ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

แหล่งประวัติศาสตร์
            เขาวัง  อยู่ในเขตอำเภอลานสกา เป็นเมืองยุคแรกเมืองหนึ่งของนครศรีธรรมราช
            เมืองท่าเรือ  เป็นเมืองนครศรีธรรมราช ยุคที่ ๒
            เมืองพระเวียง  เป็นเมืองนครศรีธรรมราช ยุคที่ ๓
            วัดควนสูง  อยู่ในเขตอำเภอฉวาง เป็นที่ฝังมหาสมบัติของเจ้าสามจอม ผู้นำสมบัติมาร่วมบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุ เมื่อปี พ.ศ.๑๗๙๐ และได้สร้างพระวิหารสามจอม ไว้ถวายองค์พระบรมธาตุ ต่อมาพระวิหารนี้ได้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช จึงเรียกว่า วิหารธรรมโศกราช
            ทับเจ้าพระยา  เป็นที่ตั้งกองทัพเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๙ ที่หนีพม่าจากสงครามเก้าทัพ ได้อพยพผุ้คนพร้อมทหาร และมหาสมบัติในท้องพระคลังไปอยู่บริเวณนอกเขา มีพื้นที่ประมาณ ๑,๐๐๐  ไร่ ในเขตอำเภอพอปูน ฉวางและกิ่งอำเภอช้างกลางในปัจจุบัน
โบราณสถาน
            เขาคา  เป็นโบราณสถานทางพุทธศาสนาพราหมร์ อยู่ในเขตอำเภอสิชล สันนิษฐานว่า ส้รางขึ้นในราชวงศ์ไศเลนทร์ อาณาจักรศรีวิชัย มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๔ ได้มีการขุดแต่งแล้ว

            หอพระศิวะ  อยู่ในตัวเมืองปัจจุบัน เป็นศาสนาสถานในศาสนาพราหมณ์นิกายไศวะ ภาพในหอมีศิวลึงค์บนแท่นโยนิโทรณะ ภายนอกด้านใต้ของหอ มีเสาชิงช้าจำลองแทนของเดิม ซึ่งมีขนาดใหญ่มากทำด้วยไม้ตะเคียนทอง สำหรับประกอบพิธีโล้ชิงช้า เชิญเสด็จพระอิศวรลงมายังโลกมนุษย์
            หอพระนารายณ์  ตั้งอยู่ตรงข้ามกับหอพระศิวะ เป็นที่ตั้งพระวิษณุศิลา ซึ่งเป็นภาคหนึ่งของพระนารายณ์ เป็นศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์นิกายไวษยณพ หรือผู้นับถือพระวิษณุ

            กำแพงเมือง  พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ยาว ๕๕ เส้น ๕ วา กว้าง ๑๑ เส้น ๑๐ วา ล้อมรอบเมืองคามพรลิงค์ นายช่างและคนงานเป็นชาวอินเดียฝ่ายใต้ มีประตูเมืองสำคัญอยู่สองประตูคือ ด้านทิศเหนือชื่อ ประตูไชยศักดิ์ ด้านทิศใต้ชื่อประตูไชยสิทธิ์  ต่อมาได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมาก สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้โปรดให้นายทหารชาวฝรั่งเศสชื่อ เดอลาร์มา มาสร้างขึ้นใหม่ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๒๓๐ - ๒๒๓๕ ในสมัยที่พระยารามเดโชเป็นเจ้าเมือง ปัจจุบันเหลือกำแพงทางด้านทิศเหนืออยู่ประมาณ ๑๐๐ เมตร ส่วนด้านอื่นถูกรื้อไปสร้างถนนราชดำเนิน
โบราณวัตถุ
            ศิลาจารึก  ศิลาจารึกหลักสำคัญของนครศรีธรรมราชคือศิลาจารึกหลักที่ ๒๔ วัดเสนาเมือง กล่าวถึงการประกาศอิสระภาพของพระเจ้าจันทรภาณุราชา ผู้ครองนครศรีธรรมราช เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๗๓ ซึ่งในยุคนี้ เมืองนครศรีธรรมราชมีเมืองบริวาร เป็นเมืองขนาดใหญ่ถึง ๑๒ เมือง แต่ละเมืองใช้รูปนักษัตรเป็นสัญญลักษณ์ประจำเมือง เรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร

            ศิวลึงค์  เป็นรูปเคารพแทนองค์พระศิวหรือพระอิศวร ผู้สถิตย์อยู่บนเขาไกรลาส เป็นเทพสูงสุด หนึ่งในสามองค์ของพราหมณ์ พบอยู่ทั่วไปในชุมชนพราหมณ์นิกายไศวะยุคแรก ที่โมคลาน อำเภอท่าศาลา และที่โบราณสถานเขาคา อำเภอสิชล กับที่ในอำเภอเมือง ฯ สันนิษฐานว่า ศิวลึงค์คือที่มาของชื่ออาณาจักรตามพรลิงค์ของนครศรีธรรมราช

