ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางวัฒนธรรม
โบราณสถานและโบราณวัตถุ
   โบราณวัตถุ
            จังหวัดนราธิวาสมีโบราณวัตถุที่พบแล้วอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่อยู่ในความครอบครองของเอกชน บางแห่ง วัดในพระพุทธศาสนารวบรวมไว้ แหล่งรวบรวมโบราณวัตถุดังกล่าวพอประมวลได้ดังนี้

            พิพิธภัณฑ์โละจูด  เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวของอำเภอแว้ง ได้จดทะเบียนเป็นพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้มาช่วยการจัดหมวดหมู่ เป็นการริเริ่มของนายเจ๊ะปอ ลอดีง อดีตกำนันตำบลโละจูด ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑ โดยใช้บ้านของตนเป็นศูนย์ดำเนินการก่อสร้าง อาคารพิพิธภัณฑ์แบบทรงไทย แล้วออกรวบรวมโบราณวัตถุตามหมู่บ้านต่าง ๆ ได้แก่ บ้านบาลา บ้านซะ บ้านสาวอ และบ้านโละจูด ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนดั้งเดิม ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์มรดกไทย
            ศิลปวัตถุที่รวบรวมไว้มีอายุระหว่าง ๑๐๐ - ๓๕๐ ปี มีอยู่ประมาณกว่า ๒๐๐ ชิ้น แบ่งประเภทออกเป็น
                - เครื่องใช้สอย เช่น เครื่องกระเบื้องเคลือบ เครื่องทองเหลือง เครื่องดินเผา เครื่องจักสาน และเครื่องโลหะ ขอสับช้าง กระดิ่ง
                - อาวุธ ได้แก่ หอก ดาบ มีด พร้า ขอ ขวานชนิดและแบบต่าง ๆ  กริช
                - เครื่องประดับ ได้แก่ หัวสัตว์ เขาสัตว์ และสัตว์สตาฟต่าง ๆ  ดอกไม้
                - เงินตรา มีเงินตราต่าง ๆ
            ศูนย์รวบรวมโบราณวัตถุวัดตันติการาม  อยู่ที่บ้านดอหลัง ตำบลตันหยงสิมอ อำเภอระแงะ  เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุประมาณ ๑๐๐ ชิ้น ส่วนมากเป็นพระพุทธรูป พระเครื่อง เครื่องมือ เครื่องใช้ อาวุธในสมัยโบราณ และซากสัตว์ เป็นต้น

            โบราณวัตถุที่บ้านบาตง  อยู่ที่บ้านบาตง ตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ  เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุที่มีค่าประมาณ ๑๐๐ ชิ้น ที่มีประโยชน์ในทางประวัติศาสตร์ และศิลปะ ได้แก่ เครื่องถ้วยชามเซรามิค ผ้าประเภทต่าง ๆ  เครื่องทองเหลือง เครื่องประดับเงิน - ทอง  เครื่องมือดักจับสัตว์ อาวุธปืน อาวุธต่าง ๆ เช่น กริช มีด กระบี่ซามูไร  ของใช้ทำจากไม้ เช่น แท่นรองพระคัมภีร์ (แท่งไม้กล)  เครื่องทองเหลือง เป็นต้น
            ปืนใหญ่แบบเลลา  พบโดยชาวบ้านนาดา อำเภอรือเสาะ  เป็นปืนขนาดเล็กแบบเลลา ในอดีตนิยมใช้กันมากเนื่องจากสามารถนำเคลื่อนที่ไปได้ มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นของเจ้าเมืองลีซอ เพราะมีข้อความบนดุมปืนเป็นภาษามลายูโบราณ แปลความว่า ไม้เรียวของเจ้าอารอนบัส  คำว่า อารอนบัส มีลักษณะสอดคล้องกับเจ้าเมืองลีซอ  ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่บ้านนาดา
           ศูนย์รวบรวมโบราณวัตถุวัดราษฎร์สโมสร  อยู่ในเขตอำเภอรือเสาะ ริเริ่มโดยพระไพโรจน์นราธิคุณ (หลวงพ่อพลับ อินทโชโต) อดีตเจ้าอาวาส ได้รวบรวมสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้รับบริจาคมาจัดหมวดหมู่แสดงไว้ให้ผู้สนใจเข้าชม ประกอบด้วยพระพุทธรูปและ
พระเครื่อง แบบต่าง ๆ  เครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธ เงินตราที่เป็นธนบัตรและเหรียญกษาปณ์สกุลต่าง ๆ เป็นต้น
            เครื่องบดสมุนไพรแบบลูกกลิ้ง  พบอยู่ในบริเวณป่ายางในวังเก่าตันหยงไอร์เต๊ะ อำเภอรือเสาะ  เครื่องบดสมุนไพรนี้บางครั้งเรียกว่า ครกเบื้อง ทำจากหินแกรนิตเนื้อแกร่ง ยาวประมาณหนึ่งคืบ แผ่นหินสำหรับวางสมุนไพรแบบราบเรียบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยปกติแล้วจะมีลูกกลิ้งหิน รูปร่างทรงกระบอกปลายมนอีกหนึ่งแท่ง ใช้บดกลิ้งบนแผ่นหิน ใช้ในการบดสมุนไพรและบดเครื่องแกง
แหล่งโบราณคดี
            สุสานโบราณ  มีสุสานโบราณอยู่หลายแห่งที่เป็นร่องรอยการประกอบกิจกรรมทางศาสนาในอดีต ปัจจุบันถูกทอดทิ้ง ไม่มีผู้ดูแล นับวันจะสูญหายไป
            สุสานเก่าแก่บ้านบือแนรายอ  อยู่ในเขตตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ  เป็นที่ฝังศพของเจ้านายในสมัยก่อน อยู่ติดกับเมืองรายอซิยง ปัจจุบันเหนือสุสานมีก้อนหินแบบธรรมชาติ มีการก่อกำแพงล้อมรอบ ภายในบริเวณมีต้นไม้ยืนต้นปกคลุม มีพื้นที่กว้างประมาณ ๑๐ ไร่ ใช้ฝังศพชาวบ้านมาจนถึงปัจจุบัน
            สุสานนิรนามบ้านจือแร  อยู่ในเขตตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ  เป็นสุสานเก่าแก่สมัยเมืองรามันยังขึ้นอยู่กับเมืองปัตตานี เป็นสุสานกว้างใหญ่ที่สุด เท่าที่พบในเขตจังหวัดนราธิวาส มีการกระจายของหินประดับสุสานเป็นพื้นที่ประมาณ ๑ ตารางกิโลเมตร ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นที่ฝังศพวีรชน หรือทหารที่เสียชีวิตจากการสู้รบ และบรรดาผู้ที่เสียชีวิตจากการประลองฝีมือการใช้กริช เนื่องจากบริเวณดังกล่าว มีการใช้กริชมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันถือว่ากริชปานาซาเร๊ะ ซึ่งมีความสง่างามที่สุด เมื่อเทียบกับกริชประเภทต่าง ๆ มีถิ่นกำเนิดมาจากแหล่งนี้
แหล่งประวัติศาสตร์
           แหล่งวังพระยาระแงะ (ตันหยงมัส)  เป็นสถานที่อยู่ของเจ้าเมืองระแงะ บริเวณบ้านตันหยงมัส ปัจจุบันเป็นสวนยาง พบเศษถ้วยชามติดกับวังพระยาระแงะ มีแม่น้ำหรือคลองตันหยงมัส ซึ่งเป็นลำน้ำที่เป็นประโยชน์แก่ชาวเมืองในสมัยนั้น ที่บ้านร่อนมีการร่อนทองในแม่น้ำ ต้นไทรที่ผูกช้างของเจ้าเมืองยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบัน บริเวณบ้านพักนายอำเภอเคยเป็นหลักประหารนักโทษในสมัยก่อน
            แหล่งคลองไอร์สะเตง บ้านนาดา - บ้านบราแง  อยู่ในเขตตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ  เป็นสถานที่พบปืนใหญ่แบบเลลา และเป็นแหล่งพบซากเรือฝังอยู่ ชาวบ้านเล่าว่าเรือที่จมอยู่นี้เป็นเรือพระที่ล่มลงเนื่องจากกระแสน้ำเชี่ยวนานมาแล้ว ยังไม่ทราบว่าอยู่ในสมัยใด
            แหล่งแม่น้ำสายบุรี  ตลอดสองฝั่งของแม่น้ำสายนี้มีบ้านเรือนและวังต่าง ๆ ตั้งอยู่หลายแห่งในอดีตที่เป็นเมืองบริวารของเมืองปัตตานี วังส่วนใหญ่ถูกทิ้งร้างนานมาแล้ว เช่น วังตันหยงไอร์เต๊ะ และวังกอตอ เป็นต้น
            ส่วนหมู่บ้านที่ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบันได้แก่ บ้านรือเสาะ ซึ่งอยู่ริมน้ำบ้านตะโละบาโย อยู่บริเวณใกล้บ้านท่าเรือ  เนื่องจากแม่น้ำสายบุรีมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก ทำให้กัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรวดเร็ว ลำน้ำคดเคี้ยวเปลี่ยนทางเดินใหม่เกิดสภาวะเป็นพรุที่ชาวบ้านเรียกว่า แม่น้ำตาย (สุงามาตี) เท่าที่พบแล้วมีอยู่สองแห่ง เป็นที่ตั้งของวังเก่ากอตอ วังเก่ารายอเชียง วังเก่าตันหยงไอร์เต๊ะ และวังเก่ากอตอซือนอ
            แหล่งกูจิงลือปะ - ลุโบ๊ะกาเยาะ - มัสยิดใหญ่  อยู่ในเขตตำบลบองอ อำเภอระแงะ  เป็นสถานที่ที่พระยาระแงะไปเก็บทุเรียน และข้าวในทุ่งเป็นประจำทุกปี และได้ปล่อยแมวไว้หนึ่งตัวจึงได้เรียกชื่อบ้านว่ากูจิงลือปะ (แปลว่าปล่อยแมว)  ส่วนที่บริเวณหลังมัสยิดใหญ่ของหมู่บ้าน มีสุสานของพระยาระแงะ และผู้ใกล้ชิด
ย่านประวัติศาสตร์
            บ้านพร่อน  ในเขตตำบลพร่อน อำเภอตากใบ  เป็นพื้นที่เก่าแก่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เป็นจุดที่เริ่มต้นของอำเภอตากใบ มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์อยู่มาก เป็นประวัติยุคต้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘  มีร่องรอยป้อมค่าย คูเมือง เครื่องถ้วยชาม เครื่องปั้นดินเผาอยู่มาก
            โคกอิฐ  อยู่ในเขตตำบลพร่อน อำเภอตากใบ  มีลักษณะเป็นโคกอยู่กลางทุ่งนา มีร่องรอยการตั้งชุมชนในสมัยโบราณเป็นโคกสูงน้ำท่วมไม่ถึง ปัจจุบันใช้ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ในฤดูฝน มีพื้นที่ประมาณหนึ่งไร่ชาวบ้านเรียกว่า อิฐกอง เพราะมีเศษอิฐกระจายอยู่เกลื่อนกลาด
            ชุมชนวัดพระพุทธ (วัดตีนใต้)  เป็นชุมชนโบราณ สมัยเดียวกับบ้านพร่อนและโคกอิฐ เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดพร่อน ชาวบ้านได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.๒๓๒๐ ในปี พ.ศ.๒๓๓๐ จึงได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นให้ชื่อว่า วัดโพธารามสมุหสถาน ภายในวัดมีศาลาการเปรียญรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ ๗.๕๐ เมตร  โครงสร้างเป็นอาคารไม้แบบจตุรมุข ย่อมมุมไม้สิบสอง ภายในประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธรูปทำด้วยแก่นไม้จำปาแดงสลักปิดทอง นอกจากนี้ยังมีทรากเจดีย์เก่าอีกสององค์ตั้งอยู่ห่างกันประมาณ ๕ เมตร

            บ้านยะกัง  เป็นชุมชนที่อยู่อาศัยของชาวประมงค์เชื้อสานจีน นับถือศาสนาอิสลาม ปัจจุบันมีฮวงซุ้ยอยู่กลางหมู่บ้านเป็นหลักฐาน
            ชุมชนประมงบ้านบาเละฮิเล  เป็นย่านการค้าอาหารทะเลสด จำพวกปู ปลา กุ้ง หอย ที่ชาวประมงที่ใช้เรือขนาดเล็กนำมาขาย ชุมชนแห่งนี้มีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่มา ตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันมีมัสยิดตั้งอยู่บริเวณใกล้ชุมชน
แหล่งอุตสาหกรรม
            แหล่งเหมืองแร่ดีบุก  มีการทำเหมืองแร่ดีบุกมากในอดีตที่บริเวณอำเภอระแงะ และอำเภอรือเสาะ ยังมีร่องรอยของเหมืองแร่ดังกล่าวอยู่ในบริเวณตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ และที่บ้านป่าไผ่ อำเภอระแงะ ปัจจุบันเหมืองดังกล่าวเลิกกิจการไปแล้วเนื่องจากแร่หมด
            แหล่งเหมืองทองบ้านโต๊ะโม๊ะ  เป็นอุตสาหกรรมทำเหมืองแร่ทองคำ ได้รับสัมปทานทำเหมืองแร่ ในเขตอำเภอภูเขาทอง กิ่งอำเภอโต๊ะโม๊ะ กิ่งอำเภอนี้จัดตั้งขึ้นเพราะมีชาวฝรั่งเศสกลุ่มหนึ่ง ได้ขอสัมปทานทำเหมืองแร่ทองคำบริเวณเทือกเขาลีซอ ตำบลโต๊ะโม๊ะ เมื่อมีราษฎรอพยพเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก ทางราชการจึงได้พิจารณาจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้น โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒ ตำบล คือตำบลโต๊ะโม๊ะ และตำบลบาโมง
            ในปี พ.ศ.๒๔๘๒  เกิดกระณีพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส ทำให้ชาวฝรั่งเศสเจ้าของกิจการเหมืองแร่ทองคำได้ละทิ้งเหมืองแร่ไป ทางรัฐบาลไทยโดยกรมโลหะกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แต่งตั้งพระอุดมธรณีศาสตร์ มาเป็นผู้ดำเนินการเหมืองแทน ได้ประมาณปีเศษ ได้เกิดความไม่สงบในบริเวณเหมือง ต่อมาจึงได้เลิกกิจการไป บรรดาคนไทยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ได้อพยพออกไปหมด ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ กิ่งอำเภอโต๊ะโม๊ะ ก็ถูกยุบเลิกไป

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |