|
|
|
|
|
|
|
|
www.dooasia.com >
เมืองไทยของเรา >
เมืองเก่าของไทย
เมืองเก่าของไทย
ศาสนา
ความชื่อ พิธีกรรม
ศาสนา
คำว่าศาสนาในอภิธานสันสกฤต - ไทย และพจนานุกรม บาลี - ไทย ให้นิยามไว้ว่า
"คำสั่งสอน" ซึ่งมีความหมายว่า คำสั่งสอนของศาสดาผู้ประกาศศาสนา เพื่อแนะนำทางแก่ผู้ปรารถนาความสุขจะได้ปฎิบัติตามหลักที่ได้ชี้แจงไว้
ในภาษาอังกฤษคำว่า ศาสนา (Religion ) หมายถึงความศรัทธา ซึ่งผูกพันความรู้สึกของมนุษย์ให้รู้ว่ามีอำนาจสูงสุดอยู่เหนือคน
อันเป็นทางนำให้มีพิธีปฏิบัติสืบเนื่องจากการศรัทธานั้น
ในภาษาอาหรับ ศาสนา (ดีน) หมายถึงคำสั่งสอนที่มีการศรัทธา (อัลอีมาน) และการปฏิบัติต่าง
ๆ (อัช - ชะรีอะฮ) อันเป็นหน้าที่ของมนุษย์ต่อพระผู้เป็นเจ้า เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตใจของตนเองฝ่ายหนึ่ง
และหน้าที่ของมนุษย์ต่อมนุษย์ เพื่อดำรงไว้ซึ่งสิทธิของมนุษย์และสวัสดิภาพของสังคม
อันเป็นศสีลธรรมฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมนูญที่ผู้เป็นเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้แก่มนุษย์ผ่านบรรดานบี
(ศาสดาหรือผู้เทศนา) ตามยุคสมัย
อิสลาม
เป็นศาสนาที่เทศนาเผยแพร่โดยท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อล ฯ โดยมี อัล - กุรอาน เป็นคัมภีร์นั้นเรียกว่า
อิสลาม เพราะถือว่าศาสนานี้มิใช่เป็นของท่าน นบีมุฮัมมัด ศ็อล ฯ ตั้งขึ้นเอง
หากเป็นศาสนาที่พระผู้เป็นเจ้าได้บัญญัติแต่นบีต่าง ๆ มาก่อนหน้านี้มาแล้ว
และท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อล ฯ ได้รับบัญญัติวางหลักการอันสมบูรณ์ ในฐานะเป็นนบีคนสุดท้ายเท่านั้น
อิสลาม มาจากศัพท์ สะละมะ หมายถึง เข้าไปในสันติอัสละมะ หมายถึง เขายอมน้อมน้อมตัว
ดังนั้นอิสลามจึงมีความหมายว่า สันติ การยอมมมอบตัวโดยนอบน้อม การปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า
โดยนัยนี้การแสวงสันติกับมนุษย์ ก็มิได้หมายถึงการไม่กระทำสิ่งใดบาดหมางหรือให้ร้ายผู้อื่น
แต่หมายถึงการทำดีต่อผู้นั้นด้วย
หลักการทั้งหลายของอิสลามสืบหลักฐานมาจาก
- อัล - กุรอาน
ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ถูกจารึกในสมัยที่ผู้เทศนายังมีชีวิตอยู่
- สุนนะฮและหะดีษ
คือจริยาวัตรและวจนของผู้เทศนา อันได้แก่ ท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อล ฯ ปฏิบัติในระหว่างชีวิตของท่านและสุมนะฮ
หรือแบบอย่างอันนั้นมาถึงปัจจุบันได้โดยหะดีษ คือคำบอกเล่าของบรรดาสาวกที่รายงานว่า
ในเรื่องหนึ่งเรื่องใดนั้น ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อล ฯ ได้ปฏิบัติหรือได้ให้แบบอย่างไว้ประการใดบ้าง
หลักการนี้แบ่งออกเป็นสองประการคือ ทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
ในทฤษฎี เรียกตามภาษาอาหรับว่า อีมาน หมายถึง การเชื่อโดยเลื่อมใสพร้อมที่จะปฏิบัติตามหลักนั้น
ๆ ผู้ที่อีมานเรียกว่า มุอมิน คำนี้ต่างกับมุสลิมในข้อที่ว่า มุสลิมคือผู้ปฎิญาณตนว่า
ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าอื่นใดควรแก่การเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮ และมุฮัมมัด เป็นรสูลของพระองค์
ซึ่งเป็นการแสดงโดยวาจา แต่ไม่พร้อมด้วยองค์สามคือ กาย วาจา และใจ ผู้ที่เป็นมุสลิมที่แท้จริงโดย
กาย วาจาและใจ เท่านั้น ที่ได้ชื่อว่าเป็นมอมิน
ในภาคปฎิบัติ เรียกตามภาษาอาหรับว่า อมัล หมายถึง การกระทำ ผู้ใดไม่อีมานและไม่ปฏิบัติตามทฤษฎี
และหลักปฏิบัติของอิสลามเรียกว่า กฟิร
คือผู้ปฎิเสธความจริง ซอลิ่ม
คือผู้อธรรม และฟาสิท คือผู้ละเมิดความจริงหรือผู้ฝ่าฝืน
ในภาคทฤษฎีอิสลามแบ่งออกได้ดังนี้
- การมีเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า
อิสลามถือว่า มีองค์เดียวไม่มีสอง ไม่มีต้นกำเนิด คือมีมาแต่เดิมและไม่มีอวสาน
คือไม่ตาย ทราบเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า ได้จากลักษณะของท่าน ซึ่งภาษาอาหรับเรียกว่า
ดิฟาด ไม่ทรงมีบิดา มารดา ภรรยา บุตร หลาน ไม่ได้เกิดจากสิ่งใด ไม่ตาย ไม่อวสาน
มีความรอบรู้ มีปรีชาญาณ มีอยู่ทั่ว ๆ ไป ไม่จำกัดสถานที่และเวลา มีเดชานุภาพ
อภิบาล บันดาล บริหาร ไม่มีข้อบกพร่องใด ๆ ดำรงอยู่เสมอ โดยไม่ต้องพึ่งสิ่งใด
แต่ทุก ๆ สิ่งต้องพึ่งท่าน
อิสลามประณามการชิรัก
คือ การตั้งหุ้นส่วนใดหรือผู้ใด วัตถุใด จะเป็นรูปธรรม นามธรรม ให้มีส่วนแบ่งหรือเทียบเท่า
หรือเสมอเหมือนพระผู้เป็นเจ้า การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการละเมิดอย่างร้ายแรงและถูกห้ามอย่างเด็ดขาด
ข้อห้ามในการชิรักต่าง ๆ พอสรุปได้ดังนี้
- มุสลิม ต้องไม่เคารพภักดี เชื่อฟัง ปฏิบัติตามผู้ใด นอกจากต่ออัลลอฮ สุบหานะ
ฮูวะตะอาลา เช่น ห้ามเด็ดขาดไม่ใให้ไปกราบไหว้บูชาขอความช่วยเหลือหรือยึดมั่นสมาธิในก้อนหิน
ต้นไม้ รูปปั้น เพราะสิ่งเหล่านี้ บางอย่างเช่นรูปปั้นนั้นมนุษย์เป็นผู้ทำขึ้น
- มุสลิม จะบูชาธรรมชาติไม่ได้ เช่นตะวัน ดวงเดือน แม่น้ำ ภูเขา ลม เพราะสิ่งเหล่านี้อยู่ในอำนาจของผู้ทรงบันดาลและบริหาร
เพื่อประโยชน์ของมนุษย์
- มุสลิม จะไม่ตั้งผู้ใดให้มีอำนาจเป็นหุ้นส่วนของอัลลอฮ ฯ มุสลิมไม่เชื่อในอวตาร
หรือพระผู้เป็นเจ้าจุติมาเกิดในโลกมนุษย์ ไม่เชื่อในการแบ่งภาคของพระผู้เป็นเจ้า
- มุสลิม จะเชื่อถือโชคลางใด ๆ ไม่ได้ ไม่มี อุซีมัด ไม่ถือมนต์ คาถา ไม่ถือว่าด้วยคำในคัมภีร์เป็นยารักษาโรค
ดังที่มุสลิมบางคนทำกัน
- มุสลิม ต้องไม่ปฏิบัติตามอารมณ์ตำ ไม่ทำอะไรโดยลับหูลับตา งมงาย
- มลาอิกะฮ
มาจากภาษาอาหรับว่า สือข่าว บางท่านแปลว่า เทวทูต เทวดา ทูตสวรรค์ ในอิสลามคือว่า
มลาอิกะฮ ไม่มีเพศ ไม่ขัดขืน เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน สือซึ่งชักนำไปในทางที่ดีเรียกว่า
มลาอิกะฮุ สื่อที่ชักนำไปในทางชั่วเรียกว่า ชัยฏอน
หรือมาร
- คัมภีร์
มุสลิมต้องเชื่อถือต้นฉบับของคัมภีร์ทั้งหลาย ในเมื่อทราบได้ว่า คัมภีร์นั้นเป็นวะฮีย
จากพระผุ้เป็นเจ้า ไม่ใช่จากการประพันธ์ของมนุษย์ ในหมู่คัมภีร์ต่าง ๆ ของโลก
อัล - กุรอาน เท่านั้นที่ถูกจารึกในระหว่างที่ผู้เทศนามีชีวิตอยู่ ไม่ได้สังคายนา
หรือรวบรวมขึ้นหลาย ๆ ปี หลังจากผู้เทศนาถึงชีวิตแล้ว มิสลิมถือว่า อัล -
กุรอาน เป็นคัมภีร์สุดท้ายของโลก
- บรรดานบี - ผู้เทศนา
มิสลิมจะต้องเชื่อถือและยกย่องบรรดานบีทั้งหลาย จะโดยที่มีนามปรากฎอยู่ในอัล
- กุรอานหรือไม่ มุสลิมไม่ถือว่าการเป็นรสูล หรือนบีนั้นเกิดจากการรู้เอง
แต่เป็นพรพิเศษ มัวฮิมะฮ
การที่เชื่อว่ามุฮัมมัดเป็นนบี เพราะอรรถธรรมในอัล - กุรอาน ที่มีปรากฎดั้งเดิมจนบัดนี้ไม่ข้อความใดขัดแย้งกัน
ไม่เกิดจากการเขียนของนบีมูฮัมมัด เพราะท่านอ่านเขียนไม่เป็น และเป็นผู้ไม่รู้หนังสือ
โองการในอัล - กุรอาน มีมากกว่า ๖,๐๐๐ โองการ เป็นข้อความทยอยต่อกันในเวลา
๒๓ ปี ส่วนหะดีษ - วจนะ ของท่านไม่มีอรรถรสเหมือนกับของ อัล - กุรอาน แสดงว่ามุฮัมมัดเป็นนบีและเป็นนบีสุดท้าย
อัล - กุรอาน ไม่ถือว่า นบีมุฮัมมัดเป็นนบีสำหรับ อะระเบีย แต่เป็นนบีสำหรับโลก
นอกจากนั้นนับแต่บุรพกาลไม่มีคัมภีร์ฉบับใด เหมือนหรือละม้ายกับของ อัล -
กุรอาน ทั้งในด้านอรรถรสและความหมาย
- วันสุดท้าย - การเกิดใหม่ในปรโลก
การเชื่อในข้อนี้เป็นหลักการที่สำคัญข้อหนึ่งวันสุดท้ายเรียกตาม ภาษาอาหรับว่า
เยามิล
อาศิร หมายถึงวันอวสานต์ การเชื่อในหลักการนี้เพื่อให้ตระหนักว่าการกระทำดี
กระทำชั่วของมนุษย์จะถูกเปิดเผยหลังจากวันสุดท้าย อิสลามถือว่าหลังจากการตายแล้วมีชีวิตขึ้นมาใหม่ในประโลก
เพื่อรับการทดแทนกรรมดี กรรมชั่วของมนุษย์ ชีวิตแบ่งออกเป็นสามระยะคือ
๑. เมื่อเป็นดิน
- เมื่อมนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ในโลก
- คุนยา
๒. เมื่ออยู่ในครรภ์
- ชีวิตเมื่ออยู่ในสุสาน
- กับรหรือบัรซัค
๓. เมื่อคลอดออกมาเป็นทารก - การเกิดในปรโลก
- กิยามะฮ
บัรซัค หมายถึง สิ่งหนึ่งที่มาคั่นอีกสองสิ่ง คือระยะที่คั่น่ระหว่างโลกนี้กับปรโลก
ดังนั้น บัรซัค คือสภาพหนึ่งของสุสาน คั่นกลางระหว่างโลกนี้กับโลกหน้า ผู้ที่ตายแล้วคือ
อยู่ในสุสานหรือบัรซัค จะมีความรู้สึกในสภาพกึ่งสำนัก
หลังจากบัรซัค คือวันกิยามะฮ คือวันที่ลุกขึ้นยืนได้แก่ วันที่มนุษย์จะต้องเกิดใหม่
หลังจากโลกนี้ได้พินาศแล้ว วันกิยามะฮ
มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ เช่น วันพิพากษา
วันพบปะ วันแห่งการออกมาจากสุสาน วันเผยผลได้ผลเสีย วันประจักษ์ ฯลฯ
- กฎแห่งการกำหนดสภาวะ
เรียกในภาษาอหหรับว่า ก็อดร หรือดักดีร เป็นกฎสากล อัล - กุรอาน กล่าวถึงความเป็นมาของโลก
และสรรพสิ่งที่มีอยู่ถึงการกำเนิดของมนุษย์ การให้มีสติสัมปชัญญะและให้ใช้ในทางที่ถูกตามขอบเขตของมัน
สรรพสิ่งต่าง ๆ อยู่ในขอบเขตของมัน ขอบเขตของแต่ละสิ่งนี้เรียกว่า ดักดีร
อัลกุรอาน ไม่ได้กล่าวถึง ดักดีร ว่า เป็นผู้บันดาลความดีความชั่ว
กล่าวได้ว่ากพระผู้เป็นเจ้าเป็นต้นเหตุแรก และสุดท้ายของสรรพสิ่งทั้งหลาย
คือเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย เป็นผู้สร้างการกระทำของมนุษย์ สร้างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยและกระทำ
และให้มนุษย์มีความคิดอิสระที่จะเลือกทำซึ่งมนุษย์จะทำได้ตามขอบเขต
ในอิสลามไม่ม่วัดสำหรับจำศีล ไม่มีการบวช อิสลามต้องการให้มนุษย์สร้างสัมพันธ์ในสภาพเดียวกัน
ให้มนุษย์เป็นพี่น้องกัน มีหลักปฎิบัติที่สำคัญขั้นพื้นฐานอยู่ห้าประการคือ
- การปฎิญาณตนเป็นมุสลิม
เรียกบุคคลที่นับถือศาสนาอิสลามว่า มุสลิม ถ้าเป็นหญิงนิยมเรียกว่า มุสลิมะฮ์
คำปฎิญาณของผู้นับถือศาสนาอิสลาม จะมีขึ้นเป็นครั้งแรก สำหรับผู้ประสงค์จะเข้ารับศาสนาอิสลาม
(มุอัลลัฟ) โดยผู้รู้ศาสนาหรือผู้ที่เป็นมุสลิม จะสอบคำปฎิญาณมีสองประโยคคือ
ขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ
ของปฏิญาณตนว่ามูฮัมมัด เป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮ
คำปฎิญาณดังกล่าวมักจะเรียกกันว่า การกล่าวกลิมะฮ
คำกล่าวนี้จะปรากฎอยู่ในละหมาดทุกครั้ง
การปฎิญาณตนเป็นมุสลิม จะต้องทำโดยผู้ที่มีสติ ไม่มึนเมาครองสติไม่ได้ ไม่ละเมอหรือถูกสะกดจิต
ต้องมีสติสัมปชัญญะโดยสมบูรณ์ มีความยินดีทีจะเข้ารับศาสนาโดยบริสุทธิ์ใจ
หรือมีจิตใจเลื่อมใสศรัทธาอย่างมั่นคง ไม่ใช่ถูกข่มขู่หรือบังคับ การแปลงวาจาเป็นคำปฎิญาณเรียกว่า
รุก่นอิสลาม
นอกจากมุสลิมจะกล่าวคำปฎิญาณ (ซะฮาดะห) ในโอกาสดังกล่าวแล้ว ในเหตุการฉกุเฉินหรือภาวะที่อาจถึงแก่ความตายนั้นก็จะกล่าวคำปฎิญาณเช่นกัน
- การนมาซ
ภาษาอาหรับเรึยกว่า อัศ - เศาะลาด คำ นมาซ เป็นภาษาเปอรฺเซีย มีเจตนารมณ์คือ
๑. มุสลิมต้องชำระร่างกายหรือส่วนเปิดเผยของร่างกายให้สะอาด
๒. การนมาซสอนมุสลิมให้สำนึกตนอยู่เสมอทุกวัน ๆ ละห้าเวลาให้ตระหนักในพระกรุณาคุณของพระผู้เป็นเจ้าแล้วประกอบการดี
ละเว้นการชั่ว
