ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางวัฒนธรรม

            ลพบุรีเป็นเมืองเก่าแก่โบราณ มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และได้มีการตั้งถิ่นฐานต่อเนื่องกันมาหลายยุคหลายสมัย โดยไม่ขาดสายมาจนถึงปัจจุบัน  บรรดาโบราณสถานต่าง ๆ จึงมีอยู่เป็นจำนวนมาก และยังคงปรากฎอยู่จนถึงทุกวันนี้  โบราณสถานที่สำคัญพอประมวลได้ดังนี้

เทวสถานหรือปรางค์แขก

            อยู่ที่ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง  เป็นปรางค์ที่สร้างด้วยอิฐไม่สอปูน  มีอยู่สามองค์ แต่ไม่มีเฉลียงเชื่อมต่อกันเหมือนปรางค์สามยอด  มีกรอบประตูทางเข้าด้านหน้าอยู่องค์ละหนึ่งประตู  กรอบประตูไม่มีทางเข้าออก  เดิมเป็นศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์ลัทธิฮินดู  มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 มีลักษณะคล้ายปรางค์ศิลปะเขมร แบบพะโค  เป็นปรางค์แบบเก่าคือ มีประตูศิลาเข้ากรอบเลียนแบบเครื่องไม้
            ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  องค์ปรางค์ได้รับการซ่อมแซมด้วยอิฐสอปูน และได้สร้างวิหารเล็กหน้าปรางค์ มีประตูทางเข้าแบบโค้งแหลม ที่หน้าจั่วมีลายปูนปั้น และถังเก็บน้ำประปาอยู่ทางทิศใต้ของตัวปรางค์
            เทวสถานปรางค์แขกนับว่าเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดลพบุรี ที่ยังคงเหลือสภาพสมบูรณ์และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์

พระปรางค์สามยอด

            อยู่ที่ตำบลท่าหิน  อำเภอเมือง  เป็นโบราณสถานที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลพบุรี  ตั้งอยู่บนเนินดินใกล้กับศาลพระกาฬ  เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางพุทธศาสนา  มีอายุอยู่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 18  สร้างด้วยศิลาแลง  หินทรายตกแต่งด้วยลายปูนปั้นที่สวยงาม ลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกันสามองค์  องค์กลางสูงประมาณ 15 เมตร  มีฉนวนทางเดินเชื่อมต่อกันเป็นศิลปะเขมรแบบบายน  ปรางค์องค์กลางมีฐานซึ่งเดิมคงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีเพดานไม้เขียนลวดลายสีแดงเป็นรูปดอกไม้ ด้านหน้าเป็นวงโค้งที่นิยมทำกันในยุคนั้น  ภาพในวิหารอัฐิมีพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดี เป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น มีอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20
            ปรางค์สามยอดนี้ สันนิฐานว่าชนชาติขอมเป็นผู้สร้าง โดยได้นำแบบอย่างการก่อสร้างมาจากปรางค์อินเดีย สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ปรางค์องค์กลางประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก  ปรางค์องค์ขวาประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ปรางค์องค์ซ้ายประดิษฐานรูปนางปรัชญาปารมิตา

