ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


    ศิลปหัตถกรรม

            ผ้าไหมพุมเรียง  ผ้าไหมพุมเรียง เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่สืบทอดกันมาในกลุ่มชาวไทยอิสลาม ที่ตำบลพบเวียง อำเภอไชยา ศิลปะลวดลายผ้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ลวดลายผ้าพุมเรียง ซึ่งเป็นลายดั้งเดิมและเป็นที่นิยมมาแต่ครั้งโบราณมีหลายแบบเช่น ลายนพเก้า ลายดอกพิกุล ลายผ้ายกเชิงครุฑ ลายก้านต่อดอก ลายราชวัตร ลายดอกแก้ว ลายดอกบุหงา ลายยกเบ็ด ลายดอกแมลงวัน ลายราชสีห์เข้าถ้ำ เป็นต้น
            ผ้าทอพุมเรียงที่ทอเสร็จเรียบร้อยสามารถนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายรรูปแบบ นอกจากทำเป็นผ้าถุงแล้วยังทำเป็นเสื้อ กระโปรง กระเป๋า กรอบรูป เนคไท และอื่น ๆ ได้อีกมาก  เส้นไหมส่วนใหญ่สั่งซื้อจากกรุงเทพ ฯ ทั้งชนิดเส้นไหมสังเคราะห์และเส้นไหมธรรมชาติที่ย้อมสีแล้วและยังไม่ได้ย้อมสี รวมทั้งเส้นด้ายที่ใช้ทอผ้าฝ้าย
            ไหมธรรมชาติที่ใช้ทอผ้าไหมพุมเรียง มีสามชนิดคือ ไหมน้อย ไหมกลาง และไหมใหญ่ ไหมน้อยเป้นไหมชนิดดีที่สุด เส้นเล็กเรียบ ละเอียดอ่อน มีความเงางาม และมีราคาแพง จัดเป็นไหมชั้นหนึ่ง ไหมกลาง เป็นไหมที่มีคุณภาพรองลงมาจากไหมน้อย เส้นค่อนข้างละเอียด ราคาต่ำกว่าชนิดแรก จัดเป็นไหมชั้นสอง  ไหมใหญ่ เป็นไหมคุณภาพต่ำสุด เส้นใหญ่ มีปมอยู่ทั่วไป ราคาไม่แพงนัก จัดเป็นไหมชั้นสาม นิยมทอปนกับผ้าฝ้าย ซึ่งมีคุณภาพและราคาปานกลาง
            หมวกพุมเวียง  หมวกพุมเวียง เป็นศิลปะหัตถกรรมของกลุ่มชาวไทยพุทธ ที่ตำบลพุมเวียง อำเภอไชยา ซึ่งสืบทอดมรดกในการทำนาเป็นเวลานานแล้ว ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเช่น ใบตาล ไปสานและปอแก้ว ขั้นตอนการสานจะนำวัสดุที่ใช้ในการสานมาทำให้เป็นเส้นยาวก่อน จากนั้นจึงนำมาเย็บให้เป็นรูปทรงที่ต้องการ หมวกที่เย็บเป็นรูปทรงแล้วสามารถปรับปรุงแบบรูปทรงตลอตจนสีสันได้ตามต้องการ ขอบหมวกจะนิยมเย็บด้วยผ้าสี ถ้าเป็นหมวกของสตรี อาจตกแต่งประดับดอกไม้ให้ดูสะดุดตายิ่งขึ้น
            ปัจจุบันมีการสานเพื่อขายเป็นสินค้าเพิ่มมากขึ้น จนทำให้รูปแบบของหมวกพุมเรียงมีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม วัสดุที่ใช้ก็เปลี่ยนแปลงไป มีการนำพลาสติกและริบบิ้นมาใช้แทนและประดับให้เกิดสีสันมากขึ้น
            กระเชอเกาะพะงัน  ทำกันแพร่หลายอยู่ในเขตอำเภอเกาะพะงัน วัสดุที่ใช้ทำได้แก่  ไม้ไผ่ หวาย คลุ้ม และย่ายลิเพา การเตรียมวัสดุต้องใช้เวลาหลายวัน ถ้าเป็นการสานกะเชอขนาดเล็ก จะใช้วัสดุชักผ่านรูสังกะสี เพื่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ การสานจะเริ่มสานส่วนก้นก่อนแล้วจึงขึ้นรูปเป็นวงกลม ส่วนของก้นที่สานต่อขึ้นจากมุมจะใช้วัสดุไม้ไผ่ เมื่อขึ้นรูปทรงได้ครึ่งหนึ่งจึงสานต่อด้วยคลุ้มเมื่อสานได้รูปทรงที่ต้องการแล้วจึงใส่ขอบปากส่วนบนด้วยหวาย ด้านก้นใช้หวายทำเป็นขอบรองก้น ส่วนใต้ของก้นใช้ไม้ไผ่ผูกเป็นซี่ติดอยู่ด้านในของขอบรองก้นอีกทีหนึ่ง จากนั้นจึงใช้หวายผูกประกบที่มุมทั้งสี่ และใช้หวายเส้นเล็ก ๆ ผูกอีกทีหนึ่งให้คงทนแข็งแรง ที่ขอบก้นด้านบนใช้หวายเส้นเล็ก ๆ ผูกและถักเป็นหางเลน ซึ่งมีความประณีตและสวยงาม การทำกระเชอใบหนึ่งใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน เพราะต้องใช้ความประณีตเป็นอย่างมาก
            ประโยชน์ใช้สอยของกระเชอคือ ถ้าเป็นกระเชอขนาดใหญ่ชาวบ้านมักใช้ใส่ของทูนหัวไปวัด ขนาดทำเชี่ยนหมากใช้ในงานพิธีเช่น งานแต่งงานจะใช้ใส่สินสอดทองหมั้นหรือหมากพลู
            หมุกจากหญ้าตีนกา  หมุกใช้เรียกของใช้ชนิดหนึ่งมำขึ้นเพื่อใส่ของใช้ขนาดเล็ก ๆ ทางภาคกลางเรียกว่า สมุก ทำกันมากที่บ้านควนท่าแร่ ตำบลทรัพย์ทวี อำเภอบ้านนาเดิม หมุกเป็นเครื่องสานที่ทำจากหญ้าตีนกา เพราะจะได้หมุกที่สวยงามกว่า เพราะหญ้าตีนกามี่ขนาดโตเท่า ๆ กัน
            วิธีทำเริ่มจากเก็บหญ้าตีนกามาตากแห้งแล้วใช้ไม้รีดให้แบน จากนั้นนำมาสานให้มีขนาดตามที่ต้องการ การสานหมุกต้องอาศัยความประณีต เพราะหญ้าตีนกามีขนาดเล็ก หมุกประกอบด้วยสองส่วนคือ ตัวหมุกและฝาครอบทั้งสองส่วนทำเป็นมุมสิบมุม ขนาดของหมุกที่ทำมีตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลางสองนิ้วถึงห้านิ้ว เสร็จแล้วใช้แลคเกอร์หรือน้ำมันวานิช เพื่อให้สวยงามและทนทานยิ่งขึ้น

            หมาตักน้ำ  หมาตักน้ำเป็นเครื่องใช้ของชาวบ้านภาคใต้แทบทุกจังหวัด ส่วนใหญ่ทำจากกาบหมาก ที่เรียกว่า ต้อ เมื่อทำเสร็จแล้วจึงเรียกว่า หมาต้อ
            การทำหมาตักน้ำ จากกาบหมากเริ่มด้วยกการนำกาบหมากที่มีขนาดพอเหมาะ ตัดส่วนล่างที่เป็นใบออก ถ้ากาบหมากแห้งเกินไปต้องนำไปแช่น้ำให้นิ่มก่อน ม้อนปลายของกาบหมากทั้งสองด้านให้กลม ด้านหนึ่งใหญ่อีกด้านหนึ่งเล็ก พับทั้งสองด้านขึ้น ใช้ปลายกาบด้านเล็กสอดเข้าไปในรูของด้านใหญ่ แล้วใช้หวายหรือเชือกที่คงทนผูกยึดไว้
            การแกะรูปหนังตะลุง  เดิมการแกะหนังตะลุงก็เพื่อนำไปใช้ในการแสดงหนังตะลุง ในเขตจังหวัดสุราษฎรธานี การตัวหนังตะลุงใช้หนังวัวฟอกด้วยน้ำส้ม และขูดด้วยกระเบื้อง เพื่อให้หนังบางตามที่ต้องการ แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง จากนั้นจึงทำการร่างภาพบนผืนหนังด้วยดินสอ เสร็จแล้วใช้เครื่องมือแกะหนังคือ ตุ๊ดตู่ สิ่วและมีด แกะรูปตามภาพที่ร่างไว้ แล้วระบายสีตามที่ต้องการ จากนั้นทาด้วยแลคเกอร์หรือน้ำมันวานิชเพื่อป้องกันความชื้น ต่อจากนั้นจึงนำเอาส่วนประกอบต่าง ๆ มาประกอบเข้าด้วยกันโดยมีไม้ไผ่เป็นส่วนประกอบ เพื่อใช้ในการเชิดตัวหนัง แต่ถ้าเป็นตัวหนังตะลุงที่ทำเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับต่าง ๆ ก็ไม่ต้องใช้ไม้ไผ่มาเข้าตับและผูกติดที่มือ
            การแทงหยวก  เป็นงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่ใช้ต้นกล้วยทาแทงฉลูลาย ชาวบ้านเรียกว่า แทงหยวกหรือตอกหยวก หยวกที่ฉลุลายเรียบร้อยแล้ว จะนำมาใช้ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา เช่น งานศพ โดยนำมาประกอบเมรุ บุษบก เบญจา ฯลฯ
            งานแทงหยวกเป็นงานที่ทำสืบทอดกันมา เฉพาะตะกูลเดียวกัน เพราะต้องใช้ทั้งฝีมือความชำนาญและไหวพริบ การเรียนรู้และฝึกหัดจึงไม่ใช่เรื่องง่าย  การแทงหยวกต้องอาศัยทักษะ และประสบการณ์ เพราะไม่มีการวาดลวดลาย หรือร่างภาพบนหยวก ช่างจะต้องติดลวดลายแล้วลงมือทำทันที ลายที่นิยมทำกันคือ ลายฟันปลา ลายน่องสิงห์ ลายกนกเปลว ลายฟันสาม และลายฟันห้า เป็นต้น
            เครื่องมือที่ใช้ในการแทงหยวก ประกอบด้วยเลื่อย มีดปลายแหลม ไม้กลัด และมีดแทงหยวก มีดแทงหยวกจะต้องมีหลายเล่มเพื่อใช้สับเปลี่ยนเมื่อหมดความคม ส่วนหยวกกล้วยที่นิยมใช้แทงหยวกคือ กล้วยตานี (พองลา) เพราะมีคุณสมบัติไม่เปราะหรือแตกหักง่าย การแทงหยวกต้องใช้เวลามาก บางครั้งต้องทำอยู่นาน ๖ - ๘ ชั่วโมงติดต่อกัน ต้นกล้วยที่นำมาแทงหยวกต้องใช้เป็นจำนวนมาก ครั้งหนึ่งประมาณ ๖ - ๑๐ ต้น
ภาษาและวรรณกรรม
    ภาษา
            ภาษาไทยถิ่นใต้สุราษฎรธานี เป็นภาษาตระกูลไตหรือไท ซึ่งอยู่ในตระกูลคำโดด เช่นเดียวกับภาษาไทยมาตรฐาน นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาถิ่นของภาษาตระกูลไท แล้วนำมาเปรียบเทียบกันได้สรุปเรียกภาษาดังกล่าวว่า ภาษายูนนาน หรือยูนนาน ประมาณว่าอยู่ประมาณปี พ.ศ.๑๒๔๓ ภาษานี้สืบทอดกันมาจากภาษาดั้งเดิม เมื่อสืบทอดมาถึงปี พ.ศ.๑๖๙๖ ก็ได้แบ่งออกเป็นสามกลุ่มคือ กลุ่มภาษาเชียงแสน ซึ่งเป็นต้นตอของภาษาไทยใหญ่ ภาษาไทยภาคเหนือและภาษาไทยภาคกลาง กลุ่มภาษาล้านช้าง ซึ่งเป็ฯต้นตอของภาษาไทยอีสานและลาว และกลุ่มภาษาสุโขทัย ซึ่งเป็นต้นตอของภาษาไทยภาคใต้ทั้งหมด
            เอกลักษณ์ของภาษาถิ่นใต้สุราษฎรธานี  ศึกษาได้จากระบบหน่วยเสียงซึ่งประกอบด้วย หน่วยเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ หน่วยเสียงของภาษาถิ่นใต้สุราษฎรธานี มีการผันแปรและกลายเสียงไปจากภาษาไทยมาตรฐานบ้าง โดยหน่วยเสียงวรรณยุกต์มีการผันแปรและกลายเสียงมากที่สุด จนบางกรณีคำคำเดียวกัน  อาจมีเสียงวรรณยุกต์เกือบตรงกันข้าม หน่วยเสียงวรรณยุกต์ จึงเป็นหน่วยเสียงสำคัญ ที่ทำให้เสียงพูดของภาษถิ่นใต้สุราษฎร์ธานี มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง
                -  ระบบเสียงวรรณยุกต์  ในภาษาไทยมาตรฐานมี ๕ เสียง แต่เสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยสุราษฎร์ธานีมี ๖ - ๗ เสียง ไม่มีเสียงใดเหมือนกันอย่างแท้จริง มีแต่เพียงใกล้เคียงกัน นอกจากนั้นระดับเสียงและการขึ้นลงของเสียงวรรณยุกต์ ภาษาไทยสุราษฎรธานีมักจะตรงกันข้ามกับของไทยมาตรฐาน
                -  ระบบเสียงสระ  เช่นเดียวกับของดภาษาไทยมาตรฐานคือ ประกอบด้วยสระเดียว ซึ่งมีทั้งสระสั้นและสระยาวเป็นคู่ ๆ กับสระประสม ซึ่งมีทั้งสระประสมสองส่วนและสระประสมสามส่วน
                -  ระบบเสียงพยัญชนะ  หน่วยเสียงพยัญชนะเดี่ยวในภาษาไทยสุราษฎรธานีมี ๒๑ หน่วย เช่นเดียวกับภาษาไทยมาตรฐาน และมีหน่วยเสียงพยัญชนะควบกล้ำอีก ๑๔ หน่วย ในขณะที่ภาษาไทยมาตรฐานมี ๑๑ หน่วย เสียงดังกล่าวนี้ในภาษาเขียนอยู่ในรูปของตัวพยัญชนะ ๔๔ ตัว
                -  ระบบหน่วยคำ  การสร้างคำทั้งในภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยสุราษฎรธานีใช้วิธีประสมคำ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า คำในภาษาไทยมาตรฐานกับคำในภาษาสุราษฎรธานี แม้จะเป็นคำแปลความหมายของกันและกัน แต่อาจจะไม่ใช่คำประเภทเดียวกัน เช่น พรก กับกะลามะพร้าว พรกเป็นคำอิสระหรือคำมูล แต่กะลามะพร้าวเป็นคำประสมระหว่างคำว่า กะลากับคำว่ามะพร้าว
                -  ระบบประโยค  การเรียงคำในภาษากถิ่นสุราษฎรธานีที่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาถิ่นใต้อื่น ๆ คือประโยคปฎิเสธ ภาษาถิ่นสุราษฎรธานีใช้คำช่วยบอกความปฎิเสธไว้หน้าคำกริยา เช่น ไม่ทำก็ได้ หมายความว่า ทำไม่ได้ ไม่ไปถูก หมายความว่า ไปไม่ถูก เป็นต้น
    วรรณกรรม
            จารึก  จารึกที่สำคัญคือจารึกที่ ๒๓  จารึกที่ ๒๔ และจารึกที่ ๒๕
                -  จารึกที่ ๒๓ มีจารึกอยู่ทั้งสองด้าน ด้านแรกเป็นภาษาสันสกฤตซึ่งยังสลักไม่เสร็จอีกสี่บรรทัด จารึกเมื่อศักราช ๖๙๗ (พ.ศ.๑๓๑๘) กล่าวสรรเสริญพระราชาแห่งอาณาจักรศรีวิชัย แล้วกล่าวถึงการสร้างศาสนสถาน จบลงด้วยการแสดงเวลาตามวิชาโหราศาสตร์ ส่วนจารึกด้านที่สองไม่เกี่ยวข้องกับด้านแรกและตัวอักษรที่ใช้ดูเหมือนจะเป็นสมัยหลังกว่า เป็นการเริ่มต้นสรรเสริญพระราชาแห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ แต่จารึกได้ไม่จบ
                -  จารึกที่ ๒๔ หรือจารึกที่วัดเวียง อำเภอไชยา เริ่มด้วยคำร้อยกรองสรรเสริญพระราชาทรงพระนามศรีธรรมราชแห่งราชวงศ์ปัทม ต่อจากนั้นก็บอกศักราชกาลิยุค ๔๓๓๒ ซึ่งตรงกับ พ.ศ.๑๗๗๓ คำจารึกที่พออ่านออกดูเหมือนจะแสดงถึงสิ่งที่อุทิศถวายแด่ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา
                -  จารึกที่ ๒๕ หรือจารึกที่ฐานพระพุทธรูปวัดเวียง อำเภอไชยา ด้านหน้าของฐานมีจารึกภาษาเขมรอยู่สี่บรรทัด มีตัวอักษรคล้ายกับตัวอักษรของจารึกที่ ๒๔  กล่าวว่าในศก ๑๑๐๕ (พ.ศ.๑๗๒๖) ในรัชกาลของพระเจ้าศรีมัตไตรโลกยราชเมาลิภูษะวรมเทวะมหาเสนาบดีตลาใน ผู้เป็นหัวหน้าแห่งประเทศครหิ ได้สั่งให้หล่อพระพุทธรูปองค์นี้ซึ่งมีจารึกอยู่
