ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

           จากการสำรวจทางธรณีวิทยา ที่บริเวณเหมืองถ่านหินลิกไนต์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ฯ ในเขตอำเภอเหนือคลอง  จากการเก็บตัวอย่างฟอสซิลบริเวณแอ่งตะกอนทับถมยุคเทอร์เชียรี่  ที่มีอายุประมาณ ๔๐ - ๓๕ ล้านปีมาแล้วที่หลุมคลองหมาก และหลุมคลองหวายเล็ก  ได้พบหลักฐานชิ่นส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิด  รวมทั้งสัตว์ต้นตระกูลเก่าแก่ที่สุดของฮิปโปโปเตมัสชนิดที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก  และได้พบชิ้นส่วนซากลิงชนิดหนึ่ง  เป็นฟอสซิลชนิดใหม่ของโลก ให้ชื่อว่า สยามโมพิเทคัสอีโอซีนัส  เป็นลิงในสายพันธุ์อันเป็นต้นกำเนิดมนุษย์  ลักษณะคล้ายลิงอัลลูตาในอเมริกาใต้ และคล้ายลิงอุรังอุตัง
            การค้นพบครั้งนี้ทำให้ได้หลักฐานประการหนึ่งว่า  ดินแดนบริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์วานรมาก่อน และการพัฒนาสายพันมนุษย์น่าจะอยู่ในบริเวณนี้ด้วย  จากวิวัฒนาการของมนุษย์วานร ได้พบหลักฐานในชวาเรียกกันว่า มนุษย์ชวา  พบที่จีนเรียกมนุษย์ปักกิ่ง  กลุ่มดังกล่าวได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว  เชื้อสายที่สืบทอดวิวัฒนาการต่อมาคือมนุษย์ปัจจุบัน ซึ่งเริ่มต้น ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ - ๑๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว
            ดินแดนบริเวณจังหวัดกระบี่ได้พบหลักฐาน การเข้าอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  การขุดค้นทางโบราณคดีที่ถ้ำหลังโรงเรียนทับปริกและถ้ำหมอเขียว ได้พบหลักฐานซึ่งมีอายุระหว่าง ๒๗,๐๐๐ - ๓๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว
            นักโบราณคดีมีแนวคิดเรื่องการเคลื่อนย้ายของมนุษย์โบราณในภาคใต้ไว้สองแนวทางด้วยกันคือ
            - การอพยพจากดินแดนตอนเหนือของภาคใต้ลงไปทางมาเลเซียและหมู่เกาะต่าง ๆ
            - การอพยพจากดินแดนที่เป็นหมู่เกาะต่าง ๆ ขึ้นสู่ภาคใต้
ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์

            บริเวณ เวิ้งอ่าวพังงา - กระบี่  เป็นแหล่งที่พบภาพเขียนสีมากที่สุดแห่งหนึ่ง  แหล่งภาพเขียนสีในเขตจังหวัดกระบี่  ที่สำรวจแล้วมีอยู่ที่ถ้ำผีหัวโต  ถ้ำเขาตีบนุ้ย  เพิงผาแหลมยอ  แหลมไฟไหม้  แหลมชาวเล  ถ้ำชาวเล  เขากาโรส  เขาขนาบน้ำ  เขาเขียนในสระ  ถ้ำหน้ามันแดง
            ภาพเขียนในแหล่งถ้ำมีหลายรูปแบบ คือ ภาพคน  สัตว์บก  สัตว์น้ำรูปทรงเรขาคณิตแบบต่าง ๆ เขียนด้วยสีดำ  แดง  น้ำตาล  ทางโบราณคดีได้กำหนดอายุภาพเขียนสีเหล่านี้ไว้ระหว่าง ๓,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว
แหล่งโบราณคดีอื่นๆ
