www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา >
เมืองเก่าของไทย
เมืองเก่าของไทย
มรดกทางวัฒนธรรม
โบราณสถาน
โบราณสถานสระมรกต
(รอยพระพุทธบาทคู่)
โบราณสถานสระมรกต ตั้งอยู่ที่บ้านสระข่อย ตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ
๓ กิโลเมตร
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ดอน สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๒๐ เมตร เดิมเป็นเนินโบราณสถานขนาดใหญ่สองเนิน
มีสระน้ำสองสระคือ สระมรกต
ตั้งอยู่ทิศตะวันออก และสระบัวล้า
ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือ ทางทิศตะวันออกของสระมรกต มีเนินโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งเรียกว่า
เนินพระเจดีย์
โบราณสถานสระมรกต ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ ได้มีการขุดแต่งทางโบราณคดีหลายครั้ง
ระหว่าง ปี พ.ศ.๒๕๑๔ - ๒๕๒๑ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ๒๕๒๙ - ๒๕๓๐
ได้มีการขุดค้นขุดแต่อีกครั้งหนึ่ง เป็นโครงการร่วมระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน
ผลการขุดค้นดังกล่าว ทำให้ทราบว่า บริเวณแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ ประกอบด้วยโบราณสถานที่สามารถจัดแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม
ตามอายุสมัยการก่อสร้าง คือ
กลุ่มแรก
เป็นกลุ่มอาคารโบราณสถานที่สร้างขึ้นในสมัยแรก ประกอบด้วย วิหารพระพุทธบาท
และกำแพงแก้วชั้นนอกที่ยังคงเหลือร่องรอยอยู่บางส่วน
สิ่งสำคัญของโบราณสถานกลุ่มนี้คือ รอยพระพุทธบาทคู่
ที่แกะสลักลงไปในเนื้อศิลาแลงธรรมชาติ มีลักษณะที่เหมือนจริง กลางรอยฝ่าพระบาทแต่ละข้าง
แกะสลักเป็นรูปธรรมจักร ตรงกลางระหว่างรอยพระพุทธบาทเจาะเป็นหลุมกลม
และแกะเซาะเป็นรูปกากบาท คาดทับรอยพระพุทธบาท รอบรอยพระพุทธบาทแกะสลักเป็นรูปวงกลมล้อมรอย
จากการศึกษาเปรียบเทียบรอยพระพุทธบาทคู่นี้ คงสร้างขึ้นตามความเชื่อในการสร้างอุทเทสิกเจดีย์
เพื่ออุทิศแด่พระพุทธองค์ตามคติของอินเดียโบราณก่อนที่จะมีการสร้างพระพุทธรูป
หรืออาจสร้างขึ้นเพื่อเป็นบริโภคเจดีย์ โดยถือเสมือนว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังที่นี้
หรือเป็นความหมายเชิงสัญลักษณ์ ที่หมายถึงพุทธศาสนาได้เผยแแผ่มายังที่นี้
คามคติของลังกา สำหรับหลุมที่อยู่ตรงกลางรอยพระพุทธบาท เชื่อกันว่าเป็นหลุมสำหรับปักเสาฉัตรหรือเสาเพลิง
รองรับเครื่องหมายตรีรัตน์หรือธรรมจักร
จากหลักฐานจารึกและหลักฐานที่พบในชั้นทับถม ซึ่งร่วมสมัยกับวิหารก่อสร้างครอบรอยพระพุทธบาทคู่แห่งนี้
สันนิษฐานว่า คงมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔
กลุ่มที่สอง
เป็นกลุ่มอาคารโบราณสถานที่สร้างทับลงไปบนโบราณสถานกลุ่มแรก ประกอบด้วยซุ้มประตูหน้า
ปรางค์ประธานที่มีแผนผังเป็นรูปกากบาทสองกันต่อกัน บรรณาลัยมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ถัดจากซุ้มด้านหน้าทำเป็นทางเดินทอดยาวออกไปทางทิศตะวันออก
ลักษณะของโบราณสถานกลุ่มที่สองมีแผนผังเดียวกับอโรคยศาลา ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่