            หนังสือบุด  วรรณกรรมลายลักษณ์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุราษฎร์ธานีส่วนใหญ่ทำขึ้นเป็นหนังสือบุดหรือหมุด คือ หนังสือที่ทำด้วยกระดาษข่อย หรือกระดาษย่านปริดหนา ซึ่งพับเป็นชั้น ๆ  ภาคกลางเรียกหนังสือชนิดนี้ว่า สมุดไทย หรือสมุดข่อย
            การบันทึกวรรณกรรมลงหนังสือบุด อุปกรณ์ที่ใช้เขียนได้แก่ ปากไก่  ถ้าเป็นบุดขาวให้หมีกดำ หรือสีดำเขียน น้ำหมีกดำได้มาจากการใช้ลูกสมอป่ามาต้ม หรือแช่น้ำจนคายสีดำออกมา ส่วนบุดดำเขียนด้วยสีขาว สีเหลือง สีแดงและสีทอง สีขาวได้จากดินสอสีขาวอย่างละเอียด หรือได้จากเปลือกหอยมุก สีเหลืองได้จากรงหรือหรดาล สีแดงได้จากชาด สีทองได้จากทองคำเปลว
            ในการเขียนผู้เขียนต้องเป็นผู้มีฝีมือประณีต ใจเย็น ต้องเขียนไม่ให้ผิดพลาด หากเขียนผิด ห้ามขูดลบขีดฆ่า แต่ต้องทำวงกลมรอบตัวที่ผิดไว้ จุดที่เขียนผิดนี้เรียกว่า พระธรรมผิด ใครพบเห็นอาจสักการะบูชาพลีขอชิ้นส่วนมาทำเป็นเครื่องรางของขลังด้วยเหตุนี้เราจะพบว่า ที่หนังสือบุดบางเล่มขาดเป็นรูกลมอยู่บ้าง ก็เนื่องมาจากพลีนั่นเอง
            แต่เดิมการเขียนนิยมเขียนใต้เส้นบรรทัดทั้งสิ้น เพราะถือว่าบรรทัดก็คือการแสดงความเคารพ และเชื่อฟังปฏิบัติตนอยู่ภายใต้การอบรมสั่งสอนของครูบาอาจารย์
            หนังสือบุด มีขนาดแตกต่างกันหลายขนาด ขนาดของหนังสือมีส่วนสัมพันธ์กับเนื้อหาที่บันทึกอยู่บ้าง อาจแบ่งกว้าง ๆ ได้สามขนาดคือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ หนังสือบุดขนาดเล็ก มักใช้บันทึกเรื่องโชคลาง ยากลางบ้าน ปฏิทิน ฯลฯ หนังสือบุดขนาดกลาง มักใช้บันทึกนิทานพื้นเมือง วรรณคดี ตำนาน บทสวด ฯลฯ ส่วนหนังสือบุดขนาดใหญ่ มักใช้บันทึกพระธรรมในพระพุทธศาสนา บันทึกเรื่องพระมาลัย หรือเรื่องไตรภูมิ
            ตัวอักษรที่ใช้บันทึกมีสองแบบคืออักษรไทยและอักษรขอม
                -  อักษรไทย  มักใช้ตัวเอนไปข้างหลังประมาณ ๓๐ - ๔๕ องศา
                -  อักษรขอม  ที่ใช้บันทึกมีอยู่สองแบบคือ อักษรขอมไทย และอักษรขอมบาลี
            รูปตัวอักษรไทยส่วนใหญ่เป็นอักษรไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ที่เก่าไปกว่านั้นคือสมัยอยุธยา โดยเฉพาะหนังสือบุดดำ ซึ่งบันทึกด้วยตัวอักษรขาว จะเก่าถึงสมัยอยุธยาเป็นส่วนมาก
            มีหนังสือบุดอยู่ไม่น้อยที่เขียนภาพแทรกไปด้วย เช่น พระมาลัย พระธรรม ตำราโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ พิธีกรรม ตำราหมอนวด ตำราเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ และตำราพิชัยสงคราม เป็นต้น

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์