ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางธรรมชาติ
พื้นที่ป่า

            มีป่าสงวนแห่งชาติอยู่ทางทิศเหนือ และทิศตะวันตกของจังหวัดจำนวน ๖ ป่า มีพื้นที่ประมาณ ๑,๖๐๔,๐๐๐ ไร่  ลักษณะป่าโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง และป่าไม้เบญจพรรณ ปัจจุบันคงเหลือพื้นที่ป่าไม้อนุรักษ์ และพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ประมาณ ๔๒๑,๐๐๐ ไร่
            อุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ  เป็นแนวเทือกเขาทอดยาว ในเขตอำเภอโนนสัง ในอดีตบริเวณสันภูเก้า มีป่าไม้นานาพรรณ อุดมสมบูรณ์ด้วยป่ารกชัฎ และมีสัตว์ป่านานาชนิด เป็นจำนวนมาก
            ทางราชการได้ประกาศให้บริเวณภูเก้าภูพานคำ ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ อุทยาน ฯ แห่งนี้ มีทัศนียภาพกเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ ระหว่างเขตจังหวัดหนองบัวลำภูกับเขตจังหวัดขอนแก่น เป็นจุดกลางระหว่างกลุ่มภูเขาสองเทือก คือ ภูเก้า และภูพานคำ กลุ่มภูเขาที่อยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเขื่อน เป็นภูเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนอยู่ ๙ ลูก คือ ภูขุมปูน ภูหัน ภูเมย ภูค้อม้อ ภูชัน ภูเปราะ ภูลวก และภูวัด จึงเรียกว่า ภูแก้ว
            ส่วนภูพานคำ อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของตัวเขื่อน เป็นแนวภูเขาที่เริ่มจากตัวเขื่อนทอดยาวไปทางทิศเหนือ จดลำน้ำโขงที่หนองคาย เป็นเขตป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์มายาวนาน มีสัตว์ป่านานาชนิด
            ในเขตอุทยาน ฯ ยังมีถ้ำที่สวยงามอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ถ้ำพรานหมาถ้ำกลองเพล
            เทือกเขาภูพาน อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น เป็นแนวภูเขาที่เริ่มจากตัวเขื่อน ทอดยาวไปทางทิศเหนือจรดน้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย ในแต่ละตอนของเทือกเขาภูพาน มีส่วนที่อยู่ห่างกันหลายตอน แต่ละแห่งแต่ละตอนที่ห่างกันนั้น ชาวพื้นเมืองแต่เดิมพากันเรียกชื่อต่าง ๆ คือ ตอนที่เริ่มจากเขื่อนอุบลรัตน์เรียกว่า ภูพาน ส่วนที่ทอดยาวมาทางทิศเหนือเรียกว่า ภูผาเพ  ระหว่างภูเขาที่ขาดช่วงกันเรียกว่า ภูโหล่น  ถ้าเป็นที่ราบเสมอกันเป็นบริเวณกว้าง เรียกว่า บ๋าเป็นต้น  ส่วนที่อยู่ทางซ้ายมือของถนนสายหนองบัวลำภู กับอุดรธานี ที่เป็นเทือกเขาสูงชันเรียกว่า ภูชัน  ส่วนที่ติดกันไปทางด้านทิศเหนือของภูชัน เรียกกันว่า ภูถ้ำพระ  ส่วนที่ทอดยาวไปทางทิศตะวันตก เรียกว่า ภูถ้ำกกเป็น  ที่ต่อกันทอดยาวไปอีกเรียกว่า ภูช่องช้างตาย  ที่ซึ่งมีหินตั้งเป็นช่อขนาดยาวขึ้นสู่ท้องฟ้า เรียกว่า ภูหินช่อฟ้า  ส่วนที่ต่อออกไปอีกเรียกว่า ภูผาข่า  ต่อจากนั้นเรียกว่า ภูผายุง  ต่อไปอีกเรียกว่า ภูผ้าขาว  ต่อไปอีกเรียกว่า ภูเช่องเกิ้ง  ต่อไปเรียกว่า ภูช่องน้ำจั่น  ต่อไปอีกเรียกว่า ภูช่องกกบก  ต่อไปอีกเรียกว่า ภูช่องคำไก่
            ต่อไปเป็นช่องทางที่พระวอ พระตา ใช้เดินทางจากเมืองเวียงจันทน์มาหนองบัวลำภู เรียกว่า ภูช่องข้าวสาร

