ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางพระพุทธศาสนา

วัดพระปฐมเจดีย์

            วัดพระปฐมเจดีย์วรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง ฯ มีองค์พระปฐมเจดีย์เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เป็นเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีรูปลักษณะสัณฐานเป็นเจดีย์ทรงลังกา มีขนาดที่สำคัญดังนี้
                -  ความสูงจากพื้นดินถึงยอดมงกุฎ    ๑๒๐  เมตร
                -  ฐานโดยรอบยาว    ๒๓๕  เมตร
                -  คต (ระเบียง) โดยรอบยาว    ๕๖๒  เมตร
                -  กำแพงแก้วชั้นในโดยรอบยาว    ๙๑๒  เมตร
            ฐานเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส  มีชั้นลดขึ้นไปเป็นเจดีย์ มีระเบียงคตล้อมรอบเป็นวงกลม ที่ระเบียงคตตรงทิศทั้งสี่ มีวิหารประจำทิศ ถัดเข้าไปเป็นลานประทักษิณ แล้วเป็นฐานเป็นชั้นขึ้นไปจนถึงฐาน ต่อจากนั้นเป็นองค์ระฆัง ซึ่งมีรูปลักษณะเป็นรูประฆังปากผายคว่ำ มีช่องบัวใบเทศอยู่ระหว่างกึ่งกลางองค์ระฆังทั้งสี่ทิศ ถัดจากองค์ระฆังขึ้นไปเป็นบัลลังค์ เสาหานบัวถลาหน้ากระดาน ปล้องไฉนจำนวน ๒๗ ปล้อง ปลียอด เม็ดน้ำค้าง นพศุลและมงกุฎ
    ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
            ตามหลักฐานในคัมภัร์มหาวงศ์ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "ให้พระโสณเถระกับพระอุตรเถระ ไปยังสุวรรณภูมิ" สุวรรณภูมิในที่นี้น่าจะเป็นดินแดนที่เมืองนครปฐมตั้งอยู่ และสุวรรณภูมิน่าจะเป็นเมือง ตามความนิยมของการเรียกอาณาจักรในสมัยนั้น
            การสร้างพระปฐมสันนิษฐานว่า มีการสร้างและปฏิสังขรณ์มาแล้วอย่างน้อยสามครั้ง คือ
                -  สมัยสุวรรณภูมิ  เป็นการสร้างครั้งแรก เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓๐๐ - ๑๐๐๐
                -  สมัยทวารวดี  มีการสร้างเพิ่มเติม เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐๐๐ - ๑๖๐๐
                -  สมัยรัตนโกสินทร์  หลังจากถูกทิ้งร้างมานาน
            จากหลักฐานทางธรณีวิทยา บริเวณพรปฐมเจดีย์ในสมัยทวารวดี อยู่ห่างจากฝั่งทะเลประมาณ ๑๐ กิโลเมตร จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า มีซากเจดีย์ที่ถูกรื้อออกไปเพื่อสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพ ฯ  ถึงนครปฐมเป็นจำนวนมาก เหลือองค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งสูง ๑๙ วา ๒ ศอก นอกจากนั้นยังพบพุทธอาสน์ รอยพระพุทธบาทธรรมจักรศิลา รูปปั้น รวมถึงซากกุฏิพระสงฆ์ วิหารอยู่โดยรอบ แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งเมืองใหญ่
            องค์พระปฐมเจดีย์ถูกทิ้งร้างมานาน สันนิษฐานว่า ประมาณปี พ.ศ.๑๕๐๐ เป็นต้นมา อาจจะเนื่องจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่เมืองพุกาม มีลักษณะเดียวกันกับที่พบที่เมืองนครปฐม เช่น พระพิมพ์ในเงินเหรียญ รูปสังข์ รูปปราสาท ทั้งอานันทเจดีย์ที่เมืองพุกาม ซึ่งสร้างหลังสมัยพระเจ้าอนุรุทธที่ ๑ ก็มีแบบเช่นเจดีย์พระเมรุ ซึ่งอยู่ห่างจาดองค์พระปฐมเจดีย์ประมาณไม่เกิน ๑ กิโลเมตร
    พระปฐมเจดีย์กระทำปาฎิหารย์
            ได้มีผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหารย์ที่เกิดจากพระปฐมเจดีย์มีความว่า พระปฐมเจดีย์ก่อนที่จะสร้างขึ้นมานั้น ได้มีพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าเสด็จมาอยู่ที่นี้ ชาวบ้านเคยเห็นฉันพรรณรังสี ปรากฏขึ้นในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา สถานที่ชาวบ้านเห็นได้แก่ องค์พระปฐมเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ ที่พระโสณเถระ และพระอุตรเถระได้สร้างขึ้นไว้
            ในการสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ครั้งที่สองครอบองค์เดิม มีเรื่องที่กล่าถึงคือ เมื่อประมาณ พ.ศ.๕๖๘ พระยาพานได้ทำปิตุฆาต ฆ่าบิดาของตนโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นบิดา จึงปรึกษากับพระอริยสงฆ์ในตรั้งนั้น ได้รับคำแนะนำให้สร้างเจดีย์ใหญ่เท่านกเขาเหิน เพื่ออุทิศกุศลให้พระบิดา ต่อมาพระองค์ได้สมาทานศีล และอธิฐานจิตอยู่หนึ่งวัน เมื่อเวลาผ่านไปชั่วยามได้เกิดฉันพรรณรังสีปรากฏมีแสงสว่างไปทั่ว เห็นกันอยู่ทั่วกันทุกคน พระองค์จึงปรึกษาหารือกับเหล่าปุโรหิต ข้าราชการ ตลอดจนสมณพราหมณ์ และหาฤกษ์มหามงคลสร้างพระเจดีย์ และมีมติให้เริ่มสร้างในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปี พ.ศ.๕๖๙ ได้สร้างพระปฐมเจดีย์ครอบเจดีย์องค์เดิม เป็นเจดีย์ทรงปรางค์สูง ๔๒ วา ๒ ศอก (สูงเท่านกเขาเหิน) พระปฐมเจดีย์ได้แสดงปาฏิหาริย์เป็นระยะตลอดมา
            ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๔ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้ามงกุฎ เมื่อครั้งผนวชอยู่ที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ได้เสด็จธุดงพร้อมด้วยคณะสงฆ์มายังเมืองนครปฐม ทรงสังเกตุลักษณะและขนาดองค์พระปฐมเจดีย์ แล้วเห็นว่าเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ และน่าจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ จึงทรงอธิฐานว่า ถ้ามีพระบรมสารีริกธาตุ ขอเทพยดารักษาจงได้แบ่งให้สักสององค์ เพื่อนำไปบรรจุพระพุทธรูปที่สร้างใหม่
            หลังจากที่พระองค์เสด็จกลับมาประมาณเดือนเศษ คืนหนึ่งขณะที่พระสงฆ์สวดมนต์ที่หอวัดมหาธาตุ ได้เกิดควันสีแดง กลิ่นหอมเหมือนควันธูป จนพระพุทธรูปแลดูเหมือนสีนาก วันรุ่งขึ้นจึงไปกราบทูลให้ทรงทราบ พระองค์จึงเสด็ไปทอดพระเนตรพระพุทธรูปเนาวรัตน์ที่พระองค์ได้ทรงสร้างไว้ พบพระบรมสารีริกธาตุเพิ่มขึ้นจากเดิมสององค์ จึงโปรดให้บรรจุไว้ในพระสัมพุทธพรรณีองค์หนึ่ง ในเจดีย์สุวรรณผลึกอีกองค์หนึ่ง และเกิดแรงศรัทธามุ่งมั่นที่จะบูรณองค์พระปฐมเจดีย์ให้จงได้
            เมื่อพระองค์ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สองพรรษา จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้เริ่มลงมือก่อสร้างปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ ในปี พ.ศ.๒๓๙๖ โดยโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ เป็นแม่กอง เมื่อสมเด็จเจ้าพระยา ฯ ถึงแก่พิราลัย ก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี เป็นแม่กองต่อไป
            เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๔๐๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดพระปฐมเจดีย์ เพื่อก่อพระเจดีย์เป็นปฐมฤกษ์โดยทางเรือ ๒๕ มีนาคม ๒๔๐๐ ทรงก่อพระปฐมเจดีย์เป็นปฐมฤกษ์ โปรดเกล้าให้ชายฉกรรจ์ที่อาศัยอยู่ปริเวณใกล้เคียงกับองค์พระปฐมเจดีย์ ถวายเป็นข้าพระ ๑๒๖ คน และทรงตั้งผู้ดูแลรักษา พระราชทานนามว่า ขุนพุทธเกษตรานุรักษ์ และมีผู้ช่วยพระราชทานนามว่า ขุนพุทธจักรรักษาสมุหบัญชี พระราชทานนามว่า หมื่นฐานาภิบาล ทรงยกค่านาและสมพัสสร ที่ใกล้วัดขึ้นเป็นกัลปนาขึ้นวัด ทรงถวายนิตยภัตแล้วเสด็จกลับพระนคร
            การปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นการสร้างพระเจดีย์ใหญ่ครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ภายใน เปลี่ยนจากรูปทรงบาตรคว่ำ มีพุทธบัลลังค์เป็นฐานสี่เหลี่ยม มียอดนพศูลและมหามงกุฎไว้บนยอด องค์พระเจดีย์ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง
            พระปฐมเจดีย์ได้มีปรากฏการณอันให้เห็นถึงป่ฏิหาริย์ปรากฎแก่สายตาผู้พบเห็นเป็นจำนวนมาก เท่าที่ได้มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน พอประมวลได้ดังนี้คือ
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นปาฏิหาริย์ที่ยอดปรางค์ที่พระยาพานสร้างไว้รวม ๖ ครั้ง
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นปาฏิหาริย์ที่องค์ระฆังคว่ำปัจจุบันรวม ๓ ครั้ง
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นปาฏิหาริย์ที่องค์พระปฐมเจดีย์รวม ๒ ครั้ง
สถาปัตยกรรมและสิ่งสำคัญ
            เริ่มจากประตูด้านทิศเหนือ ได้แก่ บันไดนาคตรงกลางพื้นปูหินอ่อน ๒ ข้าง เป็นราวบันไดนาคเลื้อยแผ่พังพานแบบศิลปะขอม สร้างไว้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อขึ้นไปถึงชั้นลด จะมีศาลาพักอยู่ทั้งสองข้าง นอกจากนั้นยังมีบันไดทางขึ้นอีกสองบันไดออกไปทั้งสองข้าง ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกมีระฆังใหญ่ ถัดจากชั้นลดขึ้นไปเป็นบันไดนาคเช่นกัน ต่อขึ้นไปเป็นลานเจดีย์ ซึ่งมีหอระฆังอยู่โดยรอบจำนวน ๒๔ หอ
            บนลานชั้นนี้มีวิหารทิศสี่วิหาร มีพระระเบียงเชื่อมต่อกันเป็นลักษณะวงกลม ที่ผนังระเบียงคตด้านในมีคาถาพระธรรมบท เป็นภาษาขอมทำด้วยปูนปั้น หน้าต่างมีช่องรูปวงรี ตัวหน้าต่างด้านในปิดทอง บนพื้นชาดเป็นรูปต้นไม้ในพุทธประวัติ ถัดจากระเบียงคตเข้าไปเป็นลานชั้นในแล้วเป็นฐานองค์พระเจดีย์ และมีบันไดขึ้นไปลานประทักษิณได้


