดินขึ้นมา เมื่อนานเข้าถูกลม ฝน กัดเซาะ เกิดการผุกร่อนจนกลายเป็นคล้ายหินทราย  ชาวบ้านเรียกว่า พระข่อย เนื่องจากมีต้นข่อยปกคลุมอยู่

               - รอยพระพุทธบาทหินทราย  ยาวประมาณ ๑ เมตร ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาบริเวณเชิงเขาวัดเทพเจริญ  อำเภอท่าแซะ รอยพระพุทธบาทสลักด้วยลวดลายคล้ายสัญลักษณ์ของราชวงศ์ปทุมวงศ์ ของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช แห่งนครศรีธรรมราช มีรูปแพะ สัญลักษณ์ของเมืองชุมพร ซึ่งตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราช มีเมืองสิบสองนักษัตรเป็นเมืองขึ้น
           สันนิษฐานว่า รอยพระพุทธบาทหินทรายนี้น่าจะสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้นหรือไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ ๑๙

              - เศียรพระพุทธรูปหินทราย  ประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถวัดประเดิม ตำบลตากแดด อำเภอเมือง ฯ เหนือฐานชุกชีที่ประดิษฐานพระพุทธรูป พบส่วนเศียรพระพุทธรูปหินทราย จำนวนเกือบยี่สิบเศียร และส่วนพระหัตถ์พระพุทธรูปสำริด ซึ่งเป็นของพระพุทธรูปที่อยู่ในวัดมาแต่เดิม
           ลักษณะเศียรพระพุทธรูปรับอิทธิพลศิลปะสมัยอยุธยา

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์