            ถ้ำเอราวัณ  ชาวบ้านเรียกว่า ถ้ำช้าง ตามชื่อของภูเขาคือ ภูถ้ำช้าง ตั้งอยู่บนภูเขาหินแข็ง ส่วนบนของถ้ำเป็นหินแหลมคมขรุขระ เป็นก้อนเล็กก้อนน้อย มีถ้ำกระจายอยู่ทั่วไป อยู่ในตำบลวังทอง อำเภอนาวัง
            ภูเขาผาถ้ำช้าง ไม่สูงนัก ทอดตัวยาวสลับซับซ้อนกั้นเขตแดนของอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย กับอำเเภอนาวัง
            ถ้ำผาเวียง  อยู่ที่หมู่บ้านผาเวียง ตำบลนาแก อำเภอนาวัง มีลักษณะเป็นทิวเขาที่มีทัศนียภาพงดงามมาก ชาวบ้านเรียกกันว่า ภูผาเวียง และยังมีถ้ำอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน เช่น ถ้ำผากลาง ถ้ำธรรมาสน์ ถ้ำประทุน ภายในถ้ำดังกล่าวเหล่านั้นมีทัศนียภาพที่งดงาม และเป็นที่ประทับใจของผู้ที่มาชมเป็นอย่างมาก
            ถ้ำกลองเพล  ตั้งอยู่ที่บ้านถ้ำกลองเพล ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง ฯ บริเวณนี้เป็นที่ราบสูง อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ และสัตว์ป่า ตัวถ้ำเป็นที่กำบังแดดฝนได้เป็นอย่างดี มีลมพัดผ่านเย็นสบาย สวนร่มรื่น เป็นถ้ำเก่าแก่ บริเวณถ้ำพบโบราณวัตถุหลายอย่าง เช่น หม้อลายคราม มีดขวาน เมื่อขุดรื้อก้อนหินออกอันเนื่องจากการปรับปรุงภายในถ้ำ ก็ได้พบพระพุทธรูปทองคำบุ เงินบุ พระดินเผา และพระพิมพ์ ทำด้วยว่านเกสร หลายร้อยองค์
            ถ้ำผาผึ้ง  สมัยก่อนพวกผึ้งป่ามักมาจับในถ้ำบริเวณหน้าผา ที่เป็นชะโงกหินก้อนใหญ่มาก มีก้อนหินรอบ ๆ หลายก้อนเป็นบริวาร สมัยก่อนเป็นป่าดงรกทึบ ไม่มีผู้คนสัญจรไป มีโขลงช้างออกมาหากินในเวลากลางคืน บางตัวเดินลอดถ้ำเอาข้างตัวมาขัดถูก้อนหินเพดาน ซึ่งสูงประมาณ ๓ เมตร จนผิวหินเกลี้ยงเกลา