๗ ประกอบกับหลักฐานของประติมากรรมที่ขุดพบ มีลักษณะเป็นศิลปะขอมแบบบายน ทำให้สันนิษบานได้ว่า
โบราณสถานกลุ่มที่สองสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘
โบราณสถานสระแก้ว
(บราณสถานหมายเลข ๑๒)
สระแก้ว เป็นสระน้ำโบราณที่สวยที่สุด มีรูปสลักภาพสัตว์ที่ขอบสระ ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกของเมืองโบราณศรีมโหสถ
ในเขตตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อปี
พ.ศ.๒๔๗๘
สระแก้วเป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง ๑๘ เมตร มีทางลงสระทางด้านทิศตะวันตก
และลดชั้นเป็นชั้นบันไดสองขั้นถึงขอบทางลงสระ บันไดขั้นที่ ๓ ถึง ๗ ตัดลงไปในศิลาแลงธรรมชาติ
จนถึงพื้นล่างของสระที่เป็นดินเหนียว ผนังสระด้านเหนือมีการตัดศิลาแลง เป็นแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้ายื่นเข้ามาในสระมีบันไดทางลงสระทั้งสองข้าง
ๆ ละสองขั้น บริเวณใกล้ทางลงสระเป็นหลุมเสา สันนิษฐานว่า บริเวณนี้เดิมคงเป็นพลับพลาเปลาสร้างด้วยไม้
บริเวณรอบสระแก้ว ใช้ศิลาแลงก่อยกขอบขึ้น ที่ขอบสระด้านในมีการสลักศิลาแลง
เป็นรูปสัตว์อยู่ภายในกรอบ ระหว่างเหนือกรอบรูปสัตว์กับศิลาแลง ที่ก่อเป็นขอบสระนั้น
มีรูปสลักเป็นลวดลายขนาดเล็ก ต่อเนื่องกันเป็นแถว เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ
เช่น หงส์ หรือมกร รูปสลักดังกล่าวพบที่ผนังขอบสระด้านทิศตะวันออก ทิศใต้
และทิศตะวันตก พบว่ามีทั้งสิ้น ๒๙ รูป รูปสลักนูนต่ำรูปสัตว์ขอบสระแก้ว ภายในกรอบรูปทั้งสิ้น
๒๙ กรอบรูป เป็นรูปสัตว์จำนวน ๔๕ ตัว แยกออกเป็นรูปช้าง ๒๔ เชือก รูปสิงห์
๑๑ ตัว รูปมกร ๘ ตัว รูปหมู ๑ ตัว และรูปกินรี ๑ ตัว นอกจากนี้ยังมีรูปงูพันรูปหม้อน้ำระหว่างช้างสองเชือก
รูปมกรหรือหงส์เดินเรียงกันเป็นแถวเหนือกรอบรูป
จากหลักฐานที่ปรากฏเป็นรูปสลักสัตว์ต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น สันนิษฐานในขั้นต้นว่า
อายุของสระแก้วน่าจะอยู่ในช่วงสมัยทวารวดี หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๑
จากรูปลักษณะของสระแก้วที่มีรูปสลักที่ผนังของสระ แตกต่างออกไปจากสระน้ำอื่น
ๆ เช่น สระมะกรูด สระมะเขือ สระทองแดง สระขวัญ และสระกระท้อน ที่ไปมีรูปสลักที่ผสนังขอบสระ
สระแก้วจึงน่าจะเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยทำพิธีภายในพลับพลาบริเวณที่เป็นแท่นยื่นลงไปในสระ
โบราณสถานลายพระหัตถ์
ตัวโบราณสถานตั้งอยู่ห่างจากโบราณสถานพานหินไปทางด้านทิศตะวันออกประมาณ ๑๐๐
เมตร อยู่ที่บ้านโคกขวาง จำบลหนองโพรง อำเภอศรีมหาโพธิ เป็นปรางค์หรือเทวลัยสมัยลพยุรี
มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จทอดพระเนตรโบราณสถานแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ และได้ทรงลงพระปรมาภิไธยย่อว่า
"จปร. ร.ศ.๑๒๗" บนแผ่นหินขนาด สูงหนึ่งเมตร กว้างครึ่งเมตร ยาวหนึ่งเมตร
ต่อมาได้มีการสร้างมณฑปคอนกรีตเสริมเหล็กรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้างยาวด้านละ
๓.๕ เมตร สูง ๑๑ เมตร ครอบลายพระหัตถ์ไว้ เป็นมณฑปหลังคาทรงปราสาท ประดับช่อฟ้าใบระกา
หน้าบันประดับลายปูนปั้นรูปครุฑ และรูปดอกไม้ เปิดซุ้มจระนำไว้สามด้าน ด้านใต้เหลือก่อผนังปิด