            วิหารทิศเหนือหรือวิหารพระร่วง   วิหารพระร่วงเป็นที่ประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ฯ แบ่งออกเป็นสามห้องคือ วิหารพระร่วง ถัดเข้าไปเป็นห้องพระประสูติ และห้องในสุดเป็นพระปางปาลิไลยกะ
            พระร่วงโรจนฤทธิ์  เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ สูง ๑๒ ศอก ๔ นิ้ว ประดิษฐานอยู่ในฐานอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช ได้พบพระพุทธรูปองค์นี้ที่เมืองศรีสัชนาลัย - สุโขทัย เมือปี พ.ศ.๒๔๕๑ อยู่ในสภาพชำรุดเสียหาย จึงโปรดให้อัญเชิญมากรุงเทพ ฯ เมื่อพระองค์ขึ้นเสวยราชย์แล้ว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการพระราชพิธีสถาปนาพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นที่วัดพระเชตุพน ฯ   เมื่อปี พ.ษ.๒๔๕๖ แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานที่พระวิหารด้านทิศเหนือขององคืพระปฐมเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๗ เสร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ.๒๔๕๘ และถวายพระนามเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงระบุไว้ในพระราชพินัยกรรมว่า ให้นำพระราชบรมราชสรีรังคารส่วนหนึ่ง มาบรรจุไว้ที่หลังองค์พระร่วงโรจนฤทธิ์


            ต้นศรีมหาโพธิจากพุทธคยา    ต้นศรีมหาโพธิอยู่ทางด้านมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ เป็นต้นศรีมหาโพธิที่ ดอกเตอร์ ยอห์น สไคว์ นำเมล็ดจากต้นโพธิที่พุทธคยามาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้เพาะแล้วพระราชทานไปยังพระอารามที่สำคัญในประเทศไทยแห่งละต้น สำหรับองค์พระปฐมเจดีย์พระราชทานมาห้าต้น ปลูกไว้ที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันตกเฉียงเหนือ มุมละหนึ่งต้น และบนลานหน้าวิหารพระนอนอีกหนึ่งต้น
            นอกจากนี้ยังมีรางน้ำมนต์ อันเป็นโบราวัตถุสมัยทวารวดีอยู่สามราง ตั้งอยู่ตรงบันไดจะลงไปที่ต้นตะกร้อหนึ่งราง และอยู่ใกล้ทางลงไปยังชั้นลดด้านทิศตะวันออกอีก ๒ ราง แสดงว่าในบริเวรนี้เคยมีศาสนาพราหมณ์มาก่อน
    วิหารด้านทิศตะวันออกหรือวิหารหลวง
            วิหารด้านทิศตะวันออกมีอยู่ ๒ ห้อง  ห้องนอกมีพระพุทธรูปปางตรัสรู้อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ที่ผนังด้านหลังพระพุทธรูปเหนือขึ้น ไปเป็นจิตรกรรมฝาผนังสีน้ำมัน รูปต้นพระศรีมหาโพธิเหมือนจริง ห้องในด้านทิศตะวันออกเป็นภาพจิตรกรรมองค์พระปฐมเจดีย์องค์เดิม และองค์ปัจจุบันตัดขวางซ้อนกัน แสดงให้เห็นลักษณะการสร้างแต่สมัยแรกจนถึงปัจจุบัน เหนือขึ้นไปเป็นจิตรกรรมรูปเทวดา ถัดมาที่ผนังทั้งสองด้านคือ ด้านทิศเหนือ และด้านทิศใต้เป็นภาพคนธรรท์ นักสิทธิ์ ฤาษี ครุฑ นาค พนมมือบูชาไปยังองค์พระปฐมเจดีย์ ด้านละสองแถวเรียงซ้อนกันเป็นสองชั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เขียนภาพเหล่านี้ขึ้น
           แท่นบูชา  ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของห้อง เป็นพระแท่นสำหรับวางเครื่องนมัสการบูชาองค์พระปฐมเจดีย์ เป็นที่สำหรับประกอบพระราชพิธีบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ปูด้วยหินอ่อน ด้านซ้ายและขวาประดับด้วยปูนปั้นรูปหัวกวาง มีเขากวางจริงประดับ ส่วนฐานที่มุมบนมีปูนปั้นรูปหัวสิงห์ประดับ ที่มุมส่วนฐานประดับด้วยปูนปั้นรูปเท้าสิงห์

            พระพุทธสิหิงค์  จากแท่นบูชา มองสูงขึ้นไปทางองค์พระปฐมเจดีย์จะเห็นพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่ในซุ้มรูปทรงแบบไทย ลายเป็นฝรั่งผสมจีน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จำลองจากพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งประดิษบานอยู่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ในพระบวรสถานมงคล (วังหน้า) แต่ขยายให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม หล่อด้วยโลหะขนาดหน้าตักกว้างสองศอกสิบนิ้ว
            เกย  อยู่ตรงกับประตูกำแพงชั้นในด้านทิศตะวันออก เกยอยู่ตรงกลางยื่นออกมาจากฐานแคบ ๆ  ด้านข้างของชานเป็นบันไดขึ้นบนเกย จากชานมีซุ้มบันไดขึ้นไปบนชั้นลด พ้นบันไดขึ้นไปหน้าซุ้มประตูมีทวารบาล เกยนี้เป็นสถานที่ที่พระมหากษัตริย์เสด็จมาโดยเสลี่ยงจากวังปฐมนคร (พระที่นั่งปฐมนคร) เสด็จมาขึ้นเกยที่ตรงนี้ แล้วเสด็จขึ้นบันไดไปยังพลับพลาเปลื้องเครื่อง เพื่อเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นชุดขาว จากนั้นจึงเสด็จไปนมัสการที่แท่นบูชาในพระวิหารหลวง ที่เชิงบันไดระหว่างชั้นลด ทับลานเจดีย์ชั้นบนจะมีช้างหมอบ และราวบันไดเป็นรุปตัวนาค ที่ซุ้มประตูและพลับพลาเปลื้องเครื่องมีตรามหาพิชัยมงกุฎประดับ
            ทวารบาล  เป็นรูปคนนุ่งโจงกระเบนสีน้ำเงิน ผิวกายสีน้ำตาล เฝ้าประตูช่องบันไดด้านละสองตน ซุ้มช่องบันไดขึ้นนี้ ส่วนบนเป็นรูปรีเหนือขึ้นไปเป็นตรามหาพิชัยมงกุฎ

          พลับพลาเปลื้องเครื่อง  วางตัวอยู่ในแนวเหนือ - ใต้ หน้าพลับพลาหันเข้าหาองค์เจดีย์ หน้าบันไดด้านทิศเหนือ และใต้ มีตรามหาพิชัยมงกุฎประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนองค์พลับพลาทรงไทย ประดับด้วยศิลปะผสมระหว่างไทย จีน และตะวันตก
          พระอุโบสถ  อยู่บนลานขึ้นลด หน้าพระอุโบสถหนันไปทางทิศหนือ ในพระอุโบสถมีพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สลักด้วยศิลาขาวสมัยทวารวดี ซึ่งนำมาจากวัดพระเมรุ พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทบนฐานกลีบบัวเรียกว่า ภัทรอาสน์ พระหัตถ์วางหงายอยู่พระเพลา พระหัตถ์ขวาหงายอยู่บนลำตัว พระพุทธรูปองค์นี้เรียกชื่อทั่วไปว่า พระพุทธรูปศิลาขาว ที่มุมพระอุโบสถทั้งสี่มุม เป็นใบเสมาหินอ่อนจากเมืองคาราราร์ ในประเทศอิตาลี สลักเป็นรูปท้าวจตุโลกบาลติดกับตัวพระอุโบสถ เป็นผลงานของสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ศิลปสกุลช่างหลวงในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้สร้างผลงานศิลปกรรมไว้ที่องค์พระปฐมเจดีย์หลายชิ้น
    วิหารด้านทิศใต้

            วิหารด้านทิศใต้  วิหารด้านทิศใต้ มีอยู่สองห้องเช่นกัน ห้องนอกมีพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา พร้อมปัจวัคคีย์ ห้องในมีพระพุทธรปปางนาคปรก
            เสาประทีป  เป็นเสาสำหรับตามไฟให้สว่าง ตั้งอยู่บนลานหน้าวิหาร
            เจดีย์จำลองที่ชั้นลด  ที่ชั้นลอด้านทิศใต้ มีสิ่งสำคัญอยู่สามสิ่งคือ ลานด้านทิศตะวันออก จะเป็นองค์พระปฐมเจดีย์องค์เดิมจำลอง ถัดมาตรงกลางเป็นพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท สมัยทวารวดี เรียกกันว่า  พระพุทธรูปศิลาขาว ขนาดและรูปลักษณะคล้ายกับพระประธานในพระอุโบสถ ได้รับการถวายพระนามว่า พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศวมัยมุนี ศรีทวารวดี ปูชนียบพิตร ถัดมาทางด้านทิศตะวันตกจะเป็นพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชจำลอง
    วิหารด้านทิตะวันตก

            วิหารด้านทิศตะวันตกมีสองห้ง ห้องแรกเป็นวิหารพระนอน ห้องนอกเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ห้องในเป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพาน
            ต้อนศรีมหาโพธิ  อยู่หน้าวิหารพระนอน มีต้นโพธิเพาะจากเมล็ดต้นศรีมหาโพธิจากอินเดีย ปลูกอยู่ในกะเปาะ มีขนาดไม่ใหญ่นัก
            ต้นไม้สำคัญในพุทธประวัติ  ที่ชั้นลดด้านทิศตะวันตก มีต้นศรีมหาโพธิ ซึ่งนำเมล็ดจากพุทธคยามาปลูกไว้ที่หน้าพระวิหารพระนอน นอกจากนั้นยังมีต้นไม้สำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ปลูกไว้คือ
                -  ไม้ราชายตน (ไม้เกต)  เป็นต้นไม้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าได้รับสตูก้อนผงของปุสสะ และภัลสิกะ หลังจากตรัสรู้ได้ ๔๘ วัน
                -  ไม้นิโครธ หรือ อชปาลนิโครธ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ร่มเป็นเวลาเจ็ดวันหลังจากที่ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ
                -  ไม้พหูปุตตนิโครธ (ต้นกร่าง) เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับ แล้วได้พบพระมหากัสสป
                -  ไม้มุจลินท์ (ต้นจิก)  เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับแล้วเกิดฝนตกหนัก พญานาคจึงทำกายขดวงให้ล้อมพระพุทธเจ้าไว้ แล้วแผ่พังพานบังฝนไม่ให้ตกมาต้องพระองค์
                -  ไม้สาละ  เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประสูติ และปรินิพพาน และเป็นต้นไม้ที่ประทับใต้ร่ม ก่อนตรัสรู้
                -  ไม้ชมพู หรือไม้หว้า  เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับ เมื่อตามพระราชบิดาไปแรกมาขวัญ เมื่อครั้งทรงพระเยาว์
                -  ไม้อัมพวา หรือมะม่วง  เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าแสดงยมกปฏิหาริย์
            ลายปูนปั้น  ที่ผนังชั้นลดด้านตะวันตก จะมีรูปเทพในรูปลักษณะต่าง ๆ
            องค์พระปฐมเจดีย์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ เป็นสำดับที่หนึ่งของจังหวัดนครปฐม
    พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองนครปฐม

            พระพุทธรูปศิลาขาว  เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดีปางปฐมเทศนา ประทับนั่งห้วยพระบาท มีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาสามเท่า ขุดพบสี่องค์ที่วัดพระเมรุ ซึ่งเป็นวัดเก่าสมัยทวารวดี มีอายมากว่าหนึ่งพันปี ตั้งอยู่ที่สวนนันทอุทยาน ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมือง ฯ ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศใต้ไม่ไกลนัก
องค์ที่สมบูรณ์ได้อัญเชิญมาประดิษบานไว้เป็นพระประทานในอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
            พระพุทธรูปศิลาขาว  เป็นที่เคารพนักถือของชาวไทยสืบมานานนับพันปี

            พระร่วงโรจนฤทธิ์  เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบพระเศียรและพระหัตถ์ของพระพุทธรูปที่เมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ช่างปั้นองคืพระขึ้นใหม่ แล้วโปรดให้นำมาประดิษฐานไว้ที่องค์พระปฐมเจดีย์ ด้านซุ้มทิศเหนือ พระราชทานนามว่า พระร่วงโรจนฤทธิ์ ฯ ที่ใต้ฐานชุกชึที่ประดิษบานพระร่วงโรจนฤทธิ์ เป็นที่บรรจุพระสรีรังคารของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

            หลวงพ่อวัดไร่ขิง  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๒ นิ้ว ตามตำนานหล่าวว่า พระพุทธรูปองค์นี้ลอยน้ำมา ชาวบ้านได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ทีวัดศาลาปูน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อครั้งสร้างวัดไร่ขิง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๔ สมเด็จุฒาจารย์ (พุก ป.ธ.๓) ผู้สร้างวัดเป็นชาวนครชัยศรี และได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ครองวัดศาลาปูน เมื่อครั้งเป็นพระธรรมราชานุวัตร เป็นเจ้าคณะใหญ่มณฑลกรุงเก่า ได้กลับมาสร้างวัดไร่ขิง และได้อัฐเชิญพระพุทธรูปองค์หนึ่งจากวัดศาลาปูน นำล่องแพไม่ไผ่มาตามลำน้ำ และอัฐเชิญไปประดิษฐานที่อุโบสถวัดไร่ขิง

            พระศรีศากยทศพลญาฌ ฯ  โดยทั่วไปนิยมเรียกกันว่า พระใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางลีลา ที่มีความงามด้วยพุทธศิลปแบบสุโขทัย สูง ๒,๕๐๐ (๑๕.๘๗๕ เมตร) หล่อด้วยโลหะรมดำ ประดิษฐานเป็นพระประฐา ฯ พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓  แล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ ศาสตราจารน์ ศิลป์ พีระศรี  เป็นผู้อกกแบบสร้างขึ้นในโอกาสที่เฉลิมฉลองพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาครบ ๒๕ พุทธศตวรรษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า พระศรีศากยทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์

            พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดนครปฐม  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปรัตนโกสินทร์ หน้ากว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐ เซนติเมตร มีฐานบัวหงายรองรับ มีพุทธลักษณะที่งดงามอย่างยิ่ง ผู้ที่ออกแบบปั้นคือ นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ จากกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ช่างเททองหล่อพระพุทธรูปขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ และพระราชทานนามว่า พระพุทธนวราชบพิตร ที่ฐานบัวหงายขององคืพระ ได้บรรจุพระพิมพ์เล็กไว้หนึ่งองค์ คือ  สมเด็จจิตรลา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นด้วยพระองค์เอง ประกอบด้วยเส้นพระเกษา ชันยาเรือในพระองค์ และผงศักดิ์สิทธิ์จากจังหวัดต่าง ๆ ทุกจังหวัด
    มรดกทางพระพุทธศาสนาอื่น ๆ
            มรดกทางพระพุทธศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ วัดพระเมรุ พระประโทนเจดีย์วรวิหาร  เจดีย์ประโทน  เนินพระ วัดพระงาม  อุโบสถหลังเก่าวัดบางพระ วิหารวัดพระศรีมหาโพธิ์ อุโบสถวัดละมุด วิหารเก่าวัดห้วยพลู วัดไทร วัดกลางบางแก้ว วัดโคกพระเจดีย์ วัดท่าพูด วัดสรรเพชญ์  วัดพระประโทนเจดีย์ วัดธรรมศาลา วักไร่ขิง วัดดอนหวาย จารึกทวารวดี (จารึก เยมฺมา ฯ จารึกธรรมจักร จารึกวัดโพธร้าง)  จารึกสมัยสุโขทัย (จารึกพ่อขุนรามพล จารึกบนเสาศิลาห้าเหลี่ยม)  จารึกสมัยอยุธยา (จารึกบนแผ่นอิฐมอญที่ฝาผนังวัดท่าพูด)  จารึกสมัยรัตนโกสินทร์ (จารึกที่ฝาผนังระเบียงคตทั้งสี่ด้านขององค์พระปฐมเจดีย์ เป็นจารึกกถาธรรม จารึกที่หอระฆังขององค์พระปฐมเจดีย์ ฯลฯ รายละเอียดมีอยู่ในเรื่องมรดกทางวัฒนธรรม

| ย้อนกลับ | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์