ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางธรรมชาติ

ป่าชายเลน

           ป่าชายเลนเป็นป่าที่อยู่ตามริมฝั่งทะเลในเขตเมืองร้อนบริเวณใกล้ปากแม่น้ำ ซึ่งประกอบด้วยพืชพรรณและสัตว์น้ำนานาชนิด ดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อยและมีน้ำท่วมถึง พันธุ์ไม้ตามป่าชายเลนสามารถปรับตัวได้ต่างกันตามปัจจัย และสภาวะแวดล้อมของดิน ความเค็มของน้ำและการท่วมขังของน้ำทะเล ทำให้พืชแต่ละชนิดในป่าชายเลนมีการแบ่งเขตการเจริญเติบโตค่อนข้างชัดเจน

           พันธุ์ไม้ป่าชายเลน  ที่รู้จักกันโดยทั่วไปได้แก่โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก แสมพังกาหัวสุม ลำพู ลำแพน จาก ตะบูน โปรงแดงโปรงขาว แสมขาว ตะบูนขาว ตาตุ่ม โพธิ์ทะเล ปอทะเล และเหงือกปลาหมอ
           สัตว์ป่าชายเลน  ป่าชายเลนเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์นานาชนิด ทั้งที่เป็นสัตว์น้ำและสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ที่เป็นสัตว์สำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น กุ้งแชบ๊วย กุ้งกุลาดำ กุ้งตะกาด เคย ปลากระบอก ปลากะพง ปลาทู ปูแสม ปูทะเล ปูก้ามดาบ หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยกระพง หอยขี้กา  สัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น นกยาง นกตีนเทียน ปลาตีน  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น ค้างคาว ลิงลม ลิงแสม เสือปลา  ส่วนสัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะกวดและเต่า เป็นต้น
           ความสำคัญของป่าชายเลน  ป่าชายเลนเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดระบบนิเวศที่มีคุณค่าสูงและมีความสำคัญต่อมนุษย์หลายรูปแบบ ที่เห็นได้ชัดคือ การใช้ประโยชน์จากไม้จากป่าชายเลน เพื่อการเผาถ่าน ต้นไม้ในป่าชายเลนปลูกง่ายโตเร็ว ความสำคัญของป่าชายเลนพอสรุปได้ดังนี้
               ๑. ทำหน้าที่เสมือนเขื่อนป้องกันคลื่นลมจากทะเล ช่วยกันความรุนแรงของพายุ ตลอดจนสกัดกั้นไม่ให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ และระบบนิเวศที่อยู่ถัดเข้ามาในแผ่นดิน
               ๒. ทำหน้าที่ดักกรองสารปฏิกูลและสารมลพิษต่าง ๆ จากบนบกไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล โลหะหนักเมื่อถูกพัดพามาตามกระแสน้ำก็จะตก ตะกอนที่บริเวณดินเลนปากแม่น้ำ
               ๓. ช่วยบรรเทาความเร็วของกระแสน้ำ ทำให้ตะกอนดินที่พัดพามากับกระแสน้ำตกตะกอนทับถม เกิดแผ่นดินงอกขึ้น
               ๔. เป็นที่อยู่อาศัย วางไข่ หาอาหาร และเป็นแหล่งอนุบาล แหล่งเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อนหลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์น้ำเศรษฐกิจ เช่น ปูทะเล กุ้ง ปลากระบอก ฯลฯ
               ๕. เป็นแหล่งยังชีพของประชาชนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล เอื้ออำนวยปัจจัยในการดำรงชีพหลายประการ เช่น หลักไม้สำหรับใช้ทำอุปกรณ์จับสัตว์น้ำ เปลือกไม้บางชนิดใช้ย้อมแหและอวนให้คงทน ผลใช้รับประทาน ใบจากใช้มวนยาสูบและมุงหลังคา พืชบางชนิดเป็นยารักษาโรค เช่น เหงือกปลาหมอ ตาตุ่ม  นอกจากนั้นยังมีการประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง โดยการจับสัตว์น้ำในป่าชายเลนอีกด้วย
               ๖. ต้นไม้ของป่าชายเลนมีประโยชน์ใช้ทำเป็นไม้ฟืน ไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยัน ไม้ก่อสร้าง แพปลา อุปกรณ์การประมง และเฟอร์นิเจอร์ นอกจากนี้ไม้บางชนิดยังเป็นวัตถุดิบใช้เผาถ่าน เช่น ไม้โกงกาง
               ๗. เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เนื่องจากมีลักษณะพิเศษหลายอย่าง เป็นต้นว่า มีบรรยากาศร่มรื่น มีใบ ดอก ผลสวยงาม เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ชนิดต่าง ๆ บางชนิดมีสีสันสวยงาม เช่น ปูก้ามดาบ กุ้งดีดขัน ป่าชายเลนของจังหวัดสมุทรสงคราม บริเวณดอนหอยหลอดได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม นับเป็นมรดกทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัด
ดอนหอยหลอด

           ดอนหอยหลอดอยู่ในเขตตำบลแหลมใหญ่ ตำบลบางจะเกร็ง ตำบลปากมาบ และตำบลฉู่ฉี่ อำเภอเมือง ฯ  มีเนินดินปนทราย เป็นบริเวณกว้างพื้นที่ประมาณ ๒๒,๐๐๐ ไร่ เนินดินปนทรายบริเวณนี้เกิดจากการทับถมของตะกอนดินและทรายที่กระแสน้ำแม่กลองพัดลงมาจากต้นน้ำ มาปะทะกับน้ำทะเลและตกตะกอนรวมกันเป็นดอนใหญ่ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติของสัตว์น้ำหลายชนิด ที่มากที่สุดคือ หอยหลอด
           การประมงหอยหลอดทำได้ง่ายในช่วงน้ำแห้ง  ในอดีตชาวประมงจับหอยหลอดโดยใช้ไม้เล็ก ๆ จุ่มปูนขาวแหย่ลงไปในรู วิธีนี้จะจับหอยได้วันละประมาณ ๑ - ๓ กิโลกรัม แต่ปัจจุบันชาวชาวประมงบางรายใช้วิธีผิด คือใช้ปูนขาวละลายน้ำแล้วราดลงบนพื้นดินที่หอยอาศัยอยู่เป็นการทำลายตัวอ่อนของหอย
           ในช่วงประมาณต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงน้ำทะเลลดในตอนกลางวันเป็นเวลานาน ทางจังหวัดได้จัดให้มีงาน ตะวันรอนที่ดอนหอยหลอด มีการจัดนิทรรศการดอนหอยหลอด มีการแข่งขัน การวิ่งมาราธอน กีฬามวยทะเล มวยตับจาก เป็นต้น
แม่น้ำแม่กลอง

           จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ชื่อว่าเป็นเมืองสายน้ำ ทั้งนี้เพราะได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำแม่กลอง ที่ไหลผ่านแล้วลงไปสู่อ่าวไทย มีปรากฎการณ์ทางธรรมชาติคือ
           บริเวณน้ำจืดตอนบน ในเขตอำเภอบางคนที และอำเภออัมพวา พื้นที่เหมาะแก่การกสิกรรม บริเวณน้ำกร่อยตอนกลาง และบริเวณน้ำเค็มทางปากอ่าวแม่กลองกับบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจังหวัด พื้นที่ที่มีสภาพน้ำกร่อย และน้ำเค็มจัดนี้เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ ที่เป็นอาหารเลี้ยงประชากร และเป็นสินค้าออก ได้แก่ อาหารทะเลสด เช่น ปลา ปู กุ้ง และหอยนานาชนิด
           แม่น้ำแม่กลองมีต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดตาก และจังหวัดกาญจนบุรี บริเวณหุบเขาและบนที่สูงของเทือกเขาตะนาวศรี ลำน้ำที่ไหลมาจากเขตจังหวัดตาก เรียกว่า แควใหญ่ หรือแควศรีสวัสดิ์ ส่วนลำน้ำที่ไหลมาจากเขตจังหวัดกาญจนบุรี เรียกว่า แควน้อย หรือแควไทรโยค แควทั้งสองไหลมาบรรจบกันที่ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง ฯ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแม่น้ำแม่กลอง
           แม่น้ำแม่กลองไหลผ่านเขตอำเภอบางคนที อำเภออัมพวา แล้วไหลลงสู่ทะเลในอ่าวไทย ในช่วงที่เรียกว่า อ่าวแม่กลอง ระยะทางที่ไหลผ่านเขตจังหวัดสมุทรสงคราม ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
           ความสำคัญทางประวัติศาสตร์  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ได้กล่าวถึงแม่น้ำแม่กลองว่าเป็นหนึ่งใน เบญจสุทธิคงคา น้ำในแม่น้ำนี้ได้นำไปใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน แม่น้ำที่อยู่ในเบญจสุทธิคงคาได้แก่ แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำเพชรบุรี

           ความสำคัญต่อการดำรงชีพ  การตั้งถิ่นฐานของประชากรสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง จะมีอยู่หนาแน่นเนื่องจากเป็นแม่น้ำที่มีน้ำตลอดปี และคงความเป็นธรรมชาติไว้ได้มากที่สุด น้ำมีความสะอาดใช้อุปโภคและบริโภคได้ จึงมีคำว่า ล่มน้ำ หมายถึงชุมชนที่อยู่ในเขตน้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม นำเรือไปบรรทุกน้ำจากเขตที่เป็นน้ำจืด ไปใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้นผผู้ที่มีอาชีพเพาะปลูกก็ต้องใช้น้ำจืดจากแม่น้ำแม่กลองมาหล่อเลี้ยง ในขณะเดียวกันแม่น้ำแม่กลอง เป็นแหล่งสัตว์น้ำที่เป็นอาหารที่มีชื่อเช่น ปลาชนิดต่าง ๆ และกุ้งก้ามกราม เป็นต้น

           ความสำคัญต่อการคมนาคมทางน้ำ  ในสมัยก่อนได้มีการขุดคลองขึ้นเป็นจำนวนมากถึงประมาณ ๓๐๐ คลอง เชื่อมต่อกับแม่น้ำแม่กลอง และเชื่อมต่อระหว่างคูคลองด้วยกันเป็นตาข่ายเหมือนใยแมงมุม บางสายเคยมีความสำคัญเป็นเส้นทางคมนาคมในอดีตเช่น คลองสุขหอน คลองแม่กลอง สามารถเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ เช่น กรุงเทพ ฯ และเพชรบุรี เป็นต้น
เขายี่สาร
           เขายี่สาร เป็นภูเขาที่มีลักษณะเป็นแผ่นดินเตี้ย ๆ อยู่ในเขตตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา เป็นภูเขาที่เกิดจากการโก่งโค้งตัวของเปลือกโลก และจากการที่มีเปลือกหอยทะเลสาบอยู่ในบริเวณพื้นดินและชั้นดินต่าง ๆ จึงสันนิษฐานได้ว่า เขายี่สาร อาจเคยเป็นท้องทะเลมาก่อน
           บริเวณวัดเขายี่สาร มีวัดเขายี่สารซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย บริเวณโดยรอบวัดมีธรรมชาติที่น่าสนใจ มีนกทะเลหลายชนิด และมีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านประกอบอาชีพประมง ปลูกป่าโกงกางและเผาถ่าน เป็นสถานที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์