ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

ศาสนา ความเชื่อพิธีกรรม
            ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๙๐ นับถือพุทธศาสนา รองลงมาเป็นศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ ชาวนครนายกนับถือพุทธศาสนามาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยมีหลักฐานการขุดพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดี และสมัยลพบุรีที่ตำบลดงละคร อำเภอเมือง ฯ นอกจากนั้นยังพบวัดร้าง เจดีย์ และพระพุทธรูปสมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ทั่วทุกอำเภอของจังหวัด
            ศาสนาคริสต์ได้เผยแพร่เข้ามาโดยเน้นเฉพาะกลุ่มคนจีน สามารถตั้งวัดของชาวคริสต์ได้สำเร็จ ส่วนศาสนาอิสลาม เข้ามาในเมืองนครนายก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยมาจากเมืองปัตตานี นอกจากนั้นยังมีการอพยพของคนไทยอิสลามจากเขตหนองจอก เขตมีนบุรี กรุงเทพ ฯ ซึ่งมีเขตติดต่อกับอำเภอองครักษ์ ดังนั้นไทยอิสลามที่อำเภอองครักษ์จึงเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดของจังหวัด
            หลักคำสอนสำคัญของศาสนาอิสลาม  ประกอบด้วย หลักศรัทธา ๖ และปฏิบัติ ๕ คือ
                หลักศรัทธาหกประการ  คือ ศรัทธาในพระเจ้า เทพบริวารหรือเทวทูตของพระเจ้า (มลาอิกะห์)  คัมภีร์กุรอาน ผู้ประกาศสัจธรรมแก่มนุษย์ในแต่ยุคสมัย มีมะหะหมัดเป็นผู้ประกาศคนสุดท้าย ศรัทธาในวันพิพากษาและกฎกำหนดสภาวการณ์ของพระเจ้า
                    ศรัทธาในพระเจ้า  เป็นหัวใจสำคัญของชาวอิสลามที่แท้จริงคือเชื่อว่า พระเจ้าที่แท้จริงมีเพียงอัลลอห์ (ซุปห์) ผู้เดียว ไม่ตั้งสิ่งอื่นเป็นที่เคารพบูชา และเชื่อว่าพระเจ้าสร้างสรรพสิ่งทั้งปวงด้วยเมตตา กรุณา และยุติธรรม ตลอดจนรู้การกระทำ และเข้าในความคิดของทุกคนทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
                    ศรัทธาในเทพบริวารหรือเทวทูตของพระเจ้า (มลาอิกะห์)  มลาอิกะห์ เกิดจากธาตุบริสุทธิ์มีรัศมีรุ่งโรจน์ ไม่มีเพศ ไม่ทำสิ่งใดตามความพอใจ ไม่สามารถกำหนดรูปลักษณะ แต่เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นมามีจำนวนมากและมีหน้าที่ต่าง ๆ กันเช่น ยิบรออีล มีหน้าที่นำโองการจากพระเจ้ามาถ่ายทอดแก่ผู้ประกาศ ฯ รกิบ - อต๊ค มีหน้าที่บันทึกการทำความดีความชั่วของมนุษย์ อิสรออีล มีหน้าที่ปลิดวิญญาณมนุษย์จากร่าง มุนกัร - นกี มีหน้าที่สอบสวนผู้ตาย ณ หลุมฝังศพ
                    ชาวอิสลามทุกคน ต้องเชื่อว่าเทพบริวารหรือเทวทูตทั้งหลายมีจริง
                    ศรัทธาในคัมภีร์กุรอาน  ในอดีตตอนที่พระเจ้าจะให้คัมภีร์กุรอาน แก่ นบีมะหะหมัด (ซอล) ซึ่งเป็นคัมภีร์ฉบับสุดท้าย พระเจ้าได้ให้คัมภีร์อื่น ๆ แก่อดีตผู้ประกาศ ฯ (นบี) ในยุคสมัยต่าง ๆ มาก่อนเป็นจำนวนถึง  ๑๐๔ คัมภีร์