            ในเขตจังหวัดกระบี่ ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นจำนวนมากตามถ้ำเพิงผาในภูเขาหินปูน โบราณวัตถุที่พบเป็นเครื่องมือหิน  เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ  มีทั้งที่อยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และอยู่ในสมัยเริ่มประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ที่สำคัญได้แก่
            ควนลูกปัด  อำเภอคลองท่อม  พบลูกปัดแร่ประกอบหิน แก้วหลอม เศษภาชนะดินเผา  เครื่องมือหิน เครื่องสำริด  เหรียญโลหะต่าง ๆ  แม่พิมพ์  แผ่นจารึก  ตราประทับ ฯลฯ
            ถ้ำโรงเรียนทับปริก  อำเภอเมือง ฯ พบหลุมฝังศพ โครงกระดูก  เศษภาชนะดินเผา  เครื่องมือหิน เครื่องมือจากเขาสัตว์ ฯลฯ
            ถ้ำไสไทย  อำเภอเมือง ฯ พบขวานหิน  พระพิมพ์ดินดิบ  เทวรูปขนาดเล็ก ฯลฯ
            เพิงผาหน้าชิง  อำเภอเมือง ฯ พบชิ้นส่วนหม้อสามขา  ขวานมีดหินขัด  เครื่องมือสะเก็ดหิน ฯลฯ
            ถ้ำเสือ  อำเภอเมือง ฯ พบหลุมศพ เศษภาชนะดินเผา  เครื่องมือหิน เครื่องสะเก็ดหิน เครื่องประดับ ฯลฯ
            ถ้ำหัวกะโหลก  อำเภออ่าวลึก  พบเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ชนิดเนื้อหยาบหนา ฯลฯ
            ถ้ำเสือน้อย  อำเภออ่าวลึก  พบภาชนะดินเผาทรงพาน  แม่พิมพ์หินทราย ฯลฯ
            ถ้ำเสือนอก  อำเภออ่าวลึก  พบเศษเครื่องปั้นดินเผาทั้งผิวเรียบและลายเชือกทาบ เครื่องมือหิน ฯลฯ
            ถ้ำเขาพระ  อำเภออ่าวลึก  พบเศษเครื่องปั้นดินเผา  เครื่องมือหิน พระพุทธรูปในโพรงถ้ำ ฯลฯ
            เพิงผาขนาบน้ำ  อำเภอเมือง ฯ พบเครื่องมือหิน  เศษภาชนะดินเผาผิวเรียบ และลายเชือกทาบ ชิ้นส่วนหม้อสามขา  ใบมีดหินขัด  พระพิมพ์ดินดิบ ฯลฯ
            ถ้ำโต๊ะหลวง  อำเภออ่าวลึก  พบเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ และผิวเรียบ  หม้อสามขา  หม้อทรงพาน  เครื่องมือหิน ฯลฯ
            ถ้ำหมื่นจันทร์  อำเภอเมือง ฯ พบเศษภาชนะดินเผาชนิดต่าง ๆ
            เขาชวาปราบ  อำเภอคลองท่อม  พบเศษเครื่องปั้นดินเผา  แผ่นอิฐ  สมอเรือขนาดใหญ่  ลูกปัดหิน  ก้อนรัตนชาติ ฯลฯ
            ถ้ำเพชร  อำเภออ่าวลึก  พบขวานหินปัด  เศษภาชนะดินเผาชนิดต่าง ๆ
            คลองวัดโพธิ์เลื่อน  อำเภอเขาพนม  พบขวานหินขัด  สะเก็ดหินจำพวกหินกะเทาะ
            ถ้ำเขาพระ  อำเภอเมือง ฯ พบลูกปัดสีต่าง ๆ เศษเครื่องปั้นดินเผา
            ถ้ำแห้งบางเหียน  อำเภอปรายพระยา  พบภาชนะดินเผา  ลูกปัดอำพัน ฯลฯ
            ถ้ำสระ  อำเภอปรายพระยา  พบเครื่องมือหินกะเทาะ  เครื่องมือสะเก็ดหิน  ภาชนะดินเผาประเภทต่างๆ
            ถ้ำน้ำช่ำ  อำเภอปรายพระยา  พบเครื่องปั้นดินเผาลายขูดขีดและลายฉลุ  เครื่องมือหิน