ปรางค์นางผมหอม

            อยู่ที่ตำบลหนองยายโต๊ะ อำเภอชัยบาดาล  มีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวโดด ๆ ก่อด้วยอิฐก้อนใหญ่ไม่สอปูน ปัจจุบันยอดปรางค์หักหมด มีประตูเข้าไปในตัวปรางค์ได้ กรอบประตูสร้างด้วยแท่งหิน ภายในตัวปรางค์เป็นห้องโถง รอบ ๆ องค์ปรางค์มีก้อนหินใหญ่อยู่เกลื่อนกลาด ห่างออกไปจากองค์ปรางค์ไปไม่มากนักเป็นเนินดิน มีซากอิฐอาจจะเป็นฐานวิหารหรือเจดีย์ ชาวบ้านเรียกว่า โคกคลีน้อย และยังมีเนินดินกว้างอยู่อีกแห่งหนึ่งเรียกว่า โคกคลีใหญ่  บริเวณที่ตั้งของปรางค์นางผมหอม มีแม่น้ำมาบรรจบกันสองสาย คือ  ลำสนธิกับลำพญากลาง  สันนิษฐานว่าบริเวนนี้เดิมคงเป็นเมืองโบราณ
            มีตำนานพื้นเมืองเรื่องปรางค์นางผมหอมอยู่ว่า  ราชธิดาของเจ้าเมืองแห่งหนึ่งชื่อนางผมหอม มีความงามเป็นเลิศ ทุกครั้งที่นางสระสนาน มักจะไปนั่งที่ก้อนหินก้อนหนึ่งแล้วสระผม บริเวณที่ก้อนหินนั้นตั้งอยู่จึงเรียกว่า ท่านางสระผม วันหนึ่งผมของนางลอยไปตามน้ำกษัตริย์อีกเมืองหนึ่งเก็บผมของนางได้ เกิดความหลงไหลเจ้าของผม จึงให้ทหารออกตามหาเจ้าของผม จนพบแล้วกลับมากราบทูลให้ทรงทราบ  กษัตริย์องค์นั้นจึงเสด็จไปหานาง เมื่อพบแล้วก็เกิดความรักแต่นางมีคู่หมั้นก่อนแล้ว และเป็นสหายของพระองค์ด้วย ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงพนันตีคลีกัน ผู้ใดชนะก็จะได้นางผมหอมไปเป็นชายา  นางผมหอมเฝ้าดูการตีคลีด้วยความอัดอั้นตันใจจึงได้ผูกคอตาย  ฝ่ายทั้งสองชายเมื่อทราบเรื่องก็ชวนกันกระโดดน้ำตายด้วยความเสียใจ  สถานที่แห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า ปากชวน  ส่วนศพนางผมหอมก็ได้บรรจุไว้ในปรางค์  จึงได้ชื่อว่า ปรางค์นางผมหอม  สถานที่ตีคลีพนันกันก็ได้ชื่อว่า โคกคลี

ศาลพระกาฬ

            อยู่ใกล้ปรางค์สามยอด  เป็นเทวสถานเก่าแก่สมัยขอมครองเมืองลพบุรี มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 สร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ศาลสูง  เป็นเทวสถานแบบขอม มีลักษณะเป็นปรางค์เดี่ยวขนาดใหญ่ รูปร่างสี่เหลี่ยมจตุรัส มีมุขยื่นด้านหน้า มีบันไดขึ้นลงทั้ง 4 ด้าน เรือนธาตุหรือองค์ปรางค์หักพังหมดแล้ว ทับหลังสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ทำด้วยหินทราย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 17  ได้พบศิลาจารึกหลักที่ 18 เป็นเสาแปดเหลี่ยม กับศิลาจารึกศาลสูงหลักที่ 19 และ 20  เป็นอักษรขอม  ภายในวิหารประดิษฐานรูปพระนารายณ์ประทับยืนทำด้วยหินสององค์ หรือเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  องค์เล็ก เป็นเทวรูปรุ่นเก่า องค์ใหญ่เป็นประติมากรรมแบบลพบุรี
ศาลพระกาฬเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองลพบุรีมาช้านานจนถึงปัจจุบัน