๓. เพื่อแสดงว่าพระผู้เป็นเจ้าเป็นพลังที่ดำรงอยู่เสมอ กระตุ้นเตือนให้รำลึกและปฎิบัติตามหลักการของท่าน
และติดต่อกับท่านด้วยความเคารพภักดีต่อท่านเสมอ
๔. การนมาซ กล่าวข้อความเป็นภาษาอาหรับ เพราะการนมาซ ในภาษาเดียวกันย่อมบ่งถึงการทวีความรักใคร่และเป็นพี่น้องกันด้วยคือ
ภาษาอาหรับเป็นภาษาสากล
๕. ท่าทางที่นมาซเป็นท่ายืน โค้ง กราบ นั่ง แสดงอาการนอบน้อม และเคารพภักดีอย่างสูงพร้อมมูล
๖. มุสลิมจะนมาซในบ้านหรือในมัสยิดใด ๆ ก็ได้
๗. เมื่อนมาซมุสลิมทุกกคนต่างหันหน้าไปทางกิบละฮ คือ ที่ที่ อั - กะอบะฮ ตั้งอยู่ในเมืองเมกกะ
๘. ในเวลานมาซ ทุกคนต่างอยู่ร่วมกันยืนเรียงเป็นแถว ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ
ต่างมุ่งต่อการปฎิบัติศานกิจ
๙. การชำระตนจากมลทิน คือการชำระทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะส่วนหนึ่งในการนมาซนั้น
มุสลิมทุกคนต้องกล่าวว่า "ฉันเริ่มด้วยพระนามของ อัลลอฮ ผู้ทรงกรุณา ผู้ทรงเอ็นดู
เมตตาเสมอ"
๑๐. ศาสนาอิสลามไม่มีวันพิเศษสำหรับการนมัสการ มุสลิมต้องนมาซ ตื่นแต่เช้าตรู่ก่อนตะวันขึ้น
นมาซ เวลาบ่าย เวลาเย็น เวลาค่ำ และเวลากลางคืน ในการปฎิบัติแต่ละครั้งใช้เวลา
ประมาณ ๖ - ๑๐ นาที การนมาซในวันศุกร์เป็นการนมาซรวม และมีการเทศนาให้เข้าใจในหลักธรรมของอิสลาม
๑๑. ในการนมาซนั้น ผู้ชาย และผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การนมาซเป็นศาสนกิจที่ใช้บังคับแก่มุสลิมทุก ๆ คน
- ซะกาด
ในอิสลามถือว่า การบริจาคทานเป็นหลักปฎิบัติรองลงมาจากนมาซ คำว่า ทานเรียกในภาษาอาหรับว่า
เศาะดะเกอะฮ การทำความดีต่อผู้อื่น ในภาษาอาหรับเรียกว่า เอียหสาน จัดเป็นทานส่สนหนึ่ง
การบริจาคทานแบ่งออกเป็นสองชนิด คือ ทานอาสา และทานบังคับ มีดังนี้
๑. ต้องบริจาคให้แก่คนเข็ญใจ ภาษาอาหรับเรียกว่า ฟะกีร ได้แก่ บุคคลผู้ไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้
เนื่องจากสมรรถภาพในร่างกาย
๒. แก่ผู้ขัดสน ภาษาอหรับเรียกว่า มิสกีน ได้แก่ ผู้ที่มีความ สามารถหาเลี้ยงชีพได้แต่ขาดแคลนหนทางหรือกำลังทรัพย์
เนื่องจากยากจน
๓. ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นให้เก็บซะกาด ไปแจกจ่ายแก่บุคคลหรือองค์การที่พึงได้รับและควรแก่การแบ่งทรัพย์สินต้องอาศัยองค์การกลางเรียกว่า
บัยตุลมาล
๔. ได้แก ่ผู้ที่หัวใจของเขาถูกมุ่งมาความจริง คือผู้ที่จะมารับนับถือศาสนาอิสลามเมื่อเข้ามาใหม่
ๆ อาจจะอัตคัดขาดแคลนด้วยถูกตัดญาติจากพ่อแม่พี่น้อง จึงสมควรได้รับการอุปการะ
๕. ได้แก่ เชลยแรือทาส ซึ่งไม่สามารถไถ่ตนได้ แสดงถึงการที่อิสลามช่วยในการเลิกทาส
๖. ได้แก่ ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จำต้องได้ซะกาดมาช่วยปลดเปลื้องหนี้สินของตน
๗. ได้แก่ ผู้เดินทางไปต่างประเทศแล้วตกค้างอดยู่ในประเทศนั้น โดยที่ไม่ทุนทรัพย์จะเดินทางกลับภูมิลำเนาของตน
๘. ได้แก่ การบริจาคในทาง อัลลอฮ - ฟี สบี ลิลิาฮ นั่นคือในกิจการกุศลทั่วไป
เช่น ในการสร้างโรงเรียน ในการสร้างตำรา ขุดบ่อน้ำ ฯลฯ
อิสลามห้ามในเรื่องดอกเบี้ย เพราะเป็นการเพาะนิสัยให้เกียจคร้าน เป็นเสือนอนกินบนความลำบากของคนด้วยกัน
- การถือศีลอด
เรียกในภาษาอาหรับว่า อัศ - เศษมู หมายถึงการละเว้น การกินดื่ม การพูดจาเหลวไหล
การประพฤติชั่วทั้งโดยลับและเปิดเผย หรือแม้แต่การเจตนาชั่ว มุสลิมต้องถือศีลอดในเดือนที่เก้า
ตามจันทรคติของอิสลามเรียกว่า เดือนรอมฎอน
เป็นเวลา ๒๙ - ๓๐ วัน นับแต่รุ่งสางจนพลบ ตลอเวลาดังกล่าวจะดื่มกินสิ่งใด
จะร่วมสังวาสหรือกระทำอัตกาสม ฉ้อโกง สับปรับ ประพฤติชั่วโดยวิธีใด ๆ ไม่ได้
อิสลามถือศีลอดตลอดเพื่อ การตักวาคือ การเกรงกลัวไม่กล้าฝ่าฝืนบัญญัติและปฎิบัติตามบัญชาของอัลลอฮ
และรสูลของท่าน พร้อมทั้งปกป้องตนเองจากความชั่ว โดยประกอบการดี
- การประกอบพิธีหัจญ์
มีหลักปฎิบัติอยู่สี่ข้อคือ
๑. การปฎิญาณตนเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามหรือกล่าว กลิมะฮ
๒. การนมาซวันละห้าเวลา เพื่อขัดเกลาจิตใจของผู้ประพฤติ ให้สำนึกในพระกรุณาคุณของพระผู้เป็นเจ้า
และการกระทำการดีต่อตน และต่อเพื่อนมนุษย์
๓. การบริจาคซะกาด เพื่อสละทัพย์ร้อยละ ๒.๕ ของทรัพย์ที่เหลือใช้ของตนแก่คนจน
โยไม่ทำให้ฐานะของตนด้อยลงและทำให้ฐานะของคนจนดีขึ้น
๔. เพื่อฝึกหัดตนเอง ขัดเกลาจิตใจ เพิ่มคุณธรรมแก่ตน โดยละเว้นการดื่มกินตามเวลาที่กำหนด
และฝึกฝนไม่ให้กระทำชั่วร้ายใด ๆ ทั้งกายวาจาและใจ
การหัจญ์ ได้มีมาแต่สมัย นบีอิบรอฮิม ต่อมาพวกอาหรับได้ประดิษฐพิธีกรรมต่าง
ๆ ขึ้น จนกระทั่งถึงเวลาเทศนาอิสลาม ปรากฎว่ามีรูปปั้นสำหรับสักการะบูชาถึง
๓๖๐ รูป และมุสลิมเข้าครองเมืองเมกกะ นบีมฮัมมัดศ็อล ฯ จึงได้จัดรบบการประกอบพิธีหัจญ์ขึ้นใหม่
ดังนี้
๑. การหัจญ์ เริ่มขึ้นในเดือน ซุลหิจญ์ อันเป็นเดือนสิบสองของอิสลามตามปฎิทินทางจันทรคติ
๒. ในระหว่างกาทำหัจญ์ มุสลิมจะมารวมกันที่เมืองเมกกะเพื่อประกอบพิธีหัจญ์
ซึ่งบังคับแก่มุสลิมทุกคน ผู้มีกำลังทรัพย์จะเดินทางไปได้ และมีสุขภาพสมบูรณ์
การคมนาคมสะดวกปลอดภัย ให้ปฎิบัติอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต หากขัดข้องด้วยสาเหตุใหดังกล่าว
ก็เป็นที่ยกเว้น
๓. ผู้มาทำหัจญ์จะครองผ้าสีขาวเรียกว่า อิหร่อม
๔. ทุก ๆ ปีมุสลิมจากแหล่งต่าง ๆ จะมาชุมนุมกันที่เมืองเมกกะ เพื่อประกอบพิธีหัจญ์
๕. ที่ไปประกอบพิธีหัจญ์ ไม่มีศักดิ์เป็นนักบวช เพราะในศาสนาอิสลามไม่นักบวช
| | |