            เขาเขนเขาทอง  อำเภอปรายพระยา  พบภาชนะดินเผาทรงพาน
            เขาลังตัง  อำเภออ่าวลึก  พบภาชนะดินเผาทรงพาน
            คลองปากลาว  อำเภออ่าวลึก  พบขวานหินขัดขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีดแบบพร้า
            ถ้ำต้นเหลียงเขายิงหม  อำเภอปรายพระยา  พบขวานหินขัด  เศษภาชนะดินเผา
            ถ้ำเขานุ้ย  อำเภออ่าวลึก  พบเครื่องมือสะเก็ดหิน  เศษภาชนะดินเผา ฯลฯ
           นอกจากนี้ยังมีแหล่งถ้ำอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก  ที่พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี
เมืองกระบี่สมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช
            เส้นทางข้ามคาบสมุทร  ร่องรอยการเดินทางข้ามแหลมมีมาแต่โบราณ  นักเดินทางที่สำคัญได้แก่ พวกอินเดีย  อาหรับ  อียิปต์  กรีก  และจีน  พบหลักฐานจากเครื่องมือเครื่องใช้และวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดไว้กับชนพื้นเมือง  การที่ชายฝั่งภาคใต้อยู่ช่วงกึ่งกลางของเส้นทางการค้า  ทำให้เกิดชุมชนขึ้นทั้งสองฟากฝั่งทะเล เช่น ตะโกลา  ปะลันดา  ตามพรลิงค์  โกลิ  ลังกาสุกะ เป็นต้น  สำหรับเส้นทางที่ดินแดนเมืองกระบี่ได้แก่
            ปากลาว - อ่าวบ้านดอน  เริ่มจากคลองลาวในเขตอำเภออ่าวลึก  ผ่านเขาต่อในเขตอำเภอปรายพระยา ไปลงคลองชะอุ่มในเขตอำเภอพนม  แล้วไปออกแม่น้ำพุมดวงต่อกับแม่น้ำตาปี  ไปออกอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้มาช้านาน ตอนต้นรัตนโกสินทร์ ยังใช้เส้นทางนี้อยู่
            คลองท่อม - คลองสินปุน - อ่าวบ้านดอน  เริ่มจากปากคลองท่อม  แล้วเดินบกไปลงคลองสินปุนออกแม่น้ำตาปี ไปออกอ่าวบ้านดอน  และสามารถแยกการเดินทางจากบริเวณอำเภอทุ่งใหญ่ ไปเมืองนครศรีธรรมราช
            นอกจากนี้ยังมีเส้นทางย่อยอีกหลายเส้นทาง  เช่น ปากคลองกระบี่ใหญ่  คลองกระบี่น้อย  คลองปกาไส  คลองเพหลา  คลองพน  ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางสายหลักดังกล่าวแล้วได้
            เมืองคลองท่อมโบราณ   เป็นบริเวณที่เรียกว่า ควนลูกปัด  ตั้งอยู่บนเส้นทางข้ามคาบสมุทร  จากคลองท่อมไปอ่าวบ้านดอน  ปัจจุบันเป็นเนินดินอยู่ห่างชายฝั่งทะเลเข้ามาประมาณ ๒๐ กิโลเมตร  คลองแต่เดิมคงลึก  เรือขนาดใหญ่เข้าถึงได้  เพราะได้ขุดพบซากเรือ  ซากเรือหลายลำจมอยู่  โบราณวัตถุที่พบพอประมวลได้ดังนี้
            วัตถุที่ทำด้วยหิน  ได้แก่  เครื่องมือหิน  หินดุ  หินสลัก  แม่พิมพ์  ตราประทับ  ลูกปัดหิน  ก้อนรัตนชาติ
            วัตถุที่ทำด้วยแก้ว  ได้แก่  ลูกปักแก้ว  กำไล  แก้วหล่อ  แหวน  เศษภาชนะ
            วัตถุที่ทำด้วยดินเผา  ได้แก่  ภาชนะดินเผา  ตะคันดินเผา  แวดินเผา  แม่พิมพ์ลายประทับ