            สุสานหอย  อยู่ที่บ้านห้วยเดื่อ ตำบลโนนทับ อำเภอเมือง ฯ พบเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗ บริเวณที่พบเป็นเหมืองหินทราย ผลจากการระเบิดหินทำให้เกิดหน้าผาสูงประมาณ ๑๕ เมตร กว้างประมาณ ๑๕๐ เมตร มีชั้นหอยที่เป็นฟอสซิลอยู่หนาประมาณ ๑.๕๐ เมตร โดยอยู่ทางด้านบนของหน้าผา จากการศึกษาพบว่า ฟอสซิลหอยดังกล่าวเป็นหอยกาบคู่ อายุประมาณ ๑๔๕ - ๑๕๗ ล้านปี
            ชั้นซากหอยอยู่ในช่วงบนของหน่วยหินเสาขัว ซึ่งประกอบด้วยหินทรายสีแดง น้ำตาลปนแดง และเทาอ่อน เป็นส่วนใหญ่ มีซากหอยกาบคู่กระจายอยู่โดยทั่วไป ชั้นหินที่พบเป็นหินทรายปนกรวด สีน้ำตาลแดง-น้ำตาลปนม่วง ขนาดของเม็ดกรวดประมาณ ๒ - ๘ มิลลิเมตร หินโดยทั่วไปเป็นหินปูน
ต้นน้ำลำธารและแหล่งน้ำสำคัญ

            หนองบัว  เป็นหนองน้ำธรรมชาติ และเป็นหนองน้ำสาธารณประโยชน์ คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน มีพื้นที่ประมาณ ๑๓๕ ไร่ มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ในหนองบัวไม่มีผักตบชวา มีแต่สาหร่ายน้ำจืด ผักแปะ ผักท่อน้ำ ผักกระเฉดน้ำ และดอกบัว มีสัตว์น้ำหลายประเภทชุกชุม
            ในกลางคืนข้างแรม เดือนมืด บริเวณหนองบัวจะมีหิ่งห้อยบินส่องแสงอยู่ทั่วไป ในยามที่ดอกบัวบานสะพรั่ง ทั่วบริเวณหนองน้ำจะเป็นภาพที่สวยงาม
            ลำพะเนียง  เป็นลำน้ำใหญ่ที่มีความสำคัญมากของชาวหนองบัวลำภู มีต้นกำเนิดจากส่วนหนึ่งของภูกระดึง บริเวณบ้านสีถาน ตำบลสีถาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย แล้วไหลผ่านพื้นที่อำเภอต่าง ๆ คือ อำเภอนาวัง อำเภอนากลาง อำเภอเมือง ฯ อำเภอโนนสังข์ และอำเภอศรีบุญเรือง
            สองฝั่งของลำพะเนียง เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ชาวบ้านหาปลาจากลำพะเนียง มาเป็นอาหารตลอดมา เป็นลำน้ำที่มีปลาน้ำจืดชุกชุมมาก
            ลำพะเนียง ไหลตกที่ลำน้ำพอง ที่บริเวณบ้านกุดแข้ อำเภอโนนสัง เดิมลำน้ำสายนี้ลึกและกว้าง สามารถล่องเรือแพไปขายข้าวในจังหวัดขอนแก่นได้อยู่เสมอ แต่ปัจจุบันลำน้ำตื้นเขินและขาดน้ำในการเกษตรเป็นอย่างมาก
            ลำห้วยต่าง ๆ ที่ไหลมาบรรจบลำพะเนียง ได้แก่ ลำห้วยเซียง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาภูพาน ไหลมาบรรจบลำพะเนียงที่บริเวณใกล้บ้านวังหมื่น มีความยาวประมาณ ๒๕ กิโลเมตร อีกลำห้วยหนึ่งคือ ลำห้วยใหญ่เกิดจากเทือกเขาภูพาน ทางด้านทิศเหนือ ไหลมาบรรจบลำพะเนียงบริเวณเดียวกันกับลำห้วยเซียง  มีความยาวประมาณ ๓๐ กิโลเมตร
เอกลักษณ์ทางธรรมชาติ
            เอกลักษณ์ของจังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ หนองบัว อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ ถ้ำเอราวัณ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นอกจากนั้นยังมีต้นพะยุง และดอกอินกวา หรือดอกการ์ดินเนีย ซึ่งนับว่าเป็นต้นไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอีกด้วย
| ย้อนกลับ | บน | หน้าต่อไป |



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์