                    ชาวอิสลามเชื่อว่าคัมภีร์กุรอาน เป็นคัมภีร์ฉบับสุดท้าย ที่สมบูรณ์ยิ่งกว่าคัมภีร์ที่เคยให้แก่ผู้ประกาศ ฯ (นบี) อื่น ๆ ในอดีต
                    ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต  ศาสนาอิสลามจำแนกศาสนทูต หรือผู้รับคำสั่งจากพระเจ้า ให้นำบทบัญญัติของพระเจ้ามาสั่งสอนคน ในแต่ละยุคสมัยเป็นสองประเภทคือ ศาสนทูตผู้ได้รับมอบให้ปฏิบัติหน้าที่ตามแบบอย่างที่กำหนดในบทบัญญัติเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เรียกว่า นบี และศาสนทูต ผู้รับมอบให้ปฏิบัติหน้าที่ตามแบบอย่างที่กำหนดในบทบัญญัติและเผยแพร่บทบัญญัตินั้นแก่คนทั่วไปเรียกว่า รอซุ้ล ชาวอิสลามเชื่อว่า มะหะหมัดเป็นทั้งนบีและรอซูล
                    ศรัทธาในวันพิพากษา  ศาสนาอิสลามเรียกโลกปัจจุบันว่า โลกดุนยา เป็นโลกแห่งการทดลองไม่จีรังยั่งยืนรอวันพิพากษาเรียกว่า วันกียามะห์ ซึ่งเป็นวันพิพากษาหรือวันกำเนิดปรโลก โลกใหม่ที่เกิดขึ้นในวันดังกล่าวเป็นโลกอมตะ เรียกว่า โลกอาคิรัต มนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกดังกล่าว จะมีชีวิตเป็นนิรันดร ในวันกียามะห์นั่น ทุกชีวิตที่ตายไปแล้วจะกลับฟื้นคืนชีพอีกครั้ง เพือชำระผลกรรมที่ทำไว้ในสมัยมีชีวิต
                    ศรัทธาต่อกฎกำหนดสภาวะการณ์  ศาสนาอิสลามกล่าวว่า อัลลอห์เป็นผู้กำหนดกฎสภาวการณ์แห่งโลก และมวลมนุษยชาติไว้สองลักษณะ คือ สภาวะการณ์ที่คงที่ และสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้
                        - สภาวการณ์ที่คงที่  ได้แก่ กฎแห่งธรรมชาติ  เช่น ดินฟ้าอากาศ ระบบการโคจรของดวงดาวและชาติพันธุ์ของมนุษย์ ฯลฯ
                        - สภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้  เป็นสภาวการณ์ที่ขึ้นกับเหตุและผล ที่มนุษย์แต่ละคนใช้สติปัญญาของตนเลือกประพฤติปฏิบัติ เช่น พระเจ้าสร้างมนุษย์ให้มีรูปลักษณะเหมือนกัน แล้วให้แนวทางประพฤติปฏิบัติที่ดีงามแก่มนุษย์ ส่วนสถานภาพในภายหลังจะเป็นอย่างไรนั้น สุดแต่การกระทำของแต่ละบุคคล
                หลักปฏิบัติห้าประการ  ได้แก่ การปฏิญาณตน  การละหมาด การถือศีลอดในเทศกาลรอมดอน การบริจาคทามซะกาด และการประกอบพิธีฮัจญ์
                    การปฏิญาณตน  คือ การประกาศยอมรับนับถือศรัทธาด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าอัลลอห์เป็นพระเจ้าสูงสุดเพียงหนึ่งเดียว และจะปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอห์ เว้นปฏิบัติในสิ่งที่อัลลอห์ห้าม ฉะนั้นการยอมรับในเอกภาพสูงสุดของพระเจ้าดังกล่าว ทำให้ชาวมุสลิมไม่ต้องมีสัญญลักษณ์อื่นใดสำหรับการเคารพบูชา

