ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางธรรมชาติ

พื้นที่ป่า

            พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร้อยละ ๙๐ เป็นป่าไม้และภูเขาสูงชัน มีที่ราบอยู่เพียงร้อยละ ๑๐ จากข้อมูลที่ได้จากภาพดาวเทียม เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ ปรากฎว่ามีพื้นที่ป่าเหลืออยู่ประมาณร้อยละ ๗๐ ประกอบด้วยพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙  เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า วนอุทยาน และสวนรุกชาติ
             ป่าสงวนแห่งชาติ  กำหนดโดยกฎกระทรวง  มีอยู่ ๙ ป่า รวมพื้นที่ประมาณ ๑๑,๑๘๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖,๙๘๐,๐๐๐ ไร่
                ป่าสาละวิน  มีพื้นที่ประมาณ ๑,๘๒๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑,๑๓๙,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตอำเภอแม่สะเรียง ประกาศเป็นป่าสงวนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕
                ป่าแม่สุริน  มีพื้นที่ประมาณ ๒๘๔ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๗๗,๕๐๐ ไร่  อยู่ในเขตอำเภอขุนยวม ประกาศเป็นป่าสงวนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖
                ป่าแม่ยวมฝั่งขวา  มีพื้นที่ประมาณ ๑,๐๔๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖๕๕,๐๐๐ ไร่  อยู่ในเขตอำเภอแม่สะเรียง และอำเภอแม่ลาน้อย ประกาศเป็นป่าสงวนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ และ พ.ศ.๒๕๒๑
                ป่าแม่ยวมฝั่งซ้ายแปลง ๒  มีพื้นที่ประมาณ ๑,๖๕๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑,๖๕๙,๐๐๐ ไร่  อยู่ในเขตอำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖
                ป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนล่าง  มีพื้นที่ประมาณ ๙๖๙ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖๐๕,๕๐๐ ไร่ อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔
                ป่าแม่ยวมฝั่งซ้ายแปลงที่ ๑  มีพื้นที่ประมาณ ๑,๑๖๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๗๒๕,๐๐๐ ไร่  อยู่ในเขตอำเภอขุนยวม และแม่ลาน้อย ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗
                ป่าแม่ปายฝั่งขวา  มีพื้นที่ประมาณ ๑,๒๘๓ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๘๐๒,๐๐๐ ไร่  อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗
                ป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน  มีพื้นที่ประมาณ ๑,๐๖๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖๖๓,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตอำเภอปาย ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗
                ป่าแม่เงาและป่าแม่สำเพ็ง  มีพื้นที่ประมาณ ๙๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๕๖๒,๕๐๐ ไร่  อยู่ในเขตอำเภอขุนยวม และอำเภอแม่ลาน้อย ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒
             อุทยานแห่งชาติ  กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา มีอยู่ ๓ แห่ง รวมพื้นที่ประมาณ ๒,๓๗๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑,๔๘๑,๐๐๐ ไร่
                อุทยาน ฯ น้ำตกแม่สุริน  มีพื้นที่ประมาณ ๓๙๗ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๔๘,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ และอำเภอขุนยวม
                อุทยาน ฯ สาละวิน  มีพื้นที่ประมาณ ๗๒๒ กิโลเมตร หรือประมาณ ๔๕๑,๐๐๐ ไร่  อยู่ในเขตอำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย
                อุทยาน ฯ ห้วยน้ำดัง  มีพื้นที่ประมาณ ๑,๒๕๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๗๘๒,๕๐๐ ไร่ อยู่ในเขตอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอเชียงดาว อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
             เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา มีอยู่ ๔ แห่ง เป็่นพื้นที่ประมาณ ๒,๘๖๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑,๗๘๙,๐๐๐ ไร่
                เขต ฯ สาละวิน  มีพื้นที่ประมาณ ๘๗๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๕๔๗,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตอำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย
                เขต ฯ ป่าแม่ยวมฝั่งขวา  มีพื้นที่ประมาณ ๒๙๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๘๒,๕๐๐ ไร่ อยู่ในเขตอำเภอขุนยวม และอำเภอแม่ลาน้อย
                เขต ฯ ลุ่มน้ำปาย  มีพื้นที่ประมาณ ๑,๑๘๑ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๗๓๘,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ  และอำเภอปาย
                เขต ฯ ป่าแม่แตง และป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน  มีพื้นที่ประมาณ ๕๑๔ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓๒๑,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย
พืชพันธุ์ไม้

            ส่วนใหญ่เป็นไม้มีค่าเช่นไม้สัก ไม้เต็งรัง ไม้แดง ไม้รกฟ้า ไม้ยมหอม ไม้ตะเคียนทอง ฯลฯ
            พืชพันธุ์ไม้ยืนต้น  จากข้อมูลเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔ - ๒๕๐๕ พบว่ามีพันธุ์ไม้ยืนต้นอยู่ตามป่า ลักษณะต่าง ๆ อยู่มากพอสมควรคือ
                ป่าผสมเบญจพรรณ  มีไม้สัก ไม้แดง ไม้รกฟ้า ไม้รัง ไม้ประดู่ ฯลฯ โดยเฉพาะไม้สัก ๓ ล้านต้นเศษ และไม่แดงมี ๑ ล้านต้นเศษ
                ป่าผสมเบญจพรรณ  ไม่มีไม้สัก มีไม้แดง ประดู่ รกฟ้า รัง งิ้ว ฯลฯ โดยเฉพาะไม้แดง มี ๘ แสนต้นเศษ และมีไม้ประดู่ ๑ แสนต้นเศษ
                ป่าดงดิบ  มีไม้แดง ยางขาว รกฟ้า สมอภิเพก ฯลฯ ที่มีมากคือไม้แดงมีประมาณ ๖ หมื่นต้น
                ป่าดงดิบเขา  มีไม้ก่อ ไม้รัก ยมหิน สม ฯลฯ โดยเฉพาะไม้ก่อมีประมาณ ๒ แสน ๒ หมื่นต้น
                ป่าเต็ง - รัง  มีไม้พลวง รัง สัก ก่อ รกฟ้า ฯลฯ ที่มีมากคือไม้พลวง มีประมาณ  ๑๔ ล้านต้น ไม้รังประมาณ ๑ ล้าน ๒ แสนต้น
                ป่าเต็ง - รัง (แคะแกร็น)  มีไม้พลวง เหียง รัก รกฟ้า  ฯลฯ มีไม้พลวงประมาณ ๕ แสน ๔ หมื่นต้น ไม้เหียวประมาณ ๑ แสน ๓ หมื่นต้น
                ป่าสน มีสนสองใบ  พลวง รัก ส้าน รัง ฯลฯ มีสนสองใบประมาณ ๔ แสน ๕ หมื่นต้น
                ป่าไร่ร้าง  มีไม้ก่อชนิดต่าง ๆ ไม้สน พลวง ฯลฯ มีไม้ก่อประมาณ ๒ หมื่นต้น มีไม้สักประมาณ ๔ พันต้น
                ป่าไร่เลื่อนลอย  มีไม้สักประมาณ ๑ หมื่น ๕ พันต้น ตะแบกใหญ่ประมาณ ๔ พันต้น และไม้แดงประมาณ ๔ พันต้น
                พืชพันธุ์ไม้กึ่งไม้ยืนต้นและล้มลุก สามารถใช้ประโชยน์ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะใช้เป็นอาหารของมนุษย์
                พืชพันธุ์ไม้ที่มีอยู่ทั่วไป ได้แก่ ไม้ไผ่ ผักหวานป่า ต้นคราม ผักกูด ผักกูดดอย ผักพ่อค้า ดอกอาว (กระเจียว) สาบแล แคป่า เพกา ปู่ย่า ผักแว่น ผักหนาม ผักเฮือด ผ่า เพียฟาน ฟักข้าว มันปลา (มันปู) เตา (สาหร่ายน้ำจืด) อ่องลอด (ดอกหิน) สมอไทย มะขามป้อม
                พืชพันธุ์ไม้เฉพาะ  มีผักส้มปี้ (หัวแหวน) ผักหนามโค้ง (หมาากลม) ดอกดิน เป็นต้น
สัตว์
            จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานระดับตำบล เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ พบว่ามีสัตว์ป่าหลายชนิดเช่น เก้ง กวาง หมูป่า หมี เลียงผา เสือ วัวแดง นกยูง กระรอก ไก่ป่า กระทิง ลิง ค่าง ชะนี ตะกวด ช้างป่า เม่น หมาป่า งู และปลาชนิดต่าง ๆ
            สัตว์บก  มีสัตว์ใหญ่อยู่หลายชนิดด้วยกันที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองและสัตว์ป่าสงวน
                ช้างป่า ในอดีตมีช้างป่าอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจำนวนมาก ช้างป่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ พ.ศ.๒๕๓๕ ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๔๐) มีอยู่ประมาณ ๔๐ ตัว อพยพเข้าออกระหว่างไทยกับประเทศพม่า
                วัวแดง  เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นสัตว์ป่าที่หายากชนิดหนึ่งของไทย ใกล้จะสูญพันธุ์ มีผู้เคยพบในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑
                กวางผา  เป็นสัตวว์ป่าสงวนมีลักษณะคล้ายแพะและพวกแอนติโลพ (Antilope) ผสมกันบางครั้งเรียกแพะภูเขา อาศัยอยู่ตามหน้าผาชัน มีเหลืออยู่น้อย พบอยู่ตามแถบเทือกเขาถนนธงชัย
                เลียงผา  เป็นสัตว์ป่าสงวน จัดเป็นสัตว์กีบคู่มีเขาจำพวกแพะ เลียงผาของไทยมี ๒ ชนิดคือ เลียงผาขาดำ พบมากทางภาคใต้ ส่วนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นเลียงผาขาแดง เลียงผาชอบอาศัยอยู่ตามภูเขาและหน้าผาสูง ปัจจุบันเหลืออยู่น้อย
                เนื้อทราย  เป็นสัตว์ป่าสงวน มีลักษณะสวยงามมาก มีนัยตางดงามที่สุด เนื่องจากมีลักษณะกลมโต สุกใส เป็นประกายแจ่มใสบริสุทธิ์ ทำให้ดูเป็นสัตว์ที่น่ารักน่าสงสาร เนื้อทรายชอบอาศัยอยู่ตามที่ราบ ตามชายหาดริมแม่น้ำ ตามทุ่งหญ้าใกล้หนองบึง จึงมีพื้นที่หากินค่อนข้างจำกัด ทำให้ถูกล่าได้ง่าย ปัจจุบันมีอยู่ในป่าธรรมชาติน้อยมาก ส่วนใหญ่ถูกเลี้ยงและขยายพันธุ์อยู่ในป่าลึก บริเวณพื้นที่รอยต่อตะเข็บแนวพรมแดนไทย - พม่า
                นกยูง  เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองและหาได้ยากอีกชนิดหนึ่งของไทย ใกล้จะสูญพันธุ์ นกยูงได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม มีเสียงไพเราะ มีขนหางที่หลากสีงดงาม อยู่ในตระกูลไก่ฟ้าขนาดใหญ่ นกยูงในทวีปเอเซียมีสองชนิดคือ นกยูงสีน้ำเงินหรือนกยูงอินเดีย กับนกยูงสีเขียวหรือนกยูงไทย
                นกยูงสีเขียว ยังแบ่งออกเป็นสามสายพันธุ์คือสายพันธุ์พม่า สายพันธุ์อินโดจีน และสายพันธุ์ชวา ทั้งสองสายพันธุ์หลังกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทย โดยสายพันธุ์ชวากระจายพันธุ์อยู่ทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบ ฯ ลงไป ส่วนสายพันธุ์อินโดจีนจะกระจายพันธุ์อยู่ทางเหนือจังหวัดประจวบ ฯ ขึ้นมา นกยูงชอบอาศัยในที่ราบตามหาดทรายริมแม่น้ำ ที่ปราศจากการรบกวนจากมนุษย์
                นกเงือกคอแดง  เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จัดอยู่ในตระกูลนกเงือก นกกก เป็นสัตว์ป่าหายาก เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของไทย จะพบอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และตากเท่านั้น

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์