            หัวนะโม  เป็นวัตถุทรงกลม มีตัวอักษร กล่าวกันว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช สร้างหัวนะโมไว้ด้วยพิธีกรรมอันสูงส่งของพราหมณ์  โดยอัญเชิญเทพเจ้าทั้งสามคือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม มาสถิตในหัวนะโม เพื่อเอาไปฝังหว่านรอบเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อป้องกันโรคห่าระบาด  ปัจจุบันหัวนะโม ถือเป็นเครื่องรางของขลัง หรือวัตถุมงคลชื้นเอกของนครศรีธรรมราช
ย่านประวัติศาสตร์
            ท่าวังวรสินธู  เรียกกันว่า ท่าวัง มีอาคารที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงรัชสมัยพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารกึ่งยุโรปกึ่งจีน ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในสิงคโปร์ มลายู และในภาคใต้ ของไทยในสมัยนั้น
            วัดท่าโพธิ์  เป็นแหล่งการศึกษาสำคัญของเมืองนครศรีธรรมราชและเป็นท่าเรือสำคัญ
            ท่าแพ  เป็นที่ตั้งกองทัพภาคที่ ๔ และเป็นสมรภูมิสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น ในสงครามมหาเอเซียบูรพา เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔
            บริเวณบ้านท่าเรือ  เคยเป็นท่าเรือโบราณและเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณของเมืองนครศรีธรรมราช
ศิลปกรรม
            ประติมากรรม  มีประติมากรรมหลายรูปแบบ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันคือ
                -  เทวรูปในศาสนาพราหมณ์ เช่น พระศิวะ พระนารายณ์ พระพิฆเนศวร์
                -  พระพุทธรูปแกะสลักไม้สมัยอยุธยาตอนปลาย สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์
                -  พระพุทธรูปประธาน ในพระวิหารหลวง และพระพุทธรูปในห้องมหาสมบัติ พระบรมราชา หรือพระเจ้าแตงโม เป็นต้น
                -   งานประติมากรรม ทับเกษตรด้านในทางขึ้นพระบรมธาตุเจดีย์
                -  การแกะสลักไม้หน้าจั่วพระอุโบสถวัดสะเรียง ฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย
                -  งานแกะสลักรูปหนังตะลุง
            จิตรกรรม ได้แก่ จิตรกรรมภายในอุโบสถวัดชายนา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง ฯ เป็นภาพเขียนสมัยรัตนโกสินทร์
                -  จิตรกรรมบนไม้กระดานคอสองระหว่างเสาในพระอุโบสถเก่า วัดท้าวโคตร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง ฯ
                -  จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถลายดอกไม้ร่วง ที่วัดวิหารสูง ตำบลคลัง อำเภอเมือง ฯ
                -  จิตรกรรมที่วิหารเขียน วัดพระมหาธาตุ ฯ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง ฯ
                -  จิตรกรรมในหนังสือบุด ภาพพระบฎ ตู้พระธรรมอีกเป็นจำนวนมาก

            เครื่องถม  เป็นศิลปหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงมากของนครศรีธรรมราช ทำโดยใช้ผงยาถมผสมน้ำประสานทอง ถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะ หรือเครื่องประดับ แล้วขัดผิวให้เงางาม
            เครื่องถมนครมีกำเนิดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา การทำเครื่องถมนครมีสองแบบคือ ลงยาถมเรียกว่า ถมเงิน แบบหนึ่ง เป็นแบบที่ทำสืบทอดมาแต่โบราณและลงยาสีเรียกว่า ถมทอง หรือถมตะทอง อีกอย่างหนึ่งเป็นแบบที่มีขึ้นชั้นหลัง เครื่องถมนครได้ทำเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น แหวน กำไล ปิด เชี่ยนหมาก ขันน้ำพานรอง หีบทองลงยา ดาบฝักทอง
            ด้วยเหตุที่เครื่องถมนครเป็นงานที่มีฝีมือดีมาก จึงได้ใช้เป็นเครื่องบรรณาการครั้งสำคัญ ทั้งในประเทศและต่างประเทศหลายครั้ง กล่าวคือ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงมีรับสั่งให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชส่งช่างถมฝีมือดีไปยังกรุงศรีอยุธยา เพื่อทำไม้กางเขนถมส่งไปพระราชทานสันตปาปาที่กรุงวาติกัน ทำเครื่องถมถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝั่งเศส ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) นำพระเสลี่ยงหรือพระราชยานถมและพระแท่นถม น้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง) ได้นำเรือพระที่นั่งกราบถม กับพระเก้าอี้ถมซึ่งใช้เป็นพระที่นั่งภัทรบิฐถวายสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ได้ทรงรับสั่งให้เมืองนครศรีธรรมราช ทำเครื่องถมหลายชิ้นส่งไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย แห่งประเทศอังกฤษ และส่งไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ ๓ แห่งฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม) ทำพระแท่นพุดตานถม เพื่อตั้งในท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำชุดน้ำชาถมทองไปพระราชทานประธานาธิบดีไอเซนฮาวน์ แห่งสหรัฐอเมริกา
            การสืบทอดวิธีทำเครื่องถม เดิมสืบทอดกันแบบพ่อสอนลูก ครูสอนศิษย์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระรัตนธัชมุนี (ม่วง) เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราชในเวลานั้น ได้ตั้งโรงเรียนช่างถมขึ้น และได้พัฒนาต่อมาเป็นวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช สืบทอดความรู้ในการทำเครื่องถมต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ภาษาและวรรณกรรม
            ภาษาและวรรณกรรมของนครศรีธรรมราชมีหลักฐานเริ่มจากการทำศิลาจารึกในพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐ จารึกอักษรปัลลวะ หรืออินเดียใต้ เช่น ศิลาจารึกหุบเขาชองคอย ในระยะต่อมาพบจารึกและบันทึกภาษาขอม ภาษาบาลี ภาษาสันสฤกต ภาษาไทยภาคกลาง ภาษายาวีของชาวไทยอิสลาม ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ
            นอกจากนั้นยังมีภาษาปักษ์ใต้ที่มีอิทธิพลต่อสำนวนภาษาในศิลาจารึกสุโขทัย พงศาวดารอยุธยา วรรณคดีสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์
    ภาษานครศรีธรรมราช
            เป็นภาษาที่ใช้คำสั้น ๆ ตรงกับลักษณ์การใช้สอย ความต้องการและความรู้สึกจึงมักตัดพยางค์หน้า หรือพยางค์หลังออก บางครั้งมีความจำเป็นต้องใช้คำควบกล้ำ ด้วยตรีอักษรหลายตัวเช่น เหล็กขูด ขึ้นพร้าว (ขึ้นมะพร้าว) จอกอ (มะละกอ)
            ได้มีผู้เสนอผลการศึกษาประวัติความเป็นมาของภาษาไทยถิ่นนี้ไว้ว่า ภาษานครศรีธรรมราชเป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการมาจากภาษาไทยสาขาสุโขทัย ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่ใช้พูดกันในนครศรีธรรมราชและสงขลา ภาษานครศรีธรรมราชได้วิวัฒนาการเป็นภาษาไทยปัจจุบัน หกถิ่นคือ กระบี่ นครศรีธรรมราช ทุ่งสง ตรัง ควนขนุน (พัทลุง) และหัวไทร แต่บางท่านแย้งว่า นครศรีธรรมราชทำศิลาจารึกหลักแรก เมื่อประมาณพุทธศตววรษที่ ๙ ก่อนศิลาจารึกของสุโขทัยที่ทำขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตววรษที่ ๑๙ ห่างกันประมาณ ๑,๐๐๐ ปี ดังนั้นสุโขทัยน่าจะได้รับวัฒนธรรมจากนครศรีธรรมราช ซึ่งรวมทั้งภาษาด้วย ภาษาสุโขทัยจึงน่าจะเป็นภาษาที่พัฒนาการมาจากภาษานครศรีธรรมราช ด้วยเหตุนี้คำบางคำในศิลาจารึกที่ชาวกรุงเทพ ฯ อ่านแล้วไม่เข้าใจแต่ชาวนครศรีธรรมราชเข้าใจเช่น ตีน (ปละตีน) หัวนอน (ปละหัวนอน)  โอย รอด ป่าหมาก ป่าพลู จะแจ ค้า หลาย ฯลฯ
                -  ภาษาถิ่น  จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นภาษาย่อยของภาษาไทย ที่ใช้พูดกันมั่วไปในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดใหญ่ มีประชาการจำนวนมาก จึงทำให้ภาษาถิ่นนครศรีธรรมราช มีความแตกต่างกันสามารถแบ่งเป็นภาษาถิ่นย่อย ๆ ได้อีก โดยถ้าใช้เสียงวรรณยุกต์เป็นตัวแบ่ง ก็จะได้เป็นกลุ่มที่มีวรรณยุกต์หกเสียง และกลุ่มที่มีวรรณยุกตเจ็ดเสียง ถ้าใช้พยัญชนะควบกล้ำ มร, มล เป็นตัวแบ่งก็จะได้เป็นกลุ่มที่มีพยัญชนะควบกล้ำ มร, มล กับกลุ่มที่ไม่มีพยัญชนะควบกล้ำ มร, มล และการใช้พยัญชนะตัวสะกด ก เป็นตัวแบ่ง ก็จะได้กลุ่มที่ไม่มี ก สะกด และกลุ่มที่มี ก สะกด
                -  ระบบคำ  มีทั้งคำพยางค์เดียว และหลสยพยางค์ แต่ส่วนใหญ่ถ้าคำในภาษาไทยมาตรฐานเป็นคำหลายพยางค์ ภาษาถิ่นนครศรีธรรมราช มักจะตัดพยางค์ให้เหลือพยางค์เดียว เช่น คลาด เป็น หลาด สบาย เป็น บาย ขนม เป็น หนม
                -  การเรียงคำและประโยค  ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน แต่มี่บางคำที่เรียงสลับที่กัน เช่น ข้าวตัก - ตักข้าว
 หลวงตา - ตาหลวง เลือดออก-ออกเลือด
                    การเรียงคำ  มีลักษณะการเรียงคำในภาษาไทยโบราณเหลืออยู่คือ การเรียงคำนับจำนวนนำหน้านาม และคำนามมีลักษณะนามนำหน้า คือ คำนับจำนวน - ลักษณะนาม - นาม เช่น
                    สองบาททอง - ทองสองบาท  สามคันแรก - รถสามคัน   สองตัวหมู - หมูสองตัว
                    สิบลำเรือ - เรือสิบลำ   เงินร้อยหนึ่ง - เงินหนึ่งร้อย
    วรรณกรรม
            วรรณกรรมนครศรีธรรมราชแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้สองประเภทคือ วรรณกรรมมุขปาฐะ และวรรณกรรมลายลักษณ์

            วรรณกรรมมุขปาฐะ  เป็นวรรณกรรมที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งด้วยวิธีจดจำและเล่าสืบต่อกันมา ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ นิทานพื้นบ้าน ภาษิต ปริศนาคำทาย เพลงบอก โนรา หนังตะลุง เพลงกล่อมเด็ก เพลงพื้นบ้าน เพลงเรือ คำร้อยกรองที่ใช้ในพิธีกรรม คำร้อยกรองประกอบการเล่นของเด็ก

            วรรณกรรมลายลักษณ์  เป็นวรรณกรรมที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งออกเป็นวรรณกรรมคำสอน วรรณกรรม ศาสนา วรรณกรรมตำนาน และประวัติศาสตร์ วรรณกรรมตำรา วรรณกรรมนิทาน และวรรณกรรมแบบเรียน