                    การละหมาด  หมายถึง การขอพรจากอัลลอห์ เป็นการเจริญรอยตามนบีมะหะหมัด ที่ถือเรื่องการสวดมนต์เป็นกิจวัตรสำคัญที่สุด เป็นหนทางไปสู่สวรรค์ (การเข้าเฝ้าพระเจ้า) ชาวมุสลิมที่บรรลุนิติภาวะแล้วต้องสวดมนต์ทุกวัน ๆ ละ ห้าครั้งในเวลา เช้ามืด ตั้งแต่แสงอาทิตย์ปรากฎจนดวงอาทิตย์ขึ้น เที่ยงวัน จนถึงบ่ายคล้อย เย็น ตั้งแต่บ่ายคล้อยจนดวงอาทิตย์ตก พลบค่ำ หลังดวงอาทิตย์ตกจนสิ้นแสงอาทิตย์ กลางคืน หลังสิ้นแสงอาทิตย์จนปรากฎแสงของวันใหม่ สำหรับสตรีขณะมีรอบเดือนหรือมีเลือดหลังคลอดได้รับการยกเว้น
                    สถานที่ทำพิธีละหมาด  ในวันธรรมดา ทำได้ทั่วไป ไม่มีเงื่อนไข เพียงให้เป็นที่สะอาดเท่านั้น จะทำที่มัสยิด บ้านที่ทำงาน ในยานพาหนะ ฯลฯ ก็ได้ ยกเว้นวันศุกร์ และเทศกาลพิเศษเท่านั้นที่บ้งคับให้ทำที่มัสยิด
                    การถือศีลอด ในคัมภีร์กุรอานกำหนดให้ชาวอิสลามที่บรรลุนิติภาวะ และมีสุขภาพสมบูรณ์ทุกคนถือศีลอดในเทศกาลรอมดอน ซึ่งตรงกับเดือนเก้าของศักราชฮิจรียะ เป็นเวลาหนึ่งเดือน
                        - บุคคลที่ได้รับการยกเว้นคือคนชรา คนป่วยเรื้อรังหรือมีสุขภาพไม่ปกติ  สตรีมีรอบเดือน มีครรภ์และหลังคลอด บุคคลที่ใช้แรงงานทำงานหนัก และบุคคลที่อยู่ระหว่างการเดินทาง
                        - การปฏิบัติระหว่างถือศีลอด  ต้องละเว้นการกระทำทางกาย เช่น บริโภคอาหาร ดื่มน้ำ ลูบไล้ร่างกายด้วยของหอม พูดเท็จนินทาว่าร้ายผู้อื่น ทวนสบถ ตลอดจนการกระทำใด ๆ เพื่อราคะ ฯลฯ  ต้องควบคุมอารมณ์ทางจิตต่าง ๆ เช่น ความโกรธ ให้อยู่ในความสงบและความบริสุทธิ์ตลอดเวลา  ระยะเวลาในการปฏิบัติให้ทำตั้งแต่เช้ามืดจนถึงดวงอาทิตย์ตก ประมาณ ๑๕ ชั่วโมง หรือน้อยกว่านั้น แล้วแต่สถานที่
                    การบริจาคทานซะกาด  มาจากคำเดิมในภาษาอาหรับว่า ซะกาห์ แปลว่าการทำให้บริสุทธิ์ และความเจริญงอกงาม แต่เดิมให้ด้านกำลังกาย สติปัญญา และช่วยเหลือสิ่งอื่น เช่น สัตว์เลี้ยงประเภทโค แพะ แกะ อูฐ  ต่อมาจึงเป็นการบริจาคตามที่ศาสนาบังคับ ผู้มีทรัพย์สิน และรายได้รอบปีมากเกินจำนวนที่ศาสนากำหนด โดยจ่ายส่วนที่เกินนั้นให้แก่ผู้ควรได้รับหรือผู้มีสิทธิ์รับบริจาค ตามอัตราที่ศาสนากำหนดคือร้อยละ ๒.๕ ต่อปี
                        - ผู้มีสิทธิ์ได้รับทานซะกาด  ได้แก่ คนอนาถามีความเป็นอยู่แร้นแค้น ไม่สมควรแก่อัตภาพ ผู้ขัดสน รายได้ไม่พอกับรายจ่ายที่จำเป็น  ผู้ทำหน้าที่รวบรวม และแจกจ่ายซะกาด ผู้ควรแก่การปลอบใจ เช่น ผู้เลื่อมใสและน้อมรับนับถือศาสนาอิสลามในระยะแรก ทาสหรือเชลยซึ่งนายทาสให้สัญญาอนุญาตให้นำเงินมาไถ่ตัวได้ ผู้มีหนี้อันเกิดจากการประกอบอาชีพสุจริต ผู้สนับสนุนส่งเสริมวิถีทางของอัลลอห์ เช่น โรงเรียนและสถานพยาบาล ฯลฯ และผู้เดินทางไกลที่ขาดปัจจัยในการเดินทางกลับบ้านเกิดเมืองนอน