ป้อม ประตู เมือง ประตูชัย ประตูพะเนียด

      ป้อมปราการของเมืองลพบุรี  ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ค่อนข้างสมบูรณ์ มี 2 แห่งคือ  ป้อมท่าโพธิ และป้อมชัยชนะสงคราม
      ป้อมท่าโพธิ    อยู่บนเนินเขาท่าโพธิ  ทางด้านเหนือของวัดมณีชลขันธ์
      ป้อมชัยชนะสงคราม    อยู่ทางทิศตะวันออกของสถานีรถไฟลพบุรี เป็นป้อมที่มีลักษณะสูงใหญ่มาก สร้างในสมัยลพบุรี
       กำแพงเมือง ป้อมค่ายและประตูหอรบของเดิม สร้างไว้แข็งแรงมากทั้ง 4 ด้าน ได้มีการสร้างเพิ่มเติมในสมัยพระราเมศวรเสด็จไปครองเมืองลพบุรี  ในสมัยสมเด็จพระมหาจักพรรดิ์  ทรงให้รื้อกำแพงเมืองออกเสีย ด้วยเกรงว่าข้าศึกจะมายึดใช้เป็นประโยชน์  ในรัชสมัยพระนารายณ์มหาราช พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างเพิ่มเติม  โดยสร้างเฉพาะตอนพระราชวังกับป้อมที่มุมเมือง และได้สร้างประตูเมืองขึ้นมาใหม่
      ประตูเมือง สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คือ  ประตูชัย และประตูพะเนียด
      ประตูชัย    อยู่ทางมุมกำแพงพระนารายณ์ราชนิเวศน์ด้านตะวันออกเฉียงใต้  มีลักษณะสูงเด่น ช่องประตูโค้งแหลม  ประตูนี้อยู่ติดกำแพงเมือง ซึ่งมีลักษณะเป็นกำแพงดิน ขนานคู่กับพระราชวังด้านทิศใต้
      ประตูพะเนียด    อยู่ในบริเวณค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ซากประตูที่เหลือมีลักษณะค่อนข้างสมบูรณ์ ในบริเวณนี้มีร่องรอยพะเนียดคล้องช้าง เป็นเนินดินปรากฎอยู่  พะเนียดคล้องช้างนี้ได้ใช้จับช้างมาหลายยุคหลายสมัย

วัดนครโกษา

            อยู่ที่ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง ใกล้กับศาลพระกาฬ เดิมเป็นเทวสถานของขอม มีพระปรางค์แบบลพบุรี มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 อยู่ด้านหน้า พระพุทธรูปปูนปั้นแบบอู่ทองบนปรางค์ ได้สร้างเพิ่มเติมขึ้นภายหลัง ได้พบพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่แบบลพบุรี มีร่องรอยดัดแปลงเป็นพระพุทธรูปอยู่ 2 องค์  ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เทวสถานแห่งนี้ ภายหลังมีผู้สร้างเป็นวัดในสมัยอยุธยา จะเห็นได้จากซากวิหารที่เหลือแต่ผนังและเสาอยู่ทางด้านหน้า มีเนินเจดีย์สูงก่อด้วยอิฐอยู่ด้านหลัง
            การที่ได้ชื่อว่าวัดนครโกษา  มีผู้สันนิษฐานว่าเนื่องจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เป็นผู้บูรณะจึงได้ชื่อนี้

พระนารายณ์ราชนิเวศน์

            ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรี ทางด้านตะวันตกของตัวเมืองลพบุรี เดิมเรียกว่า วังนารายณ์  สันนิษฐานว่าเป็นพระราชวังของพระราเมศวร คราวที่ประทับอยู่ที่เมืองลพบุรี เมื่อถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระราชวังที่เมืองลพบุรีอย่างงดงาม ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยผสมกับยุโรป  เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระราชวังนี้ได้ถูกทิ้งร้าง  ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะพระราชวังแห่งนี้ขึ้นมาใหม่  เพื่อให้เป็นราชธานีชั้นใน และพระราชทานนามว่า พระนารายณ์ราชนิเวศน์

            พระราชวัง แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ชั้น  ชั้นนอกอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นที่ทำการรัฐบาลและเป็นคลัง  ชั้นกลางเป็นโรงช้างโรงม้า  ชั้นในอยู่ทางด้านทิศตะวันตก  เป็นพระราชมณเฑียร  ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสร้าง มีพระที่นั่ง 3 องค์ คือ พระที่นั่งจันทรพิศาล  พระที่นั่งสุทธาสวรรย์  และพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท  พระที่นั่งและตึกต่าง ๆ  ได้สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พอประมวลได้ดังนี้
            พระที่นั่งและตึกที่สร้างในรัชสมัยพระนารายณ์มหาราช  ได้แก่ พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท  พระที่นั่งจันทรพิศาล  พระที่นั่งสุทธาสวรรย์  ตึกเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง  ตึกพระเจ้าเหา  หมู่ตึกสิบสองท้องพระคลังและถังเก็บน้ำ
            พระที่นั่งและตึกที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ  หมู่ตึกพระประเทียบ  ทิม บ้านหลวงรับราชทูต หรือบ้านวิชาเยนทร์

