ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

            จังหวัดนราธิวาส เดิมมีฐานะเป็นอำเภอคือ อำเภอบางนรา ขึ้นอยู่กับเมืองสายบุรี ต่อมาได้โอนไปขึ้นกับเมืองระแงะ ดังนั้นประวัติความเป็นมาของนราธิวาส จะต้องกล่าวถึงเรื่องราวของเมืองปัตตานี เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ
            ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลมหาราช พระองค์ได้มีรับสั่งให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ยกทัพหลวงมาปักษ์ใต้ เพื่อปราบปรามข้าศึกที่ยกเข้ามารุกรานพระราชอาณาเขตทางใต้ เมื่อปราบปรามข้าศึกได้ราบคาบแล้วจึงได้เสด็จไปประทับ ณ เมืองสงขลา แล้วมีรับสั่งไปยังหัวเมืองมลายูทั้งหลาย ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นกับกรุงศรีอยุธยามาแต่ก่อนให้มาอ่อนน้อมเหมือนเดิม
            พระยาไทรบุรีและพระยาตรังกานู ยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี แต่พระยาปัตตานีได้ตั้งแข็งเมืองไม่ยอมมาอ่อนน้อม พระองค์จึงรับสั่งให้ยกกองทัพลงไปตีเมืองปัตตานี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๒ ตีได้เมืองปัตตานี
            เมื่อได้เมืองปัตตานีแล้วได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาสงขลา (บุญฮุย) อัญเชิญตราตั้งให้พระยาจะนะ (ขวัญช้าย) เป็นพระยาปัตตานี และให้อยู่ในความกำกับดูแลของเมืองสงขลา
            เมื่อพระยาปัตตานี (ขวัญช้าย) ถึงแก่กรรม ได้โปรดเกล้า ฯ ใให้นายพ่ายน้องชายพระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) เป็นพระยาปัตตานี และแต่งตั้งให้นายยิ้มซ้าย บุตรพระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) เป็นหลวงสวัสดิภักดี ผู้ช่วยราชการเมืองปัตตานี และได้ย้ายที่ว่าการเมืองปัตตานีจากบ้านมะนา (อ่าวนาเกลือ) ไปตั้งที่บ้านยานู
            ในระหว่างนั้นพวกซาเหยดรัตนาวงศ์ และพวกโมเซฟได้คบคิดกันเข้าปล้นบ้านพระยาปัตตานี (พ่าย) และบ้านหลวงสวัสดิศักดิ์ (ยิ้มซ้าย) แต่ถูกตีถอยหนีไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่ตำบลบ้านกะลาพอ เขตเมืองสายบุรี
            เนื่องจากเมืองปัตตานีมีอาณาเขตกว้างขวาง มีโจรผู้ร้ายปล้นบ้านเรือนราษฎรชุกชุม พระยาปัตตานี (พ่าย) จึงได้แจ้งข้อราชการไปยังเมืองสงขลา พระยาสขลา (เถี้ยนจ๋อง) ได้ออกมาปราบปรามและจัดแบ่งเมืองปัตตานีออกเป็นเจ็ดหัวเมือง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๕ แล้วทูลเกล้า ฯ ถวายรายชื่อเมืองที่แยกออกไปดังนี้คือ เมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะลา เมืองรามัน เมืองระแงะ เมืองสายบุรีและเมืองยะหริ่ง
            ต่อมาได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาอภัยสงครามกับพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋อง) เป็นผู้เชิญตราตั้งออกไปพระราชทานแก่เจ้าเมืองทั้งเจ็ดหัวเมือง ดังนี้
                - ให้ตวนสุหลง          เป็น  พระยาปัตตานี
                - ให้ตวนหนิ            เป็น  พระยาหนองจิก
                - ให้ตวนยะลอ          เป็น  พระยายะลา
                - ให้ตวนหม่าโซ่        เป็น  พระยาสายบุรี
                - ให้นายพ่าย           เป็น  พระยะหริ่ง
            ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาปัตตานี (ตวนสุหรง) พระยาหนองจิก (ตวนกะจิ) พระยายะลา (ตวนบางกอก)  และพระยาระแงะ (หนิแงะ) ได้สมคบกันเป็นกบฎ โดยได้รวบรวมกำลังพลออกตีบ้านพระยายะหริ่ง (พ่าย) แล้วเลยออกไปตีเมืองเทพาและเมืองจะนะ พระยาสงขลา (เถี้ยนแส้ง) ทราบเรื่องจึงได้มีใบบอกไปยังกรุงเทพ ฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระพระยาเพชรบุรีเป็นแม่ทัพออกไปสมทบช่วยเมืองสงขลาออกทำการปราบปรามตั้งแต่เมืองจะนะ เมืองเทพา ไปถึงเมืองระแงะ พระยาระแงะ (หนิเดะ) หนีรอดไปได้
