ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางพระพุทธศาสนา

ต้นศรีมหาโพธิ

            ต้นศรีมหาโพธิขึ้นอยู่ภายในวัดต้นศรีมหาโพธิ ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ เป็นต้นโพธิที่มีอายุมากกว่าพันปี เป็นพันธุ์ต้นพระศรีมหาโพธิ ซึ่งนำหน่อมาจากลังกา หรืออินเดียในสมัยทวารวดี เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา และมีความสำคัญต่อพื้นที่บริเวณนี้ ซึ่งกินอาณาเขตหลายอำเภอในจังหวัดปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา เรียกว่า ดงศรีมหาโพธิ
            ต้นศรีมหาโพธิได้แตกหน่อ และแผ่กิ่งก้านสาขาไปโดยรอบประมาณ ๕๐ เมตร วัดความยาวรอบต้นได้ประมาณ ๒๕ เมตน สูงประมาณ ๓๐ เมตร เป็นสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะบูชาของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกล มีงานนมัสการต้นศรีมหาโพธิเป็นประจำทุกปี อันเป็นประเพณีมาแต่โบราณกาล โดยจัดงานในวันขึ้น ๑๓ - ๑๕ ค่ำ เดือนห้า กิจกรรมของงานได้แก่ การปิดทองนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ และมีมหรสพสมโภช
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึงงานนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิว่า  ".... ฤดูเดือนห้า ราษฎรพากันไปไหว้ต้นโพธิ และพระบาทมาแต่ไกล จากเมืองพนมสารคาม ท่าประชุม และที่อื่น ๆ เป็นตลาดนัดซื้อขายของจอแจกัน ๒ วัน ๓ วัน และมีดอกไม้เพลิงเป็นต้น มาจุดกันในงนนักขัดฤกษ์นี้...."
            ต้นพระศรีมหาโพธิได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ และจังหวัดปราจีนบุรี ได้ใช้ต้นโพธิเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด
รอยพระพุทธบาทคู่



            รอยพระพุทธบาทคู่  ตั้งอยู่ในเขตโบราณสถานวัดสระมรกต ตำลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ เป็นรอยพระพุทธบาทคู่ขนาดใหญ่ สลักบนพื้นศิลาแลง สลักบนพื้นศิลาแลงธรรมชาติ มีลักษณะเหมือนจริง ที่ฝ่าพระบาทสลักรูปธรรมจักรนูนทั้งสองข้างตรงกลาง ระหว่างรอยพระพุทธบาทเจาะเป็นหลุม และแกะเซาะร่องรูปกากบาทประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ตามความเชื่อในการสร้างอุเทสิเจดีย์ เพื่ออุทิศแด่พระพุทธองค์ตามคติของอินเดียโบราณ ก่อนที่จะมีการสร้างพระพุทธรูป หรืออาจสร้างขึ้นเพื่อเป็นบริโภคเจดีย์  โดยถือเสมือนว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมา ณ ที่นี้ หรือเป็นความหมายเชิงสัตลักษณ์ ที่หมายถึงพระพุทธองค์ ได้เผยแผ่เข้ามายังที่นี้ตามคติของลังกา ส่วนหลุมกลมที่อยู่กลางรอยพระพุทธบาททั้งสองนั้น สันนิษฐานว่า เป็นหลุมสำหรับปักเสาฉัตร หรือเสาเพลิงรองรับเครื่องหมายตรีรัตน์ หรือธรรมจักร
            รอยพระพุทธบาทคู่นี้ นับว่าเป็นรอยพระพุทธบาทคู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
พระทวารวดี (หลวงพ่อทวารวดี)
            พระทวารวดี  พบที่เมืองศรีมหโสถ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ว่าการอำเภอศรีมโหสถ เป็นพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ ทำด้วยหินทรายสีเขียว สูง ๑๖๓  เซนติเมตร เป็นฝีมือช่างสมัยทวารวดีรุ่นแรก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากรูปแบบศิลปะอินเดีย สมัยราชวงศ์คุปตะ สร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๖ ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อทวารวดี ถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
วัดแสงสว่าง (พระธาตุพุทธมงคล)
            วัดแสงสว่าง  ตั้งอยู่ในเขตบำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ มีโบราณสถานที่สำคัญภายในวัดคือ เจดีย์ก่อด้วยอิฐเป็นเจดีย์รูปสิบหกเหลี่ยม ฐานเจดียวัดโดยรอบได้ สิบเอ็ดวา สองศอก สูงหกวาเศษ บนยอดเป็นรูปฉัตรทำด้วยทองแดง ปลายยอดมีลูกแก้ว
            สันนิษฐานว่า เจดีย์องค์นี้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เนื่องจากพระองค์ทรงทราบข่าวว่า ที่ดงศรีมหาโพธิมีช้างเผือกอยู่หนึ่งเชือก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ขุนอินทร์เป็นผู้ดำเนินการจับช้างเชือกนี้ ขุนอินทร์จับช้างได้ที่บ้านโคกไทย จึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นเป็นอนุสรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๗ ชาวบ้านเห็นว่าองค์เจดีย์ชำรุด จึงพร้อมใจกันบูรณะซ่อมแซม แล้วฉาบด้วยปูนขาวขัดมัน ต่อมาเมือปี พ.ศ.๒๔๙๖ ชาวบ้านได้พร้อมใจกันปฏิสังขรณ์เป็รการใหญ่อีครั้งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการบรรจุเนื้อดินจากสังเวชนียสถานสี่แห่ง จากประเทศอินเดีย ซึ่งทางอาศรมวัฒนธรรมไทย - ภารตมอบให้ และทางกรมศิลปากรได้มอบดวงพระชาดาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้บรรจุในพระเจดีย์พระธาตุมงคลนี้ได้กระทำพิธีบรรจุ เมือปี พ.ศ.๒๔๙๖
            วัดแสงสว่างได้ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗
วัดท้าวอู่ทอง

