ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


    หัตถกรรมพื้นบ้าน

            หัตถกรรมพื้นบ้านส่วนมากมักเป็นผลิตภัณฑ์จากใบไม้ไผ่ เมื่อไม้ไผ่ขาดแคลนก็ได้ใช้วัสดุอื่นมาทดแทน เช่น ผักตบชวา ปอกล้วย ก้านตาล ก้านมะพร้าว และใบลาน เป็นต้น มาสานเป็นเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็นเช่น กระบุง ตะกกร้า งอบ หมวก ฝาชี เป็นต้น
           งานจักรสานของชาวบ้านระนาบ มีลักษณะเฉพาะตัวเป็นที่นิยมของชาวสิงห์บุรีและจังหวัดใกล้เคียง จนสามารถทำเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ ได้อีกทางหนึ่ง

           ช่างประดับมุกบ้านแป้ง  งานประดับมุกเป็นงานที่อาศัยความชำนาญในการคิดลายออกแบบลายที่ประณีตสวยงาม วัตถุดิบที่นำมาใช้ได้แก่ หอยมุกจาน หอยกาบ แต่ที่นิยมใช้คือหอยมุกไฟ เพราะมีความสวยงามมีความแวววามกว่า หอยอย่างอื่น นอกจากนั้นก็มีรักไม้ หวาย ทองเหลืองหรือภาชนะที่ใช้ประดับมุกแล้วไม่แตกหักง่าย
            ขั้นตอนการทำงานช่างประดับมุก ตามลำดับคือ การถูเม็ดกลม การตัดมุก การเขียนลาย และลอกลาย การเลื่อยหรือตัดมุกตามลาย การลงรักและติดตัวลายมุก การถมมุกและการแต้ม การขัดมันและเคลือบเงา
    ภาษาและวรรณกรรม
           ภาษาถิ่น  ประชากรชาวสิงห์บุรีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก การเคลื่อนย้ายของประชาการไม่ใคร่มี นอกจากการอพยพของพวกลาวพรวน และลาวเวียง ในสมัยรัตนโกสินทรตอนต้น ภาษาที่ใช้จึงยังคงเป็นภาษาที่สืบต่อมาจากบรรพบุรุษ ส่วนสำเนียงพูด ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เขตจังหวัดสุพรรณบุรีเช่น บางส่วนของอำเภอบางระจัน จะออกสำเนียงเหน่อของชาวสุพรรณอยู่บ้าง ส่วนอำเภออื่น ๆ จะออกเสียงใกล้เคียงกับภาษากลาง แต่ก็มีเพื้ยนอยู่บางคำ เช่น เสียงโท ออกเป็นเสียงตรี เสียงตร ออกเสียง กร และออกเสียงแบบกลมกลืนคำ
            จารึก จารึกที่พบในเขตจังหวัดสิงห์บุรี มีอยู่สามชิ้นด้วยกันคือ จารึกที่ฐานพระพุทธรูป จารึกบนเหรียญเงิน และจารึกใต้ภาพวาดที่ผนังวิหาร

               - จารึกที่ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย  พระพุทธรูปองค์นี้ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อเพชร อยู่ที่วัดสำโรง ตำบลอินทรบุรี อำเภออินทรบุรี พบเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ มีจารึกด้วยอักษรขอมเป็นภาษาบาลีจำนวนหนึ่งบรรทัดว่าด้วยเรื่องหัวใจพระธรรม คืออริยสัจสี่ แปลเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
               "บทอันเป็นปฐมหมวดหนึ่ง เป็นลักษณะแห่งตน นักปราชญ์แตกฉาน ควรเว้นปฐมบทพึงจำแนก (อรรถแห่งอริยสัจสี่) โดยลำดับคือ สมนิ ทุนิม สมทุ สนิทุ โดยแสดงชื่อบท มีทุติยบท เป็นต้น"

               - จารึกบนเหรียญเงิน (บ้านคูเมือง)  เป็นเหรียญเงินที่พบที่บ้านคูเมือง อำเภออินทรบุรี มีอายุประมาณพุทธศตววษที่ ๑๒ จารึกด้วยอักษรปัลลวะเป็นภาษาสันสฤกต จำนวนหนึ่งด้านมีสองบรรทัด อีกด้านหนึ่งของเหรียญเป็นรูปวัว ตัวเหรียญมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๗ เซนติเมตร คำจารึกแปลเป็นภาษาไทยว่า "บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งทวารวดี"
               - จารึกบนผนังวัดม่วง  วัดม่วงอยู่ในเขตตำบลอินทรบุรี อำเภออินทรบุรี จารึกดังกล่าวเป็นอักษรไทยโบราณ สมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๕ เป็นภาษาไทยจำนวนสองบรรทัด เป็นกลอนสุภาพ แปลเป็นภาษาไทยปัจจุบันว่า
               "ห้องนรกบาทไม่ขาดถ้วน     ของพ่ออ้วนสร้างไว้ในศาสนา
               ขอพบพระเมตไตรในอนา       คตกาละโน้นอย่าพ้นเอย
           ตำนาน  เป็นเรื่องเล่าต่อกันมา แต่ละเรื่องอาจมีหลายสำนวน เป็นเครื่องบ่งบอกถึงขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อ สภาพทางภูมิศาสตร์ตลอดจนสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ของบรรพบุรษได้เป็นอย่างดี
            สิงห์บุรีมีตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมาเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคือ
               - ตำนานสร้างพระพุทธไสยาสน์  ในพงศาวดารลังกาที่กล่าวไว้ในหนังสือมหาวงศ์ว่า กษัตริย์ชาวอริย พระนามว่า พระเจ้าวังคราชครองวังคนคร ได้ราชธิดาพระเจ้ากลิงคราษฎรเป็นมเหสี มีราชธิดานามว่านางสุปา นางเป็นคนที่มากด้วยกามราคะจึงถูกขับไล่ออกจากเมืองได้พเนจรไปในที่ต่าง ๆ ต่อมาได้พญาราชสีห์เป็นสามี มีบุตรชื่อ สีหพาหุ เป็นคนมีกำลังสังชามาก จึงพามารดาหนีพญาราชสีห์กลับมาอยู่กับมนุษย์ พญาราชสีห์เสียใจมากออกติดตาม และได้ทำร้ายชาวเมืองล้มตายเป็นอันมาก พระเจ้าวังคราชจึงประกาศหาผู้ที่อาสาฆ่าพญาราชสีห์นั้น สีหกุมารจึงอาสาและได้ฆ่าพญาราชสีห์นั้นตาย จึงได้พระนามต่อมาว่า สีหฬกุมาร หมายความว่า กุมารผู้ฆ่าราชสีห์
            ต่อมาเมื่อพระเจ้าวังคราชสิ้นพระชนม์ ชาววังคราชจึงพร้อมใจกันถวายราชสมบัติให้สีหฬกุมาร เมื่อสีหฬกุมารรับแล้ว ได้มอบเมืองให้แก่อำมาตย์ ผู้เป็นสามีใหม่ของมารดา ส่วนตนเองไปตั้งราชธานีใหม่ชื่อสีหบุรี และได้สร้างพระพุทธไสยาสน์ไว้ เพื่อเป็นการบรรเทาบาปที่ได้ฆ่าพญาราชสีห์ผู้เป็นบิดาตาย
            อีกสำนวนหนึ่งมีเนื้อความว่า เจ้าเมืองสิงห์มีลูกสาวที่กำลังแรกรุ่นอยู่นางหนึ่ง นางถูกสิงห์ลักพาเข้าป่าไป ในปีต่อมานางได้กลับออกมาพร้อมด้วยครรภ์แก่ใกล้คลอด แล้วนางก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายที่จวนของบิดาของนาง เมื่อลูกชายของนางเจริญวัย ได้รับการล้อเลียนจากญาติพี่น้องว่ามีพ่อเป็นสิงห์ ทำให้อับอาย เมื่อโตเป็นหนุ่มวัยฉกรรจ์พร้อมด้วยมีดเหน็บคู่มือได้หายเข้าไปในป่าเป็นเวลาหลายวัน จึงกลับออกมาด้วยอการซึมเศร้า ต่อมาได้ออกบวชวัดที่เขาไปบวชได้ชื่อว่าวัดสระบาป พระภิกษุหนุ่มได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนได้รู้ว่าการทำอนันตริยกรรมนั้น จะบรรเทาเบาบางลงได้บ้าง ด้วยการสร้างอนุสรณ์สถานที่ยิ่งใหญ่ไว้ในพระพุทธศาสนา เช่น สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ หรือพระเจดีย์ไว้ในพระอาราม พระภิกษุหนุ่มจึงได้สร้างพระนอนยาว ๑ เส้น ๓ วา ๒ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว วัดนั้นจึงได้ชื่อตามพระพุทธลักษณะว่า วัดพระนอนจักรสีห์
               - ตำนานเรื่องวิถีชีวิตชาวการ้อง - สวนหลวง  การ้องเป็นชื่อหมู่บ้านในเขตตำบลห้วยชัน อำเภออินทรบุรี มีลำน้ำการ้อง ซึ่งเป็นต้นน้ำของลำแม่ลา ไหลผ่านสวนหลวง เป็นชื่ออีกหมู่บ้านหนึ่งในตำบลอินทรบุรี เหมือนกันแต่บ้านสวนหลวง อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำนานมีอยู่ว่า
            เมื่อพระเจ้าอู่ทองอพยพผู้คนหนีโรคห่า ได้ขนข้าวของเงินทองบรรทุกใส่เกวียนมาหลายเล่ม เมื่อผ่านทุ่งนาแขวงเมืองอินทรปรากฎว่าเกวียนหัก พระเจ้าอู่ทองจึงมองหาชาวบ้านเพื่อขอความช่วยเหลือแต่ไม่พบใคร รอบข้างมีแต่ป่าไม้ ขณะนั้นพระองค์ได้สดับเสียงการ้อง ทรงคาดว่าจะต้องมีหมู่บ้านอยู่ในบริเวณนั้นแน่ เพราะธรรมชาติของกาจะต้องอาศัยอยู่ในที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ จึงทรงตะโกนขอความช่วยเหลือไปยังทิศนั้น แต่ต้องผิดหวังเพราะไม่มีเสียงร้องตอบ เพราะกระแสเสียงของพระองค์นั้นทวนกระแสลมเสียงจึงไม่ไปถึงหมู่บ้านนั้น แต่ลมกลับพาเสียงนั้นไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่งที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวบ้านจึงได้เตรียมอาหาร น้ำ และเครื่องมือออกไปช่วยพระเจ้าอู่ทองซ่อมเกวียนจนเสร็จ พระเจ้าอู่ทองจึงทรงสาปแช่งหมู่บ้าน ที่พระองค์ทรงคิดว่าแล้งน้ำใจ และให้พรหมู่บ้านที่ให้ความช่วยเหลือว่า "บ้านการ้องให้มันฉิบหาย พวกบ้านในให้เขาจำเริญ" ตั้งแต่นั้นมาบ้านการ้องก็ประสบแต่ความฝืดเคือง ทำอะไรก็ติดขัดมีอุปสรรค การทำนาก็ได้ผลผลิตแทบไม่พอเลี้ยงปากท้องของชาวบ้าน ส่วนบ้านในคือ บ้านสวนหลวงชาวบ้านทำมาหากินอะไรก็ประสบผล

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์