ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางวัฒนธรรม

โบราณสถาน

            วัดเขาศรีวิชัยหรือเขาพระนารายณ์  วัดเขาศรีวิชัยอยู่บริเวณที่ราบทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เชิงเขาศรีวิชัย ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำตาปี อยู่ในเขตตำบลศรีวิชัย อำเภอพุนพิน ภูเขาศรีวิชัยเป็นภูเขาขนาดย่อม กว้างประมาณ ๑๐๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐๐ เมตร สูงประมาณ ๒๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล บนยอดเขามีพื้นที่กว้างประมาณ ๓๐ - ๔๐ เมตร ยางตลอดแนวสันเขา พบเทวรูปพระนารายณ์อยู่บนซากโบราณสถานบนยอดเขา ชาวบ้านเรียกว่า ฐานพระนารายณ์ เมื่อถึงเทศกาลสำคัญ เช่น ตรุษสงกรานต์ ชาวบ้านจะมีเทวรูปพระนารายณ์ลงมาจากเขา เพื่อนำมาสรงน้ำ ต่อมาชาวบ้านได้ขุดพบเทวรูปพระนารายณ์ศิลาได้อีกองค์หนึ่ง ที่บริเวณเชิงเขาอยู่ในสภาพชำรุด ไม่มีเศียร สูง ๔๐ เซนติเมตร เป็นเทวรูปเดียวกันกับเทวรูปองค์ก่อน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ ได้พบพระพิมพ์ที่เรียกว่า พระเม็ดกระดุม และมีลูกปัดจำนวนมาก โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่
                -  เนินโบราณสถาน  บนยอดเขา พบเนินโบราณสถานเรียงรายกันจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือจำนวน ๘ เนิน พบกำแพงหินลักษณะคล้ายกำแพงแก้ว ยาวประมาณ ๓๖ เมตร และช่องประตูขึ้นสู่ยอดเขาบริเวณสันเขาด้านใต้สุด บริเวณต่าง ๆ ทั้ง ๘ เนิน จะพบเศษอิฐ แผ่นหิน ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป สามารถกำหนดอายุเบื้องต้น จากประติมากรรมรูปพระวิษณุที่พบบนยอดเขาว่ามีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓

                -  เทวรูปพระวิษณุ  พบทั้งหมดสี่องค์ ทำด้วยศิลาสูง ๑๗๐ เซนติเมตร มีอายุประมาณครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๓ พระพักตร์รูปไข่ พระเนตรเบิก พระโอษฐ์แย้มสรวลอย่างอ่อนโยน พระวรกายแสดงกล้ามเนื้อตามธรรมชาติ พระอังสะกว้าง บั้นพระองค์เล็ก ทรงสวมกีรีฎมกุฎ (หมวกทรงกระบอก) ทรงสูง ทรงพระภูษาโจงยาว ขมวดเป็นปมอยู่ที่ใต้พระนาภี คาดทับด้วยปั้นเหน่ง ผ้าผูกเป็นโบอยู่ด้านหน้า คาดผ้าโสณีเฉียงและผูกเป็นโบอยู่เหนือต้นพระเพลาด้านขวา พระหัตถ์ขวาล่างชำรุด พระหัตถ์ซ้ายล่างถือคฑา พระกรหลังทั้งสองข้างหักหายไป

                -  พระพิมพ์ดินดิบ  ที่เรียกว่า พระเม็ดกระดุม ลักษณะเป็นรูปทรงกลม ภายในเป็นภาพพระพุทธรูปนูนต่ำ นั่งขัดสมาธิราบบนดอกบัว บริเวณพระเศียรมีประภามณฑล (รัศมี) รอบองค์พระมีจารึก

                -  ลูกปัด  ส่วนใหญ่เป็นลูกปัดแก้วสีต่าง ๆ มีสีฟ้า สีน้ำเงิน สีเขียว สีส้ม สีแดงเข้ม สีน้ำตาลแดง สีดำและสีขาว มีทั้งรูปทรงแหวน ทรงกระบอกสั้นและยาว ลูกปัดหินพบในปริมาณน้อยกว่า ส่วนใหญ่เป็นหินอาเกด สีขาวสลับดำ หินควอร์ตสัขาว แกละหินคาร์เนเลียนสีส้ม ลูกปัดทองคำทรงผลฟักทอง พบมีจำนวนน้อยกว่าประเภทอื่น ๆ ลูกปัดที่พบคล้ายคลึงกับลูกปัดที่พบในแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และแหล่งโบราณคดีสมัยทวาราวดี ในภาคกลางของประเทศไทยทั่วไป

            วัดถ้ำสิงขร  วัดถ้ำสิงขร  อยู่ที่บ้านถ้ำ ตำบลสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม เป็นถ้ำในภูเขาหินปูนลูกโดด เรียกว่า เขาสิงขร อยู่ห่างจากแม่น้ำพุมดวงไปทางตะวันตก ประมาณ ๑๐๐ เมตร ปากถ้ำอยู่สูงจากพื้นเบื้องล่างประมาณ ๓ เมตร ส่วนที่เป็นโพรงถ้ำแบ่งออกเป็นสองตอนคือ คูหาปากถ้ำ คูหาโพรงถ้ำ เป็นคูหากว้างลึกมีซอกเล็กซอกน้อย อาศัยแสงสว่างจากรูส่องแสงที่เพดานถ้ำเป็นบางตอน มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญคือ

                -  ถ้ำสิงขร  คูหาปากถ้ำเป็นบริเวณที่พบศิลปกรรมแบ่งเป็นคูหาย่อย ๆ สามคูหา ดังนี้
                    คูหาที่ ๑  เป็นคูหาใหญ่ที่สุด เป็นที่ประดิษฐานพระประธานซึ่งอยู่กลางคูหา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางป่าเลไลยก์ มีช้างและลิงหมอบอยู่เบื้องหน้าทั้งสองข้าง เบื้องหน้าพระประธานมีเจดีย์อยู่ ๒ องค์ เบื้องซ้ายพระประธานเยื้องไปทางด้านหลัง ตามแนวของผนังมีพระพุทธรูปประทับนั่งเรียงกันแปดองค์ ช่วงต่อระหว่างคูหาที่ ๑ และคูหาที่ ๒ ก่ออิฐถือปูนทำเป็นแท่นฐานประดิษฐาน พระพุทธรูปประทับนั่งสององค์ ผนังด้านทิศเหนือก่ออิฐถือปูนเป็นแนวสันกำแพง เจาะช่องเป็นซุ้มสำหรับวางพระหรือประทีป ตอนล่างทำเป็นรูปตัวช้างโผล่มาครึ่งตัวเรียงกันเก้าตัว หันหน้าไปทางพระประธาน

                    คูหาที่ ๒  มีฐานแท่นก่ออิฐถือปูนติดกับผนัง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยลงรักดำ ประดิษฐานอยู่บนฐานสี่ชั้น ฐานตกแต่งเป็นลายบัวและกระจัง ตอนล่างของฐานเป็นภาพปูนปั้น ภาพพุทธประวัติมีภาพตอนผจญมาร มีแม่พระธรณบีบมวยผม ภาพพุทธบริษัทพระราหุลทูลขอราชสมบัติ ตอนบนข้าง ๆ องค์พระเป็นภาพเทพชุมนุม มีพรหม คนธรรพ์ เทพ กุมภัณฑ์ ท้าวเวสสุวัณ (ยักษ์) ท้าววิรุปักข์ (นาค) และภาพสัตว์ในเทพนิยาย เช่น มกร เป็นต้น
                    คูหาที่ ๓  เป็นซอกเล็ก ๆ อยู่สุดขอบถ้ำ เคยพบเทวรูปพระวิษณุสี่กร อยู่ในสภาพชำรุด มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓
            คูหาในโพรงถ้ำ  พบเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ หม้อสามขา เศษภาชนะดินเผามีลายเชือกทาบ เครื่องมือขวานหินขัด แสดงว่าถ้ำแห่งนี้เคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ มีอายุอยู่ประมาณ ๔,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว

            จากศิลปกรรมในถ้ำสิงขรแสดงให้เห็นการใช้ถ้ำเป็นพุทธสถานมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะศิลปกรรมแบบอยุธยา ได้แก่ลายปูนปั้นรูปภาพก้านขดพันธุ์พฤกษา แล้วช้างปูนปั้นและลายปูนปั้นเทวดาบนเพดานบางตอน งานศิลปกรรมส่วนใหญ่ ได้รับการบูรณะซ่อมแซมในประมาณ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการนำชามลายครามและเบญจรงค์ มาประดับติดเป็นดาวเพดาน ภาพอาคารปราสาทแสดง ลักษณะสถาปัตยกรรมที่มีอิทธิพลของจีน ตามแบบนิยมในจิตรกรรมสมัยนั้น ส่วนอักขระข้อความบรรยายเรื่องนรก บนฝาผนังมีเนื้อหาคล้ายคลึงกับบางตอนในพระมาลัย กลอนสวดที่เขียนขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
                -  เจดีย์  เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนเลียนแบบพระบรมธาตุไชยา ประดับตกแต่งด้วยเครื่องถ้วยชามทั้งองค์เจดีย์ สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย เรือนธาตุเจดีย์มีซุ้มทิศ (ซุ้มจรนัม) ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานอภัย ภายในองค์เจดีย์ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์