ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางธรรมชาติ

            กระบี่มีมรดกทางธรรมชาติที่เป็นป่าสงวน  อุทยาน  วนอุทยาน  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เกาะแก่งในทะเลเป็นจำนวนมากรวมทั้งสุสานหอย ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ติดอันดับโลก
            ป่าสงวนแห่งชาติมีอยู่ ๔๕ ป่า มีพื้นที่ประมาณ ๑,๔๗๖,๐๐๐ ไร่  เป็นพื้นที่ป่าบกประมาณ ๒๑๑,๐๐๐ ไร่  และเป็นพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ ๑๗๗,๐๐๐ ไร่  พื้นที่ป่ามีอยู่ประมาณร้อยละ ๕๔ ของพื้นที่จังหวัด  สภาพป่าบกโดยทั่วไปเป็นป่าดงดิบชื้นส่วนใหญ่อยู่ตามภูเขา
อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา

            มีพื้นที่ประมาณ ๓๑,๐๐๐ ไร่  ครอบคลุมพื้นที่อำเภออ่าวลึก  อำเภอเมือง ฯ และอำเภอเขาพนม มีเทือกเขาสลับซับซ้อน  ยอดเขาที่สำคัญที่สุดของจังหวัดกระบี่คือยอดเขาพนมเบญจา สูงประมาณ ๑,๔๐๐ เมตร เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร น้ำตก เป็นจำนวนมาก เช่น คลองกระบี่ใหญ่  คลองกระบี่น้อย  คลองโตรม  คลองอีปัน  คลองปกาไส  น้ำตกที่สำคัญคือน้ำตกห้วยโต้  น้ำตกห้วยสะเด  น้ำตกคลองแห้ง  น้ำตกต้นหาร  เขาพนมเบญจา เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า เขานม  เพราะยอดสันเขามองดูคล้ายผู้หญิงนอนหลับอยู่ชั่วกาลนาน  ต่อมาทางการให้ชื่อว่าเขาพนมเบญจา  ซึ่งอาจหมายถึงการรวมยอดเขาใหญ่ๆ ห้ายอดเข้าด้วยกัน  บ้างก็ว่าตั้งขึ้นตามตำนานเรื่องนางเบญจา ซึ่งเป็นตำนานพื้นบ้าน  นอกจากนี้ชาวบ้านยังเชื่อว่าบนยอดเขาเป็นที่สิงสถิตของพญายอดน้ำ และเจ้าแม่เขาพนม ซึ่งเป็นที่นับถือของผู้คนในท้องถิ่น
            อุทยานแห่งชาตินี้ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔
อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา - หมู่เกาะพีพี

            ประกอบด้วยพื้นที่ชายฝั่งบริเวณเขาอ่าวชะเมา  และป่าหมู่เกาะปอดะ  เกาะหินแดงและหมู่เกาะพีพีมีพื้นที่ประมาณ ๓๙๐ ตารางกิโลเมตร (๒๔๔,๐๐๐ ไร่) เป็นพื้นน้ำประมาณ ๒๐๔,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลหนองทะเล ตำบลอ่าวนาง และตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง ฯ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖
            บริเวณชายทะเลประกอบด้วยภูเขาหินปูนสูงชัน  โดยเฉพาะเขานางนาคที่สูงประมาณ ๕๐๐ เมตร  สภาพชายหาดมีหลายลักษณะคือมีหาดทราย หาดดินเลน และหาดหิน  ได้แก่หาดทับแขก  หาดคลองแห้ง  หาดนพรัตน์ธารา  หาดอ่าวนาง  หาดไผ่ปล้อง  และหาดถ้ำพระนาง เป็นต้น
            บริเวณป่าชายเลนเขาหางนาคมีลำคลองเขากลม เป็นคลองน้ำจืดเพราะได้รับน้ำจืดจากหนองทะเล ซึ่งเป็นบึงขนาดใหญ่  คลองห้วยสะบ้าเป็นคลองน้ำกร่อยขนาดใหญ่

           เกาะพีพี  ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินและหน้าผาสูงชัน  หาดทรายที่สำคัญได้แก่หาดชาวเล หาดโละบาเถา หาดต้นไทร หาดโละกาลัม และหาดโละลานา  หมู่เกาะพีพีประกอบด้วยเกาะที่อยู่ใกล้เคียงเช่น เกาะพีพีดอน เกาะพีพีเล (ไวกิ้ง) เกาะบิดะนอก เกาะบิดะใน เกาะยุง เกาะไผ่ มีเวิ้งอ่าวที่สำคัญได้แก่ อ่าวลาน้า อ่าวนุ้ย อ่าวปิเละ อ่าวโละดาลัม อ่าวหยงกาเซ็ม อ่าวต้นไทร อ่าวโละกาบา อ่าวรันตี อ่าวโละซามะ และอ่าวมาหยา เป็นต้น  ที่เกาะพีพีเลมีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นภาพเรือสมัยต่าง ๆ ที่นักเดินทางได้มาเขียนเอาไว้  คำว่าพีพีตามตำนานอ่าวนางกล่าวว่า เป็นชื่อเกาะซึ่งเป็นที่สิงสถิตของเทพยดาผู้เป็นพี่ของพระนางจึงเรียกว่า เกาะพี่ หรือพี่พี่  เพราะเป็นเกาะที่ใหญ่กว่าเกาะอื่น ที่มาของชื่อเกาะพีพีอีกประการหนึ่งคือพีพีเป็นชื่อต้นไม้ทะเลชนิดหนึ่ง คือต้นตะบูนขาวซึ่งชาวเลเรียกว่าพีพี เดิมมีต้นไม้ชนิดนี้อยู่มาก  ชาวเลเรียกเกาะนี้ว่า ปูเลาปิอาปี

      สุสานหอยเจ็ดสิบห้าล้านปี  ซากหินปูนที่ประกอบด้วยซากหอยที่ตายทับถมกันมานับล้านปี มองดูคล้ายแผ่นซีเมนต์ขนาดใหญ่จมอยู่ในทะเล และมีบางส่วนโผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมา  ซากหอยดังกล่าวมีจำนวนมากแผ่เป็นความยาวถึงประมาณ ๒๐๐ เมตร กว้างประมาณ ๕๐ เมตร  ส่วนใหญ่เป็นซากหอยขมต้วป้อมยาวประมาณ ๒ เซ็นติเมตร  มีบางชนิดคล้ายหอยเจดีย์ ยาวประมาณ ๓ เซ็นติเมตร  ซากหอยเหล่านี้ทับถมกันโดยมีน้ำประสานธาตุปูนเป็นตัวจับให้แน่นเป็นหินแข็ง  หนาประมาณ ๔๐ เซ็นติเมตร  ชั้นถัดลงไปเป็นถ่านลิกไนต์หนาประมาณ ๑๐ เซ็นติเมตร  ใต้ชั้นถ่านลิกไนต์ลงไปเป็นชั้นหินดาน  จากลักษณะดังกล่าว สามารถคำนวนได้ว่าซากหอยแห่งนี้มีอายุประมาณ ๗๕ ล้านปีมาแล้ว  ในห้วงระยะเวลาดังกล่าวบริเวณนี้เคยเป็นหนองน้ำจืดมาก่อน  ซากต้นไม้นานาชนิดได้ทับถมกันอยู่มากมาย  จนกลายเป็นถ่านหินประเภทลิกไนต์  ต่อมาได้มีหอยหลายชนิดเข้ามาอยู่อาศัยในหนองน้ำแห่งนี้เป็นจำนวนมาก  ในระยะต่อมาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา  ทำให้หนองน้ำแห่งนี้จมลงไปอยู่ใต้ทะเล  ทำให้หอยดังกล่าวแล้วตายหมด  ธาตุปูนจากน้ำทะเลเข้าประสานเปลือกหอยให้ติดกันเป็นพืด ต่อมาพื้นโลกเกิดเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง  ทำให้พืดหินอันเกิดจากเปลือกหอยนี่โผล่ขึ้นมาจากผิวน้ำทะเลบางส่วน ดังที่เห็นอยู่ปัจจุบัน
            สุสานหอยอยู่บริเวณบ้านแหลมโพธิ ตำบลไสไทย อำเภอเมือง ฯ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกระบี่ และมีอยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี

            อยู่ในเขตตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก มีพื้นที่ประมาณ ๑๓๕,๐๐๐ ไร่  พื้นที่ของอุทยาน ฯ เป็นป่าไม้และป่าชายเลน  ครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก  เช่น สวนรุกขชาติธารโบกขรณี ถ้ำลอดเหนือ - ใต้  ถ้ำผีหัวโต หรือถ้ำหัวกะโหลก  ถ้ำเพชร  ถ้ำพระ  ถ้ำสระยวนทอง  ถ้ำชาวเล  ถ้ำเสือน้อย  อ่าวแหลมสัก  หมู่เกาะปิเละ และเกาะห้อง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา

            อยู่ในเขตอำเภอเกาะลันตา มีพื้นที่ประมาณ ๘๔,๐๐๐ ไร่  มีกลุ่มหมู่เกาะอยู่ ๕๒ เกาะ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓  มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น หาดหลังสอด  แหลมคอกวาง  หาดคลองคาว  หาดคลองหิน  หาดบากันเตียง  เกาะหมอ  เกาะตะละเป็ง  เกาะไหง  เกาะบู-บู  และหาดคลองจาก เป็นต้น
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ - บางคราม
            อยู่ในเขตอำเภอคลองท่อม ฯ เป็นป่าดิบชื้นที่ราบต่ำ  เป็นที่ราบต่ำผืนสุดท้ายที่เหลืออยู่ทางภาคใต้ของไทย  มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๒๐๐ เมตร  มีพื้นที่ประมาณ ๙๘,๐๐๐ ไร่  ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ เป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นต้นกำเนิดทางพันธุกรรมของพันพืช และพันธุ์สัตว์นานาชนิด  มีความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นแหล่งต้นกำเนิดต้นน้ำลำธาร ที่ไปหล่อเลี้ยงผู้คนในจังหวัดกระบี่ และจังหวัดใกล้เคียง คือจังหวัดตรัง  สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
            เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙  ได้สำรวจพบนกแต้วแร้วท้องดำ  เป็นนกป่าที่สันนิษฐานว่าได้สูญพันธุ์ไปกว่า ๓๕ ปีแล้ว  ปัจจุบันนกแต้วแร้วท้องดำได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าสงวน ๑ ใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย  ซึ่งอยู่ในภาวะวิกฤต และใกล้สูญพันธุ์
            ในป่าแห่งนี้ยังพบนกประมาณ ๓๑๘ ชนิด  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า ๑๔๑ ชนิด  สัตว์เลื้อยคลานมากกว่า ๑๒๑ ชนิด  ทำให้ป่าผืนนี้เป็นแหล่งที่เหมาะแก่การศึกษาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์  และเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญแห่งหนึ่ง

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์