            ในระหว่างที่ทำการรบกันอยุ่นั้น หนิบอสู ชาวบ้านบางปูซึ่งพระยายะหริ่งแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเมืองยะหริ่งได้เป็นกำลังสำคัญ จึงได้นับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาราชการเมืองระแงะ และได้ย้ายที่ว่าราชการเมืองระแงะจากบ้านระแงะ ริมพรมแดนติดต่อกับเมืองกลันตันมาตั้ง ณ ตำบลบ้านตันหยงมัส (อำเภอระแงะปัจจุบัน)

            ต่อมาเมื่อพระยาระแงะ (หนิบอสู) ถึงแก่กรรมก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาคีรีรัตนพิศาล (ตวนโหมะ) บุตรพระยาระแงะ (หนิบอสู) ว่าราชการเมืองระแงะแทน มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาภูผาภักดิ์ ศรีสุวรรณปกระเทศวิเศษวังษา
            พ.ศ.๒๔๓๒  พระยาระแงะ (ตวนโหมะ)  ถึงแก่กรรม พระยาสุนทรานุรักษ์ (ชม) ผู้ช่วยราชการผู้รักษาว่าราชการเมืองสงขลา จัดให้ตวนเหงาะ บุตรตวนสุหลง ผู้เป็นพี่ต่างมารดาของพระยาระแงะ (ตวนโหนะ) เป็นผู้รักษาราชการเมืองระแงะ
            พ.ศ.๒๔๓๔  เมื่อถึงกำหนดที่บริเวณเจ็ดหัวเมือง ต้องนำต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการเข้าไปทูลเกล้า ฯ ถวายพระเจ้าแผ่นดิน ณ กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเจ้าเมืองทั้งเจ็ดเมือง ได้ถวายความจงรักภักดีด้วยความพร้อมเพรียงกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรปูนบำเหน็จ ความดีความชอบให้ และได้ใช้สืบต่อกันมา จนกระทั่งยุบเลิกการปกครองบริเวณเจ็ดหัวเมือง
            ต่อมาได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศกฎข้อบังคับสำหรับปกครองบริเวณเจ็ดหัวเมือง ร.ศ.๑๒๐ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔ ให้ยกเลิกการปกครองแบบเก่าเสีย ให้หัวเมืองทั้งเจ็ดเมืองคงเป็นเมืองอยู่ตามเดิม และให้พระยาเมืองเป็นผู้รักษาราชการบ้านเมืองต่างพระเนตรพระกรรณ มีกองบัญชาการเมืองโดยมีพระยาเมืองเป็นหัวหน้า ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง และผู้ช่วยราชการเมืองรวมสี่คน ให้มีกรมการชั้นรอง เสมียนพนักงานตามสมควร โดยมีข้าหลวงใหญ่ประจำบริเวณเจ็ดหัวเมืองคนหนึ่ง สำหรับตรวจตราแนะนำราชการทั้งปวงทั่งบริเวณทั้งเจ็ดหัวเมือง ต่างพระเนตรพระกรรณในราชการทุก ๆ เมือง ข้าหลวงใหญ่ประจำบริเวณยังทำหน้าที่จัดการในบริเวณให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับ และปฎิบัติราชการตามท้องตรากรุงเทพ ฯ และคำสั่งของข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราช
            พระยาเมืองที่รับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยดี ก็ได้รับพระราชทานผลประโยชน์ให้พอเลี้ยงชีพและรักษาบรรดาศักดิ์ตามสมควรแก่ตำแหน่ง และพระราชทานเงินผลประโยชน์ที่เก็บได้ซึ่งหักค่าใช้จ่ายแล้วนั้น ไว้เป็นเงินสำหรับจัดการทำนุบำรุงบ้านเมืองเป็นปี ๆ พระยาเมืองและศรีตวันกรมการซึ่งเป็นคนในพื้นบ้านเมือง  ถ้าได้รับราชการด้วยดีตลอดชั่วเวลารับราชการ เมื่อต้องออกจากหน้าที่โดยชรา หรือโดยทุพพลภาพประการใดก็ดีจะได้รับพระราชทานเบี้ยเลี้ยงบำนาญต่อไป
           เรื่องการศาล  จัดให้มีศาลเป็นสามชั้น คือศาลบริเวณ ศาลเมือง และศาลแขวง มีผู้พิพากษาสำหรับศาลเหล่านั้นพิจารณาคดีตามพระราชกำหนดกฎหมาย เว้นแต่คดีแพ่งที่กี่ยวกับครอบครัวและมรดก ซึ่งอิสลามิกชนเป็นโจทก์และจำเลย หรือเป็นจำเลยให้ใช้กฎหมายอิสลาม แทนบทบัญญัติกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แว้นแต่บทบัญญัติว่าด้วยอายุความมรดก ยังคงต้องใช้กฎหมายแพ่ง และพาณิชย์บังคับ
