ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

ภาษาและวรรณกรรม
            จังหวัดสระแก้ว มีประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ อพยพเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก ประชากรจึงมีหลายกลุ่มกระจายกันอยู่ในตำบลและหมู่บ้านต่าง ๆ กลุ่มชนดังกล่าวต่างใช้ภาษาของตนในการติดต่อสื่อสาร สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีจากชนรุ่นเก่าจนถึงปัจจุบัน
            ภาษา จากการศึกษาของชนกลุ่มต่าง ๆ พบว่ามีการใช้ภาษาดังนี้
                ภาษาไทยกลาง  เป็นภาษาที่ประชากรที่อยู่ในเขตเมืองใช้มากที่สุด
                ภาษาไทยลาว  เป็นภาษาที่ใช้พูดกันมากในเขตชนบท เพราะมีชาวไทยลาวหรือไทยอีสานอพยพเข้ามาทำมาหากินในจังหวัดสระแก้วหลายครั้ง และเป็นจำนวนมาก
                ภาษาไทยลาวจะแตกต่างจากภาษาไทยกลางตรงที่ไม่มีเสียงพยัญชนะ ฉ ช ร และจะใช้ ซ แทน ช ในภาษาไทยกลาง  ใช้ ฮ แทน ร ในภาษาไทยกลาง  ส่วนคำอื่น ๆ ที่ใช้แตกต่างกับภาษาไทยกลางอีกหลายคำ
                ภาษาย้อ  ชาวไทยย้อได้อพยพมาอยู่ที่บ้านดงอรัญในเขตอำเภอศรีโสภณ กัมพูชา ต่อมาได้อพยพเข้ามาอยู่ในเขตไทยทางด้านตะวันออกของจังหวัดสระแก้ว ในเขตอำเภออรัญประเทศ
                ภาษาย้อในจังหวัดสระแก้วมีแต่ภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน  ภาษาย้อคล้ายกับภาษาไทยลาวทั่วไปเพราะเป็นภาษาถิ่นย่อยของลาว แต่ภาษาย้อจะแตกต่างกับภาษาไทยลาวในด้านการออกเสียง โดยภาษาย้อจะมีเสียงแหลมและมีการทอดเสียงมากกว่าภาษาไทยลาวทั่วไป
                ภาษาไทยเบิ้ง คือ ภาษาไทยโคราช คำว่า เบิ้ง เป็นคำที่ชาวอีสานกลุ่มอื่นใช้เรียกชาวไทยโคราช ลักษณะที่สำคัญคือ มีเสียงลงท้ายประโยคโดยเฉพาะได้แก่ ด๊อก (ดอก)  แหล่ว (แล้ว)  เบิ้ง (บ้าง)  เหว่ย (หว่า)  นี้ (เหรอ)  คำว่า เด้อ ใช้ลงท้ายประโยค เมื่อแจ้งให้ทราบอย่างสุภาพและเป็นคำขอร้อง  คำว่า นี เป็นคำสร้อย เป็นคำรับรู้อย่างสุภาพ
                ภาษาไทยเบิ้งใช้กันมากในบ้านช่องกุ่ม บ้านแซร์ออ อำเภอวัฒนานคร และบ้านโคกมะกอก บ้านหนองปรือ อำเภอตาพระยา และบางตำบลในอำเภอคลองหาด อำเภอวังสมบูรณ์ และอำเภอวังน้ำเย็น
                ภาษาเขมร  เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันบริเวณพรมแดนที่มีเขตติดต่อกับกัมพูชาในอำเภอตาพระยา กิ่งอำเภอโคกสูง และบ้านตุ่น บ้านหนองบัวเหนือ ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ
                กลุ่มคนที่พูดภาษาเขมรในจังหวัดสระแก้ว เป็นชนเชื้อชาติเดียวกับชาวกัมพูชา แต่เป็นกลุ่มชนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในไทยมานานจนกลายเป็นคนไทย ภาษาเขมรที่ใช้พูดในจังหวัดสระแก้วไม่แตกต่างจากภาษาเขมรในกัมพูชามากนัก
                ภาษาส่วย  ใช้อยู่ในแถบบ้านคลองฝักมีด ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น และบางหมู่บ้านในตำบลวังสามสิบอำเภอเขาฉกรรจ์ และที่บ้านน้อยละลมดิน ตำบลโคกสูง กิ่งอำเภอโคกสูง  บ้านกุลเตย ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา
                คำว่า ส่วย เป็นคำที่คนไทยใช้เรียกคนพื้นเมืองภาคอีสานตอนล่างที่อยู่ใกล้เคียงกับชาวไทยที่พูดภาษาเขมร ชนพวกนี้แต่เดิมอาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ แล้วอพยพเข้ามาอยู่ในจังหวัดสระแก้ว ชาวส่วยเรียกตนเองว่ากวยหรือกูย ซึ่งหมายถึงคน
                ภาษาส่วยเป็นภาษาหนึ่งที่อยู่ในตระกูลภาษามอญ - เขมร
                ภาษาจีน  เป็นภาษาเฉพาะกลุ่มที่ใช้พูดกันในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีนที่ทำการค้าอยู่ในตัวเมืองในอำเภอต่าง ๆ และมีคำบางคำที่นำมาใช้กันแพร่หลาย เช่น ฮั้ว หมายถึง สมัครสมาน กลมเกลียว เป็นต้น
                ภาษาเวียดนาม  เป็นภาษาเฉพาะชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในตลาดอรัญประเทศ ไม่เป็นที่แพร่หลายนัก ปัจจุบันจะพูดภาษาไทยกลางเป็นส่วนใหญ่
            จารึก  เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษรลงบนวัสดุชนิดต่าง ๆ เช่น ศิลา แผ่นโลหะ อิฐ ฯลฯ
            จังหวัดสระแก้วมีจารึกสำคัญหลายหลัก เนื้อความในจารึกเหล่านั้นเป็นหลักฐานให้ทราบว่าในอดีตเขตจังหวัดสระแก้วเป็นบริเวณที่มีความเจริญ มีอารยธรรมเป็นของตนเอง มีกษัตริย์ปกครองที่นับถือศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย และชาวพื้นเมืองนับถือพระพุทธศาสนา มีภาษาที่สื่อความหมายในชุมชนนี้สามภาษาคือ ภาษาสันสกฤต ภาษาบาลีและภาษาเขมร ภาษาสันสกฤตใช้ในกลุ่มผู้นับถือศาสนาฮินดู ภาษาบาลีใช้ในกลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธ ภาษาเขมรเป็นภาษาที่ชาวพื้นเมืองใช้โดยทั่วไป
            ในส่วนรูปอักษรนั้นใช้รูปอักษรแบบเดียวกันคือรูปแบบอักษรที่ได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบอักษรในสมัยราชวงศ์ปัลลวะของอินเดียตอนใต้ และได้มีวิวัฒนาการไปตามสภาพธรรมชาติของคนในภูมิภาคนี้โดยลำดับ
                จารึกเขาน้อย  เป็นจารึกบนหินทราย พบที่วัดเขาน้อยสีชมพู ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จารึกด้วยตัวอักษรปัลลวะเป็นภาษาสันสกฤตและเขมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒  ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดเขาน้อยสีชมพู

                จารึกเขารัง  เป็นจารึกบนหินทรายเนื้อหยาบ พบที่เขารัง ตำบลอรัญ อำเภออรัญประเทศ จารึกด้วยอักษรปัลลวะ เป็นภาษาสันสกฤตและเขมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒  ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอพระสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพ ฯ

                จารึกช่องสระแจง  เป็นจารึกบนหินทรายสีเทา ลักษณะคล้ายใบเสมา พบที่บ้านช่องสระแจง ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จารึกด้วยอักษรปัลลวะ เป็นภาษาสันสกฤต มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒  ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
                จารึกสด๊กก๊อกธม ๑  เป็นจารึกบนหินทรายสีแดง ลักษณะคล้ายใบเสมา พบที่บ้านสระแจง ตำบลโคกสูง อำเภออรัญประเทศ
จารึกด้วยอักษรขอมโบราณเป็นภาษาเขมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕  ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
                จารึกสด๊กก๊อกธม ๒  เป็นจารึกบนหินชนวน เป็นหลักสี่เหลี่ยม พบบริเวณปราสาทเมืองพร้าว (ชื่อเดิมของปราสาทสด๊กก๊อกธม) ตำบลโคกสูง อำเภออรัญประเทศ จารึกด้วยอักษรขอมโบราณเป็นภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นหลักฐานที่บ่งให้ทราบว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ.๑๕๙๕ เพื่อเป็นเทวสถานประดิษฐานศิวลึงค์  ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอพระสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพ ฯ
                จารึกบ้านพังพวย  เป็นจารึกบนหินทรายสีแดงรูปใบเสมา พบที่บ้านพังพวย อำเภออรัญประเทศ จารึกด้วยอักษรขอมโบราณเป็นภาษาเขมร เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕  ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
                จารึกทวลระลมทิม  เป็นจารึกบนหินทรายเนื้อละเอียดรูปแท่งสี่เหลี่ยม พบที่ตำบลโคกสูง อำเภอตาพระยา จารึกด้วยอักษรขอมโบราณเป็นภาษาเขมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕  ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอพระสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติกรุงเทพ ฯ

               จารึกวัดตาพระยา  เป็นจารึกบนหินทรายรูปใบเสมา พบที่วัดตาพระยา ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จารึกด้วยอักษรขอมโบราณเป็นภาษาเขมร มีอายุอยู่ประมาณ พ.ศ.๑๕๒๐ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดตาพระยา
               จารึกพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑  เป็นจารึกบนหินรูปใบเสมา พบในเขตจังหวัดสระแก้ว จารึกกด้วยอักษรขอมโบราณเป็นภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพ ฯ

                จารึกปราสาททัพเซียมที่ ๑  เป็นจารึกบนศิลา มีลักษณะเป็นหลืบประตูรูปสี่เหลี่ยม ด้านทิศเหนือของปราสาท พบที่ปราสาททัพเซียม อำเภออรัญประเทศ จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ เป็นภาษาเขมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอพระสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพ ฯ

                จารึกปราสาททัพเซียม ๒  เป็นจารึกบนศิลา มีลักษณะเป็นหลืบประตูสี่เหลี่ยม ด้านทิศใต้ของปราสาท พบที่ปราสาททัพเซียม อำเภออรัญประเทศ จารึกด้วยอักษรขอมโบราณเป็นภาษาเขมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอพระสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพ ฯ
                จารึกเขาโล้น  เป็นจารรึกบนศิลากรอบประตูทางเข้าปราสาทเขาโล้นทั้งสองข้าง พบที่ปราสาทเขาโล้น อำเภอตาพระยา จารึกเป็นภาษาสันสกฤต มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖
                นอกจากนี้ยังมีจารึกอื่น ๆ อีกเช่น จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ จารึกปราสาทตาเมอ และจารึกประติมากรรมโคกบัลลังก์ ซึ่งยังไม่สามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้
                จากจารึกโบราณที่พบในจังหวัดสระแก้ว อาจกำหนดยุคสมัยหรืออายุของจารึกตามลักษณะใกล้เคียงของตัวอักษรได้เป็นสองรุ่นคือ
                    รุ่นที่ ๑  อักษรปัลลวะ หรืออักษรอินเดียใต้ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๓ จารึกรุ่นนี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาสันสกฤตและเขมร เนื้อหาของจารึกคือกล่าวสรรเสริญผู้ปกครองและลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ การบูชาพระศิวะ ได้แก่ จารึกเขาน้อย จารึกเขารัง และจารึกช่องสระแจง
                    รุ่นที่ ๒  อักษรขอมโบราณ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ตอนปลาย ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นภาษาเขมรโบราณและสันกฤต เนื้อหากล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ สรรเสริญผู้ปกครองที่ท่านบำรุงศานา รวมถึงกษัตริย์
           ตำนาน  เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมานาน มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์ วีรกรรมของบรรพบุรุษ อันเป็นที่มาของวัตถุหรือสถานที่สำคัญของท้องถิ่น
                ตำนานเขาทะลุ  ตามตำนานมีอยู่ว่า เจ้าชายแห่งเขาฉกรรจ์ไปหลงรักลูกสาวยักษ์ เมืองพระสระเนตร จึงได้แปลงกายซ่อนอยู่ในสระ เมื่อลูกสาวยักษ์ลงไปอาบน้ำจึงได้พบและรักกัน แล้วพากันหนีไปอยู่ที่เขาฉกรรจ์ เมื่อยักษ์ทราบเรื่องจึงได้ยกทัพมาตามจับ แต่ตามไม่ทัน จึงได้ใช้ธนูยิงไปถูกภูเจาทะลุ กลายเป็นตำนานของเขาทะลุหรือถ้ำทะลุ อำเภอเขาฉกรรจ์ ตั้งแต่นั้นมา
                ตำนานทัพองค์ดำและเขาฉกรรจ์  ตามตำนานมีอยู่ว่า ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น ได้มีสัมพันธไมตรีกับเขมร แต่เขมรไม่ซื่อตรง คราวใดที่ทัพไทยมีสงครามกับพม่า เขมรมักจะยกทัพมาริบทรัพย์และกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลย แต่เมื่อใดที่ไทยไม่มีศึกสงคราม เขมรก็ทำตัวเป็นมิตรที่ดี พฤติกรรมดังกล่าวของเขมร ทำให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงไม่พอพระทัย ครั้นว่างจากศึกพม่าก็ยกกองทัพจะไปปราบเขมรให้รู้สำนึก แต่เมื่อยกกองทัพมาถึงบริเวณชายแดน ก็เห็นว่าเขมรมีกำลังมาก พระองค์จึงให้ทหารในกองทัพไปฝึกปรือชาวบ้านในหมู่บ้านต่าง ๆ ในบริเวณจังหวัดสระแก้ว ให้ใช้อาวุธปืนเพื่อจะได้เป็นกำลังไปรบกับเขมร
                เมื่อฝึกเสร็จในวันพระจันทร์เต็มดวง เช้าวันรุ่งขึ้นก็ให้แม่ทัพนายกอง นำชาวบ้านที่ตนไปฝึกมาพบกันที่ภูเขารูปร่างประหลาด ส่วนพระองค์ประทับอยู่ที่เส้นทางระหว่างภูเขาลูกนั้นกับชายแดนไทย - เขมร ซึ่งต่อมาภายหลังเรียกที่แห่งนั้นว่า ทับองค์ดำ
                บรรดาแม่ทัพนายกองต่างก็พาทหารที่ตนไปฝึกมาพร้อมกันที่ลาน ณ ภูเขาลูกนั้น ทหารเหล่านั้นล้วนเป็นชายหนุ่มอยู่ในวัยฉกรรจ์ จึงได้เรียกเขานั้นว่า เขาฉกรรจ์ ตั้งแต่นั้นมา
            นิทานพื้นบ้าน ส่วนใหญ่เป็นนิทานลาว มีหลายเรื่องด้วยกัน
                เรื่องนางผมหอม  เรื่องมีอยู่ว่า พระโพธิสัตว์ เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นลูกท้าวพระยา ในอดีตกาลมีเมืองนครศรี พระราชาและพระมเหสีมีธิดารูปงามชื่อนางสีดา เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี ได้ไปเที่ยวป่าแล้วพลัดหลงจากพวกนางสนมกำนัล รอนแรมในป่าอยู่หลายวัน ได้ไปดื่มน้ำที่รอยเท้าช้าง และรอยเท้ากระทิง ต่อมาเมื่อนางกลับถึงเมืองก็ตั้งครรภ์ อันเนื่องมาจากการดื่มน้ำครั้งนั้น ได้ประสูติเป็นธิดาสององค์คือนางผมหอม และนางลุน นางผมหอมนั้นมีผมหอมเหมือนเกสรดอกไม้นานาชนิด เมื่อทั้งสองนางเจริญวัย ก็พยายามไต่ถามมารดาถึงบิดาของตน แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน แต่ในที่สุดนางสีดาก็เล่าเรื่องให้ลูกทั้งสองฟัง เมื่อธิดาทั้งสองเจริญวัยได้ ๑๓ ปี ทั้งสองนางได้ขออนุญาตมารดาไปตามหาบิดา
                ครั้นได้พบพระยาช้างผู้พ่อของนางผมหอม พระยาช้างก็ทำการเสี่ยงทายว่าถ้าเป็นเชื่อสายก็จะสามารถไต่ตามงาขึ้นไปนั่งบนหลังช้างได้ นางลุมไม่สามารถทำได้เพราะนางเป็นลูกกระทิง จึงถูกจับกินเป็นอาหาร นางผมหอมเสียใจมากที่พระยาช้างฆ่าน้องของตน แต่ต้องจำใจไปกับพระยาช้าง พระยาช้างให้ฝูงช้างสร้างปราสาทเสาสูงให้นางผมหอมอยู่ และพระยาช้างได้แสวงหาเครื่องใช้ของมนุษย์ อาหารการกินและจับหญิงชาวบ้านมาให้เป็นคนรับใช้นางผมหอม
                เมื่อนางผมหอมอายุได้ ๑๖ ปี คิดอยากมีคู่ครองจึงนำผมของตนใส่ผอบลอยน้ำไปพร้อมกับเสี่ยงทายว่า หากคู่ครองของนางอยู่ที่ใด ก็ขอให้ผอบทองลอยน้ำไปถึงที่นั่น โดยที่นางได้ใส่สารแจ้งความจำนงของนางไปด้วย
                มีเมืองหนึ่งเจ้าเมืองมีโอรสอายุได้ ๑๖ พรรษา จึงได้จัดทำพิธีให้เจ้าชายเลือกคู่ โดยได้สั่งให้หัวเมืองต่าง ๆ ส่งพระธิดามาให้เจ้าชายเลือกเป็นนคู่ครอง ในงานพิธีนั้นเสนาอำมาตย์ได้พบผอบทองเสี่ยงทายของนางผมหอมจึงนำมาถวายเจ้าชาย เมื่อเจ้าชายเปิดดูพบสารเสี่ยงทายและเส้นผมก็เกิดความคลั่งไคล้นางผมหอมมาก จึงออกไปติดตามนางได้เดินทางผ่านเมือง นางผีโพง นางได้แปลกายเป็นนางผมหอมแต่เจ้าชายจับได้ จากนั้นก็ได้เดินทางต่อไปจนถึงแดนพระยาช้าง และได้พบนางผมหอม นางได้ซ่อนเจ้าชายไว้บนปราสาทสูงจนมีโอรสธิดาสององค์ โอรสชื่อ สีลา ธิดาชื่อ ชาดา
                ต่อมาเจ้าชายและนางผมหอมคิดจะกลับเมืองจึงพาโอรสธิดาหนีพระยาช้างไป พระยาช้างรู้เรื่องเข้าก็โกรธ และออกติดตามจนมาทันที่ภูเขาลูกหนึ่ง พระยาช้างอ้อนวอนให้นางผมหอมลงมาหา แต่นางผมหอมไม่ยอมลงมา ก่อนตายพระยาช้างได้บอกให้เอางาของตนไป งาขวาเป็นอาวุธทำลายศัตรูได้ทุกประการ ส่วนงาซ้ายสามารถใช้เป็นพาหนะได้ทุกชนิดตามที่ต้องการ
                เจ้าชายกับนางผมหอม พร้อมทั้งโอรสธิดาได้เดินทางกลับเมืองโดยใช้งาพระยาช้างเป็นเรือ ระหว่างทางต้องผ่านเขตเมืองนางผีโพง นางผีโพงหาโอกาส ผลักนางผมหอมแล้ว แปลงตนเป็นนางผมหอม ส่วนนางผมหอมพยายามร้องเรียกให้ช่วย แต่เจ้าชายไม่ได้ยิน เพราะถูกเวทมนตร์ของนางผีโพง  แต่โอรสธิดาได้ยินก็อ้อนวอนให้บิดาจอดเรือคอยมารดา แต่นางผีโพงแปลงขู่จะทำร้าย ในที่สุดเจ้าชายก็พานางผีโพงกลับเข้าเมือง
                โอรสธิดาทั้งสองพากันหนีไปตามหามารดา นางผมหอมได้ไปอาศัยอยู่กับฝูงลิงกัง เมื่อพบแล้วก็พากันกลับเมือง เจ้าชายทราบเรื่องแล้วจึงพากันไปประพาสป่า และพบนางผมหอมจึงพากลับเมือง แล้วกำจัดนางผีโพงแสียแล้ว ทั้งสี่จึงพากันเข้าเมืองและอยู่กันมาด้วยความปกติสุข
                ตอนท้ายเรื่องได้กล่าวถึงการประชุมชาดกไว้ด้วยคือ นางสีดากลับชาติมาเกิดเป็นนางปชาบดีโคตมี นางลุนเป็น นางวิสาขา พระยาช้างเป็น พระโมคคัลลานะ เจ้าชายเป็น พระพุทธองค์ นางผมหอมเป็น นางพิมพา ฯลฯ
                เรื่องสังข์ศิลป์ชัย หรือสินไซ  เนื้อเรื่องมีอยู่ว่า ท้าวกุศราชครองเมืองปัญจาล มีมเหสีแปดคน เมื่อทุกคนตั้งครรภ์ โหรทำนายว่าโอรสของนางปทุมมา และนางจันทา จะเป็นผู้มีบุญ มเหสีอีกหกคนอิจฉาจึงใส่ร้ายโอรสของนางปทุมมา ซึ่งคลอดโอรสถือศรและดาบออกมา ส่วนนางจันทาคลอดโอรสออกมาเป็นราชสีห์ ว่าโอรสทั้งสองนั้นเป็นกาลกินี นางทั้งสองจึงถูกไล่ออกจากเมือง เทวดาได้เนรมิตเมืองอันทปัตก์ ให้โอรสทั้งสองคือ สังข์ศิลปชัยและราชสีห์อยู่
                ต่อมาเมื่อหกกุมารโอรสของมเหสีทั้งหก มาพบสังข์ศิลปชัยก็ได้หลอกให้ไปตามหาอา คือนางสุมณฑา ซึ่งถูกยักษ์ลักตัวไปเป็นมเหสี ระหว่างทางต้องพบภยันตรายมากมายทั้งด่านงู ด่านยักษ์ ด่านช้าง แต่สังข์ศิลป์ชัยก็สามารถฆ่ายักษ์และพานางสุมณฑากลับมาได้ แต่ระหว่างทางได้ถูกหกมารผลักตกเหว แล้วหกกุมารก็พานางสุมณฑาและธิดากลับเมือง นางสุมณฑาพยายามจะบอกความจริงแก่ท้าวกุศราช แต่หกกุมารแสร้งว่านางถูกปีศาจยักษ์สิงจึงใส่ร้ายตน
                นางสุมณฑาก็เล่าความโดยตลอดแล้ว อธิษฐานด้วยการเสี่ยงผ้าสไบ ปิ่นและช้อง ว่า ถ้าสังข์ศิลป์ชัยยังไม่ตายก็ขอให้ได้ของทั้งสามสิ่งคืนมา พระอินทร์ได้มาช่วยชุบชีวิตสังข์ศิลป์ชัย และเทวดาได้ดลใจให้ขุนจีนเดินทางมาพบ สไบ ปิ่น และช้องที่สวยงาม จึงได้นำไปถวายท้าวกุศราช ท้าวกุศราชเห็นจริงตามคำอธิษฐานของนางสุมณฑา จึงให้จับหกกุมารพร้อมทั้งมารดาทั้งหกไปลงโทษ จากนั้นได้ไปรับนางปทุมมา นางจันทา สังข์ศิลป์ชัย และราชสีห์ กลับเมืองปัญจาล แล้วมอบราชสมบัติให้สังข์ศิลป์ชัยครอบครอง
                เรื่องท้าวขูลูนางอั้ว  เนื้อเรื่องมีอยู่ว่า ท้าวขูลูเป็นโอรสเจ้าเมืองพาราณสี ส่วนนางอั้วเคี่ยม เป็นธิดาเจ้าเมืองกายนคร ทั้งสองเมืองเป็นมิตรกัน และเคยให้คำมั่นกันไว้ว่า ถ้ามีโอรสธิดาจะยกให้อภิเษกสมรสกัน เมื่อนางอั้วเคี่ยมโตขึ้นก็มีความสวยงาม เป็นที่เลื่องลือไปถึงเมืองขุนลาว ซึ่งเป็นขอมภูเขาก่ำ (เขมรป่าดง) เป็นชนเผ่าทั้งที่ยังไม่เจริญ
                เมื่อท้าวขูลูเจริญวัยอยากมีคู่ครองจึงมาเที่ยวเมืองกายนคร และนำเครื่องบรรณาการมาเยี่ยมเจ้าเมืองด้วย เมื่อพบนางอั้วเคี่ยมก็เกิดรักกัน เมื่อกลับเมืองก็จะส่งผู้ใหญ่มาสู่ขอนาง
                ฝ่ายขุนลาวก็ได้ส่งผู้ใหญ่มาสู่ขอนางอั้วเคี่ยม มารดานางอั้วเคี่ยมก็รับปาก เพราะนางไม่พอใจมารดาท้าวขูลู ซึ่งเป็นเพื่อนกันเมื่อครั้งนางไปเที่ยวอุทยานเมืองกาสี และได้ตัดขาดจากความเป็นเพื่อนกัน
                นางอั้วเคี่ยมรู้ว่ามารดารับปากการสู่ขอของขุนลาว ก็เสียใจและไม่ยอมรับโดยอ้างว่าขุนลาวเป็นคนนอกศาสนา ไม่นับถือพระธรรม
                ฝ่ายท้าวขูลูได้บอกบิดามารดามาสู่ขอนางอั้วเคี่ยม เมื่อส่งแม่สื่อมาสู่ขอ มารดาของนางอั้วเคี่ยมก็ไม่ยอมตกลง โดยอ้างว่าได้ตกลงกับฝ่ายขุนลาวไว้ก่อนแล้ว ท้าวขูลูจึงขอให้บิดาส่งแม่สื่อมาขอพบนางอีกครั้ง และได้อ้างคำพูดที่เคยตกลงกัน แต่มารดานางอั้วเคี่ยมได้กล่าวถึงความโกรธเมื่อครั้งตนไปเที่ยวอุทยาน และขอคืนคำมั่นทั้งหมด
                ในที่สุดก็ตกลงกันว่า จะทำพิธีเสี่ยงทายแนน หรือรกห่อหุ้มทารก ซึ่งเชื่อกันว่าทุกคน จะมีสายรกพันกันอยู่บนเมืองแถน ก่อนมาเกิดและจะต้องเป็นคู่กันตามสายแนนนั้น ๆ ถ้าแต่งงานผิดสายแนนจะต้องหย่าร้างกัน จึงต้องทำพิธีเสี่ยงสายแนน เพื่อจะดูว่าทั้งสองเป็นคู่กันหรือไม่ โดยให้คนทำพิธีเซ่นพระยาแถน และรำของไปถวายพระยาแถน เพื่อขอดูสายแนนของทั้งสองคน ได้พบว่าสายแนนทั้งสองพันกันอยู่  แต่ตอนปลายยอดด้วนและแยกออกจากกัน แสดงว่าเป็นเนื้อคู่กันแต่อยู่กันไม่ยืด ต้องพรัดพรากจากกัน นอกจากนี้สายแนนของท้าวขูลูมีแท่นทองอยู่ด้วย แสดงว่าเป็นพระโพธิสัตว์
                เมื่อได้ทราบความดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายก็ตกลงกันได้บางส่วนคือ ท้าวขูลูจะส่งขันหมากมาสู่ขออีกครั้ง
                ฝ่ายมารดานางอั้วเคี่ยมได้ทราบว่าธิดาของตนได้ลักลอบพบกับท้าวขูลู ที่อุทยานก็ว่ากล่าวธิดาของตน นางอั้วเคี่ยมเสียใจจึงผูกคอตายที่อุทยาน ส่วนขุนลาวก็ถูกธรณีสูบในคราวเดียวกัน
                ฝ่ายท้าวขูลู ทราบข่าวการตายของนางอั้วเคี่ยมก็เสียใจมาก จึงฆ่าตัวตายตามในที่สุด
                ย้อนไปในอดีตชาติ ท้าวขูลูและนางอั้วเคี่ยมได้ก่อเวรไว้ จึงต้องมาใช้กรรมในชาตินี้ เพราะเมื่อชาติก่อนท้าวขูลูเป็นเจ้าเมืองเบ็งชอน (บัญชร) นางอั้วเคี่ยมเกิดเป็นมเหสีชื่อ นางดอกซ้อน มีผัวเมียคู่หนึ่งไม่ยำเกรงนางดอกซ้อน นางโกรธมากจึงมาฟ้องเจ้าเมืองให้ลงโทษผัวเมียคู่นี้ เจ้าเมืองสั่งไม่ให้เป็นผัวเมียกัน ทำให้ผัวเมียคู่นั้นเสียใจมากจึงฆ่าตัวตายทั้งผัวเมีย เวรกรรมในชาติก่อนจึงตามมาสนองในชาตินี้ ทั้งสองได้ไปเกิดบนสวรรค์ และได้พบกันอีก
                ฝ่ายเมืองกาสีและเมืองกายนครได้จัดงานศพทั้งสอง โดยนำมาเผาเคียงคู่กันแล้วสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิทั้งสองคนไว้ที่เดียวกัน ทั้งสองเมืองก็กลับมาสมานสามัคคีกันดังเดิม
                เรื่องพระลักพระลาม  เนื้อเรื่องมีอยู่ว่าเป็นเรื่องในชาดก พระโพธิสัตว์เกิดมาใช้ชาติ  มีท้าวฮาบมะนาสวน (ราพนาสูร - ทศกัณฐ์) ครองเมืองลงกา ได้เรียนวิชาแปลงกายจากพระอินทร์  วันหนึ่ง พระอินทร์ไม่อยู่ ท้าวฮาบมะนาสวนได้แปลงกายเป็นพระอินทร์เข้าห้องนางสุชาดา มเหสีพระอินทร์  นางสุชาดาทราบภายหลังว่าเป็นพระอินทร์ปลอม จึงได้กราบทูลให้พระอินทร์ทราบเรื่อง พระอินทร์เล็งเห็นว่านางจะสิ้นบุญที่จะอยู่ในสวรรค์ จึงให้นางไปเกิดในโลกมนุษย์ เพื่อใช้หนี้กรรม
                นางได้ไปเกิดในครรภ์ของมเหสีท้าวฮาบมะนาสวน เมื่อคลอดมาเป็นธิดา โหรทำนายว่านางจะเป็นผู้สร้างความเดือดร้อนให้บ้านเมือง และเผ่าพงศ์ยักษ์  ดังนั้น ท้าวฮาบมะนาสวนจึงให้นำนางไปปล่อยไว้ในป่าหิมพานต์ แต่ด้วยบุญญาธิการของนาง ทำให้ฤาษีไปพบนางเข้าจึงเก็บมาเลี้ยงตั้งชื่อว่า สีดา  เมื่อนางเจริญวัย นางมีรูปโฉมงามมาก เป็นที่เลื่องลือไปทุกหัวเมือง ท้าวฮาบมะนาสวนก็ได้มาสู่ขอโดยไม่ทราบว่านางเป็นธิดาของตน  ฝ่ายฤาษีก็ไม่ขัดข้อง และขอให้ยกศรเสี่ยงทาย หากมีบุญญาธิการคู่ควรกับนาง ก็จะยกศรนั้นได้ แต่ท้าวฮาบมะนาสวนไม่สามารถยกศรได้
                กล่าวถึงเมืองสัตนาค พระลามครองเมืองอยู่อย่างสันติสุข ยังไม่มีคู่ครอง เมื่อทราบเรื่องของนาง จึงไปสู่ขอนางพร้อมพระลัก พระลามยกศรได้ และได้นางสีดาจันทะแจ่มเป็นมเหสี ด้วยความดีใจที่ได้นางมาจึงกลับเมืองโดยมิได้ลาฤาษี ฤาษีโกรธจึงสาปให้ทั้งสองมีอันเป็นไปต้องพลัดพรากจากกัน
                ในขณะที่ทั้งสามคนเดินทางกลับเมือง ท้าวฮาบมะนาสวนทราบเรื่องจึงมาเนรมิตเมืองศรีสัตนาคขึ้นมาดักทาง แต่พระลาม
รู้ทันจึงแผลงศรทำลายเมืองเสีย ท้าวฮาบมะนาสวนจึงทำอุบายแปลงตัวเป็นกวางทองลักพานางสีดาไป ระหว่างทางผ่านเมืองพญาครุฑซึ่งเป็นเพื่อนพระลาม พญาครุฑได้เข้าขัดขวางแต่แพ้ท้าวฮาบมะนาสวน พระลามพระลักตามมาถึงได้ทราบความจากพญาครุฑ จึงออกติดตามไปจนถึงต้นมณีโคตร พระลามเสวยผลมณีโคตรกิ่งทางใต้ก็กลายร่างเป็นลิง พระลักเสวยผลทางกิ่งด้านชี้ฟ้า จึงมีรูปสวยงามกว่าเดิม ทั้งสองได้อยู่ในป่านั้น
                กล่าวถึงฤาษีตนหนึ่งมีภรรยาชื่อนางอินทา พระอาทิตย์มาเป็นชู้กับนางอินทามีลูกออกมาสามคนคือสังคีบ (สุครีพ)  พะลีจันทร์ (พาลี) และธิดาชื่อนางแก้วแพงศรี  ฤาษีแปลกใจที่ลูกทั้งสามไม่มีลักษณะเหมือนตนเลย จึงนำลูกทั้งสามไปเสี่ยงทายน้ำปรากฏว่า สังคีบและพะลีจันทร์ไม่ใช่ลูกของฤาษี จึงลอยไปตามน้ำ ส่วนนางแก้วแพงศรีกลับอาศรม นางอินทาทราบเรื่องก็โกรธฤาษีมาก จึงจับนางแก้วแพงศรีเหวี่ยงไปถึงภูเขา นางเดินอยู่ในป่าจนมาถึงต้นมณีโคตรทางทิศใต้ก็กลายเป็นลิง ลิงพระลาม และลิงนางแก้วแพงศรีได้สมสู่กันมีลูกออกมาเป็นลิงเผือกชื่อหุลละมาน (หนุมาน)  ต่อมาเมื่อพระลามได้มากินลูกมณีโคตรกิ่งที่ชี้ฟ้า จึงกลายร่างกลับเป็นมนุษย์ตามเดิม แล้วพระลามพระลักก็ออกตามนางสีดา ฯ ต่อไป
                กล่าวถึงควายหัวละพี (ทรพี) เมื่อฆ่าพ่อแล้วได้เดินทางมาถึงเมืองสังคีบพะลีจันทร์ แล้วท้ารบกับพะลีจันทร์ในถ้ำ พะลีจันทร์ชนะ พวกเสนามาตย์จึงยกเมืองให้พะลีจันทร์ครอบครอง ส่วนสังคีบโกรธน้องที่ช่วงชิงเมืองจึงไล่ฆ่าพะลีจันทร์ พะลีจันทร์หนีไปจนพบพระลามพระลัก จากนั้นทั้งสามจึงเดินทางไปที่เมืองแล้วฆ่าสังคีบตาย พะลีจันทร์ขอให้พระลามครองเมือง พระลามคิดถึงลูกและเมียลิง จึงให้พระลักกับพะลีจันทร์ไปนำมาอยู่ในเมือง พระลักพยายามให้ลิงแม่ลูกกินลูกมณีโคตรกิ่งที่ชี้ฟ้า นางแก้วแพงศรีจึงกลายร่างเป็นมนุษย์ดังเดิม  ส่วนลิงหุลละมานมีกรรมแต่ชาติก่อน จึงไม่กลายเป็นมนุษย์ พระลามจึงพาทั้งหมดกลับเมือง
                พระลามได้ใช้ให้หุลละมานไปตามนางสีดา ฯ  ที่เมืองลงกา ได้รบกับท้างฮาบมะนาสอน และเผาเมืองลงกา ต่อมาพระลามได้เตรียมกำลังพล จากเมืองสังคีบไปยังลงกา พระลามให้สร้างสะพานหินข้ามไปลงกา หุลละมานได้พบนางมัสสา (มัจฉา) และสมสู่กันมีลูกชื่อ ท้าวอุทธา (มัจฉานุ)
                เมื่อสร้างสะพานเสร็จพระลามก็ยกทัพข้ามไปเมืองลงกา ได้ชนช้างกับท้าวฮาบมะนาสอน ท้าวฮาบมะนาสอนแพ้จึงไปขอกำลังจากเพื่อนชื่อ โมกกะสักมาช่วนรบ พระลามถูกหอกโมกกะสัก หุลละมานต้องไปเที่ยวหาเก็บยามารักษาพระลาม เมื่อพระลามปราบท้าวฮาบมะนาสอนได้แล้ว จึงเวนเมืองให้ท้าเสตถะราช ผู้เป็นโอรสท้าวฮาบมะนาสอน แล้วพระลามพระลัก พร้อมทั้งนางสีดา ฯ ก็กลับเมืองศรีสัตนาค และให้พะลีจันทร์ไปครองเมืองสงคีบตามเดิม
                เมื่อกลับถึงเมืองศรีสัตนาคแล้ว นางสีดา ฯ ได้วาดรูปท้าวฮาบมะนาสอน พระลามเห็นเข้าก็โกรธ จึงสั่งให้ประหารชีวิตนาง แต่พระลักไม่ฆ่าและปล่อยนางไป นางไปอาศัยอยู่กับฤาษี และประสูติโอรส เมื่อโอรสเจริญวัย พระลามได้สั่งให้หุลละมานไปปราบแต่สู้ไม่ได้ ถูกมักส่งกลับมา พระลามจึงให้เสนาไปสอบถามว่าเป็นลูกใคร จึงมีฤทธิ์มาก ในที่สุดก็รู้ว่านางสีดา ฯ ยังไม่ตาย จึงให้ไปรับนางและโอรสกลับเข้าเมือง

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์