ทางขึ้นอยู่ทางทิศเหนือ
โบราณสถานลายพระหัตถ์ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓
หลุมเมือง
หลุมเมือง มีลักษณะเป็นหลุมรูปทรงกระบอก ขุดลงไปบนพื้นศิลาแลงธรรมชาติ
พบครั้งแรกในเขตตำบลโคกขวาง อำเภอศรีมหาโพธิ ส่วนหลุมเมืองที่พบใหม่อยู่ในเขตตำบลหนองโพธิ
อำเภอศรีมหาโพธิ ห่างจากหลุมเมืองเดิมมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๑ กิโลเมตร
- จากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบหลุมเมืองทั้งสิ้น ๑๑๕ หลุม อยู่เรียงกันเป็นกลุ่มใหญ่สองกลุ่มคือ
กลุ่มทางทิศตะวันออกมีอยู่ ๕๐ หลุม กลุ่มทางทิศตะวันตกมี ๖๕ หลุม ทั้งสองกลุ่มมีหลุมเมืองเรียงกันเป็นแนวตะวันออกเฉียงเหนือ
ตะวันตกเฉียงใต้ แต่ละหลุมอยู่ห่างกันประมาณ ๑ เมตร กลุ่มหลุมทางทิศตะวันตก
จะตื้นกว่าหลุมทางด้านทิศตะวันออก แบ่งออกตามรูปลักษณะได้เป็นสี่แบบคือ
- หลุมเมืองที่เป็นหลุมเดียว เป็นหลุมรูปทรงกระบอก เส้นผ่าศูนย์กลางที่ปากหลุมเฉลี่ย
๔๐ เซนติเมตร ความลึกเฉลี่ย ๓๐ เซนติเมตร
- หลุมเมืองที่มีหลุมขนาดเล็กซ้อนอยู่ภายใน โดยหลุมเล็กจะขุดต่อลงไปจากก้นหลุมใหญ่
โดยหลุมเล็กจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๐ เซนติเมตร และมีคามลึกเฉลี่ย ๕
- ๑๐ เซนติเมตร
- หลุมที่ปรากฏเป็นหลุมคคาบเกี่ยวกันคือ มีลักษณะเหมือนกับแบบแรก หรือแบบที่สอง
แต่จะเป็นหลุมแฝดสองหลุมคาบเกี่ยวกัน
- หลุมเล็กมีความลึกค่อนข้างมาก ซ้อนอยู่ข้างในคล้ายแบบที่สอง แต่หลุมเล็ที่ซ้อนอยู่ภายในจะลึกมากกว่า
มีความลึกประมาณ ๒๐ เซนติเมตร
ข้อสันนิษฐานเรื่องหลุมเมือง จากเดิมที่ว่าเป็นครกตำข้าว หรือหลุมโขลูกปูน
เมื่อได้มีการตรวจสกบทางกายภาพแล้ว ทำให้ข้อสันนิษฐานทั้งสองประการตกไป จึงนำมาสู่ข้อสันนิษฐานที่ว่า
เป็นหลุมที่ใช้ในการละเล่นหลุมเมือง ซึ่งยังมีการเล่นอยู่บ้างในบางพื้นที่
เช่น ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี แต่ก็ไม่พบร่องรอยว่า จะเป็นหลุมเพื่อใช้ในการนี้
ข้อสันนิษฐานที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือ เป็นหลุมเสาของสิ่งก่อสร้างด้วยไม้
ส่วนอายุของหลุมเหล่านี้ น่าจะสอดคล้องกับอายุของชุมชนดบราณที่บ้านโคกขวาง
และเมืองศรีมโหสถคือ อยู่ในห้วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘
โบราณสถานพานหิน
ตัวโบราณสถานตั้งอยู่ที่บ้านโคกขวาง ตำบลหนองโพรง อำเภอศรีมหาโพธิ มีลักษณะเป็นฐานอาคาร
ทำด้วยศิลาแลงทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้างด้านละ ๑๕.๕๐ เมตร มีบันได้ทางขึ้นสี่ด้าน
ยื่นออกมาจาตัวอาคารด้านละ ๔.๑๐ เมตร ผนังอาคารด้านบนฐานขั้นสองหนาประมาณ
๑.๑๐ เมตร กลางอาคารมีลักษณะเป็นหลุมลึกลงไป มีก้อนศิลาแลงขนาดใหญ่ อาจเป็นส่วนยอดของอาคาร
จากการขุดแต่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ ได้พบพระกรข้างซ้ายของพระนารายณ์ทรงสังข์
ทำด้วยหินทราย สันนิษฐานว่า มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ ในสมัยทวารวดี
บ่อน้ำโบราณหัวซา
บ่อน้ำโบราณ ตั้งอยู่ที่บ้านซา ตำบลหัวซา อำเภอศรีมหาโพธิ สันนิษฐานว่า