            การใช้กฎหมายอิสลามในการพิจารณาอรรถคดีดังกล่าวตามข้อบังคับสำหรับการปกครองบริเวณเจ็ดหัวเมือง ร.ศ.๑๒๐ เรียกตุลาการตำแหน่งนี้ว่า โต๊ะกาลี  ต่อมาได้มีข้อข้อกำหนดไว้ในศาลตรากระทรวงยุติธรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐  เรียกตำแหน่งนี้ว่า ดาโต๊ะยุติธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับตำแหน่งเสนายุติธรรม ในมณฑลพายัพ ดาโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้รู้และเป็นที่นับถือของอิสลามิกชน เป็นผู้พิพากษาตามกฎหมายอิสลาม
            ได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้จัดตั้งมณฑลปัตตานี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๙ มีสาระสำคัญว่า "แต่ก่อนจนมาถึงเวลานี้บริเวณเจ็ดหัวเมือง มีข้าหลวงใหญ่ปกครอง ขึ้นอยู่กับข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ทรงพระราชดำริเห็นว่า ทุกวันนี้การค้าขายในบริเวณเจ็ดหัวเมืองเจริญขึ้นมาก และการไปถึงกรุงเทพ ฯ ก็สะดวกกว่าแต่ก่อนประกอบกับบริเวณเจ็ดหัวเมืองมีท้องที่กว้างขวาง และมีจำนวนผู้คนมากขึ้นสมควรแยกออกเป็นมณฑลหนึ่งต่างหาก ให้สะดวกแก่ราชการที่จะทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้แยกบริเวณเจ็ดหัวเมือง ออกมาจากมณฑลนครศรีธรรมราช และให้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง เรียกว่า มณฑลปัตตานี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาศักดิ์เสนีย์ (หนา บุนนาค)  เป็นข้าหลวงเทาศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลปัตตานี"
            มณฑลปัตตานี มีเมืองที่มารวมอยู่สี่เมืองคือ เมืองปัตตานี (รวมเมืองหนองจิก ยะหริ่ง และเมืองปัตตานี)  เมืองยะลา (รวมเมืองรามัน และเมืองยะลา) เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ
            ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ ได้ย้ายที่ว่าราชการเมืองระแงะ จากตำบลบ้านตันหยงมัสมาตั้งที่บ้านมะนารอ อำเภอบางนรา และยกฐานะอำเภอบางนราขึ้นเป็นเมืองบางนรา ส่วนเมืองระแงะเดิมนั้นให้เป็นอำเภอและขึ้นอยู่กับเมืองบางนรา มีอำเภอในเขตปกครองคือ อำเภอบางนรา อำเภอตันหยงมัส กิ่งอำเภอยะบะ อำเภอสุไหงปาดี กิ่งอำเภอโต๊ะโม๊ะ อำเภอตากใบ และอำเภอยี่งอ
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสมณฑลปักษ์ใต้ เมื่อเสด็จถึงเมืองบางนรา ก็ได้ทรงพระราชทานพระแสงราชศัตราแก่เมืองบางนรา และได้โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองบางนราเป็นเมืองนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘
            พ.ศ.๒๔๗๖  ได้ยุบเลิกมณฑลทั่วราชอาณาจักร
            พ.ศ. ๒๔๘๑  กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอโค้วโบ๊ะ เป็นอำเภอแว้ง
            พ.ศ.๒๔๘๒  ยกฐานะกิ่งอำเภอยะบะ เป็นอำเภอรือเสาะ
            พ.ศ.๒๔๙๑  ยกฐานะตำบลสุไหงโก - ลก ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ และยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖
            พ.ศ.๒๕๑๗  ตั้งกิ่งอำเภอศรีสาคร และยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒
            พ.ศ.๒๕๑๐  ตั้งอำเภอสุคิริน
            พ.ศ.๒๕๒๕  ตั้งกิ่งอำเภอจะแนะ และยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒
            พ.ศ.๒๕๓๖  ตั้งกิ่งอำเภอเจาะไอร้อง และยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |