ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |


           วัดพระสี่อิริยาบถ  เป็นวัดขนาดใหญ่อีกวัดหนึ่งในบริเวณอรัญญิก อยู่ทางด้านทิศเหนือของวัดพระนอน ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สิ่งก่อสร้างภายในวัดส่วนใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีอิฐปนอยู่บ้างเล็กน้อย กำแพงก่อด้วยศิลาแลงทั้งสี่ด้าน
            ด้านหน้าวัดมีบ่อน้ำรูปสี่เหลี่ยมขุดลงไปในพื้นที่ศิลาแลง ใกล้บ่อน้ำมีที่อาบน้ำหรือห้องน้ำหนึ่งหลัง มีศาลาปลูกสร้างคร่อมทางเดินเข้าประตูวัด ติดกำแพงวัดด้านนอกมีคูน้ำที่เกิดจากการขุดตัดศิลาแลงไปใช้ในการก่อสร้าง
            ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส
                - วิหาร  ตั้งอยู่ด้านหน้ากับแนวกำแพงวัดด้านทิศตะวันออก สร้างอยู่บนฐานรองรับขนาดใหญ่ หรือฐานทักษิณ เป็นแบบฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ก่อด้วยศิลาแลงย่อมุมทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีบันไดทางขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ผนังด้านข้างฐานทักษิณใช้ศิลาแลงทำเป็นลูกกรงเตี้ย เลียนแบบเครื่องไม้ ชานชาลาด้านหน้ามีแท่นสิงห์ปูนปั้น และทวารบาลรวมแปดแท่น
             บนลานประทักษิณมีฐานวิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขเด็จทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บันไดทางขึ้นวิหารสร้างขนาบมุขเด็จทั้งสองข้าง วิหารมีขนาดเจ็ดห้องหรือเจ็ดช่วงเสา ภายในมีแท่นอาสนะสงฆ์และฐานชุกชี มีร่องรอยพระประธานปูนปั้นประทับนั่งเสารองรับเครื่องบนใช้เสาศิลาแลงสี่เหลี่ยม
                - มณฑป  ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร มีขนาดใหญ่ สร้างเป็นประธานวัดแทนเจดีย์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ แนวกำแพงแก้วก่อมาเชื่อมฐานทักษิณด้านข้างทั้งสองด้าน  กำแพงแก้วมีซุ้มประตูทางเข้าสามด้าน ยกเว้นด้านตะวันออกที่เชื่อมต่อกับวิหาร
             มณฑปมีผังแบบจตุรมุข ตรงกลางทำเป็นแท่งทึบก่อด้วยศิลาแลงและอิฐเพื่อรองรับส่วนยอดของหลังคา และทำเป็นมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้านหรือสี่ทิศ ผนังของแท่นทึบแต่ละด้านประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ คือด้านหน้าประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา ด้านใต้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ด้านตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานอภัย และด้านทิศเหนือเป็นพระพุทธไสยาสน์หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออก พระสี่อิริยาบถนี้พบที่วัดเจตุพน นอกเมืองด้านทิศใต้ของเมืองสุโขทัย
             ภายในกำแพงแก้วรอบมณฑปพระสี่อิริยาบถมีฐานเจดีย์รายหลายองค์ เจดีย์รายที่ตั้งอยู่ประจำมุมกำแพงแก้วเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดระฆังแบบสุโขทัย เรือนธาตุทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนยอดเป็นองค์ระฆัง
                - อุโบสถ  อยู่ทางด้านทิศใต้ของเขตพุทธาวาส เกือบติดกำแพงวัด  สร้างเป็นอาคารเล็ก ๆ ฐานเตี้ย ชั้นเดียว เสาทำด้วยศิลาแลงสี่เหลี่ยม มีใบเสมาหินชนวนปักอยู่บนดินโดยรอบ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของโบสถ์มีน้อยกว่าวิหาร
                - เขตสังฆาวาส  อยู่บริเวณด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของเขตพุทธาวาส พบฐานอาคารขนาดต่าง ๆ ที่เป็นฐานศาลากุฏิสงฆ์ บ่อน้ำและเวจกุฎี
            วัดพระสี่อิริยาบถน่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เมื่อประมาณช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐
            วัดฆ้องชัย  ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัดพระสี่อิริยาบถ ในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร สิ่งก่อสร้างในวัดวางตรงตามแนวตะวันออกตะวันตก หันหน้าวัดไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลง มีอยู่เพียงสองด้านคือด้านทิศใต้และทิศตะวันตก นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันตก ปรากฏมีบ่อศิลาแลงยาวขนานไปกับแนวกำแพงวัด

                - วิหาร  ตั้งอยู่ด้านหน้า เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานก่อเป็นฐานหน้ากระดาน มีบันไดทางขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฐานหน้ากระดานล่างแตกต่างจากแห่งอื่น ๆ คือ ทำเป็นหน้ากระดานสูงถึง ๒.๑๐ เมตร นับเป็นฐานเขียง หรือฐานหน้ากระดานของอาคารที่สูงสุด เท่าที่พบในเมืองกำแพงเพชร
             ฐานวิหารด้านบนทำเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ มีมุขเด็จหน้า - หลัง บันไดทั้งด้านหน้าและหลัง สร้างขนานมุขเด็จทั้งสองข้าง รูปแบบดังกล่าวมีอยู่ทั่วไป ในแบบอาคารของเมืองกำแพงเพชร โถงอาคารมีขนาดเจ็ดห้อง แต่เมื่อรวมมุขหน้า - หลังด้วยจะเป็นอาคารขนาดใหญ่เก้าห้อง เสารับเครื่องบนเป็นเสาศิลาแลงแปดเหลี่ยม บริเวณชานชาลามุขหน้าเดิมประดับมกรดินเผาหรือมกรสังคโลก จากการขุดแต่งได้พบชิ้นส่วนมกรเป็นจำนวนมากที่บริเวณนี้
                - เจดีย์ประธาน  ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร เป็นเจดีย์ทรงระฆังศิลปะสุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชร  องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม และฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม ที่ซ้อนกันลดหลั่นกันขึ้นมา ฐานบัวลูกแก้วอกไก่แปดเหลี่ยม รองรับชั้นมาลัยที่ทำเป็นบัวกลาสามชั้น ปัจจุบันองค์ระฆังและส่วนยอดหักพังหมดแล้ว จัดเป็นเจดีย์ทรงระฆังฐานแปดเหลี่ยม องค์ระฆังเล็กทำให้รูปทรงของเจดีย์สูง เพรียวซึ่งเป็นรูปแบบที่พบทั่วไปในเมืองกำแพงเพชร ด้านหลังเจดีย์ประธานมีเจดีย์รายขนาดเล็กอยู่สี่องค์
                - เขตสังฆาวาส  ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของเขตพุทธาวาส มีฐานศาลา ฐานกุฏิสงฆ์ และบ่อน้ำ
             พบเศษภาชนะดินเผาเป็นจำนวนมากที่เป็นเครื่องเคลือบ มีทั้งเครื่องเคลือบสังคโลก เครื่องถ้วยจีนประเภทเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์เหม็ง พบพระพุทธรูปสำริดฝีมือช่างพื้นเมือง ผสมผสานรูปแบบศิลปะสุโขทัยและอยุธยาเข้าด้วยกัน ทำให้สันนิษฐานได้ว่า วัดฆ้องชัยน่าจะสร้างในช่วงสมัยสุโขทัยตอนปลาย หรือช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐
            วัดสิงห์  ตั้งอยู่ในบริเวณอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือ มีกำแพงศิลาแลงโดยรอบทั้งสี่ด้าน ประตูวัดอยู่ด้านหน้า หนึ่งทางและด้านหลังหนึ่งทาง ภายในบริดวณวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาสชัดเจนเช่นเดียวกับวัดอื่น ๆ ในเขตอรัญญิก สิ่งก่อสร้างในเขตพุทธาวาส ไม่ตรงตามแกนทิศตะวันออก - ตะวันตก โดยเฉียงลงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เล็กน้อย
            จากการขุดแต่งพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารและเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของอาคาร เช่น อุโบสถที่ปรากฎอยู่ปัจจุบันเดิมเป็นวิหาร
            ใบเสมาที่พบสลักจากหินชนวน บางใบประดับลวดลายพรรณพฤกษาในกรอบลายรูปสามเหลี่ยม และที่ขอบของใบเสมาสลักเป็นแถวลายกนกปลายแหลม ซึ่งเป็นศิลปะอยุธยา
                - อุโบสถหรือวิหารเดิม  ตั้งอยู่บนฐานทักษิณขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับวิหารพระสี่อิริยาบถ บันไดทางขึ้นฐานทักษิณด้านหน้าสร้างแปลกกว่าแห่งอื่น ๆ คือทำบันไดเจาะเข้าไปในฐานไม่ได้ยื่นออกมาจากฐานชานชาลาด้านหน้า บนฐานทักษิณก่อเป็นแท่นยกสูงขึ้นจากระดับพื้นประดับสิงห์ปูนปั้น ทวารบาล และนาคที่มีแกนเป็นศิลาแลง
            ตัวอาคารตั้งอยู่บนฐานประทักษิณ ลักษณะอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุขเด็จหน้า-หลัง ฐานอาคารเป็นแบบฐานบัวลูกแก้วอกไก่ เสารองรับเครื่องบนเป็นเสาแปดเหลี่ยม ใช้เขียงศิลาแลงรูปแปดเหลี่ยมวางซ้อนกันขึ้นไป ภายในอาคารยังปรากฎแนวอาสนสงฆ์ และฐานชุกชีประดิษฐานพระประธาน
                - กำแพงแก้ว  สร้างต่อจากฐานทักษิณไปทางทิศตะวันตก ฐานทักษิณด้านหลังอยู่ภายในกำแพงแก้วเช่นเดียวกับวิหารวัดสี่อิริยาบถ กำแพงแก้วแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกมีเจดีย์ประธาน และเจดีย์ประจำมุมเล็ก ๆ อีกส่วนหนึ่งมีฐานอาคารขนาดเล็กหนึ่งหลัง
                - เจดีย์ประธาน  ก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ ปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนที่เป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยม ซ้อนกันสามชั้นถัดขึ้นไปเป็นฐานบัว มีซุ้มยื่นออกมาจากฐานล่างทั้งสี่ด้าน ภายในซุ้มมีร่องรอยการประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นแกนศิลาแลง พบชิ้นส่วนปูนปั้นบัวปากระฆังอยู่รอบฐานเจดีย์ แสดงว่ารูปทรงเดิมขององค์เจดีย์เป็นทรงระฆัง ฐานสี่เหลี่ยมคล้ายเจดีย์ประธานวัดกำแพงงาม คือ เป็นเจดีย์ทรงระฆังฐานสูง
            โบราณวัตถุที่พบได้แก่เขียงพระพุทธรูปสำริด เศษภาชนะดินเผาทั้งเคลือบและไม่เคลือบ ชนิดเคลือบได้แก่เครื่องเคลือบสังคโลก เครื่องถ้วยจีนแบบเครื่องลายครามสมัยราชวงศ์เหม็ง ตะปูตอกเครื่องไม้ ใบเสมาหินชนวน โบราณวัตถุมีทั้งแบบสุโขทัยและแบบอยุธยาปนกัน
            วัดกำแพงงาม  ตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม หันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีกำแพงศิลาโดยรอบทั้งสี่ด้าน เขตพุทธาวาสมีกำแพงแก้วล้อมรอบ เขตสังฆาวาสอยู่บริเวณด้านหลัง และด้านข้างของเขตพุทธาวาส
                - วิหาร  ก่อด้วยศิลาแลง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขหน้า - หลัง ฐานเป็นแบบบัวลูกแก้วอกไก่
                - เจดีย์ประธาน  เป็นเจดีย์ทรงระฆังฐานสี่เหลี่ยม ก่อด้วยศิลาแลง องค์ระฆังและส่วนยอดหักพังหมดแล้ว เหลือแต่ฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนลหลั่นกันสามชั้น รูปแบบดังกล่าวน่าจะมีมาก่อนฐานแปดเหลี่ยม
            ด้านหน้าและด้านหลังเจดีย์ประธานมีเจดีย์รายอยู่เจ็ดองค์
                - อุโบสถ  ตั้งอยู่นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันออก

            วัดช้างรอบ  ตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของภูเขาลูกรังขนาดย่อมในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงศิลาเฉพาะด้านตะวันออกและด้านใต้
                - เจดีย์ประธาน  เป็นเจดีย์ทรงระฆังบนฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ด้านบนของฐานมีลานสำหรับประทักษิณได้รอบองค์เจดีย์ ฐานกว้างด้านละ ๓๒ เมตร ทำเป็นแบบฐานบัวคว่ำบัวหงายสองชั้น ฐานบัวชั้นบนยืดส่วนหน้ากระดาน ท้องไม้ให้เป็นผนังสูงประดับช้างปูนปั้นครึ่งตัวโดยรอบ จำนวน ๖๘ เชือก เป็นแบบช้างทรงเครื่อง ประดับลายปูนปั้นโดยส่วนต่าง ๆ ระหว่างช้างแต่ละเชือกตกแต่งลวดลายปูนปั้นนูนสูงเป็นลายต้นไม้ และปั้นเป็นสัตว์เล็ก ๆ แช่น กระรอก นก และงู เกาะเกี่ยวกิ่งไม้
            บริเวณกึ่งกลางฐานทักษิณมีบันไดขึ้น - ลง ทั้งสี่ด้าน ชานบันไดแต่ละด้านประดับสิงห์ และทวารบาลปูนปั้นอยู่บนแท่นเตี้ย ๆ หันหน้าออกด้านนอก
            จากบันไดที่จะขึ้นไปยังลานประทักษิณทำเป็นซุ้มประตู หลังคาซุ้มเป็นเจดีย์ยอดระฆังขนาดเล็ก นับเป็นรูปแบบที่แปลกที่ไม่เคยพบในที่อื่นของศิลปะสุโขทัย แต่รูปแบบดังกล่าวปรากฎตามโบราณสถานขนาดใหญ่ของกรุงศรีอยุธยา เช่น เจดีย์ยอดระฆังบนหลังคามุขทิศของเจดีย์ระฆังสามองค์ที่วัดพระศรีสรรเพชญ เป็นต้น
            บนลานทักษิณก่อผนังเตี้ย ๆ ด้วยอิฐเชื่อมต่อระหว่างซุ้มประตูแต่ละทิศ มีฐานเจดีย์ประจำอยู่ทั้งสี่มุม เดิมเป็นเจดีย์ทรงปรางค์กลีบมะเฟือง มีรูปแบบคล้ายคลึงกับเจดีย์รายในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณประกอบด้วย ฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานทรงกลม ฐานชั้นนี้ประดับลวดลายปูนปั้นเรื่องพระพุทธประวัติโดยแบ่งออกเป็นช่องรอบองค์เจดีย์รวม ๔๔ ช่อง  บางช่องที่ปูนปั้นกะเทาะหลุดออกมาปรากฎเส้นร่างสีดำที่ช่างได้เขียนบนพื้นก่อนปั้นปูน ด้านล่างของปูนปั้นประดับหงส์ดินเผาโดยรอบ นอกจากนี้ยังพบงานดินเผาอื่น ทำเป็นรูปกินนร กินรีเคียงเทวดา แต่ไม่ทราบตำแหน่งประดับที่แน่ชัด
            ถัดจากฐานหน้ากระดานกลมที่ประดับภาพปูนปั้นขึ้นไป ทำเป็นฐานกลมแบบบัวคว่ำบัวหงาย (ฐานปัทม์) ซ้อนลดหลั่นกันสองชั้น องค์เจดีย์ถัดขึ้นไปจากฐานปัทม์กลมหักพังหมดแล้ว

            เจดีย์ช้างล้อม  เป็นรูปแบบที่นิยมสร้างกันมากในสมัยสุโขทัย ทั้งที่เมืองสุโขทัยและเมืองบริวารคือ ศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชร สันนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลมาจากลังกา
            เจดีย์วัดช้างรอบ    เมืองกำแพงเพชร นับเป็นเจดีย์ทรงระฆังที่ประดับช้างปูนปั้นโดยรอบ ฐานที่ใหญ่ที่สุดในอาณาจักรสุโขทัย
                - วิหาร  มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฐานแบบบัวลูกแก้วอกไก่ มีมุขเด็จหน้า - หลัง บันไดสร้างขนาบมุขเด็จ ภายในวิหารยังปรากฎแนวอาสนสงฆ์ และฐานชุกชีประดิษฐานพระประธาน เสาอาคารรับเครื่องบนเป็นศิลาแลงสี่เหลี่ยม ด้านหน้าวิหารมีบ่อรูปสี่เหลี่ยม ที่ขุดตัดลงไปในศิลาแลง เพื่อนำศิลาแลงมาใช้ในการก่อสร้าง บ่อนี้ได้ดัดแปลงมาเป็นสระน้ำด้านหน้าวัด
                - อุโบสถ  เป็นอาคารขนาดเล็ก ตั้งอยู่เกือบติดกำแพงวัดด้านตะวันออก

            วัดอาวาสใหญ่  เป็นวัดขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมือง หรือจากประตูสะพานโคมไปทางด้านทิศเหนือ ประมาณ ๒ กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ (กำแพงเพชร - สุโขทัย)  ตัดผ่านนหน้าวัด วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
            สิ่งก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก ใช้อิฐน้อยมาก หน้าวัดมีบ่อน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ขุดเจาะลงไปในศิลาแลง ขนาดกว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๘ เมตร ลึก ๘ เมตร ชาวบ้านเรียกว่า บ่อสามแสน วัดนี้ไม่มีกำแพงวัด มีเฉพาะกำแพงแก้วที่ก่อด้วยศิลาแลงล้อมรอบเขตพุทธาวาส แนวกำแพงแก้วช่วงหลังหักมุมเข้ามา ทำให้บริเวณพุทธาวาสแคบลง
            สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาส ด้านหน้าก่อเป็นฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำมุมฉากจำนวนสองฐาน บนฐานมีเจดีย์รายแบบต่าง ๆ ฐานละแปดองค์ ถัดไปเป็นวิหาร และเจดีย์ประธานตามลำดับ
               - วิหาร  ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางของเขตพุทธาวาส ตัววิหารตั้งอยู่บนฐานขนาดใหญ่ หรือฐานทักษิณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๕๐ เมตร สูง ๑.๕ เมตร  มีบันไดทางขึ้นสามทางคือ ด้านหน้า และบริเวณกึ่งกลางด้านข้างทั้งสองด้าน ผนังด้านข้างของฐานทักษิณใช้ศิลาแลงทำเป็นราวลูกกรง คล้ายกับฐานทักษิณวัดพระสี่อิริยาบถ มีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง มีขนาดเจ็ดห้อง เมื่อรวมกับมุขหน้า - มุขหลัง จะเป็นวิหารขนาด ๙ ห้อง เสารองรับเครื่องบนเป็นเสาศิลาแลงสี่เหลี่ยม ผนังก่อแบบสูงแล้วเจาะผนังแต่ละห้องเป็นช่องที่เรียกว่า ผนังช่องลม
                - เจดีย์ประธาน  ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่สร้างติดกับฐานทักษิณ ฐานเจดีย์เป็นฐานแปดเหลี่ยมย่อมุม ฐานล่างสุดเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวย่อมุมยี่สิบ นอกนั้นเป็นฐานบัวย่อมุม ๆ ละห้าเหลี่ยม หรือย่อมุมยี่สิบที่มีการยืดส่วนหน้ากระดานท้องไม้ให้เป็นผนังสูง แล้วประดับบัวลูกแก้วอกไก่สองแถว คล้ายกับส่วนเรือนธาตุของเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย แต่คงไม่ใช่เจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ เพราะฐานบัวส่วนนี้อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าส่วนเรือนธาตุของเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์มาก ส่วนยอดที่อยู่เหนือขึ้นไปหักพังไปหมด จึงไม่ทราบรูปทรงเดิมที่แน่ชัด
            จากการศึกษารูปแบบของฐานเจดีย์ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเจดีย์อื่น ๆ พบว่าลัษณะของฐานดังกล่าว มีความคล้ายคลึงกับฐานเจดีย์ประธานวัดเจดีย์สูง ที่ตั้งอยู่นอกกรุงสุโขทัย ด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงกลมที่มีการขยายส่วนหน้ากระดานท้องไม้ของฐานบัวชั้นล่างให้เป็นผนังสูง และยังมีฐานบัวด้านบนอีกชั้นหนึ่ง ฐานบัวทั้งสองชั้นย่อมุม ๆ ละห้าเหลี่ยม หรือย่อมุมไม้ยี่สิบเช่นเดียวกับเจดีย์ประธานวัดอาวาสใหญ่ ฐานบัวชั้นบนรองรับเจดีย์ทรงระฆังศิลปะสุโขทัย คือ ชั้นมาลัยเถาที่ทำเป็นบัวถลาสามชั้น แล้วจึงเป็นองค์ระฆังบัลลังก์และปลียอด ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำและบัวหงาย ชั้นที่สองย่อมุมยี่สิบเหมือนชั้นแรก แล้วจึงเป็นชั้นมาลัยเถา ที่ทำเป็นชุดบัวถลาสามชั้นเป็นองค์ระฆัง บัลลังก์และปลียอด
            ด้านหลังเจดีย์ประธานมีฐานอาคารหรือฐานวิหาร ที่ก่อฐานหน้ากระดานสูงอีกหนึ่งหลัง และบ่อน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ เกือบเท่าบ่อสามแสนหน้าวัดอีกแห่งหนึ่ง
            ถัดจากเขตพุทธาวาสไปทางด้านหลังติดด้านตะวันตก ด้านหนือและด้านใต้เป็นเขตสังฆาวาส มีกลุ่มอาคารที่เป็นกุฎิสงฆ์ และศาลาจำนวน ๓๑ แห่ง บ่อน้ำสองบ่อ และเวจกุฎี หนึ่งแห่ง
            วัดอาวาสใหญ่เป็นวัดที่มีการจัดแผนผังสิ่งก่อสร้างได้อย่างงดงาม จากการขุดแต่งได้พบเศียรพระพุทธรูปทั้งที่เป็นแบบศิลปะสุโขทัยและอยุธยาปนกัน เช่นเดียวกับวัดขนาดใหญ่อื่น ๆ ในบริเวณอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร

| ย้อนกลับ | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์