ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

            ทุ่งบัวตอง  อยู่บนดอยแม่อูคอ อำเภอขุนยวม ห่างจากตัวอำเภอประมาณ ๒๖ กิโลเมตร โดยเข้าไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๒๖๓ (สายขุนยวม-แม่แจ่ม)   และแยกซ้ายมือเข้าไปตามเส้นทางที่จะไปน้ำตกแม่สุริน
            ดอกบัวตอง  จะบานสะพรั่งเหลืองอร่ามเต็มภูเขา มีฉากหลังเป็นทิวเขาที่เรียงรายสลับซับซ้อนจนสุดสายตา ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม พื้นที่อยู่บนเนินเขาหลายลูกมีพื้นที่ประมาณ ๓,๐๐๐ ไร่
            ดอกบัวตอง  เป็นวัชพืชวงศ์เดียวกับทานตะวัน ดาวเรือง และสาบเสือ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกากลาง และหมู่เกาะอินเดียตะวันตก มีลักษณะคล้ายดอกทานตะวันมากที่สุด เพียงแต่ดอก และกลีบเล็กกว่าเท่านั้น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดอกทานตะวันป่า ปัจจุบันได้กลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด มีมากที่สุดในบริเวณบ้านแม่อูคอ เมื่อประมาณก่อนสงครามมหาเอเชียบุรพา ในพื้นที่สัมปทานการทำไม้ ของบริษัทบอมเบย์เบอร์มา โดยมิชชันนารีชาวต่างประเทศได้นำเมล็ดพันธุ์เข้ามาแพร่พันธุ์
            ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ  มีหลายอย่างที่ไม่เหมือนกับจังหวัดอื่น ๆ คือ
                เมืองในหมอก หรือเมืองสามหมอก  จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีหมอกเมฆในฤดูฝน หมอกน้ำค้าง ในฤดูหนาว และหมอกควัน ในฤดูร้อน หมอกควันเกิดจากไฟป่า
                เมืองหน้าฝนน้ำแห้ง หน้าแล้งน้ำหลาก  ในฤดูฝนจะมีการทดน้ำเข้านาเพื่อทำนา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำแม่ฮ่องสอนลดระดับลงจนเกือบแห้ง พอถึงฤดูร้อน (หน้าแล้ง)  ระดับน้ำในแม่น้ำแม่ฮ่องสอนจะสูงกว่าในฤดูฝน เป็นปรากฎการณ์ที่แปลกกว่าที่อื่น
            พืชพันธุ์ไม้  มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน พอประมวลได้ดังนี้

                กระพี้จั่น  เป็นไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นไม้มงคล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗  ตามโครงการปลูกป่าเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์เป็นปีที่ ๕๐ ในการนี้ได้พระราชทานกล้าไม้มงคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นำไปปลูกเป็นสิริมงคล จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้รับพระราชทานต้นกระพี้จั่น เป็นต้นไม้ประจำจังหวัด
                กระพี้จั่น  มีถิ่นกำเนิดในเอเชียร้อน เป็นต้นไม้ผลัดใบสูง ๘ - ๒๐ เมตร ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และปักชำ ใช้ทำเยื่อกระดาษ ด้ามเครื่องมือ ของเล่นเด็ก และดอกไม้ประดิษฐ์

                ดอกเอื้องแซะ  ชาวไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน นิยมนำดอกเอื้องแซะมาบูชาพระ หรือประดับตามบ้านเรือน โดยปักใส่กระถางที่บรรจุดินทราย รดน้ำพอให้ชื้น ดอกเอื้องแซะก็จะบาน ส่งกลิ่นหอมอยู่ได้นานหลายเดือน นอกจากนี้ยังใช้ถวายพระและลอยน้ำในพิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมอบให้ผู้ใหญ่ในวันสำคัญต่าง ๆ
                ตามตำนานเมืองแม่สะเรียง  เมื่อครั้งยังชื่อเมืองยวม มีอยู่ว่า ในสมัยโบราณดอกเอื้องแซะ เป็นหนึ่งในเครื่องบรรณาการที่ชาวลัวะ ในดินแดนแถบนี้ จะต้องนำส่งถวายแด่เจ้ามหาชีวิต ผู้ครองนครเชียงใหม่
                เอื้องแซะ  เป็นกล้วยไม้ในตระกูลหวาย ที่ชอบขึ้นอยู่ตามคาคบไม้ในป่าลึก ที่มีอากาศหนาวเย็น และอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ  ๑,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ฟุต ออกดอกในฤดูหนาว ช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมีนาคม ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกสีขาว เมื่อดอกบานนานวันจะเปลี่ยนเป็นสีแสดแกมเหลือง

                คาหาน  พบเฉพาะในพื้นที่ป่าบริเวณชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งติดต่อกับประเทศพม่า และบริเวณอำเภอขุนยวมเท่านั้น โดยจะพบขึ้นเป็นกลุ่ม ในที่ลุ่มริมห้วยที่ชื้นแฉะ หรือมีธารน้ำไหลเอื่อย ๆ เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ต้นแก่เท่านั้นที่ลำต้นจะสูงขึ้นมาเหนือผิวดิน โดยทั่วไปจะไม่เกิน ๑ เมตร สามารถแตกหน่อเป็นกอใหญ่ มีหนามแหลมยาวปกคลุมทั่วไป มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ตองหนาม
                ผลออกเป็นทะลาย หนึ่งปี ๒๐ - ๒๐๐ ผล ขยายพันธุ์โดยเมล็ดและการแตกหน่อ ใบใช้มุงหลังคาบ้าน และกั้นฝาห้อง ก้านที่มีเปลือกแข็งใช้ทำเป็นไม้กลัด เนื้อมีลักษณะคล้ายไม้ก็อก ชาวบ้านใช้ทำจุกขวด ยอดอ่อนใช้บริโภคได้เช่นเดียวกับยอดมะพร้าวเรียกว่า หน่อคาหาน และเมล็ดอ่อนนำมาบริโภคได้

                รองเท้านารี  มีแหล่งกำเนิดในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ตั้งแต่อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ไทย มาเลเซีย บอร์เนียว และฟิลิปปินส์ โดยทั่วไปจะขึ้นตามต้นไม้ใหญ่ ตามดิน หรือซอกหินที่มีพืชที่ตายแล้วทับถมอยู่ เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกใบเช่นเดียวกับหวาย มีเหง้า กอหนึ่งประกอบด้วยต้นย่อยหลาย ๆ ต้น เริ่มออกดอกประมาณเดิอนธันวาคม ขยายพันธุ์โดยการเลี้ยงเนื้อเยื่อและปล่อยเข้าป่า
                จากการสำรวจพบว่ากล้วยไม้รองเท้านารีกระจายอยู่ในพื้นที่มากกว่า ๕๐ ตารางกิโลเมตร เป็นไม้ดอกที่เป็นลักษณะเชิงเศรษฐกิจ ได้จัดให้ราษฎรชาวเขา เป็นนักเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ จัดเป็นกระถางใช้เวลาเพาะเลี้ยง ๑ ปี เพื่อรอการจำหน่าย
            ทรัพยากรอื่น ๆ ได้แก่ สัตว์น้ำ และสะเทินน้ำสะเทินบก

                ปลาถ้ำ  ปลาที่อาศัยอยู่ในถ้ำ มีการปรับตัวตามสภาพแวดล้อมอันจำกัด ทำให้เกิดปลาพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า ปลาถ้ำ ซึ่งจะมีมากในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และจีนทางตอนใต้ สำหรับประเทศไทยพบในบริเวณถ้ำต่าง ๆ ในเขตอำเภอปางมะผ้า ในระดับลึกจากปากถ้ำเข้าไปประมาณ ๒,๐๐๐ ขึ้นไป ที่พบมีสองชนิดคือ
                ปลาที่อาศัยอยู่ในแอ่งน้ำบนทำนบหินปูนที่อยู่ลึกจากปากถ้ำเข้าไปประมาณ ๒,๓๕๐ เมตร ลำตัวสีขาว ยาวประมาณ ๗ เซนติเมตร ดวงตามีขนาาดเล็กมาก ในจุดนี้ไม่มีแสงสว่าง ตาจึงไม่ได้ใช้งาน การปรับตัวใช้เวลา ๓๐,๐๐๐ - ๔๐,๐๐๐ ปี
                ปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณหินปูนฉาบและมีน้ำไหลแรง เป็นปลาชนิดใหม่ที่แตกต่างจากชนิดอื่น ๆ ในลำน้ำปายคือตาหายไป ลำตัวไม่มีเกล็ด ไม่มีสี ยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร  ได้พัฒนาอวัยวะในการปืนน้ำตกที่มีกระแสน้ำไหลแรง โดยมีครีบขนาดใหญ่ และมีที่ยึดเกาะกับหิน ส่วนหัวเรียวยาว ลดการต้านกระแสน้ำได้ดี ไม่มีตา และได้พัฒนาประสาทการรับกลิ่นแทน ช่วงเวลาการปรับตัวอยู่ในช่วง ๔๐,๐๐๐ ปีขึ้นไป

                หอยทากจิ๋ว  พบอยู่บริเวณถ้ำลอด ถ้ำแม่ละนา ถ้ำผามอบ และถ้ำปางคาม ซึ่งเป็นถ้ำหินปูน เป็นหอยขนาดเล็กมาก ความสูงของเปลือกหอยเพียง ๑ - ๕ มิลลิเมตร หอยบางชนิดกินใบพืช เห็ด รา หรือแม้แต่ซากพืช ซากสัตว์

                ปลาละแงะ  เป็นปลาที่มีรสชาดอร่อย พบมากตามแม่น้ำลำธารจนถือเป็นเอกลักษณะของจังหวัด ปลาลาแงะมีลำตัวกลมยาวแบบปลาไหล แต่ค่อนข้างป้อมกว่า หรือที่เรียกกันว่าปลาไหลมีหู เป็นปลาชนิดเดียวกับที่ทางภาคใต้เรียกว่าปลาตูหนา
                ปลาละแงะ เป็นปลาที่อยพยจากอ่าวเบงกอล ซึ่งเป็นแหล่งวางไข่ แล้วจะว่ายน้ำมาเจริญเติบโตตามแม่น้ำสายต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกับอ่าวเบงกอล เมื่อโตเต็มที่จะว่ายกลับทะเลเพื่อวางไข่ เป็นวงจรเสมอมาในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปลาละแงะอยพยเข้ามาทางแม่น้ำสาละวิน และอาศัยอยู่ตามแม่น้ำหลายสาย ที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำสาละวิน ซึ่งนอกจากแม่น้ำปายแล้วยังพบที่แม่น้ำยวม แม่น้ำสุรินและแม่น้ำละมาด
                ปลาละแงะมีการออกไปวางไข่ในทะเลลึก มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ชายฝั่งอินเดียถึงภาคใต้ฝั่งตะวันตก พบในลุ่มแม่น้ำสาละวินและภาคใต้ของไทย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ช่วงที่จับปลาละแงะได้มากมีอยู่สองช่วงคือในห้วงน้ำลดที่ปลาขุดรูอยู่ ชาวบ้านจะใช้เบ็ดแหย่ลงในรู ส่วนในช่วงน้ำหลาก ต้นฤดูฝนเป็นช่วงที่ปลาอพยพย้ายถิ่นมักจะจับได้มากบริเวณที่แม่น้ำปายไหลไปบรรจบแม่นำสาละวิน ปลาละแงะที่พบมีขนาดใหญ่ถึง ๑๐ กิโลกรัม ก็มี
                ปลามุง หรือปลาพลวงหรือปลาพลวงหิน  ชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในวนอุทยานถ้ำปลา แต่สำหรับปลามุงที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำทั่ว ๆ ไป ชาวบ้านจะนำมารับประทานเช่นเดียวกับปลาอื่น ๆ
                ปลาละมุง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน มีรูปร่างคล้ายปลาเวียน เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีเขียวมะกอกหรือเหลืองทอง ขนาดที่พบมีความยาวถึง ๘๐ เซนติเมตร
                เขียดแลว ในอดีตเขียดแลวเคยเป็นอาหารที่มีชื่ออันดับหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัจจุบันได้มีการรณรงค์ให้อนุรักษ์เขียดแลว เนื่องจากใกล้จะสูญพันธุ์
                เขียดแลว เป็นกบภูเขาขนาดใหญ่ ผิวเรียบออกสีน้ำตาลและมีขายาวกว่ากบธรรมดามาก เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ ๑๐๐ - ๕๐๐ กรัม อาศัยอยู่ตามเขตรอยต่อพรมแดนไทย - พม่า ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะพบเขียดแลวและทุกอำเภอโดยเฉพาะในบริเวณป่าชุ่มชื่นที่มีลำธารน้ำไหลเอื่อย ๆ ในเวลากลางวันเขียดแลวมักจะหลบซ่อนตัวอยู่ตามโพรงดิน โพรงหิน ใต้ขอนไม้ หรือตามบริเวณที่มีใบไม้ใบหญ้าปกคลุม และจะออกหากินเวลากลางคืน

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์