                    การประกอบพิธีฮัจญ์  คำว่าฮัจญ์ แปลว่าการมุ่งไปสู่หรือการไปเยือน การประกอบพิธีฮัจญ์จึงหมายถึง การเดินทางไปประกอบศาสนกิจของชาวอิสลาม ณ สถานอับดุลเลาะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย  มีที่มาจากคำประกาศในคัมภีร์กุรอานให้ชาวอิสลามศรัทธาต่ออัลลอห์ แล้วเดินทางไปเคารพชัยตุลเลาะห์ที่เมืองเมกกะ อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต เรียกการเดินทางนั้นว่าไปฮะยี (Haji) เป็นการทำตามแบบอย่างนบีมะหะหมัดที่ไปเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ก่อนถึงแก่กรรม
                        - คุณสมบัติของชาวอิสลามที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์  คือ มีใจศรัทธาอย่างแท้จริงโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนหรืออวดความมั่งมี มีสุขภาพและสติปัญญาสมบูรณ์ มีทรัพย์สินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายในการเดินทางโดยไม่ต้องสร้างหนี้ และไม่เป็นภาระแก่ผู้รับผิดชอบได้จัดการทรัพย์สินและครอบครัวเรียบร้อยแล้ว ได้ทำพิธีละหมาด ถือศีลอดและบริจาคซะกาดครบถ้วน และเส้นทางที่จะไปทำพิธีปลอดภัยได้ทำพิธีละหมาด ถือศีลอด และบิจาคซะกาดครอบถ้วย และเส้นทางที่จะไปทำพิธีปลอดภัย
                        - เทศกาลพิธีฮัจญ์  มีปีละครั้ง ตั้งแต่วันที่หนึ่งของเดือนสิบถึงวันที่สิบของเดือนสิบสองของศักราชฮิจริยะ (ซุลฮิจญะห์) เริ่มวันใดในห้วงเวลาดังกล่าวก็ได้ แต่ต้องอยู่ในพิธีจนวันที่เก้าและสิบของเดือนสิบสอง ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สุด และชาวอิสลามจากทั่วโลกจะไปชุมนุมทำพิธีกันในโอกาสดังกล่าวมากที่สุด อย่างไรก็ตามชาววอิสลามจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์นอกเทศกาลได้เรียกว่า อุบเราะห์ (ฮัจญ์เล็ก)
                        - ขั้นตอนการประกอบพิธีฮัจญ์  คือ การครองเอียะห์ราม (นุ่งขชาวห่มขาว) ตั้งปณิธานการพิธรเพื่ออัลลอห์ การชุมนุมร่วมกัน ณ ทุ่งอาระฟะห์ แล้วแรมคืนที่มุซดะลีฟะห์มินา และการเดินเวียนซ้ายรอบชัยดุลเลาะห์ การเดินไป - มา ระหว่างเนินเขาซอฟากับเนินเขามังวะห์ ตลอดจนการโกนหรือขลิบเส้นผม
                พิธีการสำคัญ  มีอยู่สามประการด้วยกันคือ
                    พิธีรักษาความสะอาด  เป็นกิจที่ชาวอิสลามทุกคนพึงปฏิบัติก่อนทำพิธีละหมาดและพิธีฮัจญ์ ตามที่ระบุไว้ในคัมภีร์กุรอานและหะดิส การอาบน้ำละหมาดคือ การล้างอวัยวะบางส่วนของร่างกายตามลำดับคือ ล้างใบหน้า ล้างมือ ลูบศีรษะและล้างเท้า
                    ข้อบังคับเพื่อการปฏิบัติ  ชาวอิสลามต้องอาบน้ำให้สะอาดก่อนทำพิธีอาบน้ำละหมาด ทั้งกรณีที่หญิงเพิ่งหมดรอบเดือน หลังหญิงชายร่วมประเวณีหรือฝัน การอาบน้ำละหมาดไปแล้วจะเป็นโฆษะ เมื่อมีพฤติกรรมเกิดขึ้นดังนี้คือหลับสนิท เป็นลมหมดสติ มือสัมผัสอวัยวะเพศโดยปราศจากสิ่งรองรับ สัมผัสเพศตรงข้ามแล้วเกิดกำหนัด ผายลม ถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ มีน้ำเมือกเคลื่อนออกมาจากความกำหนัด ร่วมประเวณี มีรอบเดือนและคลอดบุตร