            วัดท้าวอู่ทอง  ตั้งอยู่ในเขตตำบลโคกไม้ลาย อำเภอเมือง ฯ ประวัติของวัดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด มีแต่เรื่องเล่าสืบกันมาว่า วัดท้าวอู่ทองสร้างเมื่อ ประมาณ พ.ศ.๒๐๐๐ โดยราษฏรที่อพยบหนีโรคอหิวาห์มาจากเมืองอู่ทอง ในการสร้างวัดแห่งนี้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้สละพระราชทรัพย์ ในการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก ราษฏรจึงตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์ เพื่อเป็นการเทิดทูน และเฉลิมพระเกียรติ
            ในเขตวัดท้าวอู่ทอง มีโบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปวัดท้าวอู่ทอง ลักษณะของมณฑปเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ตัวอาคารเป็นคอนกรีต คล้ายศิลปตะวันตก ขนาดตัวอาคารวัดโดยรอได้ ๑๓๐ เมตร สูง ๑๐ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๓ ภายในอาคารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปรางสมาธิสี่องค์ สูง ๖ - ๘ เมตร มีพุทธลักษณะงดงาม ประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์เข้าหากัน ดูเด่นและสง่ามาก
วัดพระแก้วพิจิตร

            วัดพระแก้วพิจิตร  ตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำปราจีนบุรี ในเขตตำบลบางบริบูรณ์ อำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๒ มีพระอุโบสถงามด้วยศิลปแบบไทยผสมผสาน กับแบบจีน ยุโรป และเขมร ซึ่งเป็นเอกลักษณะพิเศษ ภายในจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามมาก
            อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ขนาดห้าห้อง มีเฉลียงรอบกว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๒๑.๓๐ เมตร ตัวอาคารวัดจากผนังกว้าง ๑๐.๕๐ เมตร ยา ๑๖๕๐ เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงแก้วล้อมรอบ บนกำแพงมีลายดอกไม้ ในวงกลตรงกลางผนังทุกห้อง เสากำแพงแก้วมีหัวเสาเป็นแท่นตั้งกระถางต้นไม้ ที่กึ่งกลางแนวกำแพงแต่ละด้าน มีซุ้มประตูเป็นชั้น ๆ ประดับปูนปั้นลายหน้าสิงห์ ลายดอกไม้และนาฬิกา ระหว่างกำแพงแก้วและอุโบสถ เป็นลานประทักษิณ มีซุ้มใบเสมาทรงมณฑปอยู่ในระยะ

