www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา >
เมืองเก่าของไทย
เมืองเก่าของไทย
มรดกทางพระพุทธศาสนา
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
วัดระบรมธาตุไชยา ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียง อำเภอไชยา เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ โปรดเกล้า
ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อปี
พ.ศ.๒๔๙๑ มีนามว่า วัดพระธาตุไชยา และต่อมาได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เลื่อนฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร
และพระราชทานนามว่า
วัดพระบรมธาตุไชยา
เมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๐
วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นวัดโบราณไม่ปรากฎหลักฐานทางเอกสารแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด
เดิมเคยปรักหักพังรกร้างมาระยะหนึ่ง จนกระทั่งได้มีการบูรณะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๙ - ๒๔๕๓ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญคือ
พระบรมธาตุไชยา
เป็นเจดีย์ทรงปราสาท เรือนธาตุมีฐานเป็นรูปกากบาท มีมุขทั้งสี่ด้าน สูงจากฐานถึงยอดประมาณ
๒๔ เมตร ตั้งอยู่บนฐานบัวลูกแก้วรูปสี่เหลี่ยม ตกแต่งด้วยเสาติดผนัง ขนาดทางด้านทิศตะวันนออกถึงทิศตะวันตก
ยาว ๑๓ เมตร ขนาดทางด้านทิศเหนือถึงทิศใต้ ยาว ๑๘ เมตร ส่วนฐานอยู่ต่ำกว่าผิวดิน
ปัจจุบันทางวัดได้ขุดบริเวณฐานโดยรอบกว้าง และลึกประมาณ ๑ เมตร เพื่อให้เห็นฐานเดิม
ส่วนบนของบัวลูกแก้วสี่เหลี่ยม มีลักษณะเป็นฐานทักษิณ ที่มุมทั้งสี่ประดับด้วยสถูปจำลอง
ตรงกลางฐานเป็นรูปบัวลูกแก้วอีกชั้นหนึ่งรองรับเรือนธาตุทรงจตุรมุข มุขด้านหน้าทางด้านทิศตะวันออก
มีบันไดทางขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปภายในองค์เจดีย์ได้ ผนังเรือนธาตุก่ออิฐไม่สอปูน
ลดหลั้นกันขึ้นไปถึงยอด มุขอีกสามด้านทึบ เหนือมุขเป็นซุ้มหน้าบันประดับลายปูนปั้น
รูปวงโค้งคล้านเกือกม้าเรียกว่า กุฑุ เหนือเรือนธาตุมีลักษณะเป็นหลังคาซ้อนกันขึ้นไป ๓ ชั้น
โดยการจำลองย่อส่วนอาคารเบื้องล่างลดหลั่นกันขึ้นไป แต่ละชั้นประดับด้วยสถูปจำลองที่มุมทั้งสี่ และตรงกลางด้านเหนือซุ้มหน้าปัน
รวมจำนวนสถูปจำลองชั้นละ ๘ องค์ ทั้งหมด ๓ ชั้นเป็นจำนวน ๒๔ องค์
ถัดขึ้นไปเป็นส่วนยอดซึ่งซ่อมแปลงครั้งใหญ่ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยขยายส่วนยอดให้สูงขึ้นเริ่มตั้งแต่บัวปากระฆัง ซึ่งเป็นดอกบัวบานขนาดใหญ่
องค์ระฆังเป็นรูปแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ต่อด้วยฉัตรแปดเหลี่ยม ๕ ชั้น
บัวกลุ่ม และปลียอดหุ้มทองคำ เหนือปลียอดประดับฉัตรหุ้มทองคำหนัก ๘๒ บาท ๓
สลึง ต่อมาถูกขโมยลักไป ทางวัดจึงจัดทำขึ้นใหม่ด้วยทองวิทยาศาสตร์
พระบรมธาตุไชยา เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นของจังหวัดสุราษฎรธานี เป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา แต่อดีตกว่าพันปีมาแล้ว
เจดีย์ทิศ
ตั้งอยู่รอบองค์พระบรมธาตุที่มุมทั้งสี่ทิศ เจดีย์ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม
ชั้นล่างเป็นฐานบัวลูกแก้วทรงสูง ก่ออิฐฉาบปูนต่ำรองรับฐานบัวแก้วอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งรองรับองค์ระฆังทรงกลม
ส่วนยอดเป็นบัลลังก์ ปล้องไฉนและปลียอด เจดีย์ทิศองค์นี้แตกต่างจากเจดีย์ทิศที่มุมอีกสามด้าน
ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ตั้งอยู่บนฐานเขียงกลม รองรับมาลัยลูกแก้วแปดแถว องค์ระฆังทรงกลมอยู่บนบัวปากระฆัง
ส่วนยอดไม่บัลลังก์ แต่เป็นก้านฉัตรต่อด้วยปล้องไฉน และปลียอดภายในเจดีย์กลาง
ด้านหน้าเป็นซุ้มประดิษฐานกพระพุทธรูป
เจดีย์ทั้งสามองค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ หลังกว่าเจดีย์องค์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนเจดีย์ด้านทิศตะวันตกด้านหลังองค์พระบรมธาตุ เป็นเจดีย์ทรงมณฑปสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์
พระอุโบสถ
ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกขององค์พระบรมธาตุ สร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘
แทนพระอุโบสถเก่าซึ่งชำรุดและรื้อออกไป พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำด้วยศิลาทรายเผา
ศิลปะสมัยอยุธยา เบื้องหน้าพระประธานประดิษฐานพัทธสีมาคู่ ซึ่งเป็นของเดิมแต่ครั้งพระอุโบสถหลังเก่า
การผูกพัทธสีมาคู่นี้สันนิษฐานว่า แต่เดิมคงมีใบพัทธสีมาใบเดียวเรียงรายรอบพระอุโบสถ
จนกระทั่งเมื่อพระพุทธศานาฝ่ายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ได้แผ่เข้ามาในประเทศไทย
เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งเป็นสมัยเดียวกันกับที่ได้สร้างพระบรมธาตุทรงลังกา
ที่นครศรีธรรมราช พระสงฆ์ในฝ่ายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ จึงได้ทำพิธีผูกพัทธสมาซ้ำลงในที่เดิมอีกครั้ง
เพื่อให้พระพุทธศานาบริสุทธิ มั่นคงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงมีใบเสมาเพิ่มขึ้นเป็นคู่แฝด
พระวิหารหลวง
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระบรมธาตุ ด้านหลังของพระวิหารหลวงได้สร้างยื่นล้ำเข้ามาในเขตพระวิหารคด
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดต่าง ๆ หลายองค์ศิลปะอยุธยาสกุลช่างไชยา พื้นวิหารเดิมต่ำกว่าพื้นปัจจุบันมาก
สังเกตจากฐานชุกชี ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ในระดับต่ำ และทำเป็นฐานรูปบัวแก้วคล้ายกับฐานของพระบรมธาตุ
ที่ผนังด้านนอกวิหารมีพรุพุทธรูปปางประทานอภัยทำด้วยศิลาทรายแดง ศิลปะสกุลช่างไชยามีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่
๑๘-๑๙ อยู่องค์หนึ่ง ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ส่วนที่เดิมสร้างองค์พระจำลองปกูนปั้นแทน
พระวิหารหลวงได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ระเบียงคดวิหารคดหรือพระระเบียง
เป็นระเบียงล้อมรอบองค์พระบรมธาตุ อยู่ในผังรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ
๓๘ เมตร สูง ๔ เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ รวม ๑๘๐ องค์ ชาวบ้านเรียกว่า
พระเวียน
ส่วนใหญ่ได้รับการปฎิสังขรณ์ใหม่ ส่วนพระพุทธรูปศิลาทรายแดง ศิลปะอยุธยา สกุลช่างไชยายังอยู่ในสภาพเดิม
นอกจากนี้ในบริเวณวัดกพระบรมธาตุไชยา ยังได้พบโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ศิลปะสมัยศรีวิชัยอยู่หลานชิ้นได้แก่
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริดและศิลา
พระพุทธรูปศิลาทราย
ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งบนลานภายในกำแพงแก้ว ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระวิหารหลวง
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำด้วยศิลาทรายแดงจำนวนสามองค์ เป็นศิลปะสมัยอยุธยาสกุลช่างไชยา
เดิมที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคงจะเป็นวิหาร แต่ชำรุดหักกพังจึงถูกรื้อออกไป
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ)
สองกรสำริด พบที่บริเวณสนามหญ้าทางทิศตะวันออกของพระบรมธาตุไชยา
อยู่ใต้ต้นโพธิ ขนาดเท่าบุคคลจริง ส่วนท่อนล่างตั้งแต่บั้นพระองค์ขาดหายไป
ทรงยืนอยู่ใน่าตริภังค์ (เอียงสะโพก) พระพักตร์กลมมีพระอุณาโลมที่พระนลาฎ
พระเนตรฝังเงินเหลือบมองต่ำ พระโอษฐ์เต็มฝังทองคำไว้ที่ริมพระโอษฐ์ล่าง ทรงสวมกระบังหน้ากุณฑล
พาหุรัดและกรองพระศอที่มีทับทรวง ทรงสะพายผ้าแพเฉียงพระวรกาย และสายสะพายยัชโญปวีดลูกประคำ
ซึ่งมีเครื่องประดับสายเป็นรูปหัวกวาง อยู่ที่พระอังสาซ้าย ลวดลายเครื่องประดับคล้ายประติมากรรมในชวาภาคกลาง
เป็นการสนับสนุนหลีกฐานจากจารึกหลักที่ ๒๓ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสกุลวงศ์ของกษัตริย์แห่งศรีวิชัย
(ไชยา) และราชวงศ์ไศเลนทรในชวาภาคกลางมีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่
๑๔ พระโพธิสัตว์องค์นี้เป็นประติมากรรมศรีวิชัยที่งดงามที่สุด มีชื่อเสียงที่สุด
เป็นหลักฐานที่โดดเด่นชิ้นหนึ่ง ในด้านศิลปวัฒนธรรมของเมืองโบราณไชยาในสมัยศรีวิชัย
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแปดกรสำริด
พระพักตร์กลม พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระกรทั้งแปดหักหายหมด ทรงเกล้าพระเกษาเป็นรูปชฎามุกุฎ
ตกแต่งด้วยศิราภรณ์กับกระบังหน้า สวมกรองศอกุณฑล พาหุรัดทรงสะพายแพรซึ่งมีสายยัชโญปวีดลูกประคำทับ
ทรงพระภูษายาวทับด้วยปั้นเหน่ง และผ้าซึ่งทิ้งชายเป็นเส้นโค้งทางด้านหน้า และผูกไว้เหนือกพระโสณี
ศิลปะศรีวิชัย มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตววรษที่ ๑๔ พบที่วัดกพระบรมธาตุไชยา
พระโพธสัตว์อวโลกิเตศวรสองกรศิลา
พบที่วัดพระบรมธาตุไชยา ทรงประทับยืนตรงมุมบนดอกบัว พระพักกตร์สี่เหลี่ยมทรงเกล้า พระเกศาเป็นรูปชฎามุกุฎ
มีพระพุทธเจ้าอมิตาภะประทับอยู่ด้านหน้า พระหัตถ์ขวาแสดงปางประทานพร พระหัตถ์ซ้ายทรงถือดอกบัว
ทรงพระภูษายาวมีหน้านางและจีบอยู่ด้านหลัง คาดปั้นเหน่งทับพร้อมกับคาดหนังเสือรอบพระโสณี
พระวรกายตกแต่งด้วยพาหุรัด กรองศอ ทองพระกร
ประติมากรรมชิ้นนี้แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะจาม มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่
๑๕
พระพุทธรูปศิลา
สูง ๑๐๔ เซนติเมตร ปางสมาธิประทับอยู่บนฐานบัว มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่
๑๑ - ๑๒ แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดีย แบบคุปตะสกุลช่างสารนาถ เดิมประดิษฐานอยู่ในซุ้มเล็ก
ๆ ซุ้มหนึ่งในซุ้มสองข้างบันไดที่จะขึ้นไปบนองค์พระบรมธาตุไชยา
รูปแบบทั้งหมดของพระพุทธรูปองค์นี้คล้ายกับประติมากรรมฟูนัน จัดอยู่ในกลุ่มพระพทุธรูปสกกุลช่างไชยา รูปที่หนึ่งคือ
เป็นศิลปะท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปอินเดียสกุลช่างต่าง ๆ มาผสมผสานกัน
|