ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เมืองเก่าของไทย

เมืองเก่าของไทย
ภาคกลาง
กรุงเทพฯ
กาญจนบุรี
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ตราด
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบฯ
ปราจีนบุรี
เพชรบุรี
ระยอง
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระแก้ว
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อยุธยา
อ่างทอง
อุทัยธานี
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
เลย
สกลนคร
สุรินทร์
ศรีสะเกษ
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อุดรธานี
อุบลราชธานี
อำนาจเจริญ
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พัทลุง
พังงา
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางวัฒนธรรม

โบราณสถานและโบราณวัตถุ
            โบราณสถาน  ส่วนใหญ่เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา ได้แก่ วัดศรีคูณเมือง วัดมหาชัย วัดโพธิชัยสมสะอาด วัดหายโศก บ้านลำภู วัดธาตุหาญเทาว์ วัดพระธาตุเมืองพิณ วัดสันติธรรมบรรพต วัดป่าโนนคำวิเวก วัดถ้ำสุวรรณคูหา วัดป่าสามัคคีสิริวัฒนาราม (กุดโพนทับ)  วัดบ้านสมสนุก วัดเจริญทรงธรรม รายละเอียดมีอยู่ในมรดกทางพระพุทธศาสนา
            แหล่งโบราณคดี   มีอยู่ ๘ แห่ง ด้วยกันดังนี้
                แหล่งโบราณคดีโนนพร้าว  อยู่ที่บ้านกุดคอเมย ตำบลกุดคู่ อำเภอโนนสัง มีการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔ และทำการขุดค้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ มีลักษณะเป็นเนินดิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕๐ เมตร สูงประมาณ ๒ เมตร จากพื้นที่โดยรอบ พบหลักฐานต่อเนื่องตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี และสมัยล้านช้าง  กำหนดอายุได้ประมาณ ๒,๕๐๐ ปี มาแล้ว และโบราณวัตถุวัฒนธรรมล้านช้าง มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔
                แหล่งโบราณคดีโนนดอนกลาง  (โนนป่ากล้วย)  อยุ่ที่บ้านกุดกวางสร้อย ตำบลบ้านถิ่น อำเภอโนนสัง ได้ทำการขุดค้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ พ.ศ.๒๕๓๖ และ พ.ศ.๒๕๔๐ ลักษณะเป็นเนินดินขนาดประมาณ ๑๕๕ x ๒๐๐ เมตร สูงประมาณ ๒ - ๓ เมตร จากที่ราบโดยรอบ พบหลักฐานต่อเนื่องตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี และสมัยล้านช้าง กำหนดอายุให้ประมาณ ๒,๕๐๐ ปี มาแล้ว และหลักฐานทางโบราณคดีวัฒนธรรมล้านช้าง มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓ - ๒๔
                แหล่งโบราณคดีโนนสัง  อยู่ที่บ้านกุดคอเมย ตำบลกุดดู่ อำเภอโนนสัง ได้มีการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔  ลักษณะเป็นเนินดิน มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕๐ เมตร พบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานที่พบได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผาแบบผิวเรียบ และแบบแตกต่าง การเขียนสีและวาดลวดลายต่าง ๆ แวดินเผา หินบดยา เครื่องมือเหล็กและเครื่องประดับสำริด มีอายุอยู่ประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
                แหล่งโบราณคดีถ้ำเสือตก  อยู่ที่บ้านวังมน ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง สำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ เป็นภาพเขียนสีเป็นลายเส้นแและภาพมือ รวมทั้งภาพสลักเป็นภาพลายเส้น สันนิษฐานว่า เขียนและสลักขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
                แหล่งโบราณคดีถ้ำจันได  อยู่ที่บ้านวังมน ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง สำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ มีลักษณะเป็นก้อนหินรูปทรงสามเหลี่ยมที่มีภาพเขียนสีบนพื้นผิวหิน ลักษณะปลีกย่อย ภาพเขียนสีด้วยสีแดงแบบเงาทึบ เป็นภาพคล้ายสีและภาพต้นข้าว สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