            พระอุโบสถหลังนี้จำลองแบบมาจากวัดพระเจ้าช้างเผือก ที่เมืองพระตะบอง ในกัมพูชา คือ หลังคามุงกระเบื้อง มีมุขประเจิดทั้งหน้าและหลัง ถัดลงมาเป็นหลังคาเฉียงรอบสองชั้น ที่สันหลังคาประดับราลี และช่อฟ้า หน้าบันปูนปั้นเขียนสีเป็นรูปวิมาณพระอินทร์ ตอนล่างของหน้าบันเป็นลายกระจังฐานพระ มีสาหร่ายรวงผึ้ง หลังเสามุขประเจิด ประดับปูนปั้นป็นตัวมกร
            ฝาผนังอุโบสถฉาบปูน ตอนบนเขียนภาพปูนปั้นเป็นลายเครื่องแขวนสลับภาพบุคคลครึ่งตัว ลักษณะคล้ายชาวตะวันตก หน้าต่างที่ฝาผนังด้านข้าง มีข้างละห้าช่อง ประตูด้านหน้าและด้านหลังมีช่องประตูข้างละสองช่อง มีบันไดขึ้นจากเฉลียงตรงกลาง ระหว่างช่องประตูมีปูนปั้นภาพเรื่องรามเกียร์ติ ซุ้มประตูและหน้าต่างทำลายปูนปั้นเป็นลายก้านขด มีเศรียรนาคประดับใต้ช่องหน้าต่าง ทำเป็นลายฉลุ
            เฉลียงรอบพระอุโบสถ มีเสานาคเรียงรับหลังคา เป็นเสากลม ห้วเสาแบบใบผักกาด หรือโครินเธียนตามแบบซิลปะตะวันตก ประดับเทพนม ฐานเสาประดับลายปูนปั้นรูปม้า พื้นเฉลียงปูด้วยกระเบื้องเคลือบสี
            ผนังด้านในเดิมมีภาพจิตรกรรมแผ่นผ้าติดกรอนประดับอยู่ แต่ถูกโจรกรรมไปหมด ผนังตอนบนเป็นภาพจิตรกรรมปูนเปียกเป็นภาพริ้วชายผ้ารอบผนังทั้งสี่ด้าน เพดานอุโบสถเป็นสีขาว มีลายดาวทองตรงกลาง และที่มุมเป็นลายพุ่ม

            ภาพในพระอุโบสถมีเสาแปดต้น เป็นเสากลมเซาะร่องเป็นริ้วยาวตลอด เสาทาสีแดง ร่องริ้วเสาทางสีทอง หัวเสาเป็นแบบใบผักกาด หรือโครินเธียนเช่นเดียวกับภายนอก ฐานเสาเป็นลายรูปม้าด้านละตัว บานประตูหน้าต่างด้านในเขียนภาพสีน้ำมัน รูปช่อดอกไม้
            พระอุโบสถวัดแก้วพิจิตร นับว่าเป็นผลงานความคิดสร้างสรรค์อันล้ำค่าในเชิงช่างที่ผสมผสาน มีจุดเด่นของศิลปะทั้งสี่ชาติรวมไว้ในพระอุโบสถหลังนี้ ซึ่งกล่าวได้ว่า มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย กล่าวคือ กำแพงแก้วที่ล้อมตัวพระอุโบสถ มีการทำซุ้มประตูทางเข้าเป็นชั้น ๆ ประดับปูนปั้นลายหน้าสิงห์ ลายดอกไม้และนาฬิกา ซึ่งเป็นการเลียนแบบเขมร ตัวพระอุโบสถมีโครงสร้างตามแบบศิลปะไทย มีช่อฟ้า ในระกา บราลี ส่วนองค์ประกอบการตกแต่งอาคารเป็นแบบตะวันตก คือใช้เสาพระอุโบสถกลมเซาะร่อง หัวเสาเป็นแบบผักกาด อันเป็นศิลปะแบบโครินเธียน การประดับปูนปั้นเป็นตัวมกรตามแบบศิลปะจีน

| ย้อนกลับ | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์