    จารึก

            จารึกที่พบมีอยู่หลายหลัก ศิลาจารึกที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๙   อักษรที่ใช้บันทึกคือ อักษรปัลลวะ บาลีและสันสกฤต เช่น ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย และศิลาจารึกวัดมเหยงคณ์  นอกจากนี้ยังมีศิลาจารึกหลักสำคัญคือ ศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ และศิลาจารึกหลักที่ ๒๔ เนื่องจากเป็นศิลาจารึก ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาในระยะแรกของนครศรีธรรมราช ดังนี้
            ศิลาจารึกหลักที่ ๒๓  จารึกด้วยอักษรปัลลวะ เป็นภาษาสันสกฤต มีอักษรจารึกสองด้าน ด้านที่หนึ่งมี ๒๔ บรรทัด ด้านที่สองมี ๔ บรรทัด  ตัวศิลาจารึกทำด้วยหินทรายแดงเป็นแผ่นรูปใบเสมากว้าง ๕๐ เซนติเมตร สูง ๑๐๔ เซนติเมตร หนา ๙ เซนติเมตร สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพบ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ ครั้งที่พระองค์ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงนำจารึกหลักนี้มาจากตำบลเวียงสระ แขวงเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อคราวเสด็จตรวจราชการหัวเมืองชายทะเลตะวันตก ได้ประทานไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และได้นำมาตรวจอ่าน จารึกหลักนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่าจารึกวัดเสมาเมือง เนื่องจากได้มีพระสงฆ์รูปหนึ่งเป็นชาวนครศรีธรรมราชเห็นเข้า และจำได้ว่าเคยอยู่ที่วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
            เนื้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติความเป็นมาของเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวคือ ตามจารึกระบุ พ.ศ.๑๓๑๘ (มหาศักราช ๖๙๗) กล่าวถึงเรื่องบุญบารมีของพระราชาผู้ทรงคุณอันประเสริฐ  ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ แปลว่า พระเจ้ากรุงศรีวิชัย ผู้เป็นเจ้าแห่งราชาทั้งหลายในโลก ได้ทรงสร้างปราสาทอิฐสามหลังเป็นที่บูชาพระโพธิสัตว์ผู้ถือดอกบัว (พระโพธิสัตว์ปทุมปาณี)  พระผู้ผจญพญามาร (พระพุทธเจ้า) และพระโพธิสัตว์ผู้ถือวชิระ (พระโพธิสัตว์วชิรปาณี)  ทรงเป็นหัวหน้าแห่งราชวงศ์ไศเลนทร นามว่าศรีมหาราช โปรดให้สร้างเรือนอิฐสามหลังเหนือวิมานของพระวิษณุ พระศิวะ และพระอินทร์  พระราชาธิราชองค์นี้เปรียบเสมือนพระวิษณุ ได้รับถวายสมญาว่าพระวิษณุองค์ที่สอง เป็นต้นกำเนิดแห่งไศเลนทรวงศ์ ทรงนามศรีมหาราชา
            คำแปลในด้านที่สองของจารึก กล่าวถึงพระราชาธิราชผู้เป็นต้นกำเนิดของราชวงศ์ไศเลนทร ผู้ทรงนามศรีมหาราชาและ ได้รับการขนานพระนามว่า พระวิษณุองค์ที่สอง
            การพบศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ อาจแปลความหมายได้หลายประการด้วยกันคือ
                -  เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๔  กรุงศรีวิชัยหรืออาณาจักรศรีวิชัย มีเมืองหลวงอยู่ที่นครศรีธรรมราช
                -  เมืองนครศรีธรรมราชในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน มีศาสนสถานและ
ประติมากรรมรูปเคารพเนื่องในศาสนาอยู่ไม่น้อย