            วัตถุที่ทำด้วยสำริด  ได้แก่  แหวน  ต้มหู  เหรียญรูปสัตว์  เหรียญรูปสัญลักษณ์ชิ้นส่วนคันฉ่อง
            วัตถุที่ทำด้วยเงิน  ได้แก่  กำไล  แหวน  ต้มหู  เหรียญรูปสัตว์สัญลักษณ์ต่าง ๆ ก้อนแร่
            วัตถุที่ทำด้วยทอง  ได้แก่  ลูกปัด  ทองคำแท่งหรือแผ่น  แหวนทองคำ
            วัตถุที่ทำด้วยดีบุก  ได้แก่  เหรียญต่าง ๆ
            วัตถุที่ทำด้วยเหล็ก  ได้แก่พวกเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับ
            นอกจากนี้ยังมีเศษไม้จากซากเรือที่จมอยู่  ไม่มีร่องรอยการตั้งเมืองที่มีคูน้ำคันดินที่ชัดเจน  จึงลงความเห็นว่าคลองท่อมโบราณน่าจะเป็นสถานีการค้าที่เปิดไปสู่ฝั่งทะเลตะวันออกที่อ่าวบ้านดอน  จากโบราณวัตถุที่พบมีตะดินเผาโรมัน  เงินเหรียญโรมัน  เศษเครื่องถ้วยชาม  ชิ่นส่วนคันฉ่องของจีน  ลูกปัดสุริยเทพศิลปะอียิปต์ หรือโรมัน  ตราประทับเป็นภาษาสันสกฤต  แผ่นหินสลักภาษาทมิฬ ฯลฯ
            เมืองบันทายสมอ  มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้วางตำแหน่งเมืองบันทายสมอ  ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตร หรือเมืองขึ้นของนครศรีธรรมราชว่าอยู่ที่บริเวณเมืองกระบี่  เมืองนี้ใช้ตราลิงเป็นสัญลักษณ์  อย่างไรก็ตามข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่ได้ข้อยุติที่ชัดเจนนัก
เมืองกระบี่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

            เจ้าพระยานครศรีธรรมราชให้พระปลัดเมืองมาตั้งเพนียดจับช้างที่บ้านปกาไส  ต่อมามีผู้คนมากขึ้นก็ยกฐานะเป็นแขวงเมือง  แล้วได้รวบรวมแขวงเมืองต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงยกฐานะขึ้นเป็นเมืองกระบี่  แต่เนื่องจากไม่มีรายละเอียดว่าเป็นปลัดท่านใด  จึงไม่สามารถกำหนดระยะเวลาลงไปได้  อย่างไรก็ตามก็มีการสันนิษฐานว่า การตั้งเพนียดจับช้างที่ปกาไสนั้นน่าจะเกิดปลายสมัยเจ้าพระยานคร (พัด) ซึ่งปกครองเมืองนคร ฯ อยู่ ๒๗ ปี ถึง พ.ศ.๒๓๕๔
            แขวงปกาไสที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลองปกาไสนั้น เมื่อมีผู้คนมากขึ้น  สภาพภูมิประเทศไม่เหมาะสมที่จะขยายเมืองต่อไป  จึงได้ย้ายที่ทำการไปตั้งที่บริเวณบ้านหินขวาง  ปากคลองกระบี่ใหญ่  ชาวบ้านเรียกที่แห่งใหม่นี้ว่า  ค่ายหินขวาง  ต่อมาเมื่อมีผู้คนมากขึ้นทางการจึงให้รวมแขวงต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงคือ แขวงปากลาวแขวงคลองพน และแขวงปกาไสขึ้นเป็นเมือง เรียกว่าเมืองกระบี่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๕ โดยมีหลวงเทพเสนาเป็นเจ้าเมืองคนแรก  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ จึงย้ายที่ทำการไปตั้งที่ตำบลปากน้ำ

            เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าgเจ้าอยู่หัว สมัยที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  ได้เสด็จประพาสเมืองกระบี่ สมัยพระแก้วโกรพ (หมี ณ ถลาง) เป็นเจ้าเมือง ดังความปรากฏในจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๓๕๒) พระองค์เสด็จโดยเรือถลาง ผ่านภูเก็ต พังงา มาถึงปากน้ำกระบี่  ทางเมืองกระบี่ได้จัดขบวนเรือยาวเรือพายเป็นขบวนต้อนรับเรือเข้าจอดท่าสะพานเจ้าฟ้าพระองค์ได้เสด็จทอด
พระเนตรสถานที่ราชการ  ทอดพระเนตรถ้ำหนองกก  ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่าถ้ำเสด็จ  ทอดพระเนตรการชนควาย มวยมลายู หนังตะลุง มโนราห์ และมะยง (มะโย่ง)  วันรุ่งขึ้นเรือออกจากเมืองกระบี่ผ่านเกาะลันตา แหลมกรวด  ทอดพระเนตรการงมหอยนางรม  วันต่อมาเสด็จเกาะลันตา

            ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา  มีกองทหารญี่ปุ่นเข้ามาตั้งอยู่ในเมืองกระบี่ ๒ แห่งคือที่บริเวณบ้านทุ่งแดง และบริเวณบ้านคลองหิน  ใช้อาคารโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูลเป็นที่ตั้งกองบัญชาการ  หน่วยต่อต้านญี่ปุ่นในจังหวัดกระบี่ได้ประสานงานกับเสรีไทย  ผลักดันให้ญี่ปุ่นถอนทหารออกไป  เรือกลไฟชื่อถ่องโห  ซึ่งเดิมเป็นเรือสินค้าวิ่งขนส่งสินค้าระหว่าง ภูเก็ต - กระบี่ - ตรัง - ปีนัง ทหารญี่ปุ่นยึดเอาไปใช้ขนส่งทหารและสัมภาระ  ได้ถูกตอร์ปิโดจากเรือดำน้ำฝ่ายสัมพันธมิตรยิงจมที่บริเวณเกาะหัวขวานบริเวณทะเลกระบี่  ซากเรือยังจมอยู่ใต้น้ำมาจนถึงทุกวันนี้  ในช่วงเวลาสงครามและหลังสงครามชาวกระบี่ขัดสนแร้นแค้นมากกว่าเมืองอื่น ๆ ถึงสองเท่าเพราะกระบี่ในสมัยนั้นมีความทุรกันดารเป็นปกติอยู่แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการคมนาคมทางบก
ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ  คงมีแต่เฉพาะทางเรือที่ติดต่อกับจังหวัด ภูเก็ต พังงา ระนอง ย่างกุ้ง ปีนัง สิงคโปร์

            กระบี่เป็นเมืองช้างมาแต่โบราณ  การตั้งเมืองขึ้นก็เนื่องมาจากการตั้งพะเนียดจับช้างของปลัดเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗  ชาวบ้านได้คล้องช้างที่บ้านป่าหนองเตา ตำบลลำทับ ปัจจุบันคือบ้านป่างาม ตำบลดินอุดม คล้องช้างได้ ๖ เชือก  มีช้างเผือกรวมอยู่ด้วย ๑ เชือก เป็นเพศผู้ อายุประมาณ ๔ ปี  ให้ชื่อว่าพลายแก้ว  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ทางจังหวัดได้แจ้งไปทางองค์การสวนสัตว์ขอน้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้รับการสมโภชน์ขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้นามว่า พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ฯ เป็นช้างเผือกโท

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |บน |

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์