ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
            สุรินทร์ เมืองขอมโบราณ  คนทั่วไปกล่าวว่า ชาวสุรินทร์มีความแตกต่างจากชาวอีสานทั่วไปคือ ชาวอีสานพูดลาว (ภาษาถิ่น)  กินข้าวเหนียว แต่ชาวสุรินทร์พูดเขมรกินข้าวเจ้า
            นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีได้สันนิษฐานว่า พื้นที่ภาคอีสานเคยเป็นที่อยู่ของพวกละว้า และลาว มีแว่นแคว้นปกครองเรียกว่า อาณาจักรฟูนัน  ต่อมาขอมได้เข้ามามีอำนาจแทน และตั้งอาณาจักรเจนละ หรืออิศานปุระ  ภายหลังแตกแยกเป็นสองแคว้น ทางแผ่นดินสูงตอนเหนือ ได้แก่ ภาคอีสานและฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ลาว)  เรียกว่า แคว้นพนม หรือเจนละบก  แผ่นดินต่ำตอนใต้จดชายทะเล (เขมร)  เรียกว่า เจนละน้ำ ชาวเจนละบกเป็นขอมและเผ่านิกริโต ส่วนชาวเจนละน้ำเป็นชนเผ่าใหม่ ที่เกิดจากการผสมระหว่างชาวพื้นเมืองเดิม กับเผ่านิกริโต และเผ่าเมลาเนเซียน
            ชาวเจนละบก มีอิทธิพลในดินแดนที่ราบสูงอีสาน มีการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ความเจริญรุ่งเรือง และมีอำนาจในบริเวณนี้ แต่ภายหลังเจนละบก ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของเจนละน้ำ ถูกเกณฑ์ไปสร้างปราสาท ในแคว้นเจละน้ำนาน ๆ เข้าก็กลายเป็นขอมปนเขมร ล่วงมาหลายชั่วอายุคนก็กลายเป็นเขมร ไปโดยสมบูรณ์ พวกขอมที่อยู่ในถิ่นเดิมก็ร่อยหรอหมดไป ทำให้บริเวณที่ราบสูงอีสานมีสภาพเป็นเมืองร้าง วัฒนธรรมขอมกับเขมรจึงปนอยู่ด้วยกัน
            วิถีชีวิตของชาวสุรินทร์ถูกหล่อหลอมด้วยจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมที่มีความคล้ายคลึงกับชาวเขมรในกัมพูชา แต่ยังมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น ชาวสุรินทร์เรียกตนเองว่า ขแมร์เลอ แปลว่า เขมรสูง  เรียกชาวกัมพูชาว่า ขแมร์กรอม แปลว่า เขมรต่ำ
            ภาษาเขมรที่คนสุรินทร์พูดไม่เหมือนกับภาษาเขมรในกัมพูชา ส่วนสาเหตุที่วัฒนธรรมของชาวสุรินทร์ โน้มเอียงไปทางเขมรนั้น เนื่องจากชาวพื้นเมือง ซึ่งเป็นชาวกูย เป็นพวกรักสงบ เมื่อมาอยู่ในถิ่นเขมร จึงพยายามสร้างสัมพันธไมตรีอันดีกับเขมร วัฒนธรมของชาวกูยจึงผันแปรไปทางเขมร วัฒนธรรมเขมรได้ขยายเข้าสู่ดินแดน ที่ตั้งเมืองสุรินทร์ ตั้งแต่บริเวณทิวเขาพนมดงรัก ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘  ชาวเขมรได้อพยพมาตั้งภูมิลำเนาในเมืองสุรินทร์ มีการแต่งงานระหว่างชาวเขมรกับชาวกูย ทำให้มีการผสมผสานทางวัฒนธรรม ส่วนวัฒนธรรมลาวได้ขยายเข้ามาสู่เมืองสุรินทร์ เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒๒ จึงกลายเป็นวัฒนธรรมที่ผสมผสานกันระหว่างชาวกูย ชาวเขมรและชาวลาว โดยมีวัฒนธรรมเป็นแกนหลัก
            ผ้าไหมสุรินทร์ สายใยแห่งอารยธรรมขอม  ผ้าทอของสุรินทร์ มีประวัติความเป็นมายาวนาน และยังคงรักษารูปแบบลวดลายสีสันที่แปลกตา ความประณีต และกลวิธีการทอแบบโบราณไว้ได้จนถึงปัจจุบัน  ชาวสุรินทร์ส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มที่พูดภาษาเขมร ยังคงผลิตผ้าไหมที่มีเทคนิคการผลิตเฉพาะตัว ซึ่งบรรพบุรุษได้สืบทอดหลักการและกรรมวิธีการผลิต เช่น การเลี้ยงไหม การมัดหมี่ การย้อมสี และการทอ เป็นต้น
            กลุ่มชนแต่ละตระกูลภาษาในจังหวัดสุรินทร์ มีลักษณะการทอผ้าแตกต่างกันทั้งในด้านกลวิธีการทอ ลวดลาย การให้สี การย้อมสี และวัถตุดิบที่ใช้ ลักษณะการผ้าทอของกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมร มีเอกลักษณ์เด่นชัด แตกต่างจากผ้าทอของชาวอีสานทั่วไป ผ้ามัดหมี่ของคนไทยเชื้อสายเขมรคือ ผ้าปูม เป็นผ้าทอเส้นพุ่งแบบสานตะกอ มีลวดลายเด่นชัด เดิมใช้เป็นผ้าสำหรับชนชั้นสูงในราชสำนัก นิยมทอขนาดยาวประมาณ ๔ เมตร กว้าง ๑ เมตร มีลวดลายสามแถว ที่เชิงผ้าทั้งสองข้าง นอกจากนี้ยังมีผ้ายกดอกที่เรียกว่า ลายลูกแก้ว ทอแบบสามตะกอ หกตะกอ และแปดตะกอ นิยมนำมาทำเป็นผ้าสไบ ผ้าห่ม ผ้าคลุมไหล่ มีลวดลายเป็นรูปสัตว์และรูปนครวัด ต้นแบบของผ้าชนิดนี้มาจากแบบผ้าของเขมร ซึ่งทอเป็นภาพพระพุทธประวัติ และภาพฉากบนสวรรค์
            กลุ่มชนชาวเขมร ในจังหวัดสุรินทร์ นิยมย้อมสีไหมด้วยสีธรรมชาติ โดยใช้กรรมวิธีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงมีลักษณะโดดเด่น สวยงามแปลกตา สีที่ใช้ย้อมไหม เป็นสีธรรมชาติได้จากพืชและสัตว์ เช่น สีแดงได้จากครั่ง หรือขี่ครั่ง สีเหลืองได้จากแก่น หรือแกแล สีครามได้จากราก และใบของต้นคราม สีดำได้จากผลมะเกลือ สีเขียวได้จากเปลือกประโหด หรือกระหูด

                ลวดลายของผ้าไหมสุรินทร์  มีลักษณะแตกต่างจากผ้าของชาวอีสานทั่วไป กรรมวิธีในการจับลาย หรือมัดลายมีรสนิยมสูง นิยมใช้ไหมน้อย เพราะเป็นไหมเนื้อละเอียด และพิถีพิถันในการเก็บรายละเอียดของลวดลาย ตลอดจนการสร้างสีสัน ที่ประสานกลมกลืนกับลวดลายผ้า
                ลวดลายผ้าพื้นเมืองของชาวอีสานทั่วไป มีสองลักษณะคือ ลวดลายภายนอกและลวดลายโครงสร้าง แต่ลวดลายผ้าพื้นเมืองของชาวสุรินทร์ เป็นลวดลายโครงสร้าง ซึ่งเกิดจากการมัดย้อม และการทอให้เป็นลวดลายต่าง ๆ หรือความแตกต่างของวัสดุที่ใช้ทอ หรือเกิดจากวิธีการทอ (การขัดเส้นไหม)
                การจับลายหรือมัดหมี่เป็นลายนั้นได้รับอิทธิพลหรือความบันดาลใจ จากสิ่งแวดล้อมเช่น ลายพระตะบอง ลายพนมเปญ ลายปราสาท ลายกนก ลายเรือหงส์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นความบันดาลใจจากธรรมชาติ ได้แก่ ลวดลายจากพืช ลวดลายจากสัตว์ เช่น ดอกมะเขือ ดอกผักขะแยง ลายช้าง ลายม้า ลายไก่ ลายนกยูง เป็นต้น
                กลวิธีการทอ  จำแนกออกเป็นสามลักษณะคือ
            ลายทางและลายตาราง  เป็นลวดลายที่เกิดจากการย้อมสีไหมที่ทอ โดยย้อมไหมยืนและไหมพุ่ง ต่างสีกัน ลายที่นิยมกันมากได้แก่ ลายสระมอ  มีลักษณะเป็นตารางเล็ก ๆ นิยมใช้สีดำเหลือบทอง และสีเขียวขี้ม้า ผ้าที่ย้อมจนได้สีทองแก่ ถือว่าเป็นผ้าลายสระมอที่สวยงามที่สุด มีความคงทนถาวรมาก ผ้าลายอันลูนญ์ซัม  มีลักษณะเป็นลายทาง นิยมย้อมไหม เป็นเส้นพุ่ง และไหมเส้นยืนเป็นสีแดง - ขาว เหลืองทอง - เขียว  ผ้าผืนหนึ่งจะใช้ไหมเพียงสี่สี ทอสลับกันไปจนจบผืน ผ้าลายสคู มีลักษณะเป็นตารางเหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละครึ่งนิ้ว ภายในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสยังมีตารางเล็ก ๆ อีก ๖๔ ตาราง  สีที่นิยมใช้เป็นกรอบคือ สีเขียว กับสีขาว หรือสีเหลืองทองกับสีขาว ส่วนตารางเล็ก ๆ ภายในกรอบนั้นนิยมใช้สีหลาย ๆ สี เช่น เขียว แดง น้ำเงิน  และเหลืองทอง เป็นต้น  ผ้าลายซโรง (โสร่ง)  มีลักษณะเป็นตารางใหญ่ขนาดยาวห้านิ้วครึ่ง กว้างสี่นิ้วครึ่ง โดยประมาณนิยมใช้สีแดงสลับกับสีเขียว มีลายริ้วตรงกลางตลอดผืนผ้า มีความพิเศษทีผิวสัมผัสของผ้า มีความมันระยิบระยับ ซึ่งเกิดจากการปั่นไหมหางกระรอก ผ้ากระนิ่ว เป็นผ้าที่ใช้เส้นไหมต่างสีกัน ตั้งแต่สองเส้นขึ้นไปนำมาฟั่นให้เป็นเส้นเดียวกัน เมื่อทอเป็นผ้าแล้วจะได้ผ้าไหมเนื้อหนา สวยงามแปลกตา นิยมใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ผ้านุ่งหางกระรอก

                ลายมัดหมี่  เป็นลวดลายที่เกิดจากการมัดย้อมเส้นพุ่งแล้วนำไปทอเป็นผืนผ้า ชาวสุรินทร์เชื้อสายเขมรเรียกผ้าชนิดนี้ว่า ผ้าปูม มักจะทำลวดลายเป็นรูปคน สัตว์ และรูปสถาปัตยกรรมเขมรเมืองพนมเปญ และพระตะบอง ผ้าปูมชนิดที่ดีที่สุดได้แก่ ผ้าลายก้ามแย่งประจำยาม ผ้าลายนาคเกี้ยวสีแดง ผ้าลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ก้ามแย่งเป็นรูปนาคเกี้ยวและลายบุษบก สีและลวดลายของผ้าปูมนิยมใช้สีม่วงเปลือกมังคุด สีแดง สีเขียว สีคราม และสีเหลือง ซึ่งมีความกลมกลืนกัน เนื่องจากการย้อมทับ เพื่อผสมสีให้ได้สีใหม่ขึ้น ผ้าปูมที่มีสีและลวดลายเด่น ๆ ได้แก่
                    ผ้าลายพระตะบอง  เป็นลายกรอบรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีลายดอกสีด้านอยู่ตรงกลาง นอกกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปุร ล้อมรอบด้วยขอเครือ
                    ผ้าลายช้าง  มีลักษณะเป็นรูปช้างยืน หรือหมอบ หันหน้าเข้าหากันเป็นคู่ ๆ ทั้งนี้เกิดจากการคั่นไหมเพื่อมัดลาย
                    ผ้าลายม้า  มีลักษณะเป็นรูปม้ายืนคล้ายช้าง
                    ผ้าลายนกยูง  มีลักษณะเป็นรูปนกยุงรำแพน ยืนหันหน้าเข้าหากันคล้ายลายช้าง
                    ผ้าลายไก่  มีลักษณะเป็นรูปไก่ ยืนหันหน้าออกจากกัน
                    นอกจากนี้ยังมีลายผ้าที่นิยมทอใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ลายนก ลายพญานาค ลายพนมเปญ ฯลฯ
                ลายผสม  เป็นลายที่เกิดจากการทอเส้นพุ่ง ย้อมสีและมัดย้อม สลับกันจนเต็มผืนเรียกว่า หมี่คั่น เช่น
                    ลายหมี่โฮล  เป็นผ้าที่เน้นสีสันและลวดลายให้ดูเด่นสะดุดตา มีลักษณะคล้ายคล้ายใบไผ่ เป็นลายริ้ว ขนาดกว้างประมาณครึ่งนิ้ว คล้ายก้านใบไผ่ สลับกับลายมัดหมี่ที่คล้ายใบไผ่

                    ลายอัมปรม  มีลักษณะเป็นลายตารางเล็ก ๆ ตรงกลางมีจุดประสีขาวลอยเด่น บนพื้นสีน้ำตาลแดง ซึ่งเกิดจากการมัดเส้นยืนและเส้นพุ้งเป็นกำ (มัดสองทาง)  เว้นระยะห่างกันประมาณครึ่งเซนติเมตร แล้วย้อมด้วยสีน้ำตาลอมแดง ชาวสุรินทร์เรียกไหมที่ย้อมนี้ว่า สีกราก หรือสักรา การผลิตผ้าลายอัมปรมนี้เป็นกรรมวิธียุ่งยากที่สุด เนื่องจากต้องมัดหมี่เส้นยืนซึ่งยุ่งยากมาก  แล้วยังต้องใช้ทักษะความชำนาญในการดึงเส้นพุ่ง และส้นยืนให้สัมผัสกันตรงระยะ และช่องไฟอีกด้วย เพื่อให้เส้นไหมตัดกันเป็นรูปเครื่องหมายกากบาท ได้สัดส่วนสวยงาม
                    ลายโคม  มีลักษณะคล้ายเปลวเทียน ที่เป็นเปลวรอบนอกรอบใน มีจำนวนเลขเพื่อบอกจำนวนที่คั่นลายมัดย้อม ลายโคมนี้จัดเป็นลายพื้นฐานที่สามารถนำไปดัดแปลงให้มีขนาดเล็กลง หรือใหญ่ขึ้นได้มีชื่อเรียกตามขนาด เช่น โคมห้า โคมเจ็ด โคมเก้า เป็นต้น
                    ลายขอ  มีลักษณะคล้ายตะขอ ออกแบบลายตามอย่างตะขอที่ใช้ยึดเกาะสิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน มีการออกแบบเป็นลายขอเดี่ยว ๆ เรียงกันไปเต็มผืนผ้า หรือเรียงต่อ ๆ กันเรียกว่า ขอเครือ
                    ลายลูกแก้ว  มีลักษณะคล้ายลูกแก้วอยู่กลางลายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนขนาดเล็ก เป็นผ้าไหมที่ทอ ยกดอกในตัว แต่เดิมนิยมใช้สีขาวและสีดำ โดยทอเสร็จแล้วจึงนำไปย้อม ต่อมามีการมัดย้อมแล้วนำไปทอ การยกดอกนี้มีหลายลายด้วยกัน เช่น ลายดอกแก้ว หรือลูกแก้ว ลายดอกจันทน์ ลายดอกพิกุล เป็นต้น
                    แหล่งผลิตผ้าไหมที่สำคัญของจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ หมู่บ้านจันรม ตำบลตาอ๊อง อำเภอเมือง ฯ บ้านสวาย ตำบลสวาย อำเภอเมือง ฯ บ้านแกใหญ่ ตำบลแสลงพันธ์ อำเภอเมือง ฯ  บ้านเขวาสินรินทร์ ตำบลเขวาสินรินทร์ กิ่งอำเภอธารพัด อำเภอศีขรภูมิ
            การทำผ้าหม้อนิน  เป็นผ้าที่ย้อมสีที่ได้จากต้นคราม มีแหล่งผลิตอยู่แห่งเดียวที่อำเภอสนม กลุ่มชนที่ผลิตผ้าหม้อนิน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กูย และลาว (ลาวส่วย)  ซึ่งมีวัฒนธรรมการทอผ้าเช่นเดียวกับชาวอีสานทั่วไป แต่มีการผลิตผ้าย้อมครามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาแต่โบราณ
            กรรมวิธีการทำสีคราม และย้อมหม้อนิน มีลักษณะเฉพาะตัวคือ ตัดต้นครามมาแช่น้ำทิ้งไว้ ๑ - ๒ วัน น้ำจะมีสีน้ำเงินอมเขียวเรียกว่า น้ำคราม  เอาน้ำครามไปกวนกับปูนกินหมากจนเกิดเป็นฟอง ทิ้งไว้ให้ตกตะกอนแล้วกรองเอากาก (เยื่อคราม)  ไปผึ่งแดดจนหมาดจึงนำไปใช้ย้อมผ้าโดยผสมกับน้ำด่าง ที่ได้จากการต้มมดแดงผสมเหล้า (สาโท)  ต้นขี้เหล็ก และต้นกล้วย (เหง้า)  ที่เผาแล้ว การย้อมจะต้องทำซ้ำ ๆ กันประมาณ ๖ - ๘ ครั้ง เพื่อให้สีติดทนทาน ผ้าที่นำมาย้อมหากเป็นสีเหลือง เช่นไหมที่มีสีขาวอมเหลือง เมื่อย้อมแล้วจะกลายเป็นสีเขียวอมคราม การย้อมทำได้ทั้งก่อนทอและหลังทอ

            การทำประเกื้อม  ประเกื้อมเป็นภาษาเขมร หมายถึง ประคำหรือลูกประคำ ที่นำมาย้อมหรือจัดแต่งเป็นเครื่องประดับ ทำจากเงินแท้ และทำจากทองผสม (ทองดอกบวบ)
            แหล่งผลิตประเกื้อม ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือ กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร กลุ่มชนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวเขมร ที่มีฝีมือทางด้านหัตถกรรมตามแบบขอม โดยเฉพาะในการทำทองรูปพรรณ ทุกหลังคาเรือนจะเริ่มทำงานตั้งแต่เช้า จรดเย็นด้วยความขยันขันแข็งและสนุกสนาน ชาวบ้านจะจับกลุ่มทำงานภายในบ้าน หรือรอบบริเวณบ้าน
            ลักษณะของเครื่องประดับที่ทำจากประเกื้อม ของชาวกิ่งอำเภอเขวาสินรินทร มีความแตกต่างจากการทำเครื่องเงินโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ
                รูปทรง  ประเกื้อม ซึ่งผลิตออกมาเป็นเม็ด มีชื่อตามรูปทรง  เช่น ตบปาก มะเฟือง กลีบบัว เหลี่ยมเพชร ตะโพน ถุงเงินกรวย หกเหลี่ยม แมงดา กระบอก น้ำเต้า ไข่แมลงมุม และรูปทรงประยุกต์อื่น ๆ เมื่อทำรูปต่างๆ ออกมาแล้ว ช่างจะนำเม็ดประเกื้อมเหล่านี้มาร้อยเป็นเครื่องประดับตามแบบที่ต้องการ เช่น ร้อยแบบเดียวกันหมด หรือร้อยสลับกันหลายรูปทรง หลายขนาดในเส้นเดียวกันก็ได้ เครื่องประดับที่สำเร็จแล้วจะนำไปวางจำหน่ายมีหลายชนิด เช่น ตุ้มหู สร้อยคอ สร้อยข้อมือ พวงกุญแจ เข็มขัด กระดุม ฯลฯ
                ลวดลาย  เครื่องประดับเงิน จะเน้นลวดลายที่เด่นชัด มีความอ่อนช้อย ละเอียดอ่อน มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ ซึ่งนับได้ว่าเป็นศิลปะที่ประณีตสวยงามมาก ลวดลายที่นิยมได้แก่ ลายกลีบบัว ลายดอกพิกุล ลายดอกจันทน์ ลายพระอาทิตย์ ลายดอกทานตะวัน ลายข้าวหลามตัด ลายร่างแห ลายใบไม้  ลายฟักทอง ลายตั๊กแตน ลายไทย ฯลฯ  ส่วนใหญ่เป็นลายที่ลอกเลียนแบบมาจากธรรมชาติรอบ ๆ ตัว จากดอกไม้ ใบไม้ สัตว์ ธรรมชาติอื่น ๆ
                ขั้นตอนการทำ  นำก้อนเงินมาหลอมละลายในเบ้าหลอม และนำมาแผ่ เผา แล้วรีดให้เป็นแผ่นตามขนาดที่ต้องการ นำแผ่นเงินมาม้วนให้กลมเป็นหลอด โดยใช้ไม้ไผ่แล้วเชื่อมรอยต่อ ด้วยน้ำยาประสานและความร้อน จากนั้นนำมาตีให้ได้รูปร่างเป็นลูกประเกื้อม โดยใช้คชเซีวย และฆ้อน แล้วให้ความร้อนเพื่อให้อยู่ตัว จากนั้นใส่รูปประเกื้อม โดยใช้เส้นลวดที่ขดเป็นวง วางที่หัวและท้ายของลูกประเกื้อม แล้วเชื่อมโดยใช้น้ำยาประสาน และความร้อน
                ขั้นต่อไปทำเส้นร้อย เป็นโลหะผสมระหว่างเงินกับทองแดง เผาไฟให้ร้อนรีดให้ยาวเป็นเส้น นำลูกประเกื้อมที่ใส่ขอบเรียบร้อยแล้ว ไปต้มให้ขาวในสารละลาย ประกอบด้วยสารน้ำส้มและเกลือ ในสัดส่วนที่พอเหมาะประมาณ ๑๕ นาที อุดรูลูกประเกื้อมด้วยชันเพื่อให้มีรูปทรงตัว แล้วนำลูกประเกื้อมไปสลักลวดลายตามที่ต้องการ เจาะรูปกลางเพื่อร้อย ขัดให้ขาวแล้วทำการชุบเคลือบด้วยไฟฟ้า

bsp;        หม้อดินบ้านน้ำดำ  บ้านน้ำดำ อยู่ในตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา หลังฤดูเก็บเกี่ยวชาวบ้านจะช่วยกันปั้นหม้อ ปั้นกระถางส่งขายตลาดท่าตูม และตลาดรัตนบุรีหรือนำไปแลกข้าวในละแวกนั้น

                การเตรียมดิน  ดินที่ใช้ปั้นนำมาจากกุมเสนียดใกล้ ๆ แม่น้ำมูล ลักษณะดินมีสีเทาปนขาว หรือบางที่ค่อนข้างเหลือง เป็นดินคุณภาพดีในแถบนี้ นำดินมาตากให้แห้งสนิทแล้วนำไปแช่ในโอ่งหรือบ่อเพื่อให้ดินอ่อนตัว แล้วนำไปผสมกับเชื้อดิน ซึ่งเป็นดินแห้งบดละเอียด ผ่านการร่อนโดยการเอาดินเหนียวผสมกับแกลบในสัดส่วนสองต่อหนึ่ง ผสมกันเป็นก้อนนำไปตากแดดให้แห้งแล้วนำไปเผาให้สุก นำมาบดละเอียด กรองด้วยตะแกรง เอาเฉพาะส่วนที่ละเอียดมาเป็นเชื้อดิน นวดดินที่เตรียมมากับเชื้อดินให้เข้ากัน ใส่ถุงพลาสติก หรือวัสดุที่เก็บความชื้นได้ เพื่อเข้าสู่กระบวนการขั้นต่อไป
                อุปกรณ์การปั้น  ประกอบด้วยตั่ง หรือแท่นไม้รูปทรงกระบอก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๘ นิ้ว ขึ้นไป สูงประมาณ ๔๐ - ๕๐ เซนติเมตร เพื่อขึ้นดิน  เครื่องมือปั้น ทำจากไม้หรือดิน  ใบสับปะรด ใช้สำหรับขึ้นปากหม้อเพราะมีคุณสมบัติมันและลื่น

                ขั้นตอนการปั้น  การปั้นหม้อเรียกว่าการตีหม้อ งานปั้นหม้อส่วนใหญ่จะเป็นหญิง ส่วนชายมีหน้าที่นวดดิน หาฟืนเผา ลำเลียงดิน ปริมาณการปั้นขึ้นอยู่กับขนาดของหม้อที่ปั้น เช่นขนาดหม้อข้าวจะได้ไม่เกิน ๓๐ ใบต่อวัน เมื่อปั้นเสร็จจะตากทิ้งไว้ ๔ - ๕ วัน จึงนำไปเผา
                การเผา รวมกันเผาครั้งละ ๒๐ - ๓๐ ใบ ใช้เวลา ๔ - ๕ ชั่วโมง ใช้ฟืนหรือฟางเป็นเชื้อเพลิง ทิ้งไว้จนเย็น ผิวหม้อจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองปนส้มหรือน้ำตาล เรียกว่า หม้อสุก พร้อมนำไปใช้ได้
                ประเภทเครื่องปั้นดินเผา  จำแนกตามรูปร่างและวัตถุประสงค์การใช้งานเช่น หม้อข้าว หม้อแกง หม้อสาว (ใช้สำหรับสาวไหม) หม้อแอ่ง (ใช้ใส่น้ำดื่ม) กระถาง เตา
            การแต่งกาย  ผู้ชายไทยกูยนิยมนุ่งผ้าไหมควบ โดยเฉพาะหมอช้าง เวลาออกไปจับช้างจะต้องนุ่งชุดเดียวห้ามเปลี่ยน แต่ให้ซักได้ หมอช้างจะใช้ผ้าขาวม้าไหมขิดที่ชายหรือปลายผ้า เวลาเบี่ยงผ้าจะโชว์ขิดไว้ด้านหน้า อ้อมผ้าไปด้านหลังพาดไปสอดเข้าใต้รักแร้ของแขนอีกข้างหนึ่ง แล้วตวัดผ้าคาดไหล่ในข้างนั้นสวยงามมาก หากอากาศหนาวเย็นก็ใช้ผ้าสไบอีกผืนเบี่ยงซ้อนในแนวทางเดียวกัน

            การแต่งกายของผู้หญิงไทยกูย มีผ้าลายขิดสำหรับโผกศีรษะ และทำเป็นผ้าเบี่ยงทับเสื้อสีดำอันเป็นสีแห่งความมั่นคง ผ้าสีดำใช้ตัดเสื้อจะทอยกเรียกผ้าแก๊บ สำหรับผ้านุ่งมีลักษณะคล้ายผ้าซิ่นกับของชาวไทยลาว แต่ฝีมือการทอของไทยกูยสวยงามกว่า ผ้านุ่งที่นิยมกันมากคือ ลายตังเพาะ เป็นผ้ามัดหมี่ที่ทั่วไปเรียกว่าหมี่ขอ ลายตังแพละเป็นผ้ามัดหมี่อีกลายหนึ่ง เน้นพื้นสีแดง มีลายโค้งงอตามรูปในแนวขวางของผ้า ตังแพละแปลว่าไม้คาน ในการใช้ผ้าลายนี้ ชาวไทยกูยบางคนถือว่ามีลวดลายสวยงามในตัว แล้วไม่ต่อตีนซิ่น จะต่อเฉพาะหัวซิ่นสำหรับนุ่ง ให้ตัวผ้านุ่งได้แสดงลายเต็มตัวนั่นเอง ลายโฮจ จะมีลายน้ำไหลสลับกับหมี่คั่น นิยมสีออกแดงครั่งและต้องย้อมด้วยสีธรรมชาติ

            ชาวไทยกูย จะนำสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดมาทำเป็นลวดลายผ้า เช่น พบว่าหางตะกวดออกเมื่อออกสีน้ำตาลดำแสดงว่าฝนจะตก การปักหรือทำแซว ใช้ด้ายปักหรือถักลงบนผืนผ้า ให้สีและลายคล้ายหางตะกวด ส่วนเต่าก็เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ผ้านุ่งมัดหมี่ของชาวบ้านตาโมบ (บ้านเต่า) ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จึงนิยมนุ่งผ้าลายเต่า ลักษณะลวดลายจะเป็นจุดเล็ก ๆ เรียงกันเป็นระเบียบทั่วผืนผ้า คล้ายเต่าเล็ก ๆ และนิยมมัดย้อมให้ตัวเต่าสีทอง นอกจากนั้นงูก็เป็นสัตว์ที่ชาวไทยกูย และชาวไทยเขมรนับถือ ชาวไทยกูยจะเลียนแบบสีของงูเหลือมมาแต่งบนผืนผ้าเช่น ผ้าประเภทตีนซิ่น มีการทอเส้นไหมให้ไขว้กันเรียกว่า ลายกระดูกงู และมีกฎเกณฑ์ว่าจะต้องใช้สีเหลือง แดง ขาว เท่านั้น ลายงูเหลือมจะปรากฎในผ้านุ่งมัดหมี่
            ภาษาถิ่น  ชาวจังหวัดสุรินทร์ ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาถิ่นเป็นภาษาพูดในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีอยู่สามภาษาคือ ภาษาเขมร ภาษาส่วยและภาษาลาว
            กลุ่มที่ใช้ภาษาเขมร ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ อำเภอปราสาท อำเภอสังขะ อำเภอกาบเชิง อำเภอบัวเชด อำเภอลำดวน กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ กิ่งอำเภอศรีณรงค์ กิ่งอำเภอพนมดงรัก และบางส่วนของอำเภอท่าตูม อำเภอชุมพลบุรี อำเภอจอมพระ อำเภอศรีขรภูมิ และอำเภอสำโรงทาบ
            กลุ่มที่ใช้ภาษาส่วย ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอจอมพระ อำเภอสำโรงทาบ และบางส่วนของอำเภอท่าตูม อำเภอศรีขรภูมิ อำเภอสังขะ อำเภอสนม กิ่งอำเภอศรีณรงค์ และกิ่งอำเภอเขราสินรินทร์
            กลุ่มที่ใช้ภาษาลาว ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอรัตนบุรี กิ่งอำเภอโนนนารายณ์ อำเภอสนม อำเภอชุมพลบุรี และบางส่วนในเขตอำเภอท่าตูม และอำเภอศีขรภูมิ
            ในสามภาษาดังกล่าว มีผู้พูดภาษาเขมรเป็นส่วนใหญ่ และเรียกตนเองว่า ขแมร์เลอ แปลว่าเขมรสูง มีความแตกต่างจากขแมร์กรอม แปลว่าเขมรต่ำ ภาษาเขมรสุรินทร์เป็นภาษาผสมระหว่างชาวกูยกับชาวเขมร ที่คนไทยเรียกว่า ส่วยเขมร ชาวกูยสุรินทร์ที่พูดภาษาเขมรนั้นเสียงห้วน สำเนียงกระด้างไม่ไพเราะอ่อนหวาน เหมือนถ้อนคำสำเนียงของชาวเขมรแท้ในกัมพูชา จนบางทีพูดกันแทบไม่รู้เรื่อง
            ปัจจุบันภาษาเขมร ที่ชาวสุรินทร์ใช้พูดกันมีลีลาของเสียงเรียบเสมอ นุ่มนวล อ่อนโยน ไม่กระโชกโฮกฮาก ไม่กระแทกกระทั้น ไม่มีอักษรสูง เป็นเสียงอักษรกลางถึงอักษรต่ำทั้งสิ้น เป็นภาษาที่ใช้เขียนด้วยอักษรขอม หรือเขมรโบราณ ซึ่งปรากฎเป็นอักษรในคัมภีร์ใบลานและบดสวดต่าง ๆ ที่จารเป็นตัวหนังสือไทยโบราณและอักษรขอม ต้นรากของภาษานี้คือ ภาษาสันสกฤต เช่นการนับเดือนเริ่มนับจากเดือนห้า เป็นต้นไป
            ภาษาเขมรมีความคล้ายคลึงกับภาษาไทยมากกว่า ความแตกต่างเพราะภาษาเขมรเป็นคำโดดเช่นเดียวกับภาษาไทย มีลักษณะของภาษาคำที่ใช้ติดต่อกัน และภาษาวิภัตติปัจจัยด้วย เขมรยืมคำภาษาต่างประเทศเช่น บาลี สันสกฤต เข้าไปใช้ในภาษาของตนเองมากพอ ๆ กับภาษาไทย เพราะเป็นภาษาเกี่ยวกับศาสนา และพิธีกรรม
            อย่างไรก็ตามก็มีความแตกต่างกันคือ การสร้างคำแตกต่างกับภาษาไทยคือ ภาษาไทยใช้วิธีสร้างคำแบบประสมคำเป็นหลัก แต่เขมรโบราณใช้วิธีสร้างคำ โดยการเติมหน้าคำและกลางคำ แต่ไม่มีการเติมท้ายคำ เขมรไม่ใช้วรรณยุกต์ ซึ่งเป็นความแตกต่างที่ชัดเจนมาก
บุคคลสำคัญ บุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์

                พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม)  พระยาสุรินทร์ภักดี ฯ (ปุม) เจ้าเมืองประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) ท่านแรก เป็นผู้วางรากฐานการก่อตั้งเมืองสุรินทร์
                ในสมัยอยุธยา มีชาวไทยพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งที่เรียกตนเองว่าส่วยหรือกวยกรือกูย เป็นกลุ่มชนที่มีความรู้ความสามารถในการจับช้างป่ามาเลี้ยงไว้ใช้งาน ได้แบ่งกลุ่มมาตั้งถิ่นฐานอยู่หกพวกด้วยกัน ในเขตจังหวัดสุรินทร์
                ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๐๒ มีช้างเผือกแตกโขงออกจากเมืองหลวงหนีเข้าป่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (สมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์) แห่งกรุงศรีอยุธยาได้โปรดเกล้า ฯ ให้ติดตามช้างเผือก เชียงปุมซึ่งเป็นหัวหน้าชาวส่วยที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเมืองที่ได้ช่วยเหลือในการติดตามช้างเผือก เชียงปุมจึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้เป็นหลวงสุรินทรภักดี ให้ปกครองหมู่บ้านเดิมขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย
                ในปี พ.ศ.๒๓๐๖ หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) ได้ย้ายจากหมู่บ้านเมืองที่ไปอยู่ที่บ้านคูประทายหรือบ้านประทายสมันต์ ต่อมาหลวงสุรินทรภักดี (เชียงชุม) ได้เป็นพระสุรินทรภักดีศรีรณรงค์จางวาง และยกบ้านคูประทายขึ้นเป็นเมืองประทายสมันต์
                พ.ศ.๒๓๒๔ เมืองเขมรเกิดจลาจล เมืองประทายสมันต์ได้สมทบกับกองทัพหลวงไปช่วยปราบปราม จึงมีชาวเขมรอพยพครอบครัวมาตั้งอยู่ในเขตเมืองประทายสมันต์เป็นจำนวนมาก
                พ.ศ.๒๓๒๙ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์เป็นเมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง
                พ.ศ.๒๓๓๗ พระยาสุรินทรภักดี ฯ (เชียงปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม
| ย้อนกลับ | บน | หน้าต่อไป |



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์