                -  เมืองนครศรีธรรมราชหรืออาณาจักรตามพรลิงค์ ในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ยังไม่มีพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช หรือยังไม่มีพระราชาพระองค์ใดอ้างตน เทียบเท่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช  ยังไม่มีการกล่าวถึงการสร้างพระสถูป เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีแต่การสร้างที่ประดิษฐานให้พระโพธิสัตว์
                -  อาณาจักรตามพรลิงค์ที่เชื่อกันว่า เป็นอาณาจักรโบราณในนครศรีธรรมราช อาจมีอายุไปถึงพุทธศตวรรษที่ ๘ และได้
กลายเป็นอาณาจักรศรีวิชัยในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ โดยมีราชวงศ์ไศเลนทรจากชวาภาคกลางเป็นผู้ปกครอง
                -  การพบศิลาจารึกที่วัดเสมาเมือง แสดงว่าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๔
                -  การนับถือพุทธศาสนาฝ่ายมหายานในเมืองนครศรีธรรมราช มีการนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกายควบคู่ไปด้วย
                -  ดินแดนแถบนี้ยอมรับนับถือไวษณพนิกายมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๑ แลัว
    ตำนาน
                -  ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช  เป็นตำนานอย่างนิทานท้องถิ่นเล่าเรื่อง ความเป็นมาของพระบรมสารีริกธาตุ ที่เสด็จมาสู่เมืองนครศรีธรรมราช ตลอดจนการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์  สันนิษฐานว่า แต่งเในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
                -  ตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช แต่งเป็นกลอนสวด ประกอบด้วยกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘  กล่าวถึงการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์
                -  ตำนานนางเลือดขาว  เป็นตำนานที่เล่ากันแพร่หลายในหลายจังหวัดภาคใต้ คือพัทลุง สงขลา ตรัง และนครศรีธรรมราช  ที่เกิดของตำนานคือบ้านพะเกิด ตำบลปากพะยูน จังหวัดพัทลุง  เมื่อพระนางเลือดขาวกับเจ้าพระยากุมารได้ปกครองเมืองพัทลุงแล้ว ได้ร่วมเดินทางไปกับคณะทูต ของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธสิหิงค์จากลังกามายังนครศรีธรรมราช และได้สร้างสาธารณประโยชน์ไว้ในเมืองนครศรีธรรมราชหลายแห่ง
                -  ตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช  เรียบเรียงขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๒๗๗ เนื่องจากพิธีพราหมณ์และผู้ปฏิบัติศาสนาพราหมณ์ ในเมืองนครศรีธรรมราช เริ่มเสื่อมโทรมลง และกำลังจะหายสาบสูญ ขุนพรหมสุทธิชาติ ขุนยศ และขุนสาสุเทพ จึงแต่งขึ้นเพื่อมอบแก่ปลัดเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อให้ช่วยทำนุบำรุงศาสนาพราหมณ์ตามจารีตสืบไป
    ตำรา
            นครศรีธรรมราชมีตำราต่าง ๆ อันรวบรวมจากสรรพวิชาความรู้ที่สร้างสมกันมาเป็นเวลานาน  เป็นประโยชน์ต่อชุมชนทั้งในด้านระเบียบแบบแผน การเมือง  การปกครอง การทำมาหากิน และพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อความสงบสุขของสังคม ได้แก่ ตำราไสยศาสตร์ ดาราศาตร์ ตำราหมอดู ตำราพิชัยสงคราม ตำราลิลิตโองการแช่งน้ำ ตำราพิธีพราหมณ์ ตำราดูช้างเผือก ตำราคล้องช้างป่า ตำราสวดภานยักษ์ ตำราหนังสือเรียน ตำรายาแผนโบราณ
 

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์