ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

            วัดถ้ำคูหา  ถ้ำคูหาเป็นถ้ำบนเขาหินปูนลูกโดดขนาดเล็ก อยู่ที่บ้านคูหา ตำบลช้างขวา อำเภอกาญจนดิษฐ์ ชาวบ้านเรียกว่าเขาคูหา ตัวถ้ำและวัดอยู่ทางด้านทิศเหนือของภูเขา ถ้ำยาวประมาณ ๑๗ เมตร กว้างประมาณ ๘ เมตร ปากถ้ำหันไปทางด้านทิศตะวันออก ภายในถ้ำเปรียบเหมือนวิหาร ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของวัดสืบมาหลายยุคสมัย มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางไสยาสน์ ลงรักปิดทอง และพุทธรูปปางมารวิชัย และปางสมาธิประดิษฐานเรียงรายเป็นแถวชิดผนังถ้ำ

                -  พระพุทธรูปดินดิบ  เป็นพระพุทธรูปดินปั้นนูนสูง ประกอบด้วยภาพพระพุทธเจ้า และภาพเล่าเรื่องตามคัมภีร์สีหธรรมปุณฑริกสูตร ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ปั้นปะติดผนังและเพดานถ้ำ
                -  พระพุทธรูป  ได้แก่ พระพุทธรูปปูนปั้นและพระพุทธรูปหินทราย โดยมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางไสยาสน์ลงรักปิดทองยาวประมาณ ๘ เมตร ประดิษฐานไว้สุดผนัง ด้านในตรงข้ามปากทางเข้าถ้ำ พระพุทธรูปปางมารวิชัยและปางสมาธิประดิษฐานเรียงรายเป็นแถวชิดผนังถ้ำด้านทิศเหนือและทิศใต้ รวม ๕๑ องค์ มีเค้าศิลปสมัยอยุธยาที่ริมผนังถ้ำด้านเหนือมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ๓ องค์ ผิวภายนอกเป็นปูนฉาบ เหนือพระเศียรพระพุทธรูปทั้งสามองค์ เป็นปูนปั้นรูปซุ้มติดผนังถ้ำ

                -  ปูนปั้นรูปซุ้มพญานาคและพระพุทธรูปปางนาคปรก  อยู่เหนือเศียรพระพุทธรูปทั้งสามองค์ ทางด้านทิศเหนือทำเป็นรูปซุ้มพระสามซุ้ม ที่ปลายซุ้มเชื่อมต่อกันทำเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียร ตอนกลางทำเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์เล็ก ทำให้ดูเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก
            วัดเขาพระนิ่ม  วัดเขาพระนิ่มตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ ชื่อเขาพระนิ่มซึ่งเป็นเขาหินปูนขนาดเล็ก อยู่ใกล้ปากน้ำท่าทอง ปากถ้ำกว้างประมาณ ๖ เมตร หันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออก ภายในถ้ำมีลักษณะเป็นคูหา มีสองคูหาอยู่ชิดกัน

                -  คูหาแรก อยู่ทางด้านหน้าของปากถ้ำ ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์อยู่ริมผนังด้านซ้าย ยาวประมาณ ๖ เมตร หันพระเศียรไปทางด้านทิศตะวันตก พุทธศิลป์เป็นฝีมือช่างท้องถิ่น ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวถึงพระชานุ ตรงกลางคูหาชิดผนัง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ มีช้างและสิงห์หมอบอยู่เบี้องหน้า ด้านขวาของคูหา ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยบนฐานชุกชี ซึ่งทำเป็นฐานสิงห์ ส่วนบัวหงายทำเป็นรูปบัวจงกล ประดับตกแต่งด้วยกระจกสี  ระหว่างคูหาแรกกับคูหาที่สอง ตรงกลางถ้ำมีเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองขนาดเล็ก ฐานชั้นล่างเป็นฐานสิงห์ กลางท้องไม้เจาะซุ้มองค์ระฆังขนาดเล็กรองรับปลียอด เป็นศิลปกรรมท้องถิ่นสมัยรัตนโกสินทร์
                -  คูหาที่สอง ที่สุดผนังถ้ำ ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์หันพระเศียรไปทางทิศใต้ ยาวประมาณ ๗ เมตร ครองจีวรห่มเฉียงชายสังฆาฏิยาวถึงพระชานุ ลักษณะคล้ายพระพุทธไสยาสน์ที่คูหาแรก ฝั่งตรงข้ามมีพระพุทธไสยาสน์ มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยอยู่ ๒ องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ประทับบนฐานชุกชีทำเป็นฐานสิงห์ ส่วนบัวหงายเป็นรูปบัวจงกล ด้านหน้าห้อยผ้าทิพย์ เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
            เขาประสงค์และวัดถ้ำใหญ่  เขาประสงค์เป็นเขาหินปูนเทือกใหญ่ อยู่ในเขตตำบลวัง อำเภอท่าชนะ ยาวประมาณ ๕ กิโลเมตรเศษ ส่วนกว้างที่สุดกว้างประมาณ ๑ กิโลเมตร มีถ้ำอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑๐๐ เมตร กว้างประมาณ ๒๐ เมตร ยาวประมาณ ๔๐ เมตร เพดานถ้ำมีแสงสว่างลอดเข้ามาภายในถ้ำ ทำให้สว่างพอสมควร ปากถ้ำหันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูป สันนิษฐานว่า ใช้เป็นพุทธสถานมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มาจนถึงสมัยปัจจุบัน

                -  พระพุทธไสยาสน์ทรงเครื่อง  ประดิษฐานอยู่ริมสุดผนังด้านทิศตะวันตกของถ้ำ ยาวประมาณ ๘ เมตร ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง หันพระเศียรไปทางทิศใต้ พระพักตร์ยาว สวมเทริด ทรงเครื่องประดับลวดลาย ติดกระจกสี สวมกรองศอ ทับทรวง กำไลข้อพระกร กำไลต้นแขน กำไลข้อพระบาท รัดประคดและจีบหน้านาง ตกแต่งลวดลายประดับกระจกสี รูปแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย พระพุทธไสยาสน์ทรงเครื่องนับว่ามีอยู่น้อยองค์นัก องค์นี้นับว่างดงามที่สุดที่เคยพบในภาคใต้
                -  พระอันดับ  เป็นพระพุทธรูปจำนวน ๑๔ องค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับอยู่บนแท่นก่ออิฐถือปูนสองแท่นเรียงกัน
เป็นแถวหน้ากระดานอยู่ริมผนังถ้ำด้านทิศใต้ คูหาเดียวกับพระพุทธไสยาสน์ทรงเครื่อง แท่นแรกมีหกองค์ แท่นที่สองมี ๘ องค์ ลักษณะรูปแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

                -  พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่สามองค์ หน้าตักกว้างประมาณ ๒ เมตร ครองจีวรห่มเฉียงประดิษฐานอยู่ที่ปากถ้ำ เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์