มีอายุร่วมสมัยกับเมืองศรีมโหสถคือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๙ เป็นบ่อน้ำที่ขุดลงไปในศิลาแลงธรรมชาติ
มีสองขนาดคือ บ่อใหญ่รูปกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๖.๕๐ เมตร ขอบบ่อลดระดับเป็นชั้น
ๆ บ่อเล็กมีสองบ่อ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓.๔๐ เมตร มีทางระบายน้ำผ่านบริเวณบ่อทั้งสองด้วย
บ่อน้ำโบราณได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙
คันดินโบราณเมืองศรีมโหสถ
- ชุมชนโบราณโคกขวาง
คันดินโบราณ หรือที่เรียกว่า ถนนพระรถ
เริ่มต้นจากเมืองศรีมโหสถ และได้มีการสำรวจพบแนวคันดินโบราณ ที่เรียกว่า
ถนนนางอมร จากแหล่งชุมชนโบราณโคกขวาง ซึ่งอยู่ในเขตติดต่อของสองอำเภอคือ
อำเภอศรีมโหสถ กับอำเภอศรีมหาโพธิ มีความยาวประมาณ ๑๕ กิโลเมตร
คันดินโบราณที่ออกจากชุมชนโคกขวาง ซึ่งปัจจุบันคือ บริเวณบ้านเกาะม่วง จากการสำรวจไม่พบว่า
แนวคันดินนี้ออกจากชุมชนโคกขวาง แนวคันดินนี้มีความเฉลี่ยประมาณ ๓๘ เมตร และมีความยาวประมาณ
๓ กิโลเมตร จากคำบอกเล่าของชาวบ้านได้ความว่า เดิมแนวคันดินโบราณนี้จะทอดยาวต่อไปอีกประมาณ
๑ กิโลเมตร ไปจนเกือบถึงบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า หนองขันหมาก
ตามตำนานกล่าวว่า พระมโหสถเมืองศรีมโหสถที่บ้านโคกวัด
ได้จัดผู้ใญ่สู่ของนางอมรเทวี ซึ่งอยู่ที่เมืองโคกขวางเพื่ออภิเษกสมรส
ฝ่ายนางอรมเทวีมีเงื่อนไขให้ พระมโหสถสร้างถนนจากเมืองศรีมโหสถ ส่วนนางก็จะสร้างถนนจากเมืองของนาง
ให้มาเข้าหากัน และให้ถนนทั้งสองนี้ เชื่อมต่อกันพอดีก่อนดาวรุ่งขึ้น เมื่อถนนใกล้จะถึงกัน
นางอมรเทวีก็ทำอุบายเอาโคมไฟขึ้นไปแขวนบนยอดไม้ ทำนองว่าดาวรุ่งขึ้นแล้ว ถนนจึงยังไม่เชื่อมกัน
และแนวถนนยังไม่ตรงกันอีก พระมโหสถเสียใจมาก เอาขนมขันหมากที่จัดเตรียมไว้นั้นสาดทิ้งเสีย
ณ หนองน้ำแห่งหนึ่ง ที่ปัจจุบันเรียกว่า หนองขันหมาก ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างแนวคันดินทั้งสองนั้น
โบราณสถานบ้านปราสาท
ตัวโบราณสถานตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท ตำบลหาดนางแก้ว อำเภอกบินทร์บุรี ตัวปราสาทตั้งอยู่ในที่ลุ่ม
เป็นปราสาทที่สร้างด้วยศิลาแลง ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน เป็นปราสาทหลังเดียวขนาดย่อม
มีกำแพงกว้างด้านละ ๓๒ เมตร ตัวกำแพงหนา ๑.๐๐ เมตร สูง ๑.๔๐ เมตร ภายในบริเวณกำแพงมีฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลงกว้างประมาณ
๙ เมตร ยาวประมาณ ๑๒ เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านกำแพงมีลักษณะคล้ายคูน้ำเก่าล้อมรอบ
ตัวปราสาทและบริเวณภายในกำแพงพูนดินสูงขึ้น ทางด้านทิศเหนือมีโคกเนินใหญ่
บริเวณผิวดินพบเศษภาชนะดินเผา เป็นเครื่องถ้วยสมัยลพบุรีกระจายอยู่หนาแหน่น
ทางด้านทิศตะวันออกห่างออกไปประมาณ ๑๐๐ เมตร มีแนวคันดินโบราณสั้น ๆ ทอดตรงเข้ามายังปราสาท
เดิมคงใช้เป็นทางเดิน และอาขกลายเป็นคันกั้นน้ำในฤดูฝน
จากลักษณะของปราสาท สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ -
๑๘
โบราณสถานบ้านปราสาท ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐
|