ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางวัฒนธรรม
โบราณสถานและแหล่งโบราณคดี
            แหล่งโบราณคดี  มุกดาหารมีพื้นที่ที่ปรากฎเป็นร่องรอยการประกอบกิจกรรมหรือการอยู่อาศัยของมนุษย์ในอดีต ได้ค้นพบภาพเขียนสีในผนังถ้ำครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖ โดยชาวฝรั่งเศสที่เขาจอมนาง บ้านส้มป่อย ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง ฯ กรมศิลปากรได้ไปสำรวจอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ ภาพเขียนสีในผนังถ้ำในเขตจังหวัดมุกดาหาร มีสามแห่งคือ

                ถ้ำฝ่ามือแดง  อยู่ที่ภูอ่างบก บ้านส้มป่อย ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง ฯ พบโดยชาวฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗ อยู่ห่างจากแม่น้ำโขงประมาณ ๔ กิโลเมตร เขียนอยู่บนหน้าผาหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หน้าผายาวประมาณ ๖๐ เมตร กว้างประมาณ ๕ เมตร เขียนอยู่บนพื้นหินสีส้ม ชมพู ม่วง น้ำตาล เทา และสีนวล แบ่งภาพออกเป็น ๑๔ กลุ่มคือ
                    กลุ่มที่ ๑  เป็นภาพคนยืนยกไหล่ขากาง มือขวามีสี่นิ้ว มือซ้ายมีสามนิ้ว เขียนแบบเงาทึบ ไม่แสดงหู ตา จมูก ไม่เห็น กล้ามเนื้อ หันหน้าตรง มีภาพลายเส้นไม่รู้ว่าเป็นภาพอะไรอยู่สามภาพ ภาพทั้งหมดเขียนด้วยสีน้ำตาล
                    กลุ่มที่ ๒  เป็นภาพสัตว์สามภาพ เป็นสัตว์มีหางยาว เขียนให้เห็นด้านข้าง ตัวแรกทางด้านซ้ายสุดเป็นขาหน้าสองขา ขาหลังหนึ่งขา ไม่รู้ว่าเป็นสัตว์ชนิดใด  ตัวที่สองมีขาหน้าสองขาและขาหลังหนึ่งขา มีหางยาว รูปร่างคล้ายเสือ  ตัวที่สามอยู่หน้าตัวที่สอง หันหน้าไปทางเดียวกัน มีขาหน้าเพียงหนึ่งขา ไม่รู้ว่าเป็นสัตว์อะไร เขียนด้วยสีแดงแบบเงาทึบ
                    กลุ่มที่ ๓  เป็นภาพที่ลบเลือนมาก ไม่รู้ว่าเป็นภาพอะไร เห็นเป็นสีแดงจาง ๆ ไม่มีรูปร่าง
                    กลุ่มที่ ๔  เป็นภาพลายเส้น เขียนอยู่ข้างก้อนหินที่หลุดออกมาจากผนัง
                    กลุ่มที่ ๕  ภาพลบเลือนมาก แต่ยังพอเห็นเค้าโครงเดิม เขียนด้วยสีน้ำตาลอ่อน เป็นรูปคนหกคน ยืนเกาะแขนเรียงกันเป็นแถว คนแรกเห็นครึ่งตัว เขียนเป็นรูปสามเหลี่ยม มีหัว ไม่มีแขนและขา  คนที่สองเขียนเป็นรูประบายสีทึบ มีหัวและลำตัว ไม่มีแขนขา ติดอยู่กับคนที่หนึ่งและคนที่สาม  คนที่สามและที่สี่ ภาพไม่ชัดเจน  คนที่ห้ายืนเกาะแขนคนที่สี่  คนที่หกยืนกางขา
                    กลุ่มที่ ๖  เป็นภาพคนเหมือนกลุ่มที่ ๕  มี ๘ คน  เขียนด้วยสีเหลืองและขาว
                    กลุ่มที่ ๗  ภาพคล้ายหัวลูกศร หางเป็นลายก้างปลาข้างละสามขีด หัวมีเงี่ยงสองแฉก เขียนด้วยสีแดง
                    กลุ่มที่ ๘  เป็นภาพมือ ๘ ภาพ เป็นภาพพ่นมือขวา ๔ ภาพ แบบทาบ ๓ ภาพ เป็นสีแดงทั้งหมด ใต้ภาพมือเป็นภาพคนเขียนแบบเงาทึบ อยู่ในท่ายืน มือขวาเท้าเอว มือซ้ายยื่นออกไปยาวคล้ายถือไม้ และมีสายห้อยลงมา ที่หูมีวงกลมสองข้างคล้ายต่างหู บนหัวมีเครื่องประดับคล้ายหมวกปลายแหลม ภาพเขียนด้วยสีแดง
                    กลุ่มที่ ๙  เป็นภาพมือสองมือ ซ้ายและขวา เขียนด้วยสีแดง
                    กลุ่มที่ ๑๐  เป็นภาพคน เขียนแบบเงาทึบ ยืนกางแขนสองข้าง หัวโต ก้นงอน และมีภาพระบายสีทึบอีก ๔ ภาพ ไม่ชัดเจน ทั้งหมดเขียนด้วยสีแดง
                    กลุ่มที่ ๑๑  เป็นภาพไม่ชัดเจน ๕ ภาพ ระบายสีทึบด้วยสีแดง
                    กลุ่มที่ ๑๒  เป็นภาพที่อยู่สูงกว่าภาพอื่น เขียนด้วยสีแดง สูงจากพื้นประมาณ ๕ เมตร เป็นภาพคนสี่คน เขียนแบบเงาทึบ คนแรกเป็นภาพด้านข้าง กำลังก้าวขา  คนที่สองอยู่ต่ำกว่าคนแรก ๑๐ เซนติเมตร เป็นภาพคนครึ่งตัว มือยื่นออกไปข้างหน้า ภาพต่อไปเป็นภาพลายเส้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ระหว่างคนที่สองกับที่สาม ยืนกางแขน แขนซ้ายงอข้อศอก ส่วนหัวมีลายเส้นเขียนครอบอยู่ คนที่สี่ยืนอยู่หน้าคนที่สาม ยืนกางขา เห็นแขนซ้ายครึ่งเดียว
                    กลุ่มที่ ๑๓  มี ๔ ภาพ เขียนด้วยสีแดง ภาพแรกเป็นภาพคนยืนกางแขน เห็นแขนซ้ายครึ่งเดียว อีก ๓ ภาพเลอะเลือน
                    กลุ่มที่ ๑๔  เป็นภาพคนกางแขน เห็นครึ่งตัว ภาพชำรุดมาก เขียนด้วยสีแดง
                    ภาพเขียนดังกล่าวแสดงถึงพฤติกรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์เมื่อ ๓,๐๐๐ ปีก่อน
                ถ้ำตีนแดง  อยู่ในภูอ่างบก บ้านส้มป่อย ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง ฯ  เดิมถือว่าอยู่ในเขตถ้ำฝ่ามือแดง ต่อมาได้แยกกลุ่มใหม่ เพราะมีภาพเขียนเท้าคน ตัวถ้ำเป็นหน้าผาหินทรายหันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพเขียนอยู่สูงจากพื้นประมาณ ๑.๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๓๕ เมตร เป็นภาพมือคน ๑๘ ภาพ แบ่งออกเป็นแบบมือทาบ ๑๔ ภาพ ทำแบบพ่น ๓ ภาพ ทำแบบลายเส้น ๑ ภาพ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นภาพเท้าคน เป็นแบบเอาเท้าทาสีแล้วทาบลงไป ๔ ภาพ ภาพสัตว์ ๔ ตัว ตัวแรกมี ๔ ขา หางยาว คอยาว มีหูและเขาตัวที่สองเหมือนภาพแรก แต่หัวโตกว่า  ตัวที่สามและที่สี่ ภาพเลอะเลือน
                ถ้ำผาแต้ม  อยู่ที่บ้านภูล้อม ตำบลบ้านบาก อำเภอดอนตาล อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๔๐ กิโลเมตร เป็นเพิงผาหินทรายขนาดใหญ่ และมีลานหิน หน้าผาหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยาวประมาณ ๗๐ เมตร สูงประมาณ ๘ เมตร ลึกประมาณ ๖ เมตร ภาพเขียนสี ณ ที่นี้แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ กลุ่มภาพมือ และกลุ่มภาพเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์
                    กลุ่มภาพมือ  มีอยู่ ๙๘ ภาพ จำแนกได้เป็นสามประเภท
                        - ภาพมือทาบ  โดยการเอามือจุ่มสีแล้วทาบกับฝาผนัง
                        - ภาพมือทาบแล้วเติมสี  การเอามือจุ่มสีแล้วทาบจะไม่ปรากฏภาพบริเวณอุ้งมือหรือตามข้อนิ้ว จึงเขียนสีให้เต็มในส่วนที่ขาดหายไป
                        - ภาพเอามือจุ่มสีแล้วตกแต่งสีภายในฝ่ามือ  ก่อนทาบลงไป โดยการเอามือจุ่มสีก่อนแล้วขูดสีในฝ่ามือออกเป็นรูปตัว U จึงเอามือทาบผนัง
                    กลุ่มภาพเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์  แบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ
                        - ภาพสัญลักษณ์ที่มีความหมาย  เช่น ภาพเครื่องหมายวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ตกตารางกากบาท ลายเส้นโค้ง ลายหยักฟันปลา ภาพลายเส้นขนมเปียกปูน
                        - ภาพเครื่องหมายที่มีความหมาย  เป็นการผสมผสานกันวกไปเวียนมาไม่รู้ความหมายว่าเป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์อะไร
                แหล่งนายกองคูณ  เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับเกาะดอนตาล อยู่ในตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล มีพื้นที่ ประมาณ ๖ ไร่  วัดท่าดอนตาลเป็นวัดเก่าแก่ สร้างสมัยชาวไทยเผ่ากะเลิง ได้อพยพมาทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงจากดงเขนยและแก้งกอกน้ำเนา (เมืองพวน ในลาว)
                เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ชาวดอนตาลเก็บวัตถุโบราณได้ตามริมฝั่งแม่น้ำโขง แนวเขตวัดท่าดอนตาล และริมฝั่งเกาะดอนตาล ด้านตะวันตก  จากเหตุน้ำเซาะริมตลิ่งพังทลายลง วัตถุโบราณที่เก็บได้มีขวานทองสำริด หม้อทองเหลือง ลูกปัด (เครื่องประดับ) เป็นต้น
                พ.ศ.๒๕๑๕ ชาวดอนตาลพบโบราณวัตถุต่าง ๆ ตามริมฝั่งแม่น้ำโขง การพบครั้งนี้มากกว่าครั้งก่อน ขาวบ้านจึงพากันขุดค้น ในพื้นที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่ โบราณวัตถุที่พบมีดาบเหล็ก ขวานสำริด รูปคนเปลือยหล่อด้วยสำริด ลูกปัด กำไลแขน กำไลขา ตุ้มหู โอเงิน (ขันเงิน)  โอทองเหลือง โบราณวัตถุที่พบ ได้จากหลุมฝังศพของคนโบราณ อยู่ลึกจากผิวดินประมาณ ๒ เมตร บางหลุมมีโครงกระดูกศพถึงห้าศพ เป็นของทั้งผู้ใหญ่และเด็ก บางหลุมบ่งบอกว่าเป็นศพของผู้มีอำนาจ
                 กรมศิลปากรได้เข้าไปสำรวจ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑ แล้วตั้งชื่อพื้นที่แหล่งนี้ว่า แหล่งนายกองคูณ จากการสำรวจสรุปได้ว่า มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของคนโบราณหลายสมัย สมัยที่เก่าแก่ที่สุด พิจารณาจากแบบอย่างเครื่องมือหิน ประเภทดินที่เกี่ยวกับตะกอนลำน้ำเก่า และสะเก็ดหินที่ปนอยู่กับกองเครื่องมือ น่าจะมีอายุก่อน ๑๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว
            ย่านประวัติศาสตร์  ชาวมุกดาหารเริ่มตั้งเมือง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ วัดที่สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองในครั้งนั้น มีอยู่สามวัด แต่ละวัดมีชุมชนล้อมรอบ แต่ละชุมชนยังคงรักษาเอกลักษณ์ของการปลูกสร้างวัด และบ้านเรือนที่อยู่อาศัยให้คงรูปแบบเดิมไว้
                ชุมชนวัดศรีมงคลใต้  เดิมเรียกว่า วัดศรีมงคุณ หรือวัดศรีมงคล ชาวบ้านเรียกว่า วัดเหนือ เป็นวัดที่สร้างมานานพร้อมกับเมืองมุกดาหาร เป็นวัดที่ประดิษฐานพระเจ้าองค์หลวง ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองมาแต่แรก และเป็นวัดที่ใช้กระทำพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปีของเมืองมุกดาหาร ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เมื่อมีวัดธรรมยุติกนิกาย เกิดดขึ้นทางเหนือของตำบลศรีมงคลเหนืออีก จึงให้เรียกวัดที่ตั้งใหม่นี้ว่า วัดศรีมงคลเหนือ และให้เรียกวัดศรีมงคลเดิมว่า วัดศรีมงคลใต้
                ชุมชนวัดยอดแก้วศรีวิชัย  ชาวบ้านเรียกว่า วัดกลาง เพราะตั้งอยู่กลางเมืองในอดีต จนถึงปี พ.ศ.๒๓๖๙  เจ้าเมืองมุกดาหารได้สร้างพัทธสีมาขึ้นในวัดกลาง และได้มีการบูรณะปฎิสังขรในปี พ.ศ.๒๓๘๙  และเพื่อให้เป็นอนุสรณ์แก่เจ้านางยอดแก้ว ผู้เป็นมารดาซึ่งเป็นผู้สร้างวัดนี้พร้อมกับผู้ที่เป็นบิดา จากนั้นได้ขนานนามวัดกลางว่า  วัดยอดแก้วศรีวิชัย
                ชุมชนวัดคุ้งศรีสุมังค  เดิมเรียกว่า วัดศรีบุญเรือง ส่วนวัดศรีบุญเรืองปัจจุบัน เดิมถือว่าเป็นวัดนอกเมือง ต่อมาเมื่อผู้คนไปตั้งบ้านเรือนทางใต้เมืองมุกดาหารมากขึ้น และได้มีการสร้างวัดขึ้นอีก จึงเรียกวัดศรีบุญเรืองเดิมว่า วัดศรีสุมังค์ และเรียกวัดทางใต้เมืองว่า วัดศรีบุญเรือง
            สถาปัตยกรรมดีเด่น  มุกดาหารมีสิ่งก่อสร้างที่ทรงคุณค่าทางศิลปะสถาปัตยกรรม ที่สืบทอดมาจนเป็นเอกลักษณ์ และคงใช้ประโยชน์ในปัจจุบันคือ

                อาคารโรงเรียนมุกดาลัย  อำเภอเมือง ฯ เป็นโรงเรียนแห่งแรกของอำเภอเมือง ฯ มีอาคารเก่าสร้าง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๑  เป็นอาคารชั้นเดียวก่ออิฐถือปูน เหนือหน้าต่างด้านหน้าและด้านข้างของอาคาร ทำเป็นรูปโค้งแบบศิลปะตะวันตก เนื่องจากในห้วงเวลานั้น ฝรั่งเศาได้ลาวเป็นเมืองขึ้น จึงมีช่างชาวฝรั่งเศสเข้ามาในประเทศไทย ได้มาออกแบบอาคารหลังนี้ด้วย

                อาคารห้องสมุดประชาชน  อยู่ในตำบลบ้านหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ สร้างอยู่ในวัดพระศรีมหาโพธิ เป็นอาคารแบบตะวันตก ตั้งอยู่ในวัดเป็นที่แปลกตา และเด่นกว่าอาคารหลังอื่น ตัวอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น ทาสีขาว สร้างโดยคนญวน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗  มีซุ้มโค้งสวยงามตลอดทั้งชั้นบนและชั้นล่าง หน้าอาคารมีรูปปั้นสิงห์สองตัวตั้งอยู่ อาคารนี้เคยใช้เป็นที่ว่าการอำเภอหว้านใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐

                ศาสนสถาน  มีศาสนสถานในพระพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมากที่มีความสวยงามในหลากหลายรูปแบบ ที่มีลักษณะเดิม ได้แก่ วิหารวัดศรีมงคลใต้  วิหารวัดศรีสุมังค์ วิหารวัดมโรภิรมย์ สิมวัดพระศรีมหาโพธิ สิมวัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง)  สิมวัดนรวราราม สิมวัดลัฎฐิกวัน  เป็นต้น

                นอกจากนี้ยังมีศาสนสถานของคริสตศาสนาคือ วัดสองคอน ในตำบลโป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ เป็นแหล่งคริสตศาสนา ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และในเอเซีย อาคเนย์ ได้รับรางวัลเป็นสถาปัตยกรรมดีเด่น ของสมาคมสถาปัตยกรรมแห่งประเทศไทย
            แหล่งประวัติศาสตร์  ในจังหวัดมุกดาหารมีอยู่สองแห่งด้วยกัน ได้แก่

                พลับพลาที่ประทับแรมบ้านนากอก  เป็นที่ประทับแรมของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ที่ได้เสด็จมาตรวจราชการภาคอีสาน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๙  ได้เสด็จโดยขบวนรถไฟจากกรุงเทพ ฯ ถึงเมืองนครราชสีมา แล้วเดินทางด้วยขบวนรถม้าเกวียน และหาบหาม ตรวจราชการ ณ เมืองบัวใหญ่ ชนบท ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย แล้วเสด็จประทับเรือกลไฟของฝรั่งเศส ล่องลงมาตามลำน้ำโขง ประทับแรมที่เมืองโพนพิสัย เมืองท่าอุเทน และเมืองนครพนม เสด็จด้วยขบวนม้าไปยังเมืองสกลนคร เรณูนคร ประทับแรม ทรงนมัสการองค์พระธาตุพนม
                จากนั้นเสด็จโดยเรือพายของเจ้าเมืองมุกดาหาร เป็นเรือแข่งในแม่น้ำโขงชื่อ เรือมณฑล มีฝีพายประมาณ  ๔๐ คน อ้อมหาดขึ้นไปแล้วล่องลงมาตามร่องน้ำ ถึงบ้านบางทรายน้อย ให้ปกให้ราษฎรพบ แล้งลงเรือล่องต่อมาแลเห็นเมืองสุวรรณเขต ของฝรั่งเศสทางฝั่งซ้าย แล้วถึงเมืองมุกดาหาร ขึ้นที่ท่าหน้าเมืองแล้วเดินไปตามถนน จนถึงที่พักเป็นตึกขัดแตะ ถือปูนอย่างมั่นคง
                สถานที่พักแรมในครั้งนั้น คือ บริเวณจวนผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบัน
                วันต่อมาได้ขี่ม้าออกจากเมืองมุกดาหาร ผ่านบ้านเหมืองป่า แลเห็นเขาภูมโน และเขาภูหินชัน เยื้องกันกับเขาภูพาน ถึงบ้านคำเชือกที่พัก รวมระยะทาง ๒๔๐ เส้น แล้วเดินทางต่อเข้าดงปังอี่ เป็นทางขึ้นเขาอย่างเดียวกับดงพญาไฟ แต่เป็นดงใหญ่และทึบกว่าดงพญาไฟ ข้ามห้วยปังอี่ถึงบ้านนากอก ซึ่งเป็นบ้านอยู่ในดง ระยะทาง ๔๙๐ เส้น รวมเดินทางวันนี้ ๗๓๐ เส้น มีราษฎรผู้ไทยอยู่ประมาณ ๘๐ หลัง ทำนาพอกินกันเอง
                ทรงพักแรมบ้านนากอก ๑ คืน แล้วเสด็จต่อไปยังเมืองยโสธร เมืองเสลภูมิ เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองพยัคภูมิพิสัย เมืองพุทไธสง เมืองพิมาย และเมืองนครราชสีมา รวมเวลาเดินทาง ๕๖ วัน

                อุทยานสมเด็จย่า  (ฐานวรพัฒน์)  อยู่ในตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล มีประวัติความเป็นมาคือ
                ในปี พ.ศ.๒๕๑๘  กองทัพภาคที่ ๒ ได้ตั้งชุดควบคุมทางยุทธวิธีที่ ๐๖  (ชค ๐๖)  ที่บ้านนาม่วง อำเภอดอนตาล จังหวัดนครพนม ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๙  ร.ท.วรพัฒน์ อัมพรพงค์ ได้เสียชีวิตในขณะปฎิบัติหน้าที่ปะทะกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ บริเวณใกล้ฐาน เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ร.ท.วรพัฒน์ ฯ จึงได้ตั้งชื่อ บก.ชค ๐๖ ว่าฐานปฎิบัติการวรพัฒน์
                ในปี พ.ศ.๒๕๒๐  สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า)  พร้อมด้วยสมเด็จพระพี่นางเธอ ฯ ได้เสด็จประทับแรมที่ฐานวรพัฒน์ ท่ามกลางความแร้นแค้น และภยันตรายรอบด้าน นับเป็นฐานปฎิบัติการทหารแห่งแรก และแห่งเดียวในประวัติศาสตร์กองทัพไทย
                การปรับปรุงพัฒนาฐานปฎิบัติการวรพัฒน์ ได้เริ่มต้นอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๑  โดยเน้นให้คงสภาพเดิมไว้ โดยเฉพาะพลับพลาที่ประทับ ห้องยุทธการ บังเกอร์แม่ทัพ
                ต่อมาได้มีการพัฒนาปรับปรุงขนานใหญ่ ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ - ๒๕๔๐  ให้สมบูรณ์ทุกด้าน
           สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง  จังหวัดมุกดาหารเป็นเมืองตำนาน มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสิ่งที่ตนเคารพสักการบูชา จนเป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมืองคือ

                พระเจ้าองค์หลวง  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒.๒๐ เมตร สูงถึงยอดพระเมาลี ๒.๐๐ เมตร รวมทั้งฐานสูง ๓.๐๐ เมตร มีผู้เล่าสืบต่อกันมาว่า องค์พระภายในเป็นพระพุทธรูปทองคำ แต่ภายนอกเหมือนสร้างอิฐถือปูน ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดศรีมงคล ในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร
                ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐  เจ้าเมืองโพนสิน ได้อพยพผู้คนมาแสวงหาที่ตั้งเมืองใหม่ ได้ข้ามแม่น้ำโขงมาล่าสัตว์ตรงปากห้วยมุก พบต้นตาลเจ็ดยอด และกองอิฐปรักหักพังอยู่ในบริเวณนั้น เห็นว่าเป็นทำเลเหมาะที่จะตั้งเมืองใหม่ ขณะกำลังหักร้างถางพงอยู่ใกล้ต้นตาลเจ็ดยอด ก็ได้พบพระพุทธรูปเหล็กอยู่ใต้ต้นโพธิสองต้น จึงได้สร้างวิหารขึ้นครอบพระพุทธรูปองค์ใหญ่แล้วตั้งชื่อว่า วัดศรีมงคล ส่วนพระพุทธรูปองค์เล็กค่อย ๆ จมลงในดิน พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ชาวเมืองมุกดาหารได้ถวายนามว่า พระเจ้าองค์หลวง
                พระเจ้าองค์หลวง เป็นที่ศรัทธาของชาวมุกดาหารและพุทธศาสนิกชนทั่วไป เป็นที่เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์และพุทธานุภาพ คุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากภยันตรายและช่วยให้ได้รับผลสำเร็จ ในสิ่งที่ปรารถนาในทางที่ดีงาม

                หลวงพ่อสิงห์สอง  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๐๐ เมตร สูงถึงยอดพระเมาลี ๑.๒๐ เมตร สูงรวมทั้งฐาน ๒.๐๐ เมตร ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีบุญเรือง ในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร
                หลวงพ่อสิงห์สอง มีปรากฎมาพร้อมกับการสร้างวัดศรีบุญเรือง เป็นที่เคารพสักการะเลื่อมใสศรัทธา ของชาวมุกดาหารและพุทธศาสนิกชนทั่วไป เป็นที่เลื่องลือทั้งในด้านความศักดิ์สิทธิ์ และพุทธานุภาพ

                ศาลเจ้าพ่อฟ้ามุงเมือง  อยู่ในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร มีมาตั้งแต่สมัยท้าวกินรี สร้างเมืองมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐   ชาวเมืองถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ปกปักรักษาชาวเมืองมุกดาหาร ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข จึงได้มีพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อ ในวันแรมสิบเอ็ดค่ำ เดือนหก ของทุกปี
                หน้าศาลเจ้าพ่อมุงเมือง มีหลักเมือง หรือมเหศักดิ์ ตั้งอยู่บริเวณเดียวกัน เมื่อถึงวันบวงสรวงเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมืองก่อน แล้วจึงไปบวงสรวงหลักเมือง

                ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง  ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง หน้าวัดศรีมงคลใต้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่กับศาลเจ้าพ่อฟ้ามุงเมือง และมีพิธีบวงสรวงพร้อมกันในคราวเดียวกันทุกปี

                ศาลหลักเมือง  ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์ราชการจังหวัดมุกดาหาร หน้าศาลากลางจังหวัด ตัวศาลเป็นแบบทรงไทย จัตุรมุข กว้าง ๔ เมตร ยาว ๗ เมตร มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า ๒ เมตร สูง ๘.๕๐ เมตร  บริเวณรอบตัวอาคารเป็นระเบียง โดยรอบยกพื้นสูง ๐.๘๕ เมตร ความกว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๑๙ เมตร
                เสาหลักเมือง เป็นเสากลมเกลี้ยง ยอดทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ต่อปลี ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ลงรักปิดทอง มีพิธีบวงสรวงในวันี่ ๙ มกราคม ตรงกับวันงานรวมเผ่าไทย และมะขามหวานชายโขง เป็นประจำทุกปี

                พระพุทธนวมิ่งมงคลมุกดาหาร  ชาวมุกดาหารสร้างไว้สององค์ องค์ที่หนึ่งสร้างด้วยเนื้อเงินบริสุทธิ์ หน้าตักกว้าง ๒๐ นิ้ว องค์ที่สองสร้างด้วยทองเหลือง หน้าตักกว้าง ๒๐ นิ้ว
                องค์แรก ได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนหอแก้วมุกดาหารชั้นสูงสุด องค์ที่สองได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่ อาคารชั้นล่างของหอแก้วมุกดาหาร เพื่อให้ประชาชนได้ไปสักการะบูชา
                หอแก้วมุกดาหารเปิดใช้งาน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙
| ย้อนกลับ | บน | หน้าต่อไป |



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์