                แหล่งโบราณคดีถ้ำพลานไฮ  อยู่ที่บ้านวังมน ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง สำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓ ลักษณะเป็นเพิงหิน มีภาพเขียนผนังหิน จำนวนสามจุด ลักษณะปลีกย่อย ภาพเขียนสีเป็นภาพมือทาบและภาพลายเส้น สันนิษฐานว่าเขียนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
                แหล่งโบราณคดีถ้ำอาจารย์สิม  อยู่ที่วัดพระพุทธบาทภูเก้า เขาศิริวงกต บ้านตกบาก ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอโนนสัง สำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ และปี พ.ศ.๒๕๔๐ ลักษณะเป็นเพิงหินริมหน้าผา ที่มีภาพเขียนสีบนผนังหิน ลักษณะปลีกย่อย เขียนสีแบบลายเส้นโครงร่างภายนอก เป็นภาพคล้ายคนและภาพคล้ายปลา สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
                แหล่งโบราณคดีถ้ำมิ้น  อยู่ที่วัดพระพุทธบาทภูเก้า เขาศิริวงกต บ้านตกบาก ตำบลพัฒนานิคม อำเภอโนนสัง สวำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ ลักษณะเป็นถ้ำลึกประมาณ ๔ เมตร ปากถ้ำกว้างประมาณ ๘ เมตร ที่เพดานถ้ำมีภาพเขียนสีและภาพสลักปะปนกัน ลักษณะปลีกย่อย ภาพเขียนและภาพสลักดังกล่าวเป็นภาพลายเส้นและภาพรูปทรงเลขาคณิต สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาตร์
           แหล่งประวัติศาสตร์  เป็นเส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวร เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๗ จากจังหวัดพิษณุโลกผ่านอำเภอวังทอง อำเภอด่านซ้าย อำเภอเมืองเลย อำเภอสุวรรณคูหา ผ่านตำบลกุดกะสู้เข้าสู่อำเภอเมืองหนองบัวลำภู และตั้งทัพ ณ สนามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ริมฝั่งหนองบัว
           สถาปัตยกรรมมดีเด่น  มีอยู่สามแห่งด้วยกัน ดังนี้

                หอไตร วัดมหาชัย  อยู่ที่วัดมหาชัย ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง ฯ ลักษณะรูปทรงเป็นเรือนไม้ ยกพื้นสูง กั้นฝา มีระเบียง และลูกกรงกั้นรอบ ๆ หลักคาแบบเดิมมุงด้วยแป้นไม้ สร้างอยู่กลางสระน้ำ เพื่อป้องกันมอด ปลวก หรือแมลงต่าง ๆ ติดต่อกับฝั่งโดยใช้สะพานชักเพื่อมิให้มีสิ่งเชื่อมต่อระหว่างฝั่งกับหอไตร

                สิบไม้ (โบสถ์ไม้)  ตั้งอยู่ที่วัดเจริญทรงธรรม บ้านดอนปอ ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอศรีบุญเรือง เป็นสิบทีสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง มีรูปทรงกระทัดรัด ขนาดความกว้างยาวใกล้เคียงกัน ผนังเป็นฝาไม้กระดาน ฐานก่ออิฐถือปูน มีเสาไม้แก่น ๑๒ ต้น สูงประมาณ ๑๒ เมตร หลังคาทรงสูงโปร่ง ศิลปะการแกะสลักไม้ทั้งบนหลังคา หน้าจั่ว สวยงามมาก โดยเฉพาะการแกะสลักรูปพญาครุฑด้วยไม้ ขนาดกว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร สูง ๑ เมตร ในภาคอีสานเท่าที่พบมีอยู่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น

                อาคารพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารหลวงปู่ขาว อนาลโย  อยู่ที่วัดถ้ำกลองเพล ตำบลโนนทัน อำเภอเมือง ฯ สร้างด้วยหินแกรนิต มีรูปทรงสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่สวยงาม กลมกลืนกับธรรมชาติ และมีคุณค่าทางศิลปะมาก และมีคุณค่าทางประวัติศาตร์อีกด้วย
รูปปั้น อนุสาวรีย์
                พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  เป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยเสด็จพักทัพ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๗ ตั้งอยู่บริเวณสวนสาธารณะหนองบัว สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทรงเปิด เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑

                รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ขาว อนาลโย  เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างด้วยความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อหลวงปู่ขาว ที่ท่านเป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระอรัญวาสี มีจริยานุวัตร หนักแน่นมั่นคงในธรรมปฏิบัติ สมเป็นปูชนียบุคคลที่ประเสริฐ เพื่อเป็นสักการะบูชาท่านที่ควรบูชา
สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง

                บ่อน้ำวัดศรีคูณเมือง  เป็นบ่อน้ำก่อด้วยอิฐขนาดเดียวกันกับกำแพงเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ เมตร ลึกประมาณ ๕๐ เมตร มีน้ำใสสะอาดตลอดปี สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๖ ถือว่าเป็นบ่อน้ำคู่บ้านคู่เมือง เวลามีพระราชพิธีและพิธีสำคัญ จะนำน้ำจากบ่อแห่งนี้ไปใช้เช่น พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

                พระราชศรีสุมังค์  เป็นพระประธานในอุโบสถวัดศรีสุมังหายโศก บ้านลำภู เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง พระเกศสวมมงกุฎเหมือนกษัตริย์ สันนิษฐานว่า สร้างรุ่นเดียวกับวัดศรีคูณเมือง ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา ฯ ชาวเมืองถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ อัญเชิญให้เป็นพระประธานในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และดื่มน้ำสาบาน
                พระไชยเชษฐา  วัดถ้ำสุวรรณคูหาเป็นนามพระพุทธรูปประธานในถ้ำสุวรรณคูหา ซึ่งใช้เป็นสีมา (อุโบสถ) และวิหารประจำวัด เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้างขนาดใหญ่ ฐานกว้างประมาณ ๔ ศอก ปางนาคปรก ลักษณะทั่วไปของนาคมีหน้าตาแบบศิลปะล้านช้าง องค์พระตั้งอยู่บนฐานชุกชีปูน ฐานสูงจากพื้นประมาณ ๑ เมตร ปูนปั้นพระพุทธรูปเรียกว่าปูนสะพายเพชร ใช้อิฐเป็นโครงใน และใช้ปูนสะพานเพชรโบกทับ ปั้นแต่งให้มีรูปร่างตามความต้องการ
                พระเจ้าไชยเชษฐา  เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านมาก นับถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีงานบุญปิดทองไหว้พระประจำปีในเดือนสาม ขึ้น ๑๓ - ๑๕ ค่ำ ของทุกปี ประชาชนในละแวกใกล้เคียงจังหวัดอุดร ฯ และจังหวัดหนองบัวลำภู จะมานมัสการเป็นจำนวนมาก
                พระมหาธาตุเจดีย์ ได้มีการกล่าวถึงการสร้งพระมหาธาตุเจดีย์ไว้ในศิลาจารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา หลักที่ ๒ ว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๑๖๙

                ศาลเจ้าปู่หลุม  ตั้งอยู่บริเวณดอนหับ บ้านห้วยเชียง อำเภอเมือง ฯ เป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั่วไป
ศิลปหัตถกรรม และงานช่างท้องถิ่น

               ประติมากรรม  เป็นงานปั้นหม้อที่บ้านโค้งสวรรค์ ตำบลโนนทัน อำเภอเมือง ฯ เป็นงานปั้นที่สืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ฝีมือการทำเครื่องปั้นดินเผาเน้นงานปั้นหม้อ รองลงไปเป็นแจกัน และเครื่องประดับตกแต่งบ้านต่าง ๆ มีการเขียนสีเลียนแบบบ้านเชียง ปัจจุบันยังเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน

                งานแกะสลัก  เป็นงานแกะสลักบานประตูและหน้าต่าง ที่วัดสันติธรรมบรรพต (ภูน้อย) ที่บ้านภูน้อย ตำบลนากลาง อำเภอนากลาง เจ้าอาวาสวัดภูน้อย ได้นำช่างศิลป์งานแกะสลัก บานประตูและหน้าต่าง จากบ้านฝั่งแดง ตำบลฝั่งแดง อำเภอนากลาง ซึ่งมีชื่อเสียงมาก มาถ่ายทอดศิลปะการแกะสลักบานประตู และหน้าต่างให้แก่ผู้สนใจ ปัจจุบันมีผู้มีฝีมือดี และมีงานแกะสลักไม้ทำตลอดปี
                นอกจากนี้ยังมีช่างโบราณ ได้แก่ สลักไม้เป็นธรรมาสน์ไม้ที่วัดโนนสง่าดาราราม บ้านหนองหว้า ตำบลหนองหว้า อำเภอเมือง ฯ และธรรมาสน์ไม้ที่วัดเจริญทรงธรรม บ้านดอนบ่อ ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอศรีบุญเรือง
                งานหล่อโลหะ  งานที่ได้ฝากฝีมือสกุลช่างโบราณที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันได้แก่ พระพุทธรูปสำริด ที่ห้องผู้ว่าราชการจังหวัด พระพุทธรูปสำริดทองดอกบวบ จำนวนห้าองค์ ที่วัดมหาชัย อำเภอเมือง ฯ พระพุทธรูปทองสำริดในสิมไม้ วัดเจริญทรงธรรม  บ้านดงปอ ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอศรีบุญเรือง
                งานหล่อพระพุทธรูปดังกล่าว มีฝีมือประณีตสวยงาม มีคุณค่า ทางกรมศิลปากรจะได้ขึ้นทะเบียนไว้
                งานจิตรกรรม  มีผลงานของจิตรกรในปัจจุบันอยู่สองท่านที่มีความโดดเด่น จนท่านหนึ่งได้รับรางวัลในฐานะศิลปินท้องถิ่นยอดเยี่ยม รางวัลผลงานดีเด่นด้านช่างศิลป์ไทยของจังหวัด รางวัลนอร์มา จากยูเนสโก และมีผลงานจิตรกรรมที่สำคัญของจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสาน รวม ๑๙ เรื่อง เช่น ผาแดงนางไอ่ เฒ่าโต้ นางผมหอม สุพรหมวิโมกข์ ไข่ฟ้า นางเพ็ญ ฯลฯ  ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ภาพเขียนสีน้ำมัน พระบรมสาทิสลักษณ์ของพระราชวงศ์  จิตรกรผู้นี้คือ นายสุนทร พรรณรัตน์
                จิตรกรอีกท่านหนึ่งคือ นายทองไสย์ สุผลทอง แห่งบ้านฝั่งแดง ตำบลฝั่งแดง อำเภอนากลาง มีผลงานจิตรกรรมฝาผนังไว้ ตามโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ที่มีชื่อเสียงมากทั่วภาคอีสาน
                สถาปัตยกรรม  ที่โดดเด่นมีอยู่สามแห่งด้วยกันคือ

                    หอไตรวัดมหาชัย  ลักษณะเป็นเรือนไม้ยกพื้นสูง กั้นฝา มีระเบียงรอบ และมีลูกกรงกั้น หลังคาแบบเดิมมุงด้วยแป้นไม้ สร้างอยู่กลางสระน้ำ เพื่อป้องกันมอดปลวก หรือแมลงต่าง ๆ ติดต่อกับฝั่ง โดยใช้สะพานชักเพื่อมิให้มีสิ่งเชื่อมต่อกับฝั่ง อยู่ในตำบลหนองบัวลำภู อำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๕

                    ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ตั้งอยู่ที่ริมหนองบัว หน้าสนามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในประดิษฐานพระบรมรูปขนาดเท่าครึ่ง ของพระองค์จริงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นศาลาทรงไทย และเป็นสถาปัตยกรรมไทยที่สวยงามมาก สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑

                    ศาลหลักเมืองหนองบัวลำภู  เป็นศาลาจตุรมุขทรงไทยที่มีขนาด และสัดส่วนสวยงามมาก รูปแบบการก่อสร้างเป็นแบบภาคกลางมีความวิจิตรพิสดารเป็นพิเศษ
                    ศาลหลักเมือง  เป็นศาลพระวอพระตา ผู้สร้างเมืองหนองบัวลำภู มีต้นไม้ขนาดใหญ่คือ ต้นมะขามและต้นหมากผู้ ขนาดหกคนโอบ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก
| ย้อนกลับ | บน | หน้าต่อไป |



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์