                    นอกจากนั้น บทบัญญัติของศาสนาอิสลาม กำหนดน้ำที่ใช้ในพิธีรักษาความสะอาดอยู่เจ็ดประเภทคือ น้ำฝน - น้ำค้าง น้ำทะเล น้ำคลอง น้ำบ่อ หิมะ ลูกเห็บ และตาน้ำ
                    น้ำที่มีสิ่งเจือปนหรือใช้ชำระล้างมลทินแล้วห้ามใช้ประกอบพิธีดังกล่าว ถ้าในกรณีขาดแคลนน้ำ อนุญาตให้ใช้ฝุ่นจากดินแทนน้ำได้เรียกว่า ตะยัมมุม โดยใช้ฝ่ามือทาบบนฝุ่น เคาะหรือเป่าฝุ่นที่มากเกินไปออกเสียบ้าง ใช้ฝ่ามือทั้งสองลูบไล้ใบหน้าและลูบมือทั้งสอง โดยใช้มือซ้ายลูบหลังมือขวา แล้วใช้มือขวาลูบหลังมือซ้ายสลับกัน
                    ข้อพึงปฏิบัติ  ชาวอิสลามที่ยังไม่ได้อาบน้ำละหมาด ห้ามประกอบพิธีละหมาด เดินเวียนรอบชัยตุลเลาะห์ในพิธีฮัจญ์ และสัมผัสคัมภีร์กุรอาน
                พิธีขอพรพระเจ้า (ดูอาห์) เป็นพิธีกรรมที่นบีมะหะหมัดทำตลอดชีวิต เป็นต้นว่าขอให้ผู้ป่วยที่พบหายป่วย ขอให้ของที่หายได้คืน ขอให้ปลอดภัยจากการเดินทาง และขอให้คุ้มครองจากการข่มเหงรังแก ฯลฯ พระเจ้าจะรับหรือไม่รับ การขอพรขึ้นอยู่กับการทำที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์คือเป็นผู้กลับใจจากความผิดพลาดต่ออัลลอห์ โดยได้สารภาพความผิดของตนแล้ว สิ่งของเครื่องใช้และปัจจัยสี่ควรได้มาโดยสุจริตด้วยการอนุญาต (หะราล) ใจยึดมั่นอยู่ที่การละลึกในอัลลอห์ และสิ่งที่ขอไม่น่ารังเกียจ หรือให้โทษภัยแก่ผู้อื่น
                การปฎิบัติเพื่อขอพร ให้นั่งคุกเข่าหรือนั่งพับเพียบ ไม่ยกนัยน์ตา (เหลือบตาดูเบื้องบน) โดยขอพรให้บิดามารดา และแสดงความปรารถนาดีต่ออัลลอห์ ให้กล่าวซ้ำสำหรับพรสำคัญที่ขอหลาย ๆ ครั้ง (อย่างน้อยสามครั้ง) แล้วภาวนาขอพรอย่างมีสมาธิ สงบเสงี่ยม นอบน้อมด้วยน้ำเสียงที่แผ่วเบา
            หลักคำสอนของคริสศาสนา มีหลักที่สำคัญดังนี้
                หลักตรีเอกานุภาพ (Trimity)  คือการยึดมั่นและเคารพบูชาในอานุภาพแห่งพระเจ้าทั้งสามคือ พระยโฮวา (พระบิดา) พระเยซู (พระบุตร) พระจิต (วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของพระบิดาและพระบุตรรวมกัน)
                ความรัก  เป็นหลักใหญ่และสำคัญที่สุด ในคำสอนโดยสอนว่า จงรักพระเจ้า รักครอบครัว รักเพื่อนบ้านและรักเพื่อนมนุษย์ แล้วจะได้รับความรักจากโลกเป็นสิ่งตอบแทน
                อาณาจักรแห่งพรเจ้า (Kingdom of God)  คือ สวรรค์ เป็นสถานที่ซึ่งผู้เลื่อมใสศรัทธาและปฎิบัติตามคำสอนของพระเจ้าอย่างแท้จริง มีโอกาสขึ้นไปรวมกับพระเจ้า ณ ที่นั้นไม่มีร้อน ไม่มีหนาว ไม่มีกลางวัน กลางคืน ไม่มีกาลเวลา ไม่ต้องกินอาหาร ไม่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีแต่ความร่มรื่นและสุขสงบ เรียกว่า ชีวิตนิรันดร