บ้านหลวงรับราชทูต หรือบ้านวิชาเยนทร์

            ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระนารายณ์ราชนิเวศน์  ใกล้กับปรางค์แขก  และวัดเสาธงทองในเขตตำบลท่าหิน อำเภอเมือง  สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เนื่องจากสถานที่แห่งนี้เป็นที่พำนักของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์  จึงได้ชื่อว่าบ้านวิชาเยนทร์  และเมื่อคราวที่ทูตจากประเทศฝรั่งเศส คือ เชอวาเลีย เดอโชมองต์  เข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2228  ก็ได้พักอยู่ ณ ที่นี้จึงได้ชื่อว่าบ้านหลวงรับราชทูต
            พื้นที่บริเวณบ้านวิชาเยนทร์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน  มีตึกใหญ่น้อยอยู่หลายหลัง มีถังเก็บน้ำประปา และมีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน  นับว่าเป็นสถานที่ที่ใหญ่โต รองลงมาจากพระนารายณ์ราชนิเวศน์  ส่วนกลางและส่วนด้านตะวันออก  มีสิ่งก่อสร้างที่มีความสัมพันธ์กันคือ โบสถ์ และตึกหลังใหญ่สองชั้น ใช้เป็นที่ต้อนรับทูตต่างประเทศ  โบสถ์ทางคริสตศาสนาเป็นของนิกายเยซูอิต  อาคารบริเวณด้านตะวันตกคงเป็นที่อาศัยของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์
            ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารบางหลังเป็นแบบยุโรป  แต่บางหลังเช่นอาคารที่เป็นโบสถ์ ผังและแบบของโบสถ์เป็นแบบยุโรป  แต่ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้ว  และมีปลายเสาเป็นรูปกลีบบัวยาว อันเป็นศิลปะแบบไทย  นับว่าเป็นโบสถ์คริสต์ที่ตกแต่งโบสถ์แบบพุทธหลังแรกในโลก

พระที่นั่งไกรสรสีหราช หรือพระที่นั่งเย็น

            อยู่ที่ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นบนเกาะกลางทะเลชุบศร  เพื่อใช้เป็นที่สำราญพระอริยาบท  หลังจากเสด็จประพาสล่าช้างบริเวณภูเขาทางด้านทิศตะวันออก  เคยใช้เป็นที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะ จากฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2228  เพื่อสำรวจจันทรุปราคา  ยังมีภาพการสำรวจจันทรุปราคาที่พระที่นั่งแห่งนี้ ซึ่งชาวฝรั่งเศสวาดไว้ เป็นรูปสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวมลอมพอก  และทรงใช้กล้องส่องดูดาวยาววางบนขาตั้ง  พระที่นั่งนี้มีเขื่อนหินถือปูนล้อมรอบ  ปัจจุบันเหลือแต่ผนัง เครื่องบนหักพังหมดแล้ว เป็นพระที่นั่งชั้นเดียว มีผังเป็นทรงจตุรมุข  ทะเลชุบศรเป็นพื้นที่ลุ่มมีพื้นที่ติดต่อกับทุ่งพรหมมาสตร์ไปทางทิศตะวันออก ในฤดูฝน น้ำฝนจะไหลจากภูเขา มารวมอยู่ในแอ่งนี้ จนแลดูคล้ายทะเลสาบ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทำประตูกั้นน้ำ-ระบายน้ำไว้  แล้วไขให้น้ำไหลล้นลงมายังสระแก้ว แล้วฝังท่อดินเผา นำน้ำจากสระแก้วไปยังตัวเมือง ปัจจุบันทะเลชุบศรตื้นเขินหมดแล้ว

วัดสันเปาโล

            อยู่ในเขตตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง  คำว่าสันเปาโล  คงจะเพี้ยนมาจาก เซนต์ปอลหรือ แซงต์เปาโล (Saint Paulo) วัดนี้ตั้งอยู่ตรงกับตำแหน่งแผนที่เมืองลพบุรี ที่ชาวฝรั่งเศสทำขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เป็นวัดในคริสตศาสนานิกาย เยซูอิต  มีหอคอยแปดเหลี่ยม สำหรับใช้เป็นที่สังเกตุปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2228  นับว่าเป็นหอดูดาวแห่งแรกของไทย  หอนี้ยังปรากฎอยู่จนบัดนี้  มีซากอาคารก่ออิฐเป็นผนังฉาบปูน แบ่งเป็นห้องสี่เหลี่ยมอยู่รวมกันเป็นแถวมีจำนวน 6 ห้อง  เป็นสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป  เพราะปรากฎว่ามีการใช้ลวดลายของบัวประดับอาคาร

เพนียดคล้องช้าง

            ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศตะวันออกในบริเวณค่ายสมเด็จพระนารายณ์  ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง  ลักษณะเป็นเนินดินรูปสี่เหลี่ยม  มีมาแต่สมัยขอม เป็นที่จับช้างป่ามาใช้ในราชการเป็นคราว ๆ  ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เมอร์ซิเออร์  เชวาเลีย  เดอโชมองต์  ราชาทูตฝรั่งเศส  ซึ่งเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับราชอาณาจักรไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ได้บันทึกเป็นจดหมายเหตุไว้ว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จับช้างให้ชมที่เพนียดแห่งนี้  ในบริเวณใกล้เพนียดมีประตูเมือง เรียกว่า ประตูเพนียด  ซึ่งสร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สระมโนห์รา
            อยู่ข้างปรางค์สามยอดในเขตตำบลท่าหิน อำเภอเมือง  เป็นสระใหญ่มากสระหนึ่ง
สันนิษฐานว่าอาจจะขุดเป็นสระเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในเมือง หรือมิฉะนั้นก็ใช้ดินที่ขุดจากสระ ถมสร้างหรือสร้างปรางค์สามยอด
สระเสวย
            อยู่บนเนินดินติดกับแม่น้ำลพบุรี  ห่างจากวัดมณีชลขัณฑ์ไปทางเหนือประมาณ 150 เมตร  ในเขตตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมือง  ไม่มีประวัติว่าสร้างในสมัยใด  สันนิษฐานว่าคงมีมาแล้วแต่ครั้งกษัตริย์โบราณ (พระร่วง)  ที่ครองเมือง  ใช้น้ำในสระส่งส่วยน้ำไปให้ขอม
สระแก้ว
            อยู่ในเขตตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง  เป็นสระที่มีมาแต่โบราณ  ชาวเมืองได้อาศัยน้ำในสระนี้บริโภค  เชื่อว่าเป็นน้ำสะอาดบริสุทธ์  และเป็นศิริมงคล  จึงได้นำไปใช้ในงานพระราชพิธี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำพิธีชุบพระแสงศัตราวุธ ที่สร้างขึ้นใหม่ครั้งหนึ่ง

แท่งหินลูกศร

            อยู่บริเวณหลังวัดปืนใหญ่ริมแม่น้ำลพบุรี  มีแท่งหินโผล่ขึ้นมาเหนือระดับดิน สูงประมาณ 1 เมตร เข้าใจว่าเป็นหลักเมืองโบราณ สมเด็จกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับศาลลูกศรไว้ ในตำนาน เมืองลพบุรีมีความว่า
            หลักเมืองลพบุรีอยู่ทางตลาดข้างเหนือวัง เรียกกันว่า ศรพระราม  จะมีมาแต่สมัยก่อนขอม  ฤาเมื่อครั้งขอมทราบไม่ได้แน่ ที่เรียกกันว่า ศรพระรามนั้น เกิดแต่เอาเรื่องรามเกียรติ์ มาสมมุติเป็นนามของเมืองนี้  ความในเรื่องรามเกียรติว่า  เมื่อเสร็จศึกทศกัณฑ์  พระรามกลับไปครองเมืองอยุธยาแล้ว จะสร้างเมืองประทานหนุมาณจึงแผลงศรไป ลูกศรพระรามไปตกบนยอดเขา ทำให้ยอดเขาราบลง  หนุมาณตามไปถึงจึงเอาหางกวาดดินเป็นกำแพงเมือง แล้วพระอินทร์ให้พระวิษณุกรรมลงมาสร้างเมือง เสร็จแล้วพระรามจึงประทานนามว่า เมืองลพบุรี  ด้วยเหตุนี้จึงอ้างกันมาก่อนว่า หลักเมืองนั้นคือ ลูกศรพระรามกลายเป็นหิน ต่อมาได้มีการก่อกุฎิครอบรักษาไว้ นับถือกันอย่างเป็นศาลเทพารักษ์

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์