ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางพระพุทธศาสนา

ศาสนสถานและศาสนวัตถุ
            วัดมหาธาตุ  เป็นวัดสำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี อยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดที่มีหลักฐานการก่อสร้างปรากฎอยู่ ในลานทองคำ ที่พบจากกรุใต้ฐานเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ที่มีการขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ สรุปได้ว่าวัดมหาธาตุ สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๙๒๖
            ภายในวัดมีโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่น่าสนใจหลายอย่าง ได้แก่ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เจดีย์อิทธิพลศิลปะอยุธยา สององค์ และฐานเจดีย์ศิลาแลง ใบเสมาสกัดจากหินทรายทั้งแท่ง จารึกด้วยอักษรโบราณ เป็นต้น
            พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในวัดมีสององค์คือ หลวงพ่องาม  ด้วยเหตุที่งามด้วยพระพุทธลักษณะ สร้างด้วยทองสำริด ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น สมัยอู่ทองรุ่นสาม หน้าตักกว้าง ๓๖ นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ส่วนอีกองค์หนึ่งคือ หลวงพ่อเพชรมีชัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อทองสำริด หน้าตักกว้าง ๓๖ นิ้ว เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อวัดมหาธาตุ สันนิษฐานว่า สร้างพร้อมกับวัด ในปี พ.ศ.๑๙๒๖ ต่อมาเปลี่ยนเป็นเรียกว่า หลวงพ่อเพชรมีชัย เพราะถือเอาคำพูดของเจ้าพระยาจักรี แม่ทัพไทยที่ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า ที่ยกมาล้อมเมืองพิษณุโลก มาอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์ แล้วยกกองทัพกลับไปตีเมืองพิษณุโลกกลับคืน ขณะเดินทัพผ่านวัดมหาธาตุ ได้พาทหารไปนมัสการพระพุทธรูป เสร็จแล้วเปล่งเสียงอันดังว่า มีชัย ทั่วทั้งกองทัพ จึงได้ชื่อต่อมาว่า หลวงพ่อเพชรมีชัย
            วัดมหาธาตุ เป็นวัดที่เจ้าเมืองเพชรบูรณ์เป็นผู้สร้าง ต่อมากลายสภาพเป็นวัดร้าง จนถึงปี พ.ศ.๒๔๔๗ สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีรับสั่งให้พระยาเพชรรัตน์ (เฟื่อง)  เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ เกณฑ์คนมาบูรณะวัดมหาธาตุครั้งใหญ่ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๕๓ มีพระราชพิธีราชาภิเษก ทรงรับน้ำอภิเษกจากเจ้าเมืองต่าง ๆ เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ได้นำน้ำจากสระบน ในวัดมหาธาตุไปร่วมพิธีด้วย
            วัดมหาธาตุ ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖



            วัดไตรภูมิ  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ในเขตอำเภอเมือง ฯ เป็นวัดขนาดเล็ก ที่ประดิษฐานพระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิ ศิลปะลพบุรี หล่อด้วยทองสำริด หน้าตักกว้าง ๑๓ นิ้ว สูง ๑๘ นิ้ว ไม่มีฐาน ชาวเพชรบูรณ์กำลังเตรียมสร้างมณฑป เพื่อให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้
             วัดสระแก้ว  ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา เดิมมีวัดพระสิงห์ และวัดพระเสือ ตั้งกระหนาบอยู่ทั้งสองข้าง แต่ปัจจุบันรวมเป็นวัดเดียวกัน ภายในวัดมีเจดีย์เก่าขนาดเล็ก


            วัดไพรสณฑ์ศักดาราม  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ อยู่ในเขตอำเภอหล่มสัก ในวัดมีพระอุโบสถหลังเก่า มีรูปทรงสวยงามมาก มีลายปูนปั้นที่หัวเสา มีคันทวยแกะไม้สวยงาม นับเป็นโบสถ์แบบเฉพาะที่เหลืออยู่น้อย
            วัดศรีมงคล  ตั้งอยู่ในเขตอำเภอหล่มสัก ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๔  เดิมเป็นวัดที่มีป่ารกมาก เรียกว่า วัดป่า ต่อมาเรียก วัดกลาง เพราะตั้งอยู่ใจกลางเมืองหล่มสัก ต่อมาเรียกว่า วัดศรีมงคล ภายในวัดมีโบราณสถานได้แก่ สถูปเจดีย์ ชาวบ้านเรียกว่า เจดีย์พระยาพานทอง นอกจากนั้นภายในวัดยังมีพระพุทธบาทจำลอง
            วัดศรีบุญเรือง  ตั้งอยู่ในเขตอำเภอหล่มสัก สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๘ สิ่งสำคัญภายในวัดประกอบด้วย พระพุทธรูปเสี่ยงทาย ฐานพระพุทธรูปจารึกอักษรล้านช้าง ศิลปะแบบลาว อุโบสถศิลปะลาว และเจดีย์ทรงดอกบัวเหลี่ยม ย่อมุมฐานสูง มีลวดลายปูนปั้นรูปกลีบบัว มีลักษณะคล้ายพระธาตุหลวงในนครหลวงพระบาง
            วัดตูมคำมณี  ตั้งอยู่ในตำบลบ้านหวาย อำเภอหล่มสัก มีพระธาตุตูมคำมณี ซึ่งมีลักษณะศิลปกรรมเช่นเดียวกับ พระธาตุขามแก่น จังหวัดขอนแก่น
            วัดโคกปรือ  (วัดสระลองจอบ)  ตั้งอยู่ในตำบลบึงกระจับ อำเภอวิเชียรบุรี พบซากศิลาแลง สระน้ำโบราณ ภาชนะดินเผา เครื่องสังคโลก และเครื่องโลหะโบราณเป็นจำนวนมาก
            วัดเพชรวราราม  ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง ฯ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ มีแผนผังและสถาปัตยกรรมของวัดสวยงาม มีปูชนียสถาน และปูชนียวัตถุ คือ มณฑปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมด้วยพระไพรีพินาศ พระพุทธบาทจำลอง
            วัดวิชมัยบุญญาราม  ตั้งอยู่ในตำบลเขาค้อ อำเภอเขาค้อ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ มีพื้นที่ประมาณ ๓๐ ไร่ มีปูชนียสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระบรมธาตุ กาญจนาภิเษกเขาค้อ มีความกว้าง ๔๐ หลา สูง ๖๙ หลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุอรหันต์ ประดิษฐานในองค์พระเจดีย์ นับเป็นปูชนียสถานที่สูงที่สุดในจังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งเด่นเป็นสง่า ในท่ามกลางเนินเขาใหญ่น้อย
            วัดที่ทรงคุณค่าทรงศิลปะยังได้พบทั่วไปในจังหวัดเพชรบูรณ์ เช่น เจดีย์วัดทุ่ง เจดีย์วัดโพนชัย พระเจ้าตากแดด วัดโพนชัย ส่วนใหญ่จะอยู่แถบอำเภอตอนบน

| ย้อนกลับ | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์