                พระเยซูสอนว่า ชีวิตปัจจุบันเป็นโลกแห่งมายา ผู้ใดปรารถนาชีวิตนิรันดรต้องทำลายชีวิตปัจจุบันเสีย

                พิธีกรรมสำคัญ  มีอยู่เจ็ดพิธีด้วยกัน (Seven Sacraments) ดังนี้
                    พิธีศีลจุ่ม (Baptism)  หรือพิธีล้างบาป มีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนที่เกิดมามีบาปติดตัวมา เพราะสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ทำบาปคือ อาดัมและอีฟ ดังนั้นเด็กเกิดใหม่หรือผู้ที่เข้าเป็นชาวคริสต์ทุกคน จะต้องให้บาทหลวงทำพิธีดังกล่าวเพื่อจะได้เป็นผู้บริสุทธิ์ ทั้งเป็นการปฎิบัติตามอย่างพระเยซู เพราะเมื่อท่านมีอายุได้ ๓๐ ปี ได้มอบตัวเป็นศิษย์ของนักบวชผู้หนึ่งชื่อ โยฮัน ด้วยการรับพิธีศีลจุ่ม ที่แม่น้ำจอร์แดน เป็นการประกาศตัวเป็นศิษย์โดยเฉพาะเป็นผู้เข้าถึงพระเจ้า
                    ในสมัยโบราณจะทำพิธีศีลจุ่มกับเด็กอายุไม่เกินเจ็ดปี แต่ปัจจุบันทำพิธีดังกล่าวกับเด็กอายุสามเดือนถึงเก้าปี มีบาทหลวงเป็นผู้ประกอบพิธี
                    พิธีศีลมหาสนิท  เด็กอายุประมาณสิบปีขึ้นไปต้องเข้าพิธีรับศีลมหาสนิท มีบาทหลวงเป็นผู้ประกอบพิธีอุปกรณ์ที่ใช้มีเหล้าองุ่นและขนมปัง พิธีดังกล่าวสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์วันสุดท้ายก่อนถึงแก่กรรมของพระเยซู ท่านได้เลี้ยงขนมปังกับเหล้าองุ่นแก่ลูกศิษย์ทั้งสิบสองคน แล้วกล่าวว่านี่คือเลือด และเนื้อของเรา ผู้ใดกินขนมปังและดื่มน้ำองุ่นนี้เท่ากับได้มาอยู่กับเรา
                    พิธีศีลกำลัง  เป็นพิธีต่อจากศีลมหาสนิท เมื่อเด็กอายุประมาณ ๑๔ ขึ้นไป ควรเข้าพิธีศีลกำลังเพื่อให้มีจิตใจมั่นคงต่อศาสนา (พระเจ้า) โดยไม่เปลี่ยนแปลง
                    พิธีศีลสมรส หรือพิธีแต่งงาน  คู่สมรสควรไปทำพิธีกันในโบสถ์โดยมีบาทหลวงเป็นผู้ประกอบพิธี
                    พิธีสารภาพบาป  ทำพิธีในโบสถ์ ผู้สารภาพบาปคุกเข่าสารภาพบาปของตนต่อบาทหลวง แล้วบาทหลวงให้ผู้สารภาพบาปยืนยันความสำนึกในบาปของตน เตือนให้ระมัดระวังไม่ทำผิดอีก แล้งจึงประกาศให้อภัย
                    พิธีเจิมครั้งสุดท้าย  เป็นพิธีทำให้คนป่วยที่ใกล้สิ้นใจ เป็นการชำระบาปครั้งสุดท้ายเพื่อความบริสุทธิ์ของวิญญาณ ก่อนเดินทางไปสู่สถานพิพากษาในโลกหน้า เชื่อกันว่าพิธีดังกล่าวสามารถเพิ่มพลังแด่ดวงวิญญาณให้ชนะภูติผีปีศาจ ที่จะมาขัดขวางระหว่างการเดินทาง
                    พิธีบวช  เป็นพิธีของฝ่ายนักบวชที่หัวหน้าสงฆ์ทำให้แก่ผู้เข้าพิธีบวชแต่งตั้งให้เป็นบาทหลวง และมอบหน้าที่ธรรมทูต เพื่อเป็นตัวแทนพระเยซู

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์