ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองกำแพงเพชร

             เมื่องโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิงคือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคนที เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงซังซา และบ้านคลองเมือง ล้วนตั้งอยู่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร แสดงว่าเมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองโบราณมาก่อนสมัยประวัติศาสตร์ไทยจะเริ่มขึ้น  เมืองที่ตั้งในยุคแรก ๆ น่าจะเป็นเมืองแปบ ซึ่งไม่มีกล่าวอยู่ในจารึก แต่มีตำนานเล่าว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ฝั่งนครชุม บริเวณตรงข้ามกับเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน และระหว่างสะพานกำแพงเพชรกับวัดพระบรมธาตุ เคยมีเจดีย์ขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกบริเวณดังกล่าวว่า วังแปบ อาจเป็นที่ตั้งเมืองแปบก็ได้
            จารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง) เมื่อปี พ.ศ.๑๘๓๕ ได้จารึกถึงอาณาเขตเมืองสุโขทัย มีความตอนหนึ่งว่า "....เบื้องหัวนอนรอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งพระมหาสมุทรเป็นที่แล้ว..."
             เมืองคนที ที่ปรากฎในจารึกนี้อยู่ไม่ห่างจากอำเภอเมือง ฯ ไปทางทิศใต้มากนัก มีผู้พบซากเจดีย์ร้างเป็นจำนวนมากในป่าโปร่ง ในสมัยอยุธยาได้รับภัยสงคราม ทำให้ร้างและเปลี่ยนสภาพเป็นเมืองเล็ก ๆ ในที่สุด
            จารึกหลักที่ ๓ (ศิลาจารึกนครชุม) เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๐ กล่าวถึงเหตุการที่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) เสด็จไปวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม มีความตอนหนึ่งว่า "....หากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุม..."
            จารึกหลักที่ ๘ (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฎ) เมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๒ มีคตวามตอนหนึ่งว่า "มีทั้งชาวสระหลวง สองแคว ปากยม พระบาง ชากังราว สุพรรณราว นครพระชุม..." เมืองนครชุมกับเมืองนครพระชุม น่าจะเป็นเมืองเดียวกัน เป็นเมืองใหญ่ในสมัยสุโขทัย แต่หมดอำนาจกลายเป็นเมืองเล็ก ๆ ในสมัยอยุธยา  ส่วนเมืองชากังราว ยังมีอำนาจในฝั่งตะวันออก
            จารึกหลักที่ ๓๘ (จารึกวัดมหาธาตุ วัดสระศรี - หลัก๗๐) มีความตอนหนึ่งว่า "...พระองค์ท่านเสด็จในกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ ด้วยพระราชศฟงคารบริพารพล และจตุรงคนิกร ธารลำน้ำ.." จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่า เมืองชากังราวได้ก่อสร้างกำแพงใหม่ อาจย้ายเมืองจากเขตอรัญญิกปัจจุบัน เพราะแม่น้ำเปลี่ยนทิศทาง การย้ายเมืองมาที่เมืองเก่ากำแพงเพชร และสร้างกำแพงเมืองได้งดงาม จึงเรียกกันว่า เมืองกำแพงเพชร มาแต่ครั้งนั้น
            จารึกหลักที่ ๔๖ ระบุว่า ในการสร้างวัดศรีพิจิตร ฯ ที่เมืองสุโขทัย ต้องนิมนต์พระเถระผู้ใหญ่จากเมืองกำแพงเพชร ไปช่วยอำนวยการก่อสร้างวัด แสดงว่าศูนย์กลางพระพุทธศาสนา ได้ย้ายมาอยู่ที่กำแพงเพชรแล้ว
             นอกจากนี้ เมืองกำแพงเพชรยังเป็นศูนย์กลางการค้าทั้งทางบกและทางน้ำที่สำคัญ ทางบกมีถนนพระร่วงเป็นเส้นทางในการลำเลียงสินค้าและอาวุธ จากเมืองกำแพงเพชรไปยังกรุงสุโขทัย และจากกรุงสุโขทัยไปยังเมืองศรีสัชนาลัย ส่วนทางน้ำอาศัยแม่น้ำปิง และแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าไปยังกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้การค้าของป่าจากเมืองกำแพงเพชร ก็นับว่ามีความสำคัญมาก มีหลักฐานเอกสารฮอลันดา ในนรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองว่า ฮอลันดาได้ปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา และบังคับไทยให้ชนชาติฮอลันดาเป็นชาติเดียวที่ค้าขายหนังกวางที่เมืองกำแพงเพชร
             กล่าวได้ว่าเมืองกำแพงเพชร ในอดีตมีความสำคัญทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี มาช้านาน เมื่องบรรดาเมืองโบราณ ในเขตลุ่มแม่น้ำปิงกลายเป็นเมืองร้าง จะด้วยสาเหตุจากศึกสงครามหรือภัยธรรมชาติก็ตาม ผู้คนจากเมืองดังกล่าว ได้มารวมกันในเมืองใหญ่อย่างเมืองกำแพงเพชร
             สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระวินิจฉัยว่า เมืองชากังราว เป็นชื่อเก่าของนครชุม ตั้งอยู่บริเวณปากคลองสวมหมวก ทางฝั่งขวาของแม่น้ำปิง ซึ่งต่อมามีการย้ายเมืองมาตั้งใหม่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิงตรงข้ามกับเมืองนครชุมเดิมชื่อว่า กำแพงเพชร แนวคิดนี้เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายที่สุด
    กำแพงเพชรสมัยก่อนประวัติศาสตร์

    ชุมชนดั้งเดิมชุมชนเขากะล่อน ชนยุคหินของเมืองกำแพงเพชร
            เขากะล่อน   เป็นเทือกเขาดินและเขาลูกรัง ที่เป็นแนวต่อเนื่องกันสามลูก ทางทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอชาณุวรลักษบุรี ห่างจากแม่น้ำปิงทางทิศตะวันออกประมาณ ๒ กิโลเมตร จากการขุดค้นที่เชิงเขา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ พบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากเช่น ขวานหินขัด หัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน และเศษภาชนะดินเผารูปทรงต่าง ๆ
             เมื่อมีการไถดินดำหนาประมาณ ๑ เมตร ก่อนถึงลูกรังได้พบขวานหินขัดเป็นจำนวนมาก ที่ยังทำไม่เสร็จหลายร้อยชิ้น พบหัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน ภาชนะดินเผาทรงพานที่ค่อนข้างสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก และยังพบหินลับมีดและจักรหินด้วย
             จากการสำรวจของกรมศิลปากร ที่บ้านหนองกอง ตำบลบ่อคำ อำเภอเมือง ฯ พบแร่ทองคำซึ่งเป็นโลหะที่นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ ต่อมาได้พบหลักฐานทางโบราณคดีทุกเมืองในชุมชนแถบลุ่มน้ำปิง ทั้งสองฝั่งโบราณวัตถุที่พบในแหล่งโบราณคดี เช่น ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน ตะเกียงดินเผา เครื่องสำริด ตะกรันขี้แร่ เศษภาชนะดินเผาจำนวนมาก เป็นหลักฐานว่าเมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองเก่าก่อนประวัติศาสตร์ เป็นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในยุคหินใหม่ มีอายุอยู่ประมาณ ๕,๐๐๐ - ๑,๐๐๐ ปี
    กำแพงเพชรสมัยประวัติศาสตร์
             จากตำนานสิงหนวัติกุมาร  มีว่าพระเจ้าพรหมโอรสพระเจ้าพังคราช ขณะพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ได้ยกกองทัพขับไล่ขอมดำมาถึงเมืองกำแพงเพชร อันเป็นดินแดนลวรัฐเก่า พระอินทร์เกรงว่าผู้คนจะล้มตาย จึงเนรมิตกำแพงขวางกันไว้ ไม่ให้พระเจ้าพรหมผ่านไปได้จึงเรียกกำแพงที่เนรมิตนั้นว่า กำแพงเพชร ต่อมาพระเจ้าชัยศิริ โอรสพระเจ้าพรหม มีข้าศึกชาวมอญจากเมืองสุธรรมดียกกองทัพมารุกราน พระเจ้าชัยศิริอพยพไพร่พลลงมาที่เมืองกำแพงเพชร สร้างเมืองกำแพงเพชรเป็นราชธานี
    กำแพงเพชรสมัยทวาราวดี

             เมืองโบราณของกำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดี ต่อเนื่องมากถึงสมัยสุโขทัยคือ
             เมืองไตรตรึงษ์  ตั้งอยู่ที่บ้านวังพระธาตุ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางใต้ประมาณ ๑๘ กิโลเมตร ตามถนนสายเอเชีย เป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมกว้าง ๘๐๐ เมตร ยาว ๘๔๐ เมตร อยู่ติดแม่น้ำปิงฝั่งขวาตราข้ามเมืองเทพนคร มีกำแพงดินล้อมรอบสามชั้น จากการขุดค้นภายในบริเวณเมือง พบเศษภาชนะดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจำนวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น
             เมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง  ตั้งอยู่ที่บ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอเมือง ฯ มีรูปร่างไม่สม่ำเสมอ มีคูน้ำ คันดินล้อมรอบมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐๐ - ๔๐๐ เมตร พบเครื่องมือหินขัด แวดินเผา เบ้าดินเผา ลูกปัดแก้ว ลูกปัดแร่อะเกต คานีเลียน เครื่องสำริด เครื่องมือเหล็ก ตะเกียงดินเผา ตะกรันขี้แร่และเศษภาชนะดินเผา แสดงว่าเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี
    กำแพงเพชรสมัยสุโขทัย

             จารึกหลักที่ ๑  (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง) พ.ศ.๑๘๓๕  กล่าวถึงเมืองคนที ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ห่างลงไปทางใต้ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่ในสมัยสุโขทัย ในสมัยอยุธยาเป็นเมืองร้างและเปลี่ยนสภาพเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ  มีผู้พบซากเจดีย์ร้างอยู่เป็นจำนวนมาก
             จารึกหลักที่ ๓  (ศิลาจารึกนครชุม)  พ.ศ.๑๙๐๐  มีความตอนหนึ่งว่า พระยาฤาไท เอาพระศรีรัตนมหาธาตุมาสถาปนาในเมืองนครชุม แสดงว่าเมืองนครชุมเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งในสมัยสุโขทัย
             เมืองนครชุมเป็นเมืองโบราณ  ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำปิง ในเขตตำบลนครชุม บริเวณปากคลองสวนหมาก ตรงข้ามกับเมืองกำแพงเพชรโบราณ ลักษณะตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ๔๐๐ เมตร ยาว ๒,๙๐๐ เมตร ยาวไปตามลำน้ำแม่ปิง มีวัดพระมหาธาตุเป็นศูนย์กลาง เมืองนครชุมพังลงแม่น้ำปิงไปแล้วสามส่วน
             จารึกนครชุมได้กล่าวถึง เมืองบางพาน ซึ่งเป็นเมืองซึ่งเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในสุโขทัย สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า อยู่ในเขตอำเภอพรานกระต่าย ปัจจุบันมีหมู่บ้านชื่อ วังพาน ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย ตัวเมืองมีลักษณะเป็นรูปเกือกกลม มีคูคันดินล้อมรอบ ภายในเมืองและนอกเมือง โดยเฉพาะบริเวณเขานางทอง พบซากโบราณสถาน และโบราณวัตถุสมัยสุโขทัยจำนวนมาก เรื่องของเมืองบางพานมีการกล่าวกถึงในศิลาจารึกหลายครั้งในสมัยสุโขทัย สันนิษฐานว่า เป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างเมืองกำแพงเพชรกับสุโขทัย
             จากจารึกหลักที่ ๓ พ.ศ.๒๐๕๓  ได้กล่าวถึงเมืองพานว่า มีการซ่อมแซมถนนจากเมืองกำแพงเพชรไปถึงบางพาน อีกตอนหนึ่งกล่าวถึง การซ่อมแซมท่อปู่พระยาร่วง ที่นำน้ำไปทำนาที่บางพาน แสดงว่าเมืองนี้เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ นอกจากนั้นถนนพระร่วงก็ได้ตัดผ่านเมืองบางพาน
             ปัจจุบันเมืองบางพานเป็นเมืองร้างแทบไม่มีหลักฐานใดเหลืออยู่เลย
             จากจารึกหลักที่ ๘  ได้บันทึกเหตุการณ์ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๐๒ - ๑๙๑๑ กล่าวถึงเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัย โดยกล่าวถึงเมืองชากังราว เมืองพระนครชุม เมืองพาน
             จากหนังสือชินกาลบาลีปกรณ์ พงศาวดารโยนกและตำนานพระพุทธสิหิงค์ กล่าวไว้ตรงกันว่า ติปัญญาอำมาตย์ (พระยาญาณดิส) เป็นเชื้อสายพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท)  กับราชวงศ์สุวรรณภูมิได้ครองเมืองกำแพงเพชร และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร
             จากศิลาจารึกหลักที่ ๓๘  พ.ศ.๑๙๔๐  ได้แสดงถึงความยิ่งใหญ่ทางการปกครองของกษัตริย์ผู้ครองเมืองกำแพงเพชร พระนามว่า จักรพรรดิราช ผู้ทรงนำเอาหลักกฎหมายลักษณะโจรมาประกาศไว้ท่ามกลางเมืองสุโขทัย
             สันนิษฐานว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๔๐ เป็นต้นมา อำนาจทั้งทางการปกครองและการพระศาสนาได้มาอยูที่เมืองกำแพงพชรเพียงแห่งเดียว อำนาจของเมืองกำแพงเพชร น่าจะหมดไป เมื่ออาณาจักรสุโขทัยถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๒
    กำแพงเพชรสมัยอยุธยา

             จากพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ ฯ ได้มีเรื่องของเมืองกำแพงเพชรในห้วงเวลานี้ไว้ว่า
             พ.ศ.๑๙๑๖ สมเด็จพระบรมราชาธิราช เสด็จไปเมืองชากังราว พระยาใสแก้วและพระยาคำแหงเจ้าเมืองชากังราวออกรบ พระยาใสแก้วตาย พระยาคำแหงหนีเข้าเมืองได้ ทัพหลวงเสด็จกลับคืน
             พ.ศ.๑๙๑๙ เสด็จไปเอาเมืองชากังราว ครั้งนั้นพระรามคำแหงและท้าวผาคองคิดด้วยกันว่า จะยอทัพหลวงและจะทำมิได้ ท้าวผาคองเลิกทัพหนี จึงเสด็จยกทัพหลวงตาม ท้าวผาคองนั้นแตก และจับได้ตัวท้าวพระยาและเสนาขุนหมื่นเป็นอันมาก และทัพหลวงเสด็จกลับคืน
             พ.ศ.๑๙๓๑ เสด็จไปเอาเมืองชากังราวอีกครั้ง สมเด็จพระบรมราชาไม่สามารถเข้าเมืองชากังราวได้ เพราะประชวรหนักและเสด็จสวรรคตกลางทาง
             พ.ศ.๑๙๙๓ มหาราชมาเอาเมืองชากังราวได้แล้ว จึงมาเอาเมืองสุโขทัย เข้าปล้นเมืองมิได้ ก็เลิกทัพกลับคืน
             พ.ศ.๒๐๘๘ สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จไปเชียงใหม่ ให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพหน้า ยกทัพหลวงไปกำแพงเพชรตั้งทัพชัย ณ เมืองกำแพงเพชร  สมเด็จพระไชยราชา ฯ เสด็จยกทัพไปรบเชียงใหม่สองครั้ง มาประทับเมืองกำแพงเพชรทุกครั้ง
             จากกฎหมายตราสามดวงในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้บันทึกไว้ว่า กำแพงเพชรได้เป็นเมืองพระยามหานคร ซึ่งในเวลานั้นมีอยู่ ๘ เมืองคือเมืองพิษณุโลก เมืองสัชนาไล เมืองสุโขทัย เมืองกำแพงเพชร เมืองนครศรีธรรม เมืองทวาย และเป็นเมืองลูกหลวง ซึ่งมีอยู่ห้าเมืองคือเมืองพิษณุโลก เมืองสวรรคโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองลพบุรี เมืองสิงห์บุรี
             พ.ศ.๒๐๕๑ จากกฏหมายตราสามดวง กำแพงเพชรถูกลดฐานะเป็นหัวเมืองชั้นโท เจ้าเมืองกำแพงเพชรได้รับนามว่าออกญารามรณรงค์สงคราม ฯ ศักดินา ๑๐,๐๐๐ ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
             พ.ศ.๒๐๕๓ จากศิลาจารึกฐานพระอิศวร กล่าวถึงการขุดแม่ไตรบางพร้อ ซ่อมถนนไปบางพาน และซ่อมท่อปู่พระยาร่วงไปถึงบางพาน
             พ.ศ.๒๐๕๘ จากตำนานรัตนพิมพวงศ์กล่าวไว้ว่าเจ้าเมืองกำแพงเพชรทูลขอพระแก้วมรกตจากกรุงศรีอยุธยามาไว้ที่เมืองกำแพงเพชร
             พ.ศ.๒๐๕๘ จากตำนานสิงหนวัตวติกุมาร หมื่นมาลาแห่งนครลำปางเข้าปล้นเมืองกำแพงเพชร แต่ไม่สำเร็จ
             พ.ศ.๒๐๘๑ จากจดหมายเหตุสมัยอยุธยา เมืองกำแพงเพชรตั้งตัวเป็นอิสระ แต่ไม่สำเร็จ สมเด็จพระไชยราชายกกองทัพมาปราบปราม และยึดเมืองกำแพงเพชรได้
             พ.ศ.๒๐๙๗ จากพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมเด็จพระมหินทราธิราชกราบทูลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า เมืองกำแพงเพชรเป็นทางกำลังข้าศึก จะขอทำลายเมืองกำแพงเพชร และกวาดเอาครอบครัวอพยพไปไว้ ณ กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเห็นด้วย ทัพหลวงจึงตั้งยั้งอยู่ที่นครสวรรค์ สมเด็จพระมหินทราธิราช ยกกองทัพไปยังเมืองกำแพงเพชร ทัพหลวงตั้งค่ายอยู่ท้ายเมือง พระยาศรีเป็นกองหน้า ตั้งค่ายแทบคูเมือง แต่งพลออกหักค่าย พระยาศรีพ่ายแพ้แก่ชาวเมืองกำแพงเพชรในครั้งแรก พระยาศรีเข้าปล้นเมืองอยู่ ๓ วัน ไม่สำเร็จ  สมเด็จพระมหินทราธิราชจึงยกกอง ทัพกลับพระนครศรีอยุธยา
             พ.ศ.๒๑๐๗ จากหนังสือไทยรบพม่า พระเจ้าหงสาวดีรับสั่งให้นันทสูกับราชสังครำ คุมพลพม่ากับไทยใหญ่ นำทางมาจากเขตแดน และมาตั้งยุ้งฉางที่เมืองกำแพงเพชร
             พ.ศ.๒๑๐๘ จากพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ใช้กำลังขับไล่พม่าที่มาตั้งทำนาอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร
             พ.ศ.๒๑๐๙ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้เทครัวอพยพชาวเมืองเหนือ ตลอดทั้งเมืองพิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย พิชัย พิจิตร ลงมารวมกันตั้งทัพรับพม่าที่กรุงศรีอยุธยา ทำให้เรื่องราวของเมืองกำแพงเพชรหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์เป็นเวลานาน
             พ.ศ.๒๓๐๙ พระยาตาก (สิน) ได้เลื่อนเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ยังไม่ทันได้ไปรับตำแหน่ง ได้ไปทัพที่อยุธยา
             ในสมัยอยุธยา กำแพงเพชรทำหน้าที่เป็นเมืองพระยามหานคร เมืองหน้าด่าน เมืองที่ใช้สะสมเสบียงอาหารทั้งฝ่ายไทยและพม่า ทางฝั่งตะวันออกของเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันยังมีชื่อ นาพม่า นามอญ ปรากฏอยู่  กำแพงเพชรพยายามตั้งตัวเป็นอิสระหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ
    กำแพงเพชรสมัยธนบุรี
             พ.ศ.๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิม เป็นพระยากำแพงเพชร
             พ.ศ.๒๓๑๘ ทัพพม่ายกมาตีเมืองกำแพงเพชร ทางเมืองกำแพงเพชรเห็นเหลือกำลังจึงพากันหนีเข้าป่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงยกกองทัพมาช่วยขับไล่พม่าแตกพ่ายกลับไป
             เมืองเก่ากำแพงเพชรน่าจะเริ่มร้างเมื่อประมาณต้นสมัยรัตนโกสินทร์
    กำแพงเพชรสมัยรัตนโกสินทร์

             พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยากำแพง (นุช) เป็นแม่ทัพไปราชการที่เมืองตานี ตีบ้านตานีแตกได้รับชัยชนะ ได้รับพระราชทานชาวปัตตานีมาเป็นเชลย ๑๐๐ ครอบครัว ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เกาะแขก ท้ายเมืองกำแพงเพชร แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้ไปเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรแทนบิดา ที่ถึงแก่อนิจกรรม
             ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยากำแพง (เถื่อน) ขณะที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสวรรคโลก ไปราชการทัพที่เวียงจันทน์ มีความชอบ ได้รับพระราชทานชาวลาว ๑๐๐ ครอบครัว ให้มาตั้งถิ่นฐาน ณ คลองสวนหมาก
             ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการทำทางสายโทรเลข ไปยังเมืองกำแพงเพชร เกณฑ์กองทัพจากเมืองกำแพงเพชรไปตีเมืองพิชัย ทำทะเบียนคนจีนในเมืองกำแพงเพชร ชาวพม่าขอทำไม้ขอนสักที่คลองขลุง ให้ทำบัญชีวัดในเมืองกำแพงเพชร โดยรวมจำนวนพระสงฆ์ สามเณร และฆราวาสที่เรียนหนังสือกับพระ ให้เก็บเงินผูกข้อมือจีนในเขตเมืองกำแพงเพชรนำส่งกรุงเทพ ฯ
             ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ.๒๔๖๐ บริษัทล่ำซำขออนุญาตทำไม้ขอนสักในป่าคลองขลุง พ.ศ.๒๔๖๕ ขอยกเว้นการเก็บภาษีบางแห่งในเขตอำเภอเมือง ฯ และอำเภออุ้มผาง

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์