ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            ลพบุรีเป็นเมืองโบราณเก่าแก่  และมีความสำคัญยิ่งเมืองหนึ่งในภาคกลางของไทย  ที่ตั้งปัจจุบันได้ตั้งทับซ้อนเมืองโบราณเดิม  จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ลพบุรีไม่เคยเป็นเมืองร้าง  กลุ่มชนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้  เป็นกลุ่มชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 4500-3500 ปีมาแล้ว  และได้พัฒนามาเป็นชุมชนโบราณสมัยประวัติศาสตร์ในเวลาต่อมา

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

            ได้พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 45,000 ปี ไม่ต่ำกว่า 40 แห่ง  กระจายอยู่เกือบทุกอำเภอ  แบ่งออกได้เป็น 2 เขตใหญ่ ๆ ตามสภาพภูมิประเทศได้แก่  เขตเขาวงพระจันทร์ และเขตพื้นที่ลอนลูกคลื่นระหว่าง อำเภอโคกสำโรงกับอำเภอตาคลี  เช่น แหล่งโบราณคดีที่ท่าแค  ศูนย์การทหารปืนใหญ่  โนนป่าหวาย  โนนหมากลาและซับจำปา เป็นต้น

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ก่อนการใช้โลหะ

            มีอายุประมาณ 4500 ถึง 3500 ปีมาแล้วพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานในเขตพื้นที่ราบลุ่มริมทางน้ำใหญ่  และในพื้นที่ดอนใกล้ภูเขาบางตอนของภาคกลาง  ได้แก่แหล่งโบราณคดีที่บ้านท่าแค ห้วยใหญ่และโนนป่าหวาย เป็นต้น  มีการทำภาชนะดินเผาแบบต่าง ๆ  ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้ยังคงใช้ขวานหินขัดอยู่  และมีการทำเครื่องประดับจากเปลือกหอยและหิน
 
 

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ใช้โลหะ

        ระยะที่ 1     มีอายุระหว่าง 3,800 ปี 2,700 ปีมาแล้ว  พบที่แหล่งโบราณคดีที่บริเวณหุบเขาวงพระจันทร์  อ่างเก็บน้ำนิลกำแหง  อ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่  ได้พบหลักฐานการถลุงแร่ทองแดง  แม่พิมพ์สำหรับหล่อทองแดงเป็นจำนวนมาก  รูปแบบภาชนะดินเผา ยังคงเป็นแบบที่คล้ายกับแบบในสมัยแรก ๆ

        ระยะที่ 2     มีอายุระหว่าง 2,100-2,300 ปี มาแล้ว  ยังคงมีการผลิตทองแดงอย่างต่อเนื่อง และพบเครื่องประดับสำริด มีการติดต่อกับวัฒนธรรมดองชอน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมยุคเหล็ก มีศูนย์กลางในประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ได้พบลูกปัดหินกึ่งรัตนชาติ ในแหล่งโบราณคดีที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่  แสดงว่าได้มีการติดต่อกับชุมชนในประเทศอินเดียแล้ว มีการใช้ภาชนะดินเผารูปแบบใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นได้แก่  ภาชนะสีน้ำตาลเข้ม ด้านนอกขัดมันเป็นภาชนะประเภทหม้อ ไหก้นกลม  ชามก้นกลม
         ระยะที่ 3    มีอยู่ระหว่าง 2,300-1,500 ปีมาแล้ว  ชุมชนในระยะนี้เริ่มเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น  บางแห่งเป็นชุมชนที่เกิดขึ้นใหม่  บางแห่งก็พัฒนาจากชุมชนเดิม  มักตั้งอยู่ใกล้ทางน้ำสายใหญ่ เช่น แหล่งโบราณคดีท่าแค ในระยะนี้มีการใช้เหล็ก ทำเครื่องมือเครื่องใช้กันแพร่หลาย  ได้พบเครื่องประดับทำจากแก้วและหินกึ่งรัตนชาติ  ซึ่งเป็นวัตถุที่มาจากอินเดีย  การเปลี่ยนแปลงของชุมชนทำให้โครงสร้างทางสังคม และวัฒนธรรมซับซ้อนขึ้น มีการรวมตัวเป็นบ้านเมืองสมัยประวัติศาสตร์
แรกเริ่มที่เรียกว่า ทวาราวดี  ตัวอย่างชุมชนที่กลายมาเป็นเมืองโบราณได้แก่  เมืองซับจำปา  เมืองดงมะรุมและตัวเมืองลพบุรี เป็นต้น
สมัยประวัติศาสตร์
            ชุมชนในยุคเริ่มในสมัยประวัติศาสตร์บางแห่ง  มีการดัดแปลงพื้นที่โดยการขุดคู และถมเป็นคันดินล้อมรอบชุมชน  ที่ปรากฎร่องรอยชัดเจนมี 4 เมือง คือ  เมืองเก่าลพบุรี  เมืองดงมะรุม  บ้านเมืองใหม่ไพศาลี และเมืองซับจำปา  มีการค้าขายกับอินเดียมากกว่าแหล่งอื่น  วัฒนธรรมอินเดียได้เข้ามาผสมกับวัฒนธรรมท้องถิ่น  รูปแบบวัฒนธรรมร่วมจากอินเดีย ปรากฎเด่นชัดในพุทธศตวรรษที่ 12-14 และได้เรียกช่วงเวลาดังกล่าวนี้ว่า สมัยทวาราวดี
            อาณาจักรทวาราวดี เชื่อกันว่าอยู่ที่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครปฐม  เนื่องจากได้พบโบราณสถาน และโบราณวัตถุมีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 อยู่เป็นจำนวนมาก

สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-14)

            เมืองลพบุรีในยุคนี้รู้จักกันในชื่อว่า เมืองละโว้ หรือลวปุระ  ชื่อเมืองละโว้ปรากฎอยู่จนถึงสมัยอยุธยา ชื่อเมืองนี้ สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า มาจากคำว่า ลัวะ หรือ ละว้า  ซึ่งเป็นกลุ่มที่เคยเป็นเจ้าของดินแดน ในบริเวณลุ่มน้ำแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน  แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงสันนิษฐานว่า น่าจะมาจากชื่อเมืองลวปุระ ที่อยู่ในอินเดียและอาจผันมาเป็นลพบุรี  ซึ่งหมายความว่า เป็นเมืองของพระลวะหรือพระลพ ผู้เป็นโอรสของพระราม
            เมืองลพบุรีมีความสำคัญที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  เรือสำเภาเดินทะเลที่เข้ามาตามแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถแล่นไปถึงแม่น้ำลพบุรีได้ ทำให้ลพบุรีเป็นเมืองท่าที่ค้าขายติดต่อต่างประเทศที่สำคัญในสมัยทวาราวดี เช่นเดียวกับเมืองเก่าอีกหลายเมืองในภาคกลาง นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาอีกด้วย มีร่องรอยหลักฐานอันเนื่องจากพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก
            วัฒนธรรมทวาราวดีอาจกล่าวได้ว่า เป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากพุทธศาสนา โบราณสถานอันได้แก่  สถูป  เจดีย์ และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ สร้างด้วยอิฐและตกแต่งด้วยปูนปั้นหรือดินเผา เช่น ที่วัดนครโกษา  โบราณวัตถุได้แก่  เครื่องมือเครื่องใช้ที่สำคัญ คือ เหรียญ  ที่ส่วนใหญ่ทำด้วยเงินมีลายดุนเป็นรูปลักษณะต่าง ๆ ตามคตินิยมของอินเดีย ได้พบเป็นจำนวนมากที่เมืองพรหมทิน
             มีการใช้อักษรจารึกข้อความต่าง ๆ บนศิลา  ฐานพระพุทธรูป  ธรรมจักร และพระพิมพ์ดินเผา  บนพระพิมพ์ดินเผานิยมจารึกคาถา เย ธมฺมา.....  เพื่อประสงค์ในการสืบอายุพระพุทธศาสนา ตัวอักษรที่ใช้เป็นอักษรแบบอินเดียตอนใต้  สำหรับภาษามีทั้งภาษาบาลี  สันสกฤด และภาษามอญโบราณ เช่น จารึกบนเสาแปดเหลี่ยม พบที่ศาลพระกาฬ จารึกหลักที่ 18 จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืน พบที่วัดศรีมหาธาตุ และจารึกบนเสาแปดเหลี่ยม พบที่เมืองซับจำปา

สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 15-18)

            ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา  ลพบุรีกลายเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง และเป็นศูนย์กลางทางการค้าแทนที่เมืองนครชัยศรี และในช่วงเวลาดังกล่าว อิทธิพลของวัฒนธรรมขอม ได้เริ่มแพร่ขยายเข้ามาสู่ภาคกลาง บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำลพบุรี  ทำให้ศิลปกรรมที่เมืองลพบุรี มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะขอมสมัยพระนครเป็นอันมาก ได้พบโบราณสถานและโบราณวัตถุ ที่ใกล้เคียงกับศิลปกรรมในวัฒนธรรมแบบขอมเป็นจำนวนมาก  ได้มีการนำชื่อลพบุรีมาใช้เป็นชื่อเรียกศิลปกรรมแบบขอม ที่พบในพื้นที่ภาคกลางและภาคอื่น ๆ ว่า สมัยลพบุรี เป็นวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 18  พุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้กลายเป็นศาสนาหลัก ได้พบศิลาจารึกขอมได้แก่ จารึกหลักที่ 19 และหลักที่ 20 พบที่ศาลพระกาฬและจารึกหลักที่ 21 พบที่ศาลเจ้าแห่งหนึ่ง
            จารึกหลักที่ 116  ที่ปราสาทพระขรรค์ นครวัด  ได้กล่าวถึง การสร้างพระชัยพุทธมหานาถ ไปประดิษฐานไว้ในปราสาทหินต่าง ๆ ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  มีเมืองลโวทยปุระรวมอยู่ด้วย จากภาพสลักที่ระเบียงปราสาทนครวัด มีภาพทหารม้าจากแคว้นละโว้ นอกเหนือจากภาพกองทหารจากสยาม  หลักฐานที่เป็นโบราณวัตถุ ได้แก่  ปรางค์แขก  ปรางค์สามยอด  ศาลพระกาฬหรือศาลสูง และปรางค์นางผมหอม  บรรดาประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพทางศาสนา เช่น พระโพธิสัตว์ และพระพุทธรูปปางนาคปรก ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ล้วนเป็นศิลปแบบเขมร
สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษ ที่ 19)
            เมื่ออิทธิพลของเขมรเสื่อมลงไปจากดินแดนแถบนี้  เมืองลพบุรีก็ไม่ได้เป็นศูนย์กลางการค้าและความเจริญอีกต่อไป  ศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่ได้ไปอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่เมืองอโยธยา ส่วนดินแดนทางเหนือได้รวมตัวกันเป็นปึกแผ่น  โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสุโขทัย
            ศิลปกรรมเมืองลพบุรีในยุคนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป  กลายเป็นการสร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน  อันเป็นที่นับถือกันแพร่หลายในห้วงเวลานั้น  ได้พบหลักฐานการสร้างพระสถูปเจดีย์ ที่เป็นแบบอย่างพุทธศาสนา
ฝ่ายเถรวาทอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยม มีองค์ระฆังอยู่ส่วนบน เช่น เจดีย์รายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  มีการเปลี่ยนแปลงศาสนสถาน จากฝ่ายมหายานเป็นฝ่ายเถรวาท  สร้างพระปรางค์เป็นแบบปรางค์ไทย เช่น ปรางค์ทรงมะเฟืองและปรางค์ทรงฝักข้าวโพด เป็นต้น และมีการสร้างพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองอย่างแพร่หลาย

สมัยอยุธยา

            เมืองลพบุรีได้เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของกรุงศรีอยุธยา ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  เมื่อปี พ.ศ. 1893  พระเจ้าอู่ทอง ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระรามเมศวร ผู้เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ไปครองเมืองลพบุรีซึ่งเป็นเมืองลูกหลวง  พระองค์ได้ทรงสร้างป้อมคูเมือง และกำแพงเมือง บูรณะซ่อมแซมวัดต่าง ๆ
            ในปี พ.ศ. 2091  สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ทำศึก กับพม่าทรงเห็นว่าเมืองลพบุรีกลายเป็นประโยชน์ต่อข้าศึก มากกว่าเป็นเมืองหน้าด่าน  จึงโปรดให้รื้อกำแพงป้อมปราการออกทั้งหมด
            ในปี พ.ศ. 2208  สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่ 2  และพระองค์ได้เสด็จไปประทับปีละประมาณ 9 เดือน  เมื่อสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ลพบุรีก็ถูกลดความสำคัญลง เป็นเมืองในเขตราชธานีดังเดิม  และถูกทอดทิ้งจนเกือบกลายเป็นเมืองร้าง
สมัยกรุงธนบุรี
           ในปี พ.ศ. 2310  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ได้โปรดเกล้า ฯ  ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์  เมืองศรีสัตนาคนหุตและเมืองหลวงพระบาง  ได้กวาดต้อนผู้คนชาวเมืองเหล่านั้นลงมาด้วยเป็นจำนวนมาก  แล้วให้ไปตั้งถิ่นฐานตามเมืองต่าง ๆ รวมทั้งเมืองลพบุรีด้วย

สมัยรัตนโกสินทร์

            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณะเมืองลพบุรีให้เป็นเมืองหลวงแห่งที่ 2  เมื่อสร้างพระราชวังขึ้นที่เมืองลพบุรีแล้ว จึงสถาปนาเป็นพระนารายณ์ราชนิเวศน์
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2438 ได้ตั้งลพบุรีเป็นเมืองหนึ่งในมณฑลกรุงเก่า หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง จอมพล ป. พิบูลสงคราม  ได้พัฒนาเมืองลพบุรีให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางทหาร รวมทั